สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: ประชามติและการเลือกตั้งโดยเร็ว
Sun, 2015-05-31
ที่มา ประชาไท
เผยแพร่ครั้งแรกใน โลกวันนี้วันสุข ฉบับ 515 วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ.2558
โครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ilaw) และกลุ่มนักวิชาการและกลุ่มประชาชนหลายภาคส่วนที่ลงชื่อกันกว่า 150 คน ตั้งเป็นกลุ่มเรียกร้องประชามติที่เป็นประชาธิปไตย( รปป.) ได้เริ่มสร้างกระแสเรียกร้องให้ทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2558 เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา โดยเสนอเหตุผลว่า เพื่อให้เกิดรัฐธรรมนูญที่ยึดโยงกับประชาชน เพราะ“รัฐธรรมนูญที่ประกาศใช้โดยประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการให้ความเห็นชอบย่อมไม่ชอบธรรมที่จะใช้ปกครองประชาชน” และยังเสนอไว้ด้วยว่า ในกรณีประชาชนไม่ให้ความเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญ ก็ให้มีการจัดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญโดยไม่ผูกพันกับข้อจำกัดที่ขัดต่อหลักประชาธิปไตย
ในที่สุด การนำเสนอในส่วนเรื่องการลงประชามติก็ได้รับการตอบรับ เพราะที่ประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ก็มีมติเห็นชอบในข้อเสนอให้มีการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และที่เป็นรูปธรรมคือ สภาปฏิรูปแห่งชาติได้มีมติสนับสนุนการทำประชามติ และได้ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ที่ผ่านมา เสนอให้ประชาชนออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญแบบทั้งฉบับ ไม่มีการลงมติเป็นรายหมวดหรือรายประเด็น แม้กระทั่งพรรคประชาธิปัตย์ก็แสดงท่าทีอย่างชัดเจนว่า สนับสนุนการลงประชามติเพื่อสร้างชอบธรรมต่อกระบวนการของรัฐธรรมนูญ โดยที่พรรคเพื่อไทยไม่มีท่าทีอันชัดเจน
ในสถานการณ์เช่นนี้ มีความคิดเห็นส่วนหนึ่งว่า เราควรจะคว่ำบาตรการลงประชามติ ไม่ร่วมกระบวนการที่จะสร้างความชอบธรรมแก่รัฐธรรมนูญ เพราะเห็นว่า การลงประชามติไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นอย่างบริสุทธิ์โปร่งใส ภายใต้ระบอบเผด็จการสุดขั้วของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หากมีการลงประชามติ และผลสุดท้ายปรากฏว่ามีเสียงยอมรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มากกว่า จะเท่ากับเป็นการตีตราให้ความชอบธรรมกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้
แต่ในกรณีนี้ ผมกลับเห็นว่า ขบวนการประชาธิปไตยควรจะสนับสนุนการลงประชามติในครั้งนี้ ด้วยเป้าหมายอันชัดเจน คือ เปิดพื้นที่ทางการเมืองให้มากที่สุด สร้างกระแสให้ความรู้และแลกเปลี่ยนกับประชาชนในทุกเงื่อนไข เพื่อจะนำไปสู่การล้มหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้
เหตุผลที่สมควรจะต้องไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก็คือ ความวิปริตผิดประหลาดจำนวนมากในรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่เรื่องการกำหนดให้มีวุฒิสมาชิกลากตั้งมีอำนาจมากมาย มีกระบวนการเลือกตั้งอันแปลกประหลาด มีองค์กรอิสระที่จะตั้งขึ้นมาถึง 15 องค์กร มาทำหน้าที่อันสับสนวุ่นวาย ให้มีนายกรัฐมนตรีมาจากคนนอก การเพิ่มอำนาจล้นฟ้าแก่ศาลรัฐธรรมนูญ และ ฯลฯ แต่มากกว่านั้นก็คือ ต่อให้ร่างรัฐธรรมนูญมีเนื้อหาที่ดีกว่านี้ ก็ยังต้องรณรงค์ไม่รับ เพราะที่มาของกระบวนการทั้งหมดมาจากการรัฐประหาร ไม่ถูกต้องตามหลักการสถาปนาอำนาจรัฐธรรมนูญ ที่จะต้องมาจากประชาชน
กล่าวให้ชัดเจนยิ่งขึ้นคือ การไม่รับร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ คือ การแสดงเจตนารมณ์ต่อต้านการรัฐประหาร ถือว่า การรัฐประหารล้มล้างรัฐธรรมนูญทั้งหมดเป็นโมฆะ จึงเท่ากับว่า สถานะแห่งรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2540 ยังคงอยู่ ดังนั้น การรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ จึงควรที่จะยืนยันในหลักการว่า รัฐธรรมนูญฉบับ 2540 มีความชอบธรรม แม้ว่าจะมีส่วนใดไม่ถูกต้องเหมาะสม ต้องดำเนินการด้วยกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างเป็นประชาธิปไตย การใช้อำนาจรถถังมาฉีกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
ถ้าจะถามว่า ถ้าหากคว่ำบาตรร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แล้วจะทำให้การเลือกตั้งเนิ่นช้าออกไป และประชาชนจะต้องทนอยู่กับรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นานมากขึ้น ผมกลับเห็นว่า ควรจะต้องการรณรงค์ให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว เพื่อทดแทนการเลือกตั้งที่ถูกลัก 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557 โดยไม่ต้องคอยกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ เพราะกระบวนการทั้งหมดที่ดำเนินอยู่เป็นไปตามแนวทางที่เสนอโดยสุเทพ เทือกสุบรรณ คือ “ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง” ดังนั้น ขบวนการประชาธิปไตยต้องปฏิเสธแนวทางนี้โดยการรณรงค์ให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว ก็จะสอดคล้องด้วยหลักการ “เลือกตั้งก่อนปฏิรูป” ที่สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย(สปป.)เสนอก่อนหน้าที่จะมีรัฐประหาร 22 พฤษภาคม พ.ศ.2557
เหตุผลที่สนับสนุนอย่างสำคัญ เพราะประวัติศาสตร์ไทยที่ผ่านมา ก็มีมาแล้วที่แยกการเลือกตั้งออกจากการร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.2488 ขณะที่มีการดำเนินการปรับปรุงรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2475 รัฐบาลยุบสภาวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ.2488 โดยไม่คอยการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ การเลือกตั้งมีขึ้นในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2489 และมีการเปลี่ยนอำนาจรัฐบาลแล้ว รัฐธรรมนูญใหม่จึงร่างเสร็จและผ่านวาระที่สามในวันที่ 29 เมษายน และประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2489 ในวันที่ 9 พฤษภาคม แล้วจึงดำเนินการให้มีการเลือกตั้งเพิ่มตามเงื่อนไขรัฐธรรมนูญใหม่ในวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ.2489
ครั้งที่สอง หลังจากการรัฐประหารวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2490 ยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2489 แล้วใช้ธรรมนูญชั่วคราวฉบับใต้ตุ่ม ตั้งรัฐบาลชั่วคราวแล้วจัดให้มีการเลือกตั้งวันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2491 แต่หลังจากนั้น 1 ปี รัฐธรรมนูญฉบับถาวรจึงเสนอผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรวันที่ 28 มกราคม พ.ศ.2492 แล้วประกาศใช้วันที่ 23 มีนาคม เป็นรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2492 แล้วจึงจัดการเลือกตั้งให้ครบจำนวนตามรัฐธรรมนูญในวันที่ 15 มิถุนายน
ครั้งที่สาม หลังจากการรัฐประหารวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2494 ยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2492 แล้วเอารัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2475 มาใช้ชั่วคราวทันทีเพื่อให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2495 ขณะเดียวกันก็ตั้งคณะกรรมการปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญ จนกระทั่ง รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ร่างเสร็จกลายเป็น “รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2475 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2495” ซึ่งเพิ่งประกาศใช้อย่างเป็นทางการวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2495 หลังจากการเลือกตั้ง
จากตัวอย่างที่กล่าวมาในประวัติศาสตร์ จะเห็นได้ว่าการจัดการเลือกตั้งสามารถที่จะทำได้เลย โดยไม่ต้องคอยการร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จเรียบร้อย ถ้าจะทำกันจริงก็สามารถเริ่มจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวเพื่อให้มีการเลือกตั้งทันที การถ่ายโอนอำนาจจากรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไปสู่รัฐบาลที่ผ่านการเลือกตั้งก็จะทำได้รวดเร็วขึ้น
ประเด็นสุดท้ายที่อยากเสนอข้อถกเถียงคือ ข้อเสนอของกลุ่มเรียกร้องประชามติที่เป็นประชาธิปไตย เรื่องการให้มีกรรมการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่โดยประชาชน ถ้าหากว่ากรณีรัฐธรรมนูญนี้ไม่ผ่าน ผมอยากจะขอแลกเปลี่ยนว่า ไม่ค่อยเห็นด้วยกับการร่างรัฐธรรมนูญใหม่อีก เพราะสังคมไทยมีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่มากเกินไปแล้ว เราควรจะเรียนรู้ที่จะใช้การ “แก้” รัฐธรรมนูญตามหลักประชาธิปไตย ไม่ใช่การ “ร่าง” รัฐธรรมนูญใหม่” ไม่ว่าจะมาจากกรรมการอย่างไร ดังนั้น กระบวนการควรเริ่มจากการนำเอารัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2540 มาปรับใช้ โดยผ่านการพิจารณาแก้ไขในสิ่งที่เห็นว่าจะเป็นข้อบกพร่องของรัฐธรรมนูญนั้น
ด้วยการเคลื่อนไหวในลักษณะเช่นนี้ สังคมไทยก็จะก้าวหน้าไปสู่เส้นทางประชาธิปไตยได้ต่อไป
โครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ilaw) และกลุ่มนักวิชาการและกลุ่มประชาชนหลายภาคส่วนที่ลงชื่อกันกว่า 150 คน ตั้งเป็นกลุ่มเรียกร้องประชามติที่เป็นประชาธิปไตย( รปป.) ได้เริ่มสร้างกระแสเรียกร้องให้ทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2558 เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา โดยเสนอเหตุผลว่า เพื่อให้เกิดรัฐธรรมนูญที่ยึดโยงกับประชาชน เพราะ“รัฐธรรมนูญที่ประกาศใช้โดยประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการให้ความเห็นชอบย่อมไม่ชอบธรรมที่จะใช้ปกครองประชาชน” และยังเสนอไว้ด้วยว่า ในกรณีประชาชนไม่ให้ความเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญ ก็ให้มีการจัดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญโดยไม่ผูกพันกับข้อจำกัดที่ขัดต่อหลักประชาธิปไตย
ในที่สุด การนำเสนอในส่วนเรื่องการลงประชามติก็ได้รับการตอบรับ เพราะที่ประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ก็มีมติเห็นชอบในข้อเสนอให้มีการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และที่เป็นรูปธรรมคือ สภาปฏิรูปแห่งชาติได้มีมติสนับสนุนการทำประชามติ และได้ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ที่ผ่านมา เสนอให้ประชาชนออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญแบบทั้งฉบับ ไม่มีการลงมติเป็นรายหมวดหรือรายประเด็น แม้กระทั่งพรรคประชาธิปัตย์ก็แสดงท่าทีอย่างชัดเจนว่า สนับสนุนการลงประชามติเพื่อสร้างชอบธรรมต่อกระบวนการของรัฐธรรมนูญ โดยที่พรรคเพื่อไทยไม่มีท่าทีอันชัดเจน
ในสถานการณ์เช่นนี้ มีความคิดเห็นส่วนหนึ่งว่า เราควรจะคว่ำบาตรการลงประชามติ ไม่ร่วมกระบวนการที่จะสร้างความชอบธรรมแก่รัฐธรรมนูญ เพราะเห็นว่า การลงประชามติไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นอย่างบริสุทธิ์โปร่งใส ภายใต้ระบอบเผด็จการสุดขั้วของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หากมีการลงประชามติ และผลสุดท้ายปรากฏว่ามีเสียงยอมรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มากกว่า จะเท่ากับเป็นการตีตราให้ความชอบธรรมกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้
แต่ในกรณีนี้ ผมกลับเห็นว่า ขบวนการประชาธิปไตยควรจะสนับสนุนการลงประชามติในครั้งนี้ ด้วยเป้าหมายอันชัดเจน คือ เปิดพื้นที่ทางการเมืองให้มากที่สุด สร้างกระแสให้ความรู้และแลกเปลี่ยนกับประชาชนในทุกเงื่อนไข เพื่อจะนำไปสู่การล้มหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้
เหตุผลที่สมควรจะต้องไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก็คือ ความวิปริตผิดประหลาดจำนวนมากในรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่เรื่องการกำหนดให้มีวุฒิสมาชิกลากตั้งมีอำนาจมากมาย มีกระบวนการเลือกตั้งอันแปลกประหลาด มีองค์กรอิสระที่จะตั้งขึ้นมาถึง 15 องค์กร มาทำหน้าที่อันสับสนวุ่นวาย ให้มีนายกรัฐมนตรีมาจากคนนอก การเพิ่มอำนาจล้นฟ้าแก่ศาลรัฐธรรมนูญ และ ฯลฯ แต่มากกว่านั้นก็คือ ต่อให้ร่างรัฐธรรมนูญมีเนื้อหาที่ดีกว่านี้ ก็ยังต้องรณรงค์ไม่รับ เพราะที่มาของกระบวนการทั้งหมดมาจากการรัฐประหาร ไม่ถูกต้องตามหลักการสถาปนาอำนาจรัฐธรรมนูญ ที่จะต้องมาจากประชาชน
กล่าวให้ชัดเจนยิ่งขึ้นคือ การไม่รับร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ คือ การแสดงเจตนารมณ์ต่อต้านการรัฐประหาร ถือว่า การรัฐประหารล้มล้างรัฐธรรมนูญทั้งหมดเป็นโมฆะ จึงเท่ากับว่า สถานะแห่งรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2540 ยังคงอยู่ ดังนั้น การรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ จึงควรที่จะยืนยันในหลักการว่า รัฐธรรมนูญฉบับ 2540 มีความชอบธรรม แม้ว่าจะมีส่วนใดไม่ถูกต้องเหมาะสม ต้องดำเนินการด้วยกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างเป็นประชาธิปไตย การใช้อำนาจรถถังมาฉีกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
ถ้าจะถามว่า ถ้าหากคว่ำบาตรร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แล้วจะทำให้การเลือกตั้งเนิ่นช้าออกไป และประชาชนจะต้องทนอยู่กับรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นานมากขึ้น ผมกลับเห็นว่า ควรจะต้องการรณรงค์ให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว เพื่อทดแทนการเลือกตั้งที่ถูกลัก 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557 โดยไม่ต้องคอยกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ เพราะกระบวนการทั้งหมดที่ดำเนินอยู่เป็นไปตามแนวทางที่เสนอโดยสุเทพ เทือกสุบรรณ คือ “ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง” ดังนั้น ขบวนการประชาธิปไตยต้องปฏิเสธแนวทางนี้โดยการรณรงค์ให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว ก็จะสอดคล้องด้วยหลักการ “เลือกตั้งก่อนปฏิรูป” ที่สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย(สปป.)เสนอก่อนหน้าที่จะมีรัฐประหาร 22 พฤษภาคม พ.ศ.2557
เหตุผลที่สนับสนุนอย่างสำคัญ เพราะประวัติศาสตร์ไทยที่ผ่านมา ก็มีมาแล้วที่แยกการเลือกตั้งออกจากการร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.2488 ขณะที่มีการดำเนินการปรับปรุงรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2475 รัฐบาลยุบสภาวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ.2488 โดยไม่คอยการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ การเลือกตั้งมีขึ้นในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2489 และมีการเปลี่ยนอำนาจรัฐบาลแล้ว รัฐธรรมนูญใหม่จึงร่างเสร็จและผ่านวาระที่สามในวันที่ 29 เมษายน และประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2489 ในวันที่ 9 พฤษภาคม แล้วจึงดำเนินการให้มีการเลือกตั้งเพิ่มตามเงื่อนไขรัฐธรรมนูญใหม่ในวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ.2489
ครั้งที่สอง หลังจากการรัฐประหารวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2490 ยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2489 แล้วใช้ธรรมนูญชั่วคราวฉบับใต้ตุ่ม ตั้งรัฐบาลชั่วคราวแล้วจัดให้มีการเลือกตั้งวันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2491 แต่หลังจากนั้น 1 ปี รัฐธรรมนูญฉบับถาวรจึงเสนอผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรวันที่ 28 มกราคม พ.ศ.2492 แล้วประกาศใช้วันที่ 23 มีนาคม เป็นรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2492 แล้วจึงจัดการเลือกตั้งให้ครบจำนวนตามรัฐธรรมนูญในวันที่ 15 มิถุนายน
ครั้งที่สาม หลังจากการรัฐประหารวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2494 ยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2492 แล้วเอารัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2475 มาใช้ชั่วคราวทันทีเพื่อให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2495 ขณะเดียวกันก็ตั้งคณะกรรมการปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญ จนกระทั่ง รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ร่างเสร็จกลายเป็น “รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2475 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2495” ซึ่งเพิ่งประกาศใช้อย่างเป็นทางการวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2495 หลังจากการเลือกตั้ง
จากตัวอย่างที่กล่าวมาในประวัติศาสตร์ จะเห็นได้ว่าการจัดการเลือกตั้งสามารถที่จะทำได้เลย โดยไม่ต้องคอยการร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จเรียบร้อย ถ้าจะทำกันจริงก็สามารถเริ่มจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวเพื่อให้มีการเลือกตั้งทันที การถ่ายโอนอำนาจจากรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไปสู่รัฐบาลที่ผ่านการเลือกตั้งก็จะทำได้รวดเร็วขึ้น
ประเด็นสุดท้ายที่อยากเสนอข้อถกเถียงคือ ข้อเสนอของกลุ่มเรียกร้องประชามติที่เป็นประชาธิปไตย เรื่องการให้มีกรรมการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่โดยประชาชน ถ้าหากว่ากรณีรัฐธรรมนูญนี้ไม่ผ่าน ผมอยากจะขอแลกเปลี่ยนว่า ไม่ค่อยเห็นด้วยกับการร่างรัฐธรรมนูญใหม่อีก เพราะสังคมไทยมีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่มากเกินไปแล้ว เราควรจะเรียนรู้ที่จะใช้การ “แก้” รัฐธรรมนูญตามหลักประชาธิปไตย ไม่ใช่การ “ร่าง” รัฐธรรมนูญใหม่” ไม่ว่าจะมาจากกรรมการอย่างไร ดังนั้น กระบวนการควรเริ่มจากการนำเอารัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2540 มาปรับใช้ โดยผ่านการพิจารณาแก้ไขในสิ่งที่เห็นว่าจะเป็นข้อบกพร่องของรัฐธรรมนูญนั้น
ด้วยการเคลื่อนไหวในลักษณะเช่นนี้ สังคมไทยก็จะก้าวหน้าไปสู่เส้นทางประชาธิปไตยได้ต่อไป