"คติพจน์จอมพลสฤษดิ์"
โดย เกษียร เตชะพีระ
มติชนออนไลน์
การเมืองวัฒนธรรม
มติชนสุดสัปดาห์ 10-16 เมษายน 2558
นับแต่ คสช. ภายใต้การนำของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้ายึดและควบคุมอำนาจการปกครองประเทศเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ศกก่อนเป็นต้นมา มักมีผู้นำหัวหน้า คสช. ไปเปรียบเทียบกับ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (พ.ศ.2451-2506) อดีตหัวหน้าคณะปฏิวัติผู้ล่วงลับ
ค่าที่ผู้นำทหารทั้งสองได้ก่อรัฐประหารโค่นรัฐบาลจากการเลือกตั้งและยึดกุมอำนาจรัฐอย่างเด็ดขาดสัมบูรณ์คล้ายๆกัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรรศนะนโยบายและมาตรการหลายอย่างหลายประการของหัวหน้าคสช.ก็มีลักษณะถอดแบบเอาอย่างมาจากอดีตหัวหน้าคณะปฏิวัติเหมือนๆ กันอีกด้วย
(อนึ่ง ชะรอยอะไรบางอย่างคงบังเกิดขึ้นกับท่านเมื่อราว 40 ปีก่อน ทำให้ความคิดความอ่านของท่านลงร่องลงตัวและไม่วอกแวกใดๆ อีกนับแต่นั้นมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสถานภาพทางเศรษฐกิจของประเทศไทยหรือคนไทยมาจากไหนก็ตาม...)
จึงน่าสนใจที่เราจะลองทบทวนทำความรู้จักบุคลิกลักษณะของระบอบการเมืองการปกครองที่จอมพลสฤษดิ์ธนะรัชต์สถาปนาขึ้นหลังการปฏิวัติเมื่อ 20 ตุลาคม พ.ศ.2501 และได้รับการสืบทอดต่อโดยนายทหารร่วมคณะปฏิวัติของท่านอันได้แก่ จอมพลถนอม กิตติขจร และ จอมพลประภาส จารุเสถียร จนยืนนานมาถึงเหตุการณ์นักศึกษาประชาชนลุกฮือเมื่อ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 จึงถูกโค่นไป
ผมอยากเริ่มด้วยการฉายหนังตัวอย่างเกี่ยวกับระบอบสฤษดิ์ที่ดึงมาจากผลงานวิชาการที่ดีที่สุดในเรื่องนี้และยังได้รับยกย่องว่าน่าจะเป็นงานรัฐศาสตร์ดีที่สุดเท่าที่คนไทยเคยเขียนมาด้วยอันได้แก่การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ(พ.ศ.2526) ของ ศาสตราจารย์ ดร.ทักษ์ เฉลิมเตียรณ ซึ่งแปลมาจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ Thailand : The Politics of Despotic Paternalism (ค.ศ.2979) อันมีที่มาจากการปรับปรุงวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของท่านที่ทำ ณ คณะการปกครอง มหาวิทยาลัยคอร์แนล สหรัฐอเมริกา เรื่อง "The Sarit Regime, 1957-1963 : The Formative Years of Modern Thai Politics" (ค.ศ.1974)
ผมคิดว่าเราอาจเริ่มด้วยคำถามทำนองปริศนา 5 ข้อที่ว่า... แปลกแต่จริง เชื่อหรือไม่ ใครเอ่ย? :-
- ทุ่มเงินหลายสิบล้านเคลื่อนม็อบและสื่อโค่นรัฐบาลเก่าแล้วตั้งพรรคใหม่เป็นสมบัติส่วนตัว
- มีนายกฯ นอมินีคอยรับฟังคำสั่งแนะนำชี้แนะอย่างเปิดเผย
- ส่ง messages ทางไกลจากต่างถิ่นต่างแดนมาถึงลูกพรรคกำชับกำชาให้สนับสนุนรัฐบาลนอมินี
- ดำเนินมาตรการประชานิยมสารพัดเพื่อเอาใจชาวบ้านมาสนับสนุนตน
- หลังสิ้นอำนาจถูกตรวจพบว่าร่ำรวยผิดปกติและยึดทรัพย์ที่ได้มาโดยมิชอบมหาศาลหลายล้านบาท
ปรากฏว่าเขาคือแอ่นแอ๊น...ไม่ใช่ครับไม่ใช่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร (แหะๆ) แต่คือท่านจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มหาอำมาตย์ผู้แสดงตัวว่าจงรักภักดีเสมอต่างหาก หรือจะพูดอีกอย่างว่าจอมพลสฤษดิ์ทำมาก่อนทักษิณตั้งหลายสิบปีก็ได้ ดังข้อมูลที่อาจารย์ทักษ์สืบสาวรวบรวมมาเรียบเรียงไว้ในหนังสือว่าท่านจอมพล :
- ทุ่มเงิน 40 ล้านบาทเคลื่อนม็อบและสื่อโค่นรัฐบาลจอมพล ป. เมื่อ 16 กันยายน พ.ศ.2500 และอีก 14 ล้านบาทเพื่อตั้งพรรคชาติสังคมนิยมลงสมัครแข่งขันรับเลือกตั้งต่อมา
- มีนายกฯ จอมพลถนอม กิตติขจร คอยรับฟังคำสั่งชี้แนะอย่างเปิดเผย
- ส่งเทปบันทึกเสียงตัวเองจากบางแสนและสหรัฐฝากมากล่อมสมาชิกพรรคชาติสังคมนิยมให้สนับสนุนรัฐบาลถนอมต่อ
-หลังยึดอำนาจ20ตุลาคม พ.ศ.2501 เร่งปล่อยมาตรการประชานิยมเอาใจชาวบ้านมาหนุนการรัฐประหาร เช่น ลดค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ค่าโดยสารรถไฟ ค่าเล่าเรียน, ลดราคากาแฟเย็น น้ำตาล ถ่านหุงข้าว, ให้ทัพเรือไปหามะพร้าวมาขายชาวบ้านราคาถูก, น้ำประปาฟรี, เปิดตลาดนัดวันอาทิตย์ขายของถูกให้ชาวบ้าน
- หลังตายถูกตรวจพบว่าร่ำรวยผิดปกติถึง 2 พันกว่าล้านบาท ถูกยึดทรัพย์ที่ได้มาโดยมิชอบไปกว่า 600 ล้านบาท
เป็นต้น
ในแง่มรดกด้านวัฒนธรรมการเมือง กล่าวได้ว่าความคิดสมัยระบอบสฤษดิ์ทันยุคทันสมัยไทยปัจจุบันอย่างยิ่ง ความคิดการเมืองแบบไทยๆ ที่โปรโมตโดยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ และผู้สนับสนุนนั้นแทบไม่เปลี่ยนเลยจากยุคสฤษดิ์สู่ "สลิ่ม" (สมญานามใช้เรียกขานคนชั้นกลางระดับกลางและบนของไทยในระยะหลังนี้) เช่น ข้อสรุปของวิทยานิพนธ์ปริญญาโท เรื่อง "การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของประเทศไทย" โดย คุณอนันต์ แจ้งกลีบ ที่ทำไว้ ณ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ.2508 ว่า :
"ประชาชนชาวไทยโดยทั่วไปไม่ประสงค์จะมีส่วนในการปกครอง ปรารถนาแต่เพียงให้ผู้ปกครองเป็นผู้มีคุณธรรมและมีความสามารถ เพราะประชาชนส่วนใหญ่มีความรู้สึกว่าอำนาจในการปกครองประเทศเป็นของพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นผู้มีบุญญาธิการโดยกำเนิดและเจ้านายที่มีบุญวาสนาเท่านั้นความรู้สึกแบ่งชั้นวรรณะระหว่างผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้การปกครองเป็นไปอย่างเด็ดขาด...ชนชั้นทั้งสองนี้ไม่มีฐานะเท่าเทียมกันไม่ว่ากรณีใด"
อ่านแล้วก็ให้นึกถึงวาทกรรมของดาวไฮด์ปาร์กแจ่มจรัสบนเวทีกปปส.ขึ้นมาจับใจอย่างไรไม่ทราบ
อีกอันหนึ่งที่ตรงกันเป๊ะคือความเชื่อใน"ประชาธิปไตยแบบไทย" ที่ว่าต้องปรับหลักการและแนวปฏิบัติทางการเมืองของฝรั่ง (ดอง) ตะวันตกให้เข้ากับบริบทและสังคมวัฒนธรรมไทย ชั่วแต่เท่าที่ฟังๆ ดู โวหารยุค คสช. นั้นจืดสนิท ว่าไปดุ้นๆ ดื้อๆ ไม่ระบัดระบายใส่สีจัดจ้านเทียบเท่ายุคสฤษดิ์เอาเลย สมัยนั้นเขาร้องเชียร์ "ประชาธิปไตยแบบไทยๆ ที่กินได้" (ล้ออาจารย์ประภาส ปิ่นตบแต่ง เสียหน่อย) ในทำนอง "มากินกล้วยน้ำว้า มะม่วง เงาะ มังคุด ทุเรียนกันเถอะ" ว่า :
"ขอให้ระบอบประชาธิปไตยของไทย เป็นเสมือนกัลปพฤกษ์ที่หยั่งรากลึกจากผืนแผ่นดินไทย งอกงามเติบใหญ่ในแสงแดดและแรงฝน ออกผลเป็นกล้วยน้ำว้า มะม่วง เงาะ มังคุด หรือทุเรียน มากกว่าจะเป็นแอปเปิ้ล องุ่น อินทผาลัม บ๊วย หรือเกาลัด"
โฆษกคณะปฏิวัติของจอมพลสฤษดิ์
หรือจะเป็นว่าหลายสิบปีที่ผ่านมา รสนิยมของคนไทยเปลี๊ยนไป๋แล้ว ขืนโฆษณาแบบนี้ คนไทยอาจหันไปเลือกกินแอปเปิ้ล องุ่น อินทผาลัม บ๊วย หรือเกาลัดแทนหน้าตาเฉยก็ได้?
แม้แต่ Hate Speech ทางการเมืองประเภท "เป็นคนไทยหรือเปล่า?", "ไม่รักพ่อก็ออกไปจากที่นี่ซะ", "อึดอัดกับกฎหมายนี้ก็ไปอยู่ที่อื่นสิ" ฯลฯ ใครอาจนึกว่าใหม่ถอดด้าม แต่ที่ไหนได้ มีมาตั้งแต่ยุคสฤษดิ์แล้ว อีกเช่นกัน ดังที่ Toru Yano ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งมหาวิทยาลัยเกียวโตชี้ไว้ในบทความ "Political Structure of a Rice Growing State" ซึ่งรวมพิมพ์ในหนังสือ Thailand : A Rice Growing Society (ค.ศ.1978) ที่มีอาจารย์ Yoneo Ishii ครูใหญ่ประวัติศาสตร์ไทยชาวญี่ปุ่นผู้ล่วงลับ (ค.ศ.1929-2010) เป็นบรรณาธิการว่า :
"ประการแรก มีคำกล่าวแบบไทยเกี่ยวกับแนวความคิดเรื่องภาระของคนชั้นสูง นักการเมืองไทยทุกคนล้วนแล้วแต่มีลักษณะพิเศษตามแบบบิดากับบุตรนี้ทั้งสิ้น
"ประการที่สอง มีด้านเสียของการปกครองแบบบิดากับบุตร กล่าวคือ แนวความคิดในเรื่องเสรีภาพของผู้มีอำนาจ อันได้แก่เสรีภาพในอันที่จะสร้างแบบการปกครองของตนเองตามใจชอบ และเสรีภาพที่จะปกครองด้วยการออกคำสั่ง ลักษณะของเสรีภาพนี้มีความสมบูรณ์แบบมากจนกระทั่งสามารถขจัดข้อผูกมัดทั้งปวงให้ออกไปพ้นจากการใช้อำนาจอย่างเด็ดขาด
"ประการที่สามก็คือการกำจัดส่วนที่มิใช่เป็นไทยหรือพวกนอกรีตที่เข้ากับผู้ปกครองไม่ได้อย่างเฉียบขาด"
อ่านแล้วก็มองเห็น-เข้าใจอากัปกิริยาตบหัวคลึงหู,ด่ากราด,ข่มขู่, โยนเปลือกกล้วย กระดาษ ฯลฯ ใส่, หรือออกปากอัปเปหิผู้เห็นต่างต่อผู้สื่อข่าวของท่านนายกฯ ขึ้นมาบัดเดี๋ยวนั้นเอง
แน่นอน เมื่อเอ่ยถึงจอมพลสฤษดิ์ จะไม่พาดพิงถึงมาตรา 17 เลยคงไม่ได้ เพราะมันถือกำเนิดขึ้นในธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2502 ในยุคสมัยของท่านนี้เอง ข้อความคลาสสิคอันเป็นต้นแบบของมาตราสถาปนาอำนาจสัมบูรณาญาสิทธิ์ (absolute power) ที่ไร้การจำกัดตรวจสอบถ่วงดุลทางปฏิบัติไว้ในรัฐธรรมนูญ (ทั้งที่หลักนิติธรรม หรือ the rule of law มีไว้เพื่อจำกัดอำนาจรัฐ!?!) มีว่า :
"มาตรา 17 ในระหว่างที่ใช้ธรรมนูญนี้ ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ในการระงับหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรหรือราชบัลลังก์หรือการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายก่อกวนหรือคุกคามความสงบที่เกิดขึ้นภายในหรือมาจากภายนอกราชอาณาจักรให้นายกรัฐมนตรีโดยมติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการหรือกระทำการใดๆ ได้ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำเช่นว่านั้นเป็นคำสั่งหรือการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย
"เมื่อนายกรัฐมนตรีได้สั่งการหรือกระทำการใดไปตามความในวรรคก่อนแล้วให้นายกรัฐมนตรีแจ้งในสภาทราบ"
โปรดสังเกตว่าการวินิจฉัยว่าการกระทำอันใดเข้าข่ายนิยามที่กว้างขวางครอบคลุมของอำนาจมาตรานี้ย่อมอยู่ในดุลพินิจของนายกรัฐมนตรีเป็นสำคัญ
ส่วนคณะรัฐมนตรีที่นายกฯเป็นผู้แต่งตั้งย่อมลงมติตามนายกฯแบบyes men (ได้ครับพี่ ดีครับผม เหมาะสมครับท่าน) เป็นปกติ
การสั่งการหรือกระทำการใดๆ ของนายกฯ ไม่มีขีดจำกัดว่าเป็นการใช้อำนาจด้านไหน กล่าวคือ มันครอบคลุมทั้งการสั่งการและกระทำการด้านบริหาร, นิติบัญญัติ และตุลาการ ไว้เบ็ดเสร็จ
การที่นายกฯ แจ้งในสภานั้น เป็นการแจ้งหลังสั่งการหรือกระทำการเสร็จเรียบร้อยแล้ว และเพียงแค่แจ้งเพื่อทราบ ไม่ใช่เพื่อขอความเห็นชอบ
มาตรา 17 นี้เองที่กลายร่างมาเป็นมาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ปัจจุบัน ดังมีเนื้อความและผลทางปฏิบัติเป็นการสถาปนาอำนาจสัมบูรณาญาสิทธิ์เฉกเช่นกัน เพียงแต่เปลี่ยนตำแหน่งผู้กุมอำนาจสัมบูรณ์และคณะไปบ้าง
ทว่า ในทางปฏิบัติก็คือคณะบุคคลเดียวกัน ดังนี้ :
"มาตรา 44 ในกรณีที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเห็นเป็นการจําเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปในด้านต่างๆ การส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ หรือเพื่อป้องกัน ระงับหรือปราบปรามการกระทําอันเป็นการบ่อนทําลายความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของชาติ ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีอํานาจสั่งการระงับยับยั้ง หรือกระทําการใดๆ ได้ ไม่ว่าการกระทํานั้นจะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ และให้ถือว่าคําสั่งหรือการกระทํา รวมทั้งการปฏิบัติตามคําสั่งดังกล่าว เป็นคําสั่งหรือการกระทํา หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญนี้และเป็นที่สุด ทั้งนี้ เมื่อได้ดําเนินการดังกล่าวแล้ว ให้รายงานประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและนายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว"
การเมืองวัฒนธรรม
มติชนสุดสัปดาห์ 10-16 เมษายน 2558
นับแต่ คสช. ภายใต้การนำของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้ายึดและควบคุมอำนาจการปกครองประเทศเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ศกก่อนเป็นต้นมา มักมีผู้นำหัวหน้า คสช. ไปเปรียบเทียบกับ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (พ.ศ.2451-2506) อดีตหัวหน้าคณะปฏิวัติผู้ล่วงลับ
ค่าที่ผู้นำทหารทั้งสองได้ก่อรัฐประหารโค่นรัฐบาลจากการเลือกตั้งและยึดกุมอำนาจรัฐอย่างเด็ดขาดสัมบูรณ์คล้ายๆกัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรรศนะนโยบายและมาตรการหลายอย่างหลายประการของหัวหน้าคสช.ก็มีลักษณะถอดแบบเอาอย่างมาจากอดีตหัวหน้าคณะปฏิวัติเหมือนๆ กันอีกด้วย
(อนึ่ง ชะรอยอะไรบางอย่างคงบังเกิดขึ้นกับท่านเมื่อราว 40 ปีก่อน ทำให้ความคิดความอ่านของท่านลงร่องลงตัวและไม่วอกแวกใดๆ อีกนับแต่นั้นมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสถานภาพทางเศรษฐกิจของประเทศไทยหรือคนไทยมาจากไหนก็ตาม...)
จึงน่าสนใจที่เราจะลองทบทวนทำความรู้จักบุคลิกลักษณะของระบอบการเมืองการปกครองที่จอมพลสฤษดิ์ธนะรัชต์สถาปนาขึ้นหลังการปฏิวัติเมื่อ 20 ตุลาคม พ.ศ.2501 และได้รับการสืบทอดต่อโดยนายทหารร่วมคณะปฏิวัติของท่านอันได้แก่ จอมพลถนอม กิตติขจร และ จอมพลประภาส จารุเสถียร จนยืนนานมาถึงเหตุการณ์นักศึกษาประชาชนลุกฮือเมื่อ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 จึงถูกโค่นไป
ผมอยากเริ่มด้วยการฉายหนังตัวอย่างเกี่ยวกับระบอบสฤษดิ์ที่ดึงมาจากผลงานวิชาการที่ดีที่สุดในเรื่องนี้และยังได้รับยกย่องว่าน่าจะเป็นงานรัฐศาสตร์ดีที่สุดเท่าที่คนไทยเคยเขียนมาด้วยอันได้แก่การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ(พ.ศ.2526) ของ ศาสตราจารย์ ดร.ทักษ์ เฉลิมเตียรณ ซึ่งแปลมาจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ Thailand : The Politics of Despotic Paternalism (ค.ศ.2979) อันมีที่มาจากการปรับปรุงวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของท่านที่ทำ ณ คณะการปกครอง มหาวิทยาลัยคอร์แนล สหรัฐอเมริกา เรื่อง "The Sarit Regime, 1957-1963 : The Formative Years of Modern Thai Politics" (ค.ศ.1974)
ผมคิดว่าเราอาจเริ่มด้วยคำถามทำนองปริศนา 5 ข้อที่ว่า... แปลกแต่จริง เชื่อหรือไม่ ใครเอ่ย? :-
- ทุ่มเงินหลายสิบล้านเคลื่อนม็อบและสื่อโค่นรัฐบาลเก่าแล้วตั้งพรรคใหม่เป็นสมบัติส่วนตัว
- มีนายกฯ นอมินีคอยรับฟังคำสั่งแนะนำชี้แนะอย่างเปิดเผย
- ส่ง messages ทางไกลจากต่างถิ่นต่างแดนมาถึงลูกพรรคกำชับกำชาให้สนับสนุนรัฐบาลนอมินี
- ดำเนินมาตรการประชานิยมสารพัดเพื่อเอาใจชาวบ้านมาสนับสนุนตน
- หลังสิ้นอำนาจถูกตรวจพบว่าร่ำรวยผิดปกติและยึดทรัพย์ที่ได้มาโดยมิชอบมหาศาลหลายล้านบาท
ปรากฏว่าเขาคือแอ่นแอ๊น...ไม่ใช่ครับไม่ใช่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร (แหะๆ) แต่คือท่านจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มหาอำมาตย์ผู้แสดงตัวว่าจงรักภักดีเสมอต่างหาก หรือจะพูดอีกอย่างว่าจอมพลสฤษดิ์ทำมาก่อนทักษิณตั้งหลายสิบปีก็ได้ ดังข้อมูลที่อาจารย์ทักษ์สืบสาวรวบรวมมาเรียบเรียงไว้ในหนังสือว่าท่านจอมพล :
- ทุ่มเงิน 40 ล้านบาทเคลื่อนม็อบและสื่อโค่นรัฐบาลจอมพล ป. เมื่อ 16 กันยายน พ.ศ.2500 และอีก 14 ล้านบาทเพื่อตั้งพรรคชาติสังคมนิยมลงสมัครแข่งขันรับเลือกตั้งต่อมา
- มีนายกฯ จอมพลถนอม กิตติขจร คอยรับฟังคำสั่งชี้แนะอย่างเปิดเผย
- ส่งเทปบันทึกเสียงตัวเองจากบางแสนและสหรัฐฝากมากล่อมสมาชิกพรรคชาติสังคมนิยมให้สนับสนุนรัฐบาลถนอมต่อ
-หลังยึดอำนาจ20ตุลาคม พ.ศ.2501 เร่งปล่อยมาตรการประชานิยมเอาใจชาวบ้านมาหนุนการรัฐประหาร เช่น ลดค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ค่าโดยสารรถไฟ ค่าเล่าเรียน, ลดราคากาแฟเย็น น้ำตาล ถ่านหุงข้าว, ให้ทัพเรือไปหามะพร้าวมาขายชาวบ้านราคาถูก, น้ำประปาฟรี, เปิดตลาดนัดวันอาทิตย์ขายของถูกให้ชาวบ้าน
- หลังตายถูกตรวจพบว่าร่ำรวยผิดปกติถึง 2 พันกว่าล้านบาท ถูกยึดทรัพย์ที่ได้มาโดยมิชอบไปกว่า 600 ล้านบาท
เป็นต้น
ในแง่มรดกด้านวัฒนธรรมการเมือง กล่าวได้ว่าความคิดสมัยระบอบสฤษดิ์ทันยุคทันสมัยไทยปัจจุบันอย่างยิ่ง ความคิดการเมืองแบบไทยๆ ที่โปรโมตโดยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ และผู้สนับสนุนนั้นแทบไม่เปลี่ยนเลยจากยุคสฤษดิ์สู่ "สลิ่ม" (สมญานามใช้เรียกขานคนชั้นกลางระดับกลางและบนของไทยในระยะหลังนี้) เช่น ข้อสรุปของวิทยานิพนธ์ปริญญาโท เรื่อง "การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของประเทศไทย" โดย คุณอนันต์ แจ้งกลีบ ที่ทำไว้ ณ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ.2508 ว่า :
"ประชาชนชาวไทยโดยทั่วไปไม่ประสงค์จะมีส่วนในการปกครอง ปรารถนาแต่เพียงให้ผู้ปกครองเป็นผู้มีคุณธรรมและมีความสามารถ เพราะประชาชนส่วนใหญ่มีความรู้สึกว่าอำนาจในการปกครองประเทศเป็นของพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นผู้มีบุญญาธิการโดยกำเนิดและเจ้านายที่มีบุญวาสนาเท่านั้นความรู้สึกแบ่งชั้นวรรณะระหว่างผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้การปกครองเป็นไปอย่างเด็ดขาด...ชนชั้นทั้งสองนี้ไม่มีฐานะเท่าเทียมกันไม่ว่ากรณีใด"
อ่านแล้วก็ให้นึกถึงวาทกรรมของดาวไฮด์ปาร์กแจ่มจรัสบนเวทีกปปส.ขึ้นมาจับใจอย่างไรไม่ทราบ
อีกอันหนึ่งที่ตรงกันเป๊ะคือความเชื่อใน"ประชาธิปไตยแบบไทย" ที่ว่าต้องปรับหลักการและแนวปฏิบัติทางการเมืองของฝรั่ง (ดอง) ตะวันตกให้เข้ากับบริบทและสังคมวัฒนธรรมไทย ชั่วแต่เท่าที่ฟังๆ ดู โวหารยุค คสช. นั้นจืดสนิท ว่าไปดุ้นๆ ดื้อๆ ไม่ระบัดระบายใส่สีจัดจ้านเทียบเท่ายุคสฤษดิ์เอาเลย สมัยนั้นเขาร้องเชียร์ "ประชาธิปไตยแบบไทยๆ ที่กินได้" (ล้ออาจารย์ประภาส ปิ่นตบแต่ง เสียหน่อย) ในทำนอง "มากินกล้วยน้ำว้า มะม่วง เงาะ มังคุด ทุเรียนกันเถอะ" ว่า :
"ขอให้ระบอบประชาธิปไตยของไทย เป็นเสมือนกัลปพฤกษ์ที่หยั่งรากลึกจากผืนแผ่นดินไทย งอกงามเติบใหญ่ในแสงแดดและแรงฝน ออกผลเป็นกล้วยน้ำว้า มะม่วง เงาะ มังคุด หรือทุเรียน มากกว่าจะเป็นแอปเปิ้ล องุ่น อินทผาลัม บ๊วย หรือเกาลัด"
โฆษกคณะปฏิวัติของจอมพลสฤษดิ์
หรือจะเป็นว่าหลายสิบปีที่ผ่านมา รสนิยมของคนไทยเปลี๊ยนไป๋แล้ว ขืนโฆษณาแบบนี้ คนไทยอาจหันไปเลือกกินแอปเปิ้ล องุ่น อินทผาลัม บ๊วย หรือเกาลัดแทนหน้าตาเฉยก็ได้?
แม้แต่ Hate Speech ทางการเมืองประเภท "เป็นคนไทยหรือเปล่า?", "ไม่รักพ่อก็ออกไปจากที่นี่ซะ", "อึดอัดกับกฎหมายนี้ก็ไปอยู่ที่อื่นสิ" ฯลฯ ใครอาจนึกว่าใหม่ถอดด้าม แต่ที่ไหนได้ มีมาตั้งแต่ยุคสฤษดิ์แล้ว อีกเช่นกัน ดังที่ Toru Yano ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งมหาวิทยาลัยเกียวโตชี้ไว้ในบทความ "Political Structure of a Rice Growing State" ซึ่งรวมพิมพ์ในหนังสือ Thailand : A Rice Growing Society (ค.ศ.1978) ที่มีอาจารย์ Yoneo Ishii ครูใหญ่ประวัติศาสตร์ไทยชาวญี่ปุ่นผู้ล่วงลับ (ค.ศ.1929-2010) เป็นบรรณาธิการว่า :
"ประการแรก มีคำกล่าวแบบไทยเกี่ยวกับแนวความคิดเรื่องภาระของคนชั้นสูง นักการเมืองไทยทุกคนล้วนแล้วแต่มีลักษณะพิเศษตามแบบบิดากับบุตรนี้ทั้งสิ้น
"ประการที่สอง มีด้านเสียของการปกครองแบบบิดากับบุตร กล่าวคือ แนวความคิดในเรื่องเสรีภาพของผู้มีอำนาจ อันได้แก่เสรีภาพในอันที่จะสร้างแบบการปกครองของตนเองตามใจชอบ และเสรีภาพที่จะปกครองด้วยการออกคำสั่ง ลักษณะของเสรีภาพนี้มีความสมบูรณ์แบบมากจนกระทั่งสามารถขจัดข้อผูกมัดทั้งปวงให้ออกไปพ้นจากการใช้อำนาจอย่างเด็ดขาด
"ประการที่สามก็คือการกำจัดส่วนที่มิใช่เป็นไทยหรือพวกนอกรีตที่เข้ากับผู้ปกครองไม่ได้อย่างเฉียบขาด"
อ่านแล้วก็มองเห็น-เข้าใจอากัปกิริยาตบหัวคลึงหู,ด่ากราด,ข่มขู่, โยนเปลือกกล้วย กระดาษ ฯลฯ ใส่, หรือออกปากอัปเปหิผู้เห็นต่างต่อผู้สื่อข่าวของท่านนายกฯ ขึ้นมาบัดเดี๋ยวนั้นเอง
แน่นอน เมื่อเอ่ยถึงจอมพลสฤษดิ์ จะไม่พาดพิงถึงมาตรา 17 เลยคงไม่ได้ เพราะมันถือกำเนิดขึ้นในธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2502 ในยุคสมัยของท่านนี้เอง ข้อความคลาสสิคอันเป็นต้นแบบของมาตราสถาปนาอำนาจสัมบูรณาญาสิทธิ์ (absolute power) ที่ไร้การจำกัดตรวจสอบถ่วงดุลทางปฏิบัติไว้ในรัฐธรรมนูญ (ทั้งที่หลักนิติธรรม หรือ the rule of law มีไว้เพื่อจำกัดอำนาจรัฐ!?!) มีว่า :
"มาตรา 17 ในระหว่างที่ใช้ธรรมนูญนี้ ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ในการระงับหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรหรือราชบัลลังก์หรือการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายก่อกวนหรือคุกคามความสงบที่เกิดขึ้นภายในหรือมาจากภายนอกราชอาณาจักรให้นายกรัฐมนตรีโดยมติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการหรือกระทำการใดๆ ได้ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำเช่นว่านั้นเป็นคำสั่งหรือการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย
"เมื่อนายกรัฐมนตรีได้สั่งการหรือกระทำการใดไปตามความในวรรคก่อนแล้วให้นายกรัฐมนตรีแจ้งในสภาทราบ"
โปรดสังเกตว่าการวินิจฉัยว่าการกระทำอันใดเข้าข่ายนิยามที่กว้างขวางครอบคลุมของอำนาจมาตรานี้ย่อมอยู่ในดุลพินิจของนายกรัฐมนตรีเป็นสำคัญ
ส่วนคณะรัฐมนตรีที่นายกฯเป็นผู้แต่งตั้งย่อมลงมติตามนายกฯแบบyes men (ได้ครับพี่ ดีครับผม เหมาะสมครับท่าน) เป็นปกติ
การสั่งการหรือกระทำการใดๆ ของนายกฯ ไม่มีขีดจำกัดว่าเป็นการใช้อำนาจด้านไหน กล่าวคือ มันครอบคลุมทั้งการสั่งการและกระทำการด้านบริหาร, นิติบัญญัติ และตุลาการ ไว้เบ็ดเสร็จ
การที่นายกฯ แจ้งในสภานั้น เป็นการแจ้งหลังสั่งการหรือกระทำการเสร็จเรียบร้อยแล้ว และเพียงแค่แจ้งเพื่อทราบ ไม่ใช่เพื่อขอความเห็นชอบ
มาตรา 17 นี้เองที่กลายร่างมาเป็นมาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ปัจจุบัน ดังมีเนื้อความและผลทางปฏิบัติเป็นการสถาปนาอำนาจสัมบูรณาญาสิทธิ์เฉกเช่นกัน เพียงแต่เปลี่ยนตำแหน่งผู้กุมอำนาจสัมบูรณ์และคณะไปบ้าง
ทว่า ในทางปฏิบัติก็คือคณะบุคคลเดียวกัน ดังนี้ :
"มาตรา 44 ในกรณีที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเห็นเป็นการจําเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปในด้านต่างๆ การส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ หรือเพื่อป้องกัน ระงับหรือปราบปรามการกระทําอันเป็นการบ่อนทําลายความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของชาติ ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีอํานาจสั่งการระงับยับยั้ง หรือกระทําการใดๆ ได้ ไม่ว่าการกระทํานั้นจะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ และให้ถือว่าคําสั่งหรือการกระทํา รวมทั้งการปฏิบัติตามคําสั่งดังกล่าว เป็นคําสั่งหรือการกระทํา หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญนี้และเป็นที่สุด ทั้งนี้ เมื่อได้ดําเนินการดังกล่าวแล้ว ให้รายงานประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและนายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว"