วันศุกร์, ธันวาคม 05, 2557

น่ารู้เรื่อง ‘ทุนประกันสังคม’ ผู้สูงอายุจ่าย ๑๐๐ รัฐให้ ๑๐๐


ประชานิยมจากกองทุนประกันสังคม

ถามว่า ประกันสังคม ให้คนอายุ 60 ไม่ทำงาน ไปจ่ายเงิน 100 รัฐให้ 100 คือการฉกเอาเงินกองทุนประกันสังคมจากมนุษย์เงินเดือนไปทำ ประชานิยมหรือเปล่า?

ผู้ที่มีอายุ 60 หรือมีญาติที่อายุ 60 ขึ้นอ่านด่วน มีเวลาแค่วันที่ 8 .. เท่านั้น

สำนักงานประกันสังคมเปิดรับผู้สูงวัยออมเงินเดือนละ100.- รัฐบาลจะเพิ่มให้อีก 100.- ส่งย้อนหลังได้ 30เดือน รัฐเพิ่มให้อีก 3,000.- เงินออมนี้สามารถยกให้ลูกหลานได้เมื่อตาย และได้ค่าทำศพอีก 20,000.- เจ็บป่วยนอน รพ.ให้วันละ 200.-

รีบไปทำที่สำนักงานประกันสังคมทุกแห่ง เอาบัตรประชาชนไปด้วย บอกว่ามาทำตามประกาศ มาตรา 40. รีบทำก่อน 8 ธ.ค.57

ทุกคนที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ สามารถสมัครออมเงินตามมาตรา 40 ได้ ไม่ว่าจะเคยมีอาชีพใดหรือไม่เคยมีอาชีพใดมาก่อน ซึ่งถือเป็นการออมเงินวิธีหนึ่ง แล้วรัฐออกให้อีกส่วนหนึ่ง

แต่อย่าเพิ่งดีใจนะครับ รัฐไม่ได้สบทบให้เป็นร้อยละหรือตามที่เราต้องการออมหรอก เพราะหากต้องการออมเดือนละหมื่นสองหมื่น แล้วรัฐออกให้ส่วนหนึ่ง รัฐเจ็งแน่นอน

สำนักงานประกันสังคมได้กำหนดเพดานในการออมไว้ว่า คนหนึ่งออมได้จำนวนเท่าไร และรัฐจ่ายให้อีกจำนวนเท่าไร โดยได้แยกประเภทของผู้สูงอายุออกเป็น 2 ประเภท

ประเภทแรก คือผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปี แต่ไม่ถึง 65 ปี และประเภทที่สองคือผู้มีอายุตั้งแต่ 65 ปี ขึ้นไป

ประเภทแรกมีทางเลือกในการออมถึง 5 วิธี แต่แนะนำให้เลือกวิธีที่ 5 ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุด คือออม 200 บาทแล้วรัฐจ่ายให้ 150 บาท


ส่วนประเภทที่สองนั้นเลือกได้เฉพาะทางเลือกที่สาม ออมเดือนละ 100 บาท รัฐสบทบให้ 100 บาท แล้วสามารถออมย้อนหลังไปได้ถึงเดือนพฤศจิกายน 2555

ที่สำคัญที่สุดก็คือ เงินที่ออมไว้แล้วนี้ อยากจะลาออกเมื่อไรก็ได้นะครับ ได้เงินที่ออมทั้งหมดไว้คืนมา พร้อมรับเงินที่รัฐออกสบทบให้ด้วย คุ้มเสียยิ่งกว่าคุ้ม โดยเฉพาะผู้สูงวัยประเภทที่สอง ได้เงินเพิ่มขึ้นมาร้อยละร้อยเลยนะครับ

แต่ท่านไม่ต้องสนใจเรื่องประเภทไหนหรอกครับ เพราะเจ้าหน้าที่สำนักประกันสังคมเขาจะแนะนำทางเลือกที่ดีที่สุดให้แก่ท่านเอง

ที่สำคัญเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมที่ผู้เขียนได้สัมผัสนั้น แต่ละท่านต้อนรับขับสู้ด้วยหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส น่าคุยด้วย ผู้เขียนไปจัดการออมเรียบร้อยแล้วที่สำนักประกันสังคม เขต 2 ประชาชื่น จ่ายเงินย้อนหลังและล่วงหน้าเท่าที่ที่จ่ายได้ไปเรียบร้อยแล้ว 4,000 บาท

หากท่านใดประสงค์จะออมเงินตามมาตรา 40 ก็รีบไปดำเนินการด้วย ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 8 ธันวาคม 2557 เท่านั้น

ดีใจแทนท่านเลขาธิการประกันสังคมด้วยนะครับ ที่มีเจ้าหน้าที่ประกันสังคมซึ่งให้บริการประชาชนด้วยใจ

เอกสารประกอบการสมัคร

แบบการขึ้นทะเบียนการเป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 (สปส.1-40)
บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้พร้อมสำเนา
สถานที่ในการขึ้นทะเบียน
สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา
หน่วยบริการเคลื่อนที่ของสำนักงานประกันสังคม


โปรแกรมการคำนวณเงินบำนาญชราภาพเบื้องต้น

เพื่อผู้ประกันตนสามารถคำนวณเงินบำนาญชราภาพในเบื้องต้น โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้

1. ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 180 เดือน หรือ 15 ปี มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือนในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นมาตราฐานในการคำนวณเงินสมทบก่อนความเป็นผู้ประกันตน สิ้นสุดลง

2. กรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน ให้ปรับเพิ่มอัตราบำนาญชราภาพตามข้อ 1 ขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก 12 เดือน สำหรับระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน

3. ค่าจ้างที่ใช้คำนวณเงินสมทบไม่น้อยกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท

4. สำนักงานประกันสังคมเริ่มจัดเก็บเงินสมทบกรณีชราภาพ วันที่ 31 ธันวาคม 2541

สูตรคำนวณ:
          เงินบำนาญรายเดือน   = {[20+(1.5*(t-15))]*w}/100
          w                       =  ค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
          t                        =  ระยะเวลาที่ส่งเงินสมทบกรณีชราภาพ
 
ตัวอย่างตารางคำนวณเงินบำนาญรายเดือน

       สำหรับผู้ประกันตนที่มีค่าจ้างมากกว่าหรือเท่า 15,000 บาท ค่าจ้างที่ใช้คำนวณเงินสมทบสูงสุดไม่เกือบเดือนละ 15,000 บาท ดังนั้นค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายคือ15,000 บาท

       หากท่านส่งเงินสมทบเป็นระยะเวลา 15 ปี ท่านมีสิทธิรับบำนาญรายเดือนเดือนละ 3,000 บาท แต่หากท่านส่งเงินสมทบต่ออีก 10 ปี บำนาญรายเดือนของท่านจะเพิ่มเป็น 5,250 บาท

ระยะเวลาที่ส่ง
เงินสมทบ(ปี)
บำนาญที่ได้รับ
ร้อยละของค้าจ้างเดือนสุดท้าย (%) จำนวนเงิน (บาท/เดือน)
15 20.0 3,000
20 27.5 4,125
25 35.0 5,250
30 42.5 6,375
35 50.0 7,500

 หมายเหตุ:    เจตนารมณ์ที่พระราชบัญญัติประกันสังคมกำหนดให้สำนักงานประกันสังคมจ่ายประโยชน์ทดแทน กรณีชราภาพเป็นบำนาญรายเดือนให้แก่ผู้ประกันตนไปตลอดชีวิต เพื่อให้ผู้ประกันตนมีเงินพอเลี้ยงชีพทุกเดือนไปจนตลอดชีวิต ทั้งนี้ หากสำนักงานประกันสังคมจ่ายเป็นเงินก้อนครั้งเดียวหรือที่เรียกว่าบำเหน็จ ให้แก่ผู้ประกันตนแล้วผู้ประกันตนทยอยใช้เงินดังกล่าวทุกเดือนในอัตราเดียวกับการรับเงินบำนาญ เงินบำเหน็จดังกล่าวจะใช้ได้ประมาณ ๕ ปีเท่านั้น


คำนวณเงินบำนาญชราภาพ
ค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายของท่าน   บาท
ระยะเวลาที่ส่งเงินสมทบกรณีชราภาพ   ปี
เงินบำนาญรายเดือนของท่านโดยประมาณ   บาท



หมายเหตุไทยอีนิวส์: ขอขอบคุณ tantawer contora <tantawer@windowslive.com> ที่กรุณาให้คำแนะนำมา