นี่แบบไม่เบา เอาแต่เนื้อๆ
บรรยากาศแห่งความกลัวในประเทศไทย ก่อนจะถึงการออกเสียงประชามติต่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ภายใต้อำนาจเบ็ดเสร็จของเผด็จการ คสช.
องค์กรสาธารณะไม่ค้ากำไรในสหราชอาณาจักร Thailand Human Rights Campaign UK ซึ่งรณรงค์เรื่องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ได้รวบรวมการกระทำของคณะทหารซึ่งยึดอำนาจและจัดการปกครองในประเทศไทย (โดยมิได้ผ่านการเลือกตั้งรับมอบอาณัติจากประชาชน ติดต่อกันมาเป็นเวลา ๒ ปีแล้ว)
อันมีทั้งล่วงล้ำสิทธิ คุกคาม และก้าวร้าวต่อพลเมืองจำนวนหนึ่ง ซึ่งยืนยันการใช้สิทธิส่วนบุคคลและเสรีภาพในการแสดงออก มีการเรียกตัวไปว่ากล่าว สั่งห้าม และคาดโทษ ที่เรียกด้วยวาทกรรมหรูว่า ‘ปรับทัศนคติ’ ทำให้เสียอิสรภาพเป็นเวลา ๓ วัน ๗ วัน และ ๑๒ วัน จนเป็นที่ตำหนิโจษจรรไปทั่วโลก
ข้อเขียนจากเว็บบล็อก THRC UK ต่อไปนี้ นอกจากบันทึกพฤติกรรมละเมิดสิทธิมนุษยชนโดย คสช. เอาไว้เป็นแบบอย่างสำหรับสกัดกั้นป้องกันในภายหน้า แล้วยังเป็นหลักฐานเพื่อความชัดเจนสำหรับยับยั้งการข่มเหงให้หวาดกลัวจาก คสช. โดยเร็ว ด้วยการพึ่งพาแรงกดดันของชุมชนนานาชาติและกระบวนการยุติธรรมระหว่างประเทศ
เราเห็นว่าเป็นการรวบรวมโดยสรุปอย่างกระชับและสมบูรณ์ เหมาะสำหรับแพร่หลายให้ชาวโลกรับรู้ในข้อเท็จจริงที่ถูกบิดพริ้วและโกหกจาก คสช. อยู่เสมอ แม้แต่ประชาชนในประเทศจำนวนมากก็ยังถูกหลอกลวงให้หลงเชื่อ
(ท่านสามารถช่วยแพร่หลายส่งต่อให้ชาวโลกรับรู้ได้จากหน้าเว็บบล็อกภาอังกฤษที่ http://www.thaihrc.org.uk/…/the-climate-of-fear-over-countr…)
The climate of fear over the country ahead of the referendum on a new constitution
ขณะที่ประเทศเตรียมโหวตร่างสุดท้ายของรัฐธรรมนูญที่ประกาศต่อสาธารณะเมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ซึ่งบรรจุบทกำหนดให้มีวุฒิสภาจากการแต่งตั้ง กันที่นั่งจำนวนหนึ่งไว้ให้แก่แม่ทัพนายกองฝ่ายทหารตำรวจ และเปิดให้มีการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีที่ไม่ต้องผ่านการเลือกตั้งได้ ร่างฯ ยังให้อำนาจอย่างกว้างขวางแก่ฝ่ายทหารในการกำกับควบคุมการบริหารราชการ แม้เมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลจากการเลือกตั้งแล้วด้วย
ร่างฯ ยังกำหนดให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ของรัฐบาลรัฐประหาร ยังคงมีอำนาจเบ็ดเสร็จจนกว่าจะมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ขึ้น (หลังเลือกตั้ง) แล้วยังสามารถเข้าแทรกแซงได้ทุกเมื่อด้วยการกุมอำนาจเด็ดขาด
ร่างรัฐธรรมนูญที่เขียนโดยคณะกรรมการเลือกตั้งภายใต้การนำของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ถุกกำหนดให้เข้าสู่การออกเสียงประชามติในวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๙ นี้
นับแต่ กรธ. ร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้น ทางการได้โหมแรงกดดันในการปิดกั้นสิทธิมนุษยชนสำหรับเสรีภาพในการแสดงออก กฎหมายที่กำหนดระเบียบในการออกเสียงประชามติ ซึ่งได้รับอนุมัติเมื่อวันที่ ๗ เมษายน จากสภานิติบัญญัติที่ คสช. เป็นผู้แต่งตั้ง กำหนดระวางโทษจำคุก ๑๐ ปี ต่อผู้ที่ถูกตัดสินว่าสร้างข้อมูลเท็จให้ผู้ออกเสียงหลงเชื่อ หรือไม่เช่นนั้นทำให้การออกเสียงประชามติไม่ประสบความสำเร็จ
การกดขี่และก้าวร้าว
วันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๙ พรรคเพื่อไทยออกแถลงการณ์ประณามรัฐธรรมนูญที่ร่างเสร็จเรียบร้อย และกระตุ้นประชาชนตีตกร่างฯ เมื่อมีการลงประชามติในเดือนสิงหาคม คณะทหารฮุนต้าขู่ว่าแถลงการณ์พรรคเพื่อไทยเป็นการชักนำประชาชนในทางที่ผิด
วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๙ กองทัพไทยออกคำสั่งห้ามจัดสัมมนาเกี่ยวกับประเด็นอื้ฉาวของร่าง รธน.ในจังหวัดเชียงใหม่ ขณะที่การลงประชามติใกล้เข้ามา
วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๙ เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจเข้าตรวจค้นสำนักงานของนักการเมืองพรรคเพื่อไทยในภาคเหนือ และยึดขันสีแดงที่มีข้อความอวยพรวันสงกรานต์จากอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้านี้ทหารในจังหวัดเชียงใหม่ทำการจับกุมนางธีรวรรณ เจริณสุข วัย ๕๗ ปี ต่อการที่เธอนำภาพตนเองถือขันสีแดงอวยพรสงกรานต์ของทักษิณ
กองทัพยื่นฟ้องธีรวรรณด้วยความผิดมาตรา ๑๑๖ ฐานปลุกระดม ก่อความวุ่นวายด้วยการนำลงภาพ ต่อมาศาลเชียงใหม่ปล่อยตัวเธอด้วยหลักประกัน ๑ แสนบาท รอการพิจารณาคดีในศาลทหาร ถ้าตัดสินผิดเธอจะถูกจำคุกได้ถึง ๗ ปี
วันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๕๙ ทหารนับจำนวนโหล เดินทางด้วยรถสี่คันไปที่บ้านของอดีต ส.ส. พรรคเพื่อไทย วัฒนา เมืองสุข ผู้ซึ่งแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณะถึงความปลอดภัยของอดีตเพื่อน สงส. วรชัย เหมะ และสิทธิในการรณรงค์ต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญ
วันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๙ รัฐบาลทหารมีคำสั่งให้นักการเมืองพรรคเพื่อไทยและอดีต ส.ส. วัฒนา เมืองสุข ไปรายงานตัวที่ มทบ. ๑๑ ในกรุงเทพฯ เขาถูกนำตัวไปควบคุมไว้ที่ค่ายทหารราบที่ ๙ จังหวัดกาญจนบุรี ใกล้เขตแดนพม่า ด้วยข้อหาความผิดฐานลงข้อความทางเครือข่ายสื่อสังคมต่อต้านร่าง รธน. เขาได้รับการปล่อยตัวหลัง ๓ วัน
นี่เป็นการถูกควบคุมตัวในค่ายทหารครั้งที่สามของวัมนา เมืองสุข โดยไม่มีการตั้งข้อหาหรือเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีนับแต่วันที่ ๒ มีนาคม บนพื้นฐานที่ว่าเขาแสดงออกในสิทธิการแสดงความคิดเห็นโดยสันติ
วันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๙ วัฒนา เมืองสุข อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคเพื่อไทยร้องเรียนว่า มีคนไปกดดันบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) บรรษัทการค้าที่ใหญ่มากแห่งหนึ่งของเอเชีย ดำเนินการโดยตระกูลของอดีตภรรยาเขา ให้ลูกสาวของเขา น.ส.วีรดา เมืองสุข เดินทางออกนอกประเทศ
วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๙ ทหารในจังหวัดอุดรธานี ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ไปข่มขู่นักกิจกรรมต้านเหมืองแร่ ก่อนหน้าที่จะมีการเสวนากันถึงผลกระทบสภาพแวดล้อมของเหมืองโปแตชที่นั่น
เมื่อ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๙ ทหารเรียกตัวผู้นำชุมชนชาวเรือพื้นบ้าน (หาดราไวย์) ในจังหวัดภูเก็ต ไปคุยดดยอ้างว่าเขาขัดคำสั่ง คสช. เขาถูกทหารก้าวร้าว
๒๔ เมษายน ๒๕๕๙ ทหารส่งฟ้อง ๖ นักกิจกรรมตรวจสอบการคอรัปชั่นอุทยานราชภักดิ์ ผู้ที่ถูกแจ้งข้อหาประกอบด้วย สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ นักศึกษากลุ่มประชาธิปไตยใหม่ อานนทื นำภา ทนายความสิทธิมนุษยชนและแกนนำกลุ่มพลเมืองโต้กลับ กิตติธัช สุมาลย์นพ วิศรุต อนุกูลการย์ กรกนก คำตา และวิจิตร หันหาบุญ ข้อหาขัดขืนคำสั่งห้ามชุมนุมการเมือง
๒๕ เมษายน ๒๕๕๙ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองหัวหน้า คสช. และ รมว.กลาโหม กล่าวกับสื่อมวลชนว่า ไม่อนุญาตให้ใครก็ตามวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญของฮุนต้าในที่สาธารณะ เพราะ พรบ. ประชามติมีผลบังคับแล้วเต็มที่
รองหัวหน้า คสช. ยังได้สั่งการให้ทำการสอบสวน กปปส. กับกลุ่มเสื้อแดงต้านรัฐบาล จากการที่ทั้งสององค์กรออกมาประกาศต่อต้านร่าง รธน.
๒๕ เมษายน ๒๕๕๙ รัฐบาลทหารข่มขู่ เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว อาจารญ์สถาบันศึกษาสิทธิมนุษยชนและสัติภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล ด้วยข้อหาความผิดตามมาตรา ๖๑ ของ พรบ.ประชามติ ๒๕๕๙ อาจารย์ท่านนี้ได้ทำการแจกใบปลิวให้ข้อมูลเกี่ยวกับการไม่ยอมรับร่าง รธน.ของทหาร ซึ่งหมายความว่าเธออาจถูกจำคุกได้ถึง ๑๐ ปี
๒๗ เมษายน ๒๕๕๙ รัฐบาลฮุนต้าอ้างอำนาจตาม ม.๔๔ รัฐธรรมนูญชั่วคราว เข้าจับกุมผู้ใช้เฟชบุ๊ค ๑๐ คน เนื่องจากข้อความวิจารณ์ตัวหัวหน้าและรัฐบาลทหาร ทั้งสิบถูกควบคุมตัวที่ ราบ ๑๑ แปดคนถูกตั้งข้อหาก่อกวนความสงบเรียบร้อย ตามประมวลกฎหมายอาญา ม. ๑๑๖ พวกเขาอาจถูกจำคุกได้ถึง ๑๐ ปีและปรับ ๒ แสนบาท
๒๗ เมษายน ๒๕๕๙ กรรมการเลือกตั้งคนหนึ่งยื่นคำร้องฟ้องผู้ดำเนินงานองค์กรจัดหาทุนแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่นภาคอีสาน ด้วยข้อหาตามมาตรา ๖๑ พรบ.ประชามติ วึ่งมีระวางโทษจำคุกถึง ๑๐ ปี ปรับ ๒ แสนบาท และถูกถอนสิทธิเลือกตั้ง ๕ ปี
๒๗ เมษายน ๒๕๕๙ ตำรวจทำการจับกุมนักกิจกรรม ๑๖ คน จากการไปยืนนิ่งแสดงการร่วมแรงร่วมใจกับแอ้ดมินเฟชบุ๊ค ๑๐ คนที่ถูก ‘อุ้ม’ คุมตัวไปก่อนหน้านั้นที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ต่อมามีการปล่อยตัว ๑๕ คน
๒๗ เมษายน ๒๕๕๙ สมาชิกพรรคเพื่อไทยถูกหมายหัว ตำรวจ-ทหารราว ๓๐๐ คนสนธิกำลังเข้าค้นบ้านนักการเมืองสองคนในจังหวัดนครสวรรค์ โดยกล่าวหาว่าเป็นพวก ‘ผู้มีอิทธิพล’ ทหารไม่ยอมให้นักข่าวเข้าไปยังบ้านที่ถูกค้น แต่ก็ไม่พบอะไรผิดกฎหมาย เว้นแต่ขันแดงจำนวนมาก
๒๘ เมษายน ๒๕๕๙ คณะทหารฮุนต้าส่งฟ้องกลุ่มต่อต้าน ๘ คนที่ลักพาตัวไปด้วยข้อหาบ่อนทำลาย โดยสองในแปดเจอความผิดมาตรา ๑๑๒ เข้าด้วย
๒๙ เมษายน ๒๕๕๙ ศาลทหารปฏิเสธการขอประกันตัวของผู้ต่อต้านรัฐบาลฮุนต้าที่ถูกอุ้มทั้งแปด (ล่าสุดก็ถุกยกคำร้องขอประกันตัวเป็นครั้งที่สองแล้ว) นอกเหนือจากข้อหาบ่อนทำลายและความผิดทางคอมพิวเตอร์แล้ว หฤษฎ์ มหาทน กับณัฏฐิกา วรธัยวิชญ์ ยังดดนข้อหาดูหมิ่นราชวงศ์ด้วย ทั้งนี้โดยอ้างหลักฐานการส่งข้อความโต้ตอบกันผ่านช่องทางส่วนตัวหลังไมค์
๒๙ เมายน ๒๕๕๙ บุรินทร์ อินติน หนึ่งในกลุ่มผู้ถูกจับกุม ๑๕ คนที่ไปยืนแสดงความร่วมใจต่อ ๑๐ นักิจกรรมอนุสาวรีย์ชัยฯ เมื่อวันที่ ๒๗ เมษา เขาไม่ได้รับการปล่อยตัวเหมือนคนอื่นๆ แต่ถูกนำตัวจากการควบคุมของตำรวจไปอยู่ในการกักกันของทหารโดยไม่ทราบสถานที่ เขาถูกฟ้องในข้อหอหมิ่นกษัตริย์
๓๐ เมษายน ๒๕๕๙ บุรินทร์ถูกนำตัวไปฟ้องสาลทหารในข้อหาหมิ่นสถาบันฯ ที่มีระวางโทษจำคุกสูงถึง ๑๕ ปีต่อหนึ่งข้อหา ทหารแจ้งว่าบุรินทร์กระทำความผิดหมิ่นกัตริย์ด้วยการสนทนาส่วนตัวกับคนอื่นๆ
๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙ นักกิจกรรมต่อต้านรัฐประหาร ๓ คนถูกรวบตัวขณะไปชุมนุมกันที่สถานีบีทีเอสช่องนนทรีย์เรียกร้องเสรีภาพในการแสดงออก ตำรวจส่งฟ้องด้วยข้อหาทิ้งขยะในที่สาธารณะจากการที่พวกเขาใช้แผ่นกระดาษโพสต์อิทเขียนข้อความแปะบนเสาและกำแพงสถานี อีกสองสามคนถูกนำตัวไปสอบสวนจากการกระทำแบบเดียวกัน
๒ พ.ค. ๕๙ คณะกรรมการเลือกตั้งออกกฎเกี่ยวกับประชามติ ๑๔ ข้อที่กลายเป็นกฎหมายห้ามการถกเถียงข้อดีข้อเสียของร่าง รธน.ในที่สาธารณะ ไม่ว่าจะมีเจตนาดีอย่างไร ตามถ้อยคำของระเบียบที่ออกมา การแสดงความคิดเห็นจะต้องไม่หยาบคาย และไม่บิดเบือนความจริง
๒ พ.ค. ๕๙ นายหฤษฎ์ หนึ่งในกลุ่มต่อต้านฮุนต้าที่ถูกอุ้มไปควบคุมตัวด้วยข้อหาเลส มาเจสตี แจ้งเตือนให้ระวังการส่งข้อความระหว่างกันในกล่องสนทนาส่วนตัว ว่าไม่ปลอดภัยอีกต่อไป (เจ้าหน้าที่สามารถเข้าไปล้วงเองได้ ในกรณีคดีของเขา)
มาตรา ๑๑๒ ในกฎหมายอาญา หรือ เลส มาเจสตี ไม่ได้จำกัดการกระทำผิดเฉพาะแต่ในที่สาธารณะ การโต้ตอบกันเป้นการส่วนตัวก็อาจถูกนำมาใช้เป็นหลักฐานกล่าวหาได้
วันที่ ๓ พ.ค. ๕๙ ทหารเรียกตัวนักวิชาการและนักกิจกรรมฝ่ายประชาธิปไตยไปพบในค่ายอีก ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รจเรข วัฒนพาณิชย์ (ผู้ดำเนินการร้านหนังสือบุ๊ครี-พับลิค) หญิงไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลสตรีกล้าหาญจากรัฐบาลสหรัฐ ต่อการที่เธอมุ่งมั่นเพื่อประชาธิปไตย สุรพงษ์ นักกิจกรรมประชาธิปไตย เข้าไปรายงานตัวต่อทหารที่ค่ายกาวิละ
ภายใต้การปกครองของทหาร วิกฤตสิทธิมนุษยชนของไทยตกต่ำจากร้ายไปสู่เลว การกดขี่บีบคั้นจะเพิ่มขึ้นต่อไปอีกไม่ขาดจนกระทั่งเดือนสิงหาคม
มันเป็นที่แจ้งชัดว่าความปรารถนาสูงสุดของคณะทหารอยู่ที่การทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอ เพื่อที่จะได้มีรัฐบาลผสมที่ล้มง่าย
ไม่ว่าผลการออกเสียงประชามติจะออกมาเช่นไร คณะทหารจะยังคงเป็นผู้กุมอำนาจไว้อย่างแท้จริง