วันอาทิตย์, กรกฎาคม 07, 2567

ไอหยา ! BIOTHAI เปิดอีกเคส #ปลาเก๋าหยก #เอเลี่ยนสปีซีส์ มีชื่อซีพี โผล่ขึ้นมาอีก

BIOTHAI

กรณีปลาเก๋าหยก CPF ทำผิดเงื่อนไขการวิจัย โดยเฉพาะการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ปลาเก๋าหยก (Jade Perch) หรือปลาเอเลี่ยนสปีชีส์ มาขายในงานเกษตรแฟร์ ทั้งๆที่อยู่ในระหว่างการวิจัย โดยปลาดังกล่าวถูกจัดอยู่ในกลุ่มสัตว์ที่มีชนิดพันธุ์ต่างถิ่น หรือ เอเลี่ยนสปีชีส์ เลี้ยงอยู่ในระบบปิด ที่สำคัญยังไม่มีการอนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงการค้า โดยกรมประมงเป็นผู้ออกประกาศคุมปลาเอเลี่ยนสปีชีส์ 13 ชนิดไม่ให้เพาะเลี้ยง ซึ่งจำนวนนี้มีปลาเก๋าหยกรวมอยู่ด้วย
(https://www.thaipbs.or.th/news/content/324316)
...

BIOTHAI

"นายปลอดประสพยังระบุว่า อธิบดีกรมประมงใจดีมาก แค่เตือนและกำหนด dateline 3 วัน ถ้าโชคร้ายเจออธิบดีปลอดประสพเข้าไป จะเป็นปัญหามากกว่านี้แน่นอน จึงขอถือโอกาสนี้ ส่งสาสน์ไปยัง … ว่า ท่านเป็นบริษัทใหญ่ มีชื่อเสียง มีมาตรฐานเป็นที่เชื่อถือไปทั่วโลก ท่านไม่ปฎิบัติตามหรือลืมข้อกฎหมายไปดื้อๆแบบนี้ไม่ถูกต้องและเหมาะสม สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ศักดิ์ศรีและสัจจะของการทำธุรกิจ โดยเฉพาะในประเด็นการรักษาทำนุบำรุงสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยของพวกเราทุกคน การหาปลาใหม่ๆมาเลี้ยงไม่ผิดหรอก แต่ต้องทำด้วยความรอบคอบและมีความรับผิดชอบ"
...

BIOTHAI

การเปิดตัวสินค้าสัตว์น้ำ ปลาหยก (Jade Perch) ของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ โดยชูความเป็นอาหาร "พรีเมียม" ที่บริษัทบอกว่ามีโภชนาการสูงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้นักสิ่งแวดล้อมตั้งคำถามว่า สัตว์น้ำต่างถิ่นที่อยู่ในบัญชีห้ามเพาะเลี้ยงหรือเอเลียนสปีชีส์ 13 ชนิด กลายมาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของยักษ์ใหญ่ธุรกิจอาหาร
จากข่าวประชาสัมพันธ์ของซีพีเอฟที่เผยแพร่ในหลายสื่อ ระบุว่า ปลาหยก เป็นปลาที่ซีพีเอฟนำร่องนำเข้าไข่ปลาจากประเทศออสเตรเลีย มาเพาะเลี้ยงที่ ต. ยี่สาร อ. อัมพวา จ. สมุทรสงคราม ภายในโรงเรือนระบบปิด พร้อมระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ
ปัจจุบันส่งเป็นวัตถุดิบให้กับภัตตาคารและร้านอาหารชั้นนำกว่า 20 แห่ง ทั้งในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
อย่างไรก็ตาม ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามเพาะเลี้ยงในราชอาณาจักร พ.ศ. 2564 ปรากฏรายการชื่อ ปลาเก๋าหยก (Jade Perch) ในบัญชีท้ายประกาศ 1 ใน 13 ชนิด
กรมประมงชี้แจงในวันนี้ (3 ก.พ.) ว่า ซีพีเอฟขออนุญาตนำเข้าและนำมาศึกษาวิจัยจริง ซึ่งตามประกาศฯ สามารถทำการเพาะเลี้ยงได้แต่ต้องได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีกรมประมง แต่ซีพีเอฟทำการประชาสัมพันธ์ทำการตลาดเชิงพาณิชย์นอกจากเหนือจากที่ขออนุญาต
https://www.bbc.com/thai/articles/c0v91r518r8o
...

บัญชีสัตว์น้ำห้ามเพาะเลี้ยง บอกไว้ว่าอย่างไร

ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามเพาะเลี้ยงในราชอาณาจักร พ.ศ. 2564 โดยกรมประมง ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 16 ส.ค. 2564 เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองพันธุ์สัตว์น้ำพื้นถิ่นหายาก หรือป้องกันอันตรายมิให้เกิดแก่สัตว์น้ำและระบบนิเวศ มีบัญชีแนบท้ายของปลาและสัตว์น้ำรวม 13 ชนิด ได้แก่

ปลาหมอสีคางดำ, ปลาหมอมายัน, ปลาหมอบัตเตอร์, ปลาทุกชนิดในสกุล Cichla และปลาลูกผสม, ปลาเทราท์สายรุ้ง, ปลาเทราท์สีน้ำตาล, ปลากะพงปากกว้าง, ปลาโกไลแอทไทเกอร์ฟิช, ปลาเก๋าหยก, ปลาที่มีการดัดแปลงหรือตัดแต่งพันธุกรรม GMO LMO ทุกชนิด, ปูขนจีน, หอยมุกน้ำจืด และหมึกสายวงน้ำเงินทุกชนิดในสกุล Hapalochlaena

ประกาศฉบับดังกล่าว กำหนดเงื่อนไขด้วยว่า กรณีที่เกษตรกรที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกลุ่มเหล่านี้ ต้องดำเนินการขอใบอนุญาตตามประกาศกรมประมงภายใน 30 วันหลังจากประกาศฯ มีผลบังคับใช้

กรณีส่วนราชการ สถาบันการศึกษา หรือกรณีจำเป็นอื่นใดที่ต้องการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั้ง 13 ชนิดไว้ เพื่อศึกษาวิจัยและประโยชน์ทางราชการให้แจ้งขออนุญาตกรมประมงก่อน

ห้ามผู้ใดปล่อยสัตว์น้ำทั้ง 13 ชนิด ลงในแหล่งน้ำธรรมชาติโดยเด็ดขาด เนื่องจากมีความผิดตามมาตรา 144 แห่ง พรก.การประมง 2558 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

หากใครจับได้ตามแหล่งน้ำตามธรรมชาติ หรือหลุดเข้าไปในบ่อหรือแหล่งเพาะเลี้ยงของเกษตรกรโดยไม่เจตจา สามารถนำไปบริโภคหรือจำหน่ายได้ แต่ต้องทำให้ปลาตายเสียก่อน

อ่านต่อ...

ซีพี : ปลาหยก สัตว์น้ำห้ามเพาะเลี้ยงในไทย ที่ยักษ์ใหญ่ธุรกิจอาหารชูเป็น “สัตว์น้ำเศรษฐกิจชนิดใหม่”