“นักเขียนไทยที่ไม่ค่อยจริงจังกับความคิดของตัวเอง ไม่มีจุดยืน ไม่มีหลักการ งานเขียนที่แสดงออกมาจึงตามสังคมไม่ทัน ถือว่าเป็นความผิดปกติจากโครงสร้างทางสังคมของวรรณกรรมเอง นักเขียนเป็นผู้ทำงานศิลปะที่ควรจะก้าวหน้าไปก่อนสังคมอย่างน้อยหนึ่งก้าว หากแต่นักเขียนบ้านเรา(ในมุมมองเชิงปัจเจก) มักอยู่บนหอคอยมีลักษณะว่างเปล่า”
:สุชาติ สวัสดิ์ศรี
..............................................................................
“พี่สุชาติพูดถูกในส่วนหนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่ง พวกที่เขามีจุดยืน ก็ไม่มีที่ยืนครับ .... ผมเองรวมเล่มบทกวี 40 ปี เสนอสำนักพิมพ์ ก็เจอปฏิเสธ ทั้งเหตุผล การตลาด การเมือง.. เป็นปี สุดท้ายลูกชายพิมพ์เอง ผมเองก็เข้าใจคำปฏิเสธได้ดี ไม่ว่าเขาหรอก พิมพ์แล้วขายไม่ได้ พิมพ์แล้วโดนกดดันการเมือง ก็เห็นใจเพื่อน
งั้นพิมพ์เองเลย พวกเราต้องเข้มแข็งกว่านี้ ทั้งในแง่ คนสร้างงาน และคนเสพงาน ไม่งั้นโดนรางวัลของศักดินา กดหัวไม่มีวันเงยโงขึ้นมาได้ ฝ่ายทุนใหม่เองก็ควรคิดให้ลึกกว่าที่ผ่านมา ควรอุดหนุนงานความคิด เพราะมันสำคัญที่สุด หากต้องการเปลี่ยนแปลงสังคม”
:วัฒน์ วรรลยางกูร
ที่มา