วันอาทิตย์, ตุลาคม 31, 2564

เปิดประเทศพรุ่งนี้ยิ่งกว่าอึมครึม ทั้งโควิดและเศรษฐกิจยังจมปลัก เนื่องจาก “ทหารเฒ่าเล่นการเมืองยิ่งเน่าไปกันใหญ่”

“นักการเมืองว่าเน่า ทหารเฒ่าเล่นการเมืองยิ่งเน่าไปกันใหญ่” ประโยคนี้ที่คนระอาเผด็จการอิงราชา ประมุขประชาธิปไตย พูดและตรึกคิดกันมาพักใหญ่ (สัก ๗ ปีเห็นจะได้) ไทยรัฐเอามาใช้ในบริบทที่ “ประยุทธ์หาทางไปต่อลำบาก”

แม้ขณะนี้กำลัง ขาลอย ไปกล๊าสโกว์ ก็เชื่อว่าจะไม่มีเหตุปัจจุบันทันด่วนอะไรเกิดขึ้นให้หลัง มีแต่เหตุกัดกร่อนบ่อนทำลายแผน อยู่ยาวมากยิ่งๆ ขึ้นทุกวี่วันเท่านั้น เพียงว่าจะอยู่รอดดูความล่มสลายถึงกลางปีหน้า ก่อนเลือกตั้งใหม่ที่คาดว่าจะมาไหม

ที่แน่ๆ สภาพการณ์เศรษฐกิจและสังคม โค้งสุดท้ายปลายปี ๒๕๖๔ ข้าวยากหมากแพงไม่มีทางหนี จีดีพี หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศอย่างดีเพียง ๑.๕% อย่างชั่วช้าต่ำกว่า ๑% ประธานหอการค้าไทย สนั่น อังอุบลกุล ยืนยันเรื่องนี้

“รัฐบาลต้องเร่งนำงบประมาณที่มีอยู่ออกมากระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อต่อลมหายใจให้กับภาคธุรกิจ และภาคประชาชนได้ทันเวลา” เขาอ้างถึงการที่รัฐบาลเขียนกฎหมายใหม่ยกเพดานการกู้หนี้ขึ้นไปเป็น ๗๐% แล้วยังมีงบประมาณเหลือใช้อีก ๕ แสนล้าน

เขายังพูดอย่างไม่ถนอมน้ำใจใครว่า “ในส่วนของภาคประชาชน หรือผู้บริโภคเองก็ต้องเตรียมใจกับราคาสินค้าที่จะแพงขึ้นจากปัญหาเหล่านี้” ได้เห็น ของแพง ตั้งแต่ปลายปีนี้ถึงต้นปีหน้า แน่ยิ่งกว่าแช่แป้ง ทั้ง “สินค้าอุปโภค บริโภค หรือวัสดุก่อสร้าง”

แม้การเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาจ่ายเงินช่วยกอบกู้เศรษฐกิจไทย เริ่มพรุ่งนี้ก็ยังเป็นที่กังขาต่อบรรดานักธุรกิจพ่อค้าแม่ค้า ว่าจะช่วยให้พวกตนกลับมาลืมตาอ้าปากกันได้สักแค่ไหน การแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ ก็ยังต้องเฝ้าระวัง

ในเมื่อการเร่งฉีดวัคซีนให้ได้อย่างน้อยๆ ๗๐% ของประชากรก่อนเปิดประเทศ ก็ทำไม่ได้ สรุปผลเมื่อ ๓๐ ตุลา “ไทยฉีดวัคซีนครบแล้วร้อยละ ๔๒.๗ ของประชากร และเข็มที่ ๓ อีกร้อยละ ๓.๓” รวมแล้วก็คือ ๔๖% เท่านั้น

ซ้ำ เริ่มวันที่ ๑ พฤศจิกา รถบรรทุกจำนวน ๗-๘ หมื่นคันจะจอด ไม่ออกบริการเป็นเวลา ๑ เดือน ประท้วงต่อการที่เรียกร้องรัฐบาลตรึงราคาดีเซลไว้ที่ ๒๕ บาทต่อลิตร แล้วรัฐบาลไม่รับฟัง ยังคงประกาศราคาควบคุมที่ ๓๐ บาทต่อไป

สหพันธ์การขนส่งทางบกฯ “ก็จำเป็นต้องแก้ไขปัญหาเอง และอาจจะต้องขึ้นราคาค่าขนส่ง ซึ่งจะส่งผลกระทบตามมาต่อประชาชนทั้งประเทศ” ผู้ประกอบการต่างๆ “ก็จะต้องปรับราคาสินค้าอุปโภคบริโภคขึ้นตามต้นทุนค่าขนส่ง” ขอให้คิดดู

ไหนจะปัญหาใกล้ตัวประยุทธ์ จากการสั่งปิดเหมืองทองอัคราของออสเตรเลีย เป็นคดีในศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ซึ่งเลื่อนการออกคำสั่งชี้ขาดมา ๓ หนแล้ว จากกำหนดดั้งเดิม ๓๑ มกรา ๖๔ ไปเป็นต้นเมษา ๖๔ มาถึง ๓๑ ตุลา ๖๔

คราวนี้เลื่อนอีกครั้งไปเป็น ๓๑ มกรา ๖๕ ซึ่ง ส.ส.จิราพร สินธุไพร (น้ำ) @j_sindhuprai ตั้งข้อสังเกตุ “รบ.ไทยปิดลับสุดยอด รบ.กำลังมีการเจรจาแลกเปลี่ยนอะไรที่ไม่อยากให้ประชาชนรับทราบหรือเปล่า” เรื่องนี้มีเสียงแซร่ซร้องออกมาแล้ว

ถ้าประเทศไทยโดนปรับ (หลายหมื่นล้านบาท) ตู่ ต้องรับผิดชอบ เพราะใช้อำนาจเบ็ดเสร็จสั่งเอง ก็ต้องจ่ายเอง หากแต่รัฐบาลพยายามเลี่ยง แอบเจรจากับ คิงเกตแบบปิดลับ แต่มีข่าวเล็ดลอดว่า เสนอคืนสัมปทานและเพิ่มพื้นที่มากกว่าเดิม

วันนี้ ๓๑ ตุลา “สวนดุสิตโพล ชี้ประชาชนหนุนมีเลือกตั้งใหม่ พรรคเพื่อไทยคะแนนนำ ตามด้วยก้าวไกล ขณะนายกฯ ที่อย่ากได้ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ร้อยละ ๒๘.๖๗ รองลงมาคือ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ร้อยละ ๒๑.๒๗”

โดย ชมพูนุท วิริยะสุนทร อาจารย์แผนกกฎหมายและการเมือง ม.สวนดุสิต ตีความโพลว่า “เป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นถึงการยุบสภาและจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่...ถึงแม้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะออกมายืนยันว่าไม่มีทางยุบสภา

แต่การเมืองเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน ทุกสิ่งสามารถเกิดขึ้นได้ โดยตัวเร่งที่เป็นปัจจัยให้นายกรัฐมนตรีจะตัดสินใจยุบสภา คือเหตุภายในสภา เรื่องความแตกแยกภายในพรรคพลังประชารัฐที่ยากเกินจะเยียวยา” มันจึงวกไปถึงเรื่องที่ว่า

“กองกำลังชนกลุ่มน้อยยึดค่ายพลังประชารัฐให้ บิ๊กตู่ ไม่ได้ ก็คงจะอยู่ร่วมชายคากันยาก ประยุทธ์ หาทางไปต่อลำบาก ประวิตร ก็คงเหลือแค่ซากของค่ายที่แตกยับเยิน”

(https://www.thairath.co.th/news/politic/2231720, https://www.facebook.com/suandusitpoll/posts/4951328231562347 และ https://www.matichonweekly.com/hot-news/article_481513) 

เมื่อวานประชาชนให้...กับอะไรบ้าง


Taweesak Kerdpoka
12h ·

เมื่อวานนี้มีอะไรเหี้ยๆ บ้าง
-อาลีฟ เยาวชนอายุ 18 ไปเรียกร้องความยุติธรรม และไว้อาลัยให้กับ 'วาฤทธิ์' เยาวชนอายุ 15 ที่เพิ่งเสียชีวิตจากการถูกยิงที่ สน.ดินแดง แทนที่ตำรวจจะพยายามไขความสงสัยให้กับประชาชนแม้จะจับตัวผู้ก่อเหตุได้คนหนึ่งแล้ว แต่ก็ยังไม่สิ้นความสงสัยว่า ผู้ก่อเหตุมีเหตุจูงใจอะไรที่ทำให้ต้องออกมายิงเด็ก หรือผู้ก่อเหตุมีส่วนเกี่ยวข้องอะไรกับตำรวจ
เจ้าหน้าที่กลับจับตัว 'อาลีฟ' ไปกระทืบรีดเค้นข้อมูลว่า ใครเป็นคนยิง คฝ. ในคืนวันที่ 6 ตุลา 64 ระหว่างมีปฏิบัติการปิดกล่องล้อมปราบที่ แฟลตดินแดง ทั้งที่เขาไม่รู้
-มีแรงงานข้ามชาติ 8 ราย ที่เดินทางไปติดตามการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการส่งเสริมแรงข้ามชาติให้ขึ้นขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง ที่กระทรวงแรงงาน
ระหว่างรอฟังผลการเจรจากับตัวแทนกระทรวงฯ พบว่า ตร.นอกเครื่องแบบ และ เจ้าหน้าที่ไม่ทราบสังกัดสวมเสื้อ "รมต.แรงงาน สุชาติ ชมกลิ่น" เข้าตรวจเอกสารประจำตัวของคนงาน แล้วถ่ายรูปเอกสารของคนงานไว้ และพบว่า มีแรงงานที่ไม่มีเอกสารมาแสดงจำนวน 7 ราย ถูกเจ้าหน้าที่รวบตัวไปควบคุมตัวยัง สน.ดินแดง
ระหว่างอยู่ที่ สน. ตำรวจมีการแยกคนงานออกไป ไม่ยอมให้คนงานพบทนายหรือผู้ไว้ใจ และมีการกล่าวหาว่าแรงงานรับเงินมาเคลื่อนไหวสร้างสถานการณ์ หลังจากนั้นตำรวจ สน.ดินแดงได้แจ้งสำนักงานตรวจคน (ตม.) สวนพลูเพื่อเตรียมผลักดันส่งกลับทันที โดยระหว่างนี้ คนงานชาวกัมพูชาที่ไม่มีเอกสารทั้ง 7 คนจะถูกนำไปกักตัวในสถานกักกันของรัฐตามมาตรการรักษาความปลอดภัยโควิด-19 จำนวน 14 วัน
1 ใน 7 รายเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวที่มีลูกอายุ 10 และ 19 ปี โดยลูกทั้งสองยังไม่ทราบว่าแม่จะไม่ได้กลับบ้าน
-แซม สาแมท ถูกจับหน้า สน.ดินแดง ถูกตั้งข้อหาวางเพลิงศาลพระภูมิ ศาลไม่ให้ประกันต้องถูกควบคุมตัวในคุกอีกครั้ง นับเป็นครั้งที่ 3 และสองครั้งก่อนหน้านี้เขาติดโควิดจากเรือนจำทั้ง 2 รอบ
-ศาลอาญากรุงเทพใต้ ไม่ให้ประกันตัว เบนจา อะปัญ แม้ตำรวจจะสอบสวนปากคำพยานในคดี 112 เสร็จแล้ว และไม่คัดค้านการประกันตัว แต่ศาลก็ไม่ให้ประกัน
“พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว เห็นว่าคดีนี้ผู้ต้องหาถูกกล่าวหาว่ามีการกล่าวปราศรัยด้วยถ้อยคำที่ไม่บังควร ประกอบกับผู้ต้องหาเคยฝ่าฝืนเงื่อนไขในการปล่อยตัวชั่วคราว ว่าจะไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สถาบันพระมหากษัตริย์ หรือเข้าร่วมกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง กรณีมีเหตุเชื่อว่าหากอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวแล้ว ผู้ต้องหาจะก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายประการอื่น"
-อรุ่มเจ่าะ มหาไพลวัลย์ เผยถูกบีบให้สึกจากความเป็นพระ
ฯลฯ
พวกเขาค่อนข้างถนัดกับการใช้ตีนเหยียบหัวคน

คิดถึง "จ่าง แซ่ตั้ง"


Tang Chang : จ่าง แซ่ตั้ง
September 28 ·

พบกับหนังสือชุด "ระลึก 30 ปี มตะกาล จ่าง แซ่ตั้ง" ในแพลตฟอร์มออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์และแอปพลิเกชัน Ookbee
อย่างไรก็ตาม ยังคงสามารถสั่งซื้อหนังสือเล่มปกติได้ผ่านทางกล่องข้อความเพจ
*******
หนังสือชุด ระลึก 30 ปี มตะกาล จ่าง แซ่ตั้ง (พ.ศ.2533-2563)
ในวาระครบรอบ 30 ปี การจากไปของศิลปิน กวี จ่าง แซ่ตั้ง สำนักพิมพ์ ลูก-หลาน จ่าง แซ่ตั้ง ได้ทำการตีพิมพ์หนังสือจำนวน 2 ชุด 6 เล่ม
<<< ชุดข้อเขียน 2 เล่ม ราคา 1050 บาท >>>
หนังสือข้อเขียนเชิงวิชาการและเชิงปกิณกะเกี่ยวกับงานศิลปะและบทกวี ทั้งที่บุคคลอื่นเขียนถึงจ่าง และจ่างเขียนถึงการทำงานของตัวเขาเอง ประกอบด้วย
1. ทัศนะศิลปะ - ทัศนะกวี ราคา 500 บาท
เป็นการรวมข้อเขียนต่างๆ ของ จ่าง แซ่ตั้ง ศิลปินและกวีผู้เขียนถึงการทำงานของตนเองตลอดจนมุมมองต่างๆ เกี่ยวกับกวีและศิลปะ สิ่งเหล่านี้อาจมิใช่บทความวิชาการ แต่เป็นเอกสารชั้นต้นในรูปแบบของบันทึกหรือข้อเขียนที่ถูกสั่งสมจากประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยตนเอง ตลอดจนการลงมือปฏิบัติ จากศิลปินที่มิได้เข้าศึกษาในสถาบันศิลปะใดๆ
2. 'จ่าง' ศึกษา (นวภู แซ่ตั้ง บรรณาธิการ) ราคา 550 บาท
เป็นหนังสือรวบรวมข้อเขียนเชิงวิชาการจากนักวิชาการทางด้านศิลปะและวรรณกรรมที่เขียนถึงจ่างในมุมมองต่างๆ โดยนักวิชาการทั้งรุ่นใหม่และรุ่นเก่า เช่น ผศ.นิพนธ์ ทวีกาญจน์, ดร.ถนอม ชาภักดี, ดร.ธนาวิ โชติประดิษฐ, อ.สิทธิธรรม โรหิตะสุข, ดร.อิสระ ชูศรี, ศ.ดร.รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ และนักวิชาการ/นักเขียนท่านอื่นๆ
<<< ชุดบทกวี 4 เล่ม ราคา 710 บาท >>>
บทกวีทั้ง 4 เล่มนี้ เป็นบทกวีที่จ่างได้จัดพิมพ์โดยตนเองในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ และเป็นบทกวีที่สร้างชื่อเสียงให้จ่างเป็นที่รู้จัก ปัจจุบันหนังสือบทกวีทั้ง 4 เล่ม ถือว่าเป็นหนังสือหายาก และมีราคาแพง
สำนักพิมพ์ ลูก-หลาน จ่าง แซ่ตั้ง ได้นำมาจัดระเบียบและตีพิมพ์ใหม่อีกครั้ง ในวาระ 30 ปี มตะกาล จ่าง แซ่ตั้ง ประกอบด้วย
1. กวีนิพนธ์ "ปกดำ" ราคา 100 บาท (ฉบับสองภาษา)
2. กวีนิพนธ์ "แม่กับลูก" ราคา 220 บาท
3. กวีนิพนธ์ "ภาพพจน์ที่ผ่านมา" ราคา 250 บาท
4. กวีนิพนธ์​ "เด็กคนนั้น" ราคา 140 บาท
ราคารวมทั้งชุด 6 เล่ม ราคา 1,760 บาท
***สามารถซื้อฉบับ e-book ได้ในเว็บไซต์และแอปพลิเกชัน Ookbee ***
ส่งฟรีทั่วประเทศ
สนใจสั่งซื้อหนังสือ สามารถติดต่อเข้ามาทางกล่องข้อความเพจ
อีเมล์ tangchang.1934@gmail.com
หรือโทรสอบถาม 08-2414-4592


เล่าถึงงานคุณพ่อจ่าง แซ่ตั้ง โดย ทิพย์ แซ่ตั้ง

Apr 23, 2015

PHUMRAPHEE SAE-TANG

เล่าถึงงานคุณพ่อจ่าง แซ่ตั้ง โดย ทิพย์ แซ่ตั้ง งานฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในประเทศไทย ศูนย์มนุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

“ยกเลิก112”วัดกระดูกสันหลังนักการเมือง


“ยกเลิก112”วัดกระดูกสันหลังนักการเมือง

Oct 28, 2021

“ยกเลิก112”วัดกระดูกสันหลังนักการเมือง ยังกราบคลานหรือหยัดยืนข้างประชาธิปไตย สมยศ พฤกษาเกษมสุข นักโทษทางการเมืองคดี 112 นักเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมาอย่างยาวนาน ตัวแทนกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย รวมทั้งเป็นตัวแทน “กลุ่มราษฎรประสงค์ ยกเลิก 112” กล่าวถึงการนัดชุมนุมใหญ่วันที่ 31 ตุลาคมนี้ที่แยกราชประสงค์ เพื่อเปิดตัวกิจกรรมรณรงค์ล่ารายชื่อยกเลิกการบังคับใช้ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ว่า สังคมและการเมืองไทยเวลานี้ คือเวลาที่เหมาะสมอย่างยิ่งในการยกเลิกการบังคับใช้ ม.112 เพราะประชาชน เยาวชนต่างได้เห็นถึงกลไกของรัฐใช้กฎหมาย 112 เพื่อทำลายหลักการความถูกต้องชอบธรรมทางกฎหมาย รวมทั้งเป็นการทำลายสถาบันกษัตริย์ให้เสื่อมเสียอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เป็นที่ชัดเจนแล้วว่ารัฐบาลเผด็จการทหารใช้กฎหมาย 112 เพื่อรักษาผลประโยชน์และอำนาจของตัวเองเป็นประการสำคัญ ดังนั้นวันที่ 31 ตุลาคมนี้ ขอเชิญชวนประชาชนทุกหมู่เหล่ามาร่วมกันชุมนุมที่ราชประสงค์ ตั้งแต่สี่โมงเย็นเป็นต้นไป และจะมีการเปิดช่องทางให้ประชาชนไทยทั้งในและต่างประเทศร่วมกันลงชื่อเพื่อแสดงเจตจำนงค์ให้มีการยกเลิก ม.112 ด้วย



คิงส์เกตแจ้งความคืบหน้า คำชี้ขาดคดี #เหมืองทองอัครา ถูกเลื่อนเป็นวันที่ 31 ม.ค. 65

#เหมืองทองอัครา
"ผลตัดสินเหมืองทองอัครา ไม่ว่าทางใดประเทศก็เสียหาย" จิราพร สินธุไพร ส.ส. เพื่อไทย

Premiered 7 hours ago

Prachatai

"ไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง ประเทศไทยก็เสียหาย ถ้าเป็นเงินก็คือคาดว่าจะต้องเป็นเงินภาษีประชาชนที่ต้องนำไปใช้จ่ายเรื่องนี้ เพราะว่าที่ผ่านมาแม้กระทั่งค่าทนายเอง ประมาณ 7 ร้อยล้านบาท พลเอกประยุทธ์ก็ยังใช้เงินภาษีแผ่นดินไปต่อสู้ ทั้งๆ ที่เคยบอกว่าจะรับผิดชอบเอง"

ผู้สื่อข่าวประชาไทสัมภาษณ์ จิราพร สินธุไพร ส.ส.พรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 28 ต.ค. 64 กรณีคำตัดสินอนุญาโตตุลาการพิพาทเหมืองทองอัครา ชี้หากแพ้คดีอาจต้องจ่าย ‘ค่าโง่’ เป็นเงินสดที่มาจากภาษีประชาชน พร้อมชวนประชาชนลงชื่อคัดค้าน ‘ประยุทธ์’ ยกสมบัติชาติใช้หนี้ความผิดพลาดของตนเอง ผ่าน Google Document และ LINE OA

อ่านทั้งหมดได้ที่: https://prachatai.com/journal/2021/10... #เหมืองทองอัครา

"ง่าย งาม ชัด"

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=3160278730915283&id=100007995606560
สุชาติ สวัสดิ์ศรี
18h ·

ง่าย งาม ชัด
ข้าฯไม่ชอบคอมมิวนิสต์เพราะมันไม่เป็นประชาธิปไตย
ข้าไม่ชอบทุนนิยม เพราะมันเอารัดเอาเปรียบ
-------------
ส่วนที่ประธานพรรคคอมมิวนิสต์ "จีนแดง" พูดไว้เมื่อเร็วๆนี้ว่า "ประชาธิปไตยแบบจีนแดง" ดีที่สุด ( ในโลก ) ท่านประธาน พคจ.คงจะหมายถึงคำว่า "คอมมิวนิสต์ + ทุนนิยม" ที่ไม่มีอะไรเกี่ยวของกับคำว่า "ประชาธิปไตย" เลย
คอมมิวนิสต์ไปผสมพันธุ์กับทุนนิยมได้อย่างเนียนนุ่มอย่างไร
นั่นเป็นเรื่องที่ประชาชนและกองทัพจะต้องหาคำตอบว่าจะเอา "ประชาธิปไตยแบบจีนแดง" หรือจะเอาประชาธิปไตยแบบไหน
จาก "พญาอินทรี" ในทศวรรษ 2500 ก็พลันมาหา "พญามังกร" ในทศวรรษ 2550 อย่างแทบไม่น่าเชื่อ
ถามว่า "ตู่" และ "กองทัพตู่" ทำรัฐประหาร คสช. 22 พฤษภาคม 2557 พวกเขาอยากจะเป็น "ประชาธิปไตยแบบจีนแดง" เช่นที่เรียกว่า "ประชารัฐ" ในความหมายของ วัง + รัฐธรรมนูญ 2560 + กองทัพ + ส.ว.ลากตั้ง + ซีพี + เบียร์ช้าง ใช่หรือไม่ ?
หรือ "ประชาธิปไตยแบบไทย" จะเป็น ศักดินา ( วัง ) + ขุนศึก ( ทหาร/ตำรวจ/ข้าราชการ ) + ทุนนิยม ( ซีพี ฯลฯ )
นี่เป็นเรื่องที่ต้องรอดูกันต่อไปว่า จะ "สู้ไปกราบไป" ในวิถีและวิธีแบบไหน

เป็นได้แค่หมารับใช้ไปวัน ๆ


nut sa
@NutSakuldee

·Oct 29
ไร้คลาส ไร้วัฒนธรรม ไร้สามัญสำนึก ไร้สติปัญญา ไม่รู้จักการเคารพสิทธิ ไม่ให้เกียรติทั้งคนเป็นคนตาย ชีวิตน่าจะเป็นได้แค่หมารับใช้ไปวัน ๆ

ชมชัด ๆ #ม็อบ29ตุลาคม ตำรวจ "รุมกระทืบ" ทำร้ายประชาชน


มีคนสำรวจความเห็น "มีคนเล่าให้ฟังหลายคนเลยว่าในโรงหนังตอนนี้แทบไม่มีใครยืนตอนเพลงสรรเสริญพระบารมีแล้ว" จริง บ่

 
ส่วนตัวดูหนังประจำ ถ้านับทั้งโรง 100% มีคนลุกประมาณ 10-20% แล้วก็มีอีก 20% รอเพลงจบค่อยเดินเข้าโรง ที่เหลือ 60% คือนั่งในโรงแบบไม่ลุกแล้ว
@Monotonecol
·
อ่านความเห็นท่านอืนที่
https://twitter.com/topazine/status/1454275830549401610

ทำไมเราจึงควรตั้งคำถามกับโครงการคลองช่องนนทรี อยากได้เมืองดี ต้องช่วยกันตั้งคำถามยากๆ

https://www.facebook.com/666499245/posts/10159405650404246/?d=n
Daeng Niramon
October 27 at 2:02 AM ·

ทำไมเราจึงควรตั้งคำถามกับโครงการคลองช่องนนทรี
.
การจะทำให้เมืองเขียว คลองสะอาด เป็นสิ่งที่ดี
.
แต่ก่อนจะร่วมอนุโมทนากับโครงการใดๆ เราควรศึกษารายละเอียดว่าเป็นโครงการที่สร้างประโยชน์ในการยกระดับคุณภาพชีวิต ส่งเสริมสิ่งแวดล้อมเมือง ตอบโจทย์ความยั่งยืน โดยเฉพาะโจทย์การดูแลรักษาได้จริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงโครงการฟอกเขียว (GREENWASH / GREENSCAM) หรือ โครงการเขียวดิสนีย์ (GREEN DISNEY)
.
โครงการคลองช่องนนทรีมูลค่า 980 ล้านบาทนับเป็นโครงการขนาดใหญ่ (LARGE-SCALE URBAN PROJECT) ที่ได้โฆษณาว่าจะเป็น “ชองเกชอนแห่งกรุงเทพ” นั้นบังเอิญมาตั้งอยู่หน้าบ้านดิฉันเอง
.
โครงการนี้มีการเร่งรัดก่อสร้างอย่างมาก รวมทั้งมีการสื่อสารที่อาจนำไปสู่ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของสังคมที่มีต่อ “งาน URBAN DESIGN” หรือ “งานสถาปัตยกรรมผังเมือง” ซึ่งเป็นวิชาชีพสถาปนิกเฉพาะสาขาหนึ่งที่กำกับโดยกฎกระทรวงกําหนดวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม พ.ศ.2549 ซึ่งเป็นในวิชาชีพสถาปนิกที่มีอยู่หลายสาขา ที่ต้องบูรณาการความรู้จากหลากหลายศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นสถาปนิกสาขาอื่น วิศวกรรมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสังคมศาสตร์สาขาต่าง ๆ ที่ต้องเข้ามาทำกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
.
โครงการนี้จึงสร้างความกังวลแก่ดิฉันหลายประการ ไม่ว่าจะในฐานะประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ในฐานะคนเสียภาษี หรือในฐานะอาจารย์ผู้สอนในหลักสูตร URBAN DESIGN
.
ดังนั้น ดิฉันจึงอยากแสดงความคิดเห็นและตั้งข้อสังเกต โดยจะนำเอาข้อมูลโครงการช่องนนทรีมาเทียบกับโครงการชองเกชอนในหลายมิติของการฟื้นฟูเมือง เพื่อนำไปสู่การแลกเปลี่ยนวิพากษ์วิจารณ์กันในวงการวิชาการ วิชาชีพ และสาธารณะต่อไป รวมทั้งหวังว่าจะเป็นแนวทางให้แก่สาธารณะในการตั้งคำถามและตรวจสอบโครงการฟื้นฟูเมืองใดๆ ในอนาคต
.
ต้องเรียนว่า แม้โครงการช่องนนทรีจะเป็นโครงการขนาดใหญ่ตั้งอยู่กลางเมืองที่เริ่มลงมือดำเนินการก่อสร้างแล้ว แต่ข้อมูลโครงการที่เปิดเผยต่อสาธารณชนมีจำกัดมาก ข้อมูลส่วนใหญ่ที่พบเห็นจึงมีแต่ข่าวประชาสัมพันธ์ที่เป็นภาพ PERSPECTIVE ของโครงการก่อน – หลังก่อสร้าง แต่ไม่มีรายละเอียดที่สำคัญ เช่น การจัดการกับระบบน้ำ การจัดการจราจร ไม่มีการจัดทำเป็นรูปเล่มหรือเว็บไซต์ให้ประชาชนเข้าไปศึกษาโดยง่าย ดังนั้น ข้อมูลที่ครบถ้วนที่ดิฉันหาได้มาจากการบรรยายของภูมิสถาปนิกที่ขออนุมานว่าท่านเป็นหัวหน้าโครงการ เนื่องจากเห็นท่านปรากฏบนสื่อในการสัมภาษณ์โครงการนี้บ่อย โดยล่าสุดท่านได้บรรยายโครงการนี้อย่างละเอียดในงานสภาสถาปนิก (https://fb.watch/8Uq6zS0VNp/ นาทีที่ 9.58–30.24)
.
เท่าที่ได้ศึกษา หากโครงการช่องนนทรีจะเคลมว่าเป็นชองเกชอนแห่งกรุงเทพ ก็จะเห็นว่ามีสิ่งเหมือนกันแค่ 2 ประการเท่านั้นคือ ทั้งคู่เป็นโครงการ LARGE-SCALE URBAN PROJECT ที่ตั้งอยู่ใจกลางย่านธุรกิจ (CBD) ย่านกลางเมืองแบบนี้ ไม่ว่าทำโครงการใดๆ จะส่งผลกระทบสูงเนื่องจากมีความหนาแน่นประชากรสูงทั้งกลางวันกลางคืน เป็นที่กระจุกตัวของธุรกิจการค้า มีกลุ่มผู้ใช้งานที่หลากหลาย สลับซับซ้อน รวมทั้งมีปริมาณการสัญจรที่หนาแน่น ฉะนั้น จะทำโครงการใดๆ ต้องระมัดระวัง วางแผนอย่างรอบคอบ และต้องร่วมหารือเพื่อสร้างความเข้าใจ การยอมรับจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโครงการ
.
ก็มีแค่ 2 ประเด็นที่เหมือนกัน ที่เหลือคือความแตกต่าง หากท่านอยากศึกษาโครงการชองเกชอน กรุงโซล ท่านเข้าไปดูใน LINK นี้ (https://bit.ly/3jHPv4d / https://bit.ly/3BhXquX )
.
1. อะไรคือวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ของโครงการ?
.
- โครงการชองเกชอน: แม้จุดเด่นที่คนทั่วโลกพูดถึงคือการปรับปรุงคลองจากการรื้อถอนทางด่วน แต่หากได้ศึกษารายละเอียดที่มาของการดำเนินการดังกล่าว จะพบว่าโครงการคลองชองเกชอนเป็นส่วนหนึ่งของ FRAMEWORK ใหญ่ของเมืองหรือ THE SEOUL DOWNTOWN DEVELOPMENT PLAN ที่มุ่งฟื้นฟูใจเมืองหรือย่าน CBD เก่าที่นับวันจะเริ่มซบเซาและสูญเสียความสามารถในการแข่งขันกับย่านการค้ารอบเมือง เช่น ย่านกังนัม
.
ณ ตอนนั้น ความยากของการฟื้นฟู CBD เก่าของโซลคือการมีทางด่วนยกระดับขนาด 18 เลนพาดผ่าน ซึ่งเป็นทางด่วนที่สร้างขึ้นในต้นปี 1970s โดยสร้างทับไปบนแนวคลองชองเกเดิม สร้างมลภาวะเสียง ฝุ่น ควัน รวมทั้งความเสื่อมโทรมใต้ทางด่วน ในปี 2002 นายกเทศมนตรีที่ชูวิสัยทัศน์ GREEN GROWTH WITH LOW CARBON และนโยบายรื้อถอนทางด่วนเพื่อฟื้นใจเมืองชนะการเลือกตั้งเข้ามา ด้วยความที่ทางด่วนอายุ 30 ปี ต้องซ่อมบำรุงครั้งใหญ่ และมีค่าซ่อมหลายร้อยล้านวอน นายกเทศมนตรีเสนอรื้อทางด่วนออก แล้วรื้อฟื้นปรับปรุงคลองชองเกขึ้นมาให้กลายเป็น THE NEW DEVELOPMENT AXIS เพื่อสร้าง NEW VALUE ให้แก่ย่านเก่า ส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนอยู่อาศัย เข้ามาจับจ่าย และเดินทางผ่านพื้นที่ ดึงดูดการลงทุนใหม่ๆโดยเฉพาะธุรกิจการค้าและบริการ ฟื้นคืนระบบนิเวศน์ในเมือง รวมทั้งใช้เป็นโครงการที่ REBRAND กรุงโซลในเวทีโลก
.
ดังนั้น ทุกยุทธศาสตร์การพัฒนาจะเห็นความพยายามในการ “ถักทอ” คลองชองเกชอนเข้ากับเนื้อเมืองโดยรอบ
.
- โครงการช่องนนทรี: จากข้อมูลที่หาได้ พบว่าวิสัยทัศน์ของโครงการคือจะทำให้คลองช่องนนทรีเป็น “สวนสาธารณะริมคลองแห่งแรกของประเทศไทย” เท่าที่ดูเป็นงานปรับปรุงภูมิทัศน์ แต่ไม่เห็นวิสัยทัศน์หรือยุทธศาสตร์ที่ในการใช้คลองช่องนนทรีในการฟื้นฟูเมืองหรือย่านโดยรอบได้อย่างไร
.
2. ประชาชนและสาธารณะเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผนอย่างไรบ้าง?
.
- โครงการชองเกชอน: ตั้งอยู่ใจกลางย่าน CBD ของกรุงโซล มีร้านค้าโดยรอบกว่า 100,000 ร้านค้า มีกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกว่า 200,000 คน และมีปริมาณการจราจรเฉลี่ย 170,000 คัน/วัน ส่งผลให้ตลอดระยะเวลาการศึกษาโครงการ 2 ปี 6 เดือน (ปี 2003-2005) เทศบาลกรุงโซลได้จัดประชุมประชาชนกว่า 4,200 ครั้งทั้งขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ เพื่อรับฟังความคิดเห็น สร้างความเข้าใจ และสร้างฉันทามติร่วมกัน
.
- โครงการช่องนนทรี: ตั้งอยู่ใจกลางย่าน CBD กรุงเทพฯ ในรัศมี 2 กิโลเมตรโดยรอบ มีร้านค้ากว่า 214 ร้านค้า อาคารสำนักงาน 457 อาคาร มีปริมาณการสัญจรรวมบนถนนนราธิวาสฯ และถนนที่ตัดผ่านกว่า 293,000 คัน/วัน และมีผู้ที่จะได้รับผลกระทบจากเส้นทางและการใช้งานถนนรวมกว่า 350,000 คนซึ่งคาบเกี่ยวพื้นที่ในเขตบางรัก เขตสาทร และเขตยานนาวา อย่างไรก็ตาม กทม.จัดเพียงงานแถลงข่าวโครงการในวันที่ 11 พ.ย. 2563 เท่านั้น ซึ่งเป็นการแสดงแบบโครงการช่องนนทรีที่ออกแบบไว้แล้วโดยบริษัทภูมิสถาปัตยกรรมแห่งหนึ่ง โดยขึ้นมุมซ้ายว่า “เป็นภาพจำลองเพื่อใช้ในนิทรรศการเท่านั้น ยังไม่ได้การออกแบบจริง” (แต่ก็พบว่า กทม.ใช้แบบนี้ประชาสัมพันธ์จนถึงวันที่ดิฉันเขียนบทความนี้) และก็มีงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการในวันที่ 16 ต.ค. 2564 ที่มีแค่การถ่ายภาพร่วมกันของผู้ว่า กทม. และคณะทำงาน โดยที่ไม่มีการให้ข้อมูลรายละเอียดโครงการเพิ่มเติม และอัพเดตผ่านเฟสบุคเพจเท่านั้น ไม่มีเอกสารที่ประชาชนโดยรอบโครงการและสาธารณะสามารถเข้าถึงข้อมูลอย่างเป็นทางการได้
.
- เนื่องจากโครงการอยู่หน้าบ้านและร้านส้มตำเจ้าประจำของดิฉันก็อยู่ตรงนั้นพอดี ดิฉันก็เดินไปสอบถามร้านค้าโดยรอบโครงการ รวมทั้งคนทำงานบริษัทที่เดินมาทานข้าวกลางวัน พบว่า ส่วนใหญ่ไม่เคยทราบถึงโครงการเลยจนกระทั่งเริ่มมีการลงมือก่อสร้างแล้ว บางท่านทราบจากสื่อโซเชียล ส่วนใหญ่ “รู้สึกไม่แน่ใจว่าโครงการนี้จะสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้อย่างไร เพราะดูจะข้ามถนนไปใช้ยาก แถมถนนนราธิวาสก็ฝุ่นควันมากจากรถติด รวมทั้งแดดร้อน ฝนตกอีก ใครจะข้ามถนนไปใช้” นอกจากนี้เห็นว่า “ควรนำงบประมาณมาทำอย่างอื่นที่มีประโยชน์มากกว่าเช่น ทำทางเท้าฝั่งร้านค้าให้สวยก่อนไหม คนจะได้มาเดินเยอะๆ เชื่อมเข้าไปในซอยด้วย ทำไฟทางเดินให้สว่าง เพราะตรงนี้หกโมงทุ่มนึงก็มืดแล้วน่ากลัว”
.
3. ใครมีหน้าที่รับผิดชอบตอบคำถามจากประชาชน?
.
- โครงการชองเกชอน: ด้วยจำนวนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโครงการชองเกชอนที่มากมหาศาล กลไกสำคัญที่ทำให้โครงการดำเนินการได้ราบรื่นและประสบผลสำเร็จคือ คณะทำงานประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ (1) สำนักงานโครงการ (Project Office) (2) ศูนย์การวิจัย (Research Center) และ (3) กรรมการพลเมือง (Citizen Committee) ที่เทศบาลกรุงโซลตั้งขึ้นตั้งแต่ DAY1 ของการดำเนินโครงการ แยกหน้าที่กันชัดเจนในการวางแผน การศึกษาและวิจัย การติดตามและประเมินผลโครงการ การมีส่วนร่วมของประชาชนและการประชาสัมพันธ์ ทั้ง 3 ทีมจะทำงานร่วมกันตลอดระยะเวลา 3 ปีของโครงการ ทำหน้าที่ให้ข้อมูลและตอบคำถามจากประชาชนและสาธารณะในเรื่องที่ตนเองรับผิดชอบ
.
- โครงการช่องนนทรี: จากการค้นข้อมูลพบเพียงแค่รายชื่อและโลโก้ของหน่วยงานจากป้ายประกาศ และเว็บประชาสัมพันธ์ของ กทม.รวมทั้งหน้าโซเชียลของภูมิสถาปนิกที่อนุมานว่าเป็นหัวหน้าโครงการ แต่ไม่มีการชี้แจงถึงผู้รับผิดชอบหรือคณะกรรมการที่ดูแลโครงการอย่างเป็นทางการ ส่วนเบอร์โทรที่ให้ไว้ที่ป้ายประกาศหน้าไซต์ก่อสร้าง ติดต่อยาก โทรไปมักไม่มีผู้รับสาย โทรติดครั้งหนึ่งปลายสายแจ้งว่าไม่ทราบข้อมูลและไม่สามารถให้ข้อมูลได้
.
4. หนึ่งในหน้าที่ของคลองทั้งสองคือการระบายน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม
แล้วการออกแบบปรับปรุงคลองตอบโจทย์ข้อนี้อย่างไร?
.
- โครงการชองเกชอน: หลังจากรื้อถอนทางด่วนออกไปแล้ว ได้มีการขุดลอกท้องคลองให้ลึกถึง 7 เมตร (สูงเท่ากับตึก 2 ชั้น) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรับมือกับน้ำท่วมโดยยึดตัวเลขการคาดการณ์น้ำท่วม 200 ปี ทั้งนี้ ระดับความลึกนี้ ได้คิดพร้อมกับการออกแบบ PROMENADE SPACE ทางเดินริมคลองที่บูรณะใหม่ เพื่อแยกระดับรถยนต์ที่วิ่งบนถนนกับคนเดินริมคลอง นอกจากจะป้องกันน้ำท่วมได้แล้ว ยังทำให้การเดินเล่นริมคลองทำได้อย่างปลอดภัย ไม่ถูกรบกวนด้วยเสียงรถยนต์หรือฝุ่นควัน
.
- โครงการช่องนนทรี: หากย้อนอดีตเมื่อการก่อสร้างคลองช่องนนทรี คลองได้รับการออกแบบโดยบริษัทวิศวกรรมที่ว่าจ้างมาจากประเทศอังกฤษในปี 1999 เพื่อออกแบบเป็นคลองระบายน้ำของโซนกรุงเทพใต้ ดังนั้น ในหน้าแล้ง น้ำในคลองช่องนนทรีจะถูกพร่องออกให้แห้งเพื่อเตรียมเป็น “แก้มลิง” รอรับน้ำในฤดูฝน
.
แบบการปรับปรุงที่ปรากฏตามสื่อนำมาสู่คำถาม:
.
(1) แบบที่ผู้ออกแบบเสนอปรับปรุงคลองเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ ทำให้มีความจำเป็นต้องรักษาระดับน้ำให้ปริ่มตลิ่งเพื่อความสวยงามตลอดเวลา จะทำให้หน้าที่การเป็นแก้มลิงของคลองช่องนนทรีหายไปหรือไม่? แล้วจะส่งผลกระทบให้ย่านนี้น้ำท่วมหรือไม่? หรือจะเสนอเอาระบบใดมาทดแทน? แล้วใช้งบประมาณเท่าไหร่? งบประมาณนี้ใครรับผิดชอบ?
.
(2) หากคลองช่องนนทรียังต้องทำหน้าที่ระบายน้ำ หากดูจากแบบ จะเห็นได้ชัดเจนว่ามีการยื่นทางเดินออกไปในพื้นที่ริมคลองหลายจุดมาก บางจุดก็พาดกลางคลอง จะขวางทางน้ำหรือไม่? แล้วจะส่งผลกระทบต่อการระบายน้ำและการจัดการน้ำท่วมในย่านนี้หรือไม่? จะแก้ไขอย่างไร?
.
(3) ทางเดินที่ออกแบบใหม่ยื่นออกมาในคลอง แน่นอนว่าต้องมีเสารับเป็นจำนวนมาก หากขยะเข้าไปติดด้านล่าง เก็บอย่างไร? ใครเป็นคนเก็บ?
.
5. จะปรับปรุงคุณภาพในคลองได้อย่างไร?
.
- โครงการคลองชองเกชอน: มีเป้าหมายและเกณฑ์คุณภาพน้ำที่ชัดเจน คือ คุณภาพในคลองต้องสะอาดปลอดภัย ระดับที่ประชาชนเข้าไปสัมผัสได้ นั้นคือ น้ำต้องมีคุณภาพสูกว่าน้ำเกรดสอง (The 2nd Grade) โดยเน้นที่เกณฑ์ชื้อวัด 5 ประการ ได้แก่ ค่า BOD (Biological Oxygen Demand) ไม่เกิน 3 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่า DO (Dissolved Oxygen) ไม่ต่ำกว่า 5 มิลลกรัมต่อลิตร ค่า SS (Suspended Solid) ไม่เกิน 25 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่า Total Nitrogen ไม่เกิน 10 มิลลิกรัมต่อลิตร และค่า Total Phosphorus ไม่เกิน 1 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็นต้น โดยมีการตรวจสอบ และเฝ้าระวังค่าเหล่านี้ตลอดเวลาเพื่อให้ความมั่นใจว่าประชาชนจะปลอดภัย
.
การจะให้น้ำมีคุณภาพไปถึงเป้าหมายนี้ได้ชองเกซอนใช้ 2 ระบบ
.
ระบบที่ 1 : บำบัดน้ำเสียที่มาจากอาคารบ้านเรือนก่อน โดยกรุงโซลก็เหมือนกรุงเทพฯ คือระบบสาธารณูปโภคยังคงเป็นแบบดั้งเดิม ท่อน้ำฝนยังรรวมกับท่อน้ำเสีย ดังนั้น ซองเกชอน ได้เลือกใช้ ระบบ Combined Sewer Overflow (CSO) เพื่อแก้ปัญหา โดยในฤดูแล้งไม่มีฝน น้ำทิ้งจากบ้านเรือนก็ไหลเข้าสู่ท่อรวบรวมน้ำเสียผ่านระบบ CSO ส่วนในฤดูฝน ปริมาณน้ำฝนส่วนที่เพิ่มขึ้นจะถูกปล่อยลงสู่ชองเกชอน ผ่าน CSO เช่นกัน
.
รบบที่ 2: สูบน้ำเข้ามาเพื่อรักษาระดับน้ำในคลองเพื่อรักษาระดับให้ปริ่มตลิ่งสวยงาม คลอง ต้องมีน้ำทิ้งจากระบบที่ 1 ซึ่งไม่เพียงพอ จึงต้องวางระบบท่อเพื่อสูบน้ำมาจากแม่น้ำ HAN 120,000 ลบ.ม.ต่อวัน และสูบจากน้ำใต้ดิน 22,000 ลบ.ม.ต่อวัน หรือหากเปรียบเทียบสวนร้อยปีจุฬาฯ ที่อ้างว่าสช่วยรับน้ำได้ 1,000,000 แกลลอน หรือประมาณ 3,785 ลบ.ม. ก็ต้องสูบน้ำกันในปริมาณเท่ากับ 37.5 สวนร้อยปีต่อ 1 วัน เพื่อมารักษาระดับน้ำให้คลองชองเกชอนสวยงาม ซึ่งนับเป็นงานระบบที่ใช้งบประมาณสูงมาก รวมทั้งค่าบำรุงรักษา ได้แก่ ค่าไฟฟ้า ค่าบำรุงรักษาระบบท่อและเครื่องสูบน้ำ เป็นต้น
.
- โครงการช่องนนทรี: แทบไม่มีการให้รายละเอียดเรื่องเป้าหมายคุณภาพน้ำและวิธีการบำบัดอย่างเป็นรูปธรรม แต่เป็นสิ่งที่ประชาชนรู้สึกฉงนว่าจะทำให้น้ำในคลองช่องนนทรีซึ่งปัจจุบันเน่าเสียมากให้มีคุณภาพที่ดีขนาดที่คนลงไปสัมผัสได้ใกล้ๆได้อย่างไร?
.
เนื่องจากคลองช่องนนทรีรับน้ำเสียจากย่าน CBD กรุงเทพฯ ดังนั้นปริมาณน้ำเสียจึงรุนแรง ค่า DO อยู่ที่ 0.5 มิลลิกรัม/ลิตร (แย่กว่าบริเวณปากคลองตลาดที่เป็นตลาดสดเสียอีก) ค่า BOD เฉลี่ยอยู่ที่ 10-20 มิลลิกรัม/ลิตร ซึ่งเกินกว่ามาตรฐานที่คนไปสัมผัสได้ถึง 4 เท่า หรือต่อให้ใช้น้ำจากโรงควบคุมคุณภาพน้ำช่องนนทรี แต่ค่า BOD ของน้ำหลังบำบัดจากโรงบำบัดนี้ก็ยังคงเฉลี่ยอยู่ที่ 9 มิลลิกรัม/ลิตร ซึ่งยังไม่พอให้คนลงไปทำกิจกรรมริมคลองหรือสัมผัสได้
.
แนวทาง NATURE-BASED SOLUTION ที่ภูมิสถาปนิกผู้ออกแบบได้เสนอที่จะใช้การขังน้ำและพืชมาบำบัดนั้น อยากได้รายละเอียดเพิ่มเติม เพราะเท่าที่แทบจะเป็นมาตรการ “ยาหม่องทามะเร็ง” เนื่องจากปกติการใช้พืชบำบัด ต้องมีพื้นที่ขนาดใหญ่ในการให้น้ำมาขังเป็นระยะเวลาหนึ่งเพื่อบำบัด รวมทั้งระดับความเน่าเสียของน้ำที่จะใช้พืชหรือธรรมชาติบำบัดนี้ต้องไม่ใช่น้ำเสียระดับรุนแรง รวมทั้งพื้นที่ขนาดใหญ่แบบนี้ จะไปหาได้ที่ไหนในใจกลางเมือง
.
ส่วนที่ภูมิสถาปนิกผู้ออกแบบเสนอจะให้ “ประชาชนร่วมกันปั่นจักรยานบำบัดน้ำ” นั้น ดิฉันขอเรียนเสนอว่าให้หลีกเลี่ยง หากน้ำที่ยังไม่บำบัดแล้วมีการตีเป็นฟุ้งฝอยละออง (AEROSOL) ลอยเข้าปากเข้าจมูกประชาชนจะเกิดอันตรายได้ อันนี้ร่วมไปถึง “กำแพงน้ำตก” เพื่อบำบัดน้ำด้วย
.
ล่าสุดใน VDO Clip การบรรยายเห็นแนวคิดการบริหารจัดการน้ำที่มีข้อมูลเพิ่มเติมขึ้น แต่ก็ยังเป็นแค่ระดับแนวคิด แนวคิดเช่น POROUS PAVEMENT, POROUS LANE, BREATHING WALL, RAIN GARDEN, OPEN SWALE เหล่านี้ อยากเรียนเสนอให้แสดงรายละเอียดในเชิงงานระบบและวิศวกรรมด้วยว่า จะสวมเข้ากับระบบปัจจุบันได้อย่างไรที่จะไม่เป็น “GREEN DISNEY” ที่สุดท้ายอาจจะกลายกรณีเป็น RAIN GARDEN แบบถนนแถวๆ สามย่าน ที่น้ำไม่ไหลระบาย แต่ดินกลับไหลลงมาที่ถนนแทน
.
งานระบบที่ภูมิสถาปนิกกล่าวไว้ในการบรรยายว่า “เราก็มีการทำการดีไซน์ Aerated เข้าไป พัฒนาโครงข่ายคลอง อุดน้ำเสีย ใช้น้ำ reuse ค่ะ ชองเกชอนใช้น้ำประปานะ เราใช้น้ำ reuse อันนี้มาเหนือชั้นกว่านะคะ แล้วก็ใช้ท่อแทนคลองปัจจุบันใช้คลองท่อค่ะ ปัจจุบันเราใช้คลองแทนท่อแล้วใช้คลองเป็นท่อระบายน้ำเสียแต่ว่าเราต้องใช้ท่อแทนคลองนะคะ” (https://fb.watch/8Uq6zS0VNp/ นาทีที่ 20.45-20.48) : เหนือชั้นหรือเปล่า อ่าน/ฟังถึงตรงนี้ลองตัดสินใจเอา แต่ดิฉันฟังไม่ค่อยรู้เรื่องและอยากได้ข้อมูลที่ชัดเจนว่าเพิ่มเติม แต่ที่แน่ๆ คลองชองเกชอนไม่ได้ใช้น้ำประปานะคะ น่าจะคลาดเคลื่อน ไปตรวจสอบได้ทางลิ้งค์โครงการที่ให้ข้างต้น
.
6. การบำบัดน้ำให้มีคุณภาพดีนั้น
ใช้งบประมาณเท่าไหร่ในการก่อสร้างระบบบำบัดและดูแลรักษาระยะยาว?
.
- โครงการชองเกชอน: ด้วยเป้าหมายที่ให้คุณภาพน้ำได้เกณฑ์น้ำเกรดสอง ต้องมีการวางระบบสาธารณูปโภคใหม่ทั้งหมด ได้แก่ งานระบบบำบัดน้ำและสูบน้ำ โดยบูรณาการพร้อมการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมดังที่อธิบายด้านบน นับเป็นงบประมาณที่สูงมาก ทั้งค่าก่อสร้างและค่าบำรุงรักษา จากข้อมูล ค่าบำรุงรักษา อาทิ ค่าไฟฟ้า ค่าบำรุงรักษาปั๊มน้ำ ค่าน้ำสำหรับให้มีน้ำสะอาดไหลผ่านตลอดปี ค่าเก็บเศษใบไม้ดอกไม้ ค่าเก็บสาหร่าย ฯลฯ เฉลี่ยอยู่ที่ 260 ล้านบาท/ปี ทำให้โครงการชองเกชอนถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่อง “ความไม่ยั่งยืนในเชิงการเงิน” ที่สาธารณะมองว่างบบำรุงรักษาต่อปีที่สูงไปและมาจากเงินภาษีของประชาชน
.
- โครงการช่องนนทรี ไม่พบข้อมูลรายละเอียดงบประมาณสำหรับงานระบบ ซึ่งจากการสอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมแล้ว งบประมาณ 980 ล้านบาทนั้น ไม่น่ารวมงานระบบบำบัดน้ำเสียและการสูบน้ำ รวมทั้งค่าบำรุงรักษาต่อปี น่าจะเป็นเพียงงบประมาณส่วนภูมิสถาปัตยกรรมและการตกแต่งพื้นที่
.
7. ออกแบบระบบถนนและการสัญจรอย่างไร
ให้คลองกลายเป็นแกนยุทธศาสตร์การพัฒนาเมือง?
.
ขออนุญาตข้ามรายละเอียดการจัดการจราจรระหว่างก่อสร้างเพราะถือเป็นการบริหารจัดการชั่วคราว แต่จะขอพูดถึงการออกแบบระบบการสัญจรใหม่หลังเสร็จสิ้นโครงการ
.
- โครงการชองเกชอน: ต้องเรียนว่าจุดนี้คือ “หัวใจของโครงการ” ที่ทำให้โครงการกลายเป็น “โครงการยุทธศาสตร์การฟื้นฟูเมือง” ไม่ใช่เพียงแค่ “โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองเกาะกลางถนน”
.
หากย้อนกลับไปในข้อ 1 ที่มาของโครงการนี้คือการฟื้นฟูย่าน CBD เก่าที่ซบเซาและสูญเสียความสามารถในการแข่งขันกับย่านการค้าแห่งใหม่อื่นๆ ดังนั้น การรื้อทางด่วนและการฟื้นฟูคลอง จะเป็นไปเพื่อเป้าหมายนี้เสมอ ฉะนั้น เพื่อให้การฟื้นฟูคลองที่ลงทุนมหาศาลเป็นไปเพื่อการฟื้นย่าน สิ่งสำคัญที่ต้องทำคือ “การถักคลอง” เข้ากับเนื้อเมืองโดยรอบ โดยการทำให้การเดินเท้าเข้าถึงคลองและเดินข้ามคลองไปสู่ย่านอีกฝั่ง เป็นไปอย่างสะดวกสบาย ปลอดภัย และน่าเดินที่ดี พูดง่ายๆคือทำให้พื้นที่รอบคลองและย่านโดยรอบ “เดินได้และเดินดี” กลยุทธ์ที่สำคัญมี 2 ประการ
.
(1) ปรับปรุงถนนที่วิ่งขนานกับคลอง: เดิมเป็นถนนหลักขนาด 8 เลน จะเห็นว่า ถนนถูกลดขนาด (STREET DIET) พร้อมออกแบบถนนให้รถวิ่งช้าลง (TRAFFIC CALMING) เพิ่มทางข้ามให้เดินข้ามไปข้ามมาสะดวก ถนนถูกลดจาก 8 เลน เป็น 4 เลน หากเราไปเที่ยวที่ชองเกชอน เรานั่งดื่มกาแฟในย่านข้างๆ แล้วก็เดินข้ามถนนมาง่ายๆ รถน้อยจนลืมว่านี่คือถนน แต่ก็แน่นอนว่า หากลดขนาดถนนที่เคยเป็นถนนเส้นหลักโดยไม่มีมาตรการรองรับ คงโดนประชาชนต่อต้าน สิ่งที่เทศบาลกรุงโซลทำคือ ออกแบบระบบจราจรใหม่ ให้รถเบี่ยงไปวิ่งรอบย่าน CBD รวมทั้งพัฒนาระบบขนส่งมวลชนให้สะดวกสบายยิ่งขึ้น ได้แก่ ระบบ METRO ระบบ BRT จนเป็นที่กล่าวว่าโครงการชองเกชอนนำมาสู่การปฏิรูประบบขนส่งของโซลอย่างเป็นระบบ “Cheonggyecheon Stream Project gave momentum to Seoul’s public transportation reform”
.
(2) เพิ่มทางข้ามและสะพานข้ามคลอง: จากซอยของย่านข้างเคียงที่ตั้งฉากกับคลอง ออกจากซอยสามารถเดินข้ามถนนไปได้ง่ายๆในทุกจุด รวมทั้ง SMO ได้ออกแบบสะพานข้ามคลองเพิ่ม 22 จุด หรือเฉลี่ยทุกๆ 300 เมตร โดยเปิดประกวดแบบสะพานเหล่านี้ให้นักออกแบบและประชาชนได้เข้ามามีส่วนในการร่วมสร้างคลองประวัติศาสตร์นี้
.
- สำหรับโครงการช่องนนทรี ดูเหมือนเป็นโครงการปรับปรุงคลองเพื่อคลอง ไม่ได้เพื่อย่านโดยรอบ เพราะแทบไม่เห็นการพูดถึงความเชื่อมโยงกับย่านข้างเคียง ง่ายๆว่าคนจะข้ามไปใช้คลอง 980 ล้านบาทนี้อย่างไร ความไม่สะดวกสบายและความเสี่ยงอันตรายของประชาชนจะข้ามถนนขนาด 3 เลนและ BRT 1 เลน กับปริมาณจราจรผ่านกว่า 4 หมื่นคัน/วัน คืออุปสรรคสำคัญที่คลองยังจะแปลกแยกกับย่านโดยรอบ
.
หากอยากเห็นภาพจำลองการใช้งานของโครงการในอนาคต ให้ขับรถเลยลงไปทางปลายถนนนราธิวาส ก่อนตัดกับถนนพระราม 3 จะเห็นลานที่สำนักงานเขตยานนาวาปรับปรุงไว้ชื่อ “ลานเรือโบราณยานนาวา” ถาม รปภ.คอนโดแถวนั้น บอกว่า “วันหนึ่งก็มีคนข้ามไปใช้เหมือนกัน ประมาณ 1-2 คน ก็รถมันเร็ว ทางข้ามก็ไม่มี หากจะข้ามปลอดภัยให้เดินไปสะพานลอยตรงโน้น ลานอุตส่าห์ทำไว้ใหญ่ แต่ดันไปทำไว้กลางถนน ใครจะไปใช้ จะเตะบอลเตะตะกร้อ ลูกบอลลอยออกไป อุบัติเหตุทั้งคนเล่น คนขับรถยนต์ ไม่รู้เขาคิดยังไงมาทำตรงนี้ เปลืองงบประมาณ”
.
ดิฉันที่อาศัยอยู่ที่นี่ ผ่านถนนเส้นนี้ทุกวัน ยังมองไม่เห็นภาพว่าจะออกแบบถนนนราธิวาสใหม่อย่างไรที่จะอย่างไรให้คนข้ามไปใช้ได้อย่างสะดวกสบายและปลอดภัย (กรุณาอย่าตอบว่าสะพานลอย เพราะคุณพ่ออายุ 80 ปีของดิฉันข้ามไม่ไหว) โดยไม่ทำให้รถติดเพิ่มขึ้น? อันนี้ก็เป็นคำถาม เพราะลงทุนด้วยเงินจำนวนมหาศาลขนาดนี้ ก็อยากให้ประชาชนได้ประโยชน์มากกว่าแค่ดูแก้เบื่อตอนรถติด
.
8. โครงการขนาดนี้ใช้งบประมาณเท่าไหร่? ใช้ไปกับอะไรบ้าง?
.
- โครงการชองเกชอน: งบประมาณทั้งหมด 11,250 ล้านบาท แบ่งเป็นการศึกษาและวิจัย การออกแบบ การก่อสร้าง การบริหารจัดการ การดำเนินงานระบบน้ำ การดำเนินกระบวนการมีส่วนร่วม และการประชาสัมพันธ์ ซึ่งงบนี้มาจากเทศบาลกรุงโซลเพียงเจ้าเดียวไม่ใช่รัฐบาลกลาง สำหรับค่าบำรุงรักษาต่อปีก็เช่นกัน มาจากเทศบาลกรุงโซล
.
- โครงการช่องนนทรี: พบว่ามีการตั้งงบประมาณในการดำเนินการทั้งสิ้น 980 ล้านบาท โดยไม่ได้แจกแจงว่าเป็นงบประมาณอะไรบ้าง มีรายละเอียดเพียง
.
(1) เฟส 1: จากถนนสาทรถึงซอยนราธิวาสราชนครินทร์ 7 ระยะทาง 200 เมตร ใช้งบ 80 ล้านบาท ซึ่งแพงมหาศาล หากนำเงิน 80 ล้านบาท มาปรับปรุงทางเท้าจะได้ยาวกว่า 5 กิโลเมตรหรือรอบเกาะรัตนโกสินทร์
.
(2) เฟสที่เหลือและงบประมาณที่เหลืออีก 900 ล้านบาทได้เสนอเข้าแผนปฏิบัติการราชการประจำปี 2565 ของสำนักการโยธาแล้ว โดยที่ยังไม่มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นประชาชน
.
คำถามที่น่าสนใจเช่น
.
(1) หากดูงบประมาณและงานระบบของโครงการชองเกชอนที่มีขนาดใกล้เคียงกันกับโครงการช่องนนทรี จะเห็นว่างบประมาณเทียบกันไม่ได้ คือ 11,250 ล้านบาท กับ 980 ล้านบาท ดังนั้น ดังที่วิศวกรสิ่งแวดล้อมอนุมานมา ไม่น่ารวมงบประมาณงานระบบ เป็นไปไม่ได้ ไม่มีทางพอ ดังนั้น อนุมานต่อไปว่า งบ 980 ล้านบาทจะใช้ไปกับแค่การตกแต่งภูมิทัศน์และงานภูมิสถาปัตยกรรมริมคลองเท่านั้น?
.
(2) ใครคือสถาปนิกผู้ออกแบบโครงการนี้? เป็นสถาปนิกวิชาชีพสาขาใด? และทำไมจึงกล่าวอ้างถึงวิชาชีพของสถาปนิกผังเมืองได้? นอกจากนี้ยังมีคำถามต่อเนื่องว่า ผู้ออกแบบได้งานมาได้อย่างไร? เนื่องจากปกติหน่วยงานภาครัฐจะจัดจ้างบริษัทเอกชนให้มาออกแบบนั้น ต้องมีขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างที่ต้องผ่านระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างอย่างถูกต้องไม่ว่าจะด้วยวิธีติดประกาศ การคัดเลือก หรือจัดประกวดแบบ ยิ่งเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับสาธารณะและผู้คนจำนวนมากยิ่งต้องให้ความสำคัญกับ “สถาปนิกผู้ออกแบบ” ที่ควรต้องมารับผิดและรับชอบในการออกแบบปรับปรุงหรือจัดการโครงการสาธารณะเช่นนี้ หรือบริษัทสถาปนิกผู้ออกแบบนี้ทำงานให้ฟรี? เพื่ออะไร? ฟรีจริงหรือไม่ ?
.
(3) ความชอบธรรมในการนำเงินงบกลาง (เงินสำรองจ่ายทั่วไป) เหตุใดเอามาใช้กับโครงการปรับปรุงคลองช่องนนทรีให้กับย่านสาทรที่มีการลงทุนสาธารณูปโภคพื้นฐานที่เพียงพอในระดับหนึ่งแล้ว อีกทั้งมีสัดส่วนพื้นที่สีเขียวต่อคนสูงกว่าเขตอื่นๆ ในกทม. เสียอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาวิกฤตสถานการณ์โควิดซึ่งมีสิ่งเร่งด่วนควรทำมากมายมากกว่าปรับปรุงคลองกลางถนนเช่นนี้
.
9. แล้วประชาชนคิดเห็นอย่างไรกับโครงการช่องนนทรี?
.
เนื่องจาก กทม.ไม่มีการรับฟังความคิดเห็นอย่างเป็นกิจลักษณะ มีแต่การประชาสัมพันธ์ผ่านเฟสบุค โดยเอาภาพ PERSPECTIVE เปรียบเทียบก่อนหลังโดยมีรายละเอียดโครงการที่ค่อนข้างจำกัด ดิฉันจึงสนใจว่าสาธารณะคิดเห็นอย่างไร โดยใช้วิธี SOCIAL LISTENING กวาดความคิดเห็นตามเพจต่างๆ มาประมวลดู
.
เพจโครงสร้างพื้นฐานประเทศไทย ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 จากคอมเม้นต์ทั้งหมด 256 คอมเม้นต์ (เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2564) พบว่า
- 24% แสดงความคิดเห็นในเชิงการชื่นชม และอยากเห็นการพัฒนาแบบนี้เกิดขึ้นจริงในกรุงเทพมหานครและประเทศไทย
- อีก 62% มีความคิดเห็นทั้งในเชิงบวกและลบ คือเห็นด้วย และอยากให้โครงการเกิดขึ้นจริง แต่มีคำถามและข้อแนะนำในการดำเนินการจริงว่าอาจจะส่งผลกระทบกับคนที่เดินทางและอยู่แถวนั้น รวมถึงคำถามในลักษณะที่ว่าทำได้จริงๆ หรือ?
- และอีก 14% ไม่เห็นด้วยและตั้งคำถามถึงความเหมาะสมในการพัฒนา เช่น การจัดลำดับความสำคัญในการพัฒนา ตำแหน่งที่ตั้งของโครงการพัฒนา
.
เพจ DD Property.com ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2564 จากคอมเม้นต์ทั้งหมด 109 คอมเม้นต์ (เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2564) พบว่า
- มีเพียง 2% ที่เห็นด้วยหรือชื่นชมโครงการ
- กว่า 77% แสดงความคิดเห็นในเชิงที่ไม่เห็นด้วยและตำหนิการดำเนินโครงการว่าที่มาผิดที่ผิดเวลา อาทิ ควรปรับปรุงทางเท้า นำระบบสายไฟลงดิน จัดการเรื่องขยะ น้ำเสียให้ดีเสียก่อน
- อีก 21% แสดงความคิดเห็นในเชิงข้อเสนอแนะอื่นๆ เช่น การจัดลำดับความสำคัญของการแก้ปัญหาเมือง รวมถึงแสดงความกังวลกับการแก้ปัญหาอื่นๆที่สำคัญกว่าการปรับปรุงภูมิทัศน์คลอง เช่น การจัดการบำบัดน้ำเสีย การปรับปรุงถนน ทางเท้าให้มีคุณภาพที่ดีเสียก่อน
.
เพจ เอิร์ท พงศกร ขวัญเมือง (ซึ่งดำรงตำแหน่งโฆษกกรุงเทพมหานคร) ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2564 จากคอมเม้นต์ทั้งหมด 156 คอมเม้นต์ (เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2564) ซึ่งออกมาโพสต์หลังมีกระแสสังคมตั้งคำถามเรื่องการ ตัด/ล้อมย้ายต้นไม้ริมคลองช่องนนทรี ภายหลังเริ่มมีการก่อสร้าง พบว่า
- มี 35% แสดงชื่นชมการทำงานและความสวยงามของภาพทัศนียภาพซึ่งเป็นภาพฝันของโครงการ
- ส่วน 39% ให้ความเห็นในเชิงประชดประชันและตั้งคำถามถึงความเหมาะสมของโครงการ และต้องการรายละเอียดการออกแบบของโครงการโครงการทั้งหมดว่ามีการจัดการเรื่องอื่นหรือไม่ นอกจากการมีภาพทัศนีภาพที่ดูดีแค่นั้น
- อีก 26% แสดงความคิดเห็นที่มีความกังวลในการดำเนินงานกับส่วนงานอื่นๆที่สำคัญและเกี่ยวข้อง เช่น การปรับปรุงทางเท้า การจัดการน้ำเสีย
.
ลองเข้าตามอ่านดู จะเห็นมิติของความเห็น ทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ซึ่งก็มีความแตกต่างกันไปตามช่องทางและเพจที่ทำการสื่อสารออกมา
.
ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งเมื่อพิจารณาจากการโฆษณาประชาสัมพันธ์โครงการนี้ แม้ว่าจะล่วงเลยจากการเปิดโครงการเมื่อเดือนตุลาคม 2563 จนครบ 1 ปีแล้ว แต่โครงการนี้ก็ยังคงใช้ “ภาพใช้ในการประกอบนิทรรศการเท่านั้น ไม่ใช่การออกแบบจริง” เป็นภาพเดิม ๆ ซ้ำ ๆ วน ๆ เพื่อโฆษณาถามความเห็นของประชาชนผ่านโซเชียลมีเดีย ดังนั้น ในฐานะประชาชนอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ ก็ย่อมมีคำถามว่า เมื่อไรจะได้เห็นแบบรายละเอียดของโครงการ เมื่อไรจะมีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตามวิชาชีพกล่าวอ้างถึง และจะมีความคืบหน้าอย่างไรบ้าง ซึ่งประชาชนผู้เสียภาษีคงไม่ต้องการรับรู้รับทราบเพียงภาพโฆษณาเดิม ๆ เท่านั้น
.
10. ต้นพิกุลที่หายไป ไปอยู่ไหน? แล้วต้นอื่นๆที่เหลือจะรอดไหม?
.
ดิฉันไม่ใช่ภูมิสถาปนิก ไม่ได้สถาปนาตนเป็น ECO WARRIOR แต่ต้องบอกว่ารักต้นไม้ ต้นไม้ริมคลองช่องนนทรีเขียวแน่นอยู่แล้ว ส่วนใหญ่เป็นต้นพิกุล เป็นต้นไม้ไทย ไม้เก่า โตช้า กรองฝุ่นดีด้วยใบละเอียด หาประวัติไม่เจอ อนุมานว่าปลูกพร้อมถนนนราธิวาสเมื่อสร้างปี 2535 แล้วกัน
.
ดิฉันตกใจที่เห็นข่าวตัดต้นไม้ คิดในใจว่าหากเป็นภูมิสถาปนิกที่มีฝีมือจริง หรือเชื่อใน GREEN DESIGN จริง ต้องออกแบบให้ไม่มีการตัดต้นไม้เกิดขึ้น พอได้ข่าวว่ามีการล้อมปลูกต้นพิกุลก็โล่งใจ ดูในข่าว บอกว่าย้ายไปที่เขตสาทรซึ่งอยู่ใกล้ๆบ้าน ซึ่งดิฉันก็แปลกใจว่าสำนักงานเขตสาทรมีที่ปลูกด้วยหรือ จึงเดินไปดู พี่คนสวนบอกว่าไม่อยู่ที่นี่ ทั้งหมดย้ายไปที่สวนสาธารณะอยู่ดีที่อยู่ใต้ทางด่วนถนนเจริญราษฎร์ ดิฉันก็ตามไปอีกให้เห็นกับตา พบว่าจาก 22 ต้น เห็นแค่ 9 ต้นเท่านั้น หวังว่าอีก 13 ต้นจะอยู่ยังอยู่ดี
.
ทั้งนี้ เราจึงควรจะต้องหาข้อมูลว่าภูมิสถาปนิกที่จะเข้ามาออกแบบและบริหารโครงการนี้ มีประสบการณ์ในการจัดการกับต้นไม้ที่ล้อมรวมไปถึงต้นไม้ที่จะปลูกใหม่มากน้อยเพียงใด ซึ่งจะเป็นดัชนีชี้วัดถึงความสามารถในการทำโครงการนี้ได้อีกเรื่องหนึ่ง
.
11. โครงการชองเกชอนสร้างประโยชน์อะไรแก่เมืองบ้าง? แถมท้าย
.
ด้านสิ่งแวดล้อม
- ฝุ่น PM10 ลดลง 19% ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ลดลง 34%
- คุณภาพน้ำดีขึ้น ค่า BOD ลดจากประมาณ 200 มิลลิกรัม/ลิตร เหลือ 1-2 มิลลิกรัม/ลิตร
- อุณหภูมิลดลง 3.6 องศาเซลเซียส
- ความหลากหลายทางชีวภาพเพิ่มขึ้น ปลาเพิ่มเป็น 14 สปีชีส์ นกเพิ่มเป็น 18 สปีชีส์ และพืชเพิ่มเป็น 41 สปีชีส์
.
ด้านเศรษฐกิจ
- กิจการและธุรกิจในพื้นที่โดยรอบเพิ่มขึ้น 3.5%
- เศรษฐกิจในย่านใจกลางเมืองเคลื่อนเข้าสู่ภาคการเงินและการบริการขั้นสูง โดยเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า จาก 20% ในปี 2000 เป็น 38% ในปี 2012
- มูลค่าที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่โดยรอบเพิ่มขึ้นถึง 30 – 50% (กลายเป็นอีกโจทย์เรื่อง GENTRIFICATION)
- จากงบประมาณลงทุน 11,250 ล้านบาท สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มากถึง 750,000 ล้านบาท
.
ด้านสังคม
- เป็นพื้นที่ทางสังคมของเมืองและย่าน
- เป็นพื้นที่จัดแสดงผลงานทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม รวมทั้งสิ้น 32,177 กิจกรรม
12. งานปรับปรุงภูมิทัศน์ริมคลองช่องนนทรี เคลมเป็นงาน URBAN DESIGN ได้หรือไม่?
.
อันนี้เป็นคำถามในฐานะอาจารย์ผู้สอนหลักสูตร URBAN DESIGN ซึ่งผลิตวิชาชีพ URBAN DESIGNER (สถาปนิกผังเมือง) สู่สังคม งาน URBAN DESIGN เป็นวิชาชีพควบคุมตาม กฎกระทรวงกําหนดวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม พ.ศ.2549 ต้องมีการสอบใบประกอบวิชาชีพ
.
คำถามคือ
.
1. โครงการช่องนนทรี ที่เมื่อพิจารณาจากข้อมูลที่มีทั้งหมดอาจจัดได้ว่าเป็น “งานปรับปรุงภูมิทัศน์คลอง” แต่ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็น “งานฟื้นฟูเมือง” ซึ่งเป็นหนึ่งในประเภทงานของ URBAN DESIGN เนื่องจากโครงการไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อฟื้นฟูย่านโดยรอบ ขาดมิติการวิเคราะห์ในเชิง URBAN DESIGN รวมทั้งขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนซึ่งเป็นหัวใจของงาน URBAN DESIGN ดังนั้น การอ้างว่าโครงการช่องนนทรี เป็น “THE WATER RESILIENT URBAN DESIGN” เป็นการกล่าวอ้างที่มากเกินขอบเขตหรือไม่?
.
2. โครงการช่องนนทรี ที่กล่าวอ้างว่าเป็น “THE WATER RESILIENT URBAN DESIGN” นั้น ได้นำเสนอโดยภูมิสถาปนิกที่อนุมานว่าเป็นหัวหน้าโครงการ อยากให้ตรวจสอบว่าในการกล่าวอ้างนี้ มีผู้มีวิชาชีพโดยตรงทางด้าน URBAN DESIGN ร่วมงานและกำกับดูแลหรือไม่?
.
การพัฒนาเมืองต้องการการบูรณาการของหลากหลายศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรมผังเมือง ภูมิสถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรม รวมทั้งวิศกรรม สิ่งแวดล้อม รัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ ฯลฯ ที่ผ่านมาดิฉันยึดเป็นแนวปฏิบัติแบบนี้ แต่ละศาสตร์มีความรู้และความเชี่ยวชาญเป็นของตนเอง หากร่วมมือกันได้ ทำในสิ่งที่ตนเองถนัด โครงการนั้นจะนำประโยชน์สูงสุดมาสู่เมืองและชุมชน ในทางกลับกัน หากไปเคลมไปทำงานในสิ่งที่ตนไม่เชี่ยวชาญ ปัญหาก็จะเกิดแก่โครงการ แก่เมือง แก่ชุมชน จึงอยากเรียกร้องให้สภาและสมาคมวิชาชีพได้มีการตรวจสอบอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดการควบคุมวิชาชีพแต่ละสาขาให้ปฏิบัติตามจรรยาบรรณตามขอบเขตของวิชาชีพเฉพาะของตน ไม่กล่าวอ้างหรือให้ข้อมูลแก่บุคคลทั่วไปในอันที่จะเกินขอบเขตวิชาชีพที่ตนสามารถกระทำได้ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สาธารณะ
.
ส่งท้าย
.
วันก่อนมีสื่อเยาวชนมาสัมภาษณ์ “หากเราอยากให้เมืองดี เราในฐานะพลเมืองจะทำอะไรได้บ้าง?”
.
ก็ตอบไปว่า เราต้องช่วยกันยกระดับวุฒิภาวะ (MATURITY) ด้านการพัฒนาเมืองให้เกิดขึ้น
.
ก่อนเราจะอนุโมทนาโครงการใดๆ ขอให้ช่วยกันศึกษา ตรวจสอบ และตั้งคำถาม โดยเฉพาะคำถามยากๆ ก็อาจทำให้นักการเมือง นักผังเมือง สถาปนิกผู้ออกแบบ เขา RESPECT OUR HEADS มากขึ้น
ไม่กล้าทำอะไรส่งเดช
.
งานจำพวก GREEN DISNEY / GREEN WASH ที่ผลาญเงินภาษีไปกับค่าก่อสร้าง ค่าออกแบบ ค่าบำรุงรักษา
แต่ตอบไม่ได้กับ COST-EFFECTIVENESS ก็จะน่าลดน้อยลง
.
อยากได้เมืองดี ต้องช่วยกันตั้งคำถามยากๆ

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับคุณแพรทองธาร ชินวัตร หรืออุ๊งอิ๊ง แสดงให้เห็นว่าสังคมไทยยังขับเคลื่อนด้วยอารมณ์และพร้อมที่จะทำลายอีกฝ่ายที่ตัวเองคิดว่าอยู่ตรงข้ามโดยไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริงและเหตุผล


Watana Muangsook
12h ·

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับคุณแพรทองธาร ชินวัตร หรืออุ๊งอิ๊ง แสดงให้เห็นว่าสังคมไทยยังขับเคลื่อนด้วยอารมณ์และพร้อมที่จะทำลายอีกฝ่ายที่ตัวเองคิดว่าอยู่ตรงข้ามโดยไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริงและเหตุผล

สิ่งที่ผมค่อนข้างเศร้าและหดหู่ คือการที่อาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ ท่านหนึ่งซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองกับนายกทักษิณ ได้ออกมาวิจารณ์การสอบเข้าจุฬาฯ ของอุ๊งอิ๊งโดยคาดเดาเอาเองอ้างว่าอุ๊งอิ๊งมีพัฒนาการมากจนเหลือเชื่อ อคติบังตาจนลืมไปว่าอุ๊งอิ๊งเรียนจบได้รับพระราชทานปริญญาบัตร ทุกวิชาที่เรียนจะต้องผ่านการสอบจากอาจารย์ที่สอนมากกว่า 40 วิชาเรียน การที่อุ๊งอิ๊งเรียนจบก็แสดงว่ามีความรู้จึงผ่านการทดสอบจากคณาจารย์ผู้สอนมากกว่า 40 ท่าน ยกเว้นอาจารย์ท่านนี้จะบอกว่าอาจารย์ที่สอนคณะรัฐศาสตร์ตั้งแต่ปี 1 ถึงปี 4 รวมหัวกันโกงช่วยอุ๊งอิ๊งจนเรียนจบภายใน 3 ปีครึ่ง

อุ๊งอิ๊งเป็นคนไทยมีคุณสมบัติครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญ ไม่เคยเล่นการเมืองมาก่อนและไม่เคยทำความเสียหายให้บ้านเมือง ดังนั้น การที่พรรคเพื่อไทยแต่งตั้งใหัอุ๊งอิ๊งเป็นประธานคณะที่ปรึกษาด้านการมีส่วนร่วมและนวัตกรรม ผมเห็นว่าเป็นการเปิดตัวเข้ามาเล่นการเมืองตามระบบ ส่วนอุ๊งอิ๊งจะประสบความสำเร็จทางการเมืองหรือไม่ก็เป็นดุลพินิจของประชาชนที่จะพิจารณา เพราะเป็นการเลือกตั้งไม่ใช่การยึดอำนาจที่จะใช้อาวุธบังคับประชาชนได้

ผมไม่มีส่วนได้เสียกับพรรคเพื่อไทย เพราะลาออกมาอยู่พรรคไทยสร้างไทยกับคุณหญิงสุดารัตน์นานแล้ว พรรคไทยสร้างไทยกับนายกทักษิณหรือพรรคเพื่อไทยจึงไม่มีความเกี่ยวข้องกันโดยสิ้นเชิง แต่ที่ผมต้องออกมาพูดเพราะอยากทุกฝ่ายหยุดสร้างความเกลียดชังอันจะนำมาซึ่งความแตกแยกของสังคม ให้เกียรติและเคารพการตัดสินใจของประชาชนดีกว่าครับ

วัฒนา เมืองสุข
พรรคไทยสร้างไทย
30 ตุลาคม 2564

10 พฤศจิกายน ที่จะถึงนี้ คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ(UN Human Rights Council) ณ นครเจนีวา จะเปิดประชุมประเมินสถานการณ์สิทธิฯในไทย เปิดให้ทุกคนสามารถส่งข้อมูลเข้าไป เพื่อประกอบรายงานครั้งนี้


Sa-nguan Khumrungroj
17h ·

#โปรดทราบ #สำคัญมากมาก
10 พฤศจิกายน ที่จะถึงนี้
คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ(UN Human Rights Council) ณ นครเจนีวา จะเปิดประชุมประเมินสถานการณ์สิทธิฯในไทย
เปิดให้ทุกคนสามารถส่งข้อมูลเข้าไป เพื่อประกอบรายงานครั้งนี้
NGO จะไปร่วมแถลง แสดงความคิดเห็นได้

ไหน ๆ เขาก็ขอโทษจิตร ภูมิศักดิ์แล้ว ส่วนคนโยนบกจิตรก็คงต้องกล่าวถึง 3 คน


ชัยพงษ์ สำเนียง
October 28 at 6:04 AM ·

ไหน ๆ เขาก็ขอโทษจิตร ภูมิศักดิ์แล้ว ส่วนคนโยนบกจิตรก็คงต้องกล่าวถึง มี 3 คน ที่ทำการโยนจิตรจากเวที ประกอบด้วย
นายสีหเดช บุนนาค ประธานเชียร์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ (ตอนนี้เป็นพลโท)
นายศักดิ์ สุทธิพิศาล ผู้แทนคณะวิศวกรรมศาสตร์
นายชวลิต พรหมานพ เลขานุการคณะวิศวกรรมศาสตร์
และที่ลืมไม่ได้อีก 2 คน ที่กล่าวหาจิตรจนถูกทำร้ายอย่างป่าเถื่อน คือ ม.ร.ว.สลับ ลดาวัลย์ เลขาธิการมหาวิทยาลัย ที่กล่าวหาว่าหนังสือของจิตรเอียงซ้าย และ นายธวัชชัย ไชยยง นายกสโมสรจุฬาฯ ที่กล่าวหาว่าจิตรทำลายชื่อเสียงมหาวิทยาลัย
ดีชั่วประดับไว้ในโลกา
...
ข้อมูลเพิ่มเติม

พ. สุวรรณสุภา อดีตรองผู้ว่าราชการจังหวัดท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นนิสิตจุฬาฯร่วมสมัยกับจิตร ได้เขียนเล่าไว้ว่า
“ผู้เขียนยังจำวันพุธที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๔๙๖ ซึ่งเป็นวันที่จิตถูกโยนบกได้ดี เพราะในขณะนั้นผู้เขียนเรียนอยู่ในคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่ ๒ และนั่งอยู่แถวหน้าของหอประชุม

วันนั้นเวลาประมาณเที่ยงวัน ทางมหาวิทยาลัยได้เรียกประชุมนิสิตทั้งมหาวิทยาลัย ซึ่งมีอยู่ประมาณ ๓,๐๐๐ คน เข้าประชุมพร้อมกัน ณ หอประชุมของมหาวิทยาลัย

ม.ร.ว.สลับ ลดาวัลย์ เลขาธิการมหาวิทยาลัย เป็นผู้แถลงถึงเหตุที่ต้องระงับการแจกหนังสือ ๒๓ ตุลา ซึ่งจิตเป็นสาราณียกร โดยแถลงว่า จิตรนำเรื่องและบทความ รวมทั้งกาพย์กลอน ที่ไม่เหมาะสมมาลงพิมพ์ อาทิเช่น เรื่องโจมตีพระสงฆ์ในศาสนาพุทธ บทกลอนเรื่อง “แม่” วิจารณ์เรื่องผู้หญิงที่มีลูกเพราะรักสนุกทางเพศ แล้วไม่รับผิดชอบ เรื่องโจมตีรัฐบาล โดยเอาบทความของชาวต่างประเทศที่เขียนเกี่ยวกัยคอรัปชั่นในวงการข้าราชการไทยมาแปลเผยแพร่ รวมทั้งการที่ไม่พิมพ์ภาพพระบรมรูป ร.๕ ไว้ในเล่มและที่ปก

สรุปแล้ว ม.ร.ว.สลับ ลดาวัลย์ กล่าวหาว่าหนังสือ ๒๓ ตุลาเล่มนี้ มีบทความและเรื่องที่นำมาลงส่อไปในทาง “เอียงซ้าย” ซึ่งไม่สมควรอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทย

หลังจากที่ ม.ร.ว.สลับกล่าวจบ นายธวัชชัย ไชยยง นายกสโมสรจุฬาฯได้ขึ้นไปกล่าวเสริมต่อที่ประชุมอีกว่า จิตรเป็นคนทำลายชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย ทำให้มหาวิทยาลัยมัวหมอง โดยการนำเอาสีแดงมาป้าย ต่อจากนั้น นายสีหเดช บุนนาค ประธานเชียร์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ขึ้นไปกล่าวสนับสนุนคำพูดของนายกสโมสรอีกว่า จิตรตั้งใจจะทำหนังสือแนวคอมมิวนิสต์ ซึ่งตนเองได้เคยเตือนไปแล้วว่า อย่าเอาพระนามจุฬาลงกรณ์ไปแปดเปื้อน ส่วนใครจะเป็นแดงหรือไม่นั้น ก็ขอให้เรียนให้จบเสียก่อน

จิตรขึ้นชี้แจงต่อที่ประชุมเรื่องปกหนังสือว่า ปกหนังสือที่ไม่ได้ใช้ตราพระเกี้ยว เพราะเห็นว่าจำเจใช้กันมาทุกปี จึงได้ไปขอถ่ายพระราชวลัญจกร สยามินทร์ มาพิมพ์แทน ส่วนเนื้อหาในเล่มก็ได้ไปขอให้ผู้รู้นำของใหม่มาเขียน ไม่ให้ซ้ำซากอยู่กับเรื่องเก่า ซึ่งตรงกับความหมายที่ว่า “แหวกแนว” มิใช่การทำหนังสือคอมมิวนิสต์ การที่เลขาธิการมหาวิทยาลัยนำบางส่วนของเนื้อเรื่องหรือบทความมาอ่าน แล้วกล่าวหาใส่ร้ายนั้น เห็นว่าไม่เป็นธรรม ควรที่จะให้นิสิตได้เห็น ได้อ่านเนื้อหาของหนังสือทั้งหมด เพื่อจะได้วินิจฉัยได้ถูกต้อง ซึ่งเมื่อจิตรกล่าวจบก็ได้มีเสียงปรบมือสนับสนุนจากนิสิตดังสนั่น พร้อมกับเสียงตะโกนให้ตีแผ่หนังสือออกมา

ในขณะที่นิสิตในหอประชุมตะโกนให้ตีแผ่หนังสือ ๒๓ ตุลาออกมานั้น เหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดฝันก็เกิดขึ้น เมื่อนายสีหเดช บุนนาค ประธานเชียร์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ นายศักดิ์ สุทธิพิศาล ผู้แทนคณะวิศวกรรมศาสตร์ กระโดดขึ้นไปบนเวที ตรงเข้าจับแขนจิตรคนละข้าง โดยมีนายชวลิต พรหมานพ เลขานุการคณะวิศวกรรมศาสตร์ ตามขึ้นใปรวบขาจิต ช่วยกันโยนลงมาจากจากเวทีสูงประมาณ ๕ ฟุต ตกลงมายังพื้นไม้ชั้นล่าง ท่ามกลางเสียงหวีดร้องของนิสิตหญิง

พอร่างของจิตรตกมาถึงพื้นก็สลบเหมือด พรรคพวกจึงนำส่งโรงพาบาลเลิศสิน บางรัก ทันใดนั้นเสียงตะโกน “ป่าเถื่อน...ป่าเถื่อน” ก็ดังขึ้นกึกก้องห้องประชุม จนเกือบจะเกิดวางมวยกันขึ่นระหว่างนิสิตรักความเป็นธรรมกับฝ่ายปฏิกิริยา ซึ่งต่างก็ฮือกันไปที่หน้าเวทีหอประชุม และจำได้ว่ามีนิสิตหญิงผู้หนึ่งได้ขึ้นไปบนเวที กล่าวถึงการกระทำอันป่าเถื่อนในครั้งนี้

ส่วนจิตรเอง หลังจากที่ได้ฟื้นขึ้นก็ได้แจ้งกับทางโรงพยาบาลว่า “ตกจากที่สูง” และไม่ยอมแจ้งความดำเนินคดีกับผู้ที่จับเขาโยนลงมาแต่อย่างใด...”

นอกจากถูก “โยนบก” แล้ว จิตรยังถูกคณะกรรมการมหาวิทยาลัยร่วมกันพิจารณาโทษสั่งพักการเรียน ๑ ปี ส่วนคู่กรณ๊ที่ช่วยกันจับจิตรโยนลงมายอมรับผิดว่ากระทำไปโดยอารมณ์ ไม่ทันยั้งคิด ก็ได้รับการพิจารณาโทษเหมือนกัน ที่ประชุมลงมติให้จับโยนน้ำตามเทรดดิชั่นของจุฬาฯ แต่เมื่อถึงเวลาลงโทษ กลับให้เดินลงน้ำไปเองไม่มีการโยน

ข่าว “โยนบก” ได้เป็นข่าวพาดหัวในหนังสือพิมพ์ทุกฉบับในเช้าวันรุ่งขึ้น นักข่าวยังตามขอสัมภาษณ์พลอากาศโทมุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฏ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัย แต่ก็ถูกขัดขวางจากนิสิตกลุ่มหนึ่ง ถึงกับแย่งกล้องในมือและใช้ไม้ฟาดนักข่าวจนบาดเจ็บต่อหน้าอธิการบดี ทำให้เกิดข่าวพาดหัวตามมาอีกว่า “รุมสกรัม นสพ.ในจุฬาฯทารุณ ขณะเข้าไปสัมภาษณฺอธิการบดี” “จุฬาป่าเถื่อน เข้าแย่งกล้องนักหนังสือพิมพ์ต่อหน้าอธิการ” “นิสิตเผ่า “ซูลู” อาละวาดคนข่าว”

ส่วน ศาสตราจารย์ วิลเลียม เจ. เก็ดนีย์ ดุษฎีบัณฑิตทางอักษรศาสตร์ ฝ่ายภาษาโบราณตะวันออก ซึ่งได้ทุนเข้ามาค้นคว้าวรรณกรมไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๗๐ เป็นเวลา ๒ ปี เมื่อครบกำหนดแล้วก็ตัดสินใจอยู่ต่อเพราะหลงรักเมืองไทย หาเลี้ยงตนด้วยการรับจ้างทำงานแปลให้แก่หน่วยงานต่างๆ เคยเป็นที่ปรึกษาหอสมุดแห่งชาติ และเป็นผู้ให้ที่พักอาศัยแก่จิตร ภูมิศักดิ์ระหว่างที่เป็นนิสิตจุฬาฯ ก็ถูกทางการสั่งให้กลับอเมริกาไปด้วย

จิตรได้กลับมาเรียนต่อในปี ๒๔๙๘ จนสำเสร็จรับปริญญาอักษรศาสตร์บัณฑิในปี ๒๕๐๐ จากนั้นก็เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ที่วิทยาลัยครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ และเป็นผู้บรรยายพิเศษที่มหาวิทยาลัยศิลปากรและวิทยาลัยประสานมิตร แต่ก็ถูกเพ่งเล็งติดตามความเคลื่อนไหวจากสันติบาลเป็นประจำ พอถึงยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัฐเป็นนายกรัฐมนตรี จิตรก็ถูกจับในการกวาดล้างใหญ่ในเดือนตุลาคม ๒๕๐๑ ด้วยข้อหาเป็นคอมมิวนิสต์และทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ ถูกจำคุกอยู่ถึง ๗ ปีเศษในระหว่างพิจารณาคดี ในที่สุดศาลก็ตัดสินยกฟ้องพ้นข้อหาในวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๐๗ หลังจอมพลสฤษดิ์อสัญกรรม

เมื่อพ้นโทษออกมาไม่นาน จิตรจึงตัดสินใจเดินทางขึ้นเทือกเขาภูพานร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ จับอาวุธต่อสู้กับอำนาจรัฐในนามของ “สหายปรีชา” แต่แล้วในวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๐๙ ขณะที่บ้านหนองกุง อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร กำลังมีงานบุญพระเวส จิตรได้เข้ามาเพียงคนเดียวเพื่อขออาหารไปให้พรรคพวก จึงถูกกำนันซึ่งเป็นสมาชิกรักษาดินแดนพร้อมกับเหล่าสมาชิก ล้อมยิงเสียชีวิตกลางทุ่งนา

เป็นการจบชีวิตของนักคิดนักเขียนที่มีแนวคิดผิดแผกจากยุคสมัยอย่างน่าเสียดาย

จาก ผู้จัดการออนไลน์

วันเสาร์, ตุลาคม 30, 2564

อีก ๒ วัน #เปิดประเทศ แต่ #โควิดเชียงใหม่ วิกฤตหนัก ฝ่ายทหารไม่แคร์ ออกคำสั่ง #ห้ามม็อบ ไว้ดักจับเด็ก

“อีก ๒ วัน #เปิดประเทศ แต่ #โควิดเชียงใหม่ วิกฤตหนัก เตียงผู้ป่วยสีแดงเต็ม ๑๐๐% ส.ส.เพื่อไทย ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ ทวี้ตถาม #โมเดอร์น่าอยู่ไหน และว่า “หากยังคงพบผู้ติดเชื้อวันละ ๓๐๐-๔๐๐ รายไปเรื่อยๆ เตียงทุกสีจะเต็มหมด”

เธอเห็นภาพ “หมอคงต้องเลือกว่าจะให้ใครอยู่ ให้ใครไป ดิฉันไม่อยากให้เกิดภาพแบบนั้นขึ้น” แต่การจะจี้ว่า “รัฐต้องเร่งควบคุมการระบาดโดยเร็วที่สุด” คงไม่ทำให้สถานการณ์ดีขึ้นแน่ ในเมื่อ รมว.สาธารณสุขยังดึงดันยัน “ยังมีความพร้อมทางด้านการแพทย์อยู่”

แน่ละเชียงใหม่มีความพร้อม “มากกว่าหลายๆ จังหวัด” อื่น แต่ขนาดนี้จำนวนคนติดเชื้อเพิ่มยังมากอยู่เช่นเคย แสดงว่าด่านสกัดโควิด ส่วนหน้า พังไปแล้ว ส่วนหลังของ ศบค.จะเอาอยู่หรือไม่ เดี๋ยวนี้ใครก็รู้ว่าถ้าฟัง อนุทิน ชาญวีรกูล ละก็ไม่เคยได้เรื่อง

ซ้ำภาคใต้ก็เริ่ม หนัก ด้วยเหมือนกันแล้ว วันนี้ที่นครฯ จำนวนผู้ติดเชื้อยังสูง ที่ ๕๗๔ ราย ขณะที่จำนวนติดเชื้อใหม่ทั้งประเทศ ๓๐ ตุลา นี่กลับมาเพิ่ม ๙,๒๒๔ ราย ตายอีก ๘๔ คนไม่เรียกว่าไว้วางใจอะไรได้เลยละ เพราะไม่ช้าอาจเจอความรุนแรงของเดลต้า

ปรากฏการณ์โควิดของขึ้นระลอก ๕ ช่วงสามสี่เดือนที่ผ่านมาในสหรัฐ ซึ่งซบเซาไปในเดือนที่ผ่านมา แต่ ซีดีซีศูนย์ควบคุมโรคเตือนให้ระวังหน้าหนาว อีกสามสี่เดือนนับแต่นี้ เดลต้า จะกลับมาขึ้นสูงอีก เมื่อผู้คนใช้ชีวิตประจำวันใต้ชายคามากขึ้น

ข้อมูลใหม่ที่สาธารณสุขสหรัฐได้ประจักษ์จากการระบาดของโควิดระลอกล่าสุดนี้ก็คือ ไวรัสกลายพันธุ์ที่เคยเชื่อว่าถึงจะแพร่ไวแต่ความรุนแรงไม่มากเท่ารุ่นก่อนนั้น ตอนนี้ไม่ใช่แล้ว เดลต้า นอกจากแพร่ขยายได้ง่ายแล้วยังร้ายแรงกว่าไวรัสรุ่นก่อนด้วย

ดังนั้นการเปิดประเทศของรัฐบาลไทย รับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศมาใช้เงินหาความสำราญในบ้านเรา เป็นนโยบายที่เสี่ยงอย่างยิ่งในด้านสาธารณสุข จะอ้างว่ามีระเบียบจัดการให้นักท่องเที่ยวจำกัดบริเวณของตนอยู่ในพื้นที่มีกรอบนั้น เหลวไหล

คนธรรมดาทั่วไปแม้นไม่ได้เป็นหมอผู้ได้รับยกย่องเป็นคนดีย์ ทำคุณแก่ประเทศชาติละแวกเดียวกับ อี๊ปอง ก็ตามย่อมรู้ดีว่าถ้าอาคันตุกะมีเชื้อไวรัสฝังซ่อนอยู่ภายในตัว ก็สามารถแพร่ไปสู่บรรดาคนท้องถิ่นผู้ให้บริการในพื้นที่ เอาไปฝากครอบครัวและญาติมิตรได้

ในทางกลับกันหากการระบาดของเชื้อไวรัสยังเป็นเช่นนี้ แล้วพนักงานนำเชื้อจากบ้านไประบาดภายในแวดวงสถานประกอบการแหล่งท่องเที่ยว การเปิดประเทศครั้งนี้ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นของการปิดประเทศอีกครั้งเป็นเวลานาน

ทว่ารัฐบาลประยุทธ์คิดถึง ความปลอดภัยด้านสุขภาพน้อยกว่า ความมั่นคง ของพวกตน ฝ่ายทหารจึงฉวยโอกาสออกคำสั่งกำกับการเปิดประเทศครั้งนี้ “ห้ามการชุมนุม และทำกิจกรรม” อ้างว่าจะก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ” (โควิด-๑๙)

ทั้งที่ไม่เคยมีปรากฏเลยสักครั้งตั้งแต่มีการชุมนุมเรียกร้องก่อนเกิดวิกฤตโควิดสองปีกว่าที่ผ่านมา ว่าการชุมนุมของเยาวชนก่อให้เกิดคลัสเตอร์โควิด ดังนั้นข้ออ้างของ พล.อ.เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ฟังได้แต่ไม่สมเหตุสมผลนัก

โดยเฉพาะเมื่อการ คุมม็อบด้วย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โทษหนักกว่ากฎหมายปกติ” คือข้อหาฝ่าฝืนมีระวางโทษจำคุกถึง ๒ ปี และปรับอีก ๔ หมื่นบาท ทั้งที่ขณะนี้บรรดาแกนนำและตัวเด่นในการปราศรัยของกลุ่มผุ้ชุมนุมต่างๆ ถูกควบคุมตัวด้วยข้อหาหางว่าวกัน

ผู้พิพากษาหลายคน ซึ่ง รับใช้ผู้ปกครอง ด้วยการ ยกคำร้อง ขอประกันตัวเพื่อปล่อยชั่วคราว ครั้งแล้วครั้งเล่า (ล่าสุด เนตรดาว มโนธรรมกิจ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้ เอาอีก ปฏิเสธไม่ให้ เบนจา อะปัญ ประกันตัวเป็นครั้งที่สาม)

ด้วยข้ออ้างที่ไม่สมเหตุสมผล ซ้ำซาก “กรณีมีเหตุเชื่อว่าหากอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวแล้ว ผู้ต้องหาจะก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายประการอื่น กรณีจึงไม่มีเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม” โดยกรณีเบนจามีเพิ่มด้วยว่า

“คดีนี้ผู้ต้องหาถูกกล่าวหาว่ามีการกล่าวปราศรัยด้วยถ้อยคำที่ไม่บังควร ประกอบกับผู้ต้องหาเคยฝ่าฝืนเงื่อนไขในการปล่อยตัวชั่วคราว ว่าจะไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สถาบันพระมหากษัตริย์” ทำให้เบนจาถูกกักขังต่อเป็นวันที่ ๒๓

ถึงอย่างนั้นใช่ว่าจะทำให้ ม็อบรอบค่ำ ประจำวันหมดไป เมื่อคืนมีการชุมนุมที่หน้า สน.ดินแดง เพื่อร่วมจุดเทียนรำลึกการเสียชีวิตของ ‘วาฤทธิ์’ เยาวชนวัย ๑๕ ปี ที่ถูกจริงยิงออกมาจาก สน.ดินแดงเมื่อเดือนสิงหา ตำรวจไม่รู้ไม่ชี้ แต่ฝ่ายชุมนุมโดนข้อหาระนาว

#ม็อบ29ตุลา64 เมื่อคืน น้องกุนกุน @Marxist_boyy สื่ออิสระราษฎรรายงานว่า“ที่หน้า สน.ดินแดง ตำรวจพร้อมอาวุธปืนยาว กระบองและโล่ เข้าสลายการชุมนุม มีมวลชนถูกทำร้ายจนสลบแล้วอย่างน้อย ๑ ท่าน”

แต่ว่าหลักใหญ่ของการสลายชุมนุมคราวนี้ เป็นการล้อมจับ แซม สาแมท ผู้ถูกกล่าวหา ม.๑๑๒ นำขึ้นรถห้องขังเข้าไปเก็บใน สน. แถมด้วยมาดใหม่ ตำรวจด่าคำหยาบตะเพิดนักข่าว “ตะโกนตะคอกสื่อให้ถอยออกไป”

(https://www.facebook.com/Prachatai/posts/10158684294761699, https://freedom.ilaw.or.th/node/976 และ https://tlhr2014.com/archives/37137) 

ศาลเลว

.....
Krisadang-Pawadee Nutcharus 
6h ·

เขียนที่ ศาลอาญากรุงเทพใต้
29 ตุลาคม 2564
เรียน คุณเบญจา อะปัญ
วันนี้ตำรวจ สน.ทองหล่อ ได้มายื่นคำร้องขอให้ศาลอาญากรุงเทพใต้ ขังคุณไว้ระหว่างการสอบสวน (ว่าคุณทำผิดกฎหมายและจะฟ้องคุณหรือไม่) อีก 12 วัน
คุณต้องเข้าใจว่า ตำรวจไม่มีอำนาจขังคุณได้มีแต่ศาลอาญากรุงเทพใต้เท่านั้นที่จะมีอำนาจสั่งขังคุณไว้ในคุก
คุณเข้าใจมั้ย?
คดีนี้คุณเพิ่งถูกกล่าวหาจากตำรวจเท่านั้น คุณยังไม่ได้ถูกฟ้องต่อศาลด้วยซ้ำ คุณเป็นเพียงคนที่ถูกกล่าวหา คุณไม่ใช่จำเลย
คุณเข้าใจมั้ย?
ตาม ม.29 ของรัฐธรรมนูญเขาให้ศาลอาญากรุงเทพใต้ขังคุณไว้เท่าที่จำเป็นเพื่อไม่ให้คุณหลบหนีเท่านั้น
คุณเข้าใจมั้ย?
แต่วันนี้ตำรวจขอให้ศาลสั่งขังคุณไว้อีก 12 วันโดยตำรวจแจ้งศาลว่าเขาสอบพยานหมดแล้วรอเพียงเพื่อให้นายของเขาพิจารณาสั่งว่าจะฟ้องคุณหรือไม่เท่านั้น (ซึ่งมันฟ้องคุณแน่ๆ)
วันนี้ผมได้คัดค้านไปตามที่คุณสั่ง โดยเราแจ้งศาลว่า เราขอคัดค้านการขังดังนี้
1. เมื่อสอบพยานบุคคลและพยานอื่นหมดแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องขังคุณไว้อีก
2. เมื่อแค่รอว่าเจ้านายเขาจะสั่งฟ้องคุณหรือไม่มันเกี่ยวอะไรกับต้องขังคุณไว้อีกเล่า (ก็คุณยังเป็นผู้บริสุทธิอยู่มิใช่หรือ 555)
3. ก็ขนาดรัฐธรรมนูญห่วยๆ มาตรา 29 วรรค 3 มันยังห้ามไม่ให้ขังไว้นอกจากจะเห็นว่าจะหลบหนีมิใช่หรือ 555
ทั้งหมดผมได้บอกศาลตามที่คุณสั่งไว้แล้ว
สุดท้ายวันนี้ศาลอาญากรุงเทพใต้สั่งให้ขังคุณไว้อีก 8 วัน
คุณกับผมชนะครับ ชนะ 4 วัน ตำรวจขอ 12 วัน ศาลให้ 8 วัน 555
ตกลงวันนี้คุณต้องติดคุกต่อไปอีก 8 วันในฐานะที่คุณยังเป็น “ผู้บริสุทธิ” ที่จะปฏิบัติต่อคุณเสมือนผู้กระทำความผิดไม่ได้ ตามหลักรัฐธรรมนูญและหลักนิติธรรม 555
คุณอย่าถามอะไรผมเรื่องความถูกต้องและหลักนิติธรรมอีกแล้ว
คุณเข้าใจมั้ย?
ด้วยความเคารพในคุณ
กฤษฎางค์ นุตจรัส
ปล.
1. อย่าถามเหตุผลในหลักกฎหมายใดใด หรือความถูกต้องยุติธรรมในคดีนี้กับผมอีก
2. กรุณาติดต่อหาทนายความท่านอื่นไว้ด้วย เพราะผมละอายใจเกินกว่าที่จะไปว่าความในคดีนี้ ในฐานะทนายของคุณที่ศาลอาญากรุงเทพใต้อีก (ถ้ายังหาไม่ได้ผมคงต้องไปตามหลักวิชาชีพนักกฎหมายที่อาจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ สอนผมไว้)
....
Krisadang-Pawadee Nutcharus
October 8 at 10:34 PM ·

เมื่อวานนี้ ศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำสั่งไม่ให้ประกันตัวนางสาวเบนจา อะปัญ อายุ 22 ปี นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในคดีที่ตำรวจ สน. ทองหล่อ (เพียง)นำตัวมาขออำนาจศาลฝากขังไว้ระหว่างการสอบสวนคดี
เป็นคดีที่เธอถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดตามมาตรา 112 คือดูหมิ่นกษัตริย์ ซึ่งมีโทษ 3 ถึง 15 ปีเท่านั้น
เธอถูกส่งเข้าไปขังในเรือนจำแล้วตามคำสั่งศาล
เป็นความโชคดีของเธอ เบนจา และเป็นความโชคร้ายของศาลไทย เพราะในวันเดียวกันกับที่เขาไม่ให้ประกันตัวเธอนั้น ศาลไทยได้อ่านคำพิพากษาฎีกาคดีอุกฉกรรจ์คดีหนึ่ง
ที่ว่าโชคดีก็เพราะว่าคดีที่ว่านั้นมันฟ้องว่า ไม่มีความยุติธรรมในกระบวนการยุติธรรมให้กับเธอและเพื่อน ๆ ของเธอดังที่เธอเคยประกาศอยู่เสมอ
คดีที่ว่าคือคดีจ้างวานฆ่านักกีฬายิงปืนทีมชาติไทย ซึ่งคดีนี้มีผู้ถูกกล่าวหาหลายคน ตั้งแต่มือปืน ทนายความ หมอ และมารดาของหมอ
รายละเอียดของคำพิพากษาฎีกานั้นไม่จำเป็นต้องพูดถึงเพราะมีปรากฏอยู่ทั่วไปแล้ว
แต่ที่ทำให้เรารู้ เราเห็น ในคดีนั้นก็คือ จำเลยบางคนที่ถูกลงโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ได้รับอนุญาตให้ประกันตัวตลอดมาในระหว่างการพิจารณาคดีที่ยาวนานเช่นนี้ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ถูกต้องตามระบบกฎหมาย
แต่ความสำคัญมันอยู่ตรงนี้ ตรงที่มันทำให้ผมเกิดข้อสงสัยว่าทำไมไม่ให้ประกันตัวเบนจา ทั้งที่เธอยังไม่ได้ถูกฟ้องคดีด้วยซ้ำและโทษของคดีก็ต่ำกว่าคดีที่ว่ามาด้วยซ้ำ
เบนจา ขอเธอและเพื่อน ๆ ของเธอจงจดจำไว้และเมื่อพวกเธอเติบใหญ่ขึ้นเมื่อมีโอกาส จงเปลี่ยนแปลงมันให้ได้

ทักษิณออกมาใส่วิกหน่อยเดียว วุ่นวายกันไปหมด


ภาพจาก Arunwatee Kong Li Chattay
...
Kritdikorn Wongswangpanich
12h ·

ไม่เก็ตว่าเรื่องอิ๊งนี่มันจะแยกประเด็นยากอะไรกันนักหนา เห็นแซะประเด็นไปๆ มาๆ ผสมเละเทะมั่วไปหมด
.
หนึ่ง ปัญหาการเข้าศึกษาของอิ๊ง สามารถและควรถูกตั้งคำถามได้มั้ย? ได้ และจะให้ดีก็ควรพิสูจน์ให้ชัดไป
.
สอง ไม่ใช่แค่กรณีของอิ๊ง แต่คนอื่นที่อยู่ในตำแหน่งแห่งที่ทางอำนาจสูงกว่าอิ๊งมากๆ และเข้าเรียนที่จุฬาฯ ด้วยปัญหาแบบเดียวกัน หรือหนักกว่าด้วยซ้ำนั้น ก็ต้องได้รับการจัดการ
.
สาม หากทั้งสองกรณีพิสูจน์ได้ว่าผิด ก็ต้องบอกว่าผิดทั้งคู่ หากไม่ได้ทำผิดอย่างที่โดนกล่าวหา ก็จัดการด่าคนปล่อยข่าวไป จบ แต่อย่าอ้างว่า "จะมาด่าแต่อิ๊งทำไม? ไยไม่ไปด่าอีกคนบ้าง ที่ทำหนักกว่าอีก" (แบบนี้เป็น whataboutism) วิธีการคือ ยืนยันว่า หากเป็นอย่างที่กล่าวหาจริง ต้องนับว่าผิดทั้งคู่ ไม่ใช่บอกว่า คนนั้นทำได้ คนฝั่งฉันก็ต้องทำได้เช่นกัน
.
สี่ ไม่ว่าข้อกล่าวหาต่อตัวอิ๊งในกรณีสอบเข้าจุฬาฯ จะจริงหรือไม่ก็ตาม การปฏิบัติอย่างมีอคติในฐานะ "ตัวบุคคล" ต่ออิ๊งนั้น นับเป็นเรื่องที่ผิดทั้งสิ้น กล่าวคือ ต่อให้อิ๊งทำผิดจริง ก็เป็นหน้าที่ของมหาลัยในการดำเนินการจัดการไป ไม่ใช่หน้าที่ครูอาจารย์หรือเจ้าหน้าที่คนไหนจะมาใช้ตำแหน่งหน้าที่ปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมด้วย ไม่ต้องพูดถึงกรณีที่ปฏิบัติแบบแย่ๆ โดยเฉพาะผ่านตำแหน่งทางอำนาจที่เหนือกว่าเพียงเพราะเป็นลูกทักษิณ อันนั้นคนที่ทำก็สมควรจะถูกด่า หรือรับโทษ หรือแสดงความรับผิดชอบอะไรไป (อย่างอาจารย์คนที่พูดว่า "ยังอยู่อีกหร๋อ?" เป็นต้น)
.
ห้า อนึ่ง การกระทำในข้อสี่นั้น "ไม่ใช่ว่าทุกเคสจะต้องดีเฟนด์ให้ความระทมทุกข์ทางจิตใจของอิ๊ง" อย่างที่หลายคนแชร์ memoir ของนางช่วงเหตุการณ์สมัยนั้นมา การวิจารณ์ทักษิณในฐานะนายกรัฐมนตรี หรือกระทั่งการวิจารณ์ประณามทักษิณในฐานะบุคคล "ในทางสาธารณะ" ต่อให้มันทำร้ายจิตใจอิ๊งอะไรยังไง ก็ต้องยืนยันว่ามันทำได้ และไม่ใช่เรื่องที่จะต้องไปสงสารเป็นพิเศษใดๆ (คือ ใครใคร่สงสารในทางส่วนตัวอะไรนั้นเชิญ แต่ไม่ควรดีเฟนด์ให้กับความระทมทุกข์ในส่วนนี้)
.
หก กับอาจารย์เวรของคณะรัฐศาสตร์ที่ผมยาวๆ คนหนึ่ง ที่เมนชั่นเรื่องนี้แบบทุเรศทุรังพอควรนั้น เห็นได้ชัดว่าไอ้ความพยายามในการ "ตรวจสอบและรักษาความบริสุทธิ์ผุดผ่องของหลักการ" นั้นมันเหลวไหลทั้งเพ เพราะเขามักกล่าวอ้างอย่าง "เจาะจงเลือกตัวบุคคลโจมตี" ไม่ว่าจะเป็นกรณีของผลงานวิชาการชื่อดังชิ้นหนึ่ง หรือกรณีของอิ๊งเอง ดังที่บอกไปว่านอกจากกรณีของอิ๊ง มีกรณีของคนอื่นที่หนักกว่าอิ๊งอยู่ที่ต้องโดนตรวจสอบเหมือนกัน และนักวิชาการผมยาวนี้ก็ทราบดีว่ามีปัญหาที่น่าเคลือบแคงเสียยิ่งกว่าอิ๊ง แต่นักวิชาการผมยาวคนนี้ก็เลือกจะนิ่งเฉย ว่าง่ายๆ มันเป็นเพียง hypocrite ที่ไม่ควรไปให้ราคาใดๆ
.
จบแค่นี้ อย่าด่าปนกันไปมาเยอะ งงแทน

วงในแจ้งมาว่าที่ YG ไม่สามารถส่ง Lisa Blackpink มาเคาต์ดาวน์ได้เพราะ

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=2071313903035239&id=100004699487419

Chatechenko Yingkiattikun
11h ·

วงในแจ้งมาว่าที่ YG ไม่สามารถส่ง Lisa Blackpink มาเคาต์ดาวน์ได้เพราะ
.
- ลิซ่าลืมเซ็นสำเนาถูกต้องบัตรประชาชน
- จดหมายทางค่ายไม่ได้ใช้ Font THsaraban
- ส่งเอกสารมาทางเมล์ ไม่ยอมส่งมาทาง LINE
- จดหมายกั้นหน้า-กั้นหลังผิด
- หักภาษี ณ ที่จ่าย3%
- เซ็นตรวจรับ และวางบิล6 เดือน
- ตึก YG ไม่มี Fax