ที่มา เด็กหลังห้อง ประชาไท
Sun, 2014-11-30 16:59
กลุ่มประชาคมจุฬาฯเพื่อประชาชนออกแถลงการณ์เนื่องในโอกาสครบ 6 เดือนการรัฐประหาร เรียกร้องให้ คสช. ยุติการใช้กฎอัยการศึก หยุดคุกคามสิทธิเสรีภาพประชาชน คืนอำนาจอธิปไตยสู่ประชาชน วอนสโมสรและองค์การนิสิตนักศึกษา ทั่วประเทศปกป้องเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองของนิสิตนักศึกษา ไม่ยอมรับและไม่สนับสนุนอำนาจนอกระบอบประชาธิปไตย
นิสิตกลุ่มประชาคมจุฬาฯเพื่อประชาชน หรือ Chulalongkorn Community for the People (CCP) ออกแถลงการณ์ เนื่องในโอกาสครบ 6 เดือนการรัฐประหาร โดยระบุว่า ตลอดระยะเวลาหกเดือนที่ผ่านมาหลังกลุ่มบุคคลที่เรียกตัวเองว่า "คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)" เข้ายึดอำนาจการปกครองจากประชาชน ปรากฏชัดว่ามีการใช้อำนาจกฎอัยการศึกละเมิดสิทธิประชาชนอย่างป่าเถื่อนแบบ ที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในรอบหลายสิบปี การละเมิดสิทธินั้นเริ่มตั้งแต่ด้านพื้นฐานที่สุดอย่างการแสดงความคิดเห็น มีการประกาศเรียกประชาชนที่คิดต่างจากตนมากกว่า 500 คน และมีผู้ถูกจับกุมเกิน 200 คน ขณะนี้ยังคงมีการไล่ล่าผู้เห็นต่างที่ยังไม่ยอมสยบยอมต่ออำนาจคสช. อย่างต่อเนื่องและยังคงมีการใช้อำนาจอย่างป่าเถื่อนเช่น การบีบบังคับองค์กรที่มีอำนาจเหนือกว่าให้ลงโทษผู้คิดต่าง การเข้าไปข่มขู่ครอบครัวและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้ที่ประกาศตนต่อต้าน คสช. เป็นต้น
การแสดงความคิดเห็นที่ถูกปิดกั้นอย่างเข้มงวดนี้เองทำให้คำโฆษณาของ คสช.ที่กล่าวว่าตนจะ"คืนความสุข" โดยการตรวจสอบและลงโทษการทุจริตอย่างเข้มข้นเป็นไปอย่างน่าเคลือบแคลงใจยิ่ง ประชาชนไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์การบริหารงานได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการอนุมัติงบประมาณ การจัดตั้งองค์กรที่อ้างว่าเป็นคนกลางเข้ามาปฏิรูปประเทศให้พ้นจากวิกฤติการเมือง หรือการบริหารงานซึ่งปรากฏชัดว่าล้วนแต่เป็นการเติมเชื้อเพลิงความขัดแย้งเพราะผู้ได้รับประโยชน์ล้วนแต่เป็นคู่ขัดแย้งของรัฐบาลที่ถูกโค่นล้มด้วยการรัฐประหารครั้งล่าสุดนี้ทั้งสิ้น
สำหรับเวทีปฏิรูปต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพลังงานหรือกรณีเขื่อนแม่วงก์ก็เป็นที่แน่ชัดว่าไม่มีทางดำเนินการไปได้อย่างเสรี ดังปรากฏเจ้าหน้าที่ทหารตำรวจเข้าควบคุมพื้นที่บันทึกข้อมูลและวิดีโอตลอดกิจกรรมต่างๆ ของประชาชน ยิ่งไปกว่านั้น เรื่องเวทีการเมืองระดับชาติอย่างสภาปฏิรูปที่แต่งตั้งขึ้นมาใหม่ก็ไม่มีอำนาจยึดโยงกับประชาชนแต่อย่างใด หากแต่ยังรับเงินจากภาษีประชาชนโดยที่สมาชิกสภาไม่ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินเพื่อการตรวจสอบอีกด้วย
รัฐบาลคสช. ไม่ให้ความสำคัญและเพิกเฉยต่อหลักเสรีภาพของประชาชน เห็นได้จากการปิดกั้นการทำงานของสื่อมวลชนไปจนถึงการออกคำสั่งห้ามกิจกรรมสาธารณะที่ถือว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานเพียงเพราะการกระทำเหล่านั้นถูกหยิบมาใช้เป็นสัญลักษณ์ต่อต้านอำนาจรัฐประหาร เช่น การรับประทานแซนด์วิชก็กลับกลายเป็น “ภัยต่อความมั่นคง” การรับประทานอาหารเป็นกลุ่ม การอ่านวรรณกรรมอย่างหนังสือเรื่อง 1984 ของจอร์จ ออเวลล์ และการแสดงสัญลักษณ์ชูสามนิ้วจากภาพยนตร์ในที่สาธารณะ
นอกจากนี้ ประเด็นที่เกี่ยวพันกับนักศึกษาโดยตรงอย่างเรื่องเสรีภาพทางวิชาการนั้น ก็ถูกปิดกั้นด้วยการสั่งยกเลิกงานเสวนาวิชาการจำนวนมาก ออกคำสั่งให้ส่งเอกสารขออนุญาตก่อนจัดการเสวนาที่ คสช. มองว่าเกี่ยวข้องกับความไม่สงบเรียบร้อย นักวิชาการไม่สามารถแสดงความคิดเห็นแม้ในวงเสวนาวิชาการ รวมถึงการให้เจ้าหน้าที่ทหารเข้าไปสอดแนมการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาและงานเสวนาวิชาการต่างๆทั่วประเทศ ทั้งนี้ยังไม่นับเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองของนักศึกษาที่ถูกคุกคามอย่างหนัก ดังเช่นกรณีการควบคุมตัวนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นกลุ่มดาวดินเพียงเพราะพวกเขา “ชูสามนิ้ว”มีการตามข่มขู่ย้อนหลัง หรือกรณีการปรับค่าเสียหายนิสิตกลุ่มประชาคมจุฬาฯเพื่อประชาชนซึ่งทำการแขวนป้ายรำลึก 8 ปีรัฐประหาร 19 กันยา โดยอ้างถึงพรบ. ความสะอาด
สำหรับเวทีปฏิรูปต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพลังงานหรือกรณีเขื่อนแม่วงก์ก็เป็นที่แน่ชัดว่าไม่มีทางดำเนินการไปได้อย่างเสรี ดังปรากฏเจ้าหน้าที่ทหารตำรวจเข้าควบคุมพื้นที่บันทึกข้อมูลและวิดีโอตลอดกิจกรรมต่างๆ ของประชาชน ยิ่งไปกว่านั้น เรื่องเวทีการเมืองระดับชาติอย่างสภาปฏิรูปที่แต่งตั้งขึ้นมาใหม่ก็ไม่มีอำนาจยึดโยงกับประชาชนแต่อย่างใด หากแต่ยังรับเงินจากภาษีประชาชนโดยที่สมาชิกสภาไม่ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินเพื่อการตรวจสอบอีกด้วย
รัฐบาลคสช. ไม่ให้ความสำคัญและเพิกเฉยต่อหลักเสรีภาพของประชาชน เห็นได้จากการปิดกั้นการทำงานของสื่อมวลชนไปจนถึงการออกคำสั่งห้ามกิจกรรมสาธารณะที่ถือว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานเพียงเพราะการกระทำเหล่านั้นถูกหยิบมาใช้เป็นสัญลักษณ์ต่อต้านอำนาจรัฐประหาร เช่น การรับประทานแซนด์วิชก็กลับกลายเป็น “ภัยต่อความมั่นคง” การรับประทานอาหารเป็นกลุ่ม การอ่านวรรณกรรมอย่างหนังสือเรื่อง 1984 ของจอร์จ ออเวลล์ และการแสดงสัญลักษณ์ชูสามนิ้วจากภาพยนตร์ในที่สาธารณะ
นอกจากนี้ ประเด็นที่เกี่ยวพันกับนักศึกษาโดยตรงอย่างเรื่องเสรีภาพทางวิชาการนั้น ก็ถูกปิดกั้นด้วยการสั่งยกเลิกงานเสวนาวิชาการจำนวนมาก ออกคำสั่งให้ส่งเอกสารขออนุญาตก่อนจัดการเสวนาที่ คสช. มองว่าเกี่ยวข้องกับความไม่สงบเรียบร้อย นักวิชาการไม่สามารถแสดงความคิดเห็นแม้ในวงเสวนาวิชาการ รวมถึงการให้เจ้าหน้าที่ทหารเข้าไปสอดแนมการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาและงานเสวนาวิชาการต่างๆทั่วประเทศ ทั้งนี้ยังไม่นับเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองของนักศึกษาที่ถูกคุกคามอย่างหนัก ดังเช่นกรณีการควบคุมตัวนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นกลุ่มดาวดินเพียงเพราะพวกเขา “ชูสามนิ้ว”มีการตามข่มขู่ย้อนหลัง หรือกรณีการปรับค่าเสียหายนิสิตกลุ่มประชาคมจุฬาฯเพื่อประชาชนซึ่งทำการแขวนป้ายรำลึก 8 ปีรัฐประหาร 19 กันยา โดยอ้างถึงพรบ. ความสะอาด
1. ขอให้คณะคสช. ยุติการใช้กฎอัยการศึก หยุดการคุกคามสิทธิเสรีภาพของประชาชนซึ่งเป็นหลักประกันขั้นพื้นฐานของสังคมประชาธิปไตย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคุกคามเสรีภาพทางวิชาการในสถานศึกษา ที่ซึ่งควรจะเป็นสถานที่ที่นำปัญญามาสู่สังคม
2. ขอให้สโมสรและองค์การนิสิตนักศึกษาต่าง ๆ ทั่วประเทศ ทำหน้าที่ปกป้องเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองของนิสิตนักศึกษา ในฐานะที่พื้นฐานขององค์กรนั้นมาจากการเลือกตั้งและหน้าที่หลักคือปกป้องสิทธิประโยชน์ของนิสิตนักศึกษาผู้เลือกตัวแทนเข้าไป
3. ขอให้สโมสรและองค์การนิสิตนักศึกษาต่าง ๆ ทั่วประเทศ ร่วมกันแสดงออกว่าไม่ยอมรับและไม่สนับสนุนอำนาจนอกระบอบประชาธิปไตยทั้งในมหาวิทยาลัยและในสังคม รวมถึงร่วมกันประณามคณะคสช. ซึ่งยึดอำนาจด้วยวิธีการอันมิชอบ เพราะว่าเหนือสิ่งอื่นใด องค์การนักศึกษาทั้งหลายที่ขึ้นสู่อำนาจโดยการเลือกตั้ง ควรจะเคารพหลักการอันเป็นที่มาของอำนาจของตน อย่างน้อยที่สุด องค์การนักศึกษาทั้งหลายต้องไม่เข้าไปมีส่วนร่วมใด ๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อมกับคณะคสช.
4. ขอให้คณะคสช. คืนอำนาจอธิปไตยสู่ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจที่แท้จริง เพื่อให้ได้รัฐบาลของประชาชนเข้ามาเป็นผู้บริหารประเทศอย่างถูกต้องตามหลักการสากล เพื่อป้องกันการถูกคว่ำบาตรจากต่างประเทศทั่วโลกที่มีกระแสหลักยอมรับการปกครองแบบประชาธิปไตย และที่สำคัญที่สุดคือเพื่อความเท่าเทียมกันของคนทุกเสียง อันเป็นหัวใจในการบริหารประเทศแบบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
ooo
ที่มา มติชนออนไลน์
วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เวลา 21:15:05 น.ถือได้ว่าเป็นนักวิชาการที่แสดงความคิดเห็นทางการเมืองอย่างเปิดเผยตลอดมา ตั้งแต่ช่วงที่มีความขัดแย้งทางการเมืองหลากฝ่าย หลายสี กระทั่งเกิดรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557
ยุกติ มุกดาวิจิตร ยังคงแสดงความเห็นผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจชื่อ "ชาติพันธุ์นิพนธ์" ซึ่งเดิมมีไว้สื่อสารกับนักศึกษาจำนวนมากในวิชาเรียนแต่นานวันเข้า เขาเริ่ม "มือไม้อยู่ไม่สุข" เขียนอะไรนอกเหนือการสอนมากขึ้นเรื่อยๆ จนมีคนนอกชั้นเรียนติดตามมากขึ้นทุกที กลายเป็นพื้นที่แสดงออกและชี้แจงเรื่องต่างๆ
แม้กระทั่งเมื่อเกิดการสื่อสารผิดพลาดจนมีข่าวว่าเขาขอ"ลี้ภัย" ทางการเมืองไปที่สหรัฐอเมริกา
ยุกติ ต้องออกมาอธิบายว่าเป็นแค่การ "หลบภัย" เมื่อประเทศไทยไร้เสรีภาพ โดยไปสอนที่ ม.วิสคอนซิน-เมดินสัน เป็นการชั่วคราว
ในวันนี้ เขายังพำนักอยู่ในประเทศที่ขึ้นชื่อว่ามีเสรีภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มองสถานการณ์ในประเทศบ้านเกิดอย่างใกล้ชิดผ่านเครื่องมือสื่อสาร เรื่องการชูสามนิ้ว โปรยใบปลิว หรือแม้แต่ปรากฏการณ์ "สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล" ทุกอย่างอยู่ในสายตาของนักมานุษยวิทยาท่านนี้
ยุกติ เป็นนักมานุษยวิทยา ที่เชี่ยวชาญด้านเวียดนามและไทศึกษา ไม่ใช่นักรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์
แต่ความสนใจในสถานการณ์ รวมถึงมุมมองเฉียบคม และความกล้าแสดงออกอย่างตรงไปตรงมา ทำให้เขาเป็นนักวิชาการที่น่าติดตาม
นี่คือบทสัมภาษณ์ผ่านระยะทางไกลกว่าหมื่นกิโลเมตร
-------------------------
คิดอย่างไรที่มีผู้กล่าวว่าขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในสังคมย้อนยุค?
เราอาจจะคิดว่าเป็นสังคมย้อนยุคก็ได้แต่หากคิดอีกแบบมันคือปฏิกิริยาต่อการก้าวไปข้างหน้าอีกก้าวหนึ่งด้วยต่างหากในแง่นี้การต่อต้านต่อการก้าวไปข้างหน้าของสังคมก็เป็นความล้าหลังอย่างก้าวหน้าอีกแบบหนึ่ง
ด้านหนึ่งนั้นเราเห็นสังคมไทยก้าวหน้าไปมากมีการแผ่รากของประชาธิปไตยที่เปลี่ยนจากประชาธิปไตยแบบรากแก้วซึ่งกระจุกตัวอยู่ในชนชั้นกลางระดับบนเมื่อ 80 ปีที่แล้ว แล้วจึงขยายตัวไปสู่ชนชั้นกลางในเมืองที่มีฐานมวลชนในสถาบันการศึกษา อย่างขบวนการนักศึกษาเมื่อทศวรรษ 2510 จนขณะนี้แผ่กระจายไปยังชนชั้นกลางใหม่ ซึ่งเป็นคนทั้งในเขตชนบทและเขตเมืองในทศวรรษ 2540 เป็นต้นมา
นี่คือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างก้าวหน้าในประเทศไทย ที่จริงผมอยากพูดว่า ประชาธิปไตยในสังคมไทยปัจจุบันก่อตัวขึ้นมาเองจากพื้นที่ที่กระจายตัวอยู่แล้วมากกว่าด้วยซ้ำไป
ร่วมลงชื่อรณรงค์ยกเลิกกฎอัยการศึก เป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์?
การแสดงออกแค่เพียงเชิงสัญลักษณ์ก็มีพลังในการเปลี่ยนแปลงไม่น้อยไปกว่าการใช้อำนาจดิบแบบทหารสังเกตได้ง่ายๆว่าหากการต่อต้านเชิงสัญลักษณ์ไม่มีพลังทำไมคณะรัฐประหารจึงเป็นเดือดเป็นร้อนกับการแสดงการต่อต้านเชิงสัญลักษณ์
สัญลักษณ์มีพลังเพราะมันคือการอัดแน่นของอรรถาธิบายยืดยาวที่หลายคนไม่สามารถกล่าวได้หรือในบางสถานการณ์เราไม่สามารถแสดงออกได้อย่างสลับซับซ้อนเช่นนั้นดอกบัวหมายถึงอะไรเสื้อคลุมสีเหลืองหมายถึงอะไรอักษรโอมหมายถึงอะไรอย่างน้อยคนที่อยู่ในระบบการสื่อสารสัญลักษณ์ในโลกปัจจุบันทั่วไปในสังคมไทยน่าจะเข้าใจในแง่นี้การลงชื่อสนับสนุนการยกเลิกกฎอัยการศึกจึงเป็นกิจกรรมทางสัญลักษณ์ที่ก่อพลังเปลี่ยนแปลงได้ไม่น้อยไปกว่ากัน
เช่นเดียวกับการแสดงออกทางสัญลักษณ์อื่นๆอย่างการชูสามนิ้วการไปคารวะลุงนวมทองการไปดูภาพยนตร์ผมคิดว่าการลงนามของผมก็คือสัญลักษณ์ที่สื่อถึงการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพที่มีพลังเพียงพอ
การแสดงออกของกลุ่มดาวดิน ในฐานะอาจารย์มหาวิทยาลัยมองอย่างไร?
ผมคิดว่าระบบการศึกษาอาจจะสร้างคนเหล่านี้ขึ้นมาโดยไม่ได้ตั้งใจมันน่าสนใจที่ว่าขณะที่ครูบาอาจารย์ของนักศึกษาเหล่านี้ส่วนใหญ่โดยเฉพาะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมีทิศทางของความคิดที่อนุรักษนิยมและส่วนใหญ่สนับสนุนการรัฐประหารครั้งนี้แต่ลูกศิษย์ของพวกเขาจำนวนหนึ่งกลับต่อต้านการรัฐประหารส่วนหนึ่งอาจมองได้ว่าถ้าอย่างนั้นการศึกษาก็ทำอะไรพวกเขาไม่ได้อย่างนั้นสิ ถ้าการศึกษาสามารถหล่อหลอมคนได้จริง ลูกศิษย์ก็น่าจะตามอาจารย์อย่างนั้นสิ
แต่ผมว่ามันมีอีกสองประเด็นที่ต้องพิจารณาคือ หนึ่ง การศึกษาเองเป็นเพียงส่วนหนึ่งของชีวิตคน นักศึกษามีด้านอื่นๆ ของชีวิตที่พวกเขารับรู้และคิดเห็น นั่นเป็นสิ่งที่การศึกษาเองก็ไม่สามารถสอนหรือควบคุมเขาได้ และสองคือ ตัวระบบการศึกษาสมัยนี้เองที่มันอยู่เหนือคนสอน คนสอนเองจึงต้องยอมทำตามหรือสอนในสิ่งที่ตนเองอาจไม่ได้เชื่อจริงจังนักก็ได้
ช่วยอธิบายตรงนี้หน่อย?
ข้อแรกคงอธิบายได้ง่ายๆ ว่า นักศึกษากลุ่มดาวดินเขาเห็นชีวิตมากกว่าแค่ในห้องเรียน การเรียนรู้นอกห้องเรียนของเขาจึงสอนเขาไกลกว่าครูบาอาจารย์ ในแง่นี้ ระบบการศึกษาคงมีน้ำยาเพียงแค่ส่วนเดียว
แต่ต่อประเด็นหลัง มีอะไรอภิปรายยาวหน่อย ผมคิดว่าอย่างกรณีนักศึกษากลุ่มดาวดินที่เรียนทางด้านกฎหมายกัน วิชากฎหมายสมัยใหม่สอนเรื่องการใช้หลักเหตุผล สอนเรื่องการใช้ข้อเท็จจริง และเหนือสิ่งอื่นใดคือสอนเรื่องความยุติธรรม หลักการและวิธีการหาความรู้ในแบบนี้เองที่ชักนำให้พวกเขาแสวงหาความรู้ด้วยตนเองนอกห้องเรียนได้
ตามหลักการแบบนี้พวกเขาก็สามารถครุ่นคิดทำความเข้าใจกับความยุติธรรมได้เองหลักการแบบนี้ทำให้พวกเขาเป็นตัวของตัวเองแม้ว่านักกฎหมายในปัจจุบันจำนวนมากจะไม่ได้ยึดหลักการแบบนี้จะยอมเอากฎหมายไปรับใช้ความอยุติธรรมแต่ผมเชื่อว่าลึกๆแล้วพวกเขาย่อมรู้อยู่แก่ใจว่ากำลังบิดเบือนความรู้ของตนเองอยู่
ปรากฏการณ์ที่ตามมา เช่น การโปรยใบปลิว ฯลฯ มันสะท้อนอะไร?
ผมเห็นว่าสะท้อน 3 ประเด็นใหญ่ๆ
หนึ่ง นักศึกษาสนใจการเมืองอยู่เสมอ ที่มักกล่าวกันว่านักศึกษาหายไปไหน มักต่อว่านักศึกษาว่าสนใจแต่เรื่องตัวเอง เรื่องจิ๊บจ๊อย อย่างเครื่องแบบ เพศภาวะนั้น นั่นจริงบางส่วน แต่อีกส่วนยังมีนักศึกษาที่สนใจเรื่องสิทธิชุมชน สิทธิชาวบ้าน ยิ่งกว่านั้นคือ ในความสนใจเรื่องเล็กๆ เหล่านั้น โดยพื้นฐานแล้วพวกเขาเข้าใจกันดีว่ามันผูกร้อยไว้ด้วยเรื่องใหญ่ๆ ที่เป็นพื้นฐาน คือสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของพวกเขา
สอง นักศึกษาที่สนใจบ้านเมืองขณะนี้กระจายตัวไปในจังหวัดต่างๆ นี่สะท้อนการขยายตัวของการศึกษาระดับอุดมศึกษา สังคมไทยควรภูมิใจที่การศึกษาไม่ได้กระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ อีกต่อไป และแถมยังทำให้ลูกหลานในจังหวัดต่างๆ ของสังคมเราขณะนี้มีสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม นี่มันยิ่งกว่าโครงการจิตอาสาประเภทกวาดถนนเก็บขยะรณรงค์ไม่สูบบุหรี่มากนัก เพราะพวกเขาสู้เพื่อการมีชีวิตอยู่ขั้นพื้นฐานของผู้คนในสังคม
สาม วิธีการต่อสู้ของพวกเขาที่เข้ากับยุคสมัยและสังคมของพวกเขา แถมยังเข้าถึงประชาชนในชีวิตประจำวัน พวกเขาใช้สื่ออินเตอร์เน็ต ที่ปัจจุบันนี้มีต้นทุนในการเข้าถึงที่ถูกลงเรื่อยๆ อาศัยสัญลักษณ์สมัยใหม่เพื่อการต่อสู้ ใช้ภาษาง่ายๆ ที่สื่อสารกับผู้คนทั่วไปได้ดี อาศัยพื้นที่ทางการเมืองใหม่ๆ อย่างโรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า ส่วนหนึ่งเพราะพื้นที่ทางการเมืองเดิมๆ อย่างมหาวิทยาลัยและอนุสาวรีย์ถูกปิดกั้นหมดแล้ว เหล่านี้ยิ่งกลับทำให้การเมืองของพวกเขาเข้าถึงคนสามัญ เข้าถึงชีวิตประจำวันได้มากขึ้น
"ไม่เอารัฐประหาร คือ จะเอาทักษิณและเป็นเสื้อแดง" ทำไมเรายังวนอยู่ในวาทกรรมนี้?
ผมมองว่านี่แสดงความล้มเหลวของการรัฐประหารครั้งนี้ คือ คณะรัฐประหารเสนอตัวว่าจะเข้ามาแก้ปัญหาความขัดแย้ง ลดความแตกแยก สร้างความปรองดอง แต่ผ่านมา 6 เดือนแล้ว ปัญหานี้ก็ยังคงอยู่ เมื่อฝ่ายหนึ่งออกมาแสดงความเห็น อีกฝ่ายหนึ่งก็ออกมาแสดงความเห็น สังคมก็ยังไม่ได้ก้าวข้ามไปไหน
ประเด็นคือ ความเห็นที่แตกต่างเหล่านี้เป็นเรื่องปกติในสังคมปัจจุบัน แต่คณะรัฐประหารคิดว่าจะสามารถจัดการได้ด้วยเพียงให้คนปิดปาก อยู่เงียบๆ เฉยๆ สักหนึ่งปีหรือนานกว่านั้นกี่ปีก็ไม่รู้ แต่คำถามคือ มีการปกครองแบบไหนที่ยอมให้การแสดงความเห็นที่แตกต่างเกิดขึ้นได้โดยไม่นำไปสู่การใช้ความรุนแรงบ้าง ชาวโลกทุกวันนี้ใช้หลักนิติรัฐที่วางอยู่บนหลักประชาธิปไตยคืออำนาจเป็นของปวงชนในการจัดการความขัดแย้งกันนั่นคือการรับรองสัญญาที่ประชาคมมีร่วมกันยอมรับกติกาทางการเมืองร่วมกันแข่งขันกันในกติกาหรือหากจะแก้กติกาก็ต้องแก้ในกติกา
แต่การเล่นนอกกติกาการฉีกกติกาแล้วจะเขียนกติกาแบบที่ไม่ยอมให้คนอื่นเข้าร่วมเขียนกติกา โดยใช้อำนาจ อย่างนี้จะเรียกร้องหาความปรองดองได้อย่างไร มีแต่ความหวาดกลัวชั่วคราวที่รอการปะทุเป็นการต่อต้านเท่านั้นเอง
แล้วปรากฏการณ์หลังการปรากฏตัวผ่านเฟสของ อ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล?
ปรากฏการณ์นี้แสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนไปของสังคมอย่างขนานใหญ่ ทั้งด้วยเงื่อนไขของการสื่อสาร และด้วยการเคลื่อนไปของอุดมการณ์ของสังคม แสดงให้เห็นว่าวัฒนธรรมประชาธิปไตยได้แผ่ขยายไปในสังคมอย่างกว้างขวาง
ขณะนี้อาจารย์สมศักดิ์กลายเป็นสัญลักษณ์ของอุดมการณ์ทางการเมืองประชาธิปไตยที่ท้าทายระบอบอำนาจนิยมที่วางอยู่บนฐานอ้างอิงของอำนาจนอกระบอบประชาธิปไตยเป็นสัญลักษณ์ของคนหนุ่มสาวคนหนุ่มสาวจำนวนมากนิยมชมชอบข้อเสนอของอาจารย์การที่ข้อเสนอของอาจารย์จับใจคนรุ่นใหม่นอกจากจะชี้ว่าคนรุ่นใหม่นิยมสังคมแบบไหนแล้วยังชี้ให้เห็นอนาคตของสังคมไทยด้วยว่าน่าจะกำลังเดินไปทางไหน
ผมจึงไม่ค่อยเห็นด้วยกับความคิดที่ว่าอุดมการณ์รัฐสามารถครอบงำประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพแม้ว่ารัฐจะพยายามปิดกั้นการเข้าถึงข่าวสารขนาดไหนก็ไม่สามารถปิดกั้นความอยากรู้อยากเห็นของประชาชนได้สังคมข่าวสารในปัจจุบันเปิดพื้นที่ให้ความรู้ความคิดไหลเวียนไปมาได้กว้างขวาง
ดูเหมือนว่าวันนี้ชื่อยุกติ มุกดาวิจิตร เป็นที่รู้จักในฐานะนักวิชาการที่แสดงความเห็นทางการเมือง มากกว่านักมานุษยวิทยาที่เชี่ยวชาญด้านเวียดนาและไทศึกษา?
ส่วนหนึ่งผมก็รู้สึกเสียดายความรู้ที่ร่ำเรียนมาจากการทำวิจัยในเวียดนามกลับไม่ค่อยมีคนให้ความสนใจเท่าความเห็นทางการเมืองแต่ผมก็มีกลุ่มนักวิชาการจำนวนหนึ่งที่สนใจเรื่องพวกนี้อยู่แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ในเมืองไทยงานผมได้รับการแปลไปพิมพ์ในหนังสือวิชาการของมหาวิทยาลัยและสถาบันทางวิชาการที่สำคัญๆของเวียดนาม
งานผมมีนักวิชาการเวียดนามนำไปอ้างอิงหรือในโลกภาษาอังกฤษเวลาเดินทางไปเสนอผลงานวิชาการที่ญี่ปุ่นไต้หวัน หรือสหรัฐอเมริกา ตลอด 7 ปีหลังจบการศึกษามา ผมก็ไปเสนอผลงานเรื่องไทศึกษาและเวียดนามศึกษามาตลอด ผมมีบทความตีพิมพ์ ยังไม่ได้ตีพิมพ์ และที่กำลังจะตีพิมพ์ในวารสารและหนังสือภาษาอังกฤษเฉลี่ยปีละ 1 ชิ้น เท่านี้ผมก็ถือว่ามากพอแล้ว
นักวิชาการไทยไม่สนใจ?
จะว่านักวิชาการไทยไม่สนใจเรื่องที่ผมรู้อีกด้านหนึ่งเสียทีเดียวก็ไม่ถูกนักนอกจากงานเขียนงานสอนการบรรยายการให้คำปรึกษางานวิจัยและการดูแลวิทยานิพนธ์ที่ผมใช้ความรู้ด้านทฤษฎีและวิธีวิจัยทางมานุษยวิทยามาตลอดผมยังดัดแปลงความรู้เรื่องไทศึกษาและเรื่องเวียดนามศึกษาไปใช้การการเรียนการสอน การอบรม การบรรยายสาธารณะ การแสดงความเห็นทางวิชาการต่อการวิจัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างสม่ำเสมอเช่นกัน
หลายปีให้หลังนี้ผมพยายามต่อยอดความรู้ไปยังเรื่องเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาแล้วพยายามนำความรู้เหล่านี้ไปเป็นฐานในการช่วยบริหารสถาบันทางวิชาการและหลักสูตรด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาทั้งที่ธรรมศาสตร์เองช่วงหนึ่งและในมหาวิทยาลัยต่างๆล่าสุดก่อนมาสอนหนังสือที่สหรัฐอเมริกานอกจากเป็นกรรมการบริหารสถาบันไทยคดีต่อเนื่องมาร่วม3ปีผมก็ได้อาศัยความรู้ที่ว่าไปสร้างศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาที่อยู่ใต้สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
งานเหล่านี้ทำให้ผมทำงานกับนักวิชาการจำนวนมากที่ไม่ได้มีทรรศนะทางการเมืองที่สอดคล้องกันกับผมเลยด้วยซ้ำ
ในแง่นี้ความไกลอาจไม่ใช่เงื่อนไขสำคัญ แต่สิ่งที่ทำให้มองสังคมไทยแตกต่างออกไปบ้างคือมุมมองมากกว่า ด้านหนึ่งคือมุมมองจากคนที่ศึกษาประเทศไทยในต่างประเทศ นักวิชาการทั้งไทยและต่างประเทศมีมุมมองใหม่ๆ ต่อประเทศไทยเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการรัฐประหารครั้งนี้ทำให้เกิดคำถามใหม่ๆ กับวงวิชาการมากมาย โดยเฉพาะประเด็นต่างๆ ที่ไม่สามารถนำเสนอในประเทศไทยได้ ยิ่งมีมุมมองให้ถกเถียงมากขึ้น
อีกมุมมองหนึ่งที่ได้คือมุมมองเปรียบเทียบ ส่วนใหญ่ไม่ได้มีการนำเสนอเปรียบเทียบประเทศไทยกับประเทศอื่นๆ โดยตรงหรอก แต่การที่มหาวิทยาลัยที่นี่มีการจัดสัมมนาและเสนอผลงานทางวิชาการเป็นจำนวนมาก เฉพาะเรื่องที่ผมติดตามได้และสนใจเป็นพิเศษนั้น สัปดาห์หนึ่งๆ ก็มีให้ผมเข้าฟังแทบไม่ทันแล้ว
กระแสในต่างประเทศและสื่อต่างชาติมองสถานการณ์บ้านเราอย่างไร?
นักวิชาการต่างชาติในสหรัฐอเมริกาออสเตรเลียและญี่ปุ่นเท่าที่ผมรู้จักส่วนใหญ่มีจิตวิญญาณประชาธิปไตยหากเป็นผู้ที่ศึกษาประเทศไทยส่วนใหญ่ก็จะยอมรับไม่ได้ว่าทำไมคนไทยจำนวนมากจึงสนับสนุนการรัฐประหารครั้งนี้สื่อต่างประเทศไม่ว่าจะใหญ่เล็กขนาดไหน ยังไม่เห็นฉบับใดเลยที่สรรเสริญการรัฐประหารในประเทศไทยครั้งนี้
แม้แต่การรายงานข่าวที่เขาพยายามให้มีพื้นที่ความเห็นทั้งสองด้านการพาดหัวข้อข่าวการสอดแทรกความเห็นในเนื้อหาข่าวก็จะมีน้ำเสียงอย่างเบาที่สุดก็เป็นห่วงเป็นใยสถานการณ์ในประเทศไทยอย่างแรงหน่อยก็เสนอประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและปัญหาการบริหารประเทศของรัฐบาลไทยปัจจุบันอย่างตรงไปตรงมา
หรือกระทั่งแสดงทรรศนะตำหนิองค์กรต่างๆที่ทำหน้าที่บกพร่องตั้งแต่ก่อนการรัฐประหารจนถึงวิจารณ์คณะรัฐประหารครั้งนี้
ตั้งแต่อาจารย์แสดงออกทางเมืองมาพักใหญ่ ทางครอบครัวว่าอย่างไรบ้าง?
ครอบครัวแบบสังคมไทย ซึ่งนับเป็นครอบครัวขยายทั้งสองด้าน มีทั้งคนเห็นทางเดียวกันและคนที่เห็นต่างกัน ใครที่เห็นด้วย ก็แน่นอนว่าเขาจะสนับสนุน แต่ใครที่เห็นต่างออกไป เขาก็ไม่ได้จะมาทัดทานอะไร
เพียงแต่เราก็ไม่คุยเรื่องการเมืองในครอบครัวกันเท่านั้นเอง
เคยรู้สึกท้อ หงุดหงิด สิ้นหวัง ถึงขนาดอยากจะเลือกที่จะไม่สนใจการเมืองเลยหรือไม่?
รู้สึกเบื่อและอยากจะเลิกเขียนเลิกคิดเกี่ยวกับการเมืองเสมอโดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่หลังรัฐประหารเป็นต้นมารู้สึกเสมอว่าหากเราปิดปากก็ไม่ต่างกับเปิดปากเพราะพูดไม่พูดก็ไม่ได้ก่อให้เกิดอะไรขึ้นมากับสังคมเพราะบ้านเมืองไม่ใช่ของเรา
คิดถึงอะไรที่เมืองไทยมากที่สุด 3 อันดับ?
หนึ่ง ครอบครัว ซึ่งรวมหมา-แมวในนั้นด้วย สอง เพื่อนกินและการแลกเปลี่ยนในห้องเรียน
และสาม สังคมไทยที่เคยมีสิทธิมีเสรีภาพมากกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
(วันที่29พฤศจิกายนพ.ศ.2557ปีที่37 ฉบับที่ 13411 มติชนรายวัน)