วันจันทร์, พฤษภาคม 04, 2558

"สุรชาติ บำรุงสุข’" ส่อง 20 ปี เรือดำน้ำ “ความฝันที่ไม่จบของราชนาวีไทย”(คลิป)









ที่มา มติชนออนไลน์
วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2558

ปรัชญา นงนุช สัมภาษณ์

กระแสวิพากษ์วิจารณ์ความต้องการมีเรือดำน้ำของกองทัพเรือกลับมาอีกครั้งหลายฝ่ายถามถึงความจำเป็นที่ไทยต้องเสียงบประมาณจำนวนมากกว่าหมื่นล้านเพื่อมีเรือดำน้ำและไทยเองไม่ได้มีข้อพิพาททางทะเลในภูมิภาคอีกทั้งยุทธศาสตร์ทางทะเลของไทยจำเป็นมากน้อยอย่างไรในการต้องจัดหาและหากจัดซื้อจะมาจากประเทศใดคำถามเหล่านี้เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมายาวนานจนกลายเป็น“ความฝันที่ไม่จบในราชนาวีไทย”

มติชนออนไลน์ได้เจาะข้อมูลเชิงลึกกับ ศาสตราจารย์สุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านกองทัพ เพื่อตอบทุกคำถามที่มีอย่างยาวนาน

- ความจำเป็นของไทยที่ต้องมีเรือดำน้ำ หลังกองทัพเรือเสนอให้มีการจัดหาเพื่อความมั่นคงทางทะเล

ประเด็นความต้องการมีเรือดำน้ำไม่ใช่เรื่องใหม่ย้อนกลับไปในอดีตมีมานานแล้วตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่2ไทยเคยมีเรือดำน้ำประจำการที่ญี่ปุ่นให้กับไทยถึง4ลำพอสงครามที่สิ้นสุดโอกาสที่จะให้เรือดำน้ำเหล่านั้นมีอายุยืนยาวด้วยเงื่อนไขความแข็งแรงของอุปกรณ์และอะไหล่ทดแทนเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้กองเรือดำน้ำไทยจากสงครามโลกครั้งที่2จึงสิ้นสุดลงด้วยเงื่อนไขภาพความเป็นจริงของสงครามและการเมือง


เรือดำน้ำจากญี่ปุ่น (ภาพจาก : www.navy.mi.th)

หลังจากนั้นไทยเข้ามาอยู่ในค่ายของสหรัฐอเมริกาในช่วงระยะเวลาที่พ้นยุคสงครามโลกครั้งที่2เป็นความฝันของคนในกองทัพเรือเพราะช่วงหนึ่งเรามีขีดความสามารถจัดตั้งกองบินอากาสสนามบินหรือฐานทัพอากาศที่ประจำอยู่ในกองทัพเรือก็มีความฝันว่ากองทัพเรือไทยจะมีเรือรบทั้งบนผิวน้ำมีทั้งอากศยานที่อยู่เหนือน้ำและต้องการมีเรือรบที่เป็นเรือดำน้ำให้ครบ3มิติทั้งใต้น้ำ ผิวน้ำ และบนอากาศ จึงเกิดข้อถกเถียงเป็นระยะๆ ในเรื่องงบประมาณ

หากย้อนกลับไปประมาณ20ปีก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันมาจนกองทัพเรือมีเรือบรรทุกเครื่องบินขนาดเบาเข้าประจำการคือเรือจักรีนฤเบศรที่ผลิตจากสเปนเป็นอีกมิติการพัฒนากำลังรบทางทะเลจึงเป็นปัญหาที่ค้างคา

ประเด็นข้อถกเถียงหนึ่งคือประเทศเพื่อนบ้านของไทยมีเรือดำน้ำ(อินโดนีเซีย2ลำมาเลเซีย2ลำสิงคโปร์ 5 ลำ และเวียดนาม 2 ลำ) จึงเป็นแรงกดดัน ทำให้ความต้องการมีเรือดำน้ำของกองทัพเรือไทยมากขึ้น อีกส่วนคือ ความกลัวเรื่องการปิดปากอ่าว ในกรณีที่ไทยเกิดข้อพิพาทกับประเทศเพื่อนบ้าน แต่ทั้ง 2 เหตุผลยังไม่เพียงพอในการบอกถึงความจำเป็น เนื่องจากการลงทุนนั้นมีขนาดใหญ่ ปกติการจัดซื้ออย่างสมบูรณ์อยู่ที่ 3-4ลำต่อครั้ง เพื่อใช้ในการปฏิบัติการจริง เพื่อการฝึก และการซ่อมบำรุง อย่างละลำ

โดยประเด็นการถกเถียงกลับมาอีกครั้งเพราะเยอรมันเริ่มปลดประจำการและมีการเสนอขายเรือดำน้ำบางส่วนให้กับไทยที่เป็นมือสองและเรือดำน้ำใหม่ถอดด้ามจากบางประเทศด้านหนึ่งเรือดำน้ำเก่าอาจจะลดภาระด้านงบประมาณแต่ก็มีความกังวลเรื่อจะเก่าไปหรือไม่หากย้อนกลับไปดูตัวแบบที่เสนอขายไทยคือยู-206เอที่เหมาะกับไทยพอมควรที่ใช้ในล่องน้ำตื้นได้ แต่การตัดสินใจไม่เกิด จึงเป็นความฝันที่ไม่จบ ในราชนาวีไทย


เรือดำน้ำแบบ U-206A (ภาพจาก : www.navy.mi.th)

ส่วนข้อถกเถียงด้านงบประมาณของประเทศถึงความจำเป็นต่อการลงทุนพัฒนาทางทะเลในรูปแบบเรือดำน้ำมากน้อยเพียงใดถ้าคำตอบเรามีความจำเป็นคำถามจะตามมาว่าความจำเป็นนี้ชะลอได้หรือไม่ภายใต้เงื่อนไขเศรษฐกิจในปัจจุบันรัฐบาลต้องตัดสินใจและการพัฒนาศักยภาพทางทะเลของไทยมีความจำเป็นมากน้อยเพียงใดที่ต้องมีเรือดำน้ำที่คำตอบสุดท้ายไม่ใช่เรือดำน้ำเป็นไปได้หรือไม่ข้อถกเถียงตรงนี้สุดท้ายเป็นปัญหาทางยุทธศาสตร์เรียกว่า ยุทธสาสตร์อำนาจทางทะเลของไทย ซึ่งต้องการคำตอบมากกว่าการมียุทโธปกรณ์ หากเราดูภาพรวมรวมเรือดำน้ำเป็นเพียงเครื่องมือประการหนึ่ง ในภาพเช่นนี้ สิ่งที่ต้องตอบคือ สิ่งใดคือภัยคุกคามทางทะเลที่รัฐบาลไทยและกองทัพเรือไทย คิดว่าเรือดำน้ำเป็นเครื่องมือในการตอบโต้ภัยคุกคามทางทะเลเป็นโจทย์สำคัญ ที่ต้องตอบสาธารณะชน

อีกทั้งการลงทุนเรื่องเรือดำน้ำไม่ได้มีความหมายแค่เพียงการซื้อตัวเรือดำน้ำประเด็นสำคัญอีกส่วนหนึ่งของการคิดที่จะพัฒนากำลังรบที่เป็นเรือดำน้ำคือค่าใช้จ่ายที่ต้องสร้างอู่ที่จะรองรับตัวเรือดำน้ำการลงทุนนี้โยงการสร้างตัวเรือดำน้ำที่เราจะมีโจทย์ที่ต้องคิดต่อคือค่าใช้จ่ายสืบเนื่องหลังการมีเรือดำน้ำซึ่งไม่ได้มีแค่เรือดำน้ำถ้าเป็นเรือรบบนผิวน้ำสามารถใช้อู่แต่เดิมบรองกำลังรบเช่นเรือจักรีนฤเบศรที่เรามีท่าเรือรองรับอยู่แล้ว

- ในส่วนทะเลอันดามันที่สามารถใช้เรือดำน้ำได้ เพราะ เป็นทะเลที่มีล่องน้ำลึก

ถ้าคิดว่าจะใช้เรือดำน้ำกับชายฝั่งทะเลทางตะวันตก ในฝั่งมหาสมุทรอินเดีย ต้องมองว่าไทยมองภาพมหาสมุทรนี้มากน้อยเพียงใด การพัฒนาอำนาจทางทะเลของกองทัพเรือไทย พัฒนาด้านอ่าวไทยเป็นด้านหลัก ผ่านกองทัพเรือภาคที่1-2 ถ้าเราซื้อมาใช้กับฝั่งอันดามัน โจทย์ต้องใหญ่กว่านั้น เนื่องจากกองทัพเรือภาค3 ที่อยู่ฝั่งอันดามัน ผมคิดว่าในความเป็นจริงมีโจทย์มากกว่าเรือดำน้ำ แน่นอนว่าในอนาคตความสำคัญของมหาสมุทรอินเดียและเกาะต่างๆจะมีมากขึ้น ต้องตอบคำถามด้วยว่าภัยคุกคามหรือปัญหาความมั่นคงทางทะเลจะมีผลต่อไทยที่ต้องใช้เรือดำน้ำว่าคืออะไร หรือความประเด็นการป้องกันเฉพาะหน้า อาจจะมีปัญหาในรูปแบบอื่น เช่น วันนี้ไทยควรมีฐานทัพเรือด้านตะวันตก ตนมองว่ามีความจำเป็น ถ้าต้องสร้างฐานทัพเรือเพื่อเตรียมรับกำลังรบในอนาคต หรือเพื่อสร้างในพื้นที่ที่จะรองรับการการพัฒนาอำนาจทางทะเลต้องคิดต่อ เพราะ การวางน้ำหนักงบประมาณมักจะวางไว้กับการซื้ออาวุธมากวก่าที่จะคิดว่าอำนาจทางทะเล หรือปัจจัยอื่นๆ

-โมเดลในต่างประเทศที่ใช้เรือดำน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ

เรือดำน้ำเป็นเครื่องมือที่กองทัพเรือทุกประเทศใฝ่ฝันจะมีไม่ต่างกับกองทัพเรือที่นึกถึงเรือบรรทุกเครื่องบินแต่การลงทุนใช้งบประมาณสูงเช่นที่ไทยตัดสินใจมีเรือจักรีนฤเบศรแล้วด้วยเงื่อนไขข้อจำกัดที่เรือมีข้อจำกัดในการใช้ดังนั้นเรือดำน้ำจึงมีข้อจำกัดเช่นกันสมัยสงครามโลกครั้งที่2เรือดำน้ำใช้เพื่อทำลายและปิดล้อมทางทะเล แต่ในยุคมหาสมุทรโลกสมัยใหม่ ที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีหลายอย่าง ถ้าในบริบทอ่าวไทยที่เป็นน้ำตื่น ถ้ามองว่าเรือดำน้ำเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุด ผมมองว่ามีประเด็นที่เป็นข้อโต้แย้งพอสมควร แต่หากเป็นฝั่งอันดามันที่จะใช้เรือดำน้ำ ก็ต้องคิดต่อว่าอำนาจทางทะเลของไทยจะออกไปไกลแค่ไหน เนื่องจากถ้าเรามองปัญหาความมั่นคงางทะเล ข้อโชคดีของไทย คือ ไทยไม่ข้อพิพาทกับประเทศเพื่อนบ้าน หรือ ไทยไม่มีปัญหาว่าด้วยเส้นเขตแดนทางทะเล เพราะเส้นเขตแดนที่เรามี ส่วนหนึ่งเราทำการตกลงแล้วกับทางการมาเลเซีย ส่วนหนึ่งเกิดจากการทำข้อตกลงร่วมในการลาดตระเวนทางทะเลระหว่างราชนาวีไทย-เวียดนาม ประกอบกับปัญหาในภูมิภาคที่เส้นเขตแดนทางทะเลเป็นปัญหาใหญ่ เช่น กรณีหมู่เกาะพาราเซล สเเปรตลีย์ แต่ไทยไม่ได้มีผลกระทบโดยตรงในฐานะรัฐคู่กรณี การพัฒนากำลังรบทางทะเลเพื่อใช้ด้านใด ถ้าใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์และทรัพยากรในทะเลมีความจำเป็นมากน้อยเพียงใด ในการใช้เรือดำน้ำ

ภาพจาก : www.mekongchula.com

- ส่วนกระแสข่าวที่ไทยจัดซื้อเรือดำน้ำจากประเทศจีน มีความเหมาะสมกับไทยหรือไม่

การจัดซื้อจากประเทศใด รัฐบาลและกองทัพเรือต้องตอบคำถาม ในยุคหนึ่งมีการแข่งขันเรื่องเรือดำน้ำ เช่น จากเยอรมันหลังการสิ้นสุดสงครามเย็นออกสู่ตลาด แต่เราตัดสินใจว่าไม่อยากได้เรือดำน้ำมือสอง ในสภาวะนั้นเราจะพบเรือดำน้ำใหม่จากสวีเดน เกาหลีใต้ วันนี้เรามีเรือดำน้ำใหม่จากจีน ผมไม่ได้อยู่ในวิสัยที่จะตอบได้โดยตรง ว่า เรือดำน้ำของประเทศใดมีความเหมสม เพราะคำตอบผูกโยงกับบประมาณส่วนหนึ่ง เรือดำน้ำที่ดีส่วหนนึ่ง จำเป็นต้องใช้งบประมาณสูงขึ้น ไทยไม่ได้อยากได้เรือมือสองมากนักจากเยอรมัน ถ้าเราตัดสินใจซื้อ ต้องมองว่าอะไรคือคุณสมบัติหลักที่เราคิดว่าเรือดำน้ำมีเงื่อนไขเหมาะสมกับความั่นคงและยุทธศาสตร์ทางทะเลของไทย



-ความฝันอันยาวนานของราชนาวีไทย สะท้อนหรือไม่ว่าคือ เกมส์การเมืองของกองทัพที่จะไม่ให้ผ่าน

ต้องอธิบายด้วยประวัติศาสตร์ ว่า เราเคยมีใช้ยุคหนึ่ง ประจำการ 4 ลำ ที่เราได้รับมอบจากราชนาวีญี่ปุ่น ภายใต้เงื่อนไขสงครามโลก เมื่อสงครามจบเรือเหล่านั้นจะมีอายุยื่นยาว ภายใต้อุปกรณ์อะไหล่ที่จะเข้ามาให้เรือมีชีวิตอยู่นั้นเป็นไปไม่ได้ และเมื่อสงครามสงบลง ยุทธโธปกรณ์ที่รับมาจากญี่ปุ่นสุดท้ายก็จะถูกจัดการด้วยเงื่อนไขทางการเมืองและระบบอาวุธที่ไม่มีอะไหล่ทดแทน

เมื่อครั้งหนึ่งเคยมีก็เป็นความฝังใจที่ผมคิดว่าต้องยอมรับมาถึงยุคหนึ่งการพัฒนากำลังรบทางทะเลเรามีเรือบรรทุกเครื่องบินเรามีกำลังอากาศนาวีที่เป็นเครื่องบินจึงมองถึงกำลัง3มิติข้างต้นแต่ต้องเราต้องมองโจทย์ยุทธศาสตร์ทางทะเลที่ผูกโยงยุทธศาสตร์ของประเทศในภาพรวมเราต้องมองว่าเรือดำน้ำจะเข้ามาปิดช่องโหว่-เครื่องมือทางยุทธศาสตร์ของไทยในอนาคตอย่างไร และไม่มองว่าการมีเรือดำน้ำของเพื่อนบ้านคือปัจจัยที่ไทยต้องมี ถ้าคิดเช่นนั้นการมีเรือดำน้ำของเพื่อนบ้าน จะกลายเป็นจุดเริ่มต้นของเราที่ต้องมี เรือดำน้ำกำลังจะเข้าสู่การแข่งขันของภูมิภาค ซึ่งประเทศที่มีในอาเซียน(อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม)เป็นประเทศที่มีชายฝั่งทะเลขนายาว และจำเป็นต้องพัฒนากำลังรบทางทะเล และปัญหาความขัดแย้งทางทะลของภูมิภาค เช่น หมู่เกาะพาราเซล สเเปรตลีย์ แต่ฟิลิปปินส์ที่ยังไม่มีเรือดำน้ำก็เนื่องจากงบประมาณ แต่ก็มีแนวโน้มในการพัฒนาขึ้น แต่ไม่ใช่เรือดำน้ำ อินโดนีเซียเป็นหมู่เกาะจำนวนมากจึงจำเป็นต้องมี

แต่ถ้ามองภาพรวมกองทัพเรือไทยไม่ใช่กองทัพเรือขาดเล็กในภูมิภาคถ้ามองจากกำลังพลอย่างเดียวช่วงหนึ่งเราเคยมีกำลังพลที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคแต่วันนี้ตัวเลขจะไล่เลี่ยกันถ้ามองจำนวนกำลังพลในอินโดนีเซียและไทยไล่เลี่ยกันประมาณ44,000คนและเวียดนาม40,000คนและที่เหลือยังเป็นกองทัพเรือที่ยังไม่มีขนาดใหญ่ยอดตัวเลขของเรือรบอย่างเดียวเรือตรวจการชายฝั่ง-เรือรบชายฝั่งกองทัพเรือไทยมีจำนวนไม่น้อยกว่าเพื่อนบ้านถ้าเรือรบหลักที่มีขีดความสามารถ(เรือฟริเกต)ไทยและมาเลเซียมีจำนวนไล่เลี่ยกัน คือ 10 ลำ อินโดนีเซียมี 11 ลำ จึงมีแง่มุมให้เราคิด ว่าการพัฒนากำลังรบจำเป็นต้องลงทุนกับเรือดำน้ำหรือลงทุนกับสิ่งอื่นที่รัฐบาลต้องตอบ



- ยุทธศาสตร์จุดนี้รวมถึงทรัพยากรทางทะเลด้วยหรือไม่เช่นด้านพลังงาน

โจทย์พวกนี้เราต้องถามว่าการพัฒนาอำนาจทางทะเลสมัยใหม่เราหวังว่ากำลังรบทางทะเลจะเป็นเครื่องมือในการปกป้องทรัพยากรปกป้องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจทางทะเลผมมองว่าคำตอบนี้เป็นจริงจะเป็นจริงด้วยตัวของมันเองต้องคิดว่าโอกาสที่จะมีข้อพิพาททางทะเลเข้าปะทะกันในลักษณะหมู่เกาะพาราเซลสเเปรตลีย์ แต่ไทยยังไม่ถึงจุดนั้น เพราะไทยสามารถจัดการได้ตามที่กล่าวข้างต้น