ที่มา ที่นี่และที่นั่นวันนี้
เอกสาร “ลับ” มติการประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ครั้งที่ 566-34/2557 วันที่ 8 พฤษภาคม 2557 วาระที่ 6.4 สังกัด สำนักไต่สวนการทุจริตภาคการเมือง 1 ให้ดำเนินการส่งเรื่อง ถอดถอนนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กรณีละเลยไม่ระงับยับยั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการรับจำนำข้าว ที่ระบุอย่างชัดเจนในเนื้อหาว่า “…ในชั้นนี้พยานหลักฐานยังไม่ปรากฎชัดเจนว่า ผู้ถูกกล่าวหามีส่วนร่วมในการทุจริตหรือสมยอมให้เกิดการทุจริต…”
ค่อนข้างจะชัดเจนว่า ณ วันที่ “ป.ป.ช.” มีมติชี้มูลความผิดนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อ 8 พฤษภาคม 2557 นั้น “พยานหลักฐานยังไม่ปรากฏชัดเจนว่ามีส่วนร่วมในการทุจริตหรือสมยอมให้เกิดการทุจริต”
และในเมื่อ “พยาน-หลักฐาน ยังไม่ปรากฏแน่ชัด” แล้ว “องค์กร” ที่อ้างว่าเป็นองค์กรตรวจสอบอย่าง “ป.ป.ช.” นั้น ดำเนินการลงมติ “ชี้มูลความผิด” ไปได้อย่างไร
จากการตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม พบว่า เว็บไซด์ข่าวสดออนไลน์ รายงานเอาไว้ในวันที่ ป.ป.ช.แถลงมติ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดกรณีนี้ว่า เมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 8 พ.ค. ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สนามบินน้ำ จ.นนทบุรี นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานคณะกรรมการป.ป.ช. พร้อมด้วยนายวิชา มหาคุณ กรรมการและโฆษกคณะกรรมการป.ป.ช. และนายประสาท พงษ์ศิวาภัย กรรมการและรองโฆษกคณะกรรมการป.ป.ช. ร่วมกันแถลงถึงมติของที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.คดีโครงการรับจำนำข้าว โดย นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช.คนดัง เป็นผู้กล่าวด้วยตัวเองว่า “..แม้ในชั้นนี้พยานหลักฐานยังไม่ปรากฏชัดเจนว่าผู้ถูกกล่าวหามีส่วนร่วมในการทุจริตหรือสมยอมให้เกิดการทุจริต..”
โดยข้อความดังกล่าวก็ยังตรงกับ เอกสาร “ข่าวประชาสัมพันธ์” ของ ป.ป.ช. วันที่พฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2558 ที่ได้ระบุเช่นเดียวกันว่า “..แม้ในชั้นนี้พยานหลักฐานยังไม่ปรากฏชัดเจนว่าผู้ถูกกล่าวหามีส่วนร่วมในการทุจริตหรือสมยอมให้เกิดการทุจริต..”
ดังนั้น จากหลักฐาน “เอกสารลับ มติ ป.ป.ช.” ที่มีการนำเสนอไปก่อนหน้านี้แล้ว รวมไปถึง เนื้อหาข่าวที่สื่อสารมวลชนได้นำเสนอ ซึ่งเป็น คำพูดของ นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช.คนดัง และเอกสารข่าวประชาสัมพันธ์ของ ป.ป.ช.” ทั้งหมดยืนยันตรงกันว่า “..แม้ในชั้นนี้พยานหลักฐานยังไม่ปรากฏชัดเจนว่าผู้ถูกกล่าวหามีส่วนร่วมในการทุจริตหรือสมยอมให้เกิดการทุจริต..”
กลายเป็นว่า แม้ยังไม่ปรากฏ “พยานหลักฐานชัดเจน” ว่ามีการ “ทุจริต” แต่ ป.ป.ช.ก็ต้อง “ชี้มูลความผิด” ไปอย่างนั้นหรือ ?
… “ดันทุรัง” จะ “เอาผิด” มากเกินไปหรือเปล่า ?
...
เอกสาร “ลับ” มติการประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ครั้งที่ 566-34/2557 วันที่ 8 พฤษภาคม 2557 วาระที่ 6.4 สังกัด สำนักไต่สวนการทุจริตภาคการเมือง 1 เรื่อง “สำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริง ตามคำร้องขอให้ถอดถอน นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ออกจากตำแหน่ง เนื่องจากมีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย กรณีละเลยไม่ระงับยับยั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวและการระบายข้าวของรัฐบาล (เรื่องกล่าวหา เลขที่ดำ 5730030605)
ซึ่ง บันทึก “มติ ป.ป.ช.” ดังกล่าว ฉบับเต็ม กลับบันทึกเอาไว้อย่างชัดเจนว่า “..ในชั้นนี้พยานหลักฐานยังไม่ปรากฎชัดเจนว่า ผู้ถูกกล่าวหามีส่วนร่วมในการทุจริตหรือสมยอมให้เกิดการทุจริต..”
เนื้อหาโดยละเอียด ดังนี้ “..สรุปได้ว่า การดำเนินโครงการมีจุดอ่อนหรือความเสี่ยงในทุกขั้นตอนตั้งแต่การขึ้นทะเบียนเกษตรกรจนถึงการระบายข้าว ซึ่งเป็นช่องทางนำไปสู่การสวมสิทธิ์การจำนำและการทุจริตในโครงการ รวมทั้งการดำเนินโครงการเกิดผลกระทบสร้างความเสียหายต่อเงินงบประมาณแผ่นดินและเกษตรกร ความเสี่ยงต่อระบบการคลังของประเทศ และไม่เกิดการพัฒนาการผลิตข้าวอย่างยั่งยืน จึงได้เสนอแนะให้พิจารณาทบทวนและยุติการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกในฤดูกาลต่อไป และกรณีการจ่ายเงินจำนำตามโครงการล่าช้า ควรมีมาตรการเยียวยาเพื่อบรรเทาผลกระทบและความเสียหายให้แก่เกษตรกรดังกล่าวด้วย ยิ่งกว่านั้นปรากฏข้อเท็จจริงว่า มีชาวนาที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวตามนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่ผู้ถูกกล่าวหาได้แถลงไว้ต่อรัฐสภายังไม่ได้รับเงินอีกเป็นจำนวนมากทำให้ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย จึงเป็นกรณีจำเป็นที่ผู้ถูกกล่าวหาในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ จะต้องเสนอนโยบายและกรอบยุทธศาสตร์เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องข้าวอย่างเป็นระบบ และในฐานะนายกรัฐมนตรีที่จะต้องพิจารณายับยั้งโครงการตั้งแต่เริ่มรับทราบว่ามีการทุจริตในการดำเนินโครงการ และความเสียหายต่างๆ จากการดำเนินโครงการ แต่ผู้ถูกกล่าวหากลับยืนยันที่จะดำเนินโครงการต่อไป ทำให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการมากขึ้นไปเรื่อยๆ แม้ในชั้นนี้พยานหลักฐานยังไม่ปรากฎชัดเจนว่า ผู้ถูกกล่าวหามีส่วนร่วมในการทุจริตหรือสมยอมให้เกิดการทุจริตด้วยก็ตาม แต่การที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่บริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามนโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา ว่าจะป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่างจริงจัง โดยยึดหลักความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยพิจารณายุติหรือยกเลิกโครงการรับจำนำข้าวและการระบายข้าวของรัฐบาล เพื่อระงับยับยั้งมิให้เกิดการทุจริตและระงับยับยั้งมิให้เกิดความเสียหายจากการดำเนินโครงการมากยิ่งขึ้น ซึ่งถือได้ว่า เป็นสภาพความเสียหายที่เกิดขึ้นจากโครงการรับจำนำข้าวที่ร้ายแรงที่สุดของประเทศ ทั้งที่ผู้ถูกกล่าวหามีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 11(1) ที่จะสั่งยับยั้งโครงการรับจำนำข้าวและการระบายข้าวนั้นได้ ..”
จาก “เอกสารลับ” มติ ป.ป.ช.ข้างต้น ระบุว่า “..ในชั้นนี้พยานหลักฐานยังไม่ปรากฎชัดเจนว่า ผู้ถูกกล่าวหามีส่วนร่วมในการทุจริตหรือสมยอมให้เกิดการทุจริต..”
นั่นหมายความว่า “ป.ป.ช.” รับ “สารภาพ” อย่างชัดแจ้งว่า จากข้อมูล “พยาน-หลักฐาน” นั้นไม่ปรากฏว่า “นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” มีส่วนร่วมในการ “ทุจริต” หรือ “สมยอมให้เกิดการทุจริต”
ซึ่งยิ่งตอกย้ำให้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า “ป.ป.ช.” ดำเนินการชี้มูลความผิดและถอดถอน “อดีตนายกรัฐมนตรีหญิง” กรณีปล่อยปละละเลยให้เกิดการทุจริตโครงการรับจำนำข้าว ได้อย่างไร ทั้งๆที่ “ป.ป.ช.” ก็ระบุเองว่า “พยานหลักฐานยังไม่ปรากฎชัดเจน..” ?
ซึ่ง บันทึก “มติ ป.ป.ช.” ดังกล่าว ฉบับเต็ม กลับบันทึกเอาไว้อย่างชัดเจนว่า “..ในชั้นนี้พยานหลักฐานยังไม่ปรากฎชัดเจนว่า ผู้ถูกกล่าวหามีส่วนร่วมในการทุจริตหรือสมยอมให้เกิดการทุจริต..”
เนื้อหาโดยละเอียด ดังนี้ “..สรุปได้ว่า การดำเนินโครงการมีจุดอ่อนหรือความเสี่ยงในทุกขั้นตอนตั้งแต่การขึ้นทะเบียนเกษตรกรจนถึงการระบายข้าว ซึ่งเป็นช่องทางนำไปสู่การสวมสิทธิ์การจำนำและการทุจริตในโครงการ รวมทั้งการดำเนินโครงการเกิดผลกระทบสร้างความเสียหายต่อเงินงบประมาณแผ่นดินและเกษตรกร ความเสี่ยงต่อระบบการคลังของประเทศ และไม่เกิดการพัฒนาการผลิตข้าวอย่างยั่งยืน จึงได้เสนอแนะให้พิจารณาทบทวนและยุติการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกในฤดูกาลต่อไป และกรณีการจ่ายเงินจำนำตามโครงการล่าช้า ควรมีมาตรการเยียวยาเพื่อบรรเทาผลกระทบและความเสียหายให้แก่เกษตรกรดังกล่าวด้วย ยิ่งกว่านั้นปรากฏข้อเท็จจริงว่า มีชาวนาที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวตามนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่ผู้ถูกกล่าวหาได้แถลงไว้ต่อรัฐสภายังไม่ได้รับเงินอีกเป็นจำนวนมากทำให้ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย จึงเป็นกรณีจำเป็นที่ผู้ถูกกล่าวหาในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ จะต้องเสนอนโยบายและกรอบยุทธศาสตร์เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องข้าวอย่างเป็นระบบ และในฐานะนายกรัฐมนตรีที่จะต้องพิจารณายับยั้งโครงการตั้งแต่เริ่มรับทราบว่ามีการทุจริตในการดำเนินโครงการ และความเสียหายต่างๆ จากการดำเนินโครงการ แต่ผู้ถูกกล่าวหากลับยืนยันที่จะดำเนินโครงการต่อไป ทำให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการมากขึ้นไปเรื่อยๆ แม้ในชั้นนี้พยานหลักฐานยังไม่ปรากฎชัดเจนว่า ผู้ถูกกล่าวหามีส่วนร่วมในการทุจริตหรือสมยอมให้เกิดการทุจริตด้วยก็ตาม แต่การที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่บริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามนโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา ว่าจะป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่างจริงจัง โดยยึดหลักความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยพิจารณายุติหรือยกเลิกโครงการรับจำนำข้าวและการระบายข้าวของรัฐบาล เพื่อระงับยับยั้งมิให้เกิดการทุจริตและระงับยับยั้งมิให้เกิดความเสียหายจากการดำเนินโครงการมากยิ่งขึ้น ซึ่งถือได้ว่า เป็นสภาพความเสียหายที่เกิดขึ้นจากโครงการรับจำนำข้าวที่ร้ายแรงที่สุดของประเทศ ทั้งที่ผู้ถูกกล่าวหามีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 11(1) ที่จะสั่งยับยั้งโครงการรับจำนำข้าวและการระบายข้าวนั้นได้ ..”
จาก “เอกสารลับ” มติ ป.ป.ช.ข้างต้น ระบุว่า “..ในชั้นนี้พยานหลักฐานยังไม่ปรากฎชัดเจนว่า ผู้ถูกกล่าวหามีส่วนร่วมในการทุจริตหรือสมยอมให้เกิดการทุจริต..”
นั่นหมายความว่า “ป.ป.ช.” รับ “สารภาพ” อย่างชัดแจ้งว่า จากข้อมูล “พยาน-หลักฐาน” นั้นไม่ปรากฏว่า “นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” มีส่วนร่วมในการ “ทุจริต” หรือ “สมยอมให้เกิดการทุจริต”
ซึ่งยิ่งตอกย้ำให้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า “ป.ป.ช.” ดำเนินการชี้มูลความผิดและถอดถอน “อดีตนายกรัฐมนตรีหญิง” กรณีปล่อยปละละเลยให้เกิดการทุจริตโครงการรับจำนำข้าว ได้อย่างไร ทั้งๆที่ “ป.ป.ช.” ก็ระบุเองว่า “พยานหลักฐานยังไม่ปรากฎชัดเจน..” ?