2 พฤษภาคม 2526
.
.
เป็นวันคล้ายวันอสัญกรรมของท่านอาจารย์ "ปรีดี พนมยงค์"
.
.
ผู้นำคณะราษฎรสายพลเรือน อดีตนายกรัฐมนตรี และผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
.
.
ทางเราจึงขอนำช่วงชีวิต "บั้นปลาย" ของท่านอาจารย์ปรีดี ณ ประเทศฝรั่งเศส
ผ่านคำบอกเล่าของท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ผู้ล่วงลับ
.
.
ซึ่่งมีเกร็ดชีวิตต่างๆที่น่าสนใจยิ่ง
เช่นความวิริยะอุตสาหะในการทำงานแม้ยามชราภาพ
โดยเฉพาะเรื่องราวในช่วงสั้นๆหลังการอสัญกรรม ที่ต้องตั้งคำถามกับสังคมไทยสมัยนั้น
(ท่านอาจารย์ปรีดีถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 ขณะนั้นพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี)
.
.
.
เอามาฝากกัน
.
.
.
.
ขอขอบพระคุณ หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกลุ่มกิจกรรมนักศึกษา กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย
.
ที่มอบโอกาสให้เราได้นำคลิปนี้ออกเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ตอีกครั้งหนึ่ง
.
และขอให้ท่านทั้งหลาย จงถือนายปรีดีเป็นแบบอย่าง
.
.
"เพื่อชาติ และราษฎร" อย่างแท้จริง
.
.
.
....................................................
ด้วยความสำนึกต่อคุณประโยชน์ที่ท่านได้สละเวลาทั้งหมดในชีวิตสร้างให้กับประเทศ
.
.
ลงชื่อ ราษฎรไทย และ เจ้าหน้าที่ สถาบันปรีดี พนมยงค์
2 พฤษภาคม 2559
ที่มา
...
จากอสัญกรรมปรีดี พนมยงค์ ปี 2526 ถึง ไม่ขอรับเกียรติยศใด ๆ ของ พูนศุข พยมยงค์ ในปี 2541
.....................
เพิ่งได้ฟังบทสัมภาษณ์ พูนศุข พยมยงค์
https://www.facebook.com/pridibanomyonginstitute/videos/1063558830359741/?pnref=story
ตั้งแต่นาทีที่ 1.30
พูนศุข เล่าว่า เมื่อปรีดีตาย ที่บ้านอองโตนี ฝรั่งเศส 2 พฤษภาคม 2526
มีพวงหรีด่จากสถานทูตจีน ขณะที่ประเทศฝรั่งเศสเจ้าบ้าน มีพวงหรีดจากนายกรัฐมนตรี
แต่เมืองไทยไม่มีพวงหรีดจากตัวแทนรัฐบาลไทยเลย แม้แต่ทูตไทยประจำฝรั่งเศส ซึ่งเป็นลูกศิษย์ที่ มธก. ยังต้องเอาพวงหรีดไปวางในนามส่วนตัว
น่าสนใจว่าพูนศุข พูดออกมาในทำนองน้อยใจว่า
เราต้องจำได้ด้วยว่า ในฐานะที่รับใช้ประเทศชาติมา แต่ไม่ได้รับอะไรเลย
(พูนศุขไม่ใช้คำว่่าทำประโยชน์แก่ประเทศชาติด้วยซ้ำ)
15 ปี ย้อนหลังจากอสัญกรรมของปรีดีเมื่อพูนศุขเขียน "คำสั่งถึงลูก ๆ ทุกคน" ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2541 จะเขียนไว้ชัดเจนว่า
"ไม่ขอรับเกียรติยศใด ๆ "
ที่มา FB
Thanapol Eawsakul
,,,,,
คำสั่งท่านผู้หญิงพูนศุข
“คำสั่งถึงลูกๆ ทุกคน”
เมื่อแม่สิ้นชีวิต ขอให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
1) นำส่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ทันที เมื่อหมอตรวจว่าหมดลมหายใจแล้ว
2) ไม่ขอรับเกียรติยศใดๆ ทั้งสิ้น
3) ประกาศทางวิทยุ และลงหนังสือพิมพ์เพื่อแจ้งข่าวให้ญาติมิตรทราบ
4) ไม่มีการสวดอภิธรรม ทั้งนี้ไม่รบกวนญาติมิตรที่ต้องมาร่วมงาน
5) มีพิธีไว้อาลัยที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ โดยนิมนต์พระที่แม่นับถือแสดงธรรมกถา (เช่นเดียวกับที่จัดให้ปาล) และทำบัตรรับหนังสือที่ระลึก
6) ไม่รบกวนญาติมิตร ไม่ว่าจะเป็นดอกไม้ หรือเงินช่วยทำบุญ
7) เมื่อโรงพยาบาลคืนศพมาก็ทำการฌาปนกิจอย่างเรียบง่าย
8) ให้นำอัฐิและอังคารไปลอยที่ปากน้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นสถานที่ๆ แม่เกิด
9) หากมีเงินบ้าง ก็ขอให้บริจาคเป็นทาน แก่มูลนิธิต่างๆ ที่ทำสาธารณกุศล
10) ขอให้ลูกทุกคนปฏิบัติตามที่แม่สั่งไว้อย่างเคร่งครัด ไม่ต้องฟังความเห็นผู้หวังดีทั้งหลาย ลูกๆ ที่ปฏิบัติตามคำสั่งของแม่จงมีความสุข ความเจริญ
พูนศุข พนมยงค์
เขียนไว้ที่บ้านเลขที่ 172 สาธร 3 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2541
แม่มีอายุครบ 86 ปี 9 เดือน”