"คาร์บอมบ์สมุย"แผนสู้แนวใหม่ กลุ่มความไม่สงบใต้ กลุ่มต้าน คสช.อาจผสมโรง
MON, 04/13/2015 - 04:57 JOM
ที่มา Thai Voice Media
ดร.ศรีสมภพ จิตต์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ Deep South Watch และอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี วิเคราะห์ เหตุการณ์ คาร์บอมบ์ที่ ห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัล เฟสติวัล เกาะสมุย และที่ สหกรณ์โคออป สุราษฎร์ธานี เมื่อคืนวันที่ 10 เมษายนที่ผ่านมา ในรายการ "เสียงไทยเพื่อเสรีภาพคนไทย" ทางThaiviocemedia ว่า ตนให้น้ำหนักไปที่ กลุ่มก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้มากที่สุด เพราะลักษณะของการใช้คาร์บอมบ์ และรถที่ใช้ก็ขโมยมาจาก ยะลา เป้าหมายน่าจะต้องการกดดัน การพูดคุยสันติสุข ที่ชะงักงัน และไม่มีความคืบหน้า จึงใช้เป้าหมายทางเศรษฐกิจ ก่อเหตุ และกระทำนอกพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ ซึ่งอาจจะเป็นยุทธวิธีใหม่ของกลุ่มก่อความไม่สงบ ส่วนการเลือก จ.สุราษฎร์ธานี เพราะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับเป็นพื้นที่ทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ ขณะเดียวกัน ยังไม่มีข้อมูลหรือหลักฐานใด ที่จะเชื่อมโยงว่า กลุ่มต่อต้าน คสช. จะร่วมมือกันเพื่อก่อเหตุครั้งนี้หรือไม่ แต่ฝ่ายความมั่นคง คงจะไม่ตัดประเด็นนี้ แต่ไม่เชื่อว่า จะเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อจะเป็นข้ออ้างในการบังคับใช้ ม.44 เพื่อความมั่นคง ประเด็นนี้ไม่มีน้ำหนัก ส่วนความไม่คืบหน้าของการพูดคุยสันติสุข น่าจะเกิดจาก รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประเมินสถานการณ์ผิด อาจจะเห็นว่าเหตุการณ์ไม่มีอะไร จึงไม่เร่งรัด และไม่สร้างบรรยากาศการพูดคุยสันติสุขให้เกิดขึ้น ดังนั้นสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ หาก กลุ่มก่อความไม่สงบเลือกสถานที่ทางเศรษฐกิจนอกพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้เป็นเป้าหมาย อาจจะทำให้ รัฐบาลต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น เพราะอาจจะแทรกซ้อน หรือร่วมกับกลุ่มต่อต้านรัฐบาลเข้าผสมโรงด้วยก็อาจจะเป็นไปได้
ดร.ศรีสมภพ จิตต์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ Deep South Watch และอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี วิเคราะห์ เหตุการณ์ คาร์บอมบ์ที่ ห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัล เฟสติวัล เกาะสมุย และที่ สหกรณ์โคออป สุราษฎร์ธานี เมื่อคืนวันที่ 10 เมษายนที่ผ่านมา ในรายการ "เสียงไทยเพื่อเสรีภาพคนไทย" ทางThaiviocemedia ว่า ตนให้น้ำหนักไปที่ กลุ่มก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้มากที่สุด เพราะลักษณะของการใช้คาร์บอมบ์ และรถที่ใช้ก็ขโมยมาจาก ยะลา เป้าหมายน่าจะต้องการกดดัน การพูดคุยสันติสุข ที่ชะงักงัน และไม่มีความคืบหน้า จึงใช้เป้าหมายทางเศรษฐกิจ ก่อเหตุ และกระทำนอกพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ ซึ่งอาจจะเป็นยุทธวิธีใหม่ของกลุ่มก่อความไม่สงบ ส่วนการเลือก จ.สุราษฎร์ธานี เพราะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับเป็นพื้นที่ทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ ขณะเดียวกัน ยังไม่มีข้อมูลหรือหลักฐานใด ที่จะเชื่อมโยงว่า กลุ่มต่อต้าน คสช. จะร่วมมือกันเพื่อก่อเหตุครั้งนี้หรือไม่ แต่ฝ่ายความมั่นคง คงจะไม่ตัดประเด็นนี้ แต่ไม่เชื่อว่า จะเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อจะเป็นข้ออ้างในการบังคับใช้ ม.44 เพื่อความมั่นคง ประเด็นนี้ไม่มีน้ำหนัก ส่วนความไม่คืบหน้าของการพูดคุยสันติสุข น่าจะเกิดจาก รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประเมินสถานการณ์ผิด อาจจะเห็นว่าเหตุการณ์ไม่มีอะไร จึงไม่เร่งรัด และไม่สร้างบรรยากาศการพูดคุยสันติสุขให้เกิดขึ้น ดังนั้นสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ หาก กลุ่มก่อความไม่สงบเลือกสถานที่ทางเศรษฐกิจนอกพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้เป็นเป้าหมาย อาจจะทำให้ รัฐบาลต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น เพราะอาจจะแทรกซ้อน หรือร่วมกับกลุ่มต่อต้านรัฐบาลเข้าผสมโรงด้วยก็อาจจะเป็นไปได้