วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 05, 2559

อ.ชาญวิทย์และคณะ รำลึกถึงจิตร ภูมิศักดิ์ “คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย” "ตามรอย จิตร ภูมิศักดิ์" (เพจคุณฟ้ารุ่ง ศรีขาว)




คลิปและภาพรายงานจากคุณฟ้่ารุ่ง ศรีขาว จาก เพซบุ๊คส่วนตัว
เตรียมเดินทางไปตามรอย จิตร ภูมิศักดิ์
ไทยอีนิวส์ขอขอบคุณภาพ และคลิปคุณฟ้ารุ่ง มา ณ ที่นีด้วย


อ.ชาญวิทย์และชาวคณะมาถึงสกลนครแร้ว




ตามรอย จิตร ภูมิศักดิ์ จากบ้านหนองกุง สกลนคร สยามประเทศไทย สู่อังกอร์ นครวัด นครธม ยโศธรปุระ กัมพุชเทศ

ขณะนี้อยู่ในงานทำบุญเลี้ยงพระ ทอดผ้าป่าสามัคคี ที่วัดประสิทธิ์สังวร(วัดบ้านหนองกุง) ก่อนเดินทางไป อนุสรณ์สถาน จิตร ภูมิศักดิ์




ขณะนี้อยู่ในงานทำบุญเลี้ยงพระ ทอดผ้าป่าสามัคคี ที่วัดประสิทธิ์สังวร(วัดบ้านหนองกุง) ก่อนเดินทางไป อนุสรณ์สถาน จิตร ภูมิศักดิ์







ฐานของรูปปั้นจิตร ภูมิศักดิ์ ที่ไม่สูงเกินไป เป็นความตั้งใจที่จะให้อยู่ในระดับที่คนเข้าถึงได้ ไม่สูงล้ำกว่าคนธรรมดาเกินไป ในตอนแรกมีพรรคพวกถามว่า ทำแบบนี้แล้วรูปปั้นจะไม่ถูกขโมยหรือ? ไม่หายหรือ? สุดท้ายก็ตกลงกันว่าต้องทำให้เป็นของชุมชน เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนจึงจะไม่หาย - อ.ชาญวิทย์ กล่าวถึงอนุสรณ์สถานจิตร

ขณะนี้อยู่ที่อนุสรณ์สถาน จิตร ภูมิศักดิ์ หลังทำบุญเลี้ยงพระ ทอดผ้าป่าสามัคคี ที่วัดประสิทธิ์สังวร(วัดบ้านหนองกุง)





อ.ธำรงศักดิ์ ใน ตามรอย จิตร ภูมิศักดิ์ จากบ้านหนองกุง สกลนคร สยามประเทศไทย สู่อังกอร์ นครวัด นครธม ยโศธรปุระ กัมพุชเทศ


อ.อัครพงษ์ ใน ตามรอย จิตร ภูมิศักดิ์ จากบ้านหนองกุง สกลนคร สยามประเทศไทย สู่อังกอร์ นครวัด นครธม ยโศธรปุระ กัมพุชเทศ





ชมพระธาตุนารายณ์เจงเวง หลังจากชมห้องจิตร ภูมิศักดิ์ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร




Dinner Talk จิตร ภูมิศักดิ์ โดย ศ. เครก เรย์โนลด์ส (Craig Reynolds)

ตามรอย จิตร ภูมิศักดิ์ จากบ้านหนองกุง สกลนคร สยามประเทศไทย สู่อังกอร์ นครวัด นครธม ยโศธรปุระ กัมพุชเทศ 5-9 พ.ค.59

จัดขึ้นเพื่อเป็นมรณาณุสติ 50 ปี จิตร ภูมิศักดิ์ (2509-2559) เกิด ปี 2473 เสียชีวิตปี 2509




ถ่ายทอดสด งานปาฐกถามื้อค่ำ
"50 ปี มรณานุสติ จิตร ภูมิศักดิ์"
โดย ศ.ดร.เครก เจ เรโนลด์ส
เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป

Facebook Live of Dinner Talk
on "50 Years Memorial of Jit Bhumisak's Death"
By Prof. Dr. Criag J Renolds
starts at 6 pm onwards, stay tuned!!!!

ooo


5 พ.ค.กับงานรำลึกถึงจิตร ภูมิศักดิ์
“คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย”

ที่มา FB BBC Thai





กลุ่มนักวิชาการและผู้ติดตามผลงานจิตร ซึ่งมีทั้งชาญวิทย์ เกษตรศิริ เคร็ก เรย์โนลด์ส และคนอื่นๆร่วมสามสิบคน ได้เดินทางไปยังสกลนครในเส้นทาง “ตามรอยจิตร ภูมิศักดิ์” พวกเขาไปร่วมในงานทำบุญ และไปยังที่เก็บอัฐิของจิตร มีการทำบุญเลี้ยงพระ ทอดผ้าป่าที่วัดบ้านหนองกุง สกลนคร ที่เห็นในภาพคือการไปทำบุญ แจกทุนการศึกษา และเด็กๆในภาพร้องเพลง “จิตรเดียวกัน” ที่แต่งใหม่ด้วย

จิตรเกิดเมื่อปี 2473 เสียชีวิต 2509 โดยถูกล้อมยิงที่บ้านหนองกุงเมื่อห้าสิบปีก่อน ก่อนหน้าจะถูกยิงตายราวหนึ่งปีเขาได้รับการปล่อยตัวจากข้อหาความมั่นคง แต่กล่าวกันว่าจิตรยังถูกคุกคามและติดตามอย่างหนักจนไม่สามารถอยู่ได้ เขา “เข้าป่า” เพื่อร่วมการต่อสู้และต่อต้านระบบการปกครองของทหารขณะนั้น เขาทำงานในเขตงานภาคอีสานจนกระทั่งถูกล้อมยิงเสียชีวิตดังกล่าว

สิ่งที่ได้รับการกล่าวขวัญถึงมากของจิตร คือผลงานด้านงานเขียนของเขาที่เป็นสิ่งท้าทายทางความคิดทิ้งไว้เป็นจำนวนมาก เช่นเรื่อง ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ ข้อเท็จจริงว่าด้วยชนชาติขอม โฉมหน้าศักดินาไทย ภาษาและนิรุกติศาสตร์ ศัพท์สันนิษฐานและอักษรวินิจฉัย โองการแช่งน้ำและข้อคิดใหม่ในประวัติศาสตร์ไทยลุ่มน้ำเจ้าพระยา สังคมไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนสมัยศรีอยุธยา ตำนานแห่งนครวัด และยังมีบทกวีและงานเพลง รวมทั้งเพลงที่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายชื่อ “แสงดาวแห่งศรัทธา” ที่เป็นที่มาของประโยคที่ว่า “คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย”

อันที่จริงมีเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อจิตรเพลงอื่นอีก “จิตร ภูมิศักดิ์” ของสุรชัย จันทิมาธร บอกเล่าเรื่องราวของเขาและมีเนื้อร้องระบุถึงการเสียชีวิตตลอดจนอิทธิพลทางความคิดหลังจากที่เขาตายแล้ว “เขาตายในชายป่าแต่ต่อมาก้องนาม ผู้คนไถ่ถามอยากเรียน ชื่อจิตร ภูมิศักดิ์ เป็นนักคิดนักเขียน ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน”

นิตยสารทางอีศาน ตีพิมพ์ความเห็นของเคร็ก เรย์โนลด์สเกี่ยวกับจิตรเอาไว้เมื่อพ.ศ. 2556 ว่า “…จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นคนที่มีพรสวรรค์มากคนหนึ่ง เขาเป็นคนที่เปี่ยมไปด้วยการสร้างสรรค์…จิตรเล่นดนตรีได้มาก มีความสามารถในการแต่งทำนองเพลง และเป็นนายเหนือภาษาด้วยประเด็นนี้เราเห็นได้ชัดจากงานวิชาการและงานนิพนธ์ของเขา มีทั้งบทกวีบทเพลง บทความเรื่องภาษาศิลาจารึกและนิรุกติศาสตร์ บทวิจารณ์หนังสือและภาพยนตร์ จิตรมีทฤษฎีในการวิเคราะห์วรรณคดีไทย เคยแต่งหนังสือวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ไทยเล่มหนึ่ง และก็มีหนังสือวิเคราะห์ภาษาละหุเล่มหนึ่ง และหนังสือซึ่งผมคิดว่าจะมีชื่อเสียงมากที่สุดก็คือ ‘ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาวและขอมฯ’” และว่า “…จิตร ภูมิศักดิ์ เกิดสองครั้ง คือเกิดใหม่อีกครั้งหลัง ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ หมายความว่าจิตร ได้ฟื้นคืนเกียรติศักดิ์และมีชื่อเสียงขจรขจายยิ่งกว่าตอนก่อนตายเสียอีก…”

ด้านสุภา ศิริมานนท์บอกว่าจิตร “… มีความสำนึกที่หนักแน่นที่สุดอันหนึ่งที่ว่า เขามีภาระธุระ หรือภารกิจทางประวัติศาสตร์ ที่จะต้องทำประโยชน์ให้แก่มนุษย์ส่วนใหญ่ ต้องทำให้เพื่อนมนุษย์ส่วนใหญ่มีความเจริญก้าวหน้า มีสถาพรภาพ มีความเป็นธรรมในสังคมโดยถ้วนหน้า เขาจึงได้ต่อสู้ตลอดมา

ส่วนชาญวิทย์ ประธานมูลนิธิจิตร ภูมิศักดิ์บอกว่า
“จิตร ภูมิศักดิ์ เป็น ‘ปัญญาชนปฏิวัติ’ ที่ ‘หลากหลาย ล้ำลึก และเป็นอมตะ’
เป็นผู้ที่มีทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติ ความคิดและปัญญาของเขายัง ‘ไม่ตาย’

ขอบคุณภาพจากฟ้ารุ่ง ศรีขาว