วันศุกร์, พฤศจิกายน 01, 2567

อดีตผู้ว่าฯ แบ๊งค์ชาติ ๔ คน ร่วมลงชื่อคัดค้าน การเมืองครอบงำธนาคารแห่งประเทศไทย ชี้ถ้าปล่อยทำได้ จะ “ทําลายเสถียรภาพและความน่าเชื่อถือของประเทศในระยะยาว”

“ไม่เป็นไร ไม่เป็นไร ไม่เป็นไร” พิชัย ชุณหวชิร รมว.คลังตอบนักข่าว กรณีมีกลุ่มนักเศรษฐศาสตร์เข้าชื่อคัดค้าน “การเมืองครอบงำแบ๊งค์ชาติ” กันแล้วไม่ต่ำกว่า ๔๐๐ คน ในจำนวนนี้มีอดีตผู้ว่าฯ เข้าร่วมลงชื่อด้วยถึงสี่คน

ไม่ว่าจะเป็น ม.ร.ว.ปรีดยาธร เทวกุล นายวิรไท สันติประภพ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ต่างแสดงความเห็นว่าถ้าฝ่ายการเมืองเข้าไปครอบงำ การดำเนินนโยบายการเงินการคลังของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อผลประโยชน์ระยะสั้นแล้วละก็

จะ “ทําลายเสถียรภาพและความน่าเชื่อถือของประเทศในระยะยาว” ได้ แถลงการณ์ตอนหนึ่งระบุว่า “การรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบเศรษฐกิจ เป็นภารกิจหลักของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งตามหลักสากลธนาคารกลางควรมีอิสระในการดำเนินนโยบาย”

การออกมาแถลงตีกันฝ่ายการเมืองเข้าไปครอบงำธนาคารชาตินี้ เจาะจงถึงการคัดเลือกประธานกรรมการธนาคารชาติ ที่จะมีขึ้นในวันที่ ๔ พฤศจิกายนที่จะถึงนี้ และมีข่าวว่ากรรมการคัดเลือกจะเสนอชื่อนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นประธาน

นายกิตติรัตน์จัดว่าเป็นลูกหม้อพรรคเพื่อไทยมาแต่ไหนแต่ไร เคยเป็นอดีตรองนายกฯ และ รมว.คลังสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ และเป็นที่ปรึกษาของอดีตนายกฯ เศรษฐา ทวีสิน หากกลับมาเป็นประธานบอร์ดแบ๊งค์ชาติได้ จะมีการต่อยอดไปถึงการคัดเลือกผู้ว่าฯ ในกลางหรือปลายปีหน้า

อนึ่ง คณะกรรมการธนาคารชาติ มีบทบาทครอบคลุมด้านการเงินและการคลัง ที่สำคัญเป็น การรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบเศรษฐกิจ “ซึ่งตามหลักสากลธนาคารกลางควรมีอิสระในการดำเนินนโยบาย”

ได้แก่ “การกำกับดูแลการบริหารงานภายในองค์กร การบริหารจัดการทุนสำรองระหว่างประเทศ และการคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการนโยบาย ที่สำคัญเช่น คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)”

(https://ch3plus.com/news/economy/morning/422979) 

มีอะไรที่พุทธไทยทำไม่ได้


Somrit Luechai
11 hours ago
·
มีอะไรที่พุทธไทยทำไม่ได้
แถมทันเวลาซะด้วย
ทีเรื่องแบบนี้เร็วจังน่ะครับ
.....








.....


Somrit Luechai
16 hours ago
·
สำนักพุทธฯเชียงใหม่
จัดการเรื่องนี้ไปถึงไหนแล้วครับ?
.....

Somrit Luechai
9 hours ago
·
พระที่เมาแล้วขับรถชนคน
วันนี้สึกแล้ว
คำถามคาใจผมคือ
1 ทำไมต้องสึก
2 ทำไมไม่เปิดเผยตัวตนว่าคือใคร
3 ทำไมเรื่องเพิ่งมาแดง
ทั้งๆที่เหตุเกิดตั้งแต่ 23 ต.ค.
แล้วที่ลือกันว่าพวกพระช่วยกันปิดข่าว จริงไหม?
แน่นอนทางคดีโลกก็ว่ากันไป
แต่ที่แน่ๆการสึกก็แต่สยบกระแสข่าวตอนนี้
เรื่องแบบนี้ก็ไม่ต่างจากคดีทางโลก
ที่มีเรื่องพรรคพวกและผลประโยชน์
คำถามคือ
แล้วเราจะมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาแบบนี้ได้อย่างไร
แน่นอนในระยะยาว
ผมเห็นว่าควรแยกศาสนาออกจากรัฐ
ในระยะสั้นเราควรแสดงความคิดเห็น
ต่อวงการสงฆ์ให้มาก
ทั้งในทางชื่นชมและตำหนิ
เลิกคิดแบบว่า"ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์"
อย่างน้อยเสียงของประชาชน
ก็มีพลังพอที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้
อย่างเช่นเรื่องนี้คงเงียบไป
ถ้าไม่มีกระแสสังคม
เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
มีนักบวชส่วนหนึ่งมุ่งแต่ปกป้องตัวเองและพวกพ้อง
แต่ประชาชนต่างหากที่ปกป้องศาสนา
หนองแหย่ง หางดง ต้องไม่เงียบครับ


ไม่มี๊ ไม่มี... พี่ไทยไม่ทำหรอก...

(https://www.youtube.com/shorts/lF6benT5hGM?feature=share)

เรื่องเกี่ยวข้อง
สงครามยาเสพติดของดูแตร์เต้ทำชาวฟิลิปปินส์แตกแยก | 19 ต.ค. 61 | เต็มข่าวค่ำ
(https://www.youtube.com/watch?v=8Sgh-PZ7yl0)



เลือกตั้งอเมริกัน2024 สะท้อน “ประชาธิปไตย”แบบไหน..? และ คนไทยควรเรียนรู้ ประชาธิปไตยของคนอเมริกัน..อย่างไร..?


เลือกตั้งอเมริกัน2024 สะท้อน “ประชาธิปไตย”แบบไหน..?

Oct 31, 2024

เลือกตั้งอเมริกัน2024 สะท้อน “ประชาธิปไตย”แบบไหน..? 

Phil Roberton ตัวแทนผู้สนับสนุนเดโมแครตในประเทศไทย.
พรรณิการ์ วานิช อดีตสมาชิกพรรคอนาคตใหม่ และ
พิภพ อุดมอิทธิพงศ์ นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย... 

( สามารถติดตามคลิปสัมภาษณ์ ย้อนหลังได้ทาง ยูทูป Jom Voice Channel และอย่าลืม subscribe กดไลค์ กดแชร์ ให้ด้วยนะครับ.)

(https://www.youtube.com/watch?v=_iJZKygpGOY)

(https://www.facebook.com/jom.petchpradab/videos/928639575844400)



31 ตุลาคม ครบรอบ 18 ปี การต่อต้านรัฐประหารของสามัญชน คนธรรมดา ที่มีหัวใจอันยิ่งใหญ่ "นวมทอง ไพรวัลย์"


ประชาไท Prachatai.com
12 hours ago
·
31 ต.ค. 2549 นวมทอง ไพรวัลย์ ฆ่าตัวตายประท้วง
นวมทอง ไพรวัลย์ อดีตพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อ.บางกรวย วัย 60 ปี ขณะนั้น คนขับแท็กซี่ขับรถแท็กซี่โตโยต้า โคโรลล่า สีม่วง เครื่องมือทำมาหากินของเขาพุ่งชนรถถังของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ(คมช.) คณะบุคคลที่แปรสภาพจากคณะรัฐประหาร คปค. เมื่อ 19 ก.ย. 2549 ที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า จนได้รับบาดเจ็บสาหัส
หนึ่งเดือนต่อมา (คืนวันที่ 31 ต.ค.49) ได้ปรากฏว่าเขาผูกคอตายกับราวสะพานลอยบริเวณถนนวิภาวดีรังสิตฝั่งขาออก เยื้องกับที่ตั้งสำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ โดยต่อมาจุดตรงนั้นมีการจัดสร้างสดมภ์อนุสรณ์ ‘นวมทอง ไพรวัลย์’ เพื่อรำลึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
จดหมายลาตายของนวมทอง ระบุไว้ด้วยว่าต้องการลบคำสบประมาทของ พ.อ.อัคร ทิพโรจน์ รองโฆษก คปค. ที่ว่า "ไม่มีใครมีอุดมการณ์มากขนาดยอมพลีชีพได้" มีใจความว่า
"สุดท้ายขอให้ลูกๆ และภรรยาจงภูมิใจในตัวพ่อ ไม่ต้องเสียใจ ชาติหน้าเกิดมาคงไม่พบเจอการปฏิวัติอีก ลาก่อน พบกันชาติหน้า ปล. ขอแก้ข่าว ขวดยาที่พบในรถภายหลังเกิดเหตุคืออาหารเสริมแคปซูลใบแปะก๊วยไม่ใช่ยาแก้เครียดตามที่ลงข่าว นสพ. ผมไม่เครียดแต่ประท้วงจอมเผด็จการ"
เสื้อที่นวมทองใส่ในวันเสียชีวิต ด้านหลังสกรีนข้อความเป็นบทกวีของศรีบูรพา (กุหลาบ สายประดิษฐ์) ที่ถูกใช้ในการต่อสู้ทางการเมือง มีใจความว่า “อันประชา สามัคคี มีจัดตั้ง เป็นพลัง แกร่งกล้า มหาศาล แสนอาวุธ แสนศัตรู หมู่อันธพาล ไม่อาจต้าน แรงมหา ประชาชน”
ในวันที่ 31 ต.ค. ของทุกปี ยังมีกลุ่มประชาชน นักกิจกรรมมาทำพิธีรำลึกถึง “ลุงนวมทอง” ที่สดมภ์นวมทอง บริเวณหน้าสำนักงานใหญ่ นสพ.ไทยรัฐ ถนนวิภาวดีรังสิต
#รัฐประหาร49 #ลุงนวมทอง #นวมทองไพรวัลย์
.....

.....

https://www.youtube.com/watch?v=SgXJYQdkbps&rco=1
.....


Punsak Srithep
20 hours ago
·
#ลุงสามล้อMuvMiหน้าตาดีคนนั้นไงรำพึง
.
ปีนี้กลายเป็นลุงสามล้อแล้ว
คงไม่ได้คอสเป็นลุงนวมทองอีก แต่ยังอดนึกถึงเหตุการณ์ที่คนเสื้อแดงปาขวดน้ำใส่ได้อยู่ ไพศาล จันปานแอบมากระซิบบ่อย ๆ ว่าผมรู้ว่าใครปาขวดน้ำใส่พี่แต่ผมไม่บอกหรอก เพราะผมเป็นคนเสื้อแดง นี่เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ย้ำบอกลุงว่าไพศาลมักจะรู้อะไรดี ๆ แต่ชอบแสดงออกอย่างโง่ ๆ
.
"ไม่มีใครมีอุดมการณ์ทางการเมืองมากถึงขั้นจะทำร้ายตัวเอง เชื่อว่าไม่มีคนไทยคนไหนมีอุดมการณ์สูงขนาดต้องทำร้ายตัวเองเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย" พันเอก อัคร ทิพโรจน์ รองโฆษก คปค. (ขณะนั้น) กล่าวภายหลังลุงนวมทอง ไพรวัลย์ ขับรถแท็กซี่พุ่งชนรถถังหลังเหตุรัฐประหาร 2549 จนได้รับบาดเจ็บสาหัส
.
หลังจากออกจากโรงพยาบาล คืนวันที่ 31 ตุลาคม ลุงนวมทองตัดสินใจผูกคอตายกับราวสะพานลอย เยื้องกับที่ตั้งสำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ โดยในจดหมายลาตายระบุว่า ต้องการลบคำสบประมาทของพันเอกอัคร ทิพโรจน์





 

ภูมิธรรม แจง เหตุให้สัญชาติไทย หวังแก้ปัญหาให้ ผู้อพยพ-ลูกหลานกลุ่มชาติพันธ์ุ (เป็นนโยบายที่ดี) ใครมีสิทธิ์ได้บ้าง ?


“ภูมิธรรม” แจง ครม.ไฟเขียวให้สัญชาติ-สถานะ คนต่างด้าว-บุตรที่เกิดในประเทศประเทศไทย ชี้ เป็นการแก้ปัญหาคนส่วนใหญ่ วอน อย่ามองทุกอย่างเป็นปัญหา ชี้ทำงานยาก

เมื่อเวลา 09.20 น.วันที่ 31 ตุลาคม 2567 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์กรณีที่มีประเด็นดราม่า หลังจากครม.อนุมัติในหลักการเรื่องให้สัญชาติและสถานะผู้อพยพ ชนกลุ่มน้อย และกลุ่มชาติพันธ์ุ 19 กลุ่ม จำนวน 4 แสนคน ว่า เป็นการทำให้กระบวนการเร็วขึ้น เพราะด้านหนึ่งก็บอกว่า ควรทำอะไรให้รวดเร็ว และแก้ปัญหาได้ เราจึงยึดหลักให้แต่ละส่วนสามารถดำเนินการได้ โดยต้องดูให้ดีว่า จะให้กระจายอำนาจ หรือรวมศูนย์อำนาจ อยากให้งานไปได้เร็ว และดูแลคนส่วนใหญ่ได้ โดยไม่ต้องถูกเอามาเป็นจำเลย และเรื่องนี้มีกระบวนการที่ตรวจสอบได้

ผู้สื่อข่าวถามว่า เรื่องนี้ถูกเปรียบเทียบกับกรณีของโค้ชเช ที่อยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานาน กว่าจะได้สัญชาติ นายภูมิธรรม กล่าวว่า เขาเข้าสู่กระบวนการใหม่แล้ว จึงให้ว่าไปตามกระบวนการ อย่ามองทุกอย่างเป็นปัญหา ขอให้มองทุกอย่างเป็นความตั้งใจ ความเพิ่มเติมและความสำเร็จ เราจะได้เป็นผู้สำเร็จ ถ้ามองทุกอย่างเป็นปัญหา จะห่อเหี่ยวและทำงานยาก



ใครมีสิทธิ์ได้บ้าง ? เปิดหลักเกณฑ์ให้สัญชาติไทยผู้อพยพ 4.8 แสนคน | จับตาสถานการณ์ | 31 ต.ค. 67

Thai PBS

Oct 31, 2024 

มติคณะรัฐมนตรี เรื่องการเร่งรัดแก้ปัญหาสัญชาติของคนเกือบ 500,000 คน กลายเป็นที่พูดถึงไม่น้อยว่า รัฐบาลกำลังจะ “แจกสัญชาติ” จนกลายเป็นช่องทางให้กลุ่มคนต่างด้าว หรือกระทั่งคนสีเทาต่างสัญชาติ เข้ามาสวมสิทธิคนไทยด้วยหรือไม่ 

📌 อ่านต่อ (https://www.thaipbs.or.th/news/conten...)


(https://www.youtube.com/watch?v=fIJ5h3juQGo)
.....





(https://www.matichon.co.th/politics/news_4874204)



คนไทยหวั่นแรงงานพม่าครองเมือง? ประชาไท สุ่มสำรวจมุมมองชาวบ้านร้านตลาด


ประชาไท Prachatai.com
18 hours ago
·
จากการอภิปรายของ ‘ธิษะณา’ สส.พรรคประชาชน เสนอนโยบายแก้ไขปัญหาด้านสิทธิแรงงานข้ามชาติ และผู้ลี้ภัย จนเกิดเป็นกระแสต่อต้านบนโลกออนไลน์ ติดแฮชแท็ก #พรรคประชาชนพม่า และ สส.พม่า ปลิวว่อนทั่วโลกออนไลน์ แต่คำถามคือ 'คนทั่วไปคิดเช่นเดียวกับบนโลกออนไลน์หรือไม่'
.
จากข้อสงสัยดังกล่าวประชาไทลองเดินดุ่มสุ่มถามคนทั่วไป ท่ามกลางกระแสการต่อต้านแรงงานเมียนมาที่กำลังขยายตัว คนไทยมีความเห็นและรู้สึกต่อแรงงานพม่าอย่างไร มองชาวพม่าเข้ามาแย่งงานคนไทย หรือกังวลเรื่องปริมาณคนพม่าที่จะเข้ามาไทยเพิ่มขึ้นหรือไม่ หรือคิดเห็นอย่างไรเรื่องการเรียกร้องสิทธิแรงงานของชาวพม่า
อ่านรายละเอียด (https://prachatai.com/journal/2024/10/111207)
#ประชาไท #แรงงานข้ามชาติ #พม่า #เมียนมา
.....

คนไทยหวั่นแรงงานพม่าครองเมือง? สุ่มสำรวจมุมมองชาวบ้านร้านตลาด

ประมวลไทม์ไลน์ จุดเริ่มต้นกระแสต่อต้านแรงงานพม่า
นโยบายแรงงานข้ามชาติพม่าที่ดี จะช่วยประเทศไทย


จุดเริ่มต้นถึงกระแสต่อต้านชาวพม่าระลอกล่าสุด และเป็นที่มาของแฮชแท็ก #พรรคประชาชนพม่า หรือ สส.พม่า เกิดขึ้นเมื่อเดือนที่แล้ว (ก.ย. 2567) เมื่อธิษะณา ชุณหะวัณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) เขต 2 กทม. พรรคประชาชน ลุกขึ้นอภิปรายในการประชุมร่วม 2 สภาในวันแถลงนโยบายของรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร


ธิษะณา ชุณหะวัณ ลุกขึ้นอภิปรายเมื่อ 12 ก.ย. 2567 (ที่มา: ยูทูบ TPchannel)

ธิษะณา เสนอว่า ไทยควรมีนโยบายด้านแรงงานข้ามชาติพม่าและผู้ลี้ภัย และชี้ว่าถ้าเราจัดการนโยบายเหล่านี้ได้ดี ‘จะเป็นคุณกับประเทศไทยมากกว่า’ เธอยกแนวนโยบาย เช่น การระดับสิทธิยกตัวอย่าง การให้การศึกษาแก่เด็กและเยาวชนพม่า แม้ว่าต้องใช้งบฯ เพิ่มขึ้น แต่เป็นการแก้ไขปัญหา และป้องกันไม่ให้เด็กตกเป็นเหยื่อขบวนการค้ามนุษย์ การบริการสาธารณสุข เพื่อป้องกันโรคระบาด

สส.พรรคประชาชน เสนอนโยบายสนับสนุนใบอนุญาตทำงานแก่บุคลากรทางการแพทย์เพื่อลดภาระสาธารณสุขไทย และให้มาดูแลคนไข้ชาวพม่า ตลอดจนเปิดให้ชาวพม่าเข้ามาทำงานในส่วนที่ไทยยังขาดแคลน เนื่องจากตอนนี้ไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย และต้องการคนวัยทำงานเข้ามาขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

‘พริษฐ์’ แจงแก้ปัญหาให้ตรงจุด ต้องให้เข้ามาอยู่ในระบบประกันสังคม

ต่อมา พริษฐ์ วัชรสินธุ สส.พรรคประชาชน ชี้แจงหลังเกิดกระแสต่อต้านหลังการอภิปรายของธิษะณา เรื่องสิทธิแรงงานพม่าว่า "แม้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนก็ต้องพูด" พร้อมเสนอให้นำแรงงานข้ามชาติพม่าทั้งหมดที่ผิดกฎหมาย ให้ขึ้นมาอยู่ในระบบ และเข้าถึงใบอนุญาตทำงานอย่างถูกกฎหมาย

สส.พรรคประชาชน ชี้ว่าการทำแบบนี้จะเป็นการแก้ไขที่ตรงจุด และเป็นประโยชน์ในการป้องกันปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน การค้ามนุษย์ และตอบโจทย์บริหารการจัดการแรงงานข้ามชาติอย่างเป็นระบบ

ทั้งนี้ พริษฐ์ เผยว่า ปัจจุบันมีคนงานพม่าอยู่ในประเทศไทยทั้งแบบถูกและผิดกฎหมาย ราว 6 ล้านคน ขณะที่ข้อมูลจากกรมจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ระบุว่า ในเดือน ก.ย. 2567 มีแรงงานข้ามชาติ 4 สัญชาติ ประกอบด้วย พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ที่มีใบอนุญาตทำงานทั่วประเทศอยู่ที่ 3,033,302 คน แต่อยู่ในระบบประกันสังคม ประมาณ 1.5 ล้านคนเท่านั้น

ข้อเสนอของพริษฐ์ ตรงกับแผนของพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ที่จะดึงแรงงานข้ามชาติ 4 สัญชาติเข้ามาอยู่ในระบบประกันสังคมทั้งหมด เพื่อให้จ่ายภาษีให้ประเทศไทย และต่อชีวิตของกองทุนประกันสังคมซึ่งมีแนวโน้มจะล้มละลายในอีก 30 ปีข้างหน้า

นอกจากประเด็นดังกล่าว เพจเฟซบุ๊กบางเพจได้หยิบยกคำพูดในอดีตของ เซีย จำปาทอง สส.ปีกแรงงาน พรรคประชาชน จากรายการ "ถกxเถียง นโยบายพรรคก้าวไกล แก้ปัญหาปากท้องได้จริงหรือ ของ Matichon TV" เผยแพร่เมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2566 ที่เสนอให้สิทธิเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคมฝั่งผู้ประกันตนแก่แรงงานข้ามชาติ โดยให้เหตุผลว่าแรงงานพม่าเสียเงินเข้ากองทุนประกันสังคมเหมือนกับชาวไทย ก็ควรได้สิทธิดังกล่าวเช่นกัน ซึ่งได้เกิดกระแสวิจารณ์ว่าต่อไปคงมี สส.พม่า หรือถกเถียงว่าแรงงานข้ามชาติจ่ายภาษีให้ประเทศไทยมากน้อยขนาดไหน

อนึ่ง กฎหมายแรงงานข้ามชาติบังคับให้แรงงานข้ามชาติทุกคนเข้าในระบบประกันสังคม เว้นเพียงผู้ที่เป็นแรงงานภาคเกษตร แรงงานทำงานบ้าน และผู้ที่ทำงานประมง

กระแสต่อต้าน ผุดแฮชแท็ก #พรรคประชาชนพม่า

แม้ว่าพรรคประชาชน ชี้ว่า การให้สิทธิแรงงานพม่าที่เข้ามาทำงานในไทยจะเป็นผลดีต่อรัฐไทยแต่ก็มีประชาชนไม่เห็นด้วย โดยเริ่มจากบนสื่อโซเชียลมีเดียผุดแฮชแท็ก พรรคประชาชนพม่า หรือ สส.พม่า เนื่องจากไม่พอใจที่ธิษะณา อภิปรายเรียกร้องสิทธิให้คนพม่า

บางคอมเมนต์ระบุว่า ‘สิทธิคนไทยยังได้ไม่เท่าเทียมเลยจะเอาคนพม่ามาเป็นภาระอีก’ ‘ฉันเสียภาษีให้คนไทย’ ‘คนไทยกำลังเดือดร้อนจากน้ำท่วม แต่อภิปรายให้สิทธิคนพม่า’ ขณะที่ผู้สนับสนุนพรรคประชาชนบางส่วนเห็นด้วยกับข้อเสนอขึ้นทะเบียนแรงงานพม่าให้ถูกกฎหมาย เพื่อเป็นการป้องกันการคอร์รัปชัน

ไม่เฉพาะในโลกออนไลน์ ในสนามการเมืองก็มีการต่อต้าน ยกตัวอย่าง ชินภัสร์ กิจเลิศสิริวัฒนา อดีตรองโฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ กล่าวหาว่า พรรคประชาชนตั้งใจให้สัญชาติไทยแก่แรงงานพม่าราว 6 ล้านคน เพื่อเอามาเป็นฐานเสียงเลือกตั้ง เมื่อเป็นรัฐบาลแล้วจะสนับสนุนรัฐบาลเงาของอองซานซูจีสู้กับเผด็จการพม่า กลายเป็นสงครามตัวแทน

ฝ่ายขวาลุยดะ ยื่นหนังสือควบคุมปริมาณแรงงานพม่า จัดการคนก่ออาชญากรรม

จากกระแสออนไลน์สู่กระแสออนไซด์ โดยเมื่อช่วงเดือน ก.ย.จนถึงต้นเดือน ต.ค. 2567 เครือข่ายภาคประชาชน ‘อนุรักษ์นิยม’ ในนาม "เครือข่ายราชภักดี" ร่วมด้วย "ศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน" (ศปปส.) ได้ตระเวนยื่นหนังสือถึงหลายหน่วยงานรัฐทั้งกระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงแรงงาน และอื่นๆ เพื่อเรียกร้องให้ภาครัฐมีมาตรการที่เข้มงวดในการจัดการปัญหาจำนวนคนพม่าในไทย ทบทวนมาตรการดึงแรงงานข้ามชาติและการให้สัญชาติ ปัญหาการลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย และอื่นๆ

นอกจากนี้ เครือข่ายฯ มีความกังวลกับปริมาณแรงงานพม่าในประเทศไทย ปัญหาอาชญากรรมและภัยด้านความมั่นคง ไปจนถึงความไม่พอใจนโยบายต่างๆ ที่ผ่อนผัน และจะเป็นปัจจัยดึงดูดให้แรงงานพม่าเข้ามาในไทยเพิ่มขึ้น และอาจเข้ามาแย่งอาชีพคนไทย


(ซ้าย) "ทรงชัย เนียมหอม" แกนนำประชาภักดิ์พิทักษ์สถาบัน และ (ขวา) "อัครวุธ ไกรศรีสมบัติ" แกนนำอาชีวะราชภักดิ์ ระหว่างหารือกับ อารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (ที่มา: เว็บไซต์กระทรวงแรงงาน)

มองหลากมุม ทัศนคติคนทั่วไปต่อแรงงานพม่า

หลุดจากโลกออนไลน์มาแล้ว มาดูคนทั่วไปคิดอย่างไรในประเด็นแรงงานพม่า ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่สัมภาษณ์ประชาชนย่านราชเทวี กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นย่านที่มีชาวพม่าอาศัยอยู่จำนวนมาก โดยเฉพาะในเพชรบุรีซอย 10 ที่มีชื่อเล่นว่า ‘ซอยกิ่งเพชร’ พวกเขามักประกอบอาชีพทั้งลูกจ้างเฝ้าหน้าร้านขายของ ขายอาหารพม่า พนักงานบริการที่ห้างสรรพสินค้า ไปจนถึงงานรับจ้างอื่นๆ

จากการสัมภาษณ์พบว่าคนไทยไม่มีปัญหาเรื่องแรงงานพม่าที่เข้ามาทำงานถูกกฎหมาย แต่ยอมรับกังวลกับปริมาณแรงงานพม่าที่เข้ามาในไทย เพราะกังวลเรื่องการคุกคามและความปลอดภัย

'บ่าว' คนขับรถแท็กซี่จาก อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา วัย 54 ปี เขามักเปิดวิทยุฟังข่าวสารเวลาขับรถ ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เขาทราบว่าที่ชาวพม่าอพยพเข้ามาในไทย เพราะที่ประเทศพม่ากำลังเผชิญปัญหาทางเศรษฐกิจ


บ่าว คนขับแท็กซี่จากภาคใต้

คนขับแท็กซี่จากหาดใหญ่ ไม่เห็นด้วยที่แรงงานพม่าเข้ามาเป็นเจ้าของร้านขายของ เพราะมองว่าเป็นการแย่งอาชีพคนไทยและขัดกับกฎหมาย แต่ไม่ติดใจหากเข้ามาทำงานรับจ้างใช้แรงงาน

"ผมแอนตี้ที่คนพม่ามาเป็นนายจ้าง มาเปิดร้านค้าต่างๆ ทั่วไป มาแย่งอาชีพพ่อค้าแม่ค้าคนไทยเยอะมาก เขาทำได้ไงผมชักอยากจะรู้ มันเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่หรือเปล่า"

"คนพม่าเข้ามาได้แต่ต้องเข้ามาในทางที่ถูกต้อง และตามกฎหมาย คุณต้องมาใช้แรงงานเท่านั้น แต่ไม่ใช่มาเปิดร้านค้า ทำมาค้าขายไม่ได้” บ่าว คนขับแท็กซี่ กล่าว และเขาอยากให้เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายเรื่องนี้อย่างเข้มงวด

ทั้งนี้ พระราชกำหนดการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2561) ระบุว่า แรงงานข้ามชาติไม่สามารถเป็นเจ้าของกิจการได้ แต่ยังทำงานเฝ้าหน้าร้านค้า หรือรับจ้างใช้แรงงานได้

อย่างไรก็ดี ไม่นานมานี้ พิพัฒน์ รัชกิจประการ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ตอบปัญหานี้ว่า ทางกระทรวงแรงงานจะมีมาตรการป้องปรามแรงงานข้ามชาติ 4 สัญชาติ ที่ทำอาชีพสงวนคนไทยโดยเฉพาะการเป็นเจ้าของกิจการ โดยเริ่มจากการตักเตือนสื่อสารให้เข้าใจ แต่ถ้ายังฝ่าฝืน จะมีการปราบปรามอย่างเด็ดขาด ผลักดันกลับประเทศต้นทาง

'ปิ่น' แม่ค้าล็อตเตอรีอายุ 44 ปี เล่าว่า เธอมีประสบการณ์ทั้งดีและไม่ดีกับแรงงานข้ามชาติ บางส่วนที่เข้ามาทำงานถูกกฎหมายเธอไม่มีปัญหาอะไร และมีชาวพม่าที่รู้จักด้วย เขาก็เป็นคนนิสัยน่ารัก แต่เธอไม่พอใจที่มีแรงงานข้ามชาติบางส่วนแย่งที่พ่อค้า-แม่ค้าคนไทยขายของ

ปิ่น กล่าวว่า เธอมีเพื่อนขายของอยู่บนฟุตบาธบริเวณนี้ ซึ่งที่นี่จะแบ่งเป็น 2 รอบคือ เช้า และเย็น สมมติเวลาขายของบนทางเท้าต้องเสียค่าที่ให้กับเขต จะเป็นพื้นที่ล็อกใครล็อกมัน แต่วันดีคืนดีมีแรงงานข้ามชาติมาจากไหนไม่ทราบมาขายของทับที่คนอื่น พอเธอพยายามไปเตือนว่าขายไม่ได้ วันถัดมาก็เจอแรงงานข้ามชาติมา 4-5 คนมา ออกแนวคุกคาม ไม่ยอมไปขายที่อื่น เพราะเขาก็อ้างว่าเสียให้เจ้าหน้าที่เหมือนกัน แต่ไม่รู้ว่าเสียอะไร

แม่ค้าล็อตเตอรี ระบุว่า แรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่ชาวพม่า และเวียดนาม จะขายของโดยใช้รถเข็นตั้งร้าน สินค้าที่ขายมีตั้งแต่ไส้กรอกอีสาน ขนุนที่ปอกเป็นชิ้นๆ ทุเรียน และอื่นๆ

"เราเครียดอยู่นะเวลาเจอแบบนี้ เราไม่ได้อยากให้เขากลัว แต่มันน่าจะเกรงใจ เพราะว่าเราจ่ายเข้าเขต …ถ้าเขาจะมาขาย เราอยากให้เขาปฏิบัติตามกฎหมาย" ปิ่น กล่าว

นอกจากปัญหาข้างต้น แม่ค้าล็อตเตอรียอมรับว่ามีความกังวลเกี่ยวกับจำนวนแรงงานพม่าที่เข้ามาไทยเพิ่มขึ้น เพราะละแวกที่เธออาศัยมีชาวพม่าจำนวนมาก พอเขารวมตัวกันเยอะ เธอมีความรู้สึกว่าคนพม่าทำอะไรไม่เกรงใจ พูดคุยเสียงดังรบกวน หรือทะเลาะเบาะแว้งกันเอง เธอก็มีกังวลเรื่องความปลอดภัยด้วย ดังนั้น เธอเลยอยากให้เจ้าหน้าที่กวดขันการเข้าเมืองของคนพม่า อยากให้อยู่ในระดับที่ควบคุมได้

หลายคนมองไม่แย่งงานคนไทย

จากประเด็นที่ว่า ‘คิดว่าคนพม่าแย่งงานคนไทยหรือไม่’ พบว่าหลายคนไม่คิดว่าคนพม่าแย่งงานคนไทย เนื่องจากมีงานในไทยเยอะ แค่คนไทยอย่างเดียวไม่พอ หรือบางคนมองว่าคนไทยค่อนข้างเลือกงาน


สะพานเฉลิมหล้า 56 หรือสะพานหัวช้าง

‘ไหม’ แม่ค้าอาหารริมทางวัย 36 ปี จากจังหวัดร้อยเอ็ด เธอไม่คิดว่าคนพม่ามาแย่งงานคนไทย เพราะว่าในไทยมีงานค่อนข้างเยอะ แค่คนไทยอย่างเดียวไม่พอ

"รู้สึกว่าไม่เห็นด้วยที่คนคิดอย่างนั้น(คนพม่าจะเข้ามาแย่งงานคนไทย) ถ้าเขาเข้ามาถูกกฎหมายก็โอเค ไม่ได้แย่งงานหรอก งานมันเยอะนะ" แม่ค้าจากร้อยเอ็ด กล่าว

ขณะที่พ่อค้า 'นิรนาม' ขอไม่เปิดเผยตัวตน เล่าว่า ช่วงที่ผ่านมาคนพม่าเข้ามาในไทยเยอะขึ้น และที่สนามกีฬาเดี๋ยวนี้มีแต่ชาวพม่าเล่นฟุตบอลและเตะตระกร้อ บางทีเขากังวลไม่กล้าพาลูกอ่อนไปหัดเดิน เพราะกลัวลูกบอลมาโดนลูก

เมื่อถามว่าคนพม่าแย่งงานคนไทยไหมในความคิดเขา พ่อค้ารายนี้ตอบอย่างฉะฉานว่าไม่คิดอย่างนั้น พร้อมสำทับว่าปัญหาอยู่ที่คนไทยเลือกงาน และยกตัวอย่างด้วยว่าถ้าไปดูคนล้างจานในศูนย์การค้า MBK (มาบุญครอง) ลูกจ้างในโรงงานทำน้ำส้มในซอย (พญานาค) หรือตามบ้านเรือน เป็นแรงงานพม่าหมด เพราะว่าคนไทยไม่ทำเอง

"ไปโทษเขาได้ไงว่ามาแย่งงานเราทำ ไอ้ประเด็นแย่งงานผมไม่เห็นด้วย เพราะว่าเราไม่ทำเอง …เขาได้หลายภาษาด้วย ภาษาอังกฤษเขายังปร๋อกว่าเรานะ" พ่อค้าคนเดิมแสดงความเห็น

พ่อค้านิรนาม เสริมว่า แรงงานพม่าไม่ได้เป็นแรงงานราคาถูกอย่างที่เข้าใจ พวกเขาได้ค่าแรงตามค่าจ้างขั้นต่ำ และถ้าพูดภาษาไทยได้ก็จะได้เงินเพิ่มขึ้นเป็นราว 500 บาทต่อวัน ทำงานสักพักออกมาเช่าห้องราคา 20,000 บาท คนไทยบอกแพง แต่คนพม่าเช่าไหว

ไม่เห็นด้วยเรียกร้องสิทธิเท่าคนไทย

จากการตระเวนพูดคุย พบว่าบางส่วนไม่เห็นด้วยกับการเรียกร้องสิทธิของชาวพม่าที่มากหรือเทียบเท่ากับคนไทย อย่าง 'หนุ่ม' พ่อค้าขายผลไม้รถเข็นอายุ 35 ปี กล่าวว่า ช่วงที่ผ่านมาติดตามข่าวที่มีกลุ่มคนไปยื่นหนังสือที่ต่างๆ ประกอบกับการลองศึกษาดูด้วยตัวเอง ซึ่งเขาไม่เห็นด้วยเรื่องการเรียกร้องสิทธิของคนพม่าที่ต้องการมากกว่าหรือเท่าเทียมกับคนไทย ซึ่งเป็นเจ้าของประเทศ

ยกตัวอย่างว่า ข้อเรียกร้องของแรงงานพม่าที่บอกว่าคนที่เข้ามาผิดกฎหมายหรือหนีภัยการเมืองเข้ามาประเทศไทย ต้องทำบัตรอนุญาตทำงานหรือวีซ่าให้เขาเลย ลูกหลานถ้าเกิดที่นี่ต้องได้สวัสดิการเท่ากับลูกหลานคนไทยทุกอย่าง แบบนี้มันเกินกว่ากฎหมายที่ระบุไว้

"การเรียกร้องสิทธิมันเยอะเกินไป เยอะจนเขาลืมไปรึเปล่าว่าเขามาอาศัยอยู่ หรือมาตั้งกลุ่มแก๊งข่มเหงคนไทย ไม่โอเคเลย คนไทยบางคนได้สิทธิไม่เยอะเท่ากับที่เขาเรียกร้อง" หนุ่ม กล่าว

สำหรับพ่อค้าผลไม้ เขารับได้ถ้าแรงงานพม่าเข้ามาและยินยอมรับสิทธิตามที่กฎหมายมี อย่างไรก็ดี เท่าที่เขาพบเจอ แรงงานพม่าก็เข้ามาทำงานอย่างเดียว ไม่ได้มาเรียกร้องสิทธิอะไรที่เกินคนไทย
 

'หนุ่ม' พ่อค้าขายผลไม้วัย 35 ปี

แรงงานพม่าใช้สิทธิรักษาจากภาษีคนไทย (?)

‘แนน’ ชาว อ.แม่สาย จ.เชียงราย อายุ 41 ปี เธอมาขายของเฉพาะช่วงวันหยุด ให้ความเห็นต่อประเด็นที่ว่า ‘คนพม่าใช้ภาษีคนไทยเป็นสิทธิรักษาพยาบาล’ หรือไม่ เธอคิดว่าชาวพม่าที่มารักษาในโรงพยาบาลรัฐ เป็นการใช้สิทธิประกันสังคม ถ้าเขาไม่มีสิทธิประกันสังคม คนพม่าก็ต้องจ่ายเงินเอง หรือบางคนอาจไม่กล้าไปโรงพยาบาล เพราะกลัวถูกตำรวจตรวจคนเข้าเมืองจับตัวระหว่างทาง

“คนพม่าเขาจ่ายในส่วนของเขาเสียประกันสังคมทุกเดือนอย่างที่เราเสียเงินเหมือนกัน นายจ้างจ่ายในส่วนของเขา ไม่ได้มาแย่งอะไร ส่วนคนไทยมีสิทธิเยอะกว่าคนพม่าอยู่แล้ว โดยเฉพาะสิทธิบัตรทองที่เอาเงินงบประมาณของรัฐบาลมาจ่าย ซึ่งคนพม่าเข้าไม่ถึง บางคนเขาไม่เข้าใจ” แม่ค้าเชียงราย กล่าว

ทั้งนี้ ประกันสังคม ม.33 เป็นการจ่ายสมทบจาก 3 ฝ่าย ได้แก่ ลูกจ้าง (แรงงานพม่า) นายจ้าง และภาครัฐ แต่ถ้าแรงงานข้ามชาติมาทำงานเป็นแม่บ้าน ทำงานประมง หรือแรงงานภาคการเกษตร จะไม่ได้เข้าระบบประกันสังคม

แนน ยังเล่าให้ฟังด้วยว่า บ้านของเธออยู่แม่สาย ทำให้เธอรู้จักและคุ้นเคยกับชาวพม่ามานาน สมัยเด็กเธอมีพี่เลี้ยงเป็นชาวพม่า และตัวเธอเองอยากศึกษาในสาขาวิชาพม่าศึกษาที่เชียงรายด้วย แต่สอบไม่ติด เธอกล่าวว่าส่วนตัวไม่กังวลที่คนพม่าจะเข้ามาในประเทศ

"บางคนเขาก็กลัวที่นี่เป็นชุมชนโบราณ เรียกว่าชุมชน ‘บ้านครัว’ คนที่นี่เขาจะปล่อยบ้านเช่า ส่วนใหญ่ก็เป็นคนพม่ามาเช่า และคนพม่าก็ไปใช้ชีวิตรวมกลุ่มในลานกีฬา พวกลุง-ป้าไม่ค่อยให้หลานออกไปเล่น ความรู้สึกเขาคงไม่อยากให้ไปเล่นแถวนั้น แต่ข้อเท็จจริงคนพม่าเขาก็ไม่อะไรนะ เขาก็คนปกติเหมือนกับเรา" แม่ค้าจากเมืองเชียงราย กล่าว
 

แนน ชาวเชียงราย

(https://prachatai.com/journal/2024/10/111207)


ย้อนอดีต UN 🇺🇳 เคยพูดกับรัฐบาลไทยเรื่องมาตรา 112 ว่าอะไรบ้าง ? - ธี ถิรนัย อดีตผู้ต้องขังทางการเมืองที่เพิ่งปล่อยนตัว ร้องขอพรรคเพื่อไทย “ผมอยากอ้อนวอนไปถึงพรรคเพื่อไทย ปล่อยเด็กเถอะครับ ให้เด็กกลับมาบ้านเถอะครับ เยาวชนทั้งนั้น มันใจร้ายเกินไป ในตอนนั้นคุณกับเราก็เดินเส้นเดียวกัน สู้ด้วยกัน”

https://www.facebook.com/iLawClub/videos/1068004311247001
iLaw
11 hours ago
·
ย้อนอดีต UN เคยพูดกับรัฐบาลไทยเรื่องมาตรา 112 ว่าอะไรบ้าง ?
นับแต่ช่วงการรัฐประหาร 2549 จนถึง 1 มกราคม 2567 ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติส่งหนังสือมาถามรัฐบาลไทยทั้งหมด 111 ครั้ง ในจำนวนดังกล่าวมี 104 ครั้งที่เป็นประเด็นเรื่องเสรีภาพในการแสดงออก โดยในจำนวนดังกล่าว มี 23 จากทั้งหมด 111 เรื่องที่มีเนื้อหาสอบถามมายังรัฐบาลไทยเกี่ยวกับการบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
อ่านบทความฉบับเต็ม (https://www.ilaw.or.th/articles/46748)
.....


iLaw
13 hours ago
·
27 ตุลาคม 2567 เวลา 17.00 – 19.00 น. iLaw ร่วมกับ Kinjai Contemporary จัดวงพูดคุยในหัวข้อ “ชีวิตคนถูก “ซ่อน” และการต่อสู้เพื่อไม่ “หาย” ชวนฟังเรื่องราวเส้นทางชีวิตของผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการดำเนินคดีทางการเมืองที่ถูก “ซ่อน” ระหว่างทางฝันของพวกเขาเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศให้ดีกว่าเดิม
ถิรนัย เล่าว่าตนเคลื่อนไหวตั้งแต่ปี 2563 ช่วงนั้นเรียน ปวช. อยู่ ในตอนนั้นอายุประมาณ 19-20 ปี ช่วงที่เริ่มมีการรัฐประหารจนถึงรัฐบาลประยุทธ์ในปี 2563 เป็นครึ่งชีวิตของตนอยู่กับรัฐบาลนี้ ตั้งแต่การรัฐประหารก็เปิดดูข่าวต่างๆ มากขึ้น ทำให้รู้สึกว่าทำไมประเทศต้องมาแย่ตอนที่เราโต พอมีการชุมนุมตนก็เข้าร่วมกับกลุ่มฟันเฟืองอาชีวะ อาชีวะพิทักษ์ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
ถัดมาถิรนัยก็ถูกจับกุมในวันที่ 29 สิงหาคม 2564 ในการชุมนุมที่จัดโดยณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ ตนยืนยันว่าไม่ชอบความรุนแรง ในระหว่างเส้นทางไปทำเนียบรัฐบาล เมื่อเพื่อนทราบว่าตนถูกจับกุม ตำรวจจึงพาตัวไปยังสโมสรตำรวจ ซึ่งตอนย้ายตัวไป เจ้าหน้าที่ไม่บอกว่าจะพาไปไหน ภายหลังศาลตัดสินว่ามีระเบิดไว้ในครอบครอง ตนสู้มาตลอด สู้ในชั้นอุทธรณ์ต่อ เพราะเชื่อว่าคดีของตนจะยกฟ้องแน่นอน ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 แต่สุดท้ายก็ติดคุกเพิ่มอีกสามอาทิตย์
ถิรนัย ได้รับการปล่อยตัวเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2567 ตั้งแต่ได้รับการปล่อยตัว ถิรนัยยืนยันกับเพื่อนที่อยู่ในเรือนจำว่าตนจะไปร่วมเคลื่อนไหวกับเครือข่ายนิรโทษกรรม ตลอดเวลาที่อยู่ในเรือนจำตนนั่งพับนกเสรีภาพวันละตัวจนครบหนึ่งพันตัว บางทีโดนยึดเอาไปทิ้งบ้าง
“การเขียนจดหมายมาหานักโทษในเรือนจำเปรียบเหมือนดวงใจของคนที่อยู่ในเรือนจำ เรามักจะรอตลอดว่าแฟนเราจะเขียนมาหรือไม่ ครอบครัวจะเขียนมาหรือไม่ เพื่อนจะเขียนหรือไม่ เราพร้อมอ่าน เราพร้อมเขียนโต้กลับ” ถิรนัยเล่าในฐานะคนที่เคยอยู่ในเรือนจำ
เมื่อถามว่าอนาคตจะเป็นยังไงต่อไป ถิรนัยบอกว่า พื้นฐานคงอยากให้ประเทศนี้ดีกว่านี้ ไม่มีการทุจริต ตอนนี้ก็พยายามเรียนหนังสืออาจจะเป็นคณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ความหวังตอนนี้ของคนที่อยู่ข้างในคือการนิรโทษกรรม ถิรนัยบอกว่า ยังเชื่อมั่นว่าจะมีการนิรโทษกรรมในอนาคตอยู่
“ผมอยากอ้อนวอนไปถึงพรรคเพื่อไทย ปล่อยเด็กเถอะครับ ให้เด็กกลับมาบ้านเถอะครับ เยาวชนทั้งนั้น มันใจร้ายเกินไป ในตอนนั้นคุณกับเราก็เดินเส้นเดียวกัน สู้ด้วยกัน” ถิรนัยกล่าวทิ้งท้าย
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ (https://www.ilaw.or.th/articles/47118?swcfpc=1)


การให้รางวัลประเทศนี้ เหมือนจะเอาตีนลูบหน้าประชาชน ด่าไม่ถูกเลย


Thanapol Eawsakul
Yesterday
·
ประเทศนี้มันคิดจะเอาตีนลูบหน้าประชาชน
ทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจเลยหรือครับ
.....................
UPDATE:'ปลัดอำเภอ' อดีตผู้ต้องหาคดีตากใบ เผยเมื่อ 20 ปีก่อนเป็นเพียงพลขับ หลังคดีหมดอายุความ ขอกลับมาทำงานปกติ
(https://www.facebook.com/TheReportersTH/posts/pfbid0ypyZymTMiWFRYF8VcKb7JKKsB13CoDjjVhwAWCDEYKmB3yH7JMhrEBg1N8Yic3fhl)
ดีลควบรวม ทรู-ดีแทค
คว้ารางวัล “Deal of the Year Awards” ในงาน SET Awards 2024 ย้ำเดินหน้าภารกิจสร้างประโยชน์เพื่อคนไทยและประเทศไทย
(https://www.facebook.com/brandageonline/posts/pfbid0339x1vfAxiVUUSDvAHnGEJuCHTs8ZmDQ39PuidShALWsn9eu4aBzDMzcZwtGJM8nSl)
.....



BIOTHAI

ซีพีออลล์ บริษัทแม่ของ แม็คโคร ในเครือซีพี รับรางวัล SET Awards 2023 ด้านความยั่งยืน ทำธุรกิจด้วยหลัก ธรรมาภิบาล โดยในปีดังกล่าว ห้าง แม็คโคร กิจการสำคัญของซีพีออลล์ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก กรณีรับซื้อหมูเถื่อน จากบริษัทที่ดีเอสไอจับกุม
(https://www.siamturakij.com/news/61590)

ควบรวม ‘ทรู-ดีแทค’ ในเครือซีพี คว้ารางวัล ของ SET ดีล ออฟ เดอะ เยียร์
ย้ำภารกิจเพื่อประโยชน์คนไทย
โดยก่อนหน้านี้ TDRI และสภาองค์กรของผู้บริโภค วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่า การควบรวมกิจการจะนำไปสู่การผูกขาดระดับอันตราย และส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคต้องใช้บริการในราคาแพงขึ้น
(https://www.bangkokbiznews.com/tech/gadget/1151413)


เหตุใด สส.พรรคเพื่อไทยเกือบทั้งหมด กลับลงมติไม่รับข้อเสนอของรายงานของ กมธ. ชุดนี้ที่มี อ.ชูศักดิ์ เป็นประธาน?






Piyabutr Saengkanokkul @Piyabutr_FWP

[ การไม่รับข้อเสนอแนะในรายงาน กมธ.นิรโทษกรรม มาจากความกลัวและสัมพันธ์กับกำเนิดรัฐบาลชุดนี้ ]

การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแนวทางการนิรโทษกรรมในคดีความผิดเกี่ยวกับการแสดงออกทางการเมือง เป็นความริเริ่มของพรรคเพื่อไทย

เหตุใด สส.พรรคเพื่อไทยเกือบทั้งหมด กลับลงมติไม่รับข้อเสนอของรายงานของ กมธ. ชุดนี้ที่มี อ.ชูศักดิ์ เป็นประธาน?

ฟังได้ในคลิปนี้ ซึ่งเป็นเนื้อหาบางส่วนจากรายการ #ปิยบุตรทัวร์

Piyabutr Saengkanokkul - ปิยบุตร แสงกนกกุล

ชมรายการ #ปิยบุตรทัวร์ เต็มๆ ได้ทางช่อง FriendsTalk 






พิภพ อุดมอิทธิพงศ์ เห็นต่างจาก พรรคประชาชนเรื่อง เรื่องการฟ้องร้อง กรณีมีคนกล่าวหาว่า #พรรคประชาชน เกี่ยวข้องกับการวางระเบิด หรือ #BRN



Pipob Udomittipong
14 hours ago
·
ในอเมริกา #MAGA + กลุ่มที่เชื่อมโยงกับพรรค #รีพับลิกัน #ทรัมป์ ฯลฯ สร้าง conspiracies โจมตีทั้งพรรค+นักการเมืองของ #เดโมแครต มากมายก่ายกอง ที่ใหญ่สุดน่าจะเป็นแคมเปญ “Stop the Steal” ที่กล่าวหาอย่างกว้างขวางว่า พรรคเดโมแครตโกงเลือกตั้งในปี 2020 เขียนเป็นหนังสือเลยก็มี แต่พรรคเดโมแครตไม่เคยแม้แต่จะขู่จะฟ้อง #หมิ่นประมาท ทำไม?
แม้การเผยแพร่ข้อมูล “เท็จ” เหล่านี้ เกิดขึ้นอย่างเป็นขบวนการ เชื่อมโยงกับพรรคการเมืองอย่างชัดเจน แต่สิ่งที่พรรคเดโมแครตทำคือการเสนอข้อมูลอีกด้านหนึ่งเพื่อตอบโต้
และเพื่อทำให้ข้อมูลน่าเชื่อถือ เขาสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่การเมือง รวมทั้งอดีตอัยการสูงสุดที่เคยทำงานให้ทรัมป์หรือได้รับการแต่งตั้งจากเขาด้วย เพื่อยืนยันว่านอกจากเดโมแครตจะไม่ได้โกงเลือกตั้ง ฝ่ายทรัมป์เองต่างหากที่ทำลายประชาธิปไตย วางแผนตั้งแต่ต้นแล้วว่าถ้าแพ้ ก็จะไม่ยอมรับผลเลือกตั้ง ไปหาดูได้ Stopping the Steal ฉายในโรงด้วย
ในสังคมประชาธิปไตย การฟ้องคดี #หมิ่นประมาท ควรใช้เป็นทางเลือกสุดท้ายเท่านั้น เป็นแนวโน้มระดับโลกที่รณรงค์ให้ลดการใช้ Insult/defamation law หรือให้ลดการเอาผิดทางอาญา ไม่ให้มีโทษจำคุก เพราะมันจำกัด freedom of expression ยิ่งพรรคการเมืองซึ่งเคลมว่าเป็นตัวแทนของประชาชนทุกกลุ่ม ยิ่งไม่ควรดำเนินการใด ๆ เพื่อลิดรอน #เสรีภาพด้านการแสดงออก ของประชาชนแม้แต่กลุ่มเดียวเลย
กรณีคนกล่าวหาว่า #พรรคประชาชน เกี่ยวข้องกับการวางระเบิด หรือ #BRN ถ้าเป็นความเสียหายส่วนบุคคล อย่างกรณีนี้มีการใส่รูปของคุณช่อ ก็ควรให้เขาตัดสินใจเองว่าจะฟ้องหรือไม่ (ซึ่งถ้าเป็นการฟ้องหมิ่นประมาทส่วนบุคคล ผมไม่เห็นแย้ง มันเป็นสิทธิของเขา )แต่ไม่ใช่ว่าพอเขาไม่ฟ้อง #พรรคประชาชน ก็จะมาฟ้องเอง ผิดจารีตประเพณีทางการเมืองอย่างมาก




วิโรจน์ ลักขณาอดิศร อธิบายมุมมองของตน ต่อกรณีที่พรรคประชาชนมีความจำเป็นที่ต้องฟ้องหมิ่นประมาทผู้ที่กล่าวหาพรรคด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หาว่าเป็นพรรคบีอาร์เอ็น



Wiroj Lakkhanaadisorn - วิโรจน์ ลักขณาอดิศร

ผมขออนุญาตอธิบายมุมมองของผม ต่อกรณีที่พรรคประชาชนมีความจำเป็นที่ต้องฟ้องหมิ่นประมาทผู้ที่กล่าวหาพรรคด้วยข้อความอันเป็นเท็จ ในทางที่สื่อว่า พรรคมีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย เพื่อทุกท่านจะได้สบายใจว่า การฟ้องในครั้งนี้ไม่ใช่การฟ้องเพื่อปิดปาก (SLAPP: Strategic lawsuit against public participation) และขอยืนยันว่าพรรคประชาชน ยังคงเคารพในเสรีภาพของการแสดงออก (Freedom of Expression) และเปิดกว้างยอมรับการวิพากษ์วิจารณ์ จากทั้งคนที่เห็นตรง และเห็นต่าง อยู่เสมอ
.
ผมคิดว่าเหตุผลความจำเป็นที่ต้องฟ้องในครั้งนี้ มีประเด็นสำคัญอยู่ 3 ประเด็น คือ
.
1. การกล่าวหาในลักษณะที่สื่อว่าพรรคประชาชน มีส่วนเกี่ยวพันกับการก่อการร้าย นั้นเป็นการเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จ และมีความเป็นไปได้ว่าผู้ที่เผยแพร่ มีเจตนาที่จะเผยแพร่ทั้งๆ ที่รู้อยู่แล้วว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นเท็จ รู้อยู่แก่ใจว่าไม่ใช่การวิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริต หรือมีความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงต่อความจริง ทั้งๆ ที่อยู่ในวิสัยที่สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ แต่ก็ไม่กระทำ หลักฐานอ้างอิงที่นำมาเชื่อมโยงเพื่อกล่าวหา ก็ปราศจากน้ำหนักที่มีนัยสำคัญ เป็นการเชื่อมโยงเอาเองตามอคติ
.
ซึ่งถือเป็น “ความมุ่งร้ายโดยเจตนา” (Actual Malice)
.
ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา Barry Goldwater อดีตวุฒิสมาชิก ก็เคยฟ้องร้องคดีหมิ่นประมาทต่อ Fact Magazine และผู้จัดพิมพ์ Ralph Ginzburg หลังจากที่นิตยสารดังกล่าวเผยแพร่บทความในปี 1964 ซึ่งอ้างว่า Goldwater มีปัญหาทางจิต และไม่เหมาะสมสำหรับตำแหน่งประธานาธิบดี บทความนี้ได้รับความคิดเห็นจากจิตแพทย์ที่ไม่ได้ตรวจสุขภาพจิตของ Goldwater โดยตรง ซึ่งนำไปสู่การถกเถียงครั้งใหญ่ในวงการสื่อ และจิตเวชศาสตร์
.
ในที่สุด ศาลได้พิจารณาว่ากรณีนี้เป็น ความมุ่งร้ายโดยเจตนา (Actual Malice) และพิพากษาให้ Goldwater ชนะคดี โดยได้รับค่าชดเชย $1 และค่าเสียหายเชิงลงโทษ (Punitive Damages) อีก $75,000
.
(ต่อ)

2. การเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จในครั้งนี้ ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อพรรคประชาชนโดยลำพัง แต่ส่งผลกระทบในเชิงลบต่อสาธารณะอย่างร้ายแรง ความเคียดแค้นชิงชังที่เกิดขึ้น จากข้อความเท็จที่ใส่ร้ายว่าพรรคประชาชนเกี่ยวพันกับการก่อการร้าย นั้นส่งผลกระทบต่อความปรองดองของประชาชน และอาจก่อให้เกิดความแตกแยก และความรุนแรงระหว่างประชาชนด้วยกันเอง การฟ้องร้องในครั้งนี้ พรรคประชาชนจึงไม่ได้ดำเนินการด้วยความโกรธ หรือต้องการที่จะตอบโต้ แต่มีเจตนาที่ต้องการจะปกป้องสาธารณะ จากผลกระทบของการเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จในครั้งนี้
.
ผมเชื่อว่า หากเป็นการด่าทอต่อว่าในทางที่ทำให้พรรคเสียหาย โดยที่ไม่มีผลกระทบต่อสาธารณะ ต่อให้เป็นการด่าทอด้วยถ้อยคำผรุสวาท ผมก็เชื่อว่าพรรคประชาชนจะไม่มีทางฟ้องอย่างแน่นอนครับ
.
3. การฟ้องของพรรคประชาชนในครั้งนี้ ไม่ได้เป็นการดำเนินคดีอาญา ไม่ได้ต้องการให้ผู้เผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จต้องถูกจำคุก หรือต้องรับโทษทางอาญา แต่เป็นการฟ้องร้องในทางแพ่ง เพื่อให้ผู้กระทำได้พิสูจน์ข้อเท็จจริงในสิ่งที่ตนกล่าวอ้าง และในกรณีที่ผู้เผยแพร่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ ผู้ที่เผยแพร่ก็ควรต้องรับผิดชอบต่อสาธารณะตามสมควร โดยที่พรรคไม่ได้หวังที่จะเรียกร้องค่าเสียหายเป็นเงินทองมหาศาลจากผู้ที่กระทำ แต่อย่างใด
.
ผมคิดว่า หากผู้ที่เผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จ ยอมรับผิด และขอโทษต่อสาธารณะ พร้อมกับให้คำมั่นว่าจะไม่กระทำการในลักษณะนี้อีก ผมก็เชื่อว่าพรรคประชาชน ก็พร้อมที่จะพิจารณายุติการฟ้อง หรือถอนฟ้อง การขอโทษ ก็เพียงขอโทษต่อสาธารณะก็พอครับ ไม่จำเป็นต้องขอโทษพรรคประชาชนก็ได้ พอขอโทษต่อสาธารณะเสร็จ จะกลับมาด่าพรรคประชาชนต่อเลยก็ได้ครับ จะไม่ชอบ หรือจะเกลียดพรรคประชาชนอย่างไร พวกเราพร้อมที่จะเคารพเสรีภาพในการพูด (Freedom of Speech) ของประชาชนทุกคนอยู่แล้วครับ
.
หวังว่าทรรศนะของผมต่อการฟ้องของพรรคประชาชน จะทำให้ทุกคนเข้าใจถึงความจำเป็นในการปกป้องสาธารณะ และมีความสบายใจมากขึ้นนะครับ
.
ขอบคุณครับผม
(^/!\^)
.....



‘ปกรณ์วุฒิ’ แจงปมจ่อฟ้องคนกล่าวหาเป็นพรรคบีอาร์เอ็น บอกเลยเถิดเกินไป แต่จะอยู่ในหลักการที่ยึดถือ

เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ที่รัฐสภา นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรคประชาชน (ปชน.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี น.ส.พรรณิการ์ วานิช โฆษกคณะก้าวหน้า ระบุว่าพรรค ปชน.จะฟ้องบุคคลที่ออกมากล่าวหาว่าพรรค ปชน.เป็นแนวร่วมของขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี หรือบีอาร์เอ็น ในส่วนนี้รายละเอียดเป็นอย่างไรว่า คงพูดได้แค่รายละเอียดภาพกว้าง เพราะคนที่ดูเรื่องนี้คือ นพ.วาโย อัศวรุ่งเรือง ส.ส.บัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรค ปชน. ที่ดูฝ่ายกฎหมาย แต่พรรค ปชน.ยังมีหลักการเช่นเดิมคือเราไม่เห็นด้วยกับการฟ้องปิดปาก แต่เราก็พิสูจน์ด้วยการเตรียมยื่นร่างกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการ SLAPP (Strategic Lawsuit Against Public Participation)

นายปกรณ์วุฒิกล่าวว่า ยืนยันว่าการป้องกันการ SLAPP นั้น เราไม่ได้เอาคำว่า “หมิ่นประมาท” ออกจากสารระบบกฎหมายไทย เราไม่ได้บอกว่าใครจะพูดอะไรก็ได้ เพียงแค่ฐานของความผิดจะต้องได้สัดส่วนกับการทำความผิดนั้น รวมถึงยืนยันว่าการดำเนินการทางกฎหมายของพรรค ปชน.ไม่ว่าเรื่องใดก็ตามจะอยู่ในหลักการที่พรรคยึดถือแน่นอน

“เรื่องนี้พรรคประเมินแล้วว่ามันเลยเถิดจากการวิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริตไปแล้ว และมีการทำกันอย่างเป็นระบบ ฉะนั้น เราจึงตัดสินใจว่าจำเป็นที่จะต้องใช้สิทธิในการดำเนินคดี โดยเหตุผลที่ตัดสินใจฟ้องในกรณีนี้คือ เรื่องความรู้สึกของคนที่ได้เห็นและรับชมคลิปดังกล่าว ทุกคนรู้อยู่แล้วว่านี่ไม่ใช่การวิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริต นี่คือการกล่าวหาว่าเราอยู่เบื้องหลังกลุ่มบางกลุ่มที่ก่อความไม่สงบ ซึ่งถือว่าเลยเถิดไปมาก จึงคิดว่าไม่ควรปล่อยให้กระบวนการที่ทำกันเป็นระบบ ซึ่งพยายามทำให้ประชาชนเข้าใจแบบนี้ต่อไปได้อีกแล้ว” นายปกรณ์วุฒิระบุ

ที่มา มติชนออนไลน์
(https://www.matichon.co.th/politics/news_4871379)


ความหดหู่หของ รอมฎอน ปันจอร์ กับเรื่องเล่าของ #พี่พิศาล หนึ่งในเรื่องที่น่าตกใจและหดหู่ใจก็คือ - ในความเข้าใจของแก -- การตายของคน 78 คนบนรถบรรทุกทหารเหล่านั้นไม่ต่างกับ #การเหยียบกันตาย ในระหว่างการทำพิธีแสวงบุญที่นครมักกะห์!!


Romadon Panjor
6 hours ago
·
มติชนสุดสัปดาห์ เก็บความบทสนทนาของผมในรายการพี่ถึก Atukkit Sawangsuk ก่อนหน้า #คดีตากใบ ขาดอายุความราวสัปดาห์นึง จริง ๆ ผมมีความทรงจำเกี่ยวกับเรื่องเล่าของ #พี่พิศาล หลายเรื่องที่ยังไม่ได้พูดในตอนนั้น หนึ่งในเรื่องที่น่าตกใจและหดหู่ใจก็คือ --- ในความเข้าใจของแก --- การตายของคน 78 คนบนรถบรรทุกทหารเหล่านั้นไม่ต่างกับ #การเหยียบกันตาย ในระหว่างการทำพิธีแสวงบุญที่นครมักกะห์!!
ใช่แล้วครับ แกไม่ได้ตระหนักเลยว่าการเสียชีวิตของ #ประชาชน ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่นั้นถือเป็นความรับผิดชอบของ #ผู้บังคับบัญชา อย่างแก ซ้ำร้าย แกยังไม่รู้สึกเลยว่าการเปรียบเปรยเช่นนั้นมันส่งผลด้านกลับอย่างไรกับ #ผู้ฟัง
ถ้าคนที่นั่งฟังเป็นเจ้าหน้าที่ เรื่องนี้คงเล่าต่อ ๆ กันแล้วรู้สึกว่าเป็นเรื่อง #ปกติ แต่หากผู้ฟังเป็น #มุสลิม หรือแม้แต่ปุถุชนที่รักความเป็นธรรมทั่วไป เรื่องเล่าแบบนี้ทำงานอีกแบบครับ ความปกติของมันนั้นบาดลึกและสะท้อนอคติเหมารวมขั้นสุดจริง ๆ
อย่างที่ผมเล่าในรายการ เรื่องเล่าของแกจำนวนมาก #สวนทาง กับความจริงในมุมของผู้ถูกกระทำ!
อันที่จริงแล้ว ถ้าแกมั่นใจใน #ข้อเท็จจริง และการตีความเหตุการณ์ในทำนองนี้ ก็น่าจะเข้ามอบตัวและเบิกตัวต่อศาล แต่เมื่อแกไม่ปรากฎตัวและปล่อยให้อายุความของคดีขาดไป นอกจากเรื่องเล่าของแกจะไม่สามารถพิสูจน์ได้อีกต่อไปแล้ว ยังเป็น #การกระทำ ต่อเหยื่อซ้ำแล้วซ้ำอีกไม่รู้จบครับ
เห็นได้ชัดว่ายังคงมีความจำเป็นที่จะต้อง #ชำระสะสาง และเปิดเผย #ความจริง ในกรณี #สังหารหมู่ตากใบ ต่อไป แม้ว่าอายุความจะสิ้นสุดลง ภารกิจนี้ไม่ได้เกี่ยวว่าจะต้องทำในขณะที่มีใครเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นงานระยะยาวและยากเย็นที่จะต้องทำต่อไป
เรื่องตากใบยังไม่จบหรอกครับ
......

อ่านที่มติชนบันทึกไว้