วันจันทร์, มกราคม 31, 2565

'Encore' เอาอีก ‘ต้องมีสักวัน’ รูปการณ์ต้องให้ตู่ลองเปิดเลือกตั้งผู้ว่า กทม.ไวๆ ดูสิ

มวลชนหลักสี่ที่พากันร้องเพลง ต้องมีสักวันฉลองชัยให้แก่ สุรชาติ เทียนทอง นี่ไม่เหมือนกับพวก ติ่ง และ นางแบกเพื่อไทยเลยนะ พอเจอกล้องว้อยซ์ทีวีสัมภาษณ์ พากันชู สามนิ้ว สลอน พอดูป้ายข้างหลัง อ๋อ พวกเค้าเชียร์เบอร์ ๓

ไม่ได้ไว้ตัว กลัวถูกหาว่าแอบชอบ สามกีบแต่ถึงอย่างนั้นฟังจากแถลงของทั้งฝ่ายว่าที่ ส.ส.และพรรคอันดับสองต่างถ้อยทีถ้อยมีมธุรสต่อกัน เป็นสัญญานว่าต่างฝัก (ผลไม้ประชาธิปไตย) ต่างตระหนักแล้วว่า พี่น้องเดินคู่กันไป ไม่ต้องพี่ออกหน้าน้องหลบหลัง

ผู้ชนะนั่นนอบน้อมเสียเหลือเกิน กล่าวชมคู่ต้อสู้ที่แพ้ไปทั้งหมด ไม่ว่า เพชร กรุณพล หรือ อรรถวิชช์ ไปจนกระทั่งผู้สมัครของ ไทยภักดีทางด้านก้าวไกลก็ตั้งโต๊ะแถลงกันกลุ่มใหญ่ ทั้งพิธา หัวหน้าพรรคไปจนผู้สมัครเบอร์ ๖ ต่างแสดงความยินดีกับเสียงตัดสิน

คะแนนที่ออกมาพรรคเพื่อไทยได้ ๒ หมื่น ๙ พันกว่า ก้าวไกลได้ ๒ หมื่นกับ ๓ ร้อยกว่า พรรคกล้ามาอันดับสามคะแนน ๒ หมื่นนิดหน่อย ขณะที่ฝ่ายสนับสนุน ตู่อยู่ต่ออีกสองพรรค พปชร.และไทยภักดีไล่ตามหลังกัน ได้เกือบ ๘ พันกับเกือบ ๖ พัน

แซ่ซร้องกันว่าฟากประชาธิปไตย พท.+ก.ก.รวมกันเกือบ ๕ หมื่น ชนะฟาก เอีย(เอา+เลีย) ประยุทธ์ อันมีกล้า+พปชร.+ไทยภักดี ทิ้งห่างขาดลอย ราว ๑ หมื่น ๖ พันคะแนน และยังมีข้อคิดของ @DuangritBunnag อีกอย่าง “น่าสนใจ”

ก็คือ ผู้สมัครก้าวไกลเป็นนักการเมืองหน้าใหม่สำหรับพื้นที่ ขณะที่พรรคกล้า “เอา สส.เขตคนเดิมมาลง” ก็ยังได้คะแนนน้อยกว่า แม้จะนิดหน่อย อย่างไรก็ตาม มีข้อคิดของผู้ชำนัญ ‘pundits’ ขาประจำของเราที่นี่ น่าบันทึกไว้

Atukkit Sawangsuk ชมว่าพวกนักห้อยโหน “ได้คะแนนสูงอย่างเซอร์ไพรส์เช่นกัน เทียบแล้วยังได้มากกว่าพรรคกำนันเมื่อปี ๖๒ หลายเท่า จริงๆ ต้องถือว่าหมอวรงค์เข้าเป้า ในการปลุกพลังขวาสุดโต่ง” เลยยุส่ง ให้หมอวรงค์ หมอเหรียญทอง อุ๊ และสุวินัย ได้ปาร์ตี้ลิสต์เข้าสภาครั้งหน้า

แต่ Thanapol Eawsakul นั้นหวนไปเอ่ยถึงเสียงเรียกก่อนเลือกตั้งให้โหวตเชิงยุทธศาสตร์ว่า “เลิกพูดเสียที” ที่เคยชี้หน้าว่าเลือกตั้งปี ๖๒ พี่ใหญ่แพ้พรรคพลังดูดใน กทม.เพราะมี อนาคตใหม่ ไปแย่งคะแนน แต่คราวนี้ปี ๖๕ “ถ้าก้าวไกลไม่ส่ง

ผู้ชนะการเลือกตั้งอาจจะไม่ใช่พรรคเพื่อไทยก็ได้ เพราะก้าวไกลที่โดนปรามาส ว่าเป็นประชาธิปัตย์สาขา ๒กับพรรคกล้า (๓ ไม่เอา) ที่แตกตัวจากพรรคประชาธิปัตย์ มีคะแนนรวมมากกว่าเพื่อไทย” ๔ หมื่นกับหมื่นสี่ ฉะนั้นเลิกผลักไสกันได้แล้ว

โดยเฉพาะก้าวไกลได้พิสูจน์ตัวเองว่า “แม้เรายังไม่ได้เป็นผู้ชนะ แต่ถือว่าเดินมาถูกทางแล้ว...เมื่อดูจากเปอร์เซ็นต์คะแนนเสียงที่ได้รับ ในการเลือกตั้งปี ๒๕๖๒ เราได้ ๒๐ เปอร์เซ็นต์ ครั้งนี้ได้ ๒๔ เปอร์เซ็นต์ มากกว่าครั้งที่แล้ว” ตามคำกล่าวของ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์

“นอกจากนี้นโยบายเกี่ยวกับการปฏิรูปกองทัพก็ถือว่าเป็นที่ตอบรับดีมาก เพราะคะแนนเสียงจากในค่ายทหารในสมัยอนาคตใหม่เราได้ ๒๖ เปอร์เซ็นต์ ครั้งนี้เพิ่มเป็น ๓๕ เปอร์เซ็นต์” เถียงไม่ขึ้นว่า “พี่น้องทหารเห็นด้วยกับสิ่งที่เราจะทำให้กองทัพทันสมัย

เป็นทหารมืออาชีพ ชีวิตของทหารชั้นผู้น้อยดีขึ้น...ใครพยายามสร้างภาพว่าพรรคก้าวไกลกับทหารเป็นปฏิปักษ์กัน คิดว่าเลิกพูดแบบนั้นได้แล้ว...ทั้งนี้เราตั้งใจที่จะทำงานอย่างมุ่งมั่นต่อไปสำหรับการเลือกตั้งใหญ่ เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงประเทศนี้”

พลโทพงศกร รอดชมภู อดีตรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และอดีต ส.ส.อนาคตใหม่ รีบออกมาตอกย้ำว่า “ทหารเองรู้ดีว่าพรรคก้าวไกลไม่ได้เป็นศัตรู” จากการเข้าไปหาเสียงในค่ายทหารพบว่า “ทหารและครอบครัวส่วนใหญ่อยากปฏิรูปกองทัพ

อยากมีสวัสดิการที่ดี ไม่ต้องห่วงครอบครัว พร้อมที่จะรบป้องกันประเทศอย่างสมศักดิ์ศรี...เขาอยากเป็นทหารอาชีพ ไม่ใช่ทหารการเมือง” ทำให้ kovitw@kovitw1 (พ่อของ จอห์น วิญญู) ฟันธง “นโยบายยกเลิกการเกณฑ์ทหารเป็นที่ยอมรับแม้ในหมู่ทหารด้วยกันเอง”

ไม่ว่าเพจ เชียร์ลุงจะพยายามปลอบใจตัวเอง ว่าเลือกตั้งซ่อมหลักสี่ครั้งนี้ “ใครจะแพ้ใครจะชนะยังไง พรุ่งนี้ตื่นเช้ามา นายกรัฐมนตรีก็ยังเป็นคนเดิม และยังเป็นอีกยาวววววว” รูปการณ์ไม่อย่างนั้นแล้วละ ไม่เชื่อให้ตู่เปิดเลือกตั้งผู้ว่า กทม.ไวๆ ดูสิ

(https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_3159097, https://www.facebook.com/asatreerat/posts/4916652968449165 และ https://www.facebook.com/thanapol.eawsakul/posts/5077569485643183)

"ชัยชนะฝ่ายประชาธิปไตย"


Noppakow Kongsuwan
6h ·

"ชัยชนะฝ่ายประชาธิปไตย"
.
.
เราพูดแบบนี้ได้หรือไม่ ผมตอบทันทีเลยว่า "ได้"
.
ผลคะแนนเขต "หลักสี่-จตุจักร" บอกอะไรเราได้หลายอย่างพอสมควร แง่หนึ่งคือคะแนนนิยม "พรรคที่สมาทานหนุน พล.อ.ประยุทธ์" ในกรุงเทพมหานคร (อย่างน้อยก็ 2 เขตนี้) น้อยลงอย่างเห็นได้ชัด ความ "ไม่เอาประยุทธ์" ของคนกรุงเทพค่อนข้างรุนแรง หลายคนอาจจะเถียงว่า "เขตเดียวจะตัดสินอะไรได้" ไม่เชื่อลองจัด "เลือกตั้ง ส.ส." เฉพาะเขตกรุงเทพฯ อาทิตย์หน้าดูก็ได้ (ฮ่าๆ)
.
พรรคอันดับ 1 คือเพื่อไทย "ชนะขาด" ระดับเกือบหมื่นคะแนนในครั้งนี้ นั่นหมายถึงส่วนหนึ่ง ชนะด้วยตัวของ "สุรชาติ เทียนทอง" เจ้าของพื้นที่ ที่ปรากฎภาพตามข้อเท็จจริงของคนในพื้นที่ ว่าเขาลงพื้นที่ทุกวัน ตั้งแต่วันแรกที่เขาแพ้ และวันนี้เขาก็กลับมาชนะ และส่วนหนึ่งที่เชื่อว่ามีส่วนอยู่เหมือนกันคือ "การรีแบรนด์พรรค" สู่ยุค "พรุ่งนี้เพื่อไทย" โดยเฉพาะปรับการสื่อสารทางการเมือง แคมเปญรณรงค์ต่างๆที่ดูชัดเจนและมีทิศทางมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เลือกจำนวนหนึ่ง กลับมามั่นใจในการกลับมากาให้เพื่อไทย และเชื่อว่าถ้าเพื่อไทยยังเดิน Way นี้อยู่ เป้าหมาย "253+ ส.ส." หรือที่เรียกกันว่า "แลนด์สไลต์" ในการเลือกตั้งใหญ่ ก็อาจจะไม่เกินข้อเท็จจริงก็ได้
.
พรรคอันดับ 2 อย่างก้าวไกล ถือว่าได้คะแนะเยอะมาก ถึง 20,000 คะแนนต้นๆ (สูสีพรรคกล้าที่หลักร้อย ที่ตอนแรกจะเป็นเต็ง 2) นี่คือ "นัยยะสำคัญทางการเมือง" ที่น่าจับตาอย่างยิ่ง ว่าคะแนนิยมอนาคตใหม่ ต่อจากก้าวไกล ไม่ได้ลดไปขนาดนั้น คนจำนวนมาก ในเขตนี้ ยังเชื่อว่าแนวทางของอนาคตใหม่ สานต่อมาเป็นก้าวไกลนั้น จะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้ในอนาคต และมันก็อาจจะพิสูจน์ได้แล้วว่า "อนาคตใหม่ ยังคงฆ่าไม่ตาย" ในทางการเมืองจริงๆ
.
"พลังประชารัฐ" ถูกแยก เป็น 3 ร่าง โดยที่เพิ่มมา 2 คือ "ไทยภักดี-พรรคกล้า" ซึ่งช่วงเลือกตั้งใหญ่ หมอเหรียญทองก็มีคะแนนในพื้นที่ และเทให้สิระ กลุ่ม กปปส. ตอนอยู่พลังประชารัฐ ก็เทให้สิระ พอมีความขัดแย้งอย่างหนักในพรรครัฐบาล - คนจำนวนหนึ่งเชียร์รัฐบาลแต่ "ยี้" พลังประชารัฐ - วิกฤตธรรมนัสทำพรรคแตกย่อยยับ ฯลฯ สิ่งต่างๆเหล่านี้ส่งผลให้เกิดภาวะ "เอาคืน" ซึ่งเป็นการตัดคะแนนกันเองอย่างหนักของทั้ง 3 พรรคการเมืองดังกล่าว สิ่งเหล่านี้ น่าจะเป็นเหตุให้พรรคที่ "หนุน พล.อ.ประยุทธ์" มีความ "ห่างไกล" จากคำว่าชัยชนะครั้งนี้
.
คะแนนของ "ไทยภักดี" มีกลุ่มก้อนที่ชัดเจนพอสมควร มาเป็นอันดับ 5 สูสีกับ "พลังประชารัฐ" นั่นหมายถึงยังมีคนจำนวนมาก ที่สมาทานอุดมการณ์ทางการเมืองเช่นนี้ และสังคมต้องหาทางอยู่ร่วมกับกลุ่มคนที่ความคิดต่างอย่างหนักเช่นนี้ให้ได้ ในอนาคต ถ้าฝ่ายประชาธิปไตยชนะ เราต้องดึงเขากลับสู่เกมการแข่งขันทางการเมืองผ่านการเลือกตั้งให้ได้ แน่นอน ดึงเขามาแข่งกันแบบนี้ มันดีกว่าการไปหนุนรัฐประหารเป็นไหนๆ
.
จริงอยู่ ที่การเลือกตั้งครั้งนี้ เป็นการเลือกตั้งซ่อมเพียงเขตเดียว คนออกมาใช้สิทธิ 53% แต่ด้วยผลการเลือกตั้งที่ฝ่ายหนุนรัฐบาล "แพ้ย่อยยับ" อย่างหนักขนาดนี้ ส่งผลอย่างแน่นอนต่อการตัดสินใจ "ปล่อย" ให้มีการเลือกตั้ง "ผู้ว่าฯ กทม." ของผู้มีอำนาจ ถ้าคิดมากไปกว่านั้น "พรรคพลังประชารัฐ" น่าจะคิดหนัก ถ้าเกิดวิกฤตภายในพรรคร่วมจนต้องยอมกัดลิ้น "ยุบสภา" ภายในปีนี้ เพราะก่อนหน้านี้ ก็แพ้ยับ ให้กับ "ประชาธิปัตย์" มาแล้ว ที่ภาคใต้
.
.
สุดท้าย นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้น ศึกนี้อีกยาวไกล (ถึงแม้ว่าติ่งของทั้งพรรคจะฟัดกันบ้าง แต่เป้าหมายใหญ่ยังคงสำคัญอยู่) และ "ปลายปากกา" ของท่านเท่านั้น ที่จะเป็น "จุดเริ่มต้น" ในการทวงประชาธิปไตย ในรูปแบบที่ควรจะเป็นกลับคืนมาสู่สังคมไทย
.
.
ป.ล. เราไม่ควรลืม "เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส" ที่ทำให้การเลือกตั้งซ่อมครั้งนี้เกิดขึ้น ด้วยการสืบค้นข้อมูลอย่างหนัก ในการยื่นตรวจสอบคุณสมบัติ ส.ส. ของ "สิระ เจนจาคะ"

ปรวย เจาะคะแนนนิยมเจ้า 5พันกว่า ไทยภักดี


Pruay Saltihead
7h ·

เวลาอ้างเจ้านี่ อ้างซะใหญ่โต พูดซะว่าสถาบันกษัตริย์นี่เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในประเทศ คำที่ใช้ก็มักจะอ้างว่าคนทั้งประเทศ เช่นในศาล คดีหมิ่น ถ้าจะอ้างลงโทษหรือไม่ให้ประกัน ผู้พิพากษาก็มักจะอ้างว่ากระทบกระเทือนจิตใจชาวไทยทั้งประเทศ

แต่ไหงเวลาเปิดให้แสดงความจงรักภักดีในสิ่งที่สำคัญที่สุด โดยการลงคะแนนให้กับพรรคที่ออกตัวสุดๆว่าเป็นพรรคที่จงรักภักดี กลับมีคนมาลงคะแนนให้แค่ 3.5% จากผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด

3.5% นี่ถ้าเทียบกับร่างกายคนทั้งหมดก็คงประมาณ "หมอย" อ่ะครับ เพราะฉะนั้นเลิกอ้างเอาคนเพียงแค่ "ขยุ้มหมอย" มากำหนดชีวิตคนส่วนใหญ่ทั้งประเทศเสียทีครับ

แล้วไอ้พวกผู้พิพากษาที่อ้างว่ากระทบกระเทือนจิตใจคนทั้งประเทศ มึงก็เลิกอ้างกันซะที มึแค่ขยุ้มหมอยเอง

มีใครอยากเอาปี๊บหรือเข่งไปให้ซินแสเข่งหน่อยไหม


Eric  รักสถาบัน
@sayompoo_eric

·9h

มีใครอยากเอาปี๊บไปให้ซินแสเข่งหน่อยไหม

สัญญาณไม่ค่อยดีนา เยอรมนีทราบหรือเปล่าน้าา...

https://www.facebook.com/Arnond.s/posts/10159985746627728

Wassana Nanuam
7h ·

จาก ชุมพร สงขลา
มา หลักสี่
สัญญาณ อันตราย พปชร. 
สัญญาณ คะแนนนิยม  “บิ๊กตู่”
สัญญาณ หัวหน้าป้อม 
สัญญาณ 3 ป.
ผลนับคะแนนหน่วยเลือกตั้ง
หน้าหน่วยทหาร
ยังเลือก เพื่อไทย-ก้าวไกล
ตกลง แพ้ เพราะอะไร เพราะใคร?
“ธรรมนัส” ก็ออกไปแล้ว
เพราะ “พี่ป้อม”หรือ “น้องตู่”
.
“บิ๊กป้อม” ตัดสินใจ ชู “บิ๊กตู่” เป็นนายกฯ ในโค้งสุดท้าย หาเสียง เลือกตั้งซ่อมหลักสี่ จตุจักร
ทั้งๆที่ รู้ว่าแพ้!!
แต่มองในแง่ดี บิ๊กป้อม อาจแอบหวังว่าชื่อพลเอกประยุทธ์ จะยังพอขายได้
และเพื่อเป็นการสยบข่าวร้าวแตกแยก และสยบข่าวที่ว่า ตัวพลเอกประวิตร เอง ไม่สนับสนุน พลเอกประยุทธ์ เป็นนายกฯแล้ว
แต่ใน กลเกมทางการเมืองแล้ว พลเอกประวิตร ไหนๆ ก็รู้ว่าแพ้ อยู่แล้ว ก็ใช้โอกาสนี้ทำให้พลเอกประยุทธ์ ได้เห็นว่า คะแนนนิยม ไม่ได้ดี เหมือนเมื่อก่อนแล้ว
หลังจากที่ พลเอกประยุทธ์ และฝ่ายสนับสนุนยังมั่นใจว่าคะแนนนิยม พลเอกประยุทธ์ ยังดีอยู่ และติติง ที่พลเอกประวิตร ไม่ประกาศให้ชัดเจนเรื่องสนับสนุน พลเอกประยุทธ์ เป็นนายกฯ ในการหาเสียงเลือกตั้ง
ทั้งสนามเลือกตั้งซ่อม ที่สงขลา ชุมพร จนทำให้ มาสนามหลักสี่ จตุจักรนี้ พลเอกประวิตร จึงต้องประกาศ หนุน พลเอกประยุทธ์เป็นนายกฯ
แต่ที่สุด ผลการนับคะแนน “มาดามหลี” พปชร. ได้แค่ 7 พันกว่าคะแนน ไม่ถึงหลักหมื่น แพ้ลุ่ย ให้ พรรคเพื่อไทย ที่มาแรงตั้งแต่ต้น และเคยเป็นเจ้าของพื้นที่เดิม
แม้แต่หน่วยเลือกตั้งหน้าหน่วยทหารใหญ่หลายหน่วยในเขตนี้ พรรคเพื่อไทย และ ก้าวไกล กลับมีคะแนนนำ พปชร. ที่สะท้อนได้ว่าสมัยนี้จะทหารสั่งไม่ได้อีกแล้ว ในเรื่องการเลือกตั้ง
เพราะแม้แต่ การเลือกตั้งปี 2562 ที่ผ่านมาผลการนับคะแนนหน้าหน่วยทหาร ก็ปรากฏว่าพรรคอนาคตใหม่ในเวลานั้น กับพรรคพลังประชารัฐ สูสี บางหน่วย พรรคอนาคตใหม่ ก็ชนะด้วยซ้ำไป
แม้แต่การเลือกตั้งซ่อม ที่สงขลาและชุมพร ที่คิดว่าคนใต้ ยังนิยม พลเอกประยุทธ์ อยู่ ก็พ่ายแพ้มาแล้ว
จนมาถึง เลือกตั้ง ซ่อมหลักสี่ จตุจักรครั้งนี้ผลการนับคะแนนหน้าหน่วยทหารหลายหน่วย พรรคเพื่อไทย และพรรคก้าวไกล ก็ยังได้คะแนนนำ พปชร. โดยเฉพาะ ที่หน้าโรงเรียนช่างฝีมือทหาร
นอกจากสะท้อน คะแนนนิยมในตัวพลเอกประยุทธ์ แล้ว ส่วนหนึ่ง อาจเป็นเพราะภาพลักษณ์ ของพรรคพลังประชารัฐ ที่มีปัญหาความขัดแย้งแตกแยกโดยเฉพาะ พี่น้อง 3 ป.ด้วย
ดังนั้น พลเอกประวิตร อาจอาศัย การพ่ายแพ้ทั้ง3 สนามเลือกตั้งซ่อม ในการหาตัวนายกฯ คนใหม่ หรือนายกฯ เบอร์2-3 เอาไว้
แต่ในขณะเดียวกันฝ่าย พลเอกประยุทธ์ ก็อาจพลิกเกม สู้ ในการเสนอปรับโครงสร้างพรรคพปชร.ใหม่ เพราะความพ่ายแพ้ อาจเพราะ ตัว หัวหน้าพรรค อีกทั้ง พล.อ.ประยุทธ์ เล็งจังหวะ ที่จะมาเป็นหัวหน้าพรรคพปชร.เอง
คนละหมัด !!
ฉากทัศน์ 3 สนามเลือกตั้งซ่อม นี้ สะท้อน ทั้ง คะแนนนิยมพรรค พปชร. และ ตัว พล.อ.ประยุทธ์ ลดน้อยลง ที่อาจทำให้ พี่น้อง3 ป. คีย์แมน แผงอำนาจ คิดหนัก หากต้องยุบสภา แล้วเลือกตั้งใหม่ ก็ไม่ง่ายที้ พปชร.จะชนะเลือกตั้ง
แม้จะมี 250 สว. รออยู่ในสภา ก็ตาม แต่ ก็อาจค้านสายตาประชาชน
เกม อาจต้องเปลี่ยน ! 3 ป. ถ้าไม่กลับมา สามัคคี รวมกันสู้ ก็คงต้องแยกย้าย กันไปคนละทาง พร้อมความพ่ายแพ้
เลือกตั้งซ่อม หลักสี่ ครั้งนี้ จึงไม่ใช่ แค่เลือกตั้งซ่อม แต่สะท้อนภาพใหญ่ทางการเมือง เลย ก็ว่าได้
หาก 3 ป. และ พปชร. ขั้วอำนาจ”ประยุทธ์” เห็นแววของการแพ้เลือกตั้ง สนามใหญ่ เช่นนี้ คงต้องเปลี่ยนแผน ?!
อนาคต ที่เห็น จึงมีความวุ่นวาย รออยู่ !!!
Wassana Nanuam
...
Nattharavut Kunishe Muangsuk
10h ·

ระดับชาวบ้านในเขตเขารู้ว่า พลังประชารัฐไม่ได้หนุนประยุทธ์แล้ว อย่างน้อยก็เห็นความขัดแย้งภายในที่ยังหาทางลงกันไม่ได้ เพราะพลังประชารัฐเป็นพรรคของประวิตร สิระก็ห้อยเหรียญประวิตร พรรคกล้าและไทยภักดีดักกระแสนี้ถูกถึงประกาศว่าถ้าเลือกเขาเข้าไปจะสนับสนุนประยุทธ์ เสริมพลังให้รัฐบาล กระแสตรงนี้แหละที่ทำให้พลังประชารัฐแพ้ยับยุ่ย โดยคะแนนถูกตัดไปให้กล้ากับไทยภักดี
เห็น gap ชัดๆ ที่แสดงผ่านอาการสิระ ตอนนักข่าวถามเมื่อกี้ว่า ความพ่ายแพ้ของเมียตนเองสะท้อนความนิยมต่อประยุทธ์หรือไม่ สิระบอกว่าตอบไม่ได้ ก็แหงล่ะ

"ช่วยเอากูออกไปจากค่ายนี้ที" พรรคก้าวไกล ชนะในหน่วยทหาร ที่แขวงจันทรเกษม จตุจักร หน่วย 10 แสดงชัดว่านโยบายยกเลิกการเกณฑ์ทหารเป็นที่ยอมรับแม้ในหมู่ทหารด้วยกันเอง


kovitw
@kovitw1


พรรคก้าวไกล ชนะในหน่วยทหาร ที่แขวงจันทรเกษม จตุจักร หน่วย 10 ภายในโรงเรียนช่างฝีมือทหาร แสดงชัดว่านโยบายยกเลิกการเกณฑ์ทหารเป็นที่ยอมรับแม้ในหมู่ทหารด้วยกันเอง

@Peerakovic
·7h
Replying to
@kovitw1
กลัวว่า เค้าจะพาล เล่นงานทั้งหน่วยสิครับ สันดานเผด็จการ มันสนสี่สนแปดที่ไหน อะไรที่เกิดขึ้นในหน่วยทหาร มันแทบจะเป็นเหมือนเมืองลับแลเลยก็ว่าได้

@Sine56252588
·6h
Replying to
@kovitw1
น้องๆทหารคงอยากตะโกนว่า "เอากูออกไปจากตรงนี้ที"

@torerohola
·6h
Replying to
@kovitw1
ต้องขอบคุณทุกเสียงจากทหารที่มีความคิดเป็นของตัวเอง รู้และเข้าใจในสิทธิและหน้าที่ของตน กล้าที่จะแสดงความคิดเห็น ไม่กลัวเกรงต่ออำนาจหรือสังกัด ไม่มีใครมีสิทธิในตัวคุณเท่าตัวคุณเอง ขอชื่นชม ประเทศเราต้องการคนกล้าอย่างคุณ

@chokcha65304586
·5h
Replying to
@kovitw1 and
@madmax68176958
ทหารรุ่นใหม่อยากมีอนาคตที่ดี มีสวัสดิการที่ดี เลื่อนขั้นตามผลงานและความสามารถแบบประเทศที่พัฒนาแล้ว ไม่ใช่รวยแต่นายและพรรคพวกนายและเลื่อนยศตามความชอบหรือส่งส่วยหรือตั๋วช้างของใครบางคน

อ่านความเห็นท่านอื่นต่อที่ https://twitter.com/kovitw1/status/1487785361942085634

ไทยภักดีหาเสียงโหนสถาบันฯ เมื่อแพ้ ตัดพ้อว่า เสียเปรียบทุกประตู เป็นพรรคใหม่สู้ด้วยหัวใจ - มีคนรักสถาบันมาลงคะแนนน้อย 5987 คะแนน



หมอวรงค์ ยอมรับเป็นบทเรียน พ้อ ‘ไทยภักดี’ เสียเปรียบทุกประตู เป็นพรรคใหม่สู้ด้วยหัวใจ

เมื่อเวลา 19.30 น. วันที่ 30 ม.ค.2565 นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม หัวหน้าพรรค ไทยภักดี แถลงภายหลังผลการนับคะแนนอย่างไม่เป็นทางการ นายสุรชาติ เทียนทอง ผู้สมัครส.ส.กทม.เขต 9 พรรคเพื่อไทย มาเป็นอันดับ1 ว่าเราต้องยอมรับว่าพรรคไทยภักดีเริ่มต้นจากศูนย์ เรามีเวลาประมาณกว่า 20 วันในการหาเสียง

และหากเปรียบเทียบเงื่อนไข เราเสียเปรียบทุกประตู เพราะเป็นพรรคใหม่ และผู้สมัครจากพรรคเราก็ใหม่ แต่เนื่องจากเรามีความตั้งใจ ซึ่งคะแนนที่ออกมาในขณะนี้ถือว่ายังไม่จบ ก็ถือว่ายอมรับได้ และมีบทเรียนเยอะพอสมควรที่จะนำไปใช้ปรับปรุงในการเลือกตั้งครั้งหน้า

นพ.วรงค์ กล่าวต่อว่า ขอขอบคุณประชาชนเขตจตุจักร และหลักสี่ จากที่เราเป็นศูนย์แล้วขึ้นมาขนาดนี้ หากเปรียบเทียบกับแชมป์เก่าก็ถือว่าเราไม่ได้ทิ้งขาด ถ้าเรามีประสบการณ์มากกว่านี้และมีเวลามากกว่านี้ได้ใกล้ชิดกับประชาชน เชื่อว่าเรามีโอกาสที่จะพัฒนาได้

ขอขอบคุณทีมงานทุกคนที่ช่วยกันในช่วงเวลากว่า 20 วัน นี่คือคะแนนที่บริสุทธิ์จริงเป็นคะแนนที่ได้มาจากประชาชนยิ่งกว่าเพชรที่เจียระไน เราเป็นพรรคการเมืองใหม่และผู้สมัครของพรรคก็ใหม่ หากเปรียบเทียบกับพรรคการเมืองเก่าที่อยู่ในพื้นที่มานานทุกอย่าง เขาได้เปรียบเราทุกประตู แต่พรรคไทยภักดีสู้ด้วยหัวใจ

ขอขอบคุณประชาชนที่ให้กำลังใจเราไม่ท้อ ไม่ถอยจะเดินหน้าต่อไปเรื่อยๆ เพียงแต่ครั้งนี้ประชาชนยังไม่เชื่อว่าพรรคไทยภักดีจะเป็นผู้ที่จะแก้ปัญหาให้บ้านเมืองได้ วันหนึ่งถ้าประชาชนเข้าใจและรู้จักเรามากขึ้นประชาชนจะไว้วางใจให้เราเข้าไปดูแลปัญหาของประชาชน


อดีตราชวงศ์อิตาลีขอทวงคืนมงกุฏเพชร Not Too Fast ! สมบัติถูกยึดเพราะกษัตริย์ สนับสนุนรัฐบาลฟาสซิสต์ของมุโสลินี จึงถูกประชามติล้มเลิกระบอบกษัตริย์ไปเมื่อวันที่2 มิถุนายน 1946




Italy's former royals demand the return of £250million crown jewels that were confiscated when the country abolished its monarchy because it backed fascists
  • Italy's royal family were exiled from Italy after the Second World War until 2002
  • Their collection of jewellery, consisting of diamond tiaras and necklaces, were placed in a vault in the Bank of Italy in Rome
  • But the royal House of Savoy now want their jewels returned to them 78 years on
Italy's former royal family have demanded the return of their crown jewels, believed to be worth £250million, that were taken away from them when the country abolished its monarchy.

The royals, who were exiled from Italy after the Second World War until 2002, want their collection of tiaras, necklaces, brooches and earrings returned to them from a vault in the Bank of Italy in Rome.

The royal House of Savoy's collection, comprising of 6,000 diamonds and 2,000 pearls, was taken away when Italians voted to abolish the monarchy after the war, with the then King Umberto II fleeing to Portugal.

The Italians were punishing the royal family for first collaborating with fascist dictator Benito Mussolini and then fleeing Rome in 1944 to avoid an invading German army.

Ever since, the jewels have been kept by the Bank of Italy and reports suggest they are worth up to £250 million (€300 million).

But now, the former royal family are calling for the jewels, which were worn by Italian queens and princesses, to be returned to them 78 years later.

'Italy should do what is right and fitting and restore the jewels to my family,' Prince Emanuele Filiberto of Savoy, 49, told the Telegraph.
 

Crown Prince Umberto of Italy with his bride Princess Marie Jose of Belgium, in 1930

He added: 'The monetary value of the jewels doesn't interest us. What is more important is the historical and sentimental value that they have for the family.

'Italy is about the only republic in the world where the private property of the ex-royal family is still in the hands of the State. It's shameful. Even Russia and Yugoslavia restored private possessions to their royals.

'The jewellery has been hidden away in a chest for more than 70 years. Unlike the Crown Jewels in the Tower of London, these have never ever been on display to the public.

'It is about time that they were returned to the heirs of the royal family.'

A mediation meeting was held between lawyers for the Savoys and representatives of the Bank of England on Tuesday - but the meeting was inconclusive, the newspaper reported.
 




The process will be long and it is believed that the Bank, which was given the 'custody' of the jewels, will have to defer the decision to Italy's government.

Sergio Orlandi, the family's lawyer, told the Corriere della Sera newpaper: 'The Savoy family will get the jewels back.'

Asked if his family would display the jewellery collection in a museum, Prince Filiberto said: 'We have to take this step by step. First, the Bank of Italy must return them and then the heirs of the royal family will decide what to do with them.'

Prince Filiberto is well-known in Italy, where he now lives in Milan.

He now runs a catering business called Prince of Venice and has lead a colourful life in the public eye, claiming to have undergone a six-month affair with Kate Moss and starring on Ballando Con Le Stelle, Italy's version of Strictly Come Dancing.

Prince Filiberto is also known as the 'Pasta Prince', due to his career running food trucks in LA.
 


After the Second World War, the men of the once illustrious House of Savoy were sent into exile when Italians voted to end the monarchy.

The then King Umberto II fled to Portugal and never set foot in Italy again. He died aged 78 in 1983 in Geneva, where he was being treated for cancer.

The royal family returned from 56 years in exile in 2002, with Prince Vittorio Emanuele, the son of Italy's last king, his wife Marina Doria and their son Filiberto arriving back into Rome from their home in Geneva, Switzerland, on December 23 2002.

The Italian government had ruled in October of that year that the royal family could return back to Italy after parliament voted to end the exile imposed on male heirs of the family.


The then King Umberto II (pictured with his wife Maria Jose in 1930 on their wedding day) fled to Portugal and never set foot in Italy again. He died aged 78 in 1983 in Geneva, where he was being treated for cancer

Source: The Daily Mail

มีวันนี้ได้เพราะป๊า พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย #เลือกตั้งซ่อมหลักสี่

ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า "สิระ เจนจาคะ" พ้นจากตำแหน่ง ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ เนื่องจากขาดคุณสมบัติเพราะเคยถูกพิพากษาให้จำคุกมาก่อน

คนที่หัวเราะดังที่สุด ไม่ใช่ เพื่อไทย ไม่ใช่ก้าวไกล


a3oyhaSnoname
@aboyshnn

·7h
คนที่หัวเราะดังที่สุด ไม่ใช่ เพื่อไทย ไม่ใช่ก้าวไกล 555555555 #เลือกตั้งซ่อมหลักสี่


คนมาลงคะแนนน้อยจัง

จดหมายเปิดผนึกจากเพนกวิน เล่าอีกประสบการณ์หนึ่งที่ไม่คาดคิดว่าจะมาเจอที่ศาลคือการถูกกดดัน คุกคาม มีกลุ่มชายฉกรรจ์ใส่เสื้อศ.ป.ป.ส. มานั่งใกล้ห้องพิจารณาคดีส่งตาเขียวเขม็ง และมีชายฉกรรจ์เดินตามแม่


ภาพจากข่าวสด

เพนกวิน - พริษฐ์ ชิวารักษ์ Parit Chiwarak
9h ·

[ จดหมายเปิดผนึกจากเพนกวิน]
28 มกราคม 2565
วันนี้ (28 ม.ค.) เป็นอีกวันที่ผมถูกเบิกตัวจากเรือนจำมารับฟังการสืบพยานโจทก์คดีชุมนุมม็อบเฟสที่ผมถูกฟ้องข้อหา 112 อันที่จริงตั้งแต่เด็ก ๆ ผมเคยมีโอกาสมาสังเกตการสืบพยานในคดีทั่ว ๆ ไปมาหลายครั้งแล้วแต่ครั้งนี้เมื่อได้มาสัมผัสบรรยากาศในฐานะจำเลยที่ถูกคุมขังก็เป็นอีกอารมณ์นึง
พยานในวันนี้มาจากกลุ่มศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศ.ป.ป.ส.) ให้การค่อนข้างสับสนเมื่ออัยการโจทย์ถามตอบอย่างหนึ่ง ทนายจำเลยถามตอบอย่างหนึ่ง บางทีตอบผิด บางทีตอบไม่ได้ก็ต้องให้คนอื่นตะโกนบอกซึ่งจริง ๆ แล้วก็คงทำไม่ได้ตาม มาตรฐานการสืบพยานทั่ว ๆ ไป มีจังหวะหนึ่งที่พยานหลุดปากเรียกผมว่า "หนักแผ่นดิน" ด้วยซ้ำ ไม่รู้ว่าอคติที่เขามีต่อผมจะมากน้อยขนาดไหนและถามอะไรก็ตอบแต่ว่าไม่รู้ จำไม่ได้ แถมยังหลุดปากพูดขึ้นมาด้วยซ้ำว่าจำเหตุการณ์การชุมนุมที่เขาเอามาฟ้องผมไม่ได้ เพราะต้องทำมาหากินหลายอย่าง ไม่ได้ทำงานอย่างนี้อย่างเดียวอยากรู้เหลือเกินทำงาน “อย่างนี้” คืออะไร คืองานรับบทบาทแจ้งความ 112 กับคนที่เรียกร้องประชาธิปไตยหรือเปล่า
อีกประสบการณ์หนึ่งที่ไม่คาดคิดว่าจะมาเจอที่ศาลคือการถูกกดดัน คุกคาม เมื่อวานนี้ก็มีกลุ่มชายฉกรรจ์ใส่เสื้อศ.ป.ป.ส. มานั่งใกล้ห้องพิจารณาคดีส่งตาเขียวเขม็งมาที่ผมและแม่ นอกจากนี้ก็มีชายฉกรรจ์เดินตามแม่ผมในเขตศาล จนแม่พูดติดตลกว่าทุกวันนี้ตำรวจก็มาที่บ้านแทบจะทุกวันอยู่แล้วยังจะมาเดินตามกันที่ศาลอีกเหรอ
ถ้าเป็นคดีทั่วไปสิ่งเหล่านี้ก็อาจไม่เกิดขึ้น แต่อย่างว่าคดีการเมืองเป็นเรื่องของการใช้กฎหมายเล่นงานฝ่ายตรงข้ามของผู้มีอำนาจ ป่วยการจะถามหาความกลับด้วยซ้ำ เพราะถ้ายุติธรรมก็คงไม่ขังผมไว้ตั้งแต่แรก แต่ถึงจะถูกจับขังไว้ ก็ยังต้องสู้ต่อไปเพื่อเอาความจริงมาเปิดเผยกลางศาลเพื่อพิสูจน์ว่าสิ่งที่ผมปราศรัยนั้นเป็นความจริง ต่อให้ขังผมไว้อยู่ก็เป็นความจริง ท้ายที่สุดแล้วจะถูกตัดสินว่าผิดหรือไม่ผิด ก็คงต้องรอดูว่าศาลประเทศเราจะมองว่าการพูดความจริงเป็นอาชญากรรมร้ายแรงหรือไม่
แต่ความจริงย่อมเป็นความจริงและคนย่อมเป็นคน

วันอาทิตย์, มกราคม 30, 2565

ยุทธศาสตร์เลือกตั้ง 'ลงแข่ง' เพื่อตัดคะแนนคู่ต่อสู้ ก็ได้นะ

สี่ทุ่มคืนนี้รู้กัน ผลโพลลับเลือกซ่อมจตุจักร-หลักสี่ของเขาแม่นจริงหรือไม่ ที่ว่าผู้สมัครหมายเลข ๓ ของพรรคเพื่อไทยจะชนะอย่างถล่มทลาย และการวัดดวงหลวงพ่อป้อม เชิด ดร.ดูลิตเติ้ล ‘animals whisperer’ จะได้ไปรอดฝั่งไหม

โพลลับซึ่งกลับเป็นข่าวใหญ่ไม่ลับเมื่อวันที่ ๒๘ มกราบอกว่า ผู้ที่มีคะแนนนิยมสูงสุดเหนือผู้สมัครอื่นทั้งหมดคือ สุรชาติ เทียนทอง ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งก่อนเมื่อปี ๖๒ แพ้ สิระ เจนจาคะ ไปอย่างเฉียดฉิว ได้เสียงน้อยกว่าเพียง ๒,๗๐๐ คะแนน

ทว่าตลอดสามปีที่ผ่านมาผู้สมัครพรรคเพื่อไทยลงพื้นที่พบชาวบ้านอย่างต่อเนื่องและแข็งขัน ทำให้ “ฐานเสียงเดิม ยังอยู่ครบถ้วน” ถึงอย่างนั้นก็ยังตีอกชกลมไม่ได้เพราะตะกร้าคะแนนเสียงเปลี่ยนไป คราวนี้เป็นการแข่งขันหลายเส้า สองต้านสองชู ตู่แถมหนึ่ง ห้อย

ในแต่ละคู่ของแต่ละฟากนั่นฟัดกันพอดู เพื่อไทยคงอยากได้ แลนด์สไล้ด์ตัวสั่น ติ่งเพื่อไทยเลยไล่ฟัดก้าวไกลจะเอาเป็นเอาตาย ชนิดที่เจ้าของเพจดังรายหนึ่งวิพากษ์ วิโรจน์ ลักขณาอดิสร แคนดิเดทชิงผู้ว่า กทม.ของก้าวไกล ที่ช่วยหาเสียงเลือกซ่อม

อ้างว่าการที่วิโรจน์ประกาศ ชนดะ กับผู้ครองอำนาจ จะทำให้เกิดความระส่ำระสายเดือดร้อนกันไปทุกหย่อมหญ้า เขาคงชอบใช้มธุรสวาจา แบบว่าถึงจะตกอยู่ในวงล้อมก็ต้องวางมาดสงบ กล่าวชวน “พี่ท่านมาทำยุทธหัตถีกันเถอะ” อะไรประมาณนั้น

ทางฝั่งหนุนตู่ อันมีมาดามหลี ภรรยาของสิระซึ่งลงในนามพรรคพลังประชารัฐ ถูกเลื่อยขาโต๊ะโดยพรรคโหนเจ้า ไทยภักดี เมื่อ เหรียญทอง แน่นหนา เจ้าของธุรกิจโรงพยาบาลที่ประกาศรักษาเฉพาะคนไข้ที่ไม่ใช่เสื้อแดงและสามกีบ แค้นสิระฝังหุ่นเลยแอนตี้ พปชร.

ยังมีแช้มป์เก่า อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ที่ย้ายไปอยู่พรรคกล้า นัยว่าลงแข่งเพื่อทดสอบคะแนนเสียงเดิมว่าจะยังอยู่ในตะกร้าหรือเปล่า โดยเฉพาะเชื่อว่าแรงดันของ สกลธี ภัททิยกุล ซึ่งออกจาก พปชร.แล้ว จะทำให้ได้เสียง กปปส.ในพื้นที่มาเสริม

อีกทั้งเป็นการทำโปรโมชั่นพรรคใหม่ สาย ๓ ไม่เอาดังที่ สิริพรรณ นกสวน สวัสดี ให้ข้อวิเคราะห์ไว้ที่ เดอะ สแตนดาร์ดนั่นคือพรรคนี้พยายามเสนอทางเลือกแบบ ทรานส์ไม่ต้องการเป็นทั้ง ตุ๊ดตู่’ ‘ไบแม้วหรือ ‘straight ธนอน

ดูจากฐานข้อมูลจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเขตจตุจักรและหลักสี่ แห่งละ ๘ หมื่น ๓ พันกว่าๆ รวมกันเกือบ ๑ แสน ๗ พัน อจ.สิริพรรณคำนวณตัวเลขจากสถิติครั้งที่แล้วมีผู้ไปใช้สิทธิราว ๑๒๐,๐๐๐ (แต่คิดว่าครั้งนี้น่าจะไม่ถึง) ถ้าไม่มีปัญหาตัดคะแนนกันเอง

คะแนนของเพื่อไทยบวกก้าวไกลจะได้ราว ๕๗,๐๐๐ ส่วนของ พปชร.กับประชาธิปัตย์อยู่ที่ ๕ หมื่นถ้วนๆ ถ้ารวมเสียงของพรรคเศรษฐกิจใหม่กับเสรีรวมไทยอีกสัก ๘ หมื่น ฝ่ายไม่เอาตู่จะชนะขาดลอยที่ ๖๕,๐๐๐ ต่อ ๕๕,๐๐๐ ทว่าคราวนี้เป็นการเลือกซ่อม

ซึ่ง “ไม่มีเลือกตั้งล่วงหน้า” และ “ไม่มีเลือกตั้งนอกเขต” อีกทั้งไม่ว่าใครชนะ จะไม่ส่งผลต่อพลังการเมืองโดยรวม “ไม่ได้เปลี่ยนรัฐบาลไม่ได้เข้าไปดำเนินนโยบาย” ดังที่ Atukkit Sawangsuk ว่า จึงไม่จำเป็นต้องทำการ โหวตทางยุทธศาสตร์กัน

มีแต่เรื่องศักดิ์ศรี เพื่อไทยต้องรักษาความเป็น พี่ใหญ่พลังประชารัฐต้องรักษาหน้าประยุทธ์-ประวิตร พรรคกล้ากับไทยภักดี ลงแข่งเพื่อตัดคะแนนเพื่อไทยกับก้าวไกล และช้อนคะแนนฝ่ายอนุรัษ์กับทหาร เพราะรู้ดีว่าพลังประชารัฐดันไม่ขึ้นแล้ว

จะเห็นว่าการปราศรัยหาเสียงของไทยภักดี โดย อุ๊หฤทัย ม่วงบุญศรี เน้นโจมตีพวก ก้าวหน้า-ก้าวไกลโดยตรง จึงได้ลำเลิกและก้าวร้าวอย่างชนิดทำให้ข้ออ้าง “ต่อกรกับพรรคที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อสั่นคลอนสถาบันพระมหากษัตริย์” กลับส่งกลิ่นเน่าคลุ้ง

เมื่อบอกว่า “อุ๊อยากขอให้จัดเครื่องบินเช่าเหมาลำ...ส่งคนบางกลุ่มที่ไม่รัก ไม่ศรัทธา...ส่งเขาไปอยู่ที่เกาะสักแห่งหนึ่ง แล้วให้ ‘ไอ้ตี๋’ เป็นผู้นำ สร้างประเทศ สร้างถนนเอา ไม่ต้องมีประเทศ ไม่ต้องมีทหาร และไม่ต้องมีกฎหมายคุ้มครองประมุข”

ส่วนพรรคก้าวไกล ซึ่งเมื่อครั้งอนาคตใหม่เคยได้เสียง ๘ แสนในเขตนี้ “ผ่านมา ๒ ปีกว่าแล้ว ต้องไม่ลืมว่าพรรคก้าวไกลมีความเป็นซ้ายมากขึ้นจากจุดแรกที่เป็นอนาคตใหม่” ดร.สิริพรรณชี้ว่า “ต้องการทดสอบฐานเสียง” เพื่อวางยุทธศาสตร์สำหรับการเลือกตั้งใหญ่

เช่นกันกับการดึงวิโรจน์จาก ดาวสภา มาลงแข่งชิงตำแหน่งผู้ว่า กทม. ทั้งๆ ที่คะแนนเสียงของ ชัชชาติ สิทธิพันธ์ ซึ่งพรรคเพื่อไทยเป็นลมใต้ปีกอยู่นั้น นำลิ่วในโพลทุกครั้ง ทำให้เสียงตอบรับวิโรจน์ระยะแรกล้วน ยี้ “เป็น สส.ดีอยู่แล้ว ไม่น่ามาลงผู้ว่าฯ”

แต่จากโพลย่อมๆ ของ Jessada Denduangboripant สองครั้ง ครั้งแรกกลางเดือนธันวาปี ๖๔ กับครั้งที่สอง ๒๓ มกราปีนี้ แน่นอนว่าชัชชาติยังนำลิ่ว แต่คะแนนของก้าวไกลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ จากเมื่อยังไม่เผยชื่อผู้สมัคร ๔.๘% มาเป็น ๑๑.๕% สำหรับวิโรจน์

“คะแนนโพลที่ได้มาเพิ่มนี่ ก็ไม่ได้ดึงมาจากตัวเก็งอย่างของอาจารย์ชัชชาติเพียงคนเดียว แต่จะเห็นว่าดึงมาแรงๆ จากของอาจารย์เอ้ สุชัชวีร์ ซึ่งคะแนนนิยมลดฮวบในเวลาเพียงแค่เดือนเดียว” อย่างนี้จะเรียกว่าเป็นการลงแข่งในเชิงยุทธศาสตร์ได้ไหม

ไม่ใช่ยุทธศาสตร์ไม่ลงเพื่อเปิดทางให้เพื่อน แต่เป็นยุทธศาสตร์ลงแข่งเพื่อตัดคะแนนคู่ต่อสู้ เหมือนที่พรรคกล้าและไทยภักดีลงแข่งเขต ๙ จตุจักร-หลักสี่

(https://www.facebook.com/jessada.denduangboripant/posts/2385593861571234, https://www.facebook.com/themomentumco/posts/2886261004998918, https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_3156291 และ https://thestandard.co/election-results-siripan-nogsuan-sawasdee-opinion/) 

ถ้าท่านยังตัดสินใจไม่ได้ อ่านบีบีซีไทยเรียบเรียงข้อมูลเลือกตั้งซ่อมมาให้ชาวหลักสี่-จตุจักรอ่านก่อนไปโหวต ออกไปเลือกตั้ง !!


บีบีซีไทย - BBC Thai
18h ·

วรรคทอง 5 หัวหน้าพรรค จากคำปราศรัยส่งท้าย
.
ตลอดทั้งวัน ผู้สมัครรับเลือกตั้งซ่อม ส.ส.กทม. เขต 9 (หลักสี่-จตุจักร) ทั้ง 8 คน ต่างเดินหน้ารณรงค์ขอคะแนนเสียงจากประชาชนเป็นวันสุดท้าย ซึ่งสามารถหาเสียงได้จนถึงเวลา 18.00 น. ของวันนี้ หลังจากพรรคการเมืองใหญ่ ๆ ได้เปิดเวทีปราศรัยส่งท้ายช่วงเย็นวานนี้ (28 ม.ค.) ระดมแกนนำคนสำคัญขึ้นเวที และยังปล่อยแคมเปญทิ้งท้ายหวังเรียกคะแนนเสียงจากโหวตเตอร์
.
ย้อนดู “วรรคทอง” ของ 5 หัวหน้าพรรคการเมือง และ 25 วันแห่งการหาเสียงเลือกตั้งซ่อม 30 ม.ค. ได้จากรายงานนี้
https://bbc.in/3HbR57X


ดูปริมาณ/ขนาดของแพ #คราบน้ำมัน ปกปิดปริมาณทำไมว่าเหลือแค่ไม่กี่ลิตร


https://www.facebook.com/EarthEcoAlert/videos/416029230303923/?extid=NS-UNK-UNK-UNK-AN_GK0T-GK1C
Karnt Thassanaphak
18h ·

ดูปริมาณ/ขนาดของแพ #คราบน้ำมัน (คลิปอยู่ใน link ด้านล่าง) แล้วก็ไม่น่าแปลกใจที่จะเข้าหาดขนาดนั้น (ตามที่หนวยงานรัฐบอก ที่เข้าหาดตอนนี้คือก้อนเล็ก ยังเหลือ "ระลอกใหญ่" อยู่ในทะเล) อีกปัญหาของการจัดการคือจะปกปิดปริมาณทำไมว่าเหลือแค่ไม่กี่ลิตร แทนที่จะให้ทุกฝ่ายตระหนักเท่าๆ กัน จะได้เตรียมรับมือ
ที่ผ่านมาประเทศนี้ก็เละเพราะการปกปิดไม่รู้กี่เรื่องแล้ว
Clip: https://fb.watch/aQlcZ8WtSX/

น้ำทะเลเริ่มลง คราบน้ำมันปกคลุมชายหาดเเม่รำพึง ยาวหลายกิโล พ่อค้า เเม่ค้า ชายหาดเเม่นำพึง ต้องหยุดขาย 10 วัน ขาดรายได้ รัฐบาลหายหัวไปไหน #น้ํามันรั่วมาบตาพุด

ภาพจาก บีบีซีไทย

https://twitter.com/ittipat_tv/status/1487324527092649984

 

ผู้ว่าฯระยอง แถลงชัด ยังควบคุมทิศทางคราบน้ำมันรั่วไม่ได้ กันขึ้นเกาะเสม็ด หวั่นกระทบท่องเที่ยว


ที่มา มติชนออนไลน์

เมื่อเวลา 19.00 น.วันที่ 29 มกราคม ที่ศูนย์บัญชาการสถานการณ์กู้คราบน้ำมันรั่วไหล ต.ตะพง อ.เมืองระยอง นายชาญนะ เอี่ยมแสง ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง พร้อมด้วยนายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ดร.พรศรี สุทธนารักษ์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง นายนายอัธยา นวลอุทัย หน.หน่วยป้องกันบรรเทาและสาธารณภัย (ปภ.) จ.ระยอง และนายพงษ์กร ช่อชูวงศ์ ผจก.ฝ่ายบริหารระบบความปลอดภัย คุณภาพสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย บริษัท สตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) ร่วมแถลงข่าว



นายชาญนะกล่าวว่า หลังจากมีคราบน้ำมันกระจายขึ้นฝั่งหาดแม่รำพึง 2 จุด ได้มีการเร่งกำจัดตลอดทั้งวัน โดยการดูดคราบน้ำมันไปจัดเก็บตามกระบวนการที่ถูกต้อง พร้อมกับใช้กระดาษซับคราบน้ำมันบนพื้นทรายจนปริมาณลดลงจำนวนมาก ยังเหลือคราบน้ำมันอีกจำนวนหนึ่ง อยู่ห่างฝั่งประมาณ 3 ไมล์ทะเล จากการจำลองทิศทางการเคลื่อนที่ของคราบน้ำมัน ยังไม่สามารถควบคุมทิศทางได้ เจ้าหน้าที่พยายามป้องกันไม่ให้ขึ้นเกาะเสม็ด ที่อาจส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว คาดว่าภายในสิ้นเดือนนี้ สถานการณ์น่าจะดีขึ้น

นายอรรถพลกล่าวว่า ทางกรมควบคุมมลพิษ ได้ผนึกกำลังกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และทุกภาคส่วนในการเร่งกำจัดคราบน้ำมันให้สลายไปเร็วที่สุด นอกจากนี้ยังมีการปฏิบัติการเพิ่มเติมคือ การกันคราบน้ำมันไม่ให้เข้าพื้นที่อุทยานฯเขาแหลมหญ้าหมู่เกาะเสม็ดและพื้นที่เกาะเสม็ด ซึ่งเป็นแหล่งปะการังและหญ้าทะเลจำนวนมาก ซึ่งภาพถ่ายดาวเทียมพบว่ามวลคราบน้ำมันก้อนใหญ่สีดำเข้ม มีจำนวน 51 ตร.กม. และคราบน้ำที่เป็นแผ่นฟิล์มบางๆ อยู่ห่างจากฝั่งประมาณ 10 กม. ซึ่งมีทิศทางที่จะเข้าพื้นที่บริเวณก้นอ่าว หาดแม่รำพึง พื้นที่อุทยานฯและอ่าวพร้าวเกาะเสม็ดในวันพรุ่งนี้ จึงต้องเพิ่มโซนวางทุ่นป้องกันเข้าพื้นที่ดังกล่าว



ขณะที่ นายพงษ์กรได้กล่าวเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยทางบริษัทพร้อมรับผิดชอบเยียวยาทั้งระยะสั้นและระยะยาวที่เหมาะสม ส่วนความชัดเจนสาเหตุการเกิดการรั่วไหลของน้ำมัน พบจุดรั่วอยู่ที่ท่ออ่อนโหลดน้ำมันลึกประมาณ 25 เมตร โดยจะนำขึ้นมาให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงต่อไป


น้องน่ารักอย่างนี้ พูดความจริงทางประวัติศาสตร์ต้องถูกเอาผิด 112 ด้วยเหรอ


สมศักดิ์ เจียม
@somsakjeam

·4h
เออ เข้าท่าแฮะ ใส่เสื้ออย่างนี้ไม่ผิดนี่หว่า
...

iLaw
12h ·

บิ๊ก เกียรติชัย เข้ารับทราบ ม.112 คดีที่สาม จากการปราศรัยงานรำลึก 6 ตุลาฯ ยืนยัน สิ่งที่พูดคือข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์
.
29 มกราคม 2565 เวลา 13.00 น. เกียรติชัย ตั้งภรณ์พรรณ หรือ บิ๊ก สมาชิกกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม พร้อมทนายความ ได้เดินทางมารับทราบข้อกล่าวหามาตรา 112 ที่ สน.ชนะสงคราม สืบเนื่องจากการขึ้นปราศรัยเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2564 ในงาน “รำลึก 45 ปี 6 ตุลา 2519” ซึ่งจัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยผู้กล่าวหาในคดีนี้ คือ พ.ต.ท.ยุทธนา รัตนแพทย์
.
ที่ สน.ชนะสงคราม เกียรติชัยกล่าวว่า รู้สึกประหลาดใจ เนื่องจากกิจกรรมในวันดังกล่าว มีผู้ขึ้นเวทีปราศรัยจำนวนเจ็ดคน แต่ตนกลับเป็นผู้เดียวที่ถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 และสถานะโดดเดี่ยวดังกล่าวก็ได้ส่งผลให้เกิดความกังวลใจ เนื่องจากเคยทราบมาว่ามีผู้ต้องหาที่ถูกฝากขังจากการเดินทางมารับทราบข้อกล่าวหาเพียงคนเดียว
.
“มีสองคนแล้วเท่าที่ผมจำได้ ตอนที่ฟ้า (พรหมศร วีระธรรมจารี) โดนฝากขัง โดนไป 50 กว่าวัน มันไม่แฟร์ อยู่ดีๆ ก็โดน มันก็น่ากลัวเหมือนกันถ้าเราไปคนเดียว ถ้ามีคนมาช่วยกันจับตามอง ช่วยกันให้กำลังใจ ก็น่าจะทำให้ตำรวจไม่กล้าฝากขังและสู้ไปตามกระบวนการปกติ”
.
ในด้านรายละเอียดข้อความที่ทำให้ถูกตั้งข้อหา เกียรติชัยกล่าวว่า ไม่คิดว่าเนื้อหาที่ตนปราศรัยนั้นรุนแรงกว่าผู้ปราศรัยคนอื่นๆ เนื่องจากเป็นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่มีหลักฐานอ้างอิง
.
“ตัวอย่างเช่น เราพูดถึงรัฐประหาร 2490 ที่ทำให้อำนาจของคณะราษฎรหายไป ถ้าไปอ่านในรัฐธรรมนูญก็จะเห็นว่าอำนาจของสถาบันกษัตริย์เพิ่มขึ้น มันเป็นข้อเท็จจริงตามประวัติศาสตร์”
.
“พวกบันทึกก็สามารถหาอ่านได้ ถ้าคิดว่ามันไม่จริงก็แย้งมา เขียนงานวิชาการมาหรือโต้แย้งก็ได้ สิ่งที่ผมพยายามพูดไม่ใช่ทฤษฎีสมคบคิด ผมพยายามพูดสิ่งที่มีบันทึกอยู่ ไม่ใช่เรื่องที่ไม่มีหลักฐานชัดเจน แต่เขาไม่เลือกแย้งด้วยงานวิชาการ เขาเลือกใช้กระบวนการที่มันไม่ยุติธรรมมาทำร้ายเรา”
.
นอกจากนี้ เกียรติชัยยังตั้งคำถามถึงประเด็นเรื่องสถานที่จัดงานอย่าง “มหาวิทยาลัย” ที่ควรเป็นพื้นที่เสรีทางวิชาการและเปิดกว้างให้ทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็นได้ พร้อมทั้งแสดงความผิดหวังต่อท่าทีที่นิ่งเฉยของบุคลากรในมหาวิทยาลัย รวมทั้งอาจารย์ในสังกัดคณะรัฐศาสตร์ คณะที่เกียรติชัยกำลังร่ำเรียนอยู่ในชั้นปีที่สาม
.
“เขาเลือกที่จะไม่พูด เลือกที่จะนิ่ง แล้วก็เงียบ เราไม่เห็นภาพอะไรเลย อย่างคณบดีที่เคยบอกว่าจะไปประกันตัวตอนเราเข้ามาใหม่ๆ เขาเล่าว่าไปประกันตัวคนนั้นคนนี้มา ถ้าเขาออกมามากกว่านี้ มันก็จะเห็นภาพของความกดดันว่าภาคส่วนในวงวิชาการต่างๆ กล้าพูดมากขึ้น”
.
“ฝ่ายขวาหลายๆ คนเขาก็เคยพูดใช่ไหมว่า ‘ถ้าคุณอยากแสดงความคิดเห็น ก็อย่าไปก่อม็อบ คุณก็จัดไปในมหาลัย’ นี่ไง เราก็จัดงานแล้ว แต่รัฐก็ยังเลือกที่จะแจ้งม.112 กับเราอยู่ดี ทั้งๆ ที่พื้นที่มหาวิทยาลัยควรเป็นพื้นที่ที่มีเสรีภาพในการพูดระดับนึงเลย”
.
ทั้งนี้ บรรยากาศโดยรอบสน.ชนะสงคราม ได้มีสื่อมวลชนอิสระและผู้มาให้กำลังใจ แต่ไม่มีอาจารย์หรือบุคคลจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาร่วมรับฟังข้อกล่าวหากับนักศึกษาด้วย
.
สำหรับหมายเรียกในครั้งนี้ นับเป็นคดีม.112 คดีที่สามของเกียรติชัย ก่อนหน้านี้ เกียรติชัยยังเคยถูกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมยื่นฟ้องต่อศาลด้วยพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จากการโพสต์ข้อความวิจารณ์การแต่งชุดครอปท็อปผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว เป็นเหตุให้ถูกศาลสั่งลบโพสต์ดังกล่าวไปเมื่อช่วงเดือนกรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา
.
.
อ่านเพิ่มเติม
.
บิ๊ก เกียรติชัย: สังคมที่อำนาจเท่าเทียมคือฝันอันสูงสุด
https://freedom.ilaw.or.th/node/939
รายละเอียดการชุมนุมวันที่ 6 ตุลาคม 2564
https://www.mobdatathailand.org/case-file/1633508923728/
มาตรา 112: มรดกจากยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ถึงหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ
https://freedom.ilaw.or.th/node/977...

รื้อระบอบอำนาจนิยม “นักเรียนเลว” ใส่โซ่ตรวน เดินขบวน ⁣รณรงค์ให้ประชาชนร่วมลงชื่อในร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของผู้เรียน และตระหนักถึงปัญหาการละเมิดสิทธิในสถานศึกษา ⁣


ยูดีดีนิวส์ - UDD news
9h ·

"นักเรียนเลว" บุกสยาม รื้อระบอบอำนาจนิยม ชวนลงชื่อในร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของผู้เรียน พร้อมกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ ล่ามโซ่มือ,เท้า ชี้ ไม่ควรมีใครต้องทนกับความรุนแรงในสถานศึกษาอีก

ภายหลังจากช่วงบ่ายวันนี้ (29 ม.ค. 65) กลุ่มนักเรียนเลว ได้ล่ามโซ่มือ, เท้า ระบุคำว่าอำนาจนิยม เดินเท้าจากอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ผ่านถนนราชดำเนิน มายังกระทรวงศึกษาธิการเพื่อทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ พร้อมกับรณรงค์เชิญชวนประชาชนลงชื่อในร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของผู้เรียน และให้สังคมตระหนักถึงปัญหาการละเมิดสิทธิในสถานศึกษา นั้น
.
จากนั้นช่วงเย็น เวลาประมาณา 16.30 น.ได้เดินทำกิจกรรมย้ำจุดยืน #รื้อระบอบอำนาจนิยม ไม่สมควรมีใครต้องทนกับความรุนแรงในสถานศึกษาอีก โดยเคลื่อนผ่านวัดปทุมวนาราม ผ่านสกายวอล์คมาบุญครอง กระทั่งไปสิ้นสุดกิจกรรมที่บริเวณสยามพารากอน

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์
15h ·

“นักเรียนเลว” เดินขบวนแสดงเชิงสัญลักษณ์ ⁣

29 มกราคม 2565: กลุ่มนักเรียนเลวแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ที่มีจุดประสงค์เป็นการรณรงค์ให้ประชาชนร่วมลงชื่อในร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของผู้เรียน และตระหนักถึงปัญหาการละเมิดสิทธิในสถานศึกษา ⁣

กิจกรรมหลักจะเป็นการเดินขบวนของนักเรียนที่ถูกล่ามโซ่ซึ่งสลักคำว่า “อำนาจนิยม” ไว้ที่ มือ เท้า คอ คนละจุด แล้วต่อแถวเรียงกัน เพื่อแสดงออกถึงอำนาจนิยมในสถานศึกษาที่ล่ามเด็กไว้ด้วย กฎระเบียบต่างๆ ราวกับนักโทษ 

กระทรวงศึกษาธิการ⁣

ภาพ : ชุติมน เมืองสุวรรณ⁣
#ThairathPhoto


🏫 ร่างพ.ร.บ.สิทธิมนุษยชนผู้เรียน หลักประกันความปลอดภัยให้กับเด็กในโรงเรียน ร่างที่มาจากเสียงของนักเรียน


iLaw
16h ·

ร่างพ.ร.บ.สิทธิมนุษยชนผู้เรียน หลักประกันความปลอดภัยให้กับเด็กในโรงเรียน https://www.ilaw.or.th/node/6070
.
.
โรงเรียน หนึ่งในหน่วยสำคัญของสังคม เป็นสถานที่ที่ขับเคลื่อนกลไกตามระบบการศึกษาของรัฐ สร้างความรู้ หล่อหลอมตัวตน เป็นพื้นที่หนึ่งให้เด็กได้เรียนรู้ ลองผิดลองถูก ค้นหาตัวตนของตัวเองเพื่อนำไปสู่การเติบโตเป็นผู้ใหญ่ต่อไป อย่างไรก็ดี ภาพจำของโรงเรียนและระบบการศึกษาในสายตาประชาชน ไม่ได้มีเพียงแต่ด้านที่สวยงามเท่านั้น หลายครั้งมักมีข่าวที่ครูใช้อำนาจเหนือนักเรียนปรากฏอยู่ในหน้าสื่อ ไม่ว่าจะออกมาในรูปแบบการอ้างกฎระเบียบเพื่อล่วงล้ำร่างกาย การลงโทษที่ทำต่อร่างกายอย่างรุนแรง ฯลฯ
.
ผลจากปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่โรงเรียน ทำให้กลุ่ม ‘นักเรียนเลว’ เริ่มเคลื่อนไหวที่รณรงค์และเรียกร้องเกี่ยวกับประเด็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นในโรงเรียน นอกจากการจัดการชุมนุมเพื่อเรียกร้องสิทธิให้กับเด็กและผู้เรียน ผ่านไปหนึ่งปีกว่าๆ นับจากการชุมนุมหน้ากระทรวงศึกษาธิการเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2563 นักเรียนเลวได้ขยับก้าวสำคัญเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรม เป็นตัวกลางรวบรวมรายชื่อเพื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิมนุษชนของผู้เรียน พ.ศ. .... (ร่างพ.ร.บ.สิทธิมนุษยชนผู้เรียนฯ) โดยมีวัตถุประสงค์ให้กฎหมายนี้เป็นเหมือนหลักยืนยันสิทธิเสรีภาพ ที่นักเรียนทุกคนพึงมีและเพื่อปกป้องตนเองและเพื่อนๆ ในโรงเรียนว่าใครก็จะละเมิดสิทธิเสรีภาพเหล่านี้ไม่ได้
.
ร่างพ.ร.บ.สิทธิมนุษยชนผู้เรียนฯ แบ่งเนื้อหาออกเป็นสามหมวด หมวดแรก สิทธิมนุษยชนผู้เรียน หมวดสอง สภาพแวดล้อมและสวัสดิภาพ หมวดสาม การมีส่วนร่วมของผู้เรียน โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

รับรองสิทธิเสรีภาพผู้เรียน หากลงโทษผู้เรียนโดยละเมิดสิทธิมนุษยชน มีโทษจำคุกหรือปรับ
.
ร่างพ.ร.บ.สิทธิมนุษยชนผู้เรียนฯ หมวดแรก สิทธิมนุษยชนผู้เรียน กำหนดให้ผู้เรียนมีสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นด้านชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน โดยบุคลากรในสถานศึกษาจะมาละเมิดไม่ได้ มีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองด้านจิตใจ โดยการจัดการศึกษาจะต้องไม่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้เรียน กระทรวงศึกษาธิการต้องจัดให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์อย่างเพียงพอเพื่อให้คำปรึกษาตามที่ผู้เรียนต้องการ เสรีภาพในการแสดงออกและการแสดงความคิดเห็นจะต้องได้รับการคุ้มครอง รวมถึงผู้เรียนจะต้องได้รับสิทธิในความปลอดภัย การลงโทษหรือการปรับพฤติกรรมผู้เรียนนั้นก็จะต้องเป็นไปเพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนและเป็นไปตามความเหมาะสมเท่านั้น หากมีการลงโทษเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน บุคคลนั้นจะต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท
.

ผู้เรียนมีอิสระในการร่วมกิจกรรม สถานศึกษาต้องควบคุมเวลาเรียนไม่ให้กระทบเวลาส่วนตัว
.
ร่างพ.ร.บ.สิทธิมนุษยชนผู้เรียนฯ หมวดสอง สภาพแวดล้อมและสวัสดิภาพ กำหนดให้สถานศึกษาจะต้องมีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย สะดวก เหมาะสมแก่การเรียนรู้ของผู้เรียน ให้สิทธิผู้เรียนสามารถเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของสถานศึกษาได้ตามความสมัครใจ การบังคับหรือสร้างเงื่อนไขให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมของสถานศึกษาจะกระทำมิได้ นอกจากนี้กำหนดให้ผู้เรียนมีสิทธิได้รับความยุติธรรมในการพิจารณาหากมีการทำผิดกฎระเบียบของสถานศึกษา โดยอีกหนึ่งสิทธิที่สำคัญและเป็นเรื่องใหม่คือ การกำหนดให้ผู้เรียนมีเวลาส่วนตัวสำหรับพักผ่อน เข้าร่วมกิจกรรมที่สนใจ ทำงานอดิเรก หรือละเล่นทางสันทนาการ โดยสถานศึกษามีหน้าที่ต้องควบคุมเวลาเรียนให้ไม่กระทบต่อเวลาส่วนตัวของผู้เรียน
.

กฎระเบียบสถานศึกษา ต้องสอดคล้องกับสิทธิมนุษยชน
.
ในหมวดสาม การมีส่วนร่วมของผู้เรียน กำหนดให้สถานศึกษาดำเนินการจัดกิจกรรมและกระบวนการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนแก่ทั้งผู้เรียนและบุคลากร เพื่อสร้างความเข้าใจและความตระหนักในสิทธิมนุษยชน จัดระบบดูแล ช่วยเหลือและคุ้มครองผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนภายในสถานศึกษา สิ่งสำคัญคือกำหนดให้ผู้เรียนมีเสรีภาพในการรวมกลุ่มหรือชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธภายในสถานศึกษา โดยสถานศึกษามีหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกในการใช้เสรีภาพของผู้เรียน
.
นอกจากนี้การออกกฎ ระเบียบของสถานศึกษา จะต้องสอดคล้องกับสิทธิมนุษยชนของผู้เรียน โดยจะต้องเป็นไปเพื่อความปลอดภัยและความผาสุกในการอยู่ร่วมกันภายในสถานศึกษา และการออกกฎระเบียบดังกล่าวจะต้องมาจากกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้เรียนภายในสถานศึกษานั้นๆ ด้วย
.
.
ร่างกฎหมายที่มาจากเสียงของนักเรียน

ธัญชนก คชพัชรินทร์ หรือแบม ตัวแทนจากกลุ่มนักเรียนเลว เล่าถึงที่มาที่ไปของร่างกฎหมายฉบับนี้ว่า “เราสังเกตว่าที่เราเคลื่อนไหวมาตลอดปีกว่าๆ ว่ามันเป็นยังไงบ้าง จะเห็นว่าไม่ว่าจะลงข่าวหรือไปม็อบ ความเปลี่ยนแปลงมันยังไม่ได้เห็นชัดขนาดนั้น ก็เลยต้องทำอะไรที่มันมีรูปธรรมมากขึ้น เช่นการเสนอร่างกฎหมาย ยกร่างใหม่ไปเลย”
.
อย่างไรก็ตาม ก่อนจะมาเป็นร่างกฎหมายฉบับนี้ แบมเล่าว่า เคยมีความคิดจะแก้ไขกฎหมายเดิมที่มีอยู่แล้ว เช่น พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 (พ.ร.บ.การศึกษาฯ) เนื่องจากคิดว่าจะตอบโจทย์มากที่สุดหากใส่เรื่องสิทธินักเรียนเข้าไป แต่ในระหว่างขั้นตอนการศึกษาและจัดทำ พบว่าร่างพ.ร.บ.การศึกษาฯ ที่เสนอโดยภาคประชาชนและพรรคการเมืองต่างก็ถูกปัดตกเรื่อยๆ อีกทั้งร่างกฎหมายดังกล่าว เข้าข่ายเป็นกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปประเทศ ทางผู้จัดทำจึงมีความเห็นกันว่ารัฐบาลคงจะไม่ยอมให้ประชาชนเสนอร่างกฎหมายได้ง่ายๆ คงต้องรอให้มีการแก้ไขร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ (เสนอโดยครม.) ในชั้นกรรมาธิการ จากประเด็นนี้แบมกล่าวว่า “ความเป็นไปได้มีต่ำมาก และสังคมก็จะไม่เห็นว่าเราทำอะไรอยู่”
.
หลังจากเห็นว่าการแก้ไขกฎหมายเดิมอย่างพ.ร.บ.การศึกษาฯ เป็นไปได้ยาก ผู้จัดทำก็ได้ลองศึกษากฎหมายที่มีอยู่แล้วอีกฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 (พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก) เนื่องจากในกฎหมายนี้ มีการกำหนดบทบัญญัติที่มีความเกี่ยวข้องกับนักเรียน ซึ่งอยู่ในหมวดที่ 7 แต่หลังจากศึกษากลับพบว่า เนื้อหาในหมวดดังกล่าวอยู่ที่ผิดที่ผิดทาง ควรจะต้องไปอยู่ในพ.ร.บ.การศึกษาฯ นอกจากนี้ เมื่อได้ศึกษาแล้วพบว่าเนื้อหาเต็มไปด้วยคำสั่ง ไม่ใช่การประกันหรือการกำหนดว่าเด็กนักเรียนในโรงเรียนมีสิทธิอะไรบ้าง มีแต่การบอกว่านักเรียนจะต้องทำตัวอย่างไรในโรงเรียน ซึ่งนั่นไม่ใช่สิทธิด้วยซ้ำ ด้วยเหตุผลเหล่านี้เองที่ทำให้นักเรียนเลวตัดสินใจยกร่างกฎหมายขึ้นใหม่ แบมกล่าวว่า “ปัญหามันก็เกิดขึ้นทุกวัน เรารู้สึกว่าเรารอไม่ได้ ก็เลยตัดสินใจว่าจะทำร่างนี้ขึ้นมา”
.
ในส่วนเนื้อหาในร่างกฎหมาย แบมเล่าว่า “มันเริ่มจากการคุยกันก่อน ว่าเราอยากเห็นอะไรบ้างถ้าทำพ.ร.บ.นี้ มานั่งคุยกันว่ามีปัญหาอะไรบ้างแล้วก็จัดกลุ่ม เรื่องนี้ก็เป็นสิทธินะแล้วจะเอาไปอยู่หมวดไหน ทำไปทำมา ก็เลยแบ่งเป็นสามหมวดตามที่เห็นในร่างฯ หมวดแรกคือสิทธิที่เรามี การประกันสิทธิ หมวดสอง สวัสดิภาพ เป็นสิทธิเหมือนกันแต่เราอาจจะยังไม่คุ้นเคย หมวดสาม การมีส่วนร่วม ก็ต้องมานั่งคุย ตกผลึกร่วมกัน จะร่างยังไงให้ครอบคลุมที่สุด”
.
แม้ปัญหาหลักที่ต้องการแก้คือเรื่องความรุนแรงที่เกิดขึ้นในโรงเรียนแต่ก็มีประเด็นอื่นด้วย โดยแบมระบุว่า “ ไหนๆก็ทำเรื่องสิทธิแล้ว ก็ใส่เรื่องอื่นเข้าไปด้วย เช่น สิทธิในการพักผ่อน มีเวลาว่าง ที่คนไทยอาจจะไม่คุ้นเคย จริงๆลองปรึกษานักกฎหมายหลายคนว่าจะใส่มาดีมั้ย แต่เราก็ยืนยันว่ามันเป็นสิทธิ แค่เรายังไม่คุ้น”
.
เมื่อถามว่าร่างกฎหมายฉบับนี้จะเข้ามามีบทบาทอย่างไรกับเด็กนักเรียนในโรงเรียน แบมตอบว่า ร่างกฎหมายนี้จะเป็นเหมือนหลักประกันสิทธิของเด็ก ในขณะที่ตอนนี้มีแต่กฎและคำสั่งที่ให้อำนาจกับโรงเรียน คุณครู เป็นกฎที่บอกให้ทำ แต่ไม่มีกฎที่รองรับสิทธิให้กับผู้เรียน ผู้เรียนควรจะต้องมีสิทธิเรื่องความปลอดภัย สิทธิในการเรียกร้องความยุติธรรมเวลาที่โดนลงโทษในโรงเรียน ซึ่งในขณะนี้ดูเหมือนจะยังไม่มี แบมบอกว่า “เราอยากสร้างกฎหมายที่ให้เด็กเป็นประธานในประโยค เพื่อบอกว่าเด็กมีสิทธิตรงนี้ สังคมต้องจัดหาให้เขา เราคาดหวังให้คนรับรู้ถึงสิทธิที่ตัวเองมีมากขึ้นและสามารถใช้กฎหมายนี้เพื่อยืนยันสิทธิของตัวเองได้”
.
หากลองไปดูในเว็บไซต์ของนักเรียนเลวเพื่อเข้าชื่อร่างพ.ร.บ.สิทธิมนุษยชนผู้เรียนฯ จะพบว่ามีการแบ่งประเภทของผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ แบมเล่าถึงสาเหตุของการแบ่งประเภทไว้ว่า “มันเป็นร่างกฎหมายที่มีไว้เพื่อให้เด็ก เป็นประโยชน์กับนักเรียนโดยเฉพาะ แต่คนที่จะเสนอกฎหมายมันคือผู้ใหญ่หรืออายุ 18 ปีขึ้นไป เราอยากให้เด็กได้มีส่วนร่วมกับการส่งเสียงของตัวเอง ว่าเขาอยากสนับสนุนพ.ร.บ.ตัวนี้... เลยทำช่องทางแยกออกมา สำหรับเด็กอายุต่ำว่า 18 ปี ก็สามารถส่งเสียงเพื่อสนับสนุนได้เหมือนกัน ส่วนผู้ใหญ่ก็มีบทบาทในการเสนอชื่อจริงๆ”
.
สุดท้าย แบมเล่าว่า คู่มือเอาตัวรอดในโรงเรียนและร่างพ.ร.บ.สิทธิมนุษยชนผู้เรียนฯ เป็นผลงานที่ออกมาเป็นรูปธรรม เป็นรูปเป็นร่างมากที่สุดตั้งแต่กลุ่มนักเรียนเลวเคลื่อนไหวมา ได้ลงมือทำเอง มีวัตถุประสงค์ชัดเจน ขณะที่การเคลื่อนไหวอย่างอื่นมักออกมาในรูปแบบการเรียกร้อง ตรวจสอบการทำงานของรัฐ
.
จากผลงานชิ้นใหญ่ของนักเรียนเลว “คู่มือเอาตัวรอดในโรงเรียน” แบมเชื่อว่าส่วนหนึ่งที่เด็กไม่ลุกขึ้นมาทำอะไร เพราะเขาไม่รู้สิทธิของตัวเองหรือไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร โรงเรียนไม่ได้สอนสิ่งเหล่านี้ ทางนักเรียนเลวจึงต้องทำคู่มือเพื่อให้เด็กเอาตัวรอด นำไปปกป้องสิทธิของตัวเองและเพื่อนได้ ผลปรากฎว่าได้รับผลตอบรับดี มีคนมาแชร์ว่า ไม่เคยรู้มาก่อนว่ามีสิทธิอย่างนี้ๆ ถ้ามีสิ่งนี้ตอนเขายังเด็ก เขาคงกล้าทำอะไรมากขึ้น จึงรู้สึกว่านี่เป็นผลงานที่จะเป็นรูปธรรม และร่างกฎหมายนี้ก็เหมือนกัน เพียงแต่เป็นการแก้เชิงโครงสร้างมากขึ้น เรียกร้องกับภาครัฐโดยตรง

.
.
ร่วมลงชื่อได้ที่ www.badstudent.co

1 ปีรัฐประหารเมียนมา เรื่องราวของตูระ (นามสมมุติ) อดีตนายทหารยอมทิ้งอาชีพที่รักมาสู้เคียงข้างประชาชน"ผมมาเป็นทหาร เพราะอยากปกป้องประชาชน และทำงานเพื่อประเทศชาติ ทหารไม่น่าจะมายุ่งเกี่ยวกับการเมือง ทหารต้องปกป้องประเทศ"


หลังรับราชการทหารมากว่า 15 ปีตั้งแต่อายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ ตูระ (นามสมมุติ) อดีตร้อยเอกแห่งกองทัพเมียนมาหันหลังให้กับอาชีพที่เขารักในวัย 32 ปี ทันที่ที่เห็นปากกระบอกปืนที่ควรจะใช้เพื่อปกป้องประเทศ หันมาหาประชาชน

"ผมมาเป็นทหาร เพราะอยากปกป้องประชาชน และทำงานเพื่อประเทศชาติ ทหารไม่น่าจะมายุ่งเกี่ยวกับการเมือง ทหารต้องปกป้องประเทศ" ตูระกล่าวด้วยน้ำเสียงมุ่งมั่นกับบีบีซีไทยระหว่างการซ่อนตัวอยู่บริเวณชายแดนไทย-เมียนมา

หลังการรัฐประหารในเมียนมาเมื่อ 1 ก.พ. 2564 ตูระและเพื่อนทหารหลายคนตัดสินใจละทิ้งตำแหน่งเพื่อมาอยู่ข้างประชาชน แม้ดูเป็นเรื่องยากสำหรับนายทหารสัญญาบัตรหลายคน แต่สำหรับผู้กองอย่างเขา การปกป้องประชาชนถือเป็นภารกิจหลักในชีวิต

เกือบหนึ่งปีแล้วที่พลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย นำกำลังเข้ายึดอำนาจมาจากรัฐบาลพลเรือนภายใต้การนำของ นาง ออง ซาน ซู จี และพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ด้วยข้ออ้างที่ว่ารัฐบาลของเธอโกงการเลือกตั้ง หัวหน้าคณะรัฐประหารให้สัญญาว่าจะนำประเทศกลับสู่ประชาธิปไตยอีกครั้ง จัดให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้น แต่จนถึงวันนี้ ประชาธิปไตยก็ยังไม่ได้ถูกคืนให้ประชาชนเมียนมา


การที่กองทัพเมียนมาใช้กำลังปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยอย่างรุนแรง ทำให้กลุ่มอาสาสมัครติดอาวุธตามเมืองและหมู่บ้านต่าง ๆ ก่อเหตุโจมตีเจ้าหน้าที่รัฐที่สนับสนุนรัฐบาลทหารมากขึ้น

เช่นเดียวกับชาวเมียนมาผู้รักชาติและประชาธิปไตยคนอื่น ตูระต้องการต่อสู้เพื่อบ้านเกิดอันเป็นที่รัก แต่การถูกคุกคามรายวันโดยทหารเมียนมาทำให้ชีวิตของพวกเขาต้องถึงจุดเปลี่ยน หลายคนเลือกที่จะข้ามมาขอลี้ภัยที่ฝั่งไทยเป็นการชั่วคราว ด้วยความหวังที่จะได้พัฒนาศักยภาพของตัวเองต่อในประเทศที่สาม แต่บางคนก็ยังมีความหวังจะได้กลับไปทำงานเพื่อประชาชนต่อไป

อยู่ข้างประชาชน

ตูระ จบหลักสูตรปริญญาตรีด้านการทหารมาจาก Defence Services Academy (DSA) โรงเรียนทหาร 3 เหล่าทัพของกระทรวงกลาโหม เขาเติบโตต่อเนื่องในเส้นทางทหารจนได้รับตำแหน่งในด้านการดูแลปราบปราม

ด้วยใจรักชาติ ตูระไม่ได้มองเห็นอนาคตของตัวเองไปกับการทำอาชีพอื่นนอกจากการเป็นทหาร ที่เป็นอาชีพที่มีรายได้ค่อนข้างดีและทำให้พวกเขามีสถานะทางการเงินที่มั่นคง

"ตั้งแต่เข้ามารับงานเป็นเจ้าหน้าที่รัฐก็มีความตั้งใจจะดูแลประชาชน ลองจินตนาการดูว่าถ้าคนจะมาทำร้ายครอบครัวของคุณ คุณจะยอมไหม นั้นคือสิ่งที่ผมรู้สึกว่าประชาชนชาวเมียนมาเป็นครอบครัวของผม ฉะนั้นผมต้องปกป้อง ไม่ใช่ทำร้ายพวกเขา" ตูระเล่าถึงความตั้งใจ


ตูระยอมทิ้งตำแน่งทางทหารมาเพื่อร่วมต่อสู้กับประชาชน เพราะเขาอยากจะปกป้องและทำงานเพื่อชาวเมียนมา ไม่ใช่สู้รบกับพวกเขา

วันที่เกิดการรัฐประหาร เขาประจำการอยู่ที่ฐานในรัฐยะไข่ ทางตะวันตกของประเทศ โดยเขาไม่ได้รับรู้ถึงการยึดอำนาจที่เกิดขึ้นเพราะสัญญาณอินเตอร์เน็ตถูกตัด ไม่สามารถเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ แต่หลังจากนั้นไม่กี่วันลูกพี่ลูกน้องของเขาก็ส่งภาพมาให้และอธิบายว่าเกิดอะไรขึ้น

ในช่วงแรกหลังการรัฐประหาร ตูระแทบไม่รู้สึกถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นเพราะที่ยะไข่ไม่มีการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลทหาร แต่หลังจากนั้น 4 เดือน ตูระถูกส่งให้ไปประจำการที่ค่ายในรัฐกะยา ทางฝั่งตะวันออกของประเทศ อยู่ติดกับ จ.แม่ฮ่องสอน และที่นั่นเอง เขาเริ่มได้เห็นความรุนแรงที่ทหารต้องหันมาต่อสู้กับประชาชน

"พอเห็นเหตุการณ์ในรัฐกะยา ผมก็มีความคิดแน่วแน่แล้วว่าไม่อยากมีส่วนร่วมกับรัฐประหาร และไม่อยากทำร้ายประชาชน ก็เลยตัดสินใจออกจากทหารมาร่วมเคลื่อนไหวกับขบวนการอารยะขัดขืน" ซึ่งใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Civil Disobedience Movement หรือ CDM

ตูระบอกกับบีบีซีไทยผ่านล่ามว่า "ตำแหน่งทางทหารไม่สำคัญ ผมไม่อยากทำงานภายใต้เผด็จการ ก็เลยทิ้งตำแหน่งมาอยู่ข้างประชาชน"

หนีออกจากค่ายทหาร

เมื่อตัดสินใจได้แล้ว ตูระเริ่มติดต่อเพื่อนสมัยเรียนที่ DSA แล้วพบว่าบางคนออกจากการเป็นทหารมาเข้ากับกลุ่ม CDM บ้างก็เข้าร่วมกับ "กองกำลังพิทักษ์ประชาชน" หรือ People's Defense Force (PDF) เพื่อเป็นทหารของประชาชนต่อสู้กับรัฐบาลทหาร


กลุ่มแพทย์อาวุโสในเมียนมาระบุว่า หน้าที่พวกเขาในฐานะแพทย์คือให้ความสำคัญกับคนไข้ก่อน "แต่เราจะทำสิ่งนี้ได้อย่างไรภายใต้ระบบทหารที่ทั้ง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขัดรัฐธรรมนูญและกดขี่"

เขาใช้เวลาอยู่หลายเดือนเพื่อให้ได้รับความไว้วางใจจากคนใน CDM ว่าไม่ใช่สายสืบของรัฐบาล เมื่อได้รับความไว้วางใจให้เข้าร่วมขบวนการ เขาจึงวางแผนหนีจากค่าย

"ตอนที่หนีออกมาเป็นช่วง 17 ต.ค. ผมบอกกับผู้บังคับบัญชาว่าจะออกมารับภรรยาที่อยู่ต่างเมืองเข้ามาอยู่ด้วยในค่ายด้วยกัน ก่อนจะได้รับอนุญาตให้ออกมานอกค่าย" ตูระอธิบาย

"ตอนนั้นลำบากมากเพราะต้องผ่านด่านตรวจหลายด่าน กว่าจะออกมาสู่พื้นที่ปลอดภัยได้ และมีความกังวลมากว่าคนที่จะมารับเขาจะพาไปส่งพื้นที่ปลอดภัยหรือส่งตัวให้ทางการ ช่วงที่มาอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยต้องเดินทางต่ออีก 3 วันกว่าจะหลบหนีออกมาได้สำเร็จ"

ตูระหลบหนีออกมาจากเมียนมาเพื่อนำครอบครัวของเขามาอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย ถึงแม้ว่าตูระจะไม่ได้มีบทบาทโดยตรงในการร่วมต่อสู้หรือชุมนุมร่วมกับ CDM โดยตรง แต่เขายังทำหน้าที่ด้านการวางแผนและยุทธศาสตร์ในการเคลื่อนไหวของกลุ่ม


มาถึงตอนนี้ตูระไม่มีความคิดที่จะจับอาวุธต่อสู้กับประชาชนอีกต่อไป แต่สิ่งเขายังอยากทำงานเพื่อประเทศชาติอีก เขากล่าวย้ำว่าทำอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่การต่อสู้กับประชาชน และคิดว่าวันหนึ่งถ้าเมียนมากลับไปสู่ภาวะปกติก็จะกลับไปอยู่บ้าน ทำงานเพื่อประชาชน

เยาวชนอนาคตของชาติ

กลุ่มคนที่ออกมาประท้วงต่อต้านการรัฐประหารมากที่สุดคือเยาวชนและนักศึกษาที่เปรียบเสมือนอนาคตของชาติ เหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้นระหว่างประชาชนและทหารทั่วเมียนมาที่เห็นตามสื่อต่าง ๆ มักจะเป็นการเคลื่อนไหวอย่างสงบของกลุ่ม CDM เพื่อต่อต้านรัฐบาลทหาร แต่เยาวชนถูกปราบปรามโดยทหารด้วยความรุนแรง

เซยะ (นามสมมุติ) อดีตนักศึกษาด้านจิตวิทยา ชั้นปีที่ 2 จากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในเมียนมา คือผู้ลี้ภัยอีกคนที่ซ่อนตัวอยู่บริเวณชายแดนไทย-เมียนมา

ใน วัย 23 ปี เขาเป็นหนึ่งในแกนนำนักศึกษาที่ร่วมประท้วงต่อต้านรัฐบาลทหารมาตั้งแต่เกิดการรัฐประหาร และนั่นทำให้ชีวิตของเขาต้องเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล

วันที่เกิดรัฐประหาร เซยะอยู่บ้านและกำลังเรียนออนไลน์อยู่ ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทางคณะจึงงดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย


เซยะถูกทหารตีหลังด้วยด้ามปืนก่อนจะกระโดดหนีการจับกุมจากอาคารชั้นที่สองของหอพักจนหลังหัก ถึงวันนี้เขายังมีอาการเจ็บปวดที่หลังจนไม่สามารถใช้ชีวิตเหมือนปกติได้

"ผมตัดสินใจมาเป็นนักเคลื่อนไหวหลังจากเกิดรัฐประหารได้ 5 วัน โดยตอนที่ออกมาเคลื่อนไหวในช่วงแรกก็กลัวโดนยิง กลัวโดนจับ และโดนทำร้าย แต่คิดในใจว่ายอมความไม่ยุติธรรมไม่ได้ เลยรวมตัวกันกับเพื่อน ๆ ช่วยกันผลักดันให้ระบบรัฐประหารในเมียนมาออกไป" เซยะอธิบายให้บีบีซีไทยฟัง

"การทำรัฐประหารจะทำให้ประเทศล้าหลัง และไม่ส่งผลดีให้ประเทศ ไปไหนก็ไม่ได้ ไปเรียนหนังสือก็ไม่ได้ เพื่อน ๆ ที่เคยร่วมชุมนุมด้วยกันโดนจับหลายคน ถ้าเห็นว่าวันนี้โดนจับไปได้ พรุ่งนี้ก็กลับออกมาเป็นศพ ผมไม่รู้จะพูดอะไร เพราะมองไม่เห็นอนาคต"

ครอบครัวของเซยะมีสมาชิก 6 คน พ่อและแม่ไม่ชอบรัฐประหาร แต่ก็ไม่อยากให้ลูก ๆ ออกมาชุมนุมเพราะเป็นห่วง ส่วนเขากับพี่ชายออกไปประท้วงตามท้องถนนทุกวัน จนมีทหารมาค้นบ้าน พอรู้สึกไม่ปลอดภัย เขาจึงหนีออกจากบ้านไปอยู่ที่หอพักของมหาวิทยาลัย แต่แล้วก็มีทหารมาบุกค้นพร้อมควบคุมตัวแกนนำนักศึกษาไปหลายคน


Protests over the coup have been taking place in Mandalay, and across Myanmar, since last month

ตัวเขาเองถูกทหารทุบหลังด้วยด้ามปืนก่อนจะพยายามวิ่งหนี แล้วกระโดดลงมาจากอาคารชั้นสอง ทันทีที่ร่างของเขากระแทกลงกับพื้น เซยะพบว่าตัวเองขยับขาไม่ได้ เพราะหลังหัก เพื่อน ๆ จึงมาช่วยกันพยุงเขาหลบหนีไป นอกจากนี้มีเพื่อนบางส่วนที่หลบหนีมาไม่ทันและถูกทหารจับหมด ตอนนี้ยังไม่รู้ชะตากรรมว่าเป็นอย่างไร

สมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมือง (Assistance Association for Political Prisoners--AAPP) กลุ่มนักเคลื่อนไหวระบุตัวเลขล่าสุดผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมที่ 1,498 คน และองค์กรช่วยเหลือเด็ก (Save the Children) ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลด้านสิทธิเด็ก ระบุว่า ในบรรดาผู้เสียชีวิตนับพัน มีเด็กรวมอยู่ด้วยกว่า 70 คน

"ถ้าเราไม่ออกไปประท้วง ทหารจะคิดว่าสิ่งที่พวกเขาทำเป็นสิ่งที่คนยอมรับ แต่ที่ออกมาเรียกร้องเพราะอยากให้ประชาคมโลกรู้ว่าพวกเราไม่เอารัฐประหาร" เซยะกล่าว

"ตอน NLD ชนะการเลือกตั้ง แล้วเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น แต่รัฐบาลที่นำโดยทหารจะไม่ทำให้ประเทศได้ประโยชน์อะไร"



เซยะ ย้อนไปเมื่อปี 1988 ที่ทหารเข้ายึดอำนาจเขามองว่า "ประเทศล้าหลังไปเยอะ" มาในปี 2021 ประเทศ "กลับไปเหมือนเดิมอีก" นักเรียนไปโรงเรียนไม่ได้ ทหารเริ่มสอน เรื่องชวนเชื่อให้เด็กตามโรงเรียน จนเยาวชนตกเป็นเป้าของทหารไป

ตอนนี้เซยะ พี่ชายของเขา และกลุ่มนักศึกษาที่เป็นแกนนำการชุมนุม กลายเป็นบุคคลที่ทางการต้องการตัว พวกเขาจึงต้องหนีออกนอกประเทศ และมีความหวังว่าจะขอลี้ภัยไปประเทศที่สาม

"ถ้าเลือกได้ อยากจะขอลี้ภัยไปออสเตรเลีย และอยากกลับไปเรียนหนังสือต่อ โดยที่เลือกออสเตรเลียเพราะชอบประเทศนั้นอยู่แล้ว และมีญาติอาศัยอยู่ที่นั่นด้วย แต่ถ้าขอลี้ภัยประเทศที่สามไม่สำเร็จ ก็ยังไม่รู้ว่าจะทำอะไรต่อ เพราะยังไม่ได้คิดถึงแผนเสริมเลย ถ้าได้ย้ายไปจริง ๆ ก็อยากจะเรียนต่อสายจิตวิทยาจนจบและอยากทำงานด้านนี้"

ประชาชนต้องชนะ

นอกจากความรุนแรงที่ทหารทำต่อประชาชน ผู้กองตูระกล่าวว่าในค่ายทหารเองก็มีเรื่องความรุนแรงและความไม่ยุติธรรมอยู่มาก เขาถูกสั่งให้ทำหลายเรื่องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และตัวเขาเองก็ถูกข่มเหง ในค่ายทหารมาด้วยเช่นกัน

"การจะทำให้คนอื่นเชื่อฟัง เขาต้องทำให้กลัวก่อน คนรับฟังไม่ใช่เพราะยินยอม แต่เพราะกลัว ครอบครัวใดที่อยู่ในค่ายทหาร ก็จะถูกบังคับใช้งานเยี่ยงทาสโดยไม่มีค่าตอบแทนใด ๆ เลย บางครั้งเสบียงอาหารก็ไม่พอให้กิน เรื่องพวกนี้มีในค่ายทหารมาก่อนจะเกิดรัฐประหารอยู่แล้ว" ตูระกล่าว


ชาวเมียนมาจัดงานศพให้ผู้ประท้วงที่เสียชีวิต ในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 28 มี.ค.

"ขนาดทหารด้วยกันเองยังไม่มีความยุติธรรม แล้วจะมาให้ความยุติธรรมกับประชาชนได้อย่างไร และการทำร้าย ทุบ ตี ที่เป็นระบบการปกครองที่ใช้ในค่ายทหารก็จะถูกนำมาใช้ปกครองประชาชนด้วย"

ถึงตูระเกิดไม่ทันช่วงการรัฐประหารที่เมียนมาในปี 1988 แต่เขาเห็นว่าการยึดอำนาจในอดีตไม่เหมือนปัจจุบัน เพราะตอนนี้ประชาชนถูกปิดหูปิดตาเหมือนแต่ก่อนไม่ได้ ทุกคนเข้าถึงสื่อ และตอนนี้มีแนวร่วมเกือบทั้งประเทศมาต่อต้านการรัฐประหาร

"ตอนนี้ที่เมียนมามีใจเดียวกันคือกำจัดรัฐบาลทหารออกไปให้ไม่เหลือรากเหลือโคนด้วยซ้ำ" ตูระยืนยัน

ในฐานะอดีตทหาร ตูระมองว่า กองทัพเมียนมาอยู่มายาวนาน ามีอาวุธพร้อม และวางแผนมาอย่างดี เพราะฉะนั้นประชาชนทั่วไปที่เพิ่งมาจับอาวุธและอยากสู้กับทหารก็ต้องใช้เวลา แต่ถ้าทุกคนร่วมกัน วันหนึ่งก็ต้องชนะ และในอนาคตชาวเมียนมาทุกคนก็หวังว่าประเทศจะกลับไปเป็นอิสระและเป็นประชาธิปไตย

"ทหารยังไงก็อยู่ไม่ได้ พวกเขาอยู่ที่เนปิดอว์ที่เดียว แต่ที่อื่นต่อต้านทหารและสู้รบกันอยู่ ยังไงก็ปกครองประเทศไม่ได้อยู่ดี ทหารไม่สามารถคุมประชาชนทั้งหมดได้"