ที่มา BBC Thai
สหประชาชาติตำหนิรัฐบาลที่จับกุมประชาชนจากการชูสัญลักษณ์สามนิ้ว ด้านนายกรัฐมนตรีขอร้องสื่ออย่าใช้เสรีภาพเกินขอบเขต ย้ำยังต้องใช้กฏหมายพิเศษเพื่อลดความขัดแย้ง
ในขณะที่การชูสามนิ้วกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของการเห็นไม่ตรงกับการปกครองในไทย วันนี้สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานว่า สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ OHCHR ตำหนิทางการไทยในเรื่องนี้ มาทิลดา บอกเนอร์ ผู้แทน OHCHR บอกกับเอเอฟพีว่าสิ่งที่เกิดขึ้น ชี้ให้เห็นรูปแบบการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่น่าเป็นห่วง เป็นการกดขี่เสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างอิสระ
เสรีภาพในการแสดงความเห็นและวิพากษ์วิจารณ์เป็นประเด็นที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการคืนความสุขให้คนในชาติในวันนี้ โดยขอร้องให้เจ้าของ บรรณาธิการ สำนักพิมพ์ สื่อมวลชน พิธีกรรายการ เข้าใจสถานการณ์บ้านเมือง โดยคำนึงว่าหากจะใช้เสรีภาพของสื่ออย่างไม่มีขอบเขตอาจจะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี
นายกรัฐมนตรีบอกว่าไม่เคยมีปัญหากับสื่อ แต่การตำหนิรัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นั้นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง สื่อควรเสนอสิ่งที่เป็นความต้องการของประชาชน และปรับตัวเสนอข้อเท็จจริงในเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งตนยินดีรับฟัง
พล.อ.ประยุทธ์ ย้ำด้วยว่าสถานการณ์ในประเทศยังไม่ปกติ ความขัดแย้งยังมีอยู่แม้จะไม่รุนแรง หรือแม้บ้านเมืองจะสงบเรียบร้อย แต่ก็ยังจำเป็นต้องบังคับใช้กฎหมายทั้งปกติและกฎหมายพิเศษเพื่อรักษาบรรยากาศในการพัฒนาและลดความขัดแย้ง พร้อมยืนยันว่ารัฐบาลนี้เข้ามาเพื่อแก้ไขปัญหาและพร้อมรับฟังทุกเรื่อง
ooo
ที่มา BBC Thai
ผู้สังเกตการณ์การเมืองไทยชี้ว่าทหารจะฝังรากในการเมืองไทยไปอีกนาน และการคืนความสุขผ่านปากกระบอกปืน ทำให้สังคมเกิดความหวาดระแวงยิ่งขึ้น ด้านรองโฆษกรัฐบาลชี้ว่าจำเป็นต้องคงกฎอัยการศึกไว้เพราะทำให้คนในประเทศรู้สึกปลอดภัย
วันพรุ่งนี้ (22 พ.ย.) ครบรอบ 6 เดือนนับตั้งแต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยึดอำนาจ ขณะนี้การบริหารปกครองประเทศอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาล ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ขณะเดียวกันยังคงรั้งตำแหน่งหัวหน้าคณะคสช. ด้วย ห้วงเวลานี้จึงมีการวิเคราะห์สถานการณ์ในเมืองไทยจากผู้สังเกตการณ์อยู่หลายเวที
ล่าสุดที่ SOAS มหาวิทยาลัยลอนดอน มีการสัมมนาเรื่อง "The Land of Smiles Under Martial Law : Thailand Six Months On" หรือ "สยามเมืองยิ้มภายใต้กฎอัยการศึก: ประเทศไทยหลัง 6 เดือน" โดยนักวิชาการจาก SOAS
ประเด็นหนึ่งที่นักวิชาการจากเวทีนี้เห็นตรงกันคือ การคงอยู่ของกองทัพในการเมืองไทย ดร. ไมเคิล บูห์เลอร์ ผู้เชี่ยวชาญการเมืองเปรียบเทียบในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ชี้ว่าการยึดอำนาจในอดีต ทหารเข้ามาคลี่คลายสถานการณ์และเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง แต่ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา นอกจากทหารจะคุมกระทรวงทบวงกรมหลายตำแหน่งแล้วยังเข้าไปนั่งทำหน้าที่ในองค์กรที่ตั้งขึ้นมาเพื่อผลักดันให้เกิดการปฏิรูป และมีความพยายามเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย สะท้อนให้เห็นความพยายามในการกำจัดนักการเมืองของกลุ่มอำนาจเดิมที่พัวพันกับอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร และส่งสัญญาณว่าทหารจะฝังรากในการเมืองไทยไปอีกนาน
ดร. เอนเซ ฮาน ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์จีนกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มองความสัมพันธ์สามเส้าระหว่างสหรัฐฯ จีน และไทย ว่า ชี้ว่าการที่จีนกับสหรัฐฯ ยังคงพยายามแข่งขันเพื่อชิงความได้เปรียบในภูมิภาคนี้ สหรัฐจึงมีท่าทีอ่อนกับไทย เพราะเกรงว่าหากยิ่งแข็งกร้าว ก็เท่ากับผลักไทยให้ออกห่าง และไปสร้างสัมพันธ์แนบแน่นกับจีนแทน ดังนั้นสหรัฐฯ จึงไม่ใช่ผู้ที่จะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตยโดยเร็วด้วยวิธีการที่แข็งกร้าว
นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ อาจารย์แลกเปลี่ยนที่ SOAS เชื่อว่า คสช. จะเปลี่ยนรูปแบบไปจากบทบาทที่เป็นอยู่ในขณะนี้ โดยอาจผันไปเป็นคณะที่ปรึกษาด้านนโยบาย เขาเห็นว่ารัฐบาลจำเป็นต้องเปิดเวทีให้ทุกภาคส่วนได้พูดคุยกันอย่างมีเหตุผลและอย่างสันติวิธี ไม่ใช่เปิดเวทีเฉพาะที่รัฐคุมได้ เพราะการควบคุมของรัฐจะเป็นระเบิดเวลา หากสถานการณ์ยังคงเป็นไปอย่างปัจจุบันเชื่อว่าปีหน้ารัฐบาลจะเจอการต่อต้านมากขึ้น โดยเฉพาะจากฝ่ายที่เคยชื่นชมรัฐบาลชุดก่อนและฝ่ายเคยชื่นชอบพล.อ.ประยุทธ์เอง
พลตรีสรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกรัฐบาลไทยด้านการเมืองและความมั่นคงบอกบีบีซีไทยว่า รัฐบาลไม่เห็นว่ามีการต่อต้านเพิ่มขึ้น อาจมีเพียงกลุ่มนักศึกษาที่ยังไม่เข้าใจสถานการณ์อย่างถ่องแท้ รัฐบาลเองไม่เห็นว่าการคิดต่างเป็นเรื่องแปลก และเน้นว่ารัฐบาลไม่ได้ห้ามการคิดต่าง แต่ไม่ควรทะเลาะกัน ในส่วนรัฐบาลจะต้องหาทางสร้างความปรองดอง ส่วนเรื่องคลื่นใต้น้ำนั้น รองโฆษกรัฐบาลยอมรับว่ากฎอัยการศึกส่งผลให้เกิดการเคลื่อนไหวแบบคลื่นใต้น้ำ แต่รัฐบาลยังต้องคงกฎอัยการศึกไว้ต่อไป เพราะทำให้คนในประเทศรู้สึกปลอดภัย
...
งานสัมมนา Thailand's Tragedy: Exploring the Military Junta and its National and Regional Implications
บีบีซีไทย - BBC Thai
ผู้เชี่ยวชาญเรื่องไทยชี้ความเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลไม่ได้มาจากกลุ่มแบ่งแยกสี แต่เป็นความไม่พอใจท่าทีกองทัพ ด้านไครซิส กรุ๊ป ระบุโอกาสเกิดความปรองดองเป็นไปได้ยาก ส่วนรองโฆษกรัฐบาลย้ำกำลังเดินหน้าสร้างความปรองดองในชาติและคนส่วนใหญ่พอใจ
วันสองวันมานี้ดูเหมือนจะมีหลายฝ่ายออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลผ่อนคลายการควบคุมเสรีภาพและการเคลื่อนไหวของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการร่วมลงชื่อของนักวิชาการให้ยกเลิกกฎอัยการศึก หรือการชูสัญลักษณ์สามนิ้วของนักศึกษาเพื่อแสดงความเห็นคัดค้านรัฐบาลอย่างชัดแจ้ง
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในไทยตั้งแต่เกิดรัฐประหารอยู่ในความสนใจของนักวิชาการต่างชาติ ในเวทีอภิปรายหัวข้อ Thailand's Tragedy: Exploring the Military Junta and its National and Regional Implications ที่อาคารรัฐสภาอังกฤษเมื่อวานนี้ (19 พ.ย.) ศ. ดันแคน แมคคาโก ผู้เชี่ยวชาญการเมืองไทย จากมหาวิทยาลัยลีดส์ วิเคราะห์ว่า การที่รัฐบาลทหารแทรกแซงและปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของสื่อและประชาชนทั่วไป ทำให้หลายฝ่าย รวมถึงผู้ที่เคยเห็นด้วยกับการปฏิรูปการเมือง พร้อมใจกันออกมาแสดงความไม่พอใจเพิ่มมากขึ้น
ซึ่งคนเหล่านี้ไม่ได้เป็นมาจากฝั่งเสื้อแดง หรือฝั่งที่ชื่นชอบ"ทักษิณ" แต่กลับเป็นคนทั่วไปที่ไม่พอใจกับท่าทีของทหาร เขาเชื่อว่าสิ่งนี้จะเป็นแรงกดดันให้ทหารต้องปรับเปลี่ยนท่าทีในที่สุด และหากภาคประชาชนร่วมมือร่วมใจกันเขาเชื่อว่าการเมืองไทยคงคืบหน้าไปในทางที่ดีได้
อย่างไรก็ตาม นายโจนาธาน เพร็นทิซ หัวหน้าฝ่ายนโยบายของ Crisis Group เห็นว่าโอกาสที่จะเกิดการปรองดองในประเทศไทยคงเป็นไปได้ลำบาก เพราะสังคมไทยมีความแตกแยกสูง และทหารก็พยายามเต็มที่ที่จะรักษาอำนาจทางการเมืองเอาไว้ และไม่ต้องการให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเหมือนการรัฐประหารปี 2549 ซึ่งทหารมองว่าเป็นบทเรียนแห่งความผิดพลาด แต่สิ่งที่รัฐบาลทหารต้องเผชิญคือสภาพเศรษฐกิจเฉื่อยชา นายเพร็นทิซมองว่า หนทางหนึ่งที่จะนำไปสู่ความปรองดองคือการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำของรายได้ หาทางกระจายการกระจุกตัวของเศรษฐกิจออกจากเมืองหลวงให้ได้
พลตรีสรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ด้านการเมืองและความมั่นคง บอกบีบีซีไทยว่าภารกิจสำคัญของรัฐบาลคือการสร้างความปรองดอง เปิดโอกาสให้ฝ่ายต่าง ๆ ที่มีความขัดแย้งกันเข้ามาสู่กระบวนการปฏิรูปให้กลไกต่าง ๆ ที่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จัดตั้งขึ้นตามโรดแมป เช่น สภาปฏิรูปแห่งชาติ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดำเนินตามไปได้ และสนับสนุนความปรองดองในทุกภาคส่วน
รองโฆษกรัฐบาลยังบอกบีบีซีไทยด้วยว่าคนส่วนใหญ่ในประเทศพอใจกับมาตรการที่รัฐบาลดำเนินอยู่ และมั่นใจว่าท่าทีของรัฐบาลไม่ได้ทำให้ฝ่ายที่ขัดแย้งกันรู้สึกว่ารัฐบาลเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง และไม่เชื่อว่าฝ่ายที่เคยชื่นชม พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีจะหันมาแสดงท่าทีต่อต้านการทำงานของรัฐบาล
งานสัมมนา Thailand's Tragedy: Exploring the Military Junta and its National and Regional Implications
บีบีซีไทย - BBC Thai
ผู้เชี่ยวชาญเรื่องไทยชี้ความเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลไม่ได้มาจากกลุ่มแบ่งแยกสี แต่เป็นความไม่พอใจท่าทีกองทัพ ด้านไครซิส กรุ๊ป ระบุโอกาสเกิดความปรองดองเป็นไปได้ยาก ส่วนรองโฆษกรัฐบาลย้ำกำลังเดินหน้าสร้างความปรองดองในชาติและคนส่วนใหญ่พอใจ
วันสองวันมานี้ดูเหมือนจะมีหลายฝ่ายออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลผ่อนคลายการควบคุมเสรีภาพและการเคลื่อนไหวของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการร่วมลงชื่อของนักวิชาการให้ยกเลิกกฎอัยการศึก หรือการชูสัญลักษณ์สามนิ้วของนักศึกษาเพื่อแสดงความเห็นคัดค้านรัฐบาลอย่างชัดแจ้ง
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในไทยตั้งแต่เกิดรัฐประหารอยู่ในความสนใจของนักวิชาการต่างชาติ ในเวทีอภิปรายหัวข้อ Thailand's Tragedy: Exploring the Military Junta and its National and Regional Implications ที่อาคารรัฐสภาอังกฤษเมื่อวานนี้ (19 พ.ย.) ศ. ดันแคน แมคคาโก ผู้เชี่ยวชาญการเมืองไทย จากมหาวิทยาลัยลีดส์ วิเคราะห์ว่า การที่รัฐบาลทหารแทรกแซงและปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของสื่อและประชาชนทั่วไป ทำให้หลายฝ่าย รวมถึงผู้ที่เคยเห็นด้วยกับการปฏิรูปการเมือง พร้อมใจกันออกมาแสดงความไม่พอใจเพิ่มมากขึ้น
ซึ่งคนเหล่านี้ไม่ได้เป็นมาจากฝั่งเสื้อแดง หรือฝั่งที่ชื่นชอบ"ทักษิณ" แต่กลับเป็นคนทั่วไปที่ไม่พอใจกับท่าทีของทหาร เขาเชื่อว่าสิ่งนี้จะเป็นแรงกดดันให้ทหารต้องปรับเปลี่ยนท่าทีในที่สุด และหากภาคประชาชนร่วมมือร่วมใจกันเขาเชื่อว่าการเมืองไทยคงคืบหน้าไปในทางที่ดีได้
อย่างไรก็ตาม นายโจนาธาน เพร็นทิซ หัวหน้าฝ่ายนโยบายของ Crisis Group เห็นว่าโอกาสที่จะเกิดการปรองดองในประเทศไทยคงเป็นไปได้ลำบาก เพราะสังคมไทยมีความแตกแยกสูง และทหารก็พยายามเต็มที่ที่จะรักษาอำนาจทางการเมืองเอาไว้ และไม่ต้องการให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเหมือนการรัฐประหารปี 2549 ซึ่งทหารมองว่าเป็นบทเรียนแห่งความผิดพลาด แต่สิ่งที่รัฐบาลทหารต้องเผชิญคือสภาพเศรษฐกิจเฉื่อยชา นายเพร็นทิซมองว่า หนทางหนึ่งที่จะนำไปสู่ความปรองดองคือการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำของรายได้ หาทางกระจายการกระจุกตัวของเศรษฐกิจออกจากเมืองหลวงให้ได้
พลตรีสรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ด้านการเมืองและความมั่นคง บอกบีบีซีไทยว่าภารกิจสำคัญของรัฐบาลคือการสร้างความปรองดอง เปิดโอกาสให้ฝ่ายต่าง ๆ ที่มีความขัดแย้งกันเข้ามาสู่กระบวนการปฏิรูปให้กลไกต่าง ๆ ที่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จัดตั้งขึ้นตามโรดแมป เช่น สภาปฏิรูปแห่งชาติ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดำเนินตามไปได้ และสนับสนุนความปรองดองในทุกภาคส่วน
รองโฆษกรัฐบาลยังบอกบีบีซีไทยด้วยว่าคนส่วนใหญ่ในประเทศพอใจกับมาตรการที่รัฐบาลดำเนินอยู่ และมั่นใจว่าท่าทีของรัฐบาลไม่ได้ทำให้ฝ่ายที่ขัดแย้งกันรู้สึกว่ารัฐบาลเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง และไม่เชื่อว่าฝ่ายที่เคยชื่นชม พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีจะหันมาแสดงท่าทีต่อต้านการทำงานของรัฐบาล