1 เมื่อไม่มีกองทัพย่อมไม่มีการรัฐประหารเกิดขึ้น เพราะจากประวัติศาสตร์การเมืองของไทยเราที่ผ่านมา การรัฐประหารหรือกบฏที่เกิดขึ้นล้วนแล้วแต่เกิดจากการใช้กำลังทหาร ไม่ว่าจะเป็นการนำโดยทหารบกหรือทหารเรือ ตลอดจนการสนับสนุนจากทหารอากาศในการเข้ายึดอำนาจจากพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณหรือการเข้าร่วมเป็นองค์คณะของผู้ทำการรัฐประหารในเวลาแถลงข่าว โดยใช้ชื่อแตกต่างกันไป เช่น คณะปฏิวัติ คณะปฏิรูป คณะรักษาความสงบเรียบร้อย ฯลฯ ซึ่งก็คือคณะรัฐประหารดีๆนี่เอง แต่ไม่มีใครยอมเรียกชื่อตัวเองว่าเป็นคณะรัฐประหารเลย
2 เมื่อไม่มีกองทัพก็ย่อมที่จะไม่มีการเกณฑ์ทหารเกิดขึ้น ช่องทางที่ใช้ทำมาหากิน ทุจริตคอร์รัปชันในการเกณฑ์ทหารก็หมดไป ที่สำคัญคดีหนีทหารของคนสำคัญๆ ที่คาราคาซังฟ้องร้องหมิ่นประมาทหรือปลอมแปลงเอกสารกันอยู่ย่อมหมดไปด้วย (ไม่ฮา) พ่อแม่ผู้ปกครองของเยาวชนที่ครบอายุเกณฑ์ทหารก็ไม่ต้องนอนผวาว่าลูกหลานตนเองจะถูกเกณฑ์ไปเป็นทหาร บางคนลูกตนเองเป็นนายทหารอยู่ดีๆ วิ่งเต้นย้ายโอนไปเป็นนายตำรวจเสียดื้อๆ อ้างว่าไม่อยากให้ลูกตนเองถูกส่งไปภาคใต้เสียอย่างนั้น มิหนำซ้ำยังให้เหตุผลในการโอนย้ายว่าลูกชายตนเองยิงปืนแม่นเสียอีกแน่ะ
3 เมื่อไม่มีกองทัพงบประมาณเป็นแสนๆ ล้านในแต่ละปีย่อมถูกนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศในด้านอื่น ประเทศไทยเราคงจะเจริญรุ่งเรืองยิ่งกว่านี้
4 เมื่อไม่มีกองทัพพี่น้องสามจังหวัดชายแดนภาคใต้คงอยู่เย็นเป็นสุขขึ้นมาบ้าง เพราะหนึ่งในสาเหตุที่ความไม่สงบเกิดขึ้นในภาคใต้ก็เนื่องเพราะการมีกำลังทหารจำนวนมากเข้าไปอยู่ในพื้นที่นั่นเอง มิหนำซ้ำบางส่วนยังไปจากพื้นที่อื่นซึ่งไม่ใช่กองกำลังในพื้นที่ ซึ่งมีแต่ไปเพิ่มปัญหามากกว่าไปแก้ปัญหาเพราะด้วยเหตุไม่รู้สภาพพื้นที่และขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่น
5 เมื่อไม่มีกองทัพทีทางต่างๆ นับเป็นแสนหรือล้านๆ ไร่ก็ย่อมจะถูกนำไปใช้ประโยชน์พัฒนาทางเศรษฐกิจได้คุ้มค่า ที่สำคัญยังมีประชาชนที่ยังไม่มีที่ทำมาหากินอีกมากมายต้องการ
6 เมื่อไม่มีกองทัพก็ย่อมไม่ผู้นำเหล่าทัพไปเที่ยวกราดเกรี้ยวชี้หน้าด่าสื่อมวลชนหรือประชาชนว่าถามอะไรหรือพูดอะไรที่ทำให้อารมณ์บูดอยู่เสมอๆ
7 เมื่อไม่มีกองทัพแล้วการที่ถูกนินทาว่าประเทศไทยมีจำนวนนายพลทหารประจำการต่อจำนวนประชากรมากที่สุดในโลกก็จะหมดไป
8 เมื่อไม่มีกองทัพเราก็ไม่ต้องกังวลว่าจะมีการใช้ทหารไปปราบม็อบอีก
9 เมื่อไม่มีกองทัพก็ย่อมลดความบาดหมางกับประเทศเพื่อนบ้าน เพราะการปะทะกันด้วยกำลังทหารตามชายแดนย่อมน้อยลงหรือหมดไป ที่ผ่านมาแม้ว่าศักยภาพของกองทัพไทยจะเหนือกว่ากองทัพเขมรหลายเท่าตัว เครื่องบินรบไทยสามารถใช้เวลาบินไม่กี่นาทีถึงเมืองหลวงของเขมร แต่ก็ไม่สามารถทำอะไรเขมรได้ เพราะติดด้วยระเบียบโลกที่ว่าด้วยกฎหมายระหว่างประเทศ มิหนำซ้ำกลับต้องเพลี่ยงพล้ำในเวทีการเมืองระหว่างประเทศที่ทำให้เขมรสามารถนำคดีกลับไปสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice หรือ ICJ) เพื่อตีความคำพิพากษารอบใหม่ได้อีกทั้งๆ คดีผ่านมาตั้งห้าสิบปีแล้ว ซึ่งก็ยังไม่รู้ว่าจะออกหัวหรือออกก้อย แต่ที่แน่ๆ ตอนนี้ได้เขตปลอดทหารมาแทนชั่วคราว ทำให้การมีกองทัพที่เหนือกว่าไม่มีความหมายอันใด
ที่เขียนมาทั้งหมดนี้ มิได้มุ่งหวังว่าจะทำให้เกิดการยุบเลิกกองทัพในประเทศไทยขึ้น เพราะเป็นไปได้ยากกว่าการยุบเลิกราชการส่วนภูมิภาค การแก้ไขมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา หรือแม้แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญหลายเท่าตัว แต่เพียงเพื่อจะชี้ให้เห็นว่า หากกองทัพมีขนาดที่เล็กลง ไม่มีการบังคับ ขู่เข็ญให้ลูกคนจนต้องไปถูกเกณฑ์เป็นทหาร และจำกัดบทบาทของทหารที่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองแล้ว ประเทศไทยเราจะไปได้ดีกว่านี้
กองทัพจะอยู่ได้หรือไม่ได้อยู่ที่การยอมรับของประชาชนที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่แท้จริงเท่านั้น แม้ว่ากองทัพจะมีอาวุธยุทโธปกรณ์อยู่ในมือที่พร้อมจะรัฐประหารก็ตาม แต่หากประชาชนไม่เอาด้วยกองทัพก็ยากที่จะดำรงอยู่ได้ ดังจะเห็นได้จากประวัติศาสตร์โลกที่รัฐบาลทหารในหลายประเทศถูกโค่นล้มลง ล่าสุดก็จากการขยายตัวของปรากฏการณ์ปฏิวัติดอกมะลิและตัวอย่างการลบล้างอำนาจของทหารโดยประธานาธิบดีพลเรือนของอียิปต์หรือล่าสุดการนำตัวทหารที่พยายามทำการรัฐประหารไปขึ้นศาลในตุรกีนั่นเอง
ส. ผาน้ำย้อย
เรื่องเกี่ยวเนื่อง...
10 ประเทศที่ไร้กองทัพ
ประเทศต่างๆในโลกนี้ต่างก็มีกองทัพมากบ้างน้อยบ้างตามอัธยาศัย ศักยภาพ นโยบายและความต้องการของผู้นำ อย่างจีนนั้นมีกองทัพใหญ่โตมโหฬารที่สุดในโลกเมื่อพูดถึงเรื่องกำลังพล โดยมีกำลังพลมากถึงราว 1,600,000 นาย ขณะที่บางประเทศ อย่างประเทศเล็กประเทศน้อย ก็มีกำลังพลกันไม่กี่พันนาย
แต่ในโลกนี้ก็ยังมีถึง 10 ประเทศที่ไม่มีทหารแม้แต่นายเดียว ในประเทศเหล่านี้ คำว่า " อาชีพรับราชการทหาร " ไม่มีอยู่ในสารระบบ ซึ่งเหตุผลของความแปลกแตกต่างจากประเทศเพื่อนฝูงส่วนใหญ่ ก็ต่างกันไปทั้งในเรื่องของความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศ และอื่นๆ
แต่ทุกประเทศในกลุ่มนี้ต่างก็มีแผนสำรองกันทั้งนั้น หากว่าเกิดเรื่องเกิดราวขึ้น
1. นครรัฐวาติกัน ประเทศที่เล็กที่สุดในโลก
บางคนอาจจะไม่ค่อยประหลาดใจนัก กับการที่วาติกันไม่มีกองทัพ เพราะวาติกันเป็นนครศาสนา แต่ว่าในอดีต ก็ใช่ว่าวาติกันจะไม่เคยมีกองทัพเอาเสียเลย สมัยก่อนก็เคยมีการจัดตั้งกองกำลังที่ทำหน้าที่ปกป้องวาติกันและพระสันตปาปาด้วย อย่าง Noble Guard และ Palatine Guard แต่โป๊ป Paul VI ได้สั่งเลิกไปในปี 1970 ปัจจุบัน ตัวอย่างที่ดีที่สุดที่น่าจะแสดงถึงการเคยมีกองกำลังทางทหารของวาติกัน ก็น่าจะเป็น Pontifical Swiss Guard ที่ทำหน้าที่ปกป้องโป๊ป และ Palace of the Vatican นอกจากนั้นก็ยังมี Gendarmerie Corps แต่รายหลังนี้ ถูกมองว่าเป็นกองกำลังพลเรือนมากกว่าที่จะเป็นทหาร โดยพวกเขาทำหน้าที่รักษาความเรียบร้อย ควบคุมการจราจร พรมแดน และสอบสวนกิจกรรมอาชญากรรม
ส่วนคำถามที่ว่า แล้วใครเป็นคนดูแลปกป้องวาติกันในยามสงคราม คำตอบก็คือเนื่องจากวาติกันอยู่ในกรุงโรม เมืองหลวงของอิตาลี อิตาลีจึงรับผิดชอบเรื่องนี้ไปเต็มๆ
2. นาอูรู ประเทศเกาะที่เล็กที่สุดในโลก
นอกจากความเล็ก เพราะมีพื้นที่แค่ 8.1 ตารางไมล์ เกาะนี้ยังมีความไม่เหมือนใครในหลายๆด้าน และหนึ่งในนั้นก็คือเรื่องการไม่มีกองทัพ และเพราะความเล็ก นอกจากจะไม่มีกองทัพแล้ว ก็ยังไม่มีเมืองหลวงอีกต่างหาก ผู้ทำหน้าที่ดูแลรักษาเสถียรภาพในประเทศก็คือตำรวจ นาอูรูตั้งอยู่ในกลุ่มของเกาะเล็กๆหลายพันเกาะที่เรียกกันว่า Micronesia และทำมาหากินโดยการขุดแร่ฟอสเฟตออกขาย
ผู้ที่ทำหน้าที่ปกป้องนาอูรู ในยามที่ถูกรุกรานก็คือออสเตรเลีย เพราะมีการตกลงอย่างไม่เป็นทางการระหว่าง 2 ประเทศในเรื่องนี้ และในปี 1940 เมื่อเยอรมนีโจมตีนาอูรูในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ออสเตรเลียก็เคยถูกเรียกให้มาช่วย
3. ลิกเตนสไตน์
ประเทศนี้ยุบกองทัพไปในปี 1868 ในช่วงหลังสงครามออสเตรีย - ปรัสเซีย เพราะเห็นว่าการมีกองทัพเป็นอะไรที่ทำให้ประเทศมีค่าใช้จ่ายมาก โดยหลังจากประเทศแยกออกมาจากสหพันธรัฐเยอรมัน ประเทศก็ต้องดูแลกองทัพด้วยตนเอง แต่ปรากฏว่าประเทศไม่มีงบประมาณมากพอ ก็เลยยุบกองทัพไป ปัจจุบันประเทศก็เลยมีแต่หน่วยงานตำรวจ ที่เรียกว่า Principality of Liechtenstein National Police ที่คอยดูแลความสงบเรียบร้อย
ในกรณีที่เกิดสงคราม ไม่มีการตกลงชัดเจนว่าใครจะมาช่วยประเทศนี้ป้องกันประเทศ ในกรณีสงคราม ระบุว่าประเทศอาจจัดตั้งกองทัพได้ แต่ก็น่าจะเป็นกองทัพเล็กๆ ที่ทำอะไรไม่ได้มาก ซึ่งก็เป็นไปได้ว่าสวิตเซอร์แลนด์อาจจะส่งทหารมาช่วย มีรายงานว่า 2 ประเทศนี้มีการเจรจากันในเรื่องดังกล่าวด้วย แต่ไม่มีใครออกมาปฏิเสธหรือยืนยัน
4.หมู่เกาะมาร์แชลล์
ภายใต้สนธิสัญญา Compact of Free Association ปี 1983 หมู่เกาะมาร์แชลล์ เป็นประเทศที่มีอธิปไตย หมายความว่า มันมีอิสระในการปกครองตนเอง แต่ภายใต้สนธิสัญญานี้ ก็ระบุให้มันมีสถานะเป็นรัฐแบบ associated states ของสหรัฐด้วย ซึ่งหมายความสหรัฐมีสถานะเป็นผู้อารักขา มันจึงไม่มีกองทัพ ในช่วงสงคราม ประเทศก็จึงไม่มีความรับผิดชอบในการปกป้องประเทศ งานด้านการป้องกันประเทศและความมั่นคงเหล่านี้จะเป็นของสหรัฐ
5.เกรนาดา
นับตั้งแต่ที่สหรัฐบุกเกรนาดาในปี 1983 ประเทศไม่สามารถจัดตั้งกองทัพได้อีก การบุกครั้งนั้นเริ่มขึ้นเพราะการก่อรัฐประหาร และการแย่งชิงอำนาจภายในรัฐบาลที่นำไปสู่การประหารชีวิตนายกรัฐมนตรีมัวริส บิชอฟ การบุกของสหรัฐครั้งนั้น ทำให้เกรนาดาที่มีแนวคิดแบบคอมมิวนิสต์ กลับมาเป็นประเทศประชาธิปไตย แต่มันก็ทำให้ประเทศไม่มีกองทัพไปด้วย ผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยก็คือ ตำรวจ และองค์กรที่เรียกว่า Regional Security System ที่เป็นกลุ่มการรวมตัวทางทหารของประเทศหมู่เกาะเล็กๆในภูมิภาค
กรณีที่เกิดสงคราม ไม่มีการกำหนดชัดเจนว่าใครจะมาช่วยเหลือเกรนาดา ประเทศ
ประเทศต่างๆในโลกนี้ต่างก็มีกองทัพมากบ้างน้อยบ้างตามอัธยาศัย ศักยภาพ นโยบายและความต้องการของผู้นำ อย่างจีนนั้นมีกองทัพใหญ่โตมโหฬารที่สุดในโลกเมื่อพูดถึงเรื่องกำลังพล โดยมีกำลังพลมากถึงราว 1,600,000 นาย ขณะที่บางประเทศ อย่างประเทศเล็กประเทศน้อย ก็มีกำลังพลกันไม่กี่พันนาย
แต่ในโลกนี้ก็ยังมีถึง 10 ประเทศที่ไม่มีทหารแม้แต่นายเดียว ในประเทศเหล่านี้ คำว่า " อาชีพรับราชการทหาร " ไม่มีอยู่ในสารระบบ ซึ่งเหตุผลของความแปลกแตกต่างจากประเทศเพื่อนฝูงส่วนใหญ่ ก็ต่างกันไปทั้งในเรื่องของความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศ และอื่นๆ
แต่ทุกประเทศในกลุ่มนี้ต่างก็มีแผนสำรองกันทั้งนั้น หากว่าเกิดเรื่องเกิดราวขึ้น
1. นครรัฐวาติกัน ประเทศที่เล็กที่สุดในโลก
บางคนอาจจะไม่ค่อยประหลาดใจนัก กับการที่วาติกันไม่มีกองทัพ เพราะวาติกันเป็นนครศาสนา แต่ว่าในอดีต ก็ใช่ว่าวาติกันจะไม่เคยมีกองทัพเอาเสียเลย สมัยก่อนก็เคยมีการจัดตั้งกองกำลังที่ทำหน้าที่ปกป้องวาติกันและพระสันตปาปาด้วย อย่าง Noble Guard และ Palatine Guard แต่โป๊ป Paul VI ได้สั่งเลิกไปในปี 1970 ปัจจุบัน ตัวอย่างที่ดีที่สุดที่น่าจะแสดงถึงการเคยมีกองกำลังทางทหารของวาติกัน ก็น่าจะเป็น Pontifical Swiss Guard ที่ทำหน้าที่ปกป้องโป๊ป และ Palace of the Vatican นอกจากนั้นก็ยังมี Gendarmerie Corps แต่รายหลังนี้ ถูกมองว่าเป็นกองกำลังพลเรือนมากกว่าที่จะเป็นทหาร โดยพวกเขาทำหน้าที่รักษาความเรียบร้อย ควบคุมการจราจร พรมแดน และสอบสวนกิจกรรมอาชญากรรม
ส่วนคำถามที่ว่า แล้วใครเป็นคนดูแลปกป้องวาติกันในยามสงคราม คำตอบก็คือเนื่องจากวาติกันอยู่ในกรุงโรม เมืองหลวงของอิตาลี อิตาลีจึงรับผิดชอบเรื่องนี้ไปเต็มๆ
2. นาอูรู ประเทศเกาะที่เล็กที่สุดในโลก
นอกจากความเล็ก เพราะมีพื้นที่แค่ 8.1 ตารางไมล์ เกาะนี้ยังมีความไม่เหมือนใครในหลายๆด้าน และหนึ่งในนั้นก็คือเรื่องการไม่มีกองทัพ และเพราะความเล็ก นอกจากจะไม่มีกองทัพแล้ว ก็ยังไม่มีเมืองหลวงอีกต่างหาก ผู้ทำหน้าที่ดูแลรักษาเสถียรภาพในประเทศก็คือตำรวจ นาอูรูตั้งอยู่ในกลุ่มของเกาะเล็กๆหลายพันเกาะที่เรียกกันว่า Micronesia และทำมาหากินโดยการขุดแร่ฟอสเฟตออกขาย
ผู้ที่ทำหน้าที่ปกป้องนาอูรู ในยามที่ถูกรุกรานก็คือออสเตรเลีย เพราะมีการตกลงอย่างไม่เป็นทางการระหว่าง 2 ประเทศในเรื่องนี้ และในปี 1940 เมื่อเยอรมนีโจมตีนาอูรูในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ออสเตรเลียก็เคยถูกเรียกให้มาช่วย
3. ลิกเตนสไตน์
ประเทศนี้ยุบกองทัพไปในปี 1868 ในช่วงหลังสงครามออสเตรีย - ปรัสเซีย เพราะเห็นว่าการมีกองทัพเป็นอะไรที่ทำให้ประเทศมีค่าใช้จ่ายมาก โดยหลังจากประเทศแยกออกมาจากสหพันธรัฐเยอรมัน ประเทศก็ต้องดูแลกองทัพด้วยตนเอง แต่ปรากฏว่าประเทศไม่มีงบประมาณมากพอ ก็เลยยุบกองทัพไป ปัจจุบันประเทศก็เลยมีแต่หน่วยงานตำรวจ ที่เรียกว่า Principality of Liechtenstein National Police ที่คอยดูแลความสงบเรียบร้อย
ในกรณีที่เกิดสงคราม ไม่มีการตกลงชัดเจนว่าใครจะมาช่วยประเทศนี้ป้องกันประเทศ ในกรณีสงคราม ระบุว่าประเทศอาจจัดตั้งกองทัพได้ แต่ก็น่าจะเป็นกองทัพเล็กๆ ที่ทำอะไรไม่ได้มาก ซึ่งก็เป็นไปได้ว่าสวิตเซอร์แลนด์อาจจะส่งทหารมาช่วย มีรายงานว่า 2 ประเทศนี้มีการเจรจากันในเรื่องดังกล่าวด้วย แต่ไม่มีใครออกมาปฏิเสธหรือยืนยัน
4.หมู่เกาะมาร์แชลล์
ภายใต้สนธิสัญญา Compact of Free Association ปี 1983 หมู่เกาะมาร์แชลล์ เป็นประเทศที่มีอธิปไตย หมายความว่า มันมีอิสระในการปกครองตนเอง แต่ภายใต้สนธิสัญญานี้ ก็ระบุให้มันมีสถานะเป็นรัฐแบบ associated states ของสหรัฐด้วย ซึ่งหมายความสหรัฐมีสถานะเป็นผู้อารักขา มันจึงไม่มีกองทัพ ในช่วงสงคราม ประเทศก็จึงไม่มีความรับผิดชอบในการปกป้องประเทศ งานด้านการป้องกันประเทศและความมั่นคงเหล่านี้จะเป็นของสหรัฐ
5.เกรนาดา
นับตั้งแต่ที่สหรัฐบุกเกรนาดาในปี 1983 ประเทศไม่สามารถจัดตั้งกองทัพได้อีก การบุกครั้งนั้นเริ่มขึ้นเพราะการก่อรัฐประหาร และการแย่งชิงอำนาจภายในรัฐบาลที่นำไปสู่การประหารชีวิตนายกรัฐมนตรีมัวริส บิชอฟ การบุกของสหรัฐครั้งนั้น ทำให้เกรนาดาที่มีแนวคิดแบบคอมมิวนิสต์ กลับมาเป็นประเทศประชาธิปไตย แต่มันก็ทำให้ประเทศไม่มีกองทัพไปด้วย ผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยก็คือ ตำรวจ และองค์กรที่เรียกว่า Regional Security System ที่เป็นกลุ่มการรวมตัวทางทหารของประเทศหมู่เกาะเล็กๆในภูมิภาค
กรณีที่เกิดสงคราม ไม่มีการกำหนดชัดเจนว่าใครจะมาช่วยเหลือเกรนาดา ประเทศ
อาจจะขอความช่วยเหลือจาก Regional Security System ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของ Antigua and Barbuda, Barbados, Dominica, Saint Kitts and Nevis, Saint Lucia, และ Saint Vincent and the Grenadines ได้ แต่ประเทศเหล่านี้ ก็ไม่ได้มีกองทัพใหญ่โตอะไร ก็จึงเลี่ยงไม่ได้ที่สหรัฐอาจจะต้องเข้ามาช่วย
6. อันดอร์ร่า
แม้จะไม่มีกองทัพอย่างเป็นจริงเป็นจริง แต่ประเทศเล็กๆแห่งนี้ ก็เคยใจกล้ามากพอที่จะประกาศสงครามกับเยอรมนีในปี 1914 มาแล้ว รวมทั้งเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1 แต่การที่ประเทศมีทหารแค่ 10 นาย ก็เลยไม่ได้สร้างผลงานอะไรมากนักในสงคราม และก็ไม่มีใครใส่ใจอะไรมากนักกับพวกเขา ประเทศไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมในการเจรจาสนธิสัญญาแวร์ซายส์เสียด้วยซ้ำ ในปี 1931 กลุ่มคนที่ถูกเรียกว่าเป็นกองทัพของประเทศก็ถูกเปลี่ยนสถานะมาเป็นตำรวจ ปัจจุบัน ประเทศมีตำรวจราว 240 นาย ตำรวจที่นี่มีหน้าที่ดูแลความสงบ พวกเขาได้รับการฝึกให้ช่วยเหลือตัวประกันด้วย การเป็นตำรวจ เป็นหน้าที่ของผู้ชายทุกคน หากว่าพวกเขามีอาวุธปืน
ในกรณีสงคราม อันดอร์ร่า ที่มีอาณาเขต 181 ตารางไมล์ มีผู้ที่จะมาทำหน้าที่ช่วยปกป้องถึง 3 ราย ฝรั่งเศสและสเปน เสนอเข้าช่วยเพราะประเทศนี้อยู่ระหว่างพรมแดนของทั้งสองประเทศ และในปี 1933 ฝรั่งเศสก็เคยส่งทหารไปปราบปรามการจลาจลในประเทศนี้มาแล้ว นอกจากนั้น นาโต้ ก็จะเข้าร่วมในการปกป้องอันดอร์ร่าด้วย หากจำเป็น
7. เบลาอู ( Palau )
แม้จะไม่มีกองทัพ เบลาอูก็มีส่วนของตำรวจที่ตั้งขึ้นเพื่อให้การปกป้องที่จำเป็นต่อพลเรือน แต่หากมีสงคราม เบลูอา ก็จะต้องขอความช่วยเหลือจากภายนอกสำหรับการป้องกันประเทศ เกาะแห่งนี้ มีสถานะเป็นรัฐ associated state ของสหรัฐเช่นเดียวกับ หมู่เกาะมาร์แชลล์ สหรัฐจึงมีพันธกรณีที่จะต้องช่วยปกป้องเกาะแห่งนี้จากการโจมตีของประเทศอื่น
8. ซามัว
ทุกวันนี้ ซามัวไม่มีกองทหารที่สามารถใช้การได้ หากมีความจำเป็น ประเทศจึงต้องอาศัยความช่วยเหลือจากภายนอกให้มาช่วยเหลือปกป้องประเทศในยามสงคราม ประเทศมีตำรวจ ซึ่งก็ไม่ใช่กองกำลังเพื่อการสู้รบ
ซามัวมีสนธิสัญญามิตรภาพกับนิวซีแลนด์มาตั้งแต่ปี 1962 หากมีสงคราม ซามัวสามารถขอความช่วยเหลือจากนิวซีแลนด์ได้ แต่ในสนธิสัญญาก็ระบุว่า แต่ละประเทศ สามารถถอนตัวออกจากสนธิสัญญาเมื่อใดก็ได้ หากต้องการ
9. คอสตาริก้า
คอสตาริก้า เป็นประเทศใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศที่ไม่มีกองทัพ แต่เดิม ประเทศก็มีกองทัพเหมือนประเทศอื่น แต่ในวันที่ 1 ธันวาคม 1948 ประธานาธิบดีโฮเซ ฟิเกเรส เฟร์เรร์ ลงนามในกฏหมายยุบกองทัพ หลังประเทศเจอกับปัญหาสงครามกลางเมืองที่ทำให้มีคนตายไปเกือบ 2 พันราย ปัจจุบันประเทศมีหน่วยงานชื่อ ฟูเอร์ซ่า ปุบลิก้า ที่ทำหน้าที่ด้านการรักษากฏหมาย ด้านความมั่นคงทางบก การลาดตระเวณตามพรมแดน และอื่นๆที่เป็นหน้าที่ของตำรวจ
ในกรณีสงคราม สนธิสัญญา Inter-American Treaty of Reciprocal Assistance ระหว่าง 21 ประเทศในทวีปอเมริกาด้วยกันที่ทำไว้ในปี 1947 คอสตาริก้าสามารถร้องขอความช่วยเหลือจากชาติสมาชิก ซึ่งก็รวมถึง สหรัฐ คิวบา และชิลีได้ในบางระดับ
10. หมู่เกาะโซโลมอน
หมู่เกาะแห่งนี้ไม่ได้ประกอบด้วยเกาะแค่ไม่กี่เกาะ หากแต่มีเกาะเป็นพัน แต่นับตั้งแต่ที่อังกฤษเข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้อารักขาหมู่เกาะตั้งแต่ปี 1893 พวกเขาก็มีทหารไม่มากนัก ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อังกฤษจัดตั้งกองกำลัง British Solomon Islands Protectorate Defense Force เข้ามาดูแลหมู่เกาะ แต่นับตั้งแต่ได้รับเอกราชในปี 1978 ประเทศก็ไม่มีกองทัพ ประเทศสามารถจัดตั้งรัฐบาลที่มีเสถียรภาพมาจนถึงประมาณปี 1998 แต่นับตั้งแต่ปี 1998 - 2006 ประเทศเจอปัญหากับเรื่องพฤติกรรมมิชอบภายในรัฐบาล อาชญากรรม และกรณีพิพาททางด้านเชื้อชาติ และเพื่อเป็นการแก้ปัญหา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์จึงเข้าไปฟื้นฟูสันติภาพ และปลดอาวุธกองกำลังตำรวจติดอาวุธ
ในกรณีที่เกิดสงคราม ไม่มีการกำหนดชัดเจนว่าใครจะมาช่วยหมู่เกาะแห่งนี้ แต่หมู่เกาะโซโลมอน ได้ซื้ออาวุธบางส่วนจากออสเตรเลีย ดังนั้น หากเกิดสงคราม ก็เป็นไปได้ที่ออสเตรเลียอาจจะเป็นประเทศแรกๆที่รุดมาช่วยเหลือ
ส. ผาน้ำย้อย