วันพุธ, สิงหาคม 31, 2565

จดหมายแหวกมาตรฐานบุคคลิกไทยๆ ผอ.รร.บอกผู้ปกครอง อย่ากังวลมากเกินไป เด็กตอบข้อสอบไม่ได้

เป็นจดหมายทางการที่ใครต่อใครชื่นชม รวมทั้งอดีต ส.ส.คนดังของพรรคก้าวฯ สื่อบางแห่งเอาไปทำข่าว เพราะแหวกมาตรฐานการศึกษา ในยุคที่เรื่องบุลลี่ เรื่องตอแหล เป็น ปกติใหม่แม้นว่ามันหมิ่นเหม่ ‘plagiarism’ ฉกชิงภูมิปัญญา

จดหมายถึงผู้ปกครองของโรงเรียนสิริรัตนาธร เขตบางนา กทม. เกี่ยวกับการสอบภาคปลาย ประจำปีการศึกษา ๖๕ ขออย่าได้วิตกกังวลกันมาก เพราะเด็กจะตอบข้อสอบได้ไม่ได้เพียงไร “มันแค่การสอบ มันยังมีอะไรอีกมากในชีวิต”

ถ้าลูกทำข้อสอบไม่ได้ “โปรดอย่าทำลายความเชื่อมั่นและความนับถือตัวเอง” ของพวกเขาไปเสีย บอกลูก “ไม่ว่าคะแนนสอบออกมาแบบไหน คุณก็รักเขาและจะไม่ตัดสินเขา” เมื่อทำดังโรงเรียนแนะนำแล้ว ต่อไปให้ “เฝ้าดูลูกของคุณ เพื่อพิชิตความฝันเขา...

การสอบเพียงครั้งเดียว หรือคะแนนสอบที่ไม่ดี จะไม่สามารถช่วงชิงความฝันและพรสวรรค์ของเขาไป” ยกตัวอย่าง “ในกลุ่มนักเรียนที่นั่งสอบอยู่นี้” อาจมีนักธุรกิจที่ไม่สนใจเรื่องประวัติศาสตร์ นักคอมพิวเตอร์ที่ไม่สนใจวิชาเคมี มีศิลปินที่ไม่จำเป็นต้องคล่องคณิตศาสตร์

หากแต่เนื้อความของจดหมายนี้แพร่หลายไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว เป็นธรรมดาย่อมมีผู้ที่สะดุดความรู้สึกกับถ้อยคำ “แวบแรกก็แอบสงสัยว่า ทำไมสำนวนดูแปร่งๆ ยังไงชอบกล” Teeranai Charuvastra เขียนข้อติดใจของเขาบนเฟชบุ๊ค

หลายคนคล้อยตามว่าเคยเห็นจดหมายแบบนี้ทางโซเชียลมีเดีย จนพ้องกันว่าเป็น ฟอร์เวิร์ดเมล เรื่องจดหมายของโรงเรียนในสิงคโปร์แห่งหนึ่ง แต่ก็ไม่เคยมีหลักฐานปรากฏว่าเป็นของโรงเรียนอะไร มีแต่ข้อความที่ส่งต่อกันทั้งในภาษาอังกฤษและที่แปลไทย

“เท่าที่ผมหาดู เคยมีโรงเรียนอินเตอร์ในอินเดียแห่งหนึ่งชื่อ Heritage School โพสต์ข้อความดังกล่าวในเฟชบุ๊คไว้ตั้งแต่ปี (ค.ศ.) 2016Teeranai ให้ลิ้งค์ ต้นขั้วจดหมายที่ส่งต่อกันไว้ด้วย ที่นี่ แต่ก็ยังไม่ทันเป็นประเด็น ลอกเลียนงานวิชาการ

สายันห์ ต่ายหลี ผู้อำนวยการโรงเรียน ซึ่งเป็นต้นตอจดหมาย ยอมรับกับ ไทยพีบีเอส แล้วว่า “โดยข้อความนี้เป็นข้อความที่แปลมาจากข้อความที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในสิงคโปร์ส่งหาผู้ปกครอง รู้สึกประทับใจจึงนำมาสื่อสารกับผู้ปกครอง”

นั่นคือความ ซื่อตรงอันเป็นคุณธรรมอย่างหนึ่ง ทำให้เกิด ‘การอยู่ร่วมกันโดยสันติ อันเป็นหลักการในทางประชาธิปไตยอย่างหนึ่ง ซึ่งหลอมรวมคนในสังคม ที่มีทั้งแตกต่างและหลากหลาย นำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าของประเทศได้ดีกว่า วินัยคร่ำครึ

Honesty ช่างเป็นคำที่ว้าเหว่เสียเหลือเกิน” เนื้อเพลงท่อนฮุกของ บิลลี่ โจล ว่าไว้กินใจ เนื่องเพราะ “ทุกๆ คนมีแต่ความไม่จริง ความซื่อตรง คำนี้ยากนักที่จะได้ยินกัน” มันจำเป็นต้องมีในการปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกันของคนในสังคม

มันไม่เคยมีอยู่อย่างมุ่งมั่นในกระบวนการเมืองไทยๆ เพราะใครก็ตามที่เข้าไปคลุกคลีในแวดวงนี้ มักจะยึดคำคมวลีหนึ่งเป็นข้อเตือนใจ มากเสียจนกลายเป็นสูตรสำเร็จ แนวนำทาง ว่า “ไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวร” ซึ่งอาจเป็นผลดีแก่ความสัมพันธ์ส่วนตัว

แต่มักเป็นผลร้ายเสมอแก่มวลชน ผู้อยู่ในฐานะถูกปกครอง เมื่อใดพวกหัวกระทิ ลงคอ กันได้ ก็จะแบ่งกันกิน ครั้นเกิด ขัดคอกันเมื่อไร หญ้าแพรกตรงกลาง รังแต่จะราพณาสูร

(https://www.youtube.com/watch?v=ouSoL_vet3I, https://news.thaipbs.or.th/content/318939, https://www.facebook.com/teeranai.charuvastra/posts/pfbid02Yws และ https://www.facebook.com/TheHeritageSchoolKolkata/posts/pfbid031nYZ) 

ศรินทิพย์ ศิริวรรณ อยู่ตรงไหนในวันผู้สูญหายสากล เธอถูกอุ้มหายรุ่นแรกๆ ของเมืองไทย


Thanapol Eawsakul
19h
ศรินทิพย์ ศิริวรรณ อยู่ตรงไหนในวันผู้สูญหายสากล (International Day of the Disappeared
..............
น่าสนใจวันนี้ สถาบันปรีดี พนมยงค์ Pridi Banomyong Institute ได้ลงเรื่องราวของ
30 สิงหาคม
วันผู้สูญหายสากล
(International Day of the Disappeared)
https://www.facebook.com/.../a.418735621.../5457408944308019
ในตอนหนึ่ง เนื้อหาในได้ระบุว่า
"วันผู้สูญหายสากล" (International Day of the Disappeared) เพื่อรำลึกถึงบุคคลที่สูญหาย ซึ่งตกเป็น "เหยื่อ" จากการละเมิดหลักสิทธิมนุษยชน ภาวะสงคราม การปราบปรามจากรัฐ หรือ การก่อการร้าย
.
"การบังคับสูญหาย" หรือ "การอุ้มหาย" (Enforced Disappearance) ถือเป็นอาชญากรรมที่ร้ายแรงที่สุดต่อมนุษยชาติ เป็นการละเมิดหลักสิทธิและเสรีภาพ อันเป็นสิทธิพื้นฐานของมนุษย์ที่มีติดตัวมาแต่กำเนิด ผ่านวิธีการที่โหดร้ายและลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนคนหนึ่งอย่างถึงที่สุด อาทิ การทำร้ายร่างกาย การซ้อมทรมาน การสังหาร การอำพรางร่องรอย และท้ายที่สุดคือการลบเลือนอัตลักษณ์และตัวตนของบุคคลนั้นๆ
.
ในบรรทัดประวัติศาสตร์ไทย การถูกบังคับให้สูญหายมีเป้าหมายเพื่อข่มขวัญ และสั่นสะเทือนความรู้สึกของคนในสังคม ดังที่ได้เคยปรากฏ ส่วนใหญ่ของบุคคลผู้ที่ถูกทำให้สูญหายจะมีแนวคิดทางการเมืองสวนทางกับรัฐในขณะนั้น อาทิ หะยีสุหลง เตียง ศิริขันธ์ ชาญ-เล็ก บุนนาค เป็นต้น
...................
ผมคิดว่ามีกรณีหนึ่งที่ปัจจุบันเราไม่รู้ว่าจะจัดอยู่ในประเภทไหนคือ กรณี
ศรินทิพย์ ศิริวรรณ นักแสดงหญิงอาวุโส
ในที่วันเกิดเหตุคือ
วันที่ 2 ธันวาคม 2530 เวลาประมาณ 20.00 น. ศิรินทิพย์ โดยสารรถแท็กซี่ไปยังห้างเดอะมอลล์ รามคำแหง โดยกล่าวกับคนที่บ้านว่า ไปพบใครบางคนที่ชื่อ "จำนงค์" เพื่อคุยเรื่องค่าตัวจากการถ่ายแบบปฏิทินวันปีใหม่ นั่นคือครั้งสุดท้ายที่มีผู้พบเห็น
ข้อสันนิษฐานที่บ่งบอกว่าศิรินทิพย์อาจถูกลักพาตัวไป ได้แก่ มีพยานเห็นว่าศรินทิพย์มายืนรอที่บริเวณหน้าเดอะมอลล์รามคำแหง เวลาไม่แน่ชัด จากนั้นได้มีชายขับรถโตโยต้า ไม่ทราบทะเบียนอุ้มขึ้นรถไป
การหายตัวไปของเธอทำให้ชาลี อินทรวิจิตร สามี แต่งเพลง "เมื่อเธอจากฉันไป" ขับร้องโดย พรพิมล ธรรมสาร โดยใช้ทำนองของเพลง "ออบรี" ของเดวิด เกตต์ รวมถึงเพลงเทวดาเดินดิน ก็ได้ชาลี อินทรวิจิตร เป็นผู้แต่ง โดยพูดถึงเนื้อหาการสาบสูญของศรินทิพย์
https://th.wikipedia.org/.../%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B4...
ผมไม่แน่ใจว่าเราจะจัดกรณีศรินทิพย์ ศิริวรรณ อยู่ในการสูญหายประเภทไหน
เป็นเรื่องของความขัดแย้งกันธรรมดาที่เราเห็นกันโดยทั่วไป ประเภท หนี้สิ้น หรือชู้สาว
หรือ "มีเป้าหมายเพื่อข่มขวัญ และสั่นสะเทือนความรู้สึกของคนในสังคม"
ดังที่มีการนิยามไว้ข้างต้นดี
.....

Somsak Jeamteerasakul
October 28, 2015
หลายวันนี้ อดไม่ได้นึกถึงกรณีนี้ขึ้นมา

คุณศรินทิพย์ ศิริวรรณ "หายตัว" ไปอย่างลึกลับในปี ๒๕๓๐ ตอนนั้นผมเรียนอยู่เมืองนอก กลับเมืองไทยหลังจากนั้นไม่กี่ปี เพื่อนฝูงคนรู้จักก็เล่าให้ฟัง - ว่ากันว่า "เสี่ยทำ" ("เสี่ย" ไหน?)

ผมก็เพิ่งรู้จากการเสิร์ชไม่กี่วันนี้ว่า คุณศรินทิพย์ "หายตัว" ระหว่างที่ยังถ่ายหนังเรื่องหนึ่งค้างอยู่ (ดูที่นี่ https://goo.gl/z6jmbW ) ซึ่งเป็นอะไรที่เป็นไปไม่ได้เลย สำหรับดาราอาชีพที่อยู่ในวงการมานานแบบเธอ ที่จะจู่ๆก็ "หายตัว" โดยไม่บอกเล่าเก้าสิบแบบนั้น

แสดงว่าคนกำจัดเธอนี่ "อุกอาจ" มั่นใจใน "เส้นสาย" ของตัวเองมากนะ ไม่ต้องรอโอกาสทำแบบเนียนๆ เช่นรอให้เธอไม่ได้กำลังมีงานอะไรค้างอยู่ ค่อยทำให้ "หายตัว" ไป อาจจะมีข้อสงสัยกันไปได้เยอะ แต่ทำแบบนี้ ไม่มีทางคิดอย่างอื่น นอกจากว่า คงถูก "เก็บ"

ความแตกต่างกับสมัยนี้คือ สมัยนี้ ถ้าเจ้าต้องการกำจัดใคร ก็ใช้ให้ทหารตำรวจทำโต้งๆ "ภายใต้กฎหมาย" เลย แม้แต่ถึงขั้นเอาตาย ก็ทำ "ภายใต้กฎหมาย" ได้ ("ผูกคอตายในที่คุมขัง ชันสูตรแล้วตามระเบียบ ญาติไม่ติดใจ เรื่องจบ")
.....

ยำข่าวยามบ่าย ตอน การอุ้มศรินทิพย์ และปวินกับฝ่ามืออากง!

Jul 12, 2020

เรื่องเล่าข่าว การเมืองออนไลน์

ยำข่าวยามบ่าย ตอน การอุ้มศรินทิพย์ และปวินกับฝ่ามืออากง 
- กรณีการอุ้มหายดาราดัง เมื่อสามสิบกว่าปีก่อน เพราะเธอรู้มากเกินไป 
- กรณี ชายชรา กับ SMS ที่นำมาซึ่งข้อหาและความตายในเรือนจำ 
- กรณี ปวิน จุดประกาย แคมเปญ "ฝ่ามืออากง"

สภาทนายความ กองควบคุมโรคติดต่อ น่าจะออกความเห็นเรื่องนี้หน่อย ทนายความจำเลยติดโควิดเดินทางไปศาลไม่ได้ ศาลให้เลื่อนแค่วันเดียว - ศาลไม่ห่วงคนอื่นติดโควิดจากทนายคนนี้เหรอ ?


อานนท์ นำภา
17h
คดีการเมืองคดีนี้ วันนี้นัดสืบพยานโจทก์ ทนายความจำเลยติดโควิดเดินทางไปศาลไม่ได้ ศาลให้เลื่อนแค่วันนี้ พรุ่งนี้ให้มาศาลโดยจะแยกห้องให้สืบพยาน
แบบนี้คือยังไง จะให้ทนายที่ติดโควิดไปแพร่เชื้อหรือ ? ถ้ามีคนติดโควิดจากการเดินทางไปศาลอาญา ใครจะรับผิดชอบ ?



อานนท์ นำภา
7h
เมาแล้ว ขออนุญาตพูดอะไรตรงๆ หน่อย
ผมว่าการที่ผู้บริหารศาลสั่งไม่อนุญาตให้ทนายความที่ป่วยโควิดเลื่อนคดี แต่ให้ทนายที่ป่วยโควิดไปศาลโดยอ้างว่าจะจัดห้องต่างหากให้นี่ขัดหลักมนุษยธรรมนะ
ทุกท่านลองตั้งสติ และคิดตามผมให้ดีๆ ผมว่าศาลจะลุแก่อำนาจโดยสั่งอะไรที่ไม่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไม่ได้ คือไม่ใช่ว่าคิดจะใช้อำนาจอะไรก็ทำไม่ได้
คนป่วยโควิด มันเป็นโรคติดต่อ มันแพร่เชื้อได้ ไม่ใช่ทนายทุกคนจะมีรถส่วนตัว การไปศาลมันไปเจอคนมากมาย นอกจากประชาชนที่ไปศาล ยังมีเจ้าหน้าที่ศาล ซึ่งเขาอาจเกรงกลัวอำนาจศาลไม่กล้าอิดเอือน
แต่การที่คนป่วยโควิดไปศาล ใช้พื้นที่ศาล ใช้ลิฟศาล ใช้ห้องน้ำศาล แบบนี้มันเสี่ยงกับการแพร่เชื้อแน่ๆ
สภาทนายความเองก็ควรออกโรงรักษาเกียรติของวิชาชีพด้วย ไม่ใช่ศาลสั่งอะไรก็ทำตามหมด ไม่หือไม่อือ
กรณีนี้ผมว่าผู้บริหารศาลทำไม่ถูก ก็ต้องพูด และวิจารณ์กันตรงๆ

คำพูดเหล่านี้ ผิดตรงไหนเอาปากกามาวง "ด้วยข้าว ด้วยแกงอ่อม ขอหมูกระทะ" "ทรงพระเจริญ ทรงพระเจริญ ทรงพระเจริญ"


อานนท์ นำภา is at ศาลจังหวัดธัญบุรี.
12h
วันนี้โดนฟ้อง 116 อีกคดี จากเหตุการณ์ชุมนุม 10 สิงหา 2563 ที่ลานพญานาค ธรรมศาสตร์ ได้ประกันตัวแล้ว ขอบคุณกองทุนประกันตัวราษฎรประสงค์ และขอบคุณพี่น้องทุกคนที่เป็นกำลังใจครับ

“บทกวีไม่สามารถหยุดกระสุนปืน นวนิยายไม่สามารถปลดชนวนระเบิด แต่เราก็ยังไม่สิ้นหวัง เราสามารถร้องเพลงบอกความจริงและเอ่ยชื่อบรรดาไอ้คนตอแหล” ซัลมาล รัชดี คงไม่รู้จักสื่อไทย...


โจ กอร์ดอน
August 6
“บทกวีไม่สามารถหยุดกระสุนปืน นวนิยายไม่สามารถปลดชนวนระเบิด แต่เราก็ยังไม่สิ้นหวัง เราสามารถร้องเพลงบอกความจริงและเอ่ยชื่อบรรดาไอ้คนตอแหล” ซัลมาล รัชดี

มือกฎหมาย “บิ๊กตู่” “พลตรี วีระ” ทีมกฏหมาย”ตึกไทยคู่ฟ้า” หัวหน้าทีมต่อสู้คดีประยุทธ์ 8 ปี โคตรจะ "ด้านxด้าน" เลย


Saiseema Phutikarn
10h
อันนี้มันโคตรจะ "ด้านxด้าน" เลย
- ด้าน 1 วีระเป็นหนึ่งในคนเขียน รธน.60 มหาเฮียนี้มาเอง พอประยุทธ์มีคดีตาม รธน.60 ต้องขึ้นศาล วีระกลับมาเป็นหัวหน้าทีมสู้คดีให้ประยุทธ์ซะงั้น
- ด้าน 2 คดีนี้เป็นเรื่องส่วนตัวของ"ประยุทธ์" ไม่ใช่เรื่องของตำแหน่งนายกฯ แต่ประยุทธ์กลับไปใช้วีระที่รับค่าตอบแทนจากเงินภาษีในฐานะ"ที่ปรึกษานายกฯ" มาทำงานให้ราวกับเป็นทนายส่วนตัว
https://www.facebook.com/Prachaya.Philosophy/posts/pfbid02VBLLyiQ5hnpwzxQnhH5WSaRYX3nitX5s4GhpPRA7Zyz3CQCmHGzeHJgsrydvqJANl
.....
Wassana Nanuam
13h
มือกฎหมาย “บิ๊กตู่”
“พลตรี วิระ” ทีมกฏหมาย”ตึกไทยคู่ฟ้า”
ยัน เร่งส่งคำชี้แจง
ให้ ศาล รธน.
ปมวาระนายกฯ 8 ปี
คาด ให้เร็วสุดในสัปดาห์นี้
เผยพิจารณาทุกข้อกฎหมายใน รธน.
เชื่อตุลาการทุกคน จะ พิจารณาอย่างรอบคอบ
แจง ในฐานะอดีต กมธ.ส่วนใหญ่
บันทึกการประชุมวันนั้น
ยังไม่ได้ข้อยุติ
ชี้ ความมุ่งหมายไม่ได้พูดถึงตรงนี้
ขึ้นอยู่กับการตีความของกฎหมาย ว่าเป็นอย่างไร
พล.ต.วิระ โรจนวาศ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย ในฐานะผู้รับผิดชอบจัดทำคำชี้แจงต่อ ศาลรัฐธรรมนูญ กรณีการดำรงตำแหน่ง 8ปี ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ว่า จะทำเรื่องชี้แจงไปยัง ศาลรัฐธรรมนูญตามเวลาที่กำหนด แต่หากเสร็จก่อนก็ดี จะได้เร็วขึ้น
ผู้สื่อข่าวถามว่าสัปดาห์นี้ทันหรือไม่ พล.ต.วิระ กล่าวว่า คาดว่าน่าจะเรียบร้อย แต่ขอดูอีกนิดหนึ่ง
เมื่อถามว่า จะไม่ทันกับการประชุมของศาล รธน.ที่จะมีการประชุมตามปกติ ในวันพรุ่งนี้ (31 สิงหาคม) หรือไม่ ว่า คงจะส่งเข้าไม่ทันการประชุมของศาล ในการประชุมรอบนี้ แม้ส่งวันนี้ ก็คงเข้าวาระของศาลฯ ไม่ทันอยู่ดี
ผู้สื่อข่าวถามว่า นายกฯห่วงหรือฝากอะไรหรือไม่ พล.ต.วิระ กล่าวว่า คงไม่ห่วง ท่านบอกว่าให้ดูไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด แค่นั้น ในช่องของกฎหมายมีหลักเกณฑ์อย่างไร ก็ว่าไปตามนั้น
เมื่อถามว่ารายละเอียดที่จะส่งให้ศาล มีช่องทางไหน พล.ต.วิระกล่าวว่า เราชี้แจงตามข้อกฎหมายแค่นั้นเอง ว่าอะไรควรจะเป็นตรงไหน เวลา อย่างไร ก็ขอให้ถูกต้องแค่นั้น
เมื่อย้ำถามว่าจะสามารถส่งได้ภายในสัปดาห์นี้หรือไม่ พล.ต.วิระ กล่าวว่า ตอบยังไม่ได้ แต่จะให้เร็ว และภายในเวลาที่ศาลให้ไว้ 15 วัน หากเร็วขึ้นก็จะดี จะทำให้ทุดอย่างเร็วขึ้น
เมื่อถามว่า นายกฯได้คาดการณ์ เวลาให้ส่งเร็วหรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดสุญญากาศนาน พล.ต.วิระ กล่าวว่า นายกฯไม่ต้องสั่งการ ซึ่งเราทราบถึงความจำเป็น และความรวดเร็วของเรื่องนี้ ซึ่งมีหลายส่วนที่ต้องการก็จะพยายามให้เร็วที่สุด อยู่ในกรอบเวลาที่ศาลกำหนดไว้ โดยครอบคลุมหลักเกณฑ์ ข้อกฎหมายที่ได้กำหนดไว้ เราพิจารณาทุกอย่าง
เมื่อถามว่า หากส่งไปภายใน 15 แล้ว ศาลยังรอความคิดเห็นอื่นๆอีกหรือไม่ พล.ต.วิระ กล่าวว่า อันนี้ไม่ทราบ เป็นเรื่องของศาล แต่ในส่วนของนายกฯอยู่ในกรอบ 15 วัน ซึ่งพยายามจะทำให้เร็ว
เมื่อถามว่ามีอะไรที่น่ากังวลหรื่อไม่ พล.ต.วิระ กล่าวว่า คงไม่มีอะไรมากกว่านั้น ผมได้ทำในสิ่งที่ต้องทำ
เมื่อถามว่า โดยส่วนตัวท่านมีความเห็นอย่างไร ในฐานะอดีตกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ( กรธ. ) พล.ต.วิระ กล่าวว่า ตอนนั้น ในนั้น คุยกัน ยังไม่ได้ข้อยุติ ตามหนังสือคำอธิบายตอนโน้น ดังนั้นตรงนี้ต้องรอ ในส่วนของ กมธ.ส่วนใหญ่ บันทึกการประชุมวันนั้นยังไม่ได้ข้อยุติ ความมุ่งหมายไม่ได้พูดถึงตรงนี้ ขึ้นอยู่กับการตีความของกฎหมาย ว่าเป็นอย่างไร อะไร
เมื่อถามว่ากังวลหรือไม่ที่ศาล รธน.ได้เชิญนายมีชัย ฤชุพันธ์ อดีตประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ มาให้ข้อมูล นายวิระ กล่าวว่า ไม่กังวล เพราะท่านเป็นคนที่มีความรู้ความสามารถ และเป็นคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว
ส่วนเรื่องข้อกฎหมายและการพิจารณาก็ว่ากันไปตามหลักเกณฑ์ และตามเนื้อความของกฎหมาย การตีความตัวอักษร และเจตนารมย์
เมื่อถามว่าในฐานะตัวจริงการร่างรัฐธรรมนูญมาช่วยในการสู้คดีเอง ประเมินว่าน่าจะผ่านได้ใช่หรือไม่ พล.ต.วิระ กล่าวว่า คงต้องแล้วแต่ดุลยพินิจของศาล เพราะทั้ง 7 ท่านก็เป็นนักกฎหมาย ทำเรื่องคดี เกี่ยวกับเรื่อง ศาล รธน.มาเยอะ
เมื่อถามเปิดเผยได้หรือไม่ ศาลได้ถามประเด็นใดบ้าง พล.ต.วิระ กล่าวว่า เป็นการตอบตามคำขอของผู้ร้อง ฉะนั้นผู้ที่ถูกร้องก็ต้องเขียนให้ครบทุกประเด็นตามที่ผู้ร้องได้ร้องมา แก้ไขให้ครบถ้วน แต่ดูข้อกฎหมายเป็นอย่างไร ศาลคงไม่สั่งอะไรเกินคำขอ
ฉะนั้นต้องตอบคำถามที่ถามมา เรามีข้อกฎหมายสนับสนุน หรือไม่สนับสนุนอะไรอย่างไร จะทำให้ดีที่สุด ศาลไม่ได้ถามแต่เป็นการส่งตัวคำร้องขอผู้ร้องมาเฉยๆและเราก็ต้องเป็นคนที่ต้องมาดูในหลายๆประเด็น ว่ามีกี่ประเด็น 3-4-5 ประเด็นก็ว่าไป และตีความตามตัวอักษร ของ รธน.ที่ถูกต้องควรจะเป็นอย่างไร และให้ศาล ใช้ดุลยพินิจพิจารณาอีกทีหนึ่ง ซึ่งศาลต้องรับ พิจารณาทั้งสองฝ่ายมาร่วมกัน และความเห็นควรจะเป็นอย่างไร ท่านมี 9 คนก็คงจะพิจารณารอบคอบ ซึ่งก็เป็นดุลยพินิจของศาล สิ่งที่จะส่งไปคือคำอธิบายของนายกฯ


วราวุธ ศิลปอาชา รมว. ทรัพยากรฯ บอกเอง รื้อบ้านและรีสอร์ทม้ง ม่อนแจ่ม เชียงใหม่ ที่ปรากฏภาพการสนธิกำลังเจ้าหน้าที่เมื่อวาน “ทำตามกรอบกฎหมาย” และ “โครงการหลวงขอให้ดำเนินการ”



Golffu
@lookgolffu
·15h
วราวุธ ศิลปอาชา รมว. ทรัพยากรฯ ออกปากแล้ว รื้อบ้านและรีสอร์ทม้ง ม่อนแจ่ม เชียงใหม่ ที่ปรากฏภาพการสนธิกำลังเจ้าหน้าที่เมื่อวาน “ทำตามกรอบกฎหมาย” และ “โครงการหลวงขอให้ดำเนินการ” ย้ำให้เข้าใจเจ้าหน้าที่จะโดนมอง “ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่” https://news.thaipbs.or.th/content/318912?fbclid=IwAR16HohlKw1-97SvVI8aqeHmUcyy_LFu7Bi624mxlBK4v0W2Ejkn_-4jq_I… #รื้อม่อนแจ่ม


Golffu
@lookgolffu
·15h
อย่างไรก็ตามความเคลื่อนไหวจากเครือข่ายล่าสุด เจ้าหน้าที่ยุติการปฏิบัติการ ส่วนชาวบ้านจะไปศาลากลางเชียงใหม่ 31 ส.ค. นี้ พร้อมเคลื่อนขบวนไปที่กรุงเทพฯ ต่อไป แถมภาพระหว่างปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่ไม่ทราบหน่วย ปิดหน้าปิดตา อาวุธครบมือ #รื้อม่อนแจ่ม

“ปัญหาจะหายไป หากคนบางคนถูกทำให้หายไป” : การละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยรัฐ และการบังคับบุคคลให้สูญหาย กับวัฒนธรรมไร้ยางอายในการรับผิด



การละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยรัฐ และการบังคับบุคคลให้สูญหาย กับวัฒนธรรมไร้ยางอายในการรับผิด

อังคณา นีละไพจิตร
2 ตุลาคม 2564
ที่มา สถาบันปรีดี พนมยงค์

กฎหมายและการคุ้มครองสิทธิ

ในขณะที่รัฐพยายามบอกประชาชนว่า “กฎหมายคือการคุ้มครองสิทธิ” แต่ความเป็นจริง คือ สิทธิมนุษยชน มีความหมายกว้างขวางกว่า “สิทธิ” ตามกฎหมาย (Human Rights Beyond Laws) นักกฎหมายโดยทั่วไปมักอธิบายว่า “สิทธิมนุษยชน” คือ สิทธิของพลเมืองที่กฎหมายรับรอง ซึ่งเป็นการตีความหลักกฎหมายในขอบเขตที่แคบ โดยจำกัดการตีความแค่สิทธิตามที่มีกฎหมายรับรองไว้ ดังนั้นจึงหมายความว่าหากกฎหมายไม่ได้เขียนรับรองไว้ก็ย่อมไม่มีการคุ้มครองสิทธิ หรือไม่ได้รับสิทธิ

อันที่จริงมีสิทธิหลายประการที่ถือเป็นสิทธิมนุษยชนและเป็นสิทธิที่ติดตัวมนุษย์มาแต่เกิด และไม่มีผู้ใดจะพรากไปได้ เช่น กรณีผู้ยากไร้ที่ไม่มีอาหารเพียงพอแก่การยังชีพ แม้ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดของใครแต่ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน เพราะรัฐมีหน้าที่จัดหาอาหารและสิ่งจำเป็นแก่การยังชีพให้เพียงพอกับการดำรงชีวิตของประชาชน และ จะต้องไม่มีใครตายเพราะความหิว รวมถึงเรื่องการบังคับบุคคลสูญหาย แม้ไม่มีกฎหมาย

บัญญัติแต่วิญญูชนทุกคนต้องรู้ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดร้ายแรง

การสูญหายของบุคคล คือ การสูญหายของความยุติธรรม

เรื่องราวการบังคับสูญหายในประเทศไทย เริ่มมีการพูดในสาธารณะอย่างเปิดเผยและจริงจังเมื่อ 16 ปีที่ผ่านภายหลังการอุ้มหายทนายสิทธิมนุษยชน ‘สมชาย นีละไพจิตร’ โดยที่ก่อนหน้านี้ แม้มีการบันทึกกรณีการอุ้มหายบุคคลสำคัญหลายคนในแวดวงการเมือง แรงงาน หรือ การสูญหายของบุคคลหลายคนในช่วงการปราบปรามผู้เห็นต่างทางการเมืองด้วยกำลังอาวุธของรัฐบาลหลายสมัย แต่กลับไม่มีการดำเนินการอย่างจริงจังในการค้นหาตัว

การนำคดีขึ้นสู่ศาลการเปิดเผยความจริง และการลงโทษผู้กระทำผิด คดีสมชาย นีละไพจิตร จึงเป็นคดีคนหายรายแรกของประเทศไทยที่สามารถนำขึ้นสู่การพิจารณาของศาลยุติธรรม แม้จะพ่ายแพ้ และเจ็บปวด แต่เรื่องของสมชาย กลับนำมาสู่การเปิดโปงกระบวนการของเจ้าหน้าที่รัฐบางคนในการทำให้คนที่คิดต่าง หรือคนที่คิดว่าเป็นศัตรูต้องหายไป และโฉมหน้าของผู้กระทำผิดได้ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะ

ในช่วงเวลา 16 ปีเศษที่ผ่านมา ดิฉันมิได้ยืนโดดเดี่ยวโดยลำพัง หากแต่มีบุคคลและกลุ่มบุคคลทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงกัลยาณมิตรมากมายที่ยืนเคียงข้างตลอดเส้นทางของการแสวงหาความยุติธรรม แม้จะยากลำบาก แต่เวลาที่ผ่านมาทำให้ปัญหาคนหายในประเทศไทยไม่อาจถูกปิดบังได้อีกต่อไป

เราจึงได้เห็นคนรุ่นใหม่ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลยุติการบังคับสูญหายโดยรัฐมากขึ้นทุกวันในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ และรัฐบาลจะไม่สามารถปิดบังความจริงได้เหมือนที่ผ่านมาอีกต่อไป

จุดเริ่มต้น

ย้อนกลับไปเมื่อเกือบ 16 ปีที่แล้ว ดิฉันเป็นเพียงหญิงสามัญที่ไม่มีใครรู้จัก การทำงานของดิฉันซ่อนอยู่ข้างหลังทนายนักสิทธิมนุษยชนคนหนึ่งที่ทุ่มเทการทำหน้าที่ในฐานะทนายความเพื่อปกป้องความยุติธรรม ครอบครัวมักถูกจัดความสำคัญลำดับสองรองจากงานในชีวิตของเขาเสมอ แต่ไม่น่าเชื่อว่าการทำงานอย่างไม่กลัวเพื่อปกป้องหลักกฎหมายและความยุติธรรม

การทำหน้าที่ของทนายความเพื่อตรวจสอบการทำหน้าที่ของตำรวจจะทำให้ สมชาย นีละไพจิตร ทนายความสิทธิมนุษยชนคนนั้นต้องถูกทำให้หายไปจากชีวิตของคนหลายๆ คนหลังสมชายหายไป บรรยากาศในบ้านเงียบเหงาและปกคลุมด้วยความกลัว คงยากที่จะอธิบายความรู้สึกในวันนั้น วันที่เพื่อนสนิทและญาติพี่น้องหลายคนต่างหายไปจากชีวิตเพียงเพราะความหวาดกลัว เหลือไว้แต่บ้านที่มีเพียงผู้หญิงและเด็กอยู่กันตามลำพัง วันที่ทำดิฉันต้องตั้งคำถามแก่ทุกคนว่าทำไม “การทำให้ใครสักคนหายไปทำให้เราหวาดกลัวได้มากขนาดนั้นเลยหรือ”

การหายไปของคนคนหนึ่ง ไม่ได้มีผลแต่กับตัวของเหยื่อ แต่มันทำให้ชีวิตของคนอีกหลายๆ คนเปลี่ยนไปด้วย ถ้าสมชายยังอยู่ เขาคงทำงานตามความเชื่อของเขาต่อไป ในขณะที่ดิฉันเองคงมีโอกาสได้ทำตามที่มุ่งมั่นตั้งใจใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย ไม่มีใครรู้จัก ทำงานเพื่อพอมีพอกินและพอแบ่งปัน และทำอะไรสักอย่างเพื่อให้ชีวิตไม่ไร้ค่า

เจ้าหน้าที่รัฐบางคนอาจคิดว่า “ปัญหาจะหายไป หากคนบางคนถูกทำให้หายไป” แต่การบังคับสูญหายสมชาย นีละไพจิตร เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2547 ได้เปลี่ยนเรื่องราวการบังคับสูญหายในประเทศไทยให้เป็นที่รับรู้ไปทั่วโลกและเหยื่อไม่ต้องหลบซ่อนตัวอย่างหวาดกลัวอีกต่อไป และเหตุการณ์ครั้งนั้นได้เปิดเผยกระบวนการอุ้มฆ่าโดยรัฐอย่างไม่มีใครปกปิดได้

ดิฉันเองไม่อาจละเลยที่จะยกย่องความกล้าหาญของผู้หญิงอีกหลายคนจากครอบครัวที่ถูกบังคับสูญหายซึ่งโดยมากพวกเธอคือหญิงสามัญที่ไม่มีใครรู้จัก ทำงานหนักเพื่ออยู่รอด แต่เธอกลับกล้าหาญที่จะพูดความจริง ในขณะที่รัฐพยายามปกปิดมัน

สำหรับครอบครัว การถูกอุ้มหายไม่ใช่เพียงการพรากใครบางคนไปตลอดกาล แต่การอุ้มหายทำให้คนที่มีชีวิตอยู่เหมือนตายทั้งเป็น สิ่งที่ทุกคนต้องการคือ “ความจริง” แม่ๆ หลายคนพูดว่า “เขาเอาลูกเราไปแบบมีชีวิตเราก็อยากได้ลูกคืนแบบมีชีวิต หรืออย่างน้อย คืนศพให้เราก็ยังดี” เพราะความต้องการรู้ความจริง การต่อสู้ของผู้หญิงเหล่านี้จึงยังคงอยู่

ในขณะที่รัฐไม่เคยใส่ใจและให้ความสำคัญในความรู้สึกปวดร้าว ตรงกันข้ามรัฐกลับอ้างกฎหมายเพื่อปิดปากพวกเธอ พวกแม่ๆ และเมียต่างหวังที่จะเจอลูกๆ และสามีที่ยังมีชีวิต แต่ถ้าพระเจ้าไม่ประสงค์ พวกเธอก็คงทำอะไรไม่ได้ สำหรับครอบครัวคนหายแล้วพวกเราเหมือนถูกพันธนาการด้วยอดีตที่เจ็บปวด และมองไม่เห็นอนาคต

ในการเริ่มต้นการต่อสู้กรณีการบังคับสูญหาย ดิฉันได้รับแรงบันดาลใจจาก “กลุ่มแม่ และย่ายาย” จากอาร์เจนตินา[1] ซึ่งเป็นต้นแบบการต่อสู้ของผู้หญิงในฐานะเหยื่อเพื่อต่อต้านอำนาจรัฐในการทำให้บุคคลในครอบครัวสูญหาย ดิฉันโชคดีที่มีโอกาสได้พบและสนทนากับผู้หญิงกลุ่มนี้ซึ่งเป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจที่ยิ่งใหญ่ต่อครอบครัวคนหายทั่วโลก การต่อสู้ของพวกเธอเริ่มต้นภายหลังที่ลูกๆ หลานๆ ซึ่งเป็นนักศึกษา และเยาวชนถูกอุ้มหายในช่วงสงครามสกปรก (Dirty War) ในประเทศอาร์เจนตินา ในช่วงทศวรรษ 2500 ถึง 2510 ซึ่งเป็นช่วงรัฐบาลเผด็จการ เกิดการรัฐประหารในประเทศอาร์เจนตินา มีการปราบปรามฝ่ายตรงข้าม รวมถึงนักศึกษา และคนหนุ่มสาว คนที่สงสัยว่าจะใกล้ชิดกับฝ่ายซ้าย ซึ่งประมาณกันว่าในช่วงระยะเวลา 3 ปีของการปราบปรามมีการอุ้มหายมากว่า 30,000 คน


ภาพ: บรรดาแม่ๆ ที่ลูกสูญหายต่างถือภาพลูกๆ ของเธอมาเพื่อร้องขอความเป็นธรรมที่จตุรัสเดอมาโย

เช้าวันหนึ่งซึ่งเป็นวันพฤหัสบดี แม่คนหนึ่งได้มายืนที่จัตุรัสเดอมาโย (Plaza De Mayo) ในกรุงบัวโนส ไอเรส ซึ่งจัตุรัสดังกล่าวอยู่ตรงข้ามทำเนียบประธานาธิบดี พร้อมกับภาพถ่ายลูกของเธอเพื่อร้องถามว่า “ลูกฉันอยู่ไหน” จากแม่คนเดียวต่อมาได้มีแม่อีกหลายคนตามมาสมทบที่จัตุรัสแห่งนี้

พวกเธอถูกเรียกว่า “หญิงบ้าแห่งจัตุรัสมาโย” หรือ Madres of plaza de Mayo แต่พวกเธอก็ไม่ย่อท้อ ยังคงมารวมตัวกันมากขึ้นทุกวันพฤหัส โดยมีผ้าโพกศีรษะสีขาวเป็นสัญลักษณ์ พวกแม่และยายเหล่านี้ พยายามร้องถามหาความจริงและความยุติธรรม โดยไม่ยอมให้การสังหารหมู่ที่เกิดขึ้นในอาร์เจนตินาถูกลืมหรือได้รับการให้อภัยโดยผู้กระทำผิดยังคงลอยนวล

จากการเริ่มต้นของแม่คนเดียว กลายเป็นสิบ เป็นร้อย เป็นพัน และหมื่น จนมีประชาชนจำนวนนับแสนคนมาร่วมกับพวกเธอเพื่อร้องถามรัฐบาลของพวกเขาว่า “ลูกๆ ของพวกเราหายไปไหน” กลุ่มแม่ใช้เวลากว่าสามสิบปีที่พวกเธอได้ถือป้ายที่ทำเองด้วยมือซึ่งมีรูปขาว-ดำ เก่าคร่ำคร่าของลูกชาย ลูกสาว สามี ภรรยา ผู้ซึ่งสูญหายแต่พวกเขาไม่เคยถูกลืม


จัตุรัสมาโย ในกรุงบัวโนสไอเรส ในปัจจุบัน (Plaza de Mayo)

คำว่า “หาย” มีต้นกำเนิดคำมาจากภาษาสเปน คือ “เดสแอปาเรชิโด” (desaparecido)[2] คำคำนี้ถูกประทับตราโดยทหารอาร์เจนตินาในการปฏิเสธการลักพาตัว การทรมาน หรือการฆาตกรรมพลเมืองนับพันคน โดยผู้บัญชาการกองทัพ “เดสแอปาเรซิโด (desaparecido)” จึงหมายถึงใครบางคนที่ “หายไปตลอดกาล” ผู้ซึ่ง “จุดหมายปลายทาง” เป็น “ปลาสนาการ” หรือพูดอย่างเป็นทางการ คือ desaparecido คือไม่เป็น ทั้งการมีชีวิตอยู่ หรือตาย ไม่อยู่ทั้งที่นี้หรือที่ไหน[3]

ผู้บังคับให้บุคคลสูญหายมักกล่าวอ้างว่า บุคคลนั้นไม่มีตัวตน ไม่มีปรากฏ ไม่อยู่ในปัจจุบัน การทำให้คนหายไปจึงเป็นวิธีการในการหลบเลี่ยงการถูกลงโทษ เพราะผู้กระทำเชื่อว่าญาติจะไม่สามารถดำเนินคดีตามกฎหมายได้หากไม่พบศพของผู้สูญหาย เมื่อหาศพไม่พบ ก็ไม่มีการก่ออาชญากรรม และไม่มีใครต้องรับผิด


ที่มา: Amnesty International

เดสแอปาเรซิโด (desaparecido) จึงเป็นที่มาของคำว่า “บังคับบุคคลสูญหาย” หรือภาษาอังกฤษ คือ enforced disappearance ซึ่งเป็นคำที่สหประชาติใช้ในการร่างอนุสัญญาระหว่างประเทศเพื่อยุติอาชญากรรมร้ายแรงนี้ในบรรดาอนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ

“อนุสัญญาว่าด้วยการบังคับบุคคลสูญหาย” ถือเป็นอนุสัญญาที่ใช้เวลาร่างนานที่สุด แต่มีสมาชิกสหประชาชาติรับรองร่างจนมีผลบังคับใช้เร็วที่สุดเมื่อเทียบกับอนุสัญญาระหว่างประเทศฉบับอื่นๆ

ตามนิยามของสหประชาชาติ “การบังคับสูญหาย”[4] หมายถึง การจับกุม กักขัง ลักพาตัว หรือการกระทำในรูปแบบใดๆ ก็ตาม ที่เป็นการลิดรอนเสรีภาพโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งดำเนินการโดยได้รับการอนุญาต การสนับสนุนหรือการยอมรับโดยปริยายของรัฐ ตามมาด้วยการปฏิเสธที่จะยอมรับว่าได้มีการลิดรอนเสรีภาพ หรือการปกปิดชะตากรรมหรือที่อยู่ของบุคคลที่หายสาบสูญ ซึ่งส่งผลให้บุคคลดังกล่าวตกอยู่ภายนอกการคุ้มครองของกฎหมาย

“การอุ้มฆ่า อุ้มหาย หรือ การบังคับสูญหาย” (enforced disappearance) จึงเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ร้ายแรงที่สุดโดยรัฐที่เกิดขึ้นมายาวนาน ในหลายประเทศทั่วโลก การบังคับสูญหาย เป็นวิธีการที่เจ้าหน้าที่รัฐบางคนใช้เป็นวิธีในการกำจัดคนที่เห็นต่าง เป็นเทคนิควิธีในการกำจัดศัตรูทางการเมืองและสร้างความสะพรึงกลัวต่อสังคมอย่างเป็นระบบ[5]

ตามกฎหมายสากลเมื่อการบังคับสูญหายได้กระทำอย่างเป็นระบบหรือกระทำอย่างกว้างขวางโดยนโยบายของรัฐที่กระทำต่อประชาชน ไม่ใช่การอุ้มหายเพียง 1-2 กรณี การกระทำดังกล่าวจะถูกยกระดับเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ หรือ crime against humanity ซึ่งจะไม่มีอายุความเพราะถือเป็นหลักการของธรรมนูญกรุงโรม (Rome Statute) เรื่องศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court) ที่กำหนดว่าความผิดที่เป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติจะไม่มีอายุความ และเมื่อเป็นอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติแล้วจะอยู่ในอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court-ICC)

ที่มา: อังคณา นีละไพจิตร. สิทธิมนุษยชนที่สูญหาย การไม่มีอยู่ และวัฒนธรรมไร้ยางอายในการรับผิดของรัฐ, ปาฐกถา 14 ตุลาคม 2543. (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา, 2563)

[1] http://prachatai.com/journal/2012/04/40087

[2] Tyrell Hraberkorn, In the Plain Sight: Impunity and Human Rights in Thailand, The University of Wisconsin Press, 2018.

[3] Marguerite Feitlowitz, A Lexicon of Terror: Argentina and the Legacies of Torture (Oxford University Press, 1998),57.

[4] http://www.rlpd.go.th/rlpdnew/images/rlpd_1/International_HR/2557/CED.pdf

[5] การใช้ความรุนแรงอย่างเป็นระบบ (systematically violence) ถูกนำมาใช้บรรยายลักษณะของอาชญากรรมที่ร้ายแรงประเภทต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศอาชญากรรมที่จะถูกเรียกว่าเป็น ความรุนแรงอย่างเป็นระบบ มีองค์ประกอบดังนี้ (1) เป็นอาชญากรรมที่กระทำต่อเหยื่อจำนวนมากในคราวเดียวกัน ทั้งนี้จะกินอาณาบริเวณกว้างขวางหรือเกิดขึ้นในพื้นที่จำกัดพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งก็ได้ (2) เป็นการกระทำตามคำสั่งหรือนโยบายของรัฐใดรัฐหนึ่งหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งโดยทั่วไปอาชญากรรมลักษณะนี้จะเรียกว่าเป็น “อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ” อาทิเช่น การสังหารหมู่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (genocide) เป็นต้น ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน ประมวลศัพท์สิทธิมนุษยชน

ทำไมสังคมไทย ไม่เป็นมิตรต่อผู้เสียหายคดีข่มขืน เหยื่อของคดีล่วงละเมิดทางเพศ กลายเป็นฝ่ายรับ ทำไมสังคมไทยกล่าวโทษผู้เสียหาย มากกว่าตั้งคำถามต่อผู้กระทำ


"ดาราสาว" ชี้ว่า ถูก "หลานอดีตรัฐมนตรี" มอมยา-ข่มขืน

สังคมที่กดดัน...ให้ผู้หญิงปิดปากเงียบ

กระแส “Me Too” ที่เกิดขึ้นและดับลงในไทยเป็นวงจรซ้ำไปมา โดยครั้งล่าสุดที่เริ่มเห็นชัดเจน คือ กรณีนายปริญญ์ พานิชภักดิ์ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ถูกกล่าวหาว่าทำร้ายร่างกาย ลวนลาม และข่มขืน แต่มาถึงตอนนี้ กระแสเรียกร้องความยุติธรรมเริ่มหายไปจากหน้าสื่อ แม้นายปริญญ์กำลังเผชิญคดีหลายกระทง

ดร.ชเนตตี ทินนาม อาจารย์ประจำภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญประเด็นเพศสภาพและเพศวิถี เคยให้สัมภาษณ์บีบีซีไทยว่า มีผู้หญิงเพียงหยิบมือที่กล้าเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เพราะผู้หญิงไม่รู้สึกว่ากระบวนการยุติธรรมของไทยเป็นมิตร และช่วยเหลือผู้หญิงได้จริง


ดร.ชเนตตี ทินนาม

ในสังคมไทย ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของคดีล่วงละเมิดทางเพศ กลายเป็นฝ่ายรับ มักถูกตำหนิว่าไม่ดูแลตัวเองให้ดี หรือว่าเปิดโอกาสให้อีกฝ่าย หรือสมยอมเพื่อหวังผลประโยชน์ทางการเงินหรือทางการเมือง และหลายคนก็ถูกกล่าวหาว่าต้องการไต่เต้าไปสู่ระดับการงานที่สูงกว่า

"สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้หญิงรู้สึกว่ามันมีแต่เสียเปรียบในกระบวนการยุติธรรม เพราะชื่อเสียงของผู้หญิงไม่เคยได้รับการปกป้องในเชิงศักดิ์ศรีเลย” ดร.ชเนตตี กล่าว

ผู้ก่อตั้งองค์กรชีโร่ อธิบายว่า ไม่เพียงระบบตุลาการ และการซักถามผู้เสียหายคดีข่มขืนของเจ้าหน้าที่สอบสวนที่ขาดความเข้าใจ จนกลายเป็นซ้ำเติมผู้ถูกกระทำ แต่การนำเสนอของสื่อ และความคิดเห็นในโลกสังคมออนไลน์ เป็นอีกปัจจัยที่ “เหยียบให้ผู้เสียหายปิดปากเงียบลงเรื่อย ๆ” ยกตัวอย่างดังต่อไปนี้

ผู้ใช้สังคมออนไลน์
  • ตั้งคำถามกับผู้ถูกกระทำเป็นหลัก อาทิ ทำไมไม่ดูแลตัวเอง ทำไปไปดื่มกับคนแปลกหน้า เป็นต้น
  • ทำตัวเป็นนักสืบออนไลน์ จ้องจับผิด ขุดคุ้ยประวัติ
  • แม้จะไม่ได้เชื่อผู้เสียหาย 100% แต่สังคมไม่ใช่ศาลเตี้ยว่าใครผิดถูก จึงควรแสดงความเห็นด้วยความเข้าใจ

บทบาทของสื่อ

  • เวลารายงานเรื่องความรุนแรงที่มีต่อเพศ หรือการข่มขืน สื่อนำเสนอรายละเอียดที่ไม่พิทักษ์ศักดิ์ศรีและละเมิดสิทธิของผู้เสียหาย อาทิ “ผู้เสียหายโดนอะไรยัดเข้าไปในอวัยวะเพศ” และนำจุดนี้มาเป็นพาดหัวข่าว
  • การรายงานที่ลงรายละเอียดพฤติการณ์การกระทำชำเรา ไม่ช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อบรรทัดฐานสังคม และไม่ใช่มาตรวัดของความยุติธรรม

“ผู้เสียหายคนหนึ่งต้องใช้พลังงาน กาย และใจมากเหลือเกิน" บุษยาภา

“ผู้เสียหายคนหนึ่งต้องใช้พลังงาน กาย และใจมากเหลือเกิน ในการลุกขึ้นมาพูดในสังคมแบบนี้ เพราะเขารู้อยู่แล้วว่าเขาจะโดนกล่าวโทษ... แต่เขารวบรวมพลังชีวิตแล้วลุกขึ้นมาสู้” บุษยาภา กล่าว

เหตุผลเหล่านี้เองเกื้อหนุน “วัฒนธรรมข่มขืน” ให้คงอยู่ในสังคมไทย เพราะกลายเป็นสังคมที่ “เป็นมิตรกับผู้กระทำ” แทนที่จะ “เป็นมิตรกับผู้เสียหาย”

“มันเป็นการอนุญาตให้ผู้กระทำรู้สึกว่า ทำได้ ฉันจะทำ และฉันจะรอดด้วย”

ดังนั้น จุดเริ่มต้นสู่สังคมที่เป็นมิตรกับผู้เสียหายและผู้ถูกกระทำ อาจเริ่มจากการไม่ซ้ำเติม และหันมาตั้งคำถามให้มากขึ้นต่อผู้กระทำ เพราะ “ผู้เสียหายกำลังเดินเข้าไปในสนามรบที่มีหอกมากมาย พุ่งเข้ามาปัก เราจะทำยังไงที่ไม่ใช่ยื่นมีดให้เขาไปแทงคนอื่น แต่มีโล่กำบังไม่ให้เขาโดนไปมากกว่านี้”


อ่านบทความเต็ม ทำไมสังคมไทย (ยัง) ไม่เป็นมิตรต่อผู้เสียหายคดีข่มขืน
ที่มา บีบีซีไทย 

กิจกรรม ตามหาคนหาย #30สิงหาวันสูญหายสากล


🔴LIVE! ชุมนุม หน้าเซ็นทรัลเวิลด์ วันผู้ศูนย์หายสากล ตามหาผู้สูญหาย #ม็อบ30สิงหา65

Streamed live 12 hours ago

thaitvnews


บีบีซีไทย - BBC Thai
6h
ประมวลภาพตามหาคนหายในวันผู้สูญหายสากล 30 ส.ค.
.
กลุ่มนักกิจกรรมนักศึกษาโมกหลวงริมน้ำ เดินรณรงค์จากแยกราชประสงค์ไปสยาม ถือป้ายผู้ที่ถูกทำให้สูญหายที่มีความเกี่ยวข้องทางการเมือง พร้อมแสดงกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ โดยทำการคลุมหัวผู้ทำกิจกรรมและอุ้มออกจากพื้นที่กิจกรรม
.
ภาพของเหยื่อผู้ถูกบังคับสูญหายที่ทางกลุ่มนำมาร่วมแสดงออก รวมถึง พอละจี รักจงเจริญ, สุรชัย แซ่ด่าน และวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์
.
ย้อนอ่านความรู้สึกภรรยาของ บิลลี่-พอละจี หลังอัยการสูงสุดสั่งฟ้องนายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร อดีตหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน และพวก 4 คน ฐาน “ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน” เมื่อไม่นานมานี้
.
ทางนี้ https://bbc.in/3Ay365N


ประชาไท Prachatai.com
9h
ประมวลกิจกรรม 'ตามหาคนหาย' จัดโดยกลุ่มนักกิจกรรมนักศึกษา 'โมกหลวงริมน้ำ' เดินรณรงค์จากแยกราษฎรประสงค์มุ่งหน้าไปสยาม ในวันผู้สูญหายสากล ทวงความยุติธรรมให้ผู้ถูกอุ้มหาย ย้ำ "ไม่ควรมีใครต้องหายเพราะความเห็นต่าง"
.
อ่านข่าว https://prachatai.com/journal/2022/08/100288
#ประชาไท #วันผู้สูญหายสากล #ม็อบ30สิงหา65


ไข่แมวชีส added 27 new photos to the album: 30สิงหา65 วันผู้สูญหายสากล กลุ่มโมกหลวงริมน้ำตามหาคนหาย.
8h
30สิงหา65 กิจกรรม #ตามหาคนหาย
ในวัน “วันผู้สูญหายสากล” โดย “กลุ่มโมกหลวงริมน้ำ”
ช่วงเวลา 16:00 น. กลุ่มมวลชนอิสระได้นำป้ายข้อความและใบหน้าของผู้สูญหายมาเพื่อรำลึกและแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ โดยเริ่มเดินขบวนจากบริเวณหน้าเซ็นทรัลเวิลด์ ฝั่งถนนราษฎร์ประสงค์มุ่งหน้าสยามสแควร์ และกิจกรรมเซอร์ไพรส์ที่แสดงออกเชิงสัญลักษณ์ถึงการถูกอุ้มหาย และได้ยุติกิจกรรมลงในช่วงเวลา 17:00 น. ที่บริเวณสยามสแควร์
“ในวันที่ 30 สิงหาคมของทุกปี คือวันที่ตอกย้ำให้ประชาคมโลกตระหนักถึงการบังคับสูญหาย อนึ่ง การบังคับสูญหายมักถูกใช้เป็นเครื่องมือของรัฐเผด็จการหรือผู้ทรงอิทธิพล เป็นการกระทำเพื่อปิดปากผู้เห็นต่าง และเป็นการสร้างความหวาดกลัวให้กับสังคม”
ปัจจุบันตามสถิติที่ถูกบันทึกโดยองค์การสหประชาชาติ ประเทศไทยมีผู้ถูกอุ้มหายมากถึง 86 คน ทั้งนี้ยังไม่นับว่ามีคนจำนวนมากที่ตกสำรวจเพราะไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ ซึ่งในปีที่มีการรัฐประหารโดยคสช. มาจนถึงรัฐบาลปัจจุบันที่ได้รับการสืบทอดอำนาจมานั้น มีผู้ถูกอุ้มหายถึง 11 คน และมีผู้ที่ถูกยืนยันว่าเสียชีวิตแล้ว 4 คน
แต่วันผู้ถูกสูญหายสากลปีนี้ จะไม่เหมือนปีก่อน ๆ ปีนี้เราจะยืนหยัดเคียงข้างผู้ถูกบังคับสูญหาย และเราจะยืนหยัด ไม่สยบยอมต่ออำนาจเถื่อน
#โมกหลวงริมน้ำ #ตามหาคนหาย #วันผู้สูญหายสากล


The Reporters
10h
PHOTO STORY: ขบวน “ตามหาคนหาย” จำลองคลุมถุงดำอุ้มกลางเมือง หลังเดินแขวนภาพใบหน้าผู้ถูกบังคับให้สูญหาย จากราชประสงค์สู่สยามสแควร์ เนื่องในวันผู้สูญหายสากล
วันนี้ (30 ส.ค. 65) เวลา 16:00 น. ผู้ชุมนุมกลุ่มโมกหลวงริมน้ำ จัดกิจกรรม “ตามหาคนหาย” เดินขบวนเนื่องในวันผู้สูญหายสากล เริ่มต้นจากแยกราชประสงค์ เดินตามถนนพระรามที่ 1 ข้ามถนนหน้าศูนย์การค้า สยาม พารากอน มายังสยามสแควร์
จุดเด่นของการเดินขบวนนี้ คือ การห้อยป้ายภาพใบหน้าของบุคคลที่บังคับให้สูญหาย อาทิ พอละจี รักจงเจริญ หรือ บิลลี่ สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ หรือ สุรชัย แซ่ด่าน เด่น คำแหล้ สยาม ธีรวุฒิ และ วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ พร้อมด้วยการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ ผ่านการนำถุงดำคลุมศีรษะ และจำลองการอุ้มในช่วงท้ายของกิจกรรม ก่อนยุติกิจกรรมในเวลา 16:56 น.
นางสาวแทนอุทัย แท่นรัตน์ หนึ่งในผู้จัดกิจกรรม ปราศรัยว่า เราจะไม่หยุดนิ่ง เราจะไม่อยู่เฉย เราจะมาตามหาคนที่ถูกบังคับสูญหาย ถูกดำเนินคดีอย่างมิชอบโดยรัฐบาลเผด็จการ เราจะมาร่วมทวงความเป็นธรรมตามที่เพื่อนเราทวงอุดมการณ์ไว้
“การเดินของเราในวันนี้ คือ การส่งเสียงจากภาคประชาชนทั่วไปว่า ยังมีคนที่ถูกบังคับให้สูญหาย ในขณะที่รัฐบาลเพิกเฉยกับสิ่งที่เกิดขึ้น ใช้วิธีการปิดปากนักกิจกรรม จนการบังคับให้สูญหายเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่รัฐบาลเผด็จการจะทำ”
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบ เฝ้าระวังสังเกตการณ์อยู่ตลอดเส้นทางการเดินขบวน โดยเฉพาะด้านหน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ถนนพระรามที่ 1 เพื่อความสงบเรียบร้อย โดยไม่มีการเผชิญหน้ากันแต่อย่างใด
สำหรับวันผู้สูญหายสากล เกิดจากที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติ สมัยสามัญ ได้ผ่านมติที่ 65/209 เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2553 โดยแสดงความกังวลอย่างยิ่งต่อสถิติการถูกบังคับให้สูญหายที่เพิ่มมากขึ้นในหลายภูมิภาคทั่วโลก รวมถึงการจับกุม กักขัง และลักพาตัว อีกทั้งยังมีตัวเลขรายงานการข่มขู่คุกคามพยานหรือครอบครัวผู้เสียหายที่พุ่งสูงขึ้น
ซึ่งในมติดังกล่าวนี่เอง อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญ มีผลบังคับใช้จากสมัชชาสหประชาชาติ และประกาศให้วันที่ 30 สิงหาคม เป็นวันผู้สูญหายสากล ตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา
เรื่อง : ณัฐนนท์ เจริญชัย
ภาพ : รัฐพงศ์ สุขศรี

เรื่องการหลับนอนกับพระเจ้าแผ่นดิน เธรดเบิกเนตร การถวายตัวของนางสนมนั้นมีจารีตอย่างไร 👯 มารู้จัก "ท่าพับเป็ด"ของผู้หญิงเป็นท่าแรก และท่าบังคับตามจารีตประเพณี หลังจากนั้นแล้วแต่นิยมส่วนพระองค์


สร้อยอุบล - เจ้าจันทร์ยอดฟ้า 
@ParmitaNissa

"พับเป็ด" ที่ไม่ใช่การเอากระดาษมาพับเป็นเป็ด แต่เป็นเรื่องทีเด็ดในคืนถวายตัว . วันนี้เราจะมาดูกันค่ะ ว่าการถวายตัวของนางสนมนั้นมีจารีตอย่างไร แต่บอกก่อนว่าต้องถึงกับฝึกยิมนาสติกทีเดียวเชียวค่ะ 

ที่มาเธรด https://twitter.com/ParmitaNissa/status/1564582426227376128

ในการหลับนอนกับพระเจ้าแผ่นดินเป็นเรื่องที่ถูกกำหนดแบบแผนไว้อย่างละเอียด ตั้งแต่เรื่องของสถานที่ เนื่องจากผู้ที่เป็นกษัตริย์เท่านั้นที่จะสามารถบรรทมใต้นภปดลเศวตฉัตรซึ่งแขวนอยู่เหนือพระแท่นบรรทมได้ ผู้อื่นมิสามารถอยู่ใต้ร่มของพระมหาเศวตฉัตรนั้นได้

พิทยา บุนนาค (2552) กล่าวว่า ภายในห้องพระบรรทมจะมีพระแท่นรอง ใช้เวลานางทั้งหลายเข้าถวายงาน เท้าจะชี้ไปที่พระแท่นก็ไม่ได้ จึงมีท่ากามสูตรที่จะเก็บเท้าไม่ให้ชี้ ผู้หญิงมีตระกูลที่จะถวายตัว ต้องฝึกท่าที่คล้ายคลึงกับท่าโยคะบางท่าตั้งแต่เล็ก

บรรดาหญิงสาวต้องผ่านการล้าง และอบร่ำอวัยวะเพศอย่างพิถีพิถัน และท่าแรกในการถวายตัวคือ พนมมือนอนหงายใน "ท่าพับเป็ด" เพื่อไม่ให้ตีนของหญิงที่กษัตริย์กำลังทรงร่วมเพศไปสัมผัสพระวรกายของพระเจ้าแผ่นดิน

เพราะตามคติความเชื่อชาวสยามแล้ว ตีนเป็นของต่ำที่จะไม่สามารถถูกหรือสัมผัส พระเจ้าแผ่นดินซึ่งประหนึ่งเทพเจ้าอันสูงสุดได้แม้แต่เพียงพระบาทของพระองค์

"ท่าพับเป็ด" ของผู้หญิงจึงกลายเป็นท่าแรก และท่าบังคับตามจารีตประเพณี แต่ท่าร่วมเพศหลังจากนั้นน่าจะขึ้นอยู่กับพระราชนิยมส่วนพระองค์ (เผ่าทอง ทองเจือ, 2552)

แต่ถึงกระนั้นบางท่าบางลีลาน่าเป็นท่าต้องห้าม เพราะในสังคมสยามที่เชื่อถือกันมายาวนานว่าศีรษะหรือผมเป็นของสูง ห้ามให้ผู้อื่นไปสัมผัสอวัยวะดังกล่าว

หรือแม้แต่การเอื้อมมือกรายข้าม หรือการสัมผัสลอมพอกก็ตาม เพราะถือว่าเป็นการดูถูกดูแคลนอย่างมหันต์ (มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์, สันต์ ท.โกมลบุตร, ผู้แปล, 2548, น. 180)

ส่วนพระแท่นบรรทมของกษัตริย์ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 - 4 ในพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน มีลักษณะ 4 เสา มีโครงหลังคาทำด้วยไม้ฉลุ มีที่พำนัก 3 ด้าน ขึ้นลงได้ด้านเดียว ซึ่งเป็นอิทธิพลจากราชสำนักจีน

ด้านหน้าพระแท่นบรรทมพบว่ามีเตียงขาคู้ขนาดใหญ่ ซึ่งเรียกว่า "พระแท่นลด" มีความสูงลดต่ำลงมา ประมาณ 1 ศอก เพื่อให้บาทบริจาริกาถวายงาน และเพื่อไม่ให้นางในที่ถวายงานอยู่ใต้พระมหาเศวตรฉัตรด้วย (เผ่าทอง ทองเจือ, 2552)

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชนชั้นสูงสยามได้รับวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้นพระแท่นบรรทม จึงมีหัวเตียงปลายเตียง ขึ้นลงได้ 2 ทาง ซ้ายและขวา เห็นได้จากพระแท่นบรรทมในพระที่นั่งอัมพรสถาน และทั้งด้านซ้ายและขวาของพระแท่นบรรทมจะเป็นเตียงลดต่ำลงมาทั้งสองข้าง

ภาพนี้คือตัวอย่างท่าพับเป็ด แต่เปลี่ยนให้เป็นมือพนมค่ะ . งานโยคะต้องเข้าละค่ะทีนี้ ไม่งั้นหลังหักนะแม่เอ๊ยยยย 

เปิดเรื่องเล่าผู้ลี้ภัย ม.112 และผู้ถูกอุ้มหายในต่างแดน ผ่านไปหลายปี คนที่ถูก “อุ้มหาย” ก็ยังไร้ร่องรอย มีหลายชีวิตยังคงไร้ร่าง ไร้เสียงจนถึงปัจจุบัน



เปิดเรื่องเล่าผู้ลี้ภัย ม.112 และผู้ถูกอุ้มหายในต่างแดน

โดย ilaw-freedom 
3 มิถุนายน 2021

ความโหดร้ายของการดำเนินคดีกับการลงโทษด้วยมาตรา 112 และความจริงที่คนถูกตั้งข้อหาจำนวนไม่น้อยต้องเข้าเรือนจำ นำมาซึ่งภาพลักษณ์ที่คนที่ถูกดำเนินคดีเอาการ “หนีไปอยู่ต่างประเทศ” มาเป็นทางเลือก หรือที่เรียกว่าการ “ลี้ภัย”


ในทางสากล การลี้ภัยจะเกิดขึ้นได้ในกรณีที่พลเมืองของประเทศหนึ่งๆ ไม่สามารถอยู่ในประเทศต้นกำเนิดของตัวเองได้ เพราะอาจได้รับอันตราย อาจถูกฆ่า หรือถูกจำคุก เพราะความคิดเห็นทางการเมือง เพราะความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือเหตุอื่นๆ ประเทศอื่นจึงอาจรับคนที่ตกอยู่ในอันตรายเหล่านั้นให้เข้ามาอยู่ในประเทศใหม่เพื่อรักษาชีวิตและความปลอดภัยตามหลักมนุษยธรรม
คดีมาตรา 112 หรือความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ไม่ใช่ความผิดตามกฎหมายในประเทศที่ไม่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ และอัตรชาโทษที่สูงกับการบังคับใช้อย่างกว้างขวางที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ไม่อาจยอมรับได้ในสายตาของหลายประเทศ ผู้ที่ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 จึงนับได้ว่า เป็นผู้ที่ตกอยู่ในอันตรายภายใต้อำนาจของรัฐบาลไทยเพราะความคิดเห็นทางการเมือง และเข้าข่ายมีสิทธิได้ลี้ภัยไปประเทศอื่น

หลังการรัฐประหารในปี 2549 เมื่อมาตรา 112 ถูกนำมาใช้ทางการเมือง เริ่มปรากฏมีผู้ที่ลี้ภัยทางการเมืองด้วยมาตรา 112 เช่น จักรภพ เพ็ญแข อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้กล่าวถึงระบบอุปถัมภ์ (Feudalism), ใจ อึ๊งภากรณ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เขียนหนังสือ A Coup for the Rich ทั้งคู่ออกจากประเทศไทยเมื่อปี 2552 ซึ่งทั้งสองคนพอมีฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจ โดยใจล์เป็นคนถือสองสัญชาติ และมีบ้านที่ประเทศอังกฤษด้วย

ผู้ที่เป็นพลเมืองประเทศอื่นและโดนคดี อย่าง โจ กอร์ดอน ชาวไทยสัญชาติอเมริกัน, วันชัย ตัน ชาวไทยสัญชาติสิงคโปร์, แฮรี่ นิโคไล ชาวออสเตรเลีย เมื่อได้รับการปล่อยตัวก็กลับประเทศทันที ขณะที่ผู้มีชื่อเสียงหลายคนที่เคลื่อนไหวในประเด็นเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ก็อาศัยอยู่ในประเทศอื่น เช่น ปวิน ชัชวาลพงษ์พันธุ์, จรรยา ยิ้มประเสริฐ หรือแอนดรู แมกเกรเกอร์​ มาแชล ข้อเท็จจริงเหล่านี้ยิ่งตอกย้ำให้ภาพลักษณ์ของมาตรา 112 มาควบคู่กับการ “ลี้ภัย”

แต่การจะได้สิทธิเป็นผู้ลี้ภัยก็ไม่ใช่เรื่องง่าย และการ “ย้ายชีวิต” ไปอยู่ต่างประเทศก็ไม่ใช่เรื่องสบายกายสบายใจสำหรับทุกคน

สำหรับผู้ที่ต้องการขอสิทธิเป็น “ผู้ลี้ภัย” และได้สถานะเป็นพลเมืองของประเทศอื่น อาจต้องมีองค์ประกอบหลายอย่างเช่น


1. ในวันที่ยื่นขอสถานะผู้ลี้ภัย ต้องอยู่ในประเทศที่มีที่ทำการของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ที่ไม่ใช่ประเทศไทย แม้กรุงเทพจะมีที่ทำการตั้งอยู่ แต่คนไทยจะยื่นขอลี้ภัยที่ที่ทำการในกรุงเทพไม่ได้ ต้องยื่นจากประเทศอื่น ซึ่งหากผู้ต้องหาถูกจับกุมแล้ว หรือถูกออกหมายจับแล้ว ก็ไม่สามารถเดินทางออกไปยื่นเรื่องได้

2. ต้องมีหลักฐานแสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่า จะมีโอกาสถูกจับกุม หรือคุมขังด้วยข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และต้องมีประเทศใหม่ที่ยอมรับให้ย้ายเข้าไปอยู่ในฐานะพลเมือง

3. การตรวจสอบสถานะผู้ลี้ภัย อาจใช้เวลานานเป็นปี ระหว่างนั้นต้องใช้ชีวิตอยู่ด้วยความเสี่ยง บางคนอาจอยู่ในฐานะคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย และต้องเริ่มต้นชีวิตใหม่เอง ทำมาหากินในต่างประเทศ โดยไม่มีองค์กรใดช่วยเหลือ

หลังรัฐประหาร โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในปี 2557 เมื่อเข้ายึดอำนาจแล้ว ภายในระยะเวลาสั้นๆ คสช.​ เรียกคนไปรายงานตัวอย่างน้อย 666 คน มีผู้ที่ถูกจับกุมด้วยกฎอัยการศึกอย่างน้อย 362 คน คนที่ไม่มั่นใจในความปลอดภัยของตัวเอง จึงเลือกที่จะ “ลี้ภัย” ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า พบจำนวนผู้ลี้ภัยอย่างน้อย 86 คนส่วนใหญ่ลี้ภัยออกทางเส้นทางธรรมชาติไปยังประเทศเพื่อนบ้าน คือ ลาวและกัมพูชา

คนส่วนน้อยเท่านั้นที่ตัดสินใจออกนอกประเทศแล้วได้สถานะเป็นผู้ลี้ภัย และเป็นพลเมืองของประเทศใหม่ บางส่วนตัดสินใจเดินทางกลับบ้านในเมืองไทยแล้วโดยปลอดภัย บางส่วนถูกจับที่ต่างประเทศหรือถูกจับในเมืองไทย บางส่วนยังคงใช้ชีวิตหลบๆ ซ่อนๆ อยู่ในต่างประเทศ โดยไม่มีกำหนดได้กลับ

สองคนถูกพบเป็นศพในแม่น้ำโขง ถูกคว้านท้องและยัดเสาปูน และอย่างน้อย 7 คนยังคงสูญหาย

ในช่วงปี 2557 นั้น หลังนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ทั้งที่มีคดี 112 และไม่มี เลือกไปใช้ชีวิตที่ต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ก็ปรากฏข่าวลือถึงความไม่ปลอดภัยในชีวิตและร่างกายของพวกเขาเป็นระยะ โดยการไปใช้ชีวิตในต่างประเทศ หากไม่เข้าองค์ประกอบทุกข้อก็ยังไม่ได้สิทธิเป็น “ผู้ลี้ภัย”​ และยังไม่มีสถานะอย่างเป็นทางการที่จะได้รับการปกป้องจากรัฐบาลของประเทศอื่น

แม้ว่า เมื่ออยู่ต่างประเทศแล้วเขตอำนาจของรัฐไทยจะไปไม่ถึง ตำรวจหรือทหารไทยไม่อาจบุกไปจับกุมคนที่อยู่ในต่างประเทศได้ แต่เมื่อ 15 ธันวาคม 2561 ก็มีข่าวการจับกุม กฤษดา ไชยแค ที่ชายแดนไทย-กัมพูชา เขาเป็นคนเดียวที่ถูกจับตามกระบวนการ โดยข้อหาของเขาเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิด ไม่ใช่มาตรา 112 ส่วนคนที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 112 ยังไม่ปรากฏข่าวว่า ถูกจับกุมเพื่อดำเนินคดี แต่หลายคนสูญหาย ไม่ทราบชะตากรรมหรือแม้บางรายสามารถย้ายไปประเทศใหม่ได้แล้ว แต่ชีวิตของคน “ไกลบ้าน” ก็ไม่ได้ราบรื่นอย่างแน่นอน


วงดนตรีไฟเย็น ‘อยู่ที่นี่ไม่ปลอดภัยแม้แต่วันเดียว’

กลุ่มไฟเย็น คือ กลุ่มนักดนตรีที่ก่อตั้งขึ้นปลายปี 2553 เป็นที่รู้จักในแวดวงคนเสื้อแดง และมีผลงานเพลงเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ พวกเขาทั้งหมด 5 คนเลือกลี้ภัยไปลาว สมาชิกในปัจจุบันทั้งหมด 5 คน คือ ขุนทอง หรือ นายไตรรงค์ สินสืบผล, จอม หรือ นิธิวัต วรรณศิริ, แยม รมย์ชลี สมบูรณ์รัตนกูล, โยนก ชฤต โยนกนาคพันธุ์ และ พอร์ท ปริญญา ชีวินกุลปฐม

ระหว่างที่อยู่ในลาวพวกเขายังแต่งเพลงเผยแพร่ และจัดรายการทางยูทูป หลังจากข่าวการหายตัวไปของลุงสนามหลวง, สยาม ธีรวุฒิ และกฤษณะ ทัพไทย ในเดือนมิถุนายน 2562 ข่าวลือเรื่องการกวาดล้างผู้ลี้ภัยทางการเมืองแพร่สะพัด สมาชิกวงไฟเย็นถูกข่มขู่ฆ่าไม่น้อยกว่า 10 ครั้ง ไม่นับรวมข้อความที่ส่งมาสาปแช่ง มีการระบุว่ารู้ที่พักและสามารถเข้าถึงตัวพวกเขาได้ทันที หรือหากคิดหนีจะส่งทหารรบพิเศษไปฆ่าทิ้ง ทำให้พวกเขาต้องหลบซ่อนด้วยความหวาดกลัว

22 สิงหาคม 2552 กลุ่มไฟเย็นได้รับการช่วยเหลือให้ออกมาจากลาว เพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่ประเทศฝรั่งเศส

5 มีนาคม 2564 พอร์ทถูกจับกุมที่บ้านพักในกรุงเทพ ข้อหามาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ หลังจากเดินทางกลับเข้ามาจากนครหลวงเวียงจันทร์ สมาชิกที่เหลือเปิดเผยว่า พอร์ทไม่ได้ลี้ภัยไปฝรั่งเศสตามวงไฟเย็นเนื่องจากปัญหาทางด้านสุขภาพ พอร์ทถูกฝากขังและไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว



สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล “มีความลำบากกว่าอยู่บ้านเยอะ”

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ต้องหาตามหมายจับในข้อหามาตรา 112 ที่เคยถูกมือปืนยิงเข้าไปในบ้านในช่วงที่พูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ หลังการรัฐประหารเขาถูก คสช. เรียกรายงานตัว แต่เขาไม่ได้เข้ารายงานตัวและเงียบหายไปเป็นเวลาหลายเดือน จนกระทั่งทราบภายหลังว่า เขาไปถึงที่ประเทศฝรั่งเศสได้แล้ว หลังจากนั้นเขาเปิดเผยเรื่องราวที่หลบหนีออกนอกประเทศทางเส้นทางธรรมชาติโดยการเดินผ่านป่าเป็นเวลา 6 ชั่วโมง

"ในปีหลังๆ โดยเฉพาะใน 2 ปีที่ผ่านมา ที่ต้องมาอยู่ไกลบ้านขนาดนี้ มีความลำบากกว่าอยู่บ้านเยอะ และมีความเป็นไปได้ว่าชีวิตนี้อาจจะไม่ได้กลับไปอีกเลยก็ได้ บางครั้ง ก็นึกแวบๆ ขึ้นมาในใจเหมือนกัน แต่ก็ไม่ได้คิดมากหรือนานอะไร เป็นเพียงมู้ดชั่วคราวที่ผ่านมาแล้วผ่านไป" สมศักดิ์ โพสเฟซบุ๊กเมื่อปี 2559

18 กุมภาพันธ์ 2560 สมศักดิ์โพสเฟซบุ๊กระบุว่า มารดาของเขาเสียชีวิตแล้ว และในโพสระบุว่า “นอกจากความคิดถึงชีวิตเมืองไทย คิดถึงงาน คิดถึงบ้าน คิดถึงผู้คนหลายคน ซึ่งก็เป็นความลำบากใจที่ผมต้องดีลกับมันเป็นปกติ บางครั้งรุนแรง บางครั้งไม่รุนแรงมาก .. สิ่งเดียวที่ผมรู้สึกแย่มากๆ รู้สึกผิด และความรู้สึกอีกหลายอย่าง (ดังที่ผมเคยเขียนไปบางครั้ง) คือเรื่องแม่ ตอนผมลี้ภัยมา แม่ก็อายุเกิน 90 แล้ว ถ้าผมต้องอยู่นอกประเทศหลายปี อย่างต่ำเป็นสิบปี โอกาสที่จะได้เจอแม่ ก่อนที่แม่เองจะหมดอายุขัยตัวเอง แทบเป็นไปไม่ได้”


ชนกนันท์ “มันถอยไม่ได้แล้ว"

ชนกนันท์ หรือการ์ตูน นักกิจกรรมที่เคลื่อนไหวต่อต้านการรัฐประหารในนามขบวนการประชาธิปไตยใหม่ ถูกออกหมายเรียกให้ไปรับทราบข้อกล่าวหามาตรา 112 จากการแชร์ข่าวบีบีซีไทยเกี่ยวกับพระราชประวัติรัชกาลที่ 10 ในเดือนธันวาคม 2559 เธอตัดสินใจลี้ภัยไปยังเกาหลีใต้

28 มกราคม 2561 ชนกนันท์ โพสเฟซบุ๊กเป็นภาพหมายเรียกตามมาตรา 112 และเล่าเหตุการณ์ช่วงที่เธอตัดสินใจลี้ภัย โดยตอนหนึ่งเล่าว่า “มาถึงที่นี่วันแรก เราเอาแต่ร้องไห้ เพราะหนทางมันมืดแปดด้าน ทุกอย่างดูสับสน กระชั้นชิด งง ไม่รู้จะจัดการยังไง เอาแต่ตั้งคำถามว่าเราคิดถูกแล้วใช่มั้ยที่เลือกจะลี้ภัย หรือเรากลับไปติดคุกแล้วออกมาเจอบ้าน เจอครอบครัว เจอเพื่อนเหมือนเดิม แต่ได้คำตอบว่ามันถอยไม่ได้แล้ว” เธอเล่าภายหลังว่า สาเหตุที่เลือกไปเกาหลีใต้เพราะให้คนไทยเข้าประเทศโดยไม่ต้องทำวีซ่าได้ 90 วัน

“เราคุยกับคนเกาหลีใต้ไม่ได้เพราะฟังไม่รู้เรื่องเลย เราไม่สามารถเรียนในมหาวิทยาลัยได้ แม้กระทั่งออกเงินตัวเอง เพราะมหาวิทยาลัยที่นี่ต้องใช้วีซ่านักเรียน ก็ต้องเรียนที่อื่นที่เป็นเอกชน โรงเรียนสอนภาษาของเอกชนก็ต้องใช้เงินเยอะกว่า แล้วได้เรียนแค่อาทิตย์ละครั้ง ก็ไม่คิดว่าจะพูดได้” ชนกนันท์ พูดผ่านรายการ Hello I'am from prison เรื่องภาษาเป็นอีกเรื่องที่เธอต้องเจอเมื่อไปถึงเกาหลีใต้ใหม่ๆ หกเดือนแรกที่สมัครรับสถานะผู้ลี้ภัยตามกฎหมายของเกาหลีใต้ห้ามทำงาน ที่อยู่ได้เพราะที่บ้านยังส่งเงินมาให้

ชนกนันท์ ได้รับสถานะผู้ลี้ภัยช่วงปลายปี 2561 หลังออกจากประเทศไม่ถึงหนึ่งปี โดยเธอเคยเล่าว่า เรื่องของเธอเดินหน้าเร็วเพราะมีสื่อมาสัมภาษณ์ ทำให้เธอมีชื่อเสียง หลังจากนั้นเธอเข้าร่วมกิจกรรมกับองค์กรในเกาหลีใต้ที่รณรงค์เรื่องสิทธิของผู้ลี้ภัย และได้เป็นเจ้าหน้าที่ทำงานในองค์กรแห่งนั้นเรื่อยมาเพื่อช่วยเหลือผู้ลี้ภัยคนอื่นๆ



จอม เพชรประดับ “จุดที่เราอยู่มันทำได้มากกว่าในประเทศไทย”

จอม เพชรประดับ อดีตผู้สื่อข่าว พิธีกรช่อง NBT, VoiceTV ตัดสินใจเดินทางออกนอกประเทศเมื่อเกิดการรัฐประหารในปี 2557 ตามคำชักชวนของ “ผู้ใหญ่” เขาเดินทางไปยังสหรัฐอเมริกาทันที ภายหลังจึงทราบว่า เขาเองก็มีชื่อเป็นผู้ถูก คสช. เรียกให้ไปรายงานตัว เขาร่วมจัดตั้งองค์กรเสรีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย ที่เคลื่อนไหวต่อต้านการรัฐประหารร่วมกับอดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และสร้างสื่อแห่งใหม่จากยูทูปชื่อ "Thai Voice Media” จัดรายการสัมภาษณ์บุคคลต่างๆ รอบโลก โดยติดต่อประสานงานเอง สัมภาษณ์เอง ตัดต่อเอง เผยแพร่เองด้วยตัวคนเดียวทั้งหมด ในประเด็นที่บางครั้งอาจจะ “เพดานสูง" เกินไปสำหรับสื่อในเมืองไทย

จอมอยู่ในลอส แองเจลลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย และต้องหาเลี้ยงตัวเองไปด้วย พร้อมกับทำงานเคลื่อนไหวไปด้วย โดยได้รับความช่วยเหลือจากคนไทย “เสื้อแดง” ที่อยู่มาก่อน เขาต้องดิ้นรนค้าขายเล็กๆ น้อยๆ และเป็นคนขับรถอูเบอร์ จอมให้สัมภาษณ์กับ VOAThai ว่า “เป็นเรื่องที่ยาก เพราะว่าหนึ่งคือเรามาเริ่มต้นที่นี่ในลักษณะที่ติดลบ เพราะว่าโดนคดีมา... คดีของผมก็คือไม่ไปรายงานตัวต่อคณะ คสช. ... การที่เราจะอยู่กับสังคมไทยในสหรัฐอเมริกาเอง มันก็อยู่ด้วยความลำบาก สำหรับคนไทยที่ยังเชื่อว่ายังฟังแต่รัฐบาลเผด็จการ ก็มองว่าเราเป็นคนร้ายในมุมมองของเขาเหมือนกัน”

เดือนมีนาคม 2559 จอมโพสเฟซบุ๊กเล่าว่า เขาต้องสูญเสียพี่ชายโดยไม่มีโอกาสได้ขอขมาลาโทษ และวันที่ 13 กรกฎาคม 2560 โพสเฟซบุ๊กว่า เขาได้รับสถานะผู้ลี้ภัยในสหรัฐอเมริกาแล้ว

"ผมใช้เสียงในพื้นที่นี้สะท้อนไปยังประเทศไทยว่า เรื่องนี้เป็นไง เรื่องนี้ประชาชนไม่ชอบ คิดยังไง เป็นช่องทางที่เสียงที่ไม่ได้ถูกพูดในไทย ผมก็ตัดสินใจทำด้วยเหตุผลนั้น ว่ามันมีความสำคัญ และจุดที่เราอยู่มันทำได้มากกว่าในประเทศไทย” จอมให้สัมภาษณ์กับบีบีซีไทย


ตั้ง อาชีวะ “จบหน้าที่ของผมแล้ว”

เอกภพ หรือ ตั้งอาชีวะ ขึ้นกล่าวปราศรัยบนเวทีเล็ก ในการชุมนุมของ นปช. ที่ราชมังคลากีฬาสถาน เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2556 คลิปการปราศรัยถูกแชร์ต่อกัน ทำให้เขาถูกออกหมายจับ ถูกฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองหยิบมาเป็นประเด็นโจมตี และถูกปาระเบิดใส่บ้านพักด้วย ทำให้เขาตัดสินใจข้ามพรมแดนไปกบดานอยู่ที่กัมพูชา จนกระทั่งหลังรัฐประหารก็ถูกติดตาม และถูกขอให้เข้ามอบตัว เขาจึงทำเรื่องขอลี้ภัยกับ UNHCR ที่พนมเปญ และได้ไปอยู่นิวซีแลนด์พร้อมกับแฟนของเขา เมื่อได้ไปอยู่นิวซีแลนด์แล้ว เขาทำธุรกิจเล็กๆ ของตัวเอง นำเข้าอะไหล่รถยนต์ และประมูลซากรถยนต์มาตกแต่ง

“ยูเอ็นเรียกไปสัมภาษณ์มากกว่า 20 ครั้ง เพื่อหาจุดจับผิดว่า เราจะโกหกเพื่อให้ได้ไปอยู่ประเทศอื่นหรือไม่ เขาส่งคนเข้าไปในประเทศไทย เพื่อหาข้อมูลว่าเรื่องที่เราเล่ามันจริงหรือไม่

“ถ้าคิดจะลี้ภัยนะครับ และมีเงินมีความสามารถพอ อยู่ด้วยตัวเอง และหาทางไปประเทศอื่น ใครจะมาอุ้มมาฆ่าก็เข้าถึงตัวยาก เพราะเราไม่มีความเชื่อมโยงกับกลุ่มคนไทยที่ลี้ภัยด้วยกัน

“จบหน้าที่ของผมแล้ว เพราะลำพังตัวผมคนเดียว ไม่สามารถที่จะไปสู้รบปรบมือกับใครได้ ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศไทยได้ เราจะต้องสร้างตัวเอง เปลี่ยนแปลงตัวเองก่อน แน่นอนประสบการณ์ชีวิตที่หนีตายมาจากประเทศไทย จะเรียกว่าเป็นวิกฤติของชีวิตก็ว่าได้ ขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างโอกาสให้กับผมด้วย...” เอกภพ เล่าเรื่องของตัวเองผ่านรายการ Hello, I’m from prison

เรื่องราวข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ผู้ลี้ภัยชาวไทยต้องเจอ แต่ยังมีอีกส่วนหนึ่งที่ไม่โอกาสได้กลับมาเล่าถึงการใช้ชีวิตในต่างแดน ทำได้เพียงแค่ส่งเสียงจากครอบครัวหรือญาติมิตรเพราะพวกเขาถูกบังคับให้สูญหาย



อิทธิพล สุขแป้น หรือ ดีเจซุนโฮ หรือ เบียร์ ผู้ลี้ภัยในลาว

หายตัวไปเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2559

ดีเจซุนโฮเคลื่อนไหวกับกลุ่มเชียงใหม่ 51 ถือว่าเป็นกลุ่มเสื้อแดงในจังหวัดเชียงใหม่ และยังเป็นผู้จัดรายการวิทยุชุมชนที่มีเนื้อหาวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์และการเมืองในช่วงเวลานั้น ดีเจซุนโฮเคลื่อนไหวทางการเมืองตั้งแต่ปี 2552 ทั้งการขึ้นปราศรัยกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และการร่วมกับกลุ่มเสรีปัญญาชน โดยดีเจซุนโฮถูก คสช. เรียกให้ไปรายงานตัวตามคำสั่งคสช. ฉบับที่ 25/2557 แต่เขาเลือกที่จะลี้ภัยไปยังประเทศเพื่อนบ้าน และยังคงวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลทหารผ่านยูทูปและเฟซบุ๊กอยู่เสมอ
 ชีวิตในช่วงที่ลี้ภัยนั้นนอกจากวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล เขาทำอาชีพขายปลาร้าสับในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งเขาจะเป็นคนไปส่งสินค้าเองโดยใช้รถจักรยานยนต์ที่มีตะกร้าผูกไว้ท้ายรถ

วันที่ 18 มิถุนายน 2559 ญาติของดีเจซุนโฮระบุว่า ยังได้มีการติดต่อพูดคุยกับเจ้าตัวอยู่ ต่อมาวันที่ 22 มิถุนายน 2559 ดีเจซุนโฮได้ไปรับประทานอาหารกับคนไทยด้วยกันในร้านแห่งหนึ่งและแยกย้ายกันกลับ มีพยานระบุว่าได้ยินเสียงเอะอะโวยวาย บริเวณถนนข้างทางที่มีหญ้าขึ้นรกนั้นปรากฏรองเท้ากีฬาข้างหนึ่งของดีเจซุนโฮ และรถจักรยานยนต์จอดทิ้งไว้ในระยะห่างจากตัวร้านอาหารเพียง 1 กิโลเมตร

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับดีเจซุนโฮสืบทราบข้อมูลมาว่า เขาถูกเจ้าหน้าที่ไทยคุมตัวไปไว้ที่ค่ายทหารแห่งหนึ่งในจังหวัดเพชรบูรณ์ แต่ติดตามสอบถามไปยังเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกลับได้รับการปฏิเสธ ทั้งนี้ คสช. เองก็ยอมรับว่ามีการติดตามความเคลื่อนไหวของดีเจซุนโฮจริง แต่ปัดว่าไม่มีส่วนรู้เห็นต่อการจับกุมหรือการหายตัวไปของเขา



วุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ หรือ โกตี๋ ผู้ลี้ภัยในลาว

หายตัวไปเมื่อวันที่ 29 กรกฏาคม 2560

โกตี๋ เป็นแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงในจ.ปทุมธานี เขาเคยเป็นการ์ดให้แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และเป็นที่รู้จักในฐานะสาย “ฮาร์ดคอร์” โกตี๋เป็นดีเจวิทยุคลื่น FM 106.10 สถานีวิทยุ..เพื่อมวลชน..(REDGARD RADIO) เคลื่อนไหวเป็นอิสระจากนปช. ต่อมาเขาถูกออกหมายจับในคดีมาตรา 112 ก่อนจะเลือกลี้ภัยไปลาว

จอม เพชรประดับ ผู้ลี้ภัยที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาโพสเฟซบุ๊กเปิดเผยเรื่องของโกตี๋ว่า “ผมได้รับคำยืนยันจากคนที่ใกล้ชิดกับ โกตี๋ ว่าโกตี๋ได้ถูกชายชุดดำ ประมาณ 10 คน คลุมหน้าด้วยหมวกไหมพรมพร้อมอาวุธครบมือ บุกเข้าจับตัวไปเมื่อประมาณ 9.45 ตามเวลาท้องถิ่นในประเทศเพื่อนบ้าน เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคมที่ผ่านมา...”

คำบอกเล่าของจอมยังเสริมอีกว่าในการจับกุมนั้น มีชายชุดดำซุ่มอยู่รออยู่แถวละแวกบ้าน ในขณะที่โกตี๋กำลังจะลงจากรถชายชุดดำได้เข้าจับกุมคนที่อยู่ด้วยกันสามคน คือ โกตี๋, เพื่อน และภรรยาของโกตี๋เอง โดยใช้ผ้าดำคลุมหัว นำมือไขว้หลังและมัดเอาไว้ ก่อนจะทิ้งทั้งสองที่กลายเป็นพยานในที่เกิดเหตุไว้บริเวณหน้าบ้าน และนำตัวโกตี๋ไปคนเดียว

เพื่อนของโกตี๋เล่าว่า ชายชุดดำที่มาจับกุมพวกเขานั้นพูดภาษาไทยและใช้อุปกรณ์ช็อตไฟฟ้าช็อตเข้าที่ต้นคอของพวกเขา พร้อมกับการขู่ไม่ให้ส่งเสียงร้องขอความช่วยเหลือ นอกจากนั้น เพื่อนทั้งสองคนนี้ยังได้ยินเสียงโกตี๋พูดว่า "โอ้ย หายใจไม่ออก" ก่อนจะไม่ได้ยินเสียงโกตี๋อีกเลย



สุรชัย แซ่ด่าน, ไกรเดช ลือเลิศ หรือกาสะลอง, ชัชชาญ บุปผาวัลย์ หรือ ภูชนะ ผู้ลี้ภัยในลาว

หายตัวไปเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2561

สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ หรือสุรชัย แซ่ด่าน เคลื่อนไหวทางการเมืองมาตั้งแต่วัยหนุ่ม เคยเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ ระหว่างปี 2519-2524 และถูกจับ ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำจนกระทั่งปี 2539 เขาเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐประหารในปี 2549 ในฐานะ “แดงอิสระ” ขึ้นเวทีปราศรัยหลายครั้ง และโดนคดีมาตรา 112 รวม 5 คดี จำคุกจริง 2 ปี 7 เดือนก่อนได้รับพระราชทานอภัยโทษ หลังลี้ภัยไปลาวยังคงเคลื่อนไหวจัดรายการทางยูทูป หรือที่เรียกว่า “วิทยุใต้ดิน”

วันที่ 12 ธันวาคม 2561 เพื่อนผู้ลี้ภัยชาวลาวเดินทางไปพบทั้งสามที่บ้านพักแต่ไม่พบ หลังจากนั้นหนึ่งวันพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช. และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในขณะนั้น จะเดินทางเพื่อประชุมร่วมนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอย่างไม่เป็นทางการไทย-ลาว (Joint Cabinet Retreat: JCR) ครั้งที่ 3 และกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ ที่นครเวียงจันทร์ เพียงหนึ่งวัน

ผ่านไป 17-18วัน ถึงปรากฏภาพศพลอยติดฝั่งแม่น้ำโขง ซึ่งกลายเป็นข่าวดังในปีนั้น

เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2561 บริเวณตำพลท่าจำปา อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม พบศพนิรนามศพแรก ตามมาด้วยศพที่สอง บริเวณตลิ่งใกล้บริเวณตลาดนัดไทย - ลาว อำเภอธาตุพนม จ.นครพนม ในวันที่ 27 ธันวาคม และพบศพที่สามที่บ้านสำราญเหนือ ต.อาจสามารถ จังหวัดนครพนม ในวันที่ 29 ธันวาคม โดยภายหลังศพที่พบในวันที่ 26 ธันวาคมนั้นถูกกระแสน้ำพัดพาหายไป แม้จะมัดเชือกป่านไว้กับไม้ริมตลิ่งก็ตาม

เมื่อตรวจดีเอ็นเอแล้ว พบว่า สองศพนั้นตรงกับชัชชาญ บุปผาวัลย์ หรือสหายภูชนะ และไกรเดช ลือเลิศ หรือกาสะลอง สภาพทั้งสองศพนั้นคล้ายกัน คือถูกใส่กุญแจมือไขว้ไว้ด้านหน้า ลำคอถูกรัดด้วยเชือกป่าน ถูกของแข็งทุบใบหน้า คว้านท้องยัดด้วยเสาปูนยาว 1 เมตร ห่อด้วยกระสอบป่าน เย็บติด 2-3 กระสอบแล้วหุ้มด้วยตาข่าย ยังไม่มีการยืนยันถึงความเป็นอยู่ของสุรชัย

"อาจารย์พูดไว้ตั้งแต่สมัยนู้นแล้วว่า การปฏิวัติเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยมีอยู่สามอย่าง ไม่ตายก็ติดคุก ไม่ติดคุกก็ต้องหนีการไล่ล่า ป้าทำใจตั้งแต่ยังไม่แต่งงานกับอาจารย์" ป้าน้อย ภรรยาของสุรชัยให้สัมภาษณ์กับ BBC News

ไกรเดช ลือเลิศ เขาเคยเข้าร่วมการชุมนุมกับกลุ่มนปช. หรือแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ รวมถึงเป็นทีมงานถ่ายทอดสดการชุมนุมและเวทีเสวนาต่างๆ ทั้งของกลุ่มคนเสื้อแดงและกลุ่มนักวิชาการตั้งแต่ช่วงหลังการรัฐประหารปี 2549 ไกรเดชเป็นคนมีความรู้และเชี่ยวชาญในเรื่องระบบไอที ทำให้เขาเป็นคนคอยช่วยเหลือการถ่ายทอดสดออนไลน์ของสุรชัยในช่วงก่อนและหลังลี้ภัย
ชัชชาญ บุปผาวัลย์ ก่อนหน้าเขาไม่ได้สนใจการเมืองเท่าไหร่นัก จนกระทั่งมีการจัดกิจกรรมชุมนุมขึ้นในพื้นที่กรุงเทพ กับความคิดที่ว่า ‘ในที่ชุมนุมน่าจะขายของได้’ ทำให้เขาเริ่มโฆษณาติดตั้งจานดาวเทียมในม็อบพันธมิตร ก่อนจะสนใจการปราศรัยของกลุ่มนปช. หรือแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ทำให้้นอกจากไปร่วมชุมนุมแล้วเขายังรับติดตั้งจานดาวเทียมให้กับช่องเสื้อแดงอีกด้วย จนกระทั่งในปี 2551 ชัชชาญเคยลงสมัครเลือกตั้งท้องถิ่น. และช่วยงานนักการเมืองในภาคอีสานหาเสียง หลังลี้ภัยชัชชาญเลือกที่จะอยู่ที่ไซยะบุรี ก่อนจะย้ายมาอยู่ร่วมกับสุรชัย แซ่ด่าน และเริ่มจัดรายการวิทยุใต้ดิน ที่เวียงจันทร์

ในวันที่ 12 ธันวาคม 2563 ชัชชาญบอกกับบุตรชายทางไลน์ว่าจะหายไป 3 วัน หลังจาก 3 วันก็ยังไม่มีใครสามารถติดต่อเขาได้ จนกระทั่งวันที่ 23 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของชัชชาญ บุตรชายก็ยังไม่สามารถติดต่อผู้เป็นพ่อได้หลังจากนั้นไม่กี่วันถึงพบ 2 ศพลอยบริเวณแม่น้ำโขง จังหวัดนครพนมในช่วงปลายเดือนธันวาคม

“สงกรานต์ปีที่เขาตาย ผมไปเจอเขา ก่อนกลับน้องชายก็เข้าไปกอด แล้วเรียกให้ผมไปกอดพ่อ พ่อก็บอกว่า “ไม่ต้องกอดๆ” เหมือนแค่มองตาเราก็เข้าใจกันแล้วไม่ต้องแสดงออก” กึกก้อง บุปผาวัลบ์ บุตรชายของชัชชาญ ให้สัมภาษณ์กับทาง the101.world


ชูชีพ ชีวสุทธิ์ หรือลุงสนามหลวง, กฤษณะ ทัพไทย หรือ สหายยังบลัด
และสยาม ธีรวุฒิ หรือ สหายข้าวเหนียวมะม่วง ผู้ลี้ภัยในลาว


หายตัวไปเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2562

ชูชีพ ชีวสุทธิ์ เคยประธานชมรมนิยมไทย ที่มีการแสดงออกต่อเหตุการณ์ความรุนแรงในอดีตและปัจจุบัน เช่น ร่วมติดโปสเตอร์และแจกใบปลิวเปิดโปงกรณีการจับผู้ต้องสงสัยว่าร่วมกับคอมมิวนิสต์มาฆ่าและเผาในถังน้ำมัน 200 ลิตร หรือ เหตุการณ์ ‘ถีบลงเขาเผาลงถังแดง’ ที่ภาคใต้ ช่วงหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เขาเลือกที่จะเข้าป่าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ในเขตอีสานใต้ ภายหลังจากออกจากป่าชูชีพทำธุรกิจส่วนตัว และจัดรายการวิทยุวิเคราะห์การเมืองไทย ในวันที่ 20 สิงหาคม 2551 ศาลอาญากรุงเทพใต้ อนุมัติหมายจับชูชีพ ในข้อหามาตรา 112 ชูชีพเลือกที่จะลี้ภัยออกนอกประเทศ
สยาม ธีรวุฒิ เด็กหนุ่มวัย 29 ปี อดีตนักกิจกรรมกลุ่มประกายไฟ เคยเกี่ยวข้องกับละครเวทีเรื่อง “เจ้าสาวหมาป่า” หลังลี้ภัยไปในปี 2557 เข้าร่วมจัดรายการวิทยุกับผู้ลี้ภัยคนอื่นด้วย

กฤษณะ ทัพไทย เคยเข้าป่าอีสานใต้ หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ก่อนจะออกมาทำอาชีพทำป้ายโฆษณา โดยกฤษณะถูกทางการกล่าวหาในคดีความเกี่ยวกับความมั่นคง

9 พฤษภาคม 2562 'เพียงดิน รักไทย' หนึ่งในผู้ลี้ภัยทางการเมืองเปิดเผยผ่านช่องทางยูทูปว่า ทั้งสามคนถูกจับกุมที่เวียดนามเมื่อเดือนมกราคม 2562 ถูกส่งตัวกลับไทยแล้ว แต่ไม่มีความคืบหน้า คาดว่าการจับกุมสืบเนื่องมาจากทั้งสามคนใช้พาสปอร์ตอินโดนีเซียปลอมเดินทางเข้าเวียดนาม เหตุที่ต้องข้ามจากลาวไปเวียดนามอาจเป็นเพราะมีเจ้าหน้าที่ไม่ทราบฝ่ายพยายามที่จะติดตามและกวาดล้างกลุ่มผู้ลี้ภัยทางการเมืองในลาว


วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ผู้ลี้ภัยในกัมพูชา

หายตัวไปเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2563

วันเฉลิม อายุ 37 ปี เจ้าของเพจเฟสบุ๊ค ‘กูต้องได้ 100 ล้านจากทักษินแน่ๆ’ เคยเป็นนักกิจกรรมด้านสังคม ที่ทำงานร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนหลายด้าน เช่น ด้านเด็กและเยาวชน รณรงค์ ป้องกันเอชไอวี และเอดส์ เขาเป็นผู้ลี้ภัยทางการเมืองที่พักอาศัยอยู่ในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา และกำลังทำธุรกิจเกี่ยวกับการเกษตร

‘โอ๊ย หายใจไม่ออก’ เป็นเสียงสุดท้ายที่สิตานัน สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ พี่สาวของวันเฉลิมได้ยินทางโทรศัพท์ ก่อนสายจะตัดไป เธอได้เล่าว่า วันเฉลิม ถูกอุ้มหายตัวไปจากหน้าคอนโด ที่กรุงพนมเปญ เมื่อเย็นวันที่ 4 มิถุนายน 2564 ขณะเดินลงมาซื้อลูกชิ้นปิ้งหน้าคอนโด และได้กล่าวอีกว่า เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยพยายามเข้าไปช่วย แต่กลุ่มคนที่มาอุ้มตัวมีอาวุธปืนด้วย โดยหลังจากสายโทรศัพท์ตัดไปแล้ว เธอพยายามโทรกลับไปหลายสายและติดต่อกับทางเพื่อนของน้องชาย จึงได้ทราบว่าวันเฉลิมได้หายตัวไป

กรณีของวันเฉลิมกลายเป็นข่าวดัง เพราะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสดๆ พี่สาวเป็นผู้คุยโทรศัพท์อยู่ในจังหวะที่ถูกอุ้ม และมีภาพในกล้องวงจรปิดบันทึกช่วงเวลาเกิดเหตุไว้ได้ แม้จะมีการร้องเรียนต่อทั้งทางการไทยและกัมพูชา โดยองค์กรทั้งไทย กัมพูชา และองค์กรระหว่างประเทศหลายแห่ง แต่ก็ไม่อาจตามตัวจนพบได้


ผ่านไปหลายปี คนที่ถูก “อุ้มหาย” ก็ยังไร้ร่องรอย มีหลายชีวิตยังคงไร้ร่าง ไร้เสียงจนถึงปัจจุบัน