วันพุธ, กันยายน 30, 2558

กระชากเศรษฐกิจดิจิทัลถอยหลังด้วย “ซิงเกิ้ล เกตเวย์” - มารู้จักกับ Man-in-the-middle Attack




28 กันยายน 2015

สฤณี อาชวานันทกุล

นับวันผู้เขียนยิ่งรู้สึกว่า การเป็นประชาชนคนไทยในโลกดิจิทัล เวอร์ชั่น 2.0 แต่ต้องมาอยู่ใต้ผู้มีอำนาจที่คิดแบบเวอร์ชั่น 0.5 เมื่อครั้งอินเทอร์เน็ตยังไม่เกิด เป็นสถานะที่น่าเหนื่อยหน่ายไม่ใช่เล่น

ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) คนล่าสุดเพิ่งให้สัมภาษณ์สื่อไปไม่ทันไร เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2558 ถึงความสำคัญของนโยบาย “เศรษฐกิจดิจิทัล” ซึ่งรับ “ไม้ต่อ” มาจากทีมเศรษฐกิจชุดก่อนหน้านี้ วันถัดมา บล็อกนัน (Blognone) เว็บข่าวไอทีแนวหน้าของไทย ก็เปิดคำสั่งคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม ให้กระทรวงไอซีทีไปเร่งรัดการดำเนินการ “จัดตั้ง single gateway”




“ซิงเกิ้ล เกตเวย์” ในเอกสารนี้หมายถึงแนวคิดที่จะให้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทั้งประเทศที่ออกสู่ต่างประเทศทำผ่าน International Internet Gateway (IIG) หรือ “ประตูทางผ่าน” ประตูเดียว แทนที่ปัจจุบันซึ่งมีมากกว่าสิบเกตเวย์

ข่าวบล็อกนันเปิดเผยต่อไปว่า “ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558 เอกสารข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ระบุเหตุผลของการสร้างทางออกอินเทอร์เน็ตทางเดียวทั้งประเทศนี้ว่า “เพื่อใช้เป็นเครื่องมือควบคุมเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมและการไหลเข้าของข้อมูลข่าวสารจากต่างประเทศผ่านทางอินเตอร์เน็ต” โดยหากติดข้อกฎหมายใดก็ให้เร่งดำเนินการออกกฎหมายต่อไป”

ชัดเจนว่า ผู้มีอำนาจอยากทำเรื่องนี้เพื่อกีดกันไม่ให้คนไทยได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารบางอย่างที่ฝ่ายความมั่นคงมองว่าเป็น “ภัยคุกคามความมั่นคง”

ปิดประตูบานเดียว ย่อมง่ายและสะดวกโยธินกว่าการตามไปปิดหลายประตู




ข้อมูลข่าวสารเหล่านั้นมีอะไรบ้าง ข้อมูลที่คนทั่วโลกเข้าถึงได้ แต่ไม่อยากให้คนไทยได้ดูนั้น เป็นภัยคุกคามถึงขั้นจะต้องงัดมาตรการเผด็จการผูกขาดอย่าง single gateway ขึ้นมาใช้อย่างไร

เราไม่เคยได้ยินคำชี้แจงใดๆ จาก คสช. คณะรัฐมนตรี หรือกระทรวงไอซีทีเลย

ในทางตรงกันข้าม พอเรื่องนี้เป็นข่าว เริ่มมีกระแสต่อต้านในเน็ต (แคมเปญบน Change.org มีผู้มาร่วมลงชื่อคัดค้านกว่า 35,000 คน ภายในเวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมงแรก) ผู้รับผิดชอบและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกลับออกมาให้ข่าวในทางที่ “กลบเกลื่อน” เป้าหมายที่แท้จริงของ ซิงเกิ้ล เกตเวย์ และสร้างความเข้าใจผิดต่อสาธารณะ

โดยในวันที่ 24 กันยายน รมว.ไอซีทีอ้างกับสื่อว่า โครงการ ซิงเกิ้ล เกตเวย์ นั้น “ทำเพื่อเศรษฐกิจเป็นหลัก ช่วยลดต้นทุนของผู้ประกอบการ” ส่วนประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ก็อ้างว่า เป้าหมายเรื่องนี้ของรัฐบาลคือ “ต้องการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของธุรกิจดิจิตัลในภูมิภาค สร้างแรงจูงใจให้เอกชนเข้ามาใช้ช่องทางเชื่อมต่อของไทยแทนที่จะเป็นเพื่อนบ้าน”

นอกจากข้ออ้างของผู้มีอำนาจทั้งสองนี้จะไม่จริง ความจริงยังอยู่ตรงกันข้าม นั่นคือ ถ้าทำจริงขึ้นมา นอกจากมันจะมีราคาแพงลิบ ซิงเกิ้ล เกตเวย์ ยังจะกระชากเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยให้ถอยหลังไปไกล ไม่ได้ส่งเสริมแม้แต่น้อย!

อาทิตย์ สุริยะวงษ์กุล ผู้ประสานงานมูลนิธิอินเทอร์เน็ตและวัฒนธรรมพลเมือง (เครือข่ายพลเมืองเน็ต) อธิบายเรื่องนี้อย่างชัดเจนว่า

“ปริมาณข้อมูลข่าวสารที่ไหลเวียนอยู่มีไม่น้อย ถ้ารัฐทำจริงเชื่อว่าจะทำให้อินเทอร์เน็ตช้าลง มากน้อยขึ้นกับเทคนิคที่ใช้ เพราะต้องตรวจสอบข้อมูลก่อนปล่อย ซึ่งในเอกสารระบุว่าเป็นการเช็คขาเข้า แต่โดยเทคนิคแล้วเช็คได้ทั้งขาเข้าขาออก

“สอง ถ้าทำขึ้นจริงจะเกิด single point of failure คือ ถ้าล่มก็ล่มทั้งหมดเลย เปรียบได้กับบ้านหลังหนึ่งใช้น้ำประปาต่อท่อเข้ามาในบ้านจากผู้ให้บริการสามเจ้า แต่ละท่อส่งน้ำหนึ่งลิตรต่อหนึ่งวินาที พอรวมเป็นท่อเดียวก็เป็นสามลิตรต่อหนึ่งวินาที แบบนี้ดูไม่มีปัญหา แต่ลองคิดว่า ถ้าท่อนี้แตกก็จะไม่มีน้ำใช้เลย ขณะที่แบบเดิม ถ้าท่อนึงแตกยังมีเหลืออีกสองท่อ

“เพราะฉะนั้น ปัญหาจึงมีหลายจุด หนึ่ง เรื่องสิทธิเสรีภาพ แปลว่ารัฐพยายามจะควบคุมการไหลของข้อมูล ซึ่งรัฐพูดถึงตรงนี้อย่างชัดเจนว่าจะทำ สอง นอกจากการเซ็นเซอร์ การดักข้อมูลก็ทำได้ง่ายขึ้นด้วย ตรงนี้จะกระทบสิทธิข้อมูลส่วนบุคคล สาม รัฐบอกว่าจะสนับสนุนความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่งความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ประกอบด้วย 3 เรื่องคือ การรักษาความลับของข้อมูล (confidentiality) ความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล (integrity) และความพร้อมใช้งานของข้อมูลและระบบ (availability) พอทำแบบนี้จะกระทบทั้งสามส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพร้อมใช้ของข้อมูลและระบบ เพราะมีแนวโน้มว่าเจ๊งปุ๊บ จะล่มหมด จากแทนที่จะมีหลายลิงก์ อันนึงเสียก็ใช้อันอื่นต่อได้ ทั้งหมดนี้เท่ากับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ลดลง สวนทางกับที่รัฐบาลบอกจะทำให้ปลอดภัยขึ้น และจะหนุนดิจิทัลอิโคโนมี”


อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต ที่มาภาพ: http://prachatai.org/journal/2015/09/61537

ซิงเกิ้ล เกตเวย์ นอกจากจะไม่ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างที่ รมว.ไอซีที และประธาน กทค. กล่าวอ้าง มันยิ่งจะทำให้ผู้ประกอบการดิจิทัลมีต้นทุนและความเสี่ยงมากขึ้น จากการที่เน็ตช้ากว่าเดิม ภัยคุกคามไซเบอร์มีความเสี่ยงและแนวโน้มจะก่อความเสียหายมากขึ้น (แค่มีใครไปตัดไฟเกตเวย์ตัวนี้ตัวเดียว อินเทอร์เน็ตไทยก็จะล่มทั้งประเทศ)

ไม่นับว่าถ้าให้ กสท โทรคมนาคม เป็นผู้ดูแล ซิงเกิ้ล เกตเวย์ ยุคแห่งการผูกขาดก็จะหวนคืนมา สวนทางกระแสการเปิดเสรีซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2540 อีกทั้งยังเปิดโอกาสคอร์รัปชั่นมโหฬารจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มูลค่ามหาศาล ซึ่งถูกตีตรา “ลับมาก” ในโครงการที่ประชาชนไม่ได้ประโยชน์ใดๆ เลย

นอกจากจะมีต้นทุนและความเสี่ยงจากภัยคุกคามไซเบอร์มากขึ้น ซิงเกิ้ล เกตเวย์ ยังทำให้ข้อมูลทั้งหมดของประชาชนและธุรกิจสุ่มเสี่ยงที่จะถูกรัฐสอดแนม ปลอมแปลงใบรับรองการเข้ารหัสเพื่อล้วงข้อมูลได้อย่างง่ายดาย โดยปราศจากกลไกตรวจสอบและรับผิดใดๆ

อาทิตย์อธิบายว่า “ถ้ามีใครในไทย เช่น อาทิตย์ขอกูเกิลให้ส่งใบรับรองให้หน่อย ทันทีที่ ซิงเกิ้ล เกตเวย์ เห็นว่ามีการขอ ก็จะหยุดคำขอนั้นไว้ ไม่ส่งต่อและส่งใบรับรองปลอมให้อาทิตย์ เมื่ออาทิตย์ได้รับใบรับรองก็เข้าใจว่าใบรับรองนี้เป็นกุญแจเข้ารหัสจากกูเกิล ก็จะส่งข้อมูลที่เข้ารหัสด้วยกุญแจปลอมนี้กลับไป เท่ากับว่าคนสร้างกุญแจปลอมจะอ่านข้อมูลเข้ารหัสนี้ได้ โดยปกติ การส่งใบรับรองปลอมแบบนี้ทำไม่ได้ง่ายนัก แต่เมื่อไรที่ควบคุมเกตเวย์ได้ก็จะทำได้โดยง่าย กรณีนี้เรียกว่า man-in-the-middle attack”

ถึงเวลาแล้วที่ผู้มีอำนาจจะเลิกอ้างเหตุผลเรื่องการส่งเสริมเศรษฐกิจหรือภัยคุกคามไซเบอร์ซึ่งฟังไม่ขึ้นแม้แต่น้อย เปิดอกบอกประชาชนมาตรงๆ ดีกว่าว่า ข้อมูลข่าวสารที่ไม่อยากให้ประชาชนเข้าถึงนั้นคืออะไร และมันเป็นภัยคุกคามถึงขั้นที่เราควรยอมจ่ายต้นทุนมหาศาลทางเศรษฐกิจ สังคม และความเป็นส่วนตัวเพราะอะไร.

ooo

มารู้จักกับ Man-in-the-middle Attack



ร่วมแสดงจุดยืนต่อต้าน การคุกคามเสรีภาพพื้นฐานทางอินเตอร์เน็ต ไม่เอาSingle Gateway
Posted by พลเมืองโต้กลับ Resistant Citizen on Wednesday, September 30, 2015
https://www.facebook.com/Resistantcitizen/videos/vb.844606445582500/958529137523563/?type=2&theater


22.10 น. ล่าสุด เว็บไซต์รัฐบาลไทย ล่มเป็นรายที่ 4 หลังชาวเน็ตแสดงออกต่อต้าน



Credit @Kao_VoiceTV21




ภาพที่แชร์ในทวิตเตอร์


22.30 เว็บไซต์กระทรวงการคลัง ล่มเป็นรายที่ 5 ที่โดนชาวเน็ตไทยไปถล่ม เพื่อแสดงออกต่อต้าน #singlegateway@KAO_VoiceTV21

ชาวเน็ตต้าน #singlegateway ถล่ม เว็ป ICT 'กสท โทรคมนาคม' กอ.รมน. ล่ม





ข้อมูลจากชาวทวิตภพ
ooo

เรามารู้กัน DDos หรือ ยิง ip กัน กิ๊ๆ

https://www.youtube.com/watch?v=i_GMn_pUb5Y


ชีวิต 2 นักแสดงละคร 'เจ้าสาวหมาป่า' ผู้ลี้ภัยในต่างแดน




ที่มา ประชาไท
Tue, 2015-09-29
ทวีพร คุ้มเมธา

หลังรัฐประหาร ข้าวเหนียว และ ปุก คือนักแสดง 2 คนจากละครล้อเลียนการเมืองเรื่อง ‘เจ้าสาวหมาป่า’ ต้องลี้ภัยไปประเทศเพื่อนบ้าน พวกเขาไม่มีทางเลือก เพราะเพื่อนนักแสดงในเรื่องเดียวกันถูกตัดสินจำคุกข้อหาหมิ่นฯ ไปแล้ว ประชาไทคุยกับทั้งสองว่าพวกเขาใช้ชีวิตอย่างไรในฐานะผู้ลักลอบเข้าเมืองผิดกม. และความหวังที่จะกลับ "บ้าน"

‘เจ้าสาวหมาป่า’ คือละครเวทีที่สร้างสรรค์โดยกลุ่มประกายไฟการละคร สมาชิกสามคนของกลุ่มใช้เวลาแค่วันเดียวในการร่างบทและเขียนสคริปต์ขึ้นมา ด้วยเนื้อเรื่องที่เต็มไปด้วยการเสียดสีราชวงศ์และการเมืองไทย เจ้าสาวหมาป่าจึงเล่นไปได้เพียงสองรอบเท่านั้น ในวันที่ 6 ต.ค. 56 และ 13 ต.ค. 56 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การแสดงในวันที่ 13 ต.ค. เพียงประมาณหนึ่งชั่วโมงทำให้ปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม หรือแบงค์ วัย 24 ปี และภรณ์ทิพย์ มั่นคง หรือกอล์ฟ วัย 26 ปีถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ตามมาตรา 112 ติดคุกคนละ 2 ปี 6 เดือนแบบไม่รอลงอาญา เจ้าสาวหมาป่าจึงกลายเป็นละครเวทีเรื่องแรกในประวัติศาสตร์ที่ทำให้นักแสดงติดคุกด้วยมาตรา 112 ไปโดยปริยาย

นอกจากแบงค์และกอล์ฟแล้ว ยังมีรายงานว่านักแสดงอีกหกคนในเรื่อง ซึ่งส่วนใหญ่อายุไม่ถึง 30 ปี ก็เป็นที่ต้องการตัวของตำรวจด้วยเช่นกัน พวกเขาต่างใช้ชีวิตบนความหวาดกลัว บางคนเดินทางออกนอกประเทศและลี้ภัยโดยสมัครใจอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน (ประชาไทขออนุญาตไม่เปิดเผยที่อยู่และรายละเอียด เพื่อความปลอดภัยของแหล่งข่าว)

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กลุ่มประกายไฟทำการแสดงที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่พูดถึงได้ยากหรือไม่ถูกพูดถึงบ่อยนักในสังคมไทยมาแล้วหลายครั้ง แต่ละครั้งพวกเขาพยายามท้าทายขีดจำกัดของสังคมเสมอ เพราะเชื่อว่าการสื่อสารผ่านศิลปะนั้นมีเสรีภาพมากกว่า

ปุก (นามสมมติ) หนึ่งในนักแสดงเจ้าสาวหมาป่าวัย 19 ปี ต้องย้ายออกจากบ้านของเขาในภาคใต้ของประเทศไทย หลังแบงค์และกอล์ฟถูกจับ เขาย้ายที่พักไปเรื่อยๆ และอยู่อย่างหลบๆ ซ่อนๆ จนสุดท้ายตัดสินใจเดินทางออกนอกประเทศเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

 


แบงค์ กับ กอล์ฟ ขึ้นศาล

“ผมโคตรกลัวเลย ผมเล่นละครเนี่ย พูดไม่ถึง 10 นาทีด้วยซ้ำ แต่มันทำลายชีวิตทั้งชีวิต ผมเพิ่งสอบที่รามได้แค่สองครั้งเอง ก็ต้องมาอยู่นี่ ผมอยากเป็นวัยรุ่นที่ได้ไปเที่ยวบ้าง อะไรบ้าง แต่ที่นี่ทุกอย่างมันขึ้นกับเงินและสถานการณ์ ต้องทนอยู่ับความอึมครึมของบรรยากาศการต่อสู้ทางการเมือง ผมยังเด็ก บางทีเราก็คุยเล่นแบบเด็กวัยรุ่น ก็จะโดนผู้ใหญ่ว่า แล้วที่นี่ก็แทบไม่มีคนอายุไล่เลี่ยกันอยู่เลย” ปุกกล่าว เขาบอกด้วยว่า เขาถูกเตือนไม่ให้คบกับคนท้องถิ่น ซึ่งอาจเป็นสายให้เจ้าหน้าที่ไทย

ปุกเป็นนักศึกษาปีหนึ่งคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ชีวิตมหาวิทยาลัยและอนาคตด้านการศึกษาในกรุงเทพฯ ของเขาพังทลายลงอย่างกะทันหัน เพียงเพราะคณะรัฐประหารระบุว่าละครเวทีมือสมัครเล่นเรื่องนี้เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ

ด้านข้าวเหนียว (นามสมมติ) นักแสดงอีกคนจากละครเรื่องเดียวกันและนักเคลื่อนไหววัย 30 ปีที่ผ่านการแสดงในงานเล็กๆ อย่างค่ายอาสาราว 20 ครั้ง เปิดเผยว่าเขาคาดการณ์ไว้นานแล้วว่าอย่างไรก็ต้องมีวันที่ตัวเองหนีออกนอกประเทศและกลายเป็นผู้ลี้ภัย

สถานการณ์การเมืองไทยที่ย่ำแย่และการกดขี่เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทำให้เขากังวลอย่างมาก ขณะเดียวกัน มันเป็นแรงกระตุ้นให้เขาพยายามท้าทายขีดจำกัดของประเด็นที่พูดถึงไม่ได้ในสังคมผ่านละครเวที ขณะเดียวกัน เขาก็หาข้อมูลเกี่ยวกับ ‘ประเทศใหม่’ ใกล้เคียงไปด้วย ทั้งในเรื่องสังคม การเมือง อาหาร ค่าครองชีพ ไปจนถึงภาษา

บัณฑิตคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งเป็นคนกรุงเทพฯ โดยกำเนิดคนนี้เปิดเผยกับประชาไทว่า “ตั้งแต่ที่อ่านบท ผมก็คิดเลยว่าผมต้องหนีออกนอกประเทศแน่นอน ผมบอกเรื่องนี้กับทั้งเพื่อนนักแสดงและที่บ้าน ทุกคนบอกว่าผมพูดเหลวไหลเพราะมันเป็นแค่การแสดง แม้จะมีความเสี่ยง แต่สุดท้ายผมก็ตัดสินใจเล่น เพราะผมคิดไว้แล้วว่าวันหนึ่งก็ต้องลี้ภัยอยู่ดีและผมก็ไม่อยากอยู่ประเทศไทยอีกต่อไป”

ข้าวเหนียวต้องเดินทางออกนอกประเทศไทยอย่างหลบๆ ซ่อนๆ และผิดกฎหมาย เนื่องจากถูกออกหมายจับโดยตำรวจ ซึ่งเขายังคงรู้สึกเสียใจที่ไม่ได้รีบเดินทางออกนอกประเทศก่อนหน้านั้น

“ตอนนั้นผมก็มั่นใจว่าเตรียมตัวมาดีแล้ว แต่พอเจอจริงๆ ตั้งตัวไม่ถูกเลย เพราะตั้งใจว่า จะออกนอกประเทศแบบบนดิน แต่ตอนนั้นก็สายเกินไปแล้วที่จะไปบนดิน ต้องไปแบบเถื่อน” ข้าวเหนียวกล่าว

เจ้าสาวหมาป่าถูกสร้างขึ้นมาโดยสมาชิกสามคนของประกายไฟการละคร ซึ่งรวมถึงกอล์ฟและปุก แม้จะมีชื่อเรื่องว่าเจ้าสาวหมาป่า เนื้อเรื่องจริงๆ กลับไม่ได้เกี่ยวข้องกับตัวละครเจ้าสาวที่เป็นหมาป่าเท่าไรนัก เค้าโครงเรื่องโดยรวมค่อนข้างไม่ชัดเจน เส้นเรื่องหลักมักถูกคั่นด้วยเรื่องสั้นเป็นระยะๆ ส่วนการแสดงของนักแสดงนั้นเต็มไปด้วยการ ‘อิมโพรไวซ์’ หรือแสดงสด

เจ้าสาวหมาป่าเป็นเรื่องราวของอาณาจักรในจินตนาการที่ถูกปกครองและบริหารโดยกษัตริย์องค์หนึ่งซึ่งทรงอำนาจอย่างมากหลังอภิเษกสมรสกับพระชายาที่เป็นหมาป่า แต่หลังการสมรสก็กลับสังหารเธอทิ้ง หลังจากนั้น พระองค์ก็ทรงอ่อนแอลงเพราะถูกวางยาโดยปุโรหิต เมื่อกษัตริย์ประชวรหนักขึ้นเรื่อยๆ ปุโรหิตก็ลายเป็นผู้สำเร็จราชการแทน

ปุโรหิตคนดังกล่าวรับสินบนจากนักธุรกิจที่ต้องการสร้างห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่บนที่ดินของกษัตริย์ จากนั้นไม่นาน เงาของกษัตริย์ในกระจกก็กลับมีชีวิตขึ้นมาอย่างพิศวงและขึ้นมาบริหารอาณาจักรด้วยตัวเอง กษัตริย์องค์ที่ออกมาจากกระจกทรงลุแก่อำนาจและทะเยอทะยานอย่างมาก ขณะที่กษัตริย์ตัวจริงยังคงนอนป่วยอยู่โดยไม่รู้ความเป็นไป

ปุกอธิบายว่าราชวงศ์ในเรื่องเป็นตัวแทนของชนชั้นนำไทย ส่วนเงาในกระจกเป็นตัวแทนของอดีตนายกฯ ทักษิน ชินวัตร นักการเมืองที่นำมาซึ่งความแตกแยกมากที่สุดในประเทศและผู้นำในดวงใจของคนเสื้อแดง

ปุกกล่าวว่า “เราต้องการแสดงให้เห็นความย้อนแย้งของขบวนการเสื้อแดงที่เรียกตัวเองว่าเป็นฝ่ายประชาธิปไตย พวกเขาบูชาทักษิณแบบแตะไม่ได้ ถ้าเป็นแบบนั้น ทักษิณจะไม่แตกต่างอะไรจากอีกฝ่ายเลย การห้ามวิจารณ์ทักษิณมันขยายวงมากขึ้นเรื่อยๆ”

ด้านข้าวเหนียวมองว่าความหมายแฝงที่แทรกอยู่ในบทของเจ้าสาวหมาป่าอาจจะลึกซึ้งเกินไป

“ผมไม่คิดว่าผู้ชมส่วนใหญ่เข้าใจสารที่เราต้องการจะสื่อ ส่วนหนึ่งเป็นความผิดของพวกเราเองที่ฝึกซ้อมไม่มากพอ นักแสดงบางคนก็เพิ่งขึ้นแสดงละครเวทีเป็นครั้งแรก และหลายคนก็ยังเข้าไม่ถึงบทที่เล่นเท่าไร”


พราหมณ์ (แสดงโดยปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม) วางยาพระราชาให้อ่อนแอ

ชีวิตกับการเมือง 24 ชม.

ประมาณสิบวันหลังจากคณะรัฐประหารยึดอำนาจ คสช.ได้เรียกตัวนักเคลื่อนไหว 28 คนไปรายงานตัวต่อทหารในวันที่ 1 มิถุนายน 2557 ซึ่งอย่างน้อย 11 คนในนั้นถูกสอบถามเกี่ยวกับละครเรื่องเจ้าสาวหมาป่า ตลอดจนถูกบังคับให้เปิดเผยชื่อของนักแสดงแต่ละคนด้วย

“ผมก็เข้าใจความจำเป็นของเพื่อน ว่าถูกบีบให้คายชื่อ ก็ได้ชื่อกอล์ฟ ชื่อแบงค์ แล้วก็กับชื่อผม” ข้าวเหนียวกล่าว สามวันหลังจากนั้น ตำรวจออกหมายจับพวกเขา กอล์ฟและแบงค์ถูกจับกุมในเดือนสิงหาคม

ข้าวเหนียวเล่าว่า เขาต้องออกจากบ้านด้วยเงินสดเพียง 4,000 บาท ส่วนปุกถูกไล่ออกจากบ้านหลังญาติๆ ที่เป็นรอยัลลิสต์รู้ว่าเขาไปทำอะไรมา (ปุกเป็นเด็กกำพร้า) ยิ่งไปกว่านั้น เขายังถูกขู่ฆ่าจากญาติของตัวเองอีกด้วย

“ผมกลัวมาก กลัวที่สุดในชีวิตเลย” ปุกกล่าว

ทั้งคู่เห็นตรงกันว่าการอาศัยอยู่ในประเทศเพื่อนบ้านอย่างผิดกฎหมายอย่างไรเสียก็ดีกว่าการหลบซ่อนในไทย แต่แม้ว่าจะอยู่ต่างบ้านต่างเมือง พวกเขาก็ยังระแวงและพยายามปกปิดตัวตนเสมอ เช่น สวมแว่นกันแดดและหมวกเวลาออกไปซื้อของที่ตลอดทุกครั้ง เพราะยังคงมีข่าวลือว่าเจ้าหน้าที่จากไทยกำลังตามหาและอาจมาลักพาตัวพวกเขาไปได้ทุกเมื่อ นอกจากปกปิดตัวตนแล้ว ที่อยู่บ้านใหม่ของพวกเขาก็ถือเป็นความลับสุดยอดเลยทีเดียว

ปัจจุบัน ข้าวเหนียวและปุกอาศัยอยู่ในบ้านหลังเดียวกันร่วมกับสมาชิกในบ้านอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นชายล้วน ทั้งหมดเป็นผู้ต้องหาทางการเมืองจากประเทศไทย หลายคนเป็นที่ต้องการตัวในข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ตามมาตรา 112 พวกเขาอยู่กันแบบคอมมูน สมาชิกบ้านจะลงขันคนละ 40 บาทเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ในบ้าน และสำหรับอาหารค่ำในแต่ละวัน ส่วนมื้อกลางวันส่วนใหญ่เป็นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป

งานประจำของพวกเขาทุกวันนี้คือจัดรายการการเมืองรายวันผ่านระบบพ็อดแคสต์ รายได้ส่วนหนึ่งได้มาจากแฟนๆ รายการที่ช่วยกันบริจาคนั่นเอง

จากเดิมที่เป็นคนพูดน้อย และเก็บตัว ปุกต้องพยายามอย่างมาก เพื่อเปลี่ยนแปลงบุคลิกตัวเองให้เป็นนักจัดรายการที่ดุดันและตลกขบขันเพื่อดึงดูดเงินบริจาค แต่การทำเช่นนั้นก็อาจทำให้เขาเสี่ยงที่จะมีโทษตามกฎหมายเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะการวิจารณ์สถาบันกษัตริย์ของไทย

“ถ้าตำรวจรู้ว่าผมเป็นใคร ผมคงต้องติดคุกอีก 15,000 ปี ผมไม่เคยพูดมากขนาดนี้มาก่อนในชีวิต แต่ก็ต้องทำ เลือกไม่ได้ ถ้าไม่ทำก็อดตาย” ปุกเผย

ข้าวเหนียวรับหน้าที่เป็นพิธีกรร่วมในรายการการเมืองและรายการเพลง นอกจากนี้ ยังรับผิดชอบดูแลด้านความเรียบร้อยด้านเทคนิคของสถานีด้วย ทั้งสองคนอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีแต่คนคุยเรื่องการเมืองกันตลอดเวลา งานของพวกเขาก็คือการพูดคุยวิพากษ์วิจารณ์การเมือง ยิ่งไปกว่านั้น อนาคตของพวกเขายังขึ้นอยู่กับสถานการณ์การเมืองไทยด้วย ซึ่งสำหรับปุกแล้ว สภาพที่เป็นอยู่นำมาซึ่งความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า

“ชีวตคนลี้ภัย ชีวิตไม่มีเรื่องอื่น นอกจากการเมือง เรื่องเจ้า เรื่องประยุทธ เหลือง แดง ผมฟังพวกลี้ภัยด้วยกันถกกัน ก็มีแต่เรื่องเดิมๆ ดูแล้วโคตรสิ้นหวังกับขบวนการเลย ต่างคนต่างบ้าผลประโยชน์ขนาดนี้ มันเน่าเฟะมาก ผู้ลี้ัยแข่งขันกันเพื่อให้ได้เงินบริจาค” ปุกกล่าว

ภาวะซึมเศร้าและสุขภาพจิตของปุกแย่ลงเรื่อยๆ ตั้งแต่ลี้ภัยมา เพราะเขารู้สึกว่ากำลังใช้ชีวิตอย่างไร้จุดหมายและน่าเบื่อ ประกอบกับการอยู่รวมกับเพื่อนคนอื่นเกือบตลอดเวลาในบ้านหลังเดียวกันทำให้ขาดความเป็นส่วนตัวอย่างมาก เขายอมรับว่าคิดฆ่าตัวตายวันละหลายครั้ง

ที่แย่ที่สุดคือเขาไม่สามารถไปปรึกษาจิตแพทย์ในประเทศที่อาศัยอยู่ได้ เพราะเขาเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย

อนาคตที่เลือนลาง

อดีตนักศึกษารามฯ ปีหนึ่งคนนี้เปิดเผยกับประชาไทว่า เขาอยากเรียนต่อ เขาติดต่อไปยังสถานทูตหลายประเทศเพื่อขอสถานะผู้ลี้ภัยแล้วแต่ยังไม่มีที่ไหนตอบกลับมาเลย

“ผมไปมาทุกสถานทูตแล้ว ผมอยากได้สถานะผู้ลี้ภัยจะได้ไปอยู่ประเทศที่สามและเรียนหนังสืออีกครั้ง แต่ไม่ได้เลย ตอนนี้มืดมนมาก จนแอบยอมแพ้แล้ว เริ่มหมดหวังแล้ว”

“ชีวิตอยู่ไปวันๆ ไร้รสชาด เช้าตื่นนอน กินข้าว อัดรายการ คุยกับแม่ยกขอตังค์ กินข้าว นอน” ปุกเสริม

ในทางตรงกันข้าม สำหรับข้าวเหนียวแล้ว การใช้ชีวิตเป็นผู้ลี้ภัยโดยสมัครใจในต่างแดนคือโอกาสที่จะได้สนุกไปกับบทบาทใหม่ นั่นก็คือการเป็นนักวิจารณ์และนักเคลื่อนไหวการเมืองอย่างเต็มที่

“ข้อมูลบางอย่างถูกปิดในประเทศไทย และคนในประเทศก็หิวกระหายข้อมูลเหล่านั้น เราก็ใช้โอกาสนี้ทำให้เขาหายกระหาย” ข้าวเหนียวกล่าว

นักแสดงและนักเคลื่อนไหววัย 30 ปีเชื่อว่า เขาต้องอาศัยอยู่ในประเทศเพื่อนบ้านไปอีกสองปีเป็นอย่างน้อย เขาเองอยากขอสถานะผู้ลี้ภัยจาก UNHCR แต่คุณสมบัติไม่ตรงตามเงื่อนไข

อย่างไรก็ตาม ทั้งข้าวเหนียวและปุกยังรอวันที่ประเทศไทยจะเกิด ‘การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่’ การเปลี่ยนแปลงภายในที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้จากคนนอกอย่างพวกเขา

“ผมอยากให้คนไทยเลิกชิล ใส่ใจปัญหาประชาธิปไตยมากกว่านี้ ผมว่า อาจต้องรอให้เศรษฐกิจพังก่อนหรือเปล่าจึงจะเห็นพวกเขามาใส่ใจสิทธิในการเลือกตั้ง” ข้าวเหนียวตั้งคำถามถึงคนไทยทุกคน

ปุกเสริมว่า “ผมอยากให้ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลง ให้ระบบศักดินาหายไป และระบอบประชาธิปไตยรุ่งเรือง แต่อาจยากหน่อยเพราะคนไทยเป็นคนอดทน ดูแล้วอนาคตผมโคตรมืดเลย ตอนนี้กระแสเริ่มซาแล้ว ยอดบริจาคก็น้อย ในที่สุดอาจต้องไปทำมาค้าขายแทน”

ปุกบอกว่า เขาไม่ค่อยเห็นอนาคตที่จะได้กลับประเทศไทย “น่าจะไม่ต่ำกว่า 30 ปี ที่ฝ่ายประชาธิปไตยจะชนะ นี่ไม่ได้ดูถูกนะ แต่ผมเองยังมองไม่เห็นหนทางชนะจริงๆ”


เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
รายงานพิเศษ: ใกล้หู แม้ไกลตา...วง ‘ไฟเย็น’ ยามห่างไกล ‘นคร’
ชีวิตผู้ลี้ภัยการเมืองไทยในต่างแดน: จรัล ดิษฐาอภิชัย ณ ฝรั่งเศส
ชีวิตผู้ลี้ภัยการเมืองในต่างแดน: อั้ม เนโกะ ณ ฝรั่งเศส

คลิป “ยิ่งลักษณ์” ฟ้องอัยการสูงสุด ยืนยันสิทธิ์เพื่อปกป้องตนเอง


#TV24 “ยิ่งลักษณ์” ฟ้องอัยการสูงสุด ยืนยันสิทธิ์เพื่อปกป้องตนเอง “ยิ่งลักษณ์” ขอใช้สิทธิ์ยื่นฟ้องอัยการสูงสุดกับพวก เพ...
Posted by TV24 สถานีประชาชน on Tuesday, September 29, 2015
https://www.facebook.com/tv24official/videos/vb.742693512457320/934821353244534/?type=2&theater

‪#‎TV24‬ “ยิ่งลักษณ์” ฟ้องอัยการสูงสุด ยืนยันสิทธิ์เพื่อปกป้องตนเอง

“ยิ่งลักษณ์” ขอใช้สิทธิ์ยื่นฟ้องอัยการสูงสุดกับพวก เพื่อปกป้องตนเอง กรณีอัยการสูงสุดกับพวกปฏิบัติหน้าที่มิชอบในการไม่ไต่สวนข้อไม่สมบูรณ์ บรรยายฟ้องเท็จและเกินการแจ้งข้อกล่าวหา ของ ป.ป.ช. นำเอกสารนอกสำนวนเข้าสู่สำนวนโดยมิชอบ

วันนี้ ( 29 ก.ย. 2558 ) น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางมายังศาลอาญาเพื่อยื่นฟ้องอัยการสูงสุดพร้อมพวกในความผิดอาญาฐาน ร่วมกันปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด และความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 มาตรา 200 และมาตรา 83 โดยเป็นการกระทำผิดต่างกรรมต่างวาระกันรวม 3 กรณีดังต่อไปนี้


1.การที่อัยการสูงสุดมีความเห็นชี้ข้อไม่สมบูรณ์เพียงพอที่จะดำเนินคดีได้รวม 4 ข้อ อันประกอบไปด้วย ประเด็นปัญหาเรื่องโครงการรับจำนำข้าว ประเด็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ประเด็นเรื่องการทุจริต และประเด็นอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อรูปคดี ซึ่งเป็นคุณกับตน แต่กลับไม่ได้ไต่สวนให้เสร็จสิ้นตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและภายหลังกลับมีความเห็นสั่งฟ้อง 1 ชั่วโมงก่อนการพิจารณาถอดถอนตนที่ สนช.

2.การบรรยายฟ้องของอัยการสูงสุด ที่ยื่นฟ้องตนต่อศาลมีการเพิ่มเติมข้อกล่าวหาจากที่ ป.ป.ช. แจ้งข้อกล่าวหาเดิมตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 โดยไม่มีข้อกล่าวหาว่าทุจริต หรือสมยอมให้ทุจริต แต่คำฟ้องของ อสส.กลับบรรยายว่าตนรู้เห็นและสมยอมให้เกิดการทุจริต ซึ่งเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับผู้อื่น

3. ในชั้นพิจารณาของศาล อัยการสูงสุดกลับนำเอกสารที่ไม่มีการไต่สวนในชั้นป.ป.ช. และในชั้นคณะทำงานร่วมระหว่างอัยการสูงสุดและป.ป.ช. ในคดีที่กล่าวหาดิฉันเข้ามาในสำนวนจำนวนกล่าว 60,000 แผ่น ซึ่งถือเป็นการนำเอกสารนอกสำนวน เข้ามาในสำนวนโดยมิชอบ

นอกจากนี้ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ยังเห็นว่าการดำเนินการของอัยการสูงสุดทั้ง 3 ข้อที่กล่าวมาเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จึงจำเป็นต้องรักษาสิทธิและใช้สิทธิตามกฎหมายที่ต้องฟ้องร้องกับทุกกรณีที่เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ไม่ชอบธรรม และไม่เป็นไปตามกระบวนการของกฎหมาย ระเบียบ และหลักนิติธรรม

http://www.tv24.in.th/2015/09/blog-post_29.html




วิสัยทัศน์พอเพียง... ประยุทธ์เน้นหารือทวีภาคีประเทศไร้ชื่อเสียงขนาดเล็ก (บีบีซีไทย)




ที่มา 
บีบีซีไทย - BBC Thai

ประยุทธ์เน้นหารือทวีภาคีประเทศไร้ชื่อเสียงขนาดเล็ก

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทยใช้เวลาส่วนหนึ่งระหว่างการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติในการพบปะหารือแบบทวิภาคีกับประเทศที่มีขนาดเล็กและไม่เป็นที่รู้จักในประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่ โดยมีเป้าหมายสำคัญในการขอเสียงสนับสนุนการสมัครเข้าเป็นสมาชิกแบบไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

พลเอกประยุทธ์ได้พบกับแกสตัน บราวน์ นายกรัฐมนตรีแอนติกาและบาร์บูดา ในช่วงก่อนอาหารกลางวันของวันที่ 27 กันยายน ที่ห้องล็อบบี้ของอาคารสำนักงานองค์การสหประชาชาติ การหารือเป็นเวลา 20 นาทีเป็นไปในลักษณะการแนะนำตัวและแจ้งให้ทราบว่าประเทศไทยกำลังสมัครชิงตำแหน่งในคณะมนตรีความมั่นคง

แอนติกาและบาร์บูดา เป็นชื่อประเทศเดียวที่มีเกาะสองเกาะและหมู่เกาะอีกจำนวนหนึ่ง ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ซึ่งทะเลแคริบเบียนและมหาสมุทรแอตแลนติกมาเจอกัน มีพื้นที่ 440 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 90,000 คนเศษ ๆ เคยเป็นประเทศในอาณานิคมอังกฤษ ได้รับเอกราชเมื่อปี พ.ศ. 2524 การปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบมีพระราชินีเป็นประมุข

ในวันที่ 28 กันยายน พลเอกประยุทธ์ได้พบปะหารือทวิภาคีกับโจเซเอีย โวเรเก ไบนิมารามา หรือที่รู้จักกันดีในนาม แฟรงค์ ไบนิมารามา นายกรัฐมนตรีฟิจิ ที่ห้องล็อบบี้อาคารสำนักงานใหญ่สหประชาชาติเป็นเวลา 20 นาที ซึ่งการหารือเป็นไปในลักษณะของการแนะนำตัวและทำความรู้จักกันเช่นกัน

ฟิจิเป็นประเทศหมู่เกาะในแปซิฟิกใต้ เป็นประเทศที่ทำรัฐประหารบ่อยและเป็นที่รู้จักในหมู่คนไทยเพราะการรัฐประหารในปี 2549 นั้นเกิดขึ้นหลังจากประเทศไทยเพียง 2 เดือนเศษ ๆ เท่านั้น จากนั้นคณะทหารของ ไบนิมารามา ใช้เวลาร่างรัฐธรรมนูญซึ่งถูกยกเลิกในปี 2552 จนกระทั่งปี 2556 จึงได้ประกาศใช้ก่อนที่จะจัดการเลือกตั้งในเดือนกันยายนปี 2557 โดยพรรคของไบนิมารามา ชนะการเลือกตั้งเขาดำรง
ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาจนปัจจุบันและมีโอกาสได้พบกับพลเอกประยุทธ์ซึ่งเป็นผู้นำการยึดอำนาจในประเทศไทยระหว่างการประชุมสหประชาชาติในปีนี้

ในตอนเย็นของวันที่ 28 กันยายน พลเอกประยุทธ์ได้พบกับมิลอช เซมัน ประธานาธิบดีสาธารณรัฐเช็ก ที่ห้องล็อบบี้ในอาคารสหประชาชาติเป็นเวลา 20 นาที ก่อนจะได้หารือกับเอมอมาลี เราะห์มาน ประธานาธิบดี ทาจิกิสถาน ในห้องเดิมในเวลาถัดกันมาเป็นเวลา 20 นาทีเช่นกัน

สาธารณรัฐเช็กเป็นประเทศอดีตสังคมนิยมในยุโรปตะวันออกส่วนทาจิสถานนั้นเป็นประเทศในเอเชียกลางมีพรมแดนติดอัฟกานิสถานและจีน

เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศอธิบายว่า แม้ว่าประเทศเหล่านั้นจะเป็นประเทศเล็กและไม่เป็นที่รู้จักหรือมีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจการเมืองร่วมกับไทยมากนัก แต่ในฐานะสมาชิกสหประชาชาติประเทศเหล่านั้นมี 1 คะแนนเสียงเท่ากัน การที่นายกรัฐมนตรีของไทยขอพบปะหาหรือกับผู้นำประเทศเหล่านั้นย่อมสร้างความประทับใจแก่พวกเขาที่ได้รับเกียรติและทำให้ประเทศเหล่านั้นรู้จักและเข้าใจประเทศไทยมากขึ้น

ประเทศไทยสมัครเข้าชิงตำแหน่งว่างของสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในห้วงปี 2560-2561 การเข้าสู่ตำแหน่งนี้ใช้วิธีเลือกตั้งโดยการลงคะแนนของประเทศสมาชิก คาดกว่าการลงคะแนนจะเกิดขึ้นในกลางปีหน้า

อย่างไรก็ตาม พลเอกประยุทธ์ได้พบปะหารือกับผู้นำของประเทศสำคัญอยู่บ้างคือ พบปะริมระเบียง (corridor meeting) กับประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ที่บริเวณห้องประชุม 6 ในอาคารที่ประชุมสมัชชาใหญ่เป็นเวลาประมาณ 20 นาทีเช่นกัน เจ้าหน้าที่รัฐบาลไม่เปิดเผยเนื้อหาการหารือของผู้นำทั้งสอง เพียงแต่กล่าวว่า การประชุมมีเนื้อหาสาระพอสมควร #UN70 #UNGA

(ภาพจากสำนักโฆษก)

ความเห็นบางส่วน...

วิสัยทัศนของนายกไทย มองข้ามกลุมEu และเมกามองหาประเทศที่ไม่มีใครรู้จัก อีกหน่อยจะไปดาวอังคารละมั้ง

ฮาๆๆๆ สมัครเข้าสู่ตำแหน่งสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UN) "โดยการเลือกตั้ง" นะจ๊ะโยมมมม

ทำไมอ่านข่าว BBC แล้ว การใช้ภาษามันดูเอียงๆ ไม่กลางเท่าไหร่เลย ประเทศไร้ชื่อเสียงขนาดเล็กอย่างงี้ การประชุมมีเนื้อหาสาระพอสมควร อย่างงี้ อ่านเนื้อข่าวก็ดูกระแนะกระแหน ยังไงไม่รู้

ในเมื่อสังคมโลกเขาไม่อยากคบกับรัฐบาลที่มาจากรัฐประหารก็ต้องยอมรับสภาพโดดเดี่ยวหาเพื่อนยากแบบนี้แหละ

ปอดแหก ใจไม่กล้า ภาษาไม่แข็งแรง หาที่ยืนลำบาก ไม่แปลกหลอกที่จะไปคุยกับประเทศเล็กๆพูดชื่อมาประเทศแรกผมยังไม่รู้จักเลย แกะดำ หลงยุคหลงสมัย รีบกลับมาเป็นราชาในกะลาดีกว่า อยู่ข้างนอกก้อเหมือนมดปลวก อายเค้า

เลือกตั้งจะสู้เค้าได้รึ เอาปืนไปบังคับเค้าง่ายกว่าไหม

ประเทศใหญ่ คุยกับเขาไม่รู้เรื่อง และเขาไม่ลดตัวลงมาคุยให้เสียเวลา 555

ถ้าอ่านข่าว bbc แล้วมันไม่ระรื่นหู แนะนำกลับไปในกะลาฟัง อ่าน แต่ข่าวเนชั่น เอเอสทีวีเหมือนเดิมนะ จะไม่ไม่สติแตกตาย เข้าใจว่าออกนอกกะลามาแล้วมันใจสั่นก็กลับไปได้นะ เห็นใจๆ

จะไปเอาเสียงจากกลุ่ม EU ก็คงไม่ง่ายอยู่แล้ว เหตุผลก็รู้ๆ กันอยู่ มาหาเสียงจากประเทศเล็กๆ บนเงื่อนไข 1 เสียงเท่ากัน ผมว่าคุ้มกว่าเยอะ ส่วนพวก 5 บิ๊กของ มนตรีความมั่นคง จีน รัสเซีย ก็เอียงมาทางเรา คิดว่าลุงตู่ เลือกถูกทางละ


โอบาม่า พูด 42นาที ไม่มีอ่านโพย ส่วนประยุทธ์ พูดไม่ถึง 5 นาที ดู โพย ล้วนๆ (มีคลิป)




ประยุทธ์ อ่านโพย 5 นาที ไม่มีเงยหน้าเบยยย

“คนเป็นนายกรัฐมนตรีต้องเข้าใจ
ต้องคิดต้องรู้จักบริหารราชการแผ่นดิน
ผมจึงไม่เคยอ่านโพยเลย
พูดเองตลอดขอให้เอาหัวข้อมาเท่านั้นก็พอ
ถ้าแค่นั่งอ่านโพยแถมยังอ่านผิดอีก
ลูกน้องผมก็เป็นได้”

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
9 กันยายน 2558

นรม.เข้้าร่วมประชุมสุดยอดเรื่องการรักษาสันติภาพ จัดโดยสหรัฐฯ
https://www.youtube.com/watch?v=UKpSvkaJ2nA&app=desktop





โอบาม่า พูด 42นาที ไม่มีอ่านโพย
ส่วนประยุทธ์ พูดไม่ถึง 5 นาที ดู โพย ล้วนๆ

Barack Obama's entire U.N. speech
https://www.youtube.com/watch?v=qcfSfdII-9Y



Credit

Maysaanitto Home


ทั่นผู้นำ กล่าวแต๊งกิ้ว พร้อม เช็คแฮนด์ ประธานาธิบดี โอบามา ที่ได้ริเริ่มการประชุมสำคัญนี้ Peacekeeping Summit 2015 ในเวทีUN นครนิวยอร์ค ไม่ทราบรวมถึงสปีชของโอบาม่าในที่ประชุมใหญ่ด้วยไหม





Deep Blue Sea @WassanaNanuam 33m
นายกฯ กล่าวขอบคุณ ประธานาธิบดี โอบามา ที่ได้ริเริ่มการประชุมสำคัญนี้ Peacekeeping Summit 2015 ในเวทีUN นครนิวยอร์ค

ไม่ทราบรวมถึงสปีชของโอบาม่าในที่ประชุมใหญ่ด้วยไหม

ooo

เรื่องเกี่ยวข้อง...

คำปราศรัยของโอบามาในโอกาส 70 ปี UN เหมือนกับต้องการพูดให้เผด็จการประเทศหนึ่งได้ฟัง


"You can jail your opponents but you can't imprison their ideas, you can control access to info, but can’t lie about truth"- Obama #‎UNGA2015

“คุณขังฝ่ายต่อต้านได้ แต่ขังความคิดเขาไม่ได้ คุณควบคุมการเข้าถึงข้อมูลได้ แต่คุณเปลี่ยนความเท็จให้เป็นความจริงไม่ได้” คำปราศรัยของโอบามา เช้านี้ที่นิวยอร์ก ในโอกาส 70 ปี UN เหมือนกับต้องการพูดให้เผด็จการประเทศหนึ่งได้ฟัง หวังว่าล่ามคงแปลตามนั้น เผื่อเขาจะมีดวงตาเห็นธรรมบ้าง #‎singlegateway

“The governments that suppress peaceful dissent is not showing strength, it is showing weakness. The regimes that fear their own people will eventually crumble.”

“รัฐบาลที่ปราบปรามคนที่แสดงความเห็นต่างอย่างสงบ ไม่ได้แสดงความเข้มแข็ง แต่กำลังแสดงความอ่อนแอ สุดท้ายแล้วรัฐบาลที่กลัวประชาชนของตนเอง จะต้องพังทลายไป”#‎UNGA2015 #‎Obama

Pipob Udomittipong


World leaders urged to press military junta on human rights ‘crisis’ in Thailand




ข่าวด่วน .....(๒๘ กันยายน ๕๘)....

สมาชิกรัฐสภายุโรป เตรียมเสนอการยกระดับมาตราการตอบโต้ ประเทศไทย....
( หรือ การคว่ำบาตรทางการค้า จะเริ่มนับถอยหลังแล้ว...)

สมาชิกรัฐสภายุโรปฯ (Mr.Marc Tarabella ) ได้เรียกร้องให้ ผู้นำนานาชาติ กดดัน นายประยุทธ์ จันท์โอชา ในการประชุมที่ สหประชาชาติ UN และยังได้กล่าวถึงการมาตราการตอบโต้รัฐบาลไทยดังต่อไป.....

".....สถานการณ์ในประเทศไทยในปัจจุบันเป็นที่น่าเศร้ามามาก ถึงแม้ประเทศไทยจะเป็นพันธมิตรที่สำคัญทางการค้าสำหรับสหภาพยุโรป แต่ยังมีประเด็นอื่น ๆ ที่จะนำมาพิจารณาควบคู่กัน ไม่ว่าจะเป็น สิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยในประเทศไทย ซึ่งผมได้ยึดถือและให้ความสำคัญ(อย่างจริงใจ) เป็นอย่างยิ่งว่า ประเด็นเหล่านี้เป็นปัญหาที่ควรได้รับการพิจารณาก่อนจะมีท่าทีทางการค้า(ของสหภาพยุโรป) ต่อไปนั้น และเป็นสิ่งที่ผมตั้งใจที่จะนำมาพูดคุยกับคณะกรรมาธิการ เพื่อยกระดับมาตราการตอบโต้ ในช่วงประชุมรัฐสภายุโรปต่อไป..... " กล่าวโดย Mr.Marc Tarabella สมาชิกรัฐสภายุโรปฯ

๋๋James Walsky
...

World leaders urged to press military junta on human rights ‘crisis’ in Thailand

Martin Banks | September 28, 2015
eureporter

A leading MEP will say he supports calls for Thai Prime Minister Prayuth Chan-ocha (pictured) to give assurances about human rights and democracy in the country when he gives a landmark speech in the United Nations today (29 September).

There is an increasing clamour for Prayut to be pressed about issues such as human trafficking and returning democracy to the Thai people when he makes his debut at the UN General Assembly in New York.

He is expected to face tough questions, particularly those concerning the repression of human rights as well as elections in Thailand, which have been delayed several times and will not be held now until the middle of 2017.

Human rights organizations, such as Human Rights Watch (HRW), are applying pressure, urging world leaders to take the opportunity of his appearance before the UN to condemn Thailand’s actions.

Members of the Thai diaspora have openly opposed the military coup the general led in May 2014 and are planning to turn up in New York to challenge him.

Speaking ahead of the much-awaited speech, Belgian MEP Marc Tarabella, who is vice chair of the European Parliament’s Delegation for relations with the countries of Southeast Asia and the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN), told this website that human rights should be top of the agenda when the general addresses the UN.

Tarabella, a Socialist deputy, said: “The situation in Thailand at present is very sad.It is an important commercial partner for the EU but there are also other issues to be taken into account such as human rights and a viable democracy, two principles I hold very dear to my heart.

“Behind the commercial aspects is also the situation at present of Thai citizens. These are the issues which should be preoccupying us and is something I intend to raise with the Commission during the next parliamentary plenary.”

His comments are echoed by Fraser Cameron, Director of the EU-Asia Centre in Brussels, who told EU Reporter: “The EU will be hoping that the prime minister outlines a clear timetable for the restoration of democracy in Thailand when he addresses the UN on Tuesday. The EU also expects him to address the plight of those working in appalling conditions on Thai fishing vessels.”

A spokesman for the European External Action Service (EEAS) said it “stood by” the EU’s position on Thailand which includes a call for the restoration of democracy and early elections.

Prayut will give a 10 minute speech in which he is expected to outline Thailand’s sustainable development plan.

The trip, which concludes on 1 October, coincides with a damning new HRW report which says world leaders should hold Prayut accountable for his pledges on rights and democracy.

The report says the UN must call on Prayut to “end repression of human rights and quickly restore democratic civilian rule.”

It says that since the coup, Thai authorities have continued to violate the rights of asylum seekers and refugees. The respected organisation also says ruling National Council for Peace and Order grants “broad authority” to the junta to carry out policies and actions “without any effective oversight or accountability” for human rights abuses.

Brad Adams, Asia director for HRW, said, “Thailand’s junta leader should get the welcome he deserves at the UN which is an earful about the junta’s abysmal human rights record. The leaders attending the General Assembly should use their meetings with General Prayut to urge and end to the junta’s wave of repression and restore democratic civilian rule.”

He adds, “World leaders should not tread lightly in broaching Thailand’s rights violations with Prayut. By being forthright in raising concerns, governmens can help reverse the human rights crisis in Thailand and put the country on the path toward civilian democratic rule.”

Thailand is campaigning for a non permanent seat on the UN Security Council in an election that will be held in October next year.

The General Assembly presents an “important opportunity” for concerned governments an UN officials to urge Prayut to act immediately on a broad range of human rights concerns, including the military’s “sweeping an unchecked” powers, says HRW.

Since coming to power in a coup, Prayut has imposed a ban on protests, political activities and any public challenges to his regime.

Some violators of the ban have been sent to stand trial under martial court where they face up to years in prison if found guilty by the all military judges.

The speech in the UN comes at a time of mounting instability in Thailand,including concern about the health of the revered but frail King Bhumibol Adulyadej.

คม-ชัด-ลึก ผู้นำทหารไทย...เวทีโลก ความท้าทายผู้นำไทย




https://www.youtube.com/watch?v=gJUNO6GVb7w&sns=fb

คม-ชัด-ลึก ผู้นำทหารไทย...เวทีโลก?

รายการ คมชัดลึก

Published on Sep 28, 2015

ผู้ร่วมรายการ
- อัษฏา ชัยนาม อดีตเอกอัครราชทูตไทยและผู้แทนถาวรไทยประจ­ำองค์การสหประชาชาติ
- วิโรจน์ อาลี รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ คณะรัฐศาสตร์ มธ.


วันอังคาร, กันยายน 29, 2558

ชิหาย (เกือบตายห่) เว็บ ITU เผยเรื่องจริง the ICTs in Sustainable Development Award





ชิหาย (เกือบตายห่) เว็บ ITU เผยเรื่องจริง the ICTs in Sustainable Development Award.

International Telecommunication Union ซึ่งเป็นองค์กรเฉพาะกิจทางด้าน Information and Communication Technologies ภายในองค์การสหประชาชาติ ตีพิมพ์คำนิยมต่อการที่ประเทศไทยได้รับรางวัล ‘การพัฒนาที่ยั่งยืน’ ระหว่างการประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งที่ ๗๐ ปลายเดือนกันยายน ๒๕๕๘ นี้

“เค้าโครงนโยบายด้านเท็คนิคการสื่อสารและโทรคมนาคมของประเทศไทย เป็นแบบอย่างที่โดดเด่นสำหรับการพัฒนาอย่างได้ผลของการจัดระเบียบสภาพแวดล้อมทางการโทรคมนาคม/ไอซีที”

โดยที่เฟสแรกของนโยบายจากปี พ.ศ. ๒๕๔๔ ถึงปี ๒๕๕๓ เป็นการเพิ่มพูนขอบข่ายเศรษฐกิจดิจิทอล และคุณภาพชีวิต

“ถึงปี ๒๕๕๖ ตลาดการสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุขยายตัวอย่างมโหฬาร โดยที่การใช้สัญญานโทรศัพท์เคลื่อนที่สูงถึง ๑๓๘ เปอร์เซ็นต์ และการเข้าถึงของระบบบร๊อดแบนด์ขยายตัวถึง ๕๒ เปอร์เซ็นต์”

“นับแต่ปี ๒๕๕๑ คอมพิวเตอร์ได้เข้าไปแทนที่โทรศัพท์ ในฐานะอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมที่ใช้กันอย่างคุ้นเคยในครัวเรือน และในปี ๒๕๕๒ ได้มีการนำเสนอเค้าโครงนโยบายใหม่อันกว้างขวาง คือ Smart Thailand 2020”




อันเป็นเฟสที่สองของการพัฒนาเท็คโนโลยี่ในไทย ที่ซึ่ง Wanchalearm Satsaksit กล่าวถึงไว้บนหน้าเฟชบุ๊คของเขา

“Prayuth recived ITU award but it belongs to Yingluck.
หมายเหตุ Smart Thailand 2020
เป็นโครงการสมัยรมต. ICT ที่ชื่อ อนุดิษฐ์ นาครทรรพ
นายกรัฐมนตรีชื่อ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
*****
รักษาการรมว.ไอซีที เป็นประธานในงานแถลงข่าวโครงการ Smart Thailand 2020 “พลิกฟื้นประเทศไทยด้วย ICT” (DECEMBER 19, 2013)
http://www.ictgenius9.com/home/1098/
ก.ไอซีที เชิญร่วมชมงาน Bangkok International ICT Expo 2012
http://itbiz.lekasina.com/archives/9245
*****
ข้อความตอนหนึ่งระบุชัดเจนว่า

เริ่มจากนโยบาย Smart Thailand 2020 ในปี 2014 เพราะทำให้เกิดการเข้าถึงเทคโนโลยีและการกระจายจุด Wi-Fi กว่า 400,000 จุด ทำให้คนเข้าถึงเทคโนโลยี จ้าาาาา อ่านจ้าอ่าน”

“แถมที่ตลกมากคือ ITU ได้เปลี่ยนให้ Kingdom of Thailand กลายเป็น the republic of Thailand. ไปได้ฟระ

(หลังจากผม captured ภาพ และลงไปเมื่อ 5 ชม.ก่อน ขณะนี้ทางเว็บ ITU ได้แก้ไขกลับคืนมาเป็น the Kingdom of Thailand แล้วนะครับ)

เว็บไซต์ ITU : http://www.itu.int/en/ict-sdg-award/2015/Pages/thailand.aspx



อีกอย่างเรื่องประธาน จี ๗๗ ไรเนี่ย ที่ซ่าหริ่มนกหวีดปิดแบ๊งค็อกดี๊ ด๊ากันนักหนา น่ะ

ต้องช่วยๆ กันอ่านเอาความจริงบ้างนะเธอว์ๆ

“นายจรัล ดิษฐาอภิชัย อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เเละอดีตที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความให้ความเห็นกรณี ไทยได้รับเลือก เป็นประธานกลุ่มG77 โดยระบุว่า

ประเทศไทยได้ถูกวางให้เป็นประธานG 77 จากการประชุมองค์การนี้ที่นาโรบี ประเทศเคนยาเมื่อต้นปี2014 สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตรโดยรับตำแหน่งจากบราซิล...

ทั้งนี้ G 77 เป็นการรวมกลุ่มประเทศด้อยพัฒนาและกำลังพัฒนาตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 1964 ต่อมาประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าร่วมด้วย ชื่อที่เป็นทางการ คือกลุ่ม G 77 และจีน การตั้งขบวนการนี้มีนัยยะแทนกลุ่มประเทศไม่ฝักฝ่ายฝ่ายใด ซึ่งเป็นขบวนการทางการเมือง

ความจริงมิใช่ครั้งแรกที่ G77 เคยมีประเทศเผด็จการเป็นประธาน หลังสุดคือประเทศฟิจิ มีรัฐประหารเมื่อเดือนธันวาคม 2006 และเป็นเผด็จการ ก็เคยเป็นประธานเมื่อปี 2013”

(http://www.khonthaiuk.eu/forum/index.php?topic=31708.0)

(ควันหลงแถมท้าย คนละเรื่องเดียวกัน เหตุเกิดแถวๆ East side Manhattan มีคนเขาจับคำปาฐกถาของผู้นำผิวดำท่านหนึ่งเอามาให้ดูกัน เผื่อพวก กปปส. นิวยอร์คจะอัฟเอาไว้ใช้ละลายอวิชชา)



หือ ตัดคอเลยเหรอ รอกิโยตินหน่อยนะ




...


กิโยตีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ลักษณะ

คือเครื่องมือที่ใช้ในการลงโทษโดยการตัดคอ กิโยตีนประกอบโครงโดยส่วนมากจะเป็นไม้ ไว้สำหรับแขวนใบมีดรูปสี่เหลี่ยมคางหมู น้ำหนักประมาณ 40 กก. ใบมีดจะถูกแขวนไว้ในส่วนบนสุด ภายใต้ใบมีดจะเป็นส่วนที่ให้ผู้ถูกลงโทษวางศีรษะ เมื่อเชือกได้ถูกปล่อยหรือตัดลง ใบมีดที่หนักจะหล่นลงไม้ในระยะทางประมาณ 2.3 เมตร และตัดศีรษะผู้ถูกประหาร (ความสูงและน้ำหนักตามมาตรฐานกิโยตีนฝรั่งเศส)

ถึงแม้ว่าประเทศฝรั่งเศสได้ชื่อว่าเป็นประเทศแรกที่ใช้การประหารชีวิตด้วยกิโยตีน นีกอลา ฌัก แปลตีเย (Nicolas J. Pelletier) โจรปล้นสัญจรถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตีนเป็นคนแรกเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2335 (ค.ศ. 1792) ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16สหราชอาณาจักร มีเครื่องลงโทษลักษณะที่คล้ายกันชื่อ จิบบิต (gibbet) และมีเครื่องลงโทษลักษณะคล้ายกันในประเทศอิตาลีและสวิตเซอร์แลนด์

ผู้คิดค้น

อ็องตวน หลุยส์ (Antoine Louis) สมาชิกของกลุ่ม Académie Chirurgical เป็นบุคคลที่คิดค้นการทำงานของเครื่องกิโยตีน โดยเครื่องกิโยตีนตอนแรกได้ใช้ชื่อว่า ลูยซง (Louison) หรือลูยแซ็ต (Louisette) แต่ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "กิโยตีน" ตามชื่อของ ดร.โฌแซ็ฟ-อีญัส กียอแต็ง(Joseph-Ignace Guillotin) แพทย์ชาวฝรั่งเศสเป็นผู้เสนอแนะการประหารชีวิตโดยการตัดคอ ภายหลัง ดร.กิโยตีน ได้เปลี่ยนนามสกุล เนื่องจากไม่ต้องการใช้ชื่อสกุลเป็นคำเดียวกับวิธีการประหารชีวิต การใช้เครื่องกิโยตีนแทนการประหารชีวิตแบบเก่า โดยเหตุผลว่าเป็นการประหารชีวิตของมนุษย์ ก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศสผู้มีชื่อเสียงจะถูกตัดคอโดยดาบหรือขวาน ในขณะที่ชาวบ้านทั่วไปจะถูกแขวนคอ หรือวิธีการประหลาดต่าง ๆ ในช่วงของยุคกลาง (เช่น ถูกเผาหรือมัดกับล้อไม้) ในการตัดคอ มีหลายครั้งที่ตัดคอไม่สำเร็จในดาบแรก ทำให้เกิดความทรมานต่อผู้ถูกประหารชีวิต การใช้กิโยตีนจะทำให้ผู้ถูกประหารชีวิตเจ็บปวดน้อยที่สุด ในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศส มีผู้ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตีนอย่างน้อย 20,000 คน โดยการประหารด้วยกิโยตีนถือเป็นที่สนใจของบุคคลทั่วไปเช่นกัน

กิโยตีนถือเป็นเครื่องประหารชนิดเดียวที่ถูกกฎหมาย จนกระทั่งยกเลิกกฎหมายประหารชีวิตในปี พ.ศ. 2424 บุคคลสุดท้ายที่ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตีนคือ ยูจีน เว็ดมันน์ (Eugene Weidmann) ฆาตกรสังหาร 5 ศพ โดยถูกตัดศีรษะ

วิวัฒนาการของ “การลงโทษในคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ” ในรอบ 200 ปี ตามบริบทสังคมการเมือง




โดย ilaw-freedom
ที่มา เวป ilaw
22 กันยายน 2015

ปัจจุบันแทบไม่มีใครไม่รู้จักกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือ กฎหมาย “หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ” กฎหมายพิเศษที่คุ้มครองชื่อเสียงเกียรติยศของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

ในประวัติศาสตร์ทั้งก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง บุคคลในสถาบันพระมหากษัตริย์มีอิทธิพลต่อการเมืองไทยเป็นอย่างมากและต่อเนื่องมายาวนานยาวนาน กฎหมายดังกล่าวจึงไม่อาจแยกออกจากบริบททางประวัติศาสตร์การเมืองไทยแต่ละยุคสมัยได้ ตัวบทของกฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ มีวิวัฒนาการไปตามสภาพสังคมการเมืองแต่ละยุคสมัย และการบังคับใช้กฎหมายนี้ก็มีวิวัฒนาการไปเรื่อยๆ เช่นเดียวกัน

ยุคการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475

ในยุคนี้พระมหากษัตริย์เป็นเจ้าของอำนาจรัฐ พระมหากษัตริย์กับรัฐจึงเป็นเสมือนสิ่งๆ เดียวกันตามคติว่าด้วยสมมติเทพและธรรมราชา โดยเฉพาะในสมัยรัตนโกสินทร์ การละเมิดต่อชื่อเสียงเกียรติยศของพระมหากษัตริย์จึงเท่ากับเป็นการละเมิดกฎหมายสูงสุดหรือทำลายความมั่นคงของรัฐ

กฎหมายตราสามดวง

กฎหมายตราสามดวง ตราขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ บัญญัติให้ความผิดฐานเจรจาหยาบช้าต่อพระเจ้าอยู่หัว มีโทษ 8 สถาน คือ “ให้ฟันฅอริบเรือน ให้ตัดปากตัดหูตัดมือตัดตีนเสีย ให้ทวนด้วยลวดหนัง 25 ที 50 ที ให้จำไว้เดือนหนึ่ง แล้วเอาตัวลงหญ้าช้าง ให้ไหมจัตุระคูน แล้วเอาตัวลงเปนไพร่ ให้ไหมทวีคูน ให้ไหมลาหนึ่ง ให้ภาคทัณท์ไว้” ความผิดฐานติเตียนนินทาว่ากล่าวพระเจ้าอยู่หัว มีโทษ 3 สถาน คือ “ ให้ฟันฅอริบเรือน ให้ริบเอาสิ่งสีนแล้วเอาตัวลงหญ้าช้าง ให้ทวนด้วยลวดหนังโดยสกัน 50 ที หมิสกัน 25 ที”

ดังที่เคยปรากฏคดีตัวอย่าง เช่น 

• ช่วงปี 2425 (รศ.101) นายเทียนวรรณถูกฟ้องร้องกรณีเขียนฎีกาให้กับราษฎรผู้หนึ่งโดยไม่ขออนุญาตจากกระทรวงมหาดไทย และถูกตัดสินว่าหมิ่นตราพระราชสีห์ซึ่งเป็นสัญญลักษณ์ที่ใช้ประทับในการบริหารราชการของกษัตริย์ โดยกล่าวว่าตรานี้ไม่สามารถบังคับกรมการในหัวเมืองได้ซึ่งเท่ากับหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและหมิ่นประมาทเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงเกษตร โทษทัณฑ์ของเขาเป็นไปตามกฎหมายโบราณ คือ ถูกโบย 50 ที และขังคุกโดยไม่มีกำหนด เทียนวรรณถูกจำขังอยู่ 17 ปี จึงได้รับอิสรภาพในปี พ.ศ. 2442 (รศ.118)

• ช่วงปี 2441 มีการเนรเทศนายเจ เจ ลิลลี บรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ Bangkok Free Press ออกนอกประเทศข้อหาดูหมิ่นองค์พระมหากษัตริย์ รัฐบาลและประชาชนสยาม ที่ประท้วงและพยายามส่งโทรเลขรายงานการเซ็นเซอร์โทรเลข รายงานการสู้รบระหว่างกองทัพสยามกับชาวเขมรที่ไม่จ่ายภาษีของรัฐบาลสยาม ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นข้อความที่ผิดข้อเท็จจริงและกระทบความมั่นคง

พระราชกำหนดลักษณะหมิ่นประมาทด้วยการพูดฤาเขียนถ้อยคำเท็จออกโฆษณาการ ร.ศ.118

ต่อมาเมื่อการสื่อสารในรูปแบบเขียนและการพิมพ์เริ่มแพร่หลาย นำไปสู่การประกาศใช้ พระราชกำหนดลักษณะหมิ่นประมาทด้วยการพูดฤาเขียนถ้อยคำเท็จออกโฆษณาการ ร.ศ.118 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งระบุความผิดการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ไว้ในมาตรา 4 ให้มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 1,500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ดังที่เคยปรากฏคดีตัวอย่าง เช่น 

• ช่วงปีพ.ศ.2449 รัชกาลที่ 5 ด้วยทรงกริ้วได้วินิจฉัยว่าบทความของ ก.ศ.ร.กุหลาบ ว่ามีถ้อยคำและความคิดที่มีลักษณะสบประมาทต่อผู้มีบรรดาศักดิ์ ไม่ได้เกรงพระบรมเดชานุภาพ ที่กล่าวเทียบเคียงว่ารัชกาลที่ 5 จะเป็นกษัตริย์ที่สุดของวงศ์จากการพูดถึงพระราชโอรสที่เข้าครองราชย์สมัยสุโขทัยองค์หนึ่งไม่มีความสามารถจึงเสียบ้านเสียเมืองแก่กรุงศรีฯ โดยให้จับตัวคุมขังไว้ในโรงพยาบาลคนเสียจริตจนกว่าจะเป็นปกติ ซึ่งมีข้อมูลว่าเขาอยู่เพียง 7 วัน

กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127

ด้วยกระแสรัฐสมัยใหม่จากตะวันตก ในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงมีการปฏิรูปกฎหมายและศาลนำไปสู่การประกาศใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 ซึ่งกำหนดความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ไว้ในมาตรา 98 ให้มีโทษสูงขึ้น คือ จำคุกไม่เกินเจ็ดปี ปรับไม่เกิน 5,000 บาท

นอกจากนี้ยังมีการกำหนดความผิดจากการทำให้เกิดการดูหมิ่นและขาดความจงรักภักดีต่อกษัตริย์ ไว้ในมาตรา 104 ด้วย ให้มีโทษจำคุกไม่เกินสามปี ปรับไม่เกิน 1,000 บาท

ต่อมาในพ.ศ. 2470 ปลายสมัยรัชกาลที่ 7 มีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาคอมมิวนิสต์ จึงแก้ไขเพิ่มเติมในให้การสั่งสอนทฤษฎีการเมืองหรือเศรษฐกิจเพื่อให้บังเกิดความเกลียดชังดูหมิ่นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือเกิดความเกลียดชังระหว่างชนชั้น เป็นความผิด มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ดังที่เคยปรากฏคดีตัวอย่าง เช่น 

• ช่วงปี 2475 ศาลตัดสิน ตามมาตรา 104 ของกฎหมายลักษณะอาญา กรณีจำเลยตัวต่อราษฎรว่าอ้างว่าเป็นพระเจ้าพี่ยาเธอของพระเจ้าแผ่นดิน พระเจ้าแผ่นดินปกครองไม่ดี จะต้องถอด และจำเลยจะขึ้นครองราชย์สมบัติแทน และอนุญาตให้ฆ่าโคกระบือและทำสุราเถื่อนกินได้ ว่ามีความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา ให้จำคุก 7 ปี (ดูคำพิพากษาศาล ฎีกา 612/2475)

พระราชบัญญัติสมุด เอกสาร และหนังสือพิมพ์ พ.ศ.2470

ในภาวะสังคมที่เทคโนโลยีและสื่อสิ่งพิมพ์ที่แพร่หลายต่อสาธารณะมากขึ้น สื่อกลายเป็นพื้นที่ช่วงชิงการอธิบายความเป็นชาติ ในสมัยรัชการที่ 6 จึงมีการออกพระราชบัญญัติสมุด เอกสาร และหนังสือพิมพ์ พ.ศ.2465 มาตรา 5 กำหนดให้บทประพันธ์ที่มีจุดมุ่งหมาย เพื่อจะยุยงให้กระทำความผิดฐานประทุษร้ายต่อพระเจ้าอยู่หัวและราชอาณาจักรเป็นบทประพันธ์ประเภท “เสี้ยนหนามแผ่นดิน” ซึ่งเป็นความผิดกำหนดโทษกรณี “…เมื่อได้พิมพ์ขึ้นในกรุงสยาม…ผู้ประพันธ์บรรณาธิการและเจ้าของ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 5,000 บาทหรือทั้งจำและปรับทั้งสองสถาน”

ต่อมาในพ.ศ. 2470 มีการแก้ไขเพิ่มเติมความหมายของคำว่าเสี้ยนหนามแผ่นดินในมาตรา 6(5) ว่าคือบทประพันธ์ “..อันมีความมุ่งหมายทางตรงหรือทางอ้อม คือโดยอนุมานก็ดีแนะก็ดี กล่าวกระทบก็ดีกล่าวเปรียบก็ดี โดยปริยายหรือประการอื่นก็ดี เพื่อจะ ให้เกิดความเกลียดชังหรือดูหมิ่นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว…”

ดังที่เคยปรากฏคดีตัวอย่าง เช่น 

• ช่วงปี2466 ศาลตัดสินตามพ.ร.บ.สมุดเอกสารฯ 2465 กรณีนายเอ อี ซูฟอาลี และนายสถิต เสมานิลผู้จัดการและบรรณาธิการหนังสือพิมพ์วายาโม ถูกกล่าวหาว่ามีบทประพันธ์ที่มีถ้อยคำหมิ่นประมาทต่ออำมาตย์ของพระเจ้าอยู่หัวและต่อพระเจ้าอยู่หัวและพระราชินี ให้จำคุก 5 ปี




ยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ที่พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ

24 มิถุนายน 2475 เกิดการอภิวัฒน์เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบรูณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยโดยคณะราษฎรที่ยืนยันว่าอำนาจสูงสุดในรัฐเป็นของประชาชน ตำแหน่งพระมหากษัตริย์จึงเปลี่ยนสถานะจากเจ้าของอำนาจรัฐผู้อยู่เหนือกฎหมายไปสู่ตำแหน่งประมุขของรัฐ เป็นองค์กรหนึ่งของรัฐซึ่งมีอำนาจหน้าที่จำกัดภายใต้รัฐธรรมนูญ

แก้ไขกฎหมายลักษณะอาญา ลดโทษและกำหนดบทยกเว้นความผิด

ในช่วงปี พ.ศ.2478 รัฐสภา ยกเลิกมาตรา 100 ของกฎหมายลักษณะอาญาฯ ที่กำหนดความผิดฐานหมิ่นประมาทต่อพระราชโอรส พระราชธิดา เป็นพิเศษ ต่อมา ขณะที่ในเวลาใกล้เคียงกัน มีการแก้ไขในมาตรา 104 (1) ของประมวลกฎหมายลักษณะอาญาฯ กำหนดความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ให้มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี แต่ให้มีเหตุยกเว้นโทษ กรณีแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต เพื่อประโยชน์สาธารณะ

ดังที่เคยปรากฏคดีตัวอย่าง เช่น

• ช่วงปี 2503 ศาลฎีกาตัดสิน ตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา98 กรณีนายสุวัฒน์ วรดิลกและนางเพ็ญศรี พุ่มชูศรีคู่สามีภรรยา ศิลปินนักร้องนักแต่งเพลง ซึ่งถูกผู้ที่เคยอยู่บ้านเช่าอยู่ร่วมกันแต่ภายหลังมีเหตุทะเลาะเบาะแว้งกันนำความมากล่าวหาว่า จำเลยทั้งสองตั้งชื่อสุนัขด้วยพระนามของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระราชินี เขาถูกฟ้องจากการกระทำ 4 กรรมที่เกิดระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2496 ถึง 15 มกราคม 2501 โดยมีการจับกุมดำเนินคดีในช่วงเดือนมกราคม 2501 หลังการรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ ศาลชั้นต้นให้จำคุกสุวัฒน์ 3 ปี ยกฟ้องเพ็ญศรีในข้อหานี้ เพราะผู้กล่าวหามีสาเหตุโกรธเคืองกับเพ็ญศรีในเรื่องอื่นมาก่อน ศาลอุทธรณ์ตัดสินลงโทษจำคุกทั้งสองคนคนละ 5 ปี โดยศาลฎีกาให้จำคุกนายสุวัฒน์ 5 ปี และยกฟ้องนางเพ็ญศรี (ดูคำพิพากษาศาลฎีกา 1643/2503)

เปลี่ยนมาใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2599 จุดเริ่มต้นมาตรา 112

ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2499 ถูกตราขึ้นใช้แทนกฎหมายลักษณะอาญา ฉบับเดิม โดยย้ายบทบัญญัติมาตรา 98 ของกฎหมายลักษณะอาญาไปอยู่ในมาตรา 112 โดยยกเลิกบทยกเว้นความผิดพร้อมแก้ไขเนื้อความเป็นว่า “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี”

ในยุคสมัยของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ช่วงทศวรรษ 2500 การหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ถูกนำไปผูกเข้ากับความผิดต่อความมั่นคงแห่งรัฐ เช่น การเป็นคอมมิวนิสต์ นำไปสู่ดำเนินการกำจัดและกวาดล้างศัตรูทางการเมือง

ดังที่เคยปรากฏคดีตัวอย่าง เช่น 

• ช่วงปี 2500 ศาลชั้นต้นตัดสิน กรณีนายสง่า เนื่องนิยม ถูกกล่าวหาว่าไฮด์ปาร์คกล่าวถึงกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8 พร้อมทำท่าทางประกอบการพูด ซึ่งหลังตำรวจทำการจับกุมในยุครัฐบาลจอมพลป. ดำเนินการเพียงปรับตามข้อหาใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่หลังจากจอมพลสฤษดิ์ยึดอำนาจอัยการจึงยื่นฟ้องเขาต่อศาลในข้อหาตามมาตรา 112 ศาลพิพากษาให้จำคุก 5 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่งเพราะรับสารภาพ เหลือจำคุก 2 ปี 6 เดือน

• ช่วงปี 2503 ศาลฏีกาตัดสินยืนตามศาลอุทธรณ์และศาลชั้นค้น กรณีนายโกศัย มุ่งเจริญ ซึ่งถูกกล่าวหาว่า ถูกกล่าวหาว่า กล่าวถึงสาเหตุกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8 ว่ามีความผิดตามมาตรา112 ให้จำคุก 3 ปีลดโทษ 1 ใน 3 เพราะรับสารภาพ เหลือจำคุก 2 ปี (ดู คำพิพากษาศาลฎีกา 51/2503)

• ช่วงปี 2503 ศาลฎีกาตัดสิน กรณีนายประจวบ สารพัด นักหนังสือพิมพ์และบรรณาธิการผู้พิมพ์โฆษณาของหนังสือพิมพ์เสรี ที่ถูกกล่าวหาว่า ตีพิมพ์บทความที่เขียนวิพากษ์วิจารณ์วันจักรีเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2500 ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา เห็นพ้องกันว่าบทความมีการมุ่งกล่าวถึงพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันด้วย เป็นความผิดตามาตรา 112 ให้จำคุก 5 ปี (ดูคำพิพากษาศาลฎีกา1641/2503)

• ช่วงปี 2504 ศาลชั้นต้นตัดสิน กรณีนายบุญคอง ลืออำนาจ ที่จังหวัดนราธิวาส ที่ถูกกล่าวหาว่ากล่าวขณะมึนเมาและทะเลาะวิวาทกับเพื่อนในวงเหล้าพาดพิงถึงพระเจ้าแผ่นดินว่า มีความผิดตามมาตรา112 ให้จำคุก 6 เดือน ลดโทษเพราะรับสารภาพคงเหลือ3เดือน

• ช่วงปี 2505 ศาลชั้นต้นตัดสิน กรณีนายภารปตาปซิงห์ ชาวฮินดูขายถั่วที่จังหวัดนครราชสี ที่ถูกกล่าวหาว่า กล่าวถ้อยคำดุด่าคนซื้อถั่วแล้วไม่จ่ายเปรียบถึงพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งเป็นความผิดมาตรา 112 ที่ผู้ที่จำเลยมีเรื่องด้วยนำเรื่องไปแจ้งความ โดยศาลให้จำคุก 1 ปี

• ช่วงปี 2505 ศาลชั้นต้นตัดสินนายแฮนด์เล่ย์ นายเอ็ดเวอร์ด โซบาวฮิตี้ และนายวิลลเลี่ยม เฮนรี่ กลุ่มนักบินชาวอเมริกันที่จังหวัดอุดรธานี จากการที่ถูกกล่าวหาว่ายิงปืนไปถูกพระบรมฉายาลักษณ์ในบ้านพักขณะมึนเมา ว่ามีความผิดตามมาตรา 112 ให้จำคุกคนละ 4 ปีลดโทษเพราะรับสารภาพคงเหลือ 2 ปี รอลงอาญา

แก้ไขเพิ่มโทษสูงสุดเป็น 15 ปี หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ 2519

ข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ขึ้นสู่จุดที่รุนแรงที่สุดในช่วงเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 จากกรณีการแสดงละครแขวนคอของนักศึกษา อันเป็นที่มาของการปลุกระดมและนำไปสู่การใช้ความรุนแรง หลังการยึดอำนาจของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ได้มีการออกคำสั่งให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เป็น “มาตรา ๑๑๒ ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี”

นอกจากนี้ ยังมีการสร้างชุดคำอธิบายว่าพระมหากษัตริย์มีอำนาจทางการเมืองในสภาวะวิกฤต ในฐานะเป็นหลักชัยในการระงับเหตุร้ายแรง ที่สำคัญพระมหากษัตริย์ไทยยังทรงเป็นเหมือน “พ่อ” ของรัฐ ชุดความสัมพันธ์สร้างอารมณ์ความรู้สึกความผูกพันใกล้ชิดหรือความรักของพลเมืองที่มีต่อกษัตริย์องค์ปัจจุบัน ขณะเดียวกันก็ทำให้การหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ เพิ่มความหมายในลักษณะที่กระทบความรู้สึกของประชาชน

ดังที่เคยปรากฏคดีตัวอย่าง เช่น 

• ช่วงปี 2519 ศาลชั้นต้นตัดสิน กรณีนายประเสริฐ ลอยตระกูล นักศึกษาที่ทำกิจกรรมทางการเมืองในมหาวิยาลัยเชียงใหม่ ที่ถูกกล่าวหาว่าเขียนข้อความเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์บริเวณสถานที่ประทับในพิธีพระราชทานปริญญาฯ บริเวณศาลาอ่างแก้วในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2519 ว่ามีความผิดตามมาตรา 112 ให้จำคุก 4 ปีลดโทษกึ่งหนึ่งเพราะรับสารภาพจึงเหลือ 2 ปี

• ช่วงปี 2521 ศาลตัดสิน กรณีนายอนุชิต ธนัครสมบัติ ถูกกล่าวหาว่า ในวันที่ 16 มกราคม 2519 ไม่ยืนตรงและกล่าวถ้อยคำที่แสดงความไม่เคารพว่า ”เฮ้ยเปิดเพลงอะไรโว้ย ฟังไม่รู้เรื่อง” ขณะเปิดเพลงสรรเสริญพระบารมี ณ ท้องสนามหลวง ระหว่างการอภิปรายของกลุ่มต่อต้านคอมมิวนิสต์ ซึ่งประชาชนต่างยืนตรงแสดงความเคารพ ว่าเป็นการกระทำที่มีเจตนาดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ตามมาตรา 112 ให้จำคุก 2 ปี (ดู ฎีกา 1294/2521)

• ช่วงปี 2521 ศาลตัดสิน กรณีนายเสนีย์ สูงนารถ ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ดาวดารายุคสยาม ประจำวันที่ 10 เมษายน 2518 วิพากษ์วิจารณ์พระบรมราวาทของพระราชินีที่พระราชทานแก่นายร้อยตำรวจ และอัดสำเนาบทความนี้เผยแพร่แก่นักข่าวและเจ้าหน้าที่ตำรวจ ว่าเป็นความผิดตามมาตรา112 ให้จำคุก 3 ปี และนายเล็ก ลักษณะผล ในฐานะบรรณาธิการ ตามพรบ.การพิมพ์ 2484 ให้ลงโทษจำคุก1ปี (ดู คำพิพากษาศาลฎีกา 861/2521)

• ช่วงปี 2524 ศาลตัดสิน กรณีนายรัตนะ อุตตพันธ์ ถูกกล่าวหา ว่าแสดงท่าทางและกล่าวถ้อยคำที่หมิ่นประมาทกษัตริย์ตามมาตรา 112 ขณะเข้าเฝ้ารับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ วัดอรุณและยังพบใบปลิวมีเนื้อหาเชิงหมิ่นฯหลังตรวจค้นบ้านพัก ให้จำคุก 6 ปี
• ช่วงปี 2525 ศาลตัดสินกรณีนายสนั่น วงศ์สุธี ถูกกล่าวหาว่า กล่าวพาดพิงสถาบันกษัตริย์ฯ ในการสัมมนาผู้นำแรงงาน ว่าเป็นความผิดตามมาตรา 112 ให้จำคุก 1 ปี 6 เดือน 

• ช่วงปี 2526 ศาลชั้นต้นตัดสิน กรณีพันตำรวจตรีอนันต์ เสนาขันธ์อดีตนายตำรวจและผู้ก่อตั้งขบวนการชนวน ถูกกล่าวหาว่า ปราศรัยที่สนามหลวงในวันที่ 29 มีนาคม และ 24 เมษายน 2526 พาดพิงถึงบทบาททางการเมืองของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ กล่าวถึง การซุบซิบเรื่องสถาบันอันเป็นเรื่องปกติของคนไทย โดยเปรียบเทียบเหมือนองค์พระปฏิมาซึ่งกำลังสกปรกและตนได้เริ่มต้นทำความสะอาด ว่า เป็นการกระทำที่ผิดมาตรา112 ให้จำคุกกรรมละ 3 ปี รวมจำคุก 6 ปี

• ช่วงปี 2544 ศาลชั้นต้นตัดสิน กรณีนายโคชิ ทากาฮาชีชาวญี่ปุ่น ถูกกล่าวหาว่าเขียนบทความสารคดีเรื่องชีวิตชนบที่เชียงใหม่ ซึ่งมีข้อความบางตอนที่ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา 112 ให้จำคุก 3 ปีลดโทษกึ่งหนึ่งเพราะรับสารภาพแต่เนื่องจากเป็นชาวต่างชาติจึงให้รอลงอาญา 2 ปี

ในปี 2553 สังคมการเมืองไทยมีความขัดแย้งทางการเมืองสูง โดยมีการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง เพื่อขับไล่รัฐบาลที่นำโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และมีการใช้กำลังทหารเข้าสลายการชุมนุมเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 91 คน หนึ่งในเหตุที่รัฐบาลอ้างเพื่อเข้าสลายการชุมนุม คือ มี "ขบวนการล้มเจ้า" อยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งภายหลังการสลายการชุมนุมก็มีการจับกุมดำเนินคดีตามมาตรา 112 เป็นจำนวนมาก

ดังที่เคยปรากฏคดีตัวอย่าง เช่น 

• ช่วงปี 2554 ศาลตัดสิน กรณีนายอำพล ถูกกล่าวหาว่าส่งข้อความสั้น SMS ไปยังโทรศัพท์มือถือของนายสมเกียรติ จำนวน 4 ข้อความ ซึ่งข้อความเป็นการดูหมิ่น หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ และพระราชินี ให้ลงโทษจำคุกจำเลยกรรมละ 5 ปี รวม 20 ปี

• ช่วงปี 2554 ศาลตัดสิน กรณีนายธันย์ฐวุฒิ ถูกกล่าวหาว่าโพสต์รูปภาพข้อความลงในเว็บไซต์ นปช.ยูเอสเอ เข้าข่ายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ 2 ข้อความ และเป็นผู้ดูแลเว็บไซต์ที่ปล่อยให้ผู้อื่นโพสข้อความเข้าข่ายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ 1 ข้อความ ให้ลงโทษจำคุกจำเลย 13 ปี

• ช่วงปี 2555 ศาลตัดสิน กรณีนายโจ กอร์ดอน ถูกกล่าวหาว่าเป็นเจ้าของบล็อกที่ชื่อว่า บาทเดียว ซึ่งใส่ลิงก์ให้ดาวน์โหลดหนังสือThe King Never Smiles ให้จำคุกจำเลย 5 ปี ลดโทษกึ่งหนึ่งเนื่องจากจำเลยรับสารภาพ เหลือจำคุก 2 ปี 6 ปี

ในปี 2557 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นำคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ทำการรัฐประหารยึดอำนาจและเข้าบริหารประเทศ โดยประกาศให้คดีที่อยู่ในหมวดความมั่นคง รวมทั้งคดีมาตรา 112 พิจารณาที่ศาลทหาร และภายใต้การบริหารประเทศด้วยกฎอัยการศึกเกือบ 1 ปี ในช่วงเวลานี้มีสถิติการจับกุมและดำเนินบุคคลตามมาตรา 112 เป็นอย่างน้อย 53 คน

ดังที่ปรากฏคดีตัวอย่าง เช่น 

• ช่วงปี 2557 ศาลทหารกรุงเทพตัดสิน กรณีนายคฑาวุธ ถูกกล่าวหาว่าจัดรายการวิทยุออนไลน์ มีเนื้อหาเข้าข่ายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา 112 ให้จำคุกจำเลย 10 ปี ลดโทษกึ่งหนึ่งเนื่องจากจำเลยรับสารภาพ เหลือจำคุก 5 ปี

• ช่วงปี 2558 ศาลทหารเชียงใหม่ตัดสิน กรณีศศิวิมล ถูกกล่าวหาว่าโพสต์เฟซบุ๊กเป็น 7 ข้อความ มีลักษณะเข้าข่ายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา 112 ให้จำคุกจำเลยกรรมละ 8 ปี รวม 56 ปี ลดโทษกึ่งหนึ่งเนื่องจากจำเลยรับสารภาพ เหลือจำคุก 28 ปี

• ช่วงปี 2558 ศาลทหารกรุงเทพตัดสิน กรณีนายพงษ์ศักดิ์ ถูกกล่าวหาว่าโพสต์เฟซบุ๊กเป็นภาพและข้อความ 6 ครั้ง มีลักษณะเข้าข่ายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา 112 ให้จำคุกจำเลยกรรมละ 10 ปี รวม 60 ปี ลดโทษกึ่งหนึ่งเนื่องจากจำเลยรับสารภาพ เหลือจำคุก 30 ปี

......................................................................

อ้างอิง
สรุปเรียบเรียงจาก
นพพล อาชามาส, การประกอบสร้างความกลัว และการเมืองว่าด้วยการบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา112 วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2556

เรื่องเกี่ยวเนื่อง...

วิวัฒนาการของ “กฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์” ในรอบ 200 ปี ตามบริบทสังคมการเมือง



โดย ilaw-freedom
ที่มา เวป ilaw
21 กันยายน 2015

ปัจจุบันแทบไม่มีใครไม่รู้จักกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือ กฎหมาย “หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ” หรือที่บางคนเคยเรียกว่า “กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” กฎหมายมาตรานี้เป็นกฎหมายพิเศษที่คุ้มครองชื่อเสียงเกียรติยศของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

ในประวัติศาสตร์ทั้งก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง บุคคลในสถาบันพระมหากษัตริย์มีอิทธิพลต่อการเมืองไทยเป็นอย่างมากและต่อเนื่องมายาวนานยาวนาน กฎหมายดังกล่าวจึงไม่อาจแยกออกจากบริบททางประวัติศาสตร์การเมืองไทยแต่ละยุคสมัยได้ วิวัฒนาการของกฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์พอจะเห็นรูปธรรมได้จากการกำหนดความผิดและโทษ การแก้ไขเพิ่มเติม และกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจากคดีความที่เกิดขึ้นจริง

ยุคการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475

ในยุคนี้พระมหากษัตริย์เป็นเจ้าของอำนาจรัฐ พระมหากษัตริย์กับรัฐจึงเป็นเสมือนสิ่งๆ เดียวกันโดยพระมหากษัตริย์อยู่เหนือกฎหมายทั้งปวงในฐานะผู้เป็นบ่อเกิดแห่งความความยุติธรรมในรัฐ ตามคติว่าด้วยสมมติเทพและธรรมราชา[1]โดยเฉพาะในสมัยรัตนโกสินทร์ การละเมิดต่อชื่อเสียงเกียรติยศของพระมหากษัตริย์จึงเท่ากับเป็นการละเมิดกฎหมายสูงสุดหรือทำลายความมั่นคงของรัฐ

กฎหมายตราสามดวง

กฎหมายตราสามดวง ตราขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จากการชำระกฎหมายต่างๆ ในสมัยอยุธยา กฎหมายตราสามดวงกำหนดความผิดที่กระทำต่อพระมหากษัตริย์ไว้จำนวนมาก โดยเฉพาะในพระอัยการอาชญาหลวง มาตรา 7 ได้บัญญัติความผิดฐานเจรจาหยาบช้าต่อพระเจ้าอยู่หัวและประมาทหมิ่นพระราชบัญญัติและพระบันทูลโองการ เอาไว้ ความว่า

“ผู้ใดทะนงองอาจ์บ่ยำบ่กลัว เจรจาหยาบช้าต่อพระเจ้าอยู่หัวประมาทหมิ่นพระราชบัญญัติ แลพระบันทูลพระโองการ ท่านว่าผู้นั้นเลมิดพระราชอาญาพระเจ้าอยู่หัว ท่านให้ลงโทษ 8 สถาน ๆ หนึ่งคือให้ฟันฅอริบเรือน ให้ตัดปากตัดหูตัดมือตัดตีนเสีย ให้ทวนด้วยลวดหนัง 25 ที 50 ที ให้จำไว้เดือนหนึ่ง แล้วเอาตัวลงหญ้าช้าง ให้ไหมจัตุระคูน แล้วเอาตัวลงเปนไพร่ ให้ไหมทวีคูน ให้ไหมลาหนึ่ง ให้ภาคทัณท์ไว้”

มาตรา 72 ความผิดฐานติเตียนนินทาว่ากล่าวพระเจ้าอยู่หัว ความว่า

“ถ้าผู้ใดติเตียนนินทาว่ากล่าวพระเจ้าอยู่หัวต่างต่าง พิจารณาเปนสัจ ให้ลงโทษ 3 สถานๆ หนึ่งคือ ให้ฟันฅอริบเรือน ให้ริบเอาสิ่งสีนแล้วเอาตัวลงหญ้าช้าง ให้ทวนด้วยลวดหนังโดยสกัน 50 ที หมิสกัน 25 ที”

และมาตรา 58 ความผิดฐานด่าผู้มีบรรดาศักดิ์ ความว่า

“..ด่าท่านผู้มิบันดาศักดิ ท่านให้ลงโทษ 4 สถาน สถานหนึ่งคือ ให้แหวะปากลงโทษถึงสิ้นชีวิตร ให้ตัดปากเสีย ให้ทวนด้วยลวดหนัง 50 ที ไม้หวาย 25 ที ให้ไหมโดยยศถาศักดิ”

อย่างไรก็ตาม[2] ลักษณะและโทษของการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ไม่ได้กินความหมายเพียงในมาตราดังกล่าวเท่านั้นแต่ยังปรากฏในบทบัญญัติอื่นๆกว่า 100 มาตราที่คุ้มครองการล่วงละเมิดต่อกษัตริย์ในด้านต่างๆ เช่น การมิได้ใช้ราชาศัพท์อันควร การโจมตีข้าราชการของกษัตริย์ หรือการกระทำใดๆต่อสัญลักษณ์ของกษัตริย์ เป็นต้น

ลักษณะของกฎหมายเช่นนี้ สะท้อนให้เห็นถึงสังคมระบบศักดินาซึ่งจัดแบ่งชนชั้นของบุคคลในยุคสมัยดังกล่าว ซึ่งระบบศักดินายังส่งผลต่อการนิยามความผิดและกำหนดบทลงโทษด้วย เช่น การนำศักดินามาใช้ในการคำนวณปรับไหม และการถือสิทธิพิเศษทางการศาล[3]เป็นต้น

พระราชกำหนดลักษณะหมิ่นประมาทด้วยการพูดฤาเขียนถ้อยคำเท็จออกโฆษณาการ ร.ศ.118

ต่อมาเนื่องจากในสมัยรัชกาลที่ 3 และ 4 การสื่อสารในรูปแบบเขียนและการพิมพ์เริ่มแพร่หลายในหมู่ประชาชน มีการแสดงความคิดเห็นและวิพากษ์วิจารณ์การบริหารราชการบ้านเมืองหรือความประพฤติของข้าราชการ จึงมีการปรับปรุงกฎหมายเสียใหม่ให้เป็นระบบและมีอารยะมากขึ้น นำไปสู่การประกาศใช้ พระราชกำหนดลักษณะหมิ่นประมาทด้วยการพูดฤาเขียนถ้อยคำเท็จออกโฆษณาการ ร.ศ.118 ในสมัยรัชกาลที่ 5

พระราชกำหนดนี้ ระบุความผิดเกี่ยวกับการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ไว้ในมาตรา 4 ความว่า

“ผู้ใดหมิ่นประมาทพระผู้เปนเจ้าซึ่งดำรงสยามรัฐมณฑลฤาสมเด็จพระอรรคมเหษีฤาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชก็ดี…โดยกล่าวเจรจาด้วยปาก ฤาเขียนด้วยลายลักษณอักษร ฤากระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งในที่เปิดเผยท่ามกลางประชุมชนทั้งหลาย ด้วยกายวาจาอันมิบังควรซึ่งเป็นที่ แลเห็นได้ชัดว่าเปนการหมิ่นประมาทแท้ …ให้จำคุกไว้ไม่เกินกว่า 3 ปี ฤาให้ปรับเปนเงินไม่เกินกว่า 1500 บาท ฤาทั้งจำคุกแลปรับด้วย…”

กฎหมายนี้ก็ยังคงรักษาลำดับชนชั้นในสังคมและวัฒนธรรมจากกฎหมายตราสามดวงเอาไว้ และข้อหาหมิ่นหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ถูกทำให้มีความหมายที่เคร่งครัดมากขึ้น แต่ในทางปฏิบัติการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลหรือการบริหารงานของราชการก็ยังคงถูกตีความว่าเป็นการหมิ่นประมาทกษัตริย์ได้เช่นกันและไม่มีการกำหนดบทยกเว้นความผิดหรือโทษแต่อย่างใด

กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127

ด้วยกระแสรัฐสมัยใหม่จากตะวันตก ในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงมีการปฏิรูปกฎหมายและศาลนำไปสู่การประกาศใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 ซึ่งมีการเพิ่มโทษฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ให้สูงขึ้นด้วย กฎหมายนี้ กำหนดความผิดฐานประทุษร้ายต่อพระบรมราชตระกูลไว้ในส่วนที่ 1 มาตรา 98 ความว่า

“ผู้ใดทนงองอาจ แสดงความอาฆาฎมาดร้ายหรือหมิ่นประมาทต่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ดี สมเด็จพระมเหษีก็ดี มกุฎราชกุมารก็ดี ต่อผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในเวลารักษาราชการต่างพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ดี ท่านว่าโทษของมันถึงจำคุกไม่เกินกว่าเจ็ดปี แลให้ปรับไม่เกินกว่า ห้าพันบาท อีกโสดหนึ่ง”

และมาตรา 100 ความว่า

“ผู้ใดทนงองอาจ แสดงความอาฆาฎมาดร้ายหรือหมิ่นประมาทต่อพระราชโอรส พระราชธิดา ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ว่ารัชกาลหนึ่งรัชกาลใด ท่านว่าโทษของมันถึงจำคุกไม่เกินสามปี แลให้ปรับไม่เกินกว่าสองพันบาทด้วยอีกโสดหนึ่ง”

นอกจากนี้ยังมีการกำหนดความผิดจากการทำให้เกิดการดูหมิ่นและขาดความจงรักภักดีต่อกษัตริย์ในหมวด 2 ว่าด้วยความผิดฐานกบฎภายในพระราชอาณาจักรมาตรา 104 ไว้ด้วย ความว่า

“ผู้ใดกระทำให้ปรากฏแก่คนทั้งหลาย ด้วยประการใดใด โดยเจตนาต่อผลอย่างหนึ่งอย่างใด ที่ว่าต่อไปในมาตรานี้ คือ (1) เพื่อจะให้ขาดความจงรักภักดีหรือดูหมิ่น ต่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ดี ต่อรัฐบาลก็ดี หรือต่อราชการแผ่นดินก็ดี…ท่านให้เอามันผู้กระทำการอย่างใดใดโดยเจตนาเช่นว่ามานี้ ลงอาญาจำคุกไม่เกินกว่าสามปี แลให้ปรับไม่เกินกว่าพันบาทด้วยอีกโสตหนึ่ง”

ซึ่งต่อมาในพ.ศ. 2470 ปลายสมัยรัชกาลที่ 7 มีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาคอมมิวนิสต์ จึงแก้ไขเพิ่มเติมใน (1) เป็นให้การสั่งสอนทฤษฎีการเมืองหรือเศรษฐกิจเพื่อให้บังเกิดความเกลียดชังดูหมิ่นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือเกิดความเกลียดชังระหว่างชนชั้น เป็นความผิด มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

จะเห็นได้ว่ากฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 ให้ความคุ้มครองอย่างกว้างขวางกว่ากฎหมายฉบับก่อนๆ และมีการเพิ่มคำว่าแสดงความอาฆาตมาดร้ายเข้ามาเป็นครั้งแรกด้วย[4]

ข้อสังเกต คือ นิยามของความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ในช่วงการเปลี่ยนสยามสู่ความเป็นรัฐสมัยใหม่ตั้งแต่ช่วงรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา จากเดิมที่อ้างอิงอำนาจความชอบธรรมอยู่กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติได้เคลื่อนไปสู่การอ้างอิงหรือผูกสถาบันกษัตริย์ฯ เข้ากับความเป็นชาติไทย ความเป็นชาติที่แท้จริงจึงเท่ากับการจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ส่งผลให้การการดูหมิ่นกษัตริย์เท่ากับเป็นการดูหมิ่นอำนาจของผู้คนภายในชาติที่มอบให้กษัตริย์ไว้ด้วย

พระราชบัญญัติสมุด เอกสาร และหนังสือพิมพ์ พ.ศ.2470

ขณะเดียวกันในภาวะสังคมที่เทคโนโลยีและสื่อสิ่งพิมพ์ที่แพร่หลายต่อสาธารณะมากขึ้น สื่อจึงกลายเป็นพื้นที่ช่วงชิงการอธิบายความเป็นชาติ[5] แบบใหม่ที่ชาติเป็นของราษฎรโดยกษัตริย์ในฐานะผู้ปกครองประเทศตกเป็นเป้าหมายในการแสดงความคิดเห็นโดยตรง ซึ่งมีการต่อสู้กลับโดยใช้ข้อหาหมิ่นฯ

ในสมัยรัชกาลที่ 6 จึงมีการออกพระราชบัญญัติสมุด เอกสาร และหนังสือพิมพ์ พ.ศ.2465 มาตรา 5 กำหนดให้บทประพันธ์ที่มีจุดมุ่งหมาย เพื่อจะยุยงให้กระทำความผิดฐานประทุษร้ายต่อพระเจ้าอยู่หัวและราชอาณาจักรเป็นบทประพันธ์ประเภท “เสี้ยนหนามแผ่นดิน” ซึ่งเป็นความผิดกำหนดโทษกรณี “…เมื่อได้พิมพ์ขึ้นในกรุงสยาม…ผู้ประพันธ์บรรณาธิการและเจ้าของ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 5,000 บาทหรือทั้งจำและปรับทั้งสองสถาน”

ต่อมาในพ.ศ. 2470 มีการออกเป็นกฎหมายฉบับใหม่กำหนดคำว่าเสี้ยนหนามแผ่นดินในมาตรา 6(5) ว่าคือบทประพันธ์ “..อันมีความมุ่งหมายทางตรงหรือทางอ้อม คือโดยอนุมานก็ดีแนะก็ดี กล่าวกระทบก็ดีกล่าวเปรียบก็ดี โดยปริยายหรือประการอื่นก็ดี เพื่อจะ ให้เกิดความเกลียดชังหรือดูหมิ่นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฤารัฐบาล ฤาราชการแผ่นดิน…”

ยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ที่พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ

24 มิถุนายน 2475 เกิดการอภิวัฒน์เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบรูณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยโดยคณะราษฎรที่ยืนยันว่าอำนาจสูงสุดในรัฐเป็นของประชาชน ตำแหน่งพระมหากษัตริย์จึงเปลี่ยนสถานะจากเจ้าของอำนาจรัฐผู้อยู่เหนือกฎหมายไปสู่ตำแหน่งประมุขของรัฐ เป็นองค์กรหนึ่งของรัฐซึ่งมีอำนาจหน้าที่จำกัดภายใต้รัฐธรรมนูญ

แม้จะเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองแล้ว แต่กฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ตามกฎหมายลักษณะอาญาฯ ยังคงดำรงอยู่ต่อเนื่องมา และถูกใช้ในฐานะเป็นกฎหมายที่คุ้มครองชื่อเสียงเกียรติยศพระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของรัฐซึ่งรวมถึงสมเด็จพระมเหษี มกุฎราชกุมาร และผู้สำเร็จราชการแผ่นดินด้วย

ในรัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวาคม 2475 ยังบัญญัติให้“องค์พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้” ซึ่งหลักการนี้ส่งผลต่อการขยายขอบเขตในการตีความความผิดฐานหมิ่นประมาทกษัตริย์ในเวลาต่อมา[7] และความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ยังคงผูกโยงเข้ากับความผิดต่อความมั่นคงของรัฐเช่นเดียวกับในระบอบเก่า

แก้ไขกฎหมายลักษณะอาญา ลดโทษและกำหนดบทยกเว้นความผิด

ในปี พ.ศ.2478 รัฐสภา ยกเลิกมาตรา 100 ของกฎหมายลักษณะอาญาฯ ที่กำหนดความผิดฐานหมิ่นประมาทต่อพระราชโอรส พระราชธิดา เป็นพิเศษ ทั้งนี้ตามหลักความเสมอภาคของบุคคลตามรัฐธรรมนูญ2475ในขณะนั้นซึ่งบัญญัติว่า “บุคคลย่อมเสมอภาคกันในทางกฎหมาย ฐานันดรศักดิ์ โดยกำเนิดก็ดี โดยแต่งตั้งก็ดี หรือโดยประการอื่นก็ดี ไม่กระทำให้เกิดเอกสิทธิอย่างใดเลย”

ต่อมา ในปีพ.ศ.2477 มีการแก้ไขในมาตรา 104 (1) ของประมวลกฎหมายลักษณะอาญาฯ เป็นว่า “ผู้ใดกระทำการให้ปรากฏแก่คนทั้งหลายด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษร หรือเอกสารตีพิมพ์ หรือด้วยอุบายอย่างใดๆ ดังต่อไปนี้ ก) ให้เกิดความดูหมิ่นต่อพระมหากษัตริย์ หรือรัฐบาล หรือข้าราชการแผ่นดินในหมู่ประชาชนก็ดี.... ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินกว่า 7 ปี และให้ปรับไม่เกินกว่าสองพันบาท ด้วยอีกโสตหนึ่ง แต่ถ้าวาจา หรือลายลักษณ์อักษร หรือเอกสารตีพิมพ์ หรืออุบายอย่างใดๆ ที่ได้กระทำไปภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือเพื่อสาธารณะประโยชน์ หรือเป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต หรือเป็นเพียงการติชมตามปกติวิสัย ในบรรดาการกระทำของรัฐบาลหรือของราชการแผ่นดิน การกระทำนั้นไม่ให้ถือว่าเป็นความผิด”ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ปรากฎบทบัญญัติยกเว้นความผิดที่เกี่ยวข้องกับการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ โดยเป็นการให้คุณค่ากับสิทธิเสรีภาพของประชาชน การแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต เพื่อประโยชน์สาธารณะ

เปลี่ยนมาใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2499 จุดเริ่มต้นมาตรา 112

ในช่วงทศวรรษ 2490 กลุ่มอำนาจฝ่ายนิยมสถาบันพระมหากษัตริย์พยายามฟื้นฟูสถานะและอำนาจของสถาบันกษัตริย์ในฐานะความเป็นชาติดังเช่นระบอบเก่า ขณะที่คณะราษฎรเริ่มหมดอำนาจทางการเมือง และการเมืองของโลกอยู่ในช่วงสงครามเย็นที่มีการโจมตีระบอบกษัตริย์โดยแนวคิดคอมมิวนิสต์

จึงมีการตราประมวลกฎหมายอาญาพ.ศ.2499 ขึ้นใช้แทนกฎหมายลักษณะอาญา ฉบับเดิม โดยย้ายบทบัญญัติมาตรา 98 ของกฎหมายลักษณะอาญาไปอยู่ในมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายใหม่ โดยยกเลิกบทยกเว้นความผิดพร้อมแก้ไขเนื้อความเป็นว่า “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี” โดยมาตรา 112 ถูกบัญญัติไว้ในหมวดความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร

ในยุคสมัยของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ช่วงทศวรรษ 2500 การหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ถูกนำไปผูกเข้ากับความผิดต่อความมั่นคงแห่งรัฐ เช่น การเป็นคอมมิวนิสต์ นำไปสู่ดำเนินการกำจัดและกวาดล้างศัตรูทางการเมือง เช่น กรณีการประหารชีวิตนายครอง จันทดาวงศ์ ซึ่งถูกล่าวหาว่ามีแผนร้ายในการทำลายประเทศชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ ลบหลู่พระบรมเดชชานุภาพอย่างร้ายแรง[8] ความมั่นคงของรัฐกลายเป็นวาทกรรมใหม่ที่รับรองการใช้ข้อหาหมิ่นฯในลักษณะที่ขยายความหมายให้กว้างขึ้น โดยเฉพาะในช่วงหลังการปฏิวัติซ้ำของจอมพลสฤษดิ์ 20 ตุลาคม 2501 คดีทั้งหมดที่เกิดขึ้นถูกดำเนินคดีในศาลทหารอีกด้วย

ต่อมายุคหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 มีการสถาปนาบทบาทใหม่ของกษัตริย์ ผ่านวาทะกรรมที่เชื่อมกษัตริย์เข้ากับประชาธิปไตยนอกจากชาติด้วย เรียกว่า ราชาชาตินิยมประชาธิปไตย[9]ซึ่งได้สร้างสถานะกษัตริย์ที่อยู่เหนือการเมืองขึ้นใหม่ที่มองว่าการเมืองเป็นสิ่งที่มีลักษณะที่ฉ้อฉลสกปรก พระราชกรณียกิจและพระราชอำนาจต่างๆ ไม่ถูกเข้าใจเป็นเรื่องทางการเมืองไปด้วย[10] การคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์บทบาททางการเมืองของสถาบันตามปกติจึงอาจถูกให้ความหมายเป็นการหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ได้เช่นกัน บริบทช่วงนี้ความหมายของ การหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ยังซ้อนทับเข้ากับการกระทำ คอมมิวนิสต์อย่างเข้มข้นจนแทบเป็นสิ่งเดียวกันด้วย ความหมายของการหมิ่นฯจึงมีแนวโน้มจะถูกตีความอย่างกว้างขวางเท่ากับเป็นการมุ่งล้มล้างทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ไปด้วย[11]

แก้ไขเพิ่มโทษสูงสุดเป็น 15 ปี หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ 2519


ข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ขึ้นสู่จุดที่รุนแรงที่สุดในช่วงเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 จากกรณีการแสดงละครแขวนคอของนักศึกษา อันเป็นที่มาของการปลุกระดมและนำไปสู่การใช้ความรุนแรง ภาพลักษณ์ของคอมมิวนิสต์และขบวนการนักศึกษาประชาชน และความกลัวต่อการคุกคามสถาบันกษัตริย์จากสงครามเย็นในช่วงเวลานั้นนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงตัวบทของมาตรา 112

หลังการยึดอำนาจของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งอ้างในแถลงการณ์ถึงเหตุผลของการยึดอำนาจว่ามี "กลุ่มบุคคล…ได้กระทำการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอันเป็นการเหยียบย้ำจิตใจของคนไทยทั้งชาติ โดยเจตจำนงทำลายสถาบัน…ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนคอมมิวนิสต์ที่จะเข้ายึดครองประเทศไทย…" และต่อมาได้ออกคำสั่งให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เป็น “มาตรา ๑๑๒ ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี”

หลังบทบาทของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยจบสิ้นลงพร้อมกับอำนาจของกองทัพ ในทศวรรษ 2520 สถาบันพระมหากษัตริย์มีบทบาทในการดำเนินพระราชกรณียกิจและโครงการในพระราชดำริต่างๆ จนนำไปสู่พระราชอำนาจนำทั้งในมิติการเมืองและมิติอุดมการณ์ที่ลงหลักสถาปนาอย่างเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น[12] นอกจากนี้ ยังมีการสร้างชุดคำอธิบายว่าพระมหากษัตริย์มีอำนาจทางการเมืองในสภาวะวิกฤต ในฐานะเป็นหลักชัยในการระงับเหตุร้ายแรง[13] หรืออธิบายพระราชอำนาจที่ไม่ได้บัญญัติเป็นลายลักษณ์ในตัวบทกฎหมายฐานะเป็นธรรมเนียมที่เข้าใจกันทุกฝ่าย ว่าเป็นพระราชอำนาจที่มีอยู่จริง[14]

ที่สำคัญพระมหากษัตริย์ไทยยังทรงเป็นเหมือน “พ่อ” ของรัฐ ชุดความสัมพันธ์สร้างอารมณ์ความรู้สึกความผูกพันใกล้ชิดหรือความรักของพลเมืองที่มีต่อกษัตริย์องค์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นความรู้สึกใหม่ต่อสถาบันกษัตริย์ที่ไม่เคยมีมาก่อน ขณะเดียวกันก็ทำให้การหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ เพิ่มความหมายในลักษณะที่กระทบความรู้สึกของประชาชน เป็นการเนรคุณต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และประชาชนทั่วไปก็มีบทบาทเป็นผู้สร้างและเผยแพร่อุดมการณ์นี้เองด้วย
...

ดู ตารางเปรียบเทียบความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์และโทษ ยุคก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ได้ที่ ILAW

http://freedom.ilaw.or.th/blog/Historyof112


สรุปเรียบเรียงจาก
 
นพพล อาชามาส, การประกอบสร้างความกลัว และการเมืองว่าด้วยการบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา112 วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2556 น.44.

อ้างอิง
[1] ดู งานเขียนของพระองค์เจ้าธานีนิวัติเรื่อง“The Old Siam Conception of The Monarchy”1946 และ ดูข้อสังเกตนี้ในธงชัย วินิจจะกุล 2548.ข้ามให้พ้นประชาธิปไตยแบบหลัง14ตุลาคม.กรุงเทพฯ:มูลนิธิ14ตุลา.

[2] ดู นพพล อาชามาส การประกอบสร้างความกลัว และการเมืองว่าด้วยการบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา112 วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2556 น.44.

[3] ดู ควอวิช เวลส์, การปกครองและการบริหารของไทยสมัยโบราณ, แปลโดย กาญจนีละอองศรี, และยุพา ชุมจันทร์,พิมพ์ครั้งที่ 1( กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช, 2527), น. 41.

[4] ดู ฐนาพงษ์ ทอนฮามแก้ว เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา112 วิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2553 น.82.

[5] อ้างแล้ว[2] น.53-56.

[6] ดู พระราชบัญญัติสมุด เอกสาร และหนังสือพิมพ์ พุทธศักราช 2470 ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 44 (5 กันยายน 2470).

[7] อ้างแล้ว[2]น.60.

[8] ดู ตามไท ดิลกวิทยรัตน์ 2546 .“ภาพลักษณ์ของ“คอมมิวนิสต์”ในการเมืองไทย”, รัฐศาสตร์สาร24(2)น.188-189.

[9] ดู ประจักษ์ ก้องกีรติ 2548.และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฎ:การเมืองวัฒนธรรมของนักศึกษาและปัญญาชนก่อน14ตุลา.กรุงเทพฯ.สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

[10] ดู ธงชัย วินิจกุล 2548.ข้ามให้พ้นประชาธิปไตยแบบหลัง14ตุลาคม.กรุงเทพฯ:มูลนิธิ14ตุลา.

[11] ดู ธานินทร์ กรัยวิเชียร 2520น.100-101.พระมหากษัตริย์ไทยในระบอบประชาธิปไตย(พิมพ์ครั้งที่3).กรุงเทพฯ:กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

[12] ดู ชนิดา ชิดบัณฑิตย์ 2550.โครงการอันเนื่องมากพระราชดำริ:การสถาปนาอำนาจนำในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.กรุงเทพฯ:มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์.

[13] เพิ่งอ้าง,น. 184-185.

[14] ดู ธงทอง จันทรางศุ 2548.พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในทางกฎหมายรัฐธรรมนูญ.กรุงเทพฯ:ศูนย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.