วันเสาร์, ธันวาคม 31, 2559

สุขสันต์ปีใหม่ พลเมืองทุกคน จาก พลเมืองโต้กลับ (MV ตัวใหม่)



https://www.youtube.com/watch?v=hclIncnajAE&feature=youtu.be

Resistant Citizen

จะ...อยู่เป็น หรือ...อยู่ไม่เป็น
ก็ขอให้...อยู่ดีมีสุข
ผ่านยุคมืดไปด้วยกัน

.

สุขสันต์ปีใหม่
พลเมืองทุกคน

.

จาก พลเมืองโต้กลับ

(https://www.youtube.com/watch?v=hclIncnajAE&feature=youtu.be)


จักรภพกราบอวยพรปีใหม่ พ.ศ. 2560





จักรภพกราบอวยพรปีใหม่ พ.ศ. 2560

แผ่นดินเก่าสุดสิ้นแผ่นดินใหม่
แผ่นดินไหวคลื่นยักษ์หรือรักษา
ขวบปีใหม่ให้ระวังทั้งพารา
ศีล ปัญญา สมาธิ ดำริรวม

เหนื่อยกันมาหลายปีมีหวังไหม
หรือศุกร์ไปได้เสาร์มาเข้าสวม
ไฟสลับสับสนมวลชนรวม
จึงขอร่วมต้นปีจากนี้ไป

โซ่ตรวนวัฒนธรรมจำแต่เกิด
โซ่ก็เปิดมีกุญแจมาช่วยไข
สันดานทาสหมดสัญญาสาแก่ใจ
ใครขอเป็นขี้ข้าใหม่ตามใจคุณ

ขออวยพรมวลชนคนเท่ากัน
จงมุ่งมั่นเป็นไทอย่าใต้ถุน
แต่ให้ยุทธศาสตร์เด่นจะเป็นคุณ
กวนให้ขุ่นอย่างเดียวเพียงเสี้ยวงาน

ให้สภาพสังคมสมศักดิ์ศรี
ชาวเสรีทั้งนคราจงกล้าหาญ
ขันติธรรมนำทางช่วยสร้างงาน
ปีตำนานเลิกทาสแห่งชาติเอย.

จักรภพ เพ็ญแข
นอกราชอาณาจักรไทย
1 มกราคม พ.ศ. 2560


จักรภพ เพ็ญแข - Jakrapob Penkair

จับตา 5 ชะตาการเมือง-ความมั่นคงปี 60 - VoiceNews - VoiceTV21 Political lens ประจำวันที่ 31 ธันวาคม 2559




https://www.youtube.com/watch?v=ofGjko5vjLY

จับตา 5 ชะตาการเมือง-ความมั่นคงปี 60

SHTV

Published on Dec 31, 2016

VoiceNews - VoiceTV21 @Voice_TV
.....

Political lens ประจำวันที่ 31 ธันวาคม 2559

ร่วมคาดการณ์ชะตาการเมือง และความมั่นคงในปีหน้า ผ่าน 5 เรื่องราวที่อาจเปลี่ยนประวัติศาสตร์การเมืองไทย


วันนี้ส่งท้ายปี ‘ลิง’ จับหลัก ต้อนรับปี ‘ไก่’ ตาแตก





วันนี้ส่งท้ายปี ‘ลิง’ จับหลัก ต้อนรับปี ‘ไก่’ ตาแตก

คสช.และลิ่วล้อออกมาให้ของขวัญกันสนุก โดยเฉพาะหัวหน้าเจาะจงมอบแก่สื่อ “ร่วมสร้างสรรค์งานกับรัฐบาล”

เป็นนัยยะสำคัญว่าต้องเจอกันอย่างน้อยๆ ทั้งปีหน้า ๒๕๖๐ อย่างหนักๆ มีต่ออีกสี่ซ้าห้าปี อย่างดีเลิศเลอก็โน่นละ ตลอดยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี

ประชาชนคนอื่นๆ ที่กำลังแบ้บเรื่องปากเรื่องท้องไม่ค่อยจะพอมีกิน คงต้องทำใจไว้หน่อย เพราะนี่เพิ่งมีราชกิจจานุเบกษาออกมา กำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใหม่ ที่ ๑๒ สำหรับ ๕ ปีข้างหน้า

“สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดทำบนพื้นฐานของยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙)” มุ่งหมาย “ปรับโครงสร้างประเทศไทยไปสู่” การเป็น ประเทศไทย ๔.๐

รายละเอียดของแผนฯ ยาว ๒๑๕ หน้า (http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/A/115/1.PDF)

จะทำให้ไปถึงเป้าหมาย “การพัฒนาที่ยั่งยืน” (Sustainable Development) ได้ไหมยังไม่อาจรู้ได้ เพราะแม้แต่ Thailand 4.0 ที่ว่าจะเป็นสวรรค์ของเศรษฐกิจดิจิทัล Start-ups ก็ยังมีแต่ความคลางแคลง

ไหนจะจำกัดเสรีภาพในการสื่อสาร การแสดงออก และการวิพากษ์วิจารณ์ แล้วยังกำกับการคิด การปฏิบัติของประชาชนและเยาวชนเสียอีก

น่าห่วงกว่านั้น แผนพัฒนา ๕ ปีข้างหน้า กำหนดไว้แต่ต้นเลยว่า เอาแค่พอเพียง “โดยได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาประเทศ ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙–๑๑”

นอกจากพอเพียงแล้วยังต้อง ‘รอ’ ให้ คสช.และลิ่วล้อ ‘เสร็จงาน’ เสียก่อน ส่วนจะเร่งให้เสร็จเร็วอย่างที่ ‘ป๋า’ แนะ นั่นอย่าถาม เพราะมันทำให้ทั่นตู่ฉุน

เป็นอันว่าต้องรอกันอีกปีครึ่งอย่างน้อย กว่าจะเข้ารอยได้เลือกตั้งกัน ทั้งนี้ทั้งนั้นเพราะ สนช. ทั่นงานเยอะ





นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ “เริ่มออกลาย” (ขอยืมคำของ Thanapol Eawsakul มาอธิบายหน่อย) อ้างว่าปีหน้า “มีงานสำคัญ” ต้องออกกฎหมายเหนาะๆ นับร้อยๆ ฉบับ

คือมี “พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญจำนวน ๑๐ ฉบับ รวมไปถึงกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกประมาณ ๕๐ ฉบับ รวมแล้วประมาณ ๖๐ ฉบับ...

นอกจากนี้ยังมีกฎหมายที่คณะรัฐมนตรีมีมติเร่งรัดเป็นพิเศษอีก ๔๑ ฉบับ รวมในส่วนนี้ทั้งหมดแล้วจะมีประมาณ ๑๐๐ ฉบับ

และยังมีกฎหมายที่อยู่ในบัญชีตามโรดแมปของคณะรัฐมนตรีอีกมากกว่า ๑๐๐ ฉบับ ซึ่งตรงนี้เป็นภารกิจของ สนช.ทั้งหมดในปี ๒๕๖๐”

(http://www.matichon.co.th/news/411450)

นายสุรชัยอ้างอีกว่าการพิจารณาร่างกฎหมายบางอย่าง ประมาณ ๒๐ เปอร์เซ็นต์ล่าช้า เพราะว่าถกเถียงกันมาก และยอมรับว่า “กฎหมายที่เข้าสู่ สนช.ส่วนใหญ่จะเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการปรับการทำงานของส่วนราชการ” เป็นเหตุให้ไม่ค่อยมีผลงานการปฏิรูปในเชิงโครงสร้าง

เลยทำให้ไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะมีการเลือกตั้งได้ตามโร้ดแม็พหรือไม่ นอกจากนั้น “เพราะไม่ได้มีหน้าที่จัดการเลือกตั้ง”

ทั่นรองประธาน สนช. ยังมัวแต่ครุ่นคิดว่า “จะทำอย่างไรไม่ให้เกิดประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญเหมือนในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นหนึ่งในปัจจัยที่นำไปสู่วิกฤตของบ้านเมือง”

ตรงนี้ของคอมเม้นต์นิด ว่าทั่น ‘เลี้ยงบุญเลิศ’ เพียงแค่คิดก็ผิดแต่ต้นเสียแล้ว

รัฐธรรมนูญนั้นที่ไหนๆ ในโลกเขายอมรับว่าย่อมแก้ไขได้ทั้งนั้น แม้จะพยายามคงต้นฉบับดั้งเดิมไว้ แต่ก็เพิ่มบทแก้ไขห้อยท้ายเติมเข้าไปอีกเป็นสิบๆ ฉบับได้ อย่าง รธน.ของสหรัฐอเมริกา

ฉะนั้น อย่าดีแต่อ้างภารกิจโน่นนี่ที่ คสช. สั่งมา การที่บ่าวต้องทำตามคำสั่งนายไม่ใช่เรื่องสร้างสรรอันใดนักหนา

มิหนำซ้ำยังมีสมาชิกสภาลิ่วล้อ คสช. ของพวกทั่นบางคนสำคัญผิดว่าตน “เป็นตัวแทนของปวงชน” เข้าให้

ขอเรียนให้ทราบว่า เปล่าเลย ไม่ได้มีประชาชนคนไหนจงใจเลือกทั่นมา แต่นายของทั่นจับมาวางเหมือนดั่งตุ๊กตาหัวคลอน ให้ผงกศีรษะเงิบหงาย ยักย้ายส่ายเศียรเพื่อสร้างความบันเทิง

จนอาจมีคนจำนวนหนึ่งพอใจ ก็ไม่ได้หมายความว่าได้รับมอบหมายให้มาใช้อำนาจอธิปไตยแทนพวกเขา


2016: The year in review - Next Year 2017 : Change is Possible! ปีเอ๊ยปีไก่ ปีไก่เป็นไก่มิใช่กบ ไม่ต้องหลบในกะลาน่าขัน ฟ้ากว้างทางไกลกลัวไยกัน นรกสวรรค์บันดาลด้วยการกระทำ



2016: The year in review

Source: Financial Times

There were some big events in 2016. Europe suffered a spate of terrorist attacks, the migrant crisis escalated and the US elected Donald Trump as its next president.
December 23, 2016

Credits
Produced and edited by Jamie Han, Footage:Reuters

ooo


ปีไก่เป็นไก่มิใช่กบ
ไม่ต้องหลบในกะลาน่าขัน
ฟ้ากว้างทางไกลกลัวไยกัน
นรกสวรรค์บันดาลด้วยการกระทำ


มติชนสุดสัปดาห์
https://www.matichonweekly.com/column/article_19754
ooo

2016 United Nations Year in Review



https://www.youtube.com/watch?v=l2sck1yq5Wk

United Nations

Published on Dec 23, 2016
2016 - the hottest year on record - and another year of challenges for the United Nations. The Year in Review 2016 presents the key moments around the globe during the past 12 months.

Script:

http://www.un.org/webcast/pdfs/yir201...

ooo

2016 Year In Review: In Memoriam | TIME



https://www.youtube.com/watch?v=Z0gJMOyXeHU

TIME

Published on Dec 15, 2016
Watch TIME's 2016 year in review, including Fidel Castro, Muhammad Ali, Arnold Palmer, Alan Rickman, John Glenn, Harper Lee, David Bowie, Nancy Reagan and more.

ooo

The Highs And Lows of 2016 In 4 Minutes | TIME




https://www.youtube.com/watch?v=nF6vJ5tR_cM

TIME

Published on Dec 15, 2016
Watch a recap of the world's biggest highs and lows of 2016 in under 4 minutes.

ooo

Google - Year In Search 2016




https://www.youtube.com/watch?v=KIViy7L_lo8

Google

Published on Dec 14, 2016
See what the world searched for in 2016.
http://google.com/2016 | #YearInSearch


'แสบ คัน ฮา' ฉายาแห่งไตแลนเดียร์ ปี 2559 (ใบตองแห้ง)




http://shows.voicetv.co.th/baitonghang/447354.html


เมื่อสื่อทำเนียบไม่ยอมตั้งฉายารัฐบาล ก็ขอตั้งให้ซะเลย

เริ่มต้นจากปี 2559 คือปีแห่งความจริงอัสดง

ฉายารัฐบาล "ลุงตู่แต่ผู้เดียว" (ทำงานคนเดียวก็พอ เพราะมี ม.44)

นักกีฬาแห่งปี "ลุงตู่" นี่แหละพาออกกำลังกายจนอนามัยโลกชม

บุคคลแห่งปี เพื่อให้เป็นสากล ยกให้ 3 คน "ลุงตู่ ดูเตอร์เต ทรัมป์" แต่เราแน่กว่าเพราะได้ลุงตู่โดยไม่ต้องเลือกตั้ง

วาทะแห่งปี “ใครๆ ก็ทำกัน”

คำต้องห้ามแห่งปี “จ้า”

เหตุการณ์แห่งปี "ข้าวนั้นคืนสนอง" เรียกค่าเสียหายยิ่งลักษณ์ปั๊บ ราคาข้าวตกปุ๊บ

การพัฒนาแห่งปี "ฝายแม่ผ่องพรรณพัฒนา"

ความสุขแห่งปี "อโลฮ่าฮาวาย"

หนุ่มเนื้อหอมแห่งปี "ผมโสด...จะยุ่งกับใครก็ได้"

แผ่นเสียงตกร่องแห่งปี "ต่างชาติเข้าใจ" ดอน ปรมัตถ์วินัย

พระเอกแห่งปี "วิษณุ เครืองาม" แก้ต่างให้ทุกเรื่อง

นางเอกแห่งปี "กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร" ทัวร์ศูนย์เหรียญทำหายไป 1.2 ล้านคน

ผู้ชนะแห่งปี "มีชัย ฤชุพันธ์" คู่กับ ผู้แพ้แห่งปี "ประชาธิปไตย เหตุผล สิทธิมนุษยชน ความยุติธรรม"

ผู้ร้ายแห่งปี "ไผ่ ดาวดิน" ข้ามปีด้วยซ้ำ

ความผิดแห่งปี "ขันแดงก็ผิด ยืนเฉยๆ ก็ผิด"

เครื่องดื่มแห่งปี "กาแฟกาโน"

กฎหมายแห่งปี "ศีลธรรมอันดีงาม"

ความยุติธรรมแห่งปี "ลูกขุนออนไลน์"

ดัชนีเศรษฐกิจแห่งปี "เงินประกันตัว" พุ่งสวนทุกดัชนี

บุคคลล้มละลายแห่งปี "สื่อมวลชน"

ตำแหน่งแห่งปี "(ค่า)ที่ปรึกษา"

คนอกหักแห่งปี "ทักษิณ & แดงมโน" (ไม่มีคำอธิบาย)

วีรบุรุษแห่งปี "ทักษิณแปลว่าภาคใต้"




Atukkit Sawangsuk

.....
ตระกูลดังแห่งปี : จัญโอชะ

ผู้อ่านท่านหนึ่ง


As glaciers literally crumble around him, a pianist plays an elegy for the Arctic




An elegy for everything.


As glaciers literally crumble around him, a pianist plays an elegy for the Arctic


It works pretty well as an elegy for everything else, too.

Updated by David Roberts
Dec 29, 2016
Source: VOX.com


Back in June, as part of an advocacy campaign aimed at protecting the Arctic Ocean from oil and gas extraction, Greenpeace sent its ship Arctic Sunrise northward with some unusual cargo.

The ship carried renowned pianist Ludovico Einaudi, a grand piano, and a floating wooden platform made up to look like a glacier.

They put the platform in the water next to the Wahlenbergbreen glacier in Svalbard, Norway. They put the piano on the platform. And there, Einaudi played a short original composition: “Elegy for the Arctic.”

The video is incredibly affecting. The look on Einaudi’s face, the cracking and crumbling ice around him, and the beautiful, haunting music — it really does feel like an elegy.

The performance was timed for the annual meeting of OSPAR, the international body meant to protect the Northeast Atlantic. But now, months later, it has only gained power. Given recent events, it’s hard not to experience it as an elegy for ... well, everything. American democracy. The world’s chances of stopping climate change. The late, lamented “arc of history.” All of it.

I’m not gonna lie: I teared up. If you need a little emotional release after this abysmal disaster of a year, I recommend it.


Addendum: This month, President Obama and Canadian Prime Minister Justin Trudeau announced that they were putting their countries’ respective portions of the Arctic Ocean off limits to oil and gas extraction. Obama claims the order will withstand legal scrutiny and will be impossible for subsequent presidents to reverse. We shall see.


อาจารย์มหาวิทยาลัยไทยต้องปรับตัว พัฒนาตัวเอง และเตรียมตัวตกงาน





อาจารย์มหาวิทยาลัยไทยต้องปรับตัว พัฒนาตัวเอง และเตรียมตัวตกงาน


โดย อาจารย์ ดร. อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
28 ธันวาคม 2559

ที่มา ผู้จัดการออนไลน์


ถึงวันนี้เราต้องยอมรับกันแล้วว่าวิกฤติอุดมศึกษานั้นเกิดขึ้นแล้ว ในรอบปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยเอกชนหลายแห่งมีนักศึกษาลดลงเหลือเพียงหนึ่งในสามและมีความจำเป็นต้องบีบอาจารย์ให้ลาออกเนื่องจากขาดทุนย่อยยับ หลายแห่งอาจารย์ลาออกไปมากกว่าครึ่งหนึ่งและตั้งเป้าหมายให้อาจารย์เหลือเพียงแค่หนึ่งในสาม มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งขายที่ดินสร้างคอนโดมิเนียมขาย มหาวิทยาลัยราชภัฎหลายแห่งก็ตัดสินใจไม่ต่อสัญญาในพนักงานมหาวิทยาลัยตำแหน่งอาจารย์ เนื่องจากไม่มีนักศึกษาให้สอน มหาวิทยาลัยของรัฐในบางสาขารับนักศึกษาได้เพียงร้อยละ 20 ของเป้าหมายที่ตั้งไว้ มหาวิทยาลัยเปิดของรัฐไม่ต่อสัญญาจ้างอาจารย์เพราะไม่มีนักศึกษาเพียงพอ เริ่มมีปัญหาทางการเงิน มหาวิทยาลัยของรัฐอีกหลายแห่ง อาจารย์เริ่มแย่งวิชาสอนกันเพื่อให้ตัวเองมีภาระงานครบ และหลายแห่งดิ้นรนด้วยการไปหานักศึกษาจีนเข้ามาเรียนซึ่งเป็นนักศึกษาจีนที่คุณภาพไม่ดีนัก สอบเข้ามหาวิทยาลัยในจีนไม่ได้เนื่องจากการแข่งขันสูงมาก หลายคนมาเรียนเพื่อจะได้เข้าเมืองได้ถูกต้องและทำมาค้าขายได้

คาดได้เลยว่าสถานการณ์น่าจะแย่ลงไปเรื่อยๆ และคาดได้ว่าภายในสี่หรือห้าปีนี้ สถาบันอุดมศึกษาของไทยที่มีมากถึงสามร้อยแห่ง อาจจะได้ไปต่อเป็นส่วนน้อย (หลายคนอาจจะไม่เชื่อว่ามีเยอะขนาดนั้น แต่ได้สอบถามพนักงานขายซอฟท์แวร์ให้ห้องสมุดแล้วยืนยันเช่นนั้น มีทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐ เอกชน สถาบันราชภัฎ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาลัยเกษตร วิทยาลัยพลศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ แทบทุกคนหันมาสอนอุดมศึกษากันเพิ่มขึ้นแทนอาชีวะศึกษา เพราะค่านิยมกระดาษใบปริญญา)

ในสมัยหนึ่งอาจารย์มหาวิทยาลัยเป็นตำแหน่งงานที่ต้องการกันมาก หาคนมีคุณสมบัติครบถ้วนได้ยาก และเนื่องจากสถาบันอุดมศึกษามีนักศึกษาสมัครมาก มหาวิทยาลัยเปิดกันได้ง่าย รายได้ดีพอสมควร แต่เนื่องจากมีความต้องการสูงเลยรับคนเข้ามาเป็นอาจารย์ได้ง่ายขึ้น แต่ในปัจจุบันการที่ Over Supply และการที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย (Aging Society) ทำให้เราเกิดประชากรถดถอย มีเด็กเกิดน้อยมากและมีคนตายมากกว่าคนเกิด นักเรียนนักศึกษาที่จะเข้ามหาวิทยาลัยก็ลดน้อยลงไปเรื่อยๆ ขณะนี้การสมัครเข้ามหาวิทยาลัยในแต่ละปีเหลือที่นั่งว่างๆ หานักศึกษามาเรียนไม่ได้ต่อปีเกือบเจ็ดหมื่นที่นั่ง ดังนั้นการแข่งขันจะสูงมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้มีอาจารย์ล้นเกินจำนวนนักศึกษาในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยไทยจำนวนมากจำเป็นต้องควบรวม (Merger and Acquisition) เพื่อความอยู่รอดซึ่งคาดว่าน่าจะอีกไม่กี่ปี มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาจำนวนหนึ่งจะต้องปิดตัวลงไปเพราะขาดทุนหนักมาก

กระทรวงศึกษาธิการโดยเฉพาะสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาควรที่จะต้องศึกษาการฉายภาพประชากร (Demographic Projection) ของประเทศไทยและพยากรณ์ต่อไปว่าจะส่งผลอย่างไรต่อจำนวนนักเรียนที่จะสมัครเข้าศึกษาต่อในประเทศไทย สัดส่วนของเด็กในวัยศึกษานั้นน่าจะลดลงไปเรื่อยๆ และอาจจะต้องคำนวณภาระงานสอนว่าสมดุลกันหรือไม่กับจำนวนนักศึกษา มหาวิทยาลัยเองก็ต้องปรับตัวอย่างรุนแรงเปลี่ยนแปลงปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรให้ได้คุณภาพตรงกับความต้องการของนายจ้าง ปัญหาคืออาจารย์มหาวิทยาลัยที่รับมาเข้าไว้มากมายและมีจำนวนล้นเกินกว่าจำนวนนักศึกษาและภาระงานสอนจะทำเช่นไร

สถานการณ์จะเป็นนายของทุกคน ขณะนี้เริ่มมีอาจารย์มหาวิทยาลัยได้รับผลกระทบแล้ว ส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาธรรมาภิบาลอุดมศึกษาซึ่งมีการใช้อำนาจพวกพ้อง และฝ่ายบริหารเป็นกลุ่มพวกเดียวกับสภามหาวิทยาลัย ทำให้เลือกกันวนเวียนเกาหลังกันไปมา และฝ่ายบริหารบางส่วนถือโอกาสในการกลั่นแกล้งอาจารย์มหาวิทยาลัยที่เป็นพลเมืองชั้นสองในสถาบันอุดมศึกษา และเริ่มมีคดีฟ้องร้องกันในศาลปกครองมากขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาคือคดีล่าช้ามาก และอาจารย์ที่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัยนั้นมีสิทธิ์ในการต่อสู้ที่แย่กว่ากระทั่งกรรมกร เนื่องจากไปฟ้องร้องที่ศาลแรงงานก็ยังไม่ได้ ทุก พ.ร.บ. ที่นำมามหาวิทยาลัยออกนอกระบบต่างไม่ยอมให้ฟ้องร้องศาลแรงงาน ทำให้เกิดการรังแกกัน อีกส่วนหนึ่งและน่าจะเป็นส่วนใหญ่ด้วยคือการที่ไม่มีนักศึกษา รายได้ลดลง จนไม่สามารถจะจ้างอาจารย์มหาวิทยาลัยจำนวนมากได้อีกต่อไป

อันที่จริงอาจารย์มหาวิทยาลัยก็เป็นคนที่มีความรู้ ความสามารถสูงเป็นส่วนใหญ่ น่าจะต้องปรับตัวและพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นได้ไม่ยากนัก หลักสูตรบางหลักสูตรสอนเนื้อหาวิชาที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงในโลกปัจจุบัน บางสาขาวิชาจบมาปีละหลายพัน แต่นายจ้างหาคนที่มีคุณภาพพอจะทำงานไม่ได้เลย ยกตัวอย่างเช่น ทุกวันนี้ประเทศไทยขาดแคลนโปรแกรมเมอร์อย่างรุนแรง มีคนสมัครมาก แต่คุณภาพนั้นมีปัญหา ทำงานไม่ได้จริง ไม่ตรงตามสิ่งที่ภาคเอกชนและภาคธุรกิจใช้กันในปัจจุบัน ประกอบกับนักศึกษาก็ไม่อยากเรียนอะไรที่ยาก ชอบเรียนอะไรง่ายๆ สบายๆ ซึ่งเป็นการทำลายตนเองในระยะยาวอยู่ดี น่าเห็นใจอาจารย์ที่เทคโนโลยีเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วมาก โลกของดิจิทัลและวิทยาการข้อมูลกำลังรุกล้ำเข้ามาอย่างรวดเร็ว เศรษฐกิจที่ใช้ความรู้และนวัตกรรมเป็นฐานทำให้อาจารย์มหาวิทยาลัยจำนวนมากตกยุค อาจารย์มหาวิทยาลัยคงไม่สามารถสอนเรื่องเดิมๆ ที่ตนเองเคยเรียนมาเมื่อ 20-30 ปีก่อนได้อีกต่อไป

ที่น่าสังเกตคืออาจารย์มหาวิทยาลัยที่ปรับตัวได้ กลับเป็นพวกที่ลาออกไปทำงานอื่น เช่น ทำงานภาคเอกชน ด้วยรายได้สูงลิบหรือออกไปทำธุรกิจส่วนตัว พวกนี้ไม่น่าห่วงแต่น่าเสียดายโอกาสสำหรับบางคนที่มีความจำเป็นด้านการเงินมีความสามารถสูงและมีความเป็นครูที่ดี โครงการ Talent mobility ที่เปิดโอกาสให้อาจารย์มหาวิทยาลัยและนักวิจัยในภาครัฐไปทำงานวิจัยและคิดค้นนวัตกรรมให้กับภาคเอกชนนั้นเป็นสิ่งที่น่าส่งเสริมยิ่งน่าจะช่วยแก้ไขปัญหานี้ไปได้บ้างพอสมควร

ปัญหาหลักคือท้ายที่สุดจำนวนมหาวิทยาลัยก็ต้องลดลงไป และจำนวนอาจารย์ที่ต้องออกจากงานคงมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมหาวิทยาลัยไทยไม่มีนักศึกษาให้สอนอีกต่อไป บางภาควิชา บางคณะ จำเป็นต้องถูกยุบ เนื่องจากไม่มีเงินพอ และไม่มีนักศึกษา อันที่จริงก็เป็นเรื่องน่าเสียดายที่เป็นเช่นนั้น สาขาวิชาบางวิชาที่ไม่มีนักเรียนสนใจจะเรียนไม่สร้างรายได้ก็มีความจำเป็นและสำคัญต่อการพัฒนาประเทศจริงๆ ในขณะที่บางสาขาไม่มีความต้องการและความจำเป็นมากก็ควรต้องรับผลแห่งกรรมกันไป โดยเฉพาะในสายสังคมศาสตร์ของไทยที่มาผิดทางโดยตลอด เราเร่งกระบวนการสร้างคนแบบแดกด่วน โดยไม่ได้คำนึงถึงชาติเท่าที่ควร ทำให้เกิดปัญหาในเวลานี้

อาจารย์มหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่งดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด บางคนทั้งๆ ที่รู้อยู่ไม่มีนักศึกษาให้สอนก็ดิ้นรนจะต่ออายุราชการให้ตัวเองต่อ บางคนที่ไม่มีทางไปก็พยายามดิ้นรนหานักศึกษาเข้ามาเรียนให้มากขึ้นด้วยวิธีการต่างๆ อาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่เหลืออยู่ต้องปรับตัว ทางเลือกหนึ่งคือให้อาจารย์มหาวิทยาลัยทำงานบริการวิชาการให้กับรัฐและเอกชนเพื่อหารายได้เข้ามหาวิทยาลัยให้มากขึ้น แต่ก็พบปัญหาว่าหลายแห่งให้เอกชนเป็นคนทำแต่ใช้ชื่อมหาวิทยาลัยไปประมูลงานในภาครัฐและกินหัวคิวทั้งอาจารย์หัวหน้าโครงการและมหาวิทยาลัยแห่งนั้น เนื่องจากหากเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐเข้าไปประมูลงานจะถือว่าเป็นสัญญาระหว่างหน่วยราชการและใช้วิธีจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีพิเศษได้

ประเทศไทยนั้นแท้จริงแล้วต้องการนวัตกรและนักวิจัยอีกจำนวนมาก ผมเคยสนทนากับผู้บริหารบริษัทเอกชนจำนวนมากต่างบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่าอาจารย์มหาวิทยาลัยไทยผลิตงานวิจัยขึ้นหิ้ง ตีพิมพ์ในระดับนานาชาติกันมากมายแต่เอามาใช้งานจริงหรือนำมาประยุกต์ใช้ให้ขายได้จริงในเชิงพาณิชย์ (Commercialization) ได้น้อยมาก เรื่องเหล่านี้อาจารย์มหาวิทยาลัยที่จะอยู่ต่อไปรอด คงต้องปรับตัวให้สามารถสร้างผลงานที่นำไปใช้ได้จริง ขายได้จริง เป็นประโยชน์ได้จริงมากขึ้นเช่นกัน แล้วรายได้จากงานบริการวิชาการและงานที่ปรึกษาจะเข้ามาหาตัวท่านเองและหน่วยงานของท่านอย่างไม่ขาดสายจนทำงานไม่ทัน และไม่มีแรงจะทำ

ทางเลือกอีกทางที่อาจารย์มหาวิทยาลัยอาจจะต้องปรับตัวคือ ต้องเน้นไปที่การศึกษาต่อเนื่องและการฝึกอบรมให้บุคลากรที่ทำงานแล้วได้พัฒนาศักยภาพ ทักษะในการทำงาน ให้ได้ดีขึ้น ทุกวันนี้อาจารย์มหาวิทยาลัยที่ขายดีในการเป็นวิทยากรมีรายได้มาก ส่วนหนึ่งมาจากทักษะส่วนตัวในการพูดเก่ง มีความสามารถในการ Entertain นักเรียน แต่ภาคเอกชนคงอยากได้วิทยากรเช่นนั้นลดลงไป ภาคเอกชนน่าจะอยากได้อาจารย์หรือวิทยากรที่วิเคราะห์ปัญหาในการทำงานของธุรกิจได้ทะลุ และนำโจทย์ปัญหานั้นมาออกแบบหลักสูตรในการพัฒนาคนให้มีทักษะความรู้ความสามารถที่จะทำให้ปัญหาในการทำงาน การทำธุรกิจ ของหน่วยงานนั้นๆ ได้รับการแก้ไขอย่างแท้จริง ถึงจะคุ้มค่าเงินลงทุน อาจารย์มหาวิทยาลัยที่จะไปเน้นเรื่องการเป็นวิทยากร การศึกษาต่อเนื่องก็คงต้องเก่งมากขึ้นเช่นเดียวกัน

ในมหาวิทยาลัยนั้นมีทั้งอาจารย์มหาวิทยาลัยที่เลือกที่จะทำงานเพราะใจรักกับอีกพวกที่ไม่มีทางไป จริงๆ แล้วอาจารย์มหาวิทยาลัยคงต้องวางแผนชีวิตตนเองให้ดี ว่าจะทำอย่างไรต่อไปในอีกห้าปีข้างหน้า ต่อให้ภาระงานสอนครบ ทำงานวิจัยตีพิมพ์ได้ครบ ก็ไม่ได้เป็นเครื่องรับรองว่ามหาวิทยาลัยของท่านจะมีเงินมาจ้างท่านต่อไป ในเมื่อไม่มีนักศึกษาและขาดทุน มหาวิทยาลัยเองก็ใช่ว่าจะไปรอดได้ง่ายๆ อาจารย์มหาวิทยาลัยที่เป็นพนักงานควรวางแผนทางการเงินให้ดี อย่าได้ประมาท เนื่องจากไม่มีบำเหน็จบำนาญและสวัสดิการรักษาพยาบาลแบบราชการที่จะดูแลพนักงานมหาวิทยาลัยหลังเกษียณ ทุกวันนี้อาชีพอาจารย์มหาวิทยาลัยเป็นอาชีพที่มีความมั่นคงในงาน (Job security) ต่ำมาก ความไม่ประมาทจึงเป็นเรื่องสำคัญ ควรพัฒนาตนเองให้มีความสามารถพิเศษหลายๆ ด้าน อาจจะมีงานหรือธุรกิจอื่นที่ทำนอกเวลาราชการได้ ควรจะต้องออมและลงทุนให้เป็น เพราะสถานการณ์จะเป็นนายของทุกคนในอีกไม่นาน


อาจารย์ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
สาขาวิชา Business Analytics and Intelligence
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์


Nobel winners condemn Myanmar violence in open letter





Are Myanmar soldiers raping muslim women?

https://www.youtube.com/watch?v=TQm483x-sBM

USA News

Published on Dec 19, 2016

Amnesty International says Myanmar's military are destroying homes and raping muslim women. CNN's George Howell has more in this interview.

ooo


Nobel winners condemn Myanmar violence in open letter





CNN 9 hours ago


(CNN)Twenty-three of the world's most prominent human rights voices, including Malala Yousafzai, Archbishop Desmond Tutu and Richard Branson, are calling on the United Nations Security Council to intervene to end "ethnic cleansing and crimes against humanity" in western Myanmar. 

"If we fail to take action, people may starve to death if they are not killed with bullets and we may end up being passive observers of crimes against humanity which will lead us once again to wring our hands belatedly," read the signatories' stark warning.

Dozens of the stateless Rohingya minority have been killed and tens of thousands displaced since October, when a fresh bout of state-sponsored violence hit restive Rakhine State. 

The current militarization of the region -- where access is heavily restricted to aid workers and journalists -- has precipitated violence with the same "hallmarks" of past genocides in Rwanda, Bosnia, Kosovo and Darfur, reads the open letter published by the Yunus Centre.

Bangladeshi social entrepreneur Mohammed Yunus and former East Timor president Jose Ramos-Horta were among thirteen Nobel Prize winners to voice their "frustration" with fellow laureate Aung San Suu Kyi and ask the U.N. Security Council to make the violence a matter of urgent consideration.

Aung San Suu Kyi, a political prisoner turned election-winner, is widely seen to have failed with her muted response to the current crisis, which erupted after an army response to a series of attacks on Myanmar police stations on 9 October. Blamed on Rohingya extremists, the attacks killed 17, including 9 police officers.

Photos and videos allegedly show executions

The letter, published on Thursday, accuses the Myanmar government of a "grossly disproportionate" military operation that has seen troops "unleash helicopter gunships on thousands of ordinary civilians...rape women and throw babies into a fire".

It calls on the U.N. to send its current Secretary-General Ban Ki Moon, or his successor, to visit Myanmar "as a priority".

Photos and videos posted online recently from Rakhine State have purported to show arbitrary executions of civilians by soldiers. Human Rights Watch has independently produced satellite imagery that it claims proves the Myanmar army has razed entire Rohingya villages by fire. The Myanmar government has denied burning the villages, blaming it on "attackers".
Aung San Suu Kyi had enlisted the help of former U.N. Secretary-General Kofi Annan to chair a 'Rakhine Commission into Interfaith Violence in Myanmar' before the recent violence began. The results of his investigation are pending. 

She also recently met the foreign ministers of neighboring Southeast Asian nations and told them the Myanmar government is committed to resolving the issues in Rakhine State, but said "time and space are critical for the efforts to bear fruit," according to state newspaper The Global New Light of Myanmar.

Earlier this month the UN's Special Rapporteur on human rights in Myanmar Yanghee Lee said the situation is "getting very close to what we would all agree are crimes against humanity".

Myanmar's Muslim minority has faced intermittent pogroms since 1982, when majority-Buddhist Myanmar blocked any recourse to citizenship for its members. 

Tens of thousands have been forced over the border into Bangladesh over the past thirty years. Over 100,000 Rohingya have remained ghettoized in displacement camps in western Myanmar since 2012, when the state's worst instance of violence ushered in Thursday's letter referred to as "a new apartheid".


ooo


OPEN LETTER TO THE PRESIDENT OF THE SECURITY COUNCIL AND MEMBER COUNTRIES OF THE COUNCIL TO END THE HUMAN CRISIS OF ROHINGYAS IN MYANMAR






Source: Yunus Center


Dear President and Members of the Security Council,

As you are aware, a human tragedy amounting to ethnic cleansing and crimes against humanity is unfolding in Myanmar.

Over the past two months, a military offensive by the Myanmar Army in Rakhine State has led to the killing of hundreds of Rohingya people. Over 30,000 people have been displaced. Houses have been burned, women raped, many civilians arbitrarily arrested, and children killed. Crucially, access for humanitarian aid organisations has been almost completely denied, creating an appalling humanitarian crisis in an area already extremely poor. Thousands have fled to neighbouring Bangladesh, only to be sent back. Some international experts have warned of the potential for genocide. It has all the hallmarks of recent past tragedies - Rwanda, Darfur, Bosnia, Kosovo.

The head of the office of the United Nations High Commissioner for Refugees (UNHCR) on the Bangladesh side of the border, John McKissick, has accused Myanmar’s government of ethnic cleansing. The UN’s Special Rapporteur on human rights in Myanmar Yanghee Lee has condemned the restricted access to Rakhine State as “unacceptable.”

The Rohingyas are among the world’s most persecuted minorities, who for decades have been subjected to a campaign of marginalisation and dehumanisation. In 1982, their rights to citizenship were removed, and they were rendered stateless, despite living in the country for generations. They have endured severe restrictions on movement, marriage, education and religious freedom. Yet despite the claims by government and military, and many in society, that they are in fact illegal Bengali immigrants who have crossed the border, Bangladesh does not recognise them either.

Their plight intensified dramatically in 2012 when two severe outbreaks of violence resulted in the displacement of hundreds of thousands and a new apartheid between Rohingya Muslims and their Rakhine Buddhist neighbours. Since then they have existed in ever more dire conditions.

This latest crisis was sparked by an attack on Myanmar border police posts on 9 October, in which nine Myanmar police officers were killed. The truth about who carried out the attack, how and why, is yet to be established, but the Myanmar military accuse a group of Rohingyas. Even if that is true, the military’s response has been grossly disproportionate. It would be one thing to round up suspects, interrogate them and put them on trial. It is quite another to unleash helicopter gunships on thousands of ordinary civilians and to rape women and throw babies into a fire.

According to one Rohingya interviewed by Amnesty International, “they shot at people who were fleeing. They surrounded the village and started going from house to house. They were verbally abusing the people. They were threatening to rape the women.”

Another witness described how her two sons were arbitrarily arrested: “It was early in the morning, the military surrounded our house, while some came in and forced me and my children to go outside. They tied my two sons up. They tied their hands behind their backs, and they were beaten badly. The military kicked them in the chest. I saw it myself. I was crying so loudly. When I cried, they [the military] pointed a gun at me. My children were begging the military not to hit them. They were beaten for around 30 minutes before being taken away”. She has not seen them since.

Despite repeated appeals to Daw Aung San Suu Kyi we are frustrated that she has not taken any initiative to ensure full and equal citizenship rights of the Rohingyas. Daw Suu Kyi is the leader and is the one with the primary responsibility to lead, and lead with courage, humanity and compassion.

We urge the United Nations to do everything possible to encourage the Government of Myanmar to lift all restrictions on humanitarian aid, so that people receive emergency assistance. Access for journalists and human rights monitors should also be permitted, and an independent, international inquiry to establish the truth about the current situation should be established.

Furthermore, we urge the members of UN Security Council to put this crisis on Security Council’s agenda as a matter of urgency, and to call upon the Secretary-General to visit Myanmar in the coming weeks as a priority. If the current Secretary-General is able to do so, we would urge him to go; if not, we encourage the new Secretary-General to make it one of his first tasks after he takes office in January.

It is time for the international community as a whole to speak out much more strongly. After Rwanda, world leaders said “never again”. If we fail to take action, people may starve to death if they are not killed with bullets, and we may end up being the passive observers of crimes against humanity which will lead us once again to wring our hands belatedly and say “never again” all over again.



Sincerely,
Professor Muhammad Yunus
2006 Nobel Peace Laureate José Ramos-Horta
1996 Nobel Peace Laureate
Máiread Maguire
1976 Nobel Peace Laureate Betty Williams
1976 Nobel Peace Laureate
Archbishop Desmond Tutu
1984 Nobel Peace Laureate Oscar Arias
1987 Nobel Peace Laureate
Jody Williams
1997 Nobel Peace Laureate Shirin Ebadi
2003 Nobel Peace Laureate
Tawakkol Karman
2011 Nobel Peace Laureate Leymah Gbowee
2011 Nobel Peace Laureate
Malala Yousafzai
2014 Nobel Peace Laureate Sir Richard J. Roberts
1993 Nobel Laureate in Physiology or Medicine
Elizabeth Blackburn
2009 Nobel Laureate in Physiology or Medicine Emma Bonino
Former Italian Foreign minister
Arianna Huffington
Founder and Editor, The Huffington Post Sir Richard Branson
Business Leader and Philanthropist
Paul Polman
Business Leader Mo Ibrahim
Entrepreneur and Philanthropist
Richard Curtis
SDG Advocate, Film Director Alaa Murabit
SDG Advocate, Voice of Libyan Women
Jochen Zeitz
Business Leader and Philanthropist Kerry Kennedy
Human Rights Activist
Romano Prodi
Former Italian Prime Minister

--------------------------------------

วันศุกร์, ธันวาคม 30, 2559

คำสารภาพเตรียมสู้ยาวของ @ พลเมืองต่อต้าน Single Gateway หลังถูกเตือนให้ย้ายฐาน เพราะรัฐส่งใส้ศึก Hacker ที่เขามีลิสต์อยู่ มาทำงานปิดคดี ชาวเน็ตแห่ให้กำลังใจ + เผยน้องๆ ทั้ง 9 คนก็คือผู้บริสุทธิ์...




ที่มา FB


พลเมืองต่อต้าน Single Gateway : Thailand Internet Firewall #opsinglegateway


"เหนือฟ้า"

คำสารภาพของ @

คิดเมื่อเช้าตอนบินผ่าน และนั่งมองภูเขาที่สูงเสียดฟ้า ก็คิดว่าต้องพูดให้เพื่อนๆเข้าใจ ว่า....

ตัวแอดมินเตรียมตัว เตรียมใจแล้วว่ายังไงก็ต้องมีวันนี้ เพราะถ้าไม่ขึ้นมาให้สูงเสียดฟ้า ก็จะไม่สามารถมองไปได้ไกลพอ.....

ตอนนี้ @อยู่ในที่ปลอดภัยมากที่สุดในโลกแห่งหนึ่งแล้ว...
ลุงตู่ไม่ต้องหวังแล้วว่า จะมีโอกาสเข้าใกล้ตัวผมได้...

เพราะเมื่อคิดจะสู้ยาววว ต้องมีฐานที่มั่นที่มั่นใจว่า มีความปลอดภัยเพียงพอ ทุกอย่างจะเดินหน้าต่อไปได้ อย่างที่ไม่ทำให้เพื่อนๆต้องเป็นห่วง....

ซึ่งหมายความ ถ้่าลุงตู่ไม่ยุติ เรื่อง กฎหมาย พรบ.คอมฯนี้ แล้วคาดหวังว่าจะ หาตามจับ แอดมินเพจนี้นั้น คงเป็นได้แค่ความฝันแล้วละคราวนี้.......

ทั้งนี้ตัวแอดมินจะทำหน้าที่เป็นคนรับหน้าเสื่อให้เพื่อนๆ(นักขุด และนักเจาะทั้งหลาย จำนวนหลายสิบคนและกำลังเพิ่มเป็นหลายร้อยคนในไม่ช้า....)

เพจฯนี้ และ #กำแหงทีม จะเดินหน้ากันอย่างเต็มสูบต่อไป

หลังปีใหม่เป็นต้นไป ให้เพื่อนๆเหล่าหมาป่า ทั้งตัวเล็ก ตัวน้อย ตัวใหญ่ ออกล่าเหยื่อ กันให้เต็มที่ไปเลย.....

เมื่อลุงตู่ยังไม่ยอม พวกเราก็จะไม่หยุดเท่านั้นเอง.....

ทนได้ ทนไป.....

แล้วเจอกัน

#กำแหงทีม

หมายเหตุ :

- รูปที่ถ่ายเองไม่สวยแบบนี้ อยู่ในสเตตัสก่อนหน้านี้ ต้องไปหารูปนี้มาจากที่อื่นๆ แต่บรรยายความรู้สึกได้ไม่ต่างกัน

- อย่าไปจับ "กำหำ , กำแพง, กำถั่ว และ บรรดากำใดๆเลย ให้มาตามหา "กำหำ" ให้ได้

Catch me if you can!


ooo





FC #กำแหงทีม :

แอดพวกนั้นแกะรอยแอดได้ยังไงครับ ใช้อะไรในการแกะรอย


@กำแหงทีม :

ผู้ใหญ่เตือนมาครับ ยังเข้าไม่ถึงผมหรอกครับ
แต่เพื่อไม่ให้เสียสมาธิในการทำงานครับ
เมื่อคิดจะสู้ยาววว ก็ต้องหาฐานที่มั่น(ที่มั่นใจว่าปลอดภัย)ให้ได้เท่านั้นครับ


FC #กำแหงทีม :

อ่อๆครับ ไปเมืองนอกครั้งนี้คงไปนานแล้วจะกลับมาอีกไหม หรือจะอยู่ที่นั่น ใช่ครับ กลยุทธ์ของ ขงเบ้งไง คิดการณ์ใหญ่ต้องหาฐานที่มั่นเสียก่อน


@กำแหงทีม งานนี้ ใครจะอึดกว่าใครก็ลองดูครับ ทนได้ ทนไป...


นี่คือคำตอบสำหรับทุกคนที่เป็นห่วง และถามมาหลังไมค์นะครับ...


>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>


พวกเราทุกคนจะท้อได้อย่างไร มีข้อความแบบนี้......

" ทั้งมีความหวัง และมั่นใจว่าแอดมินทุกคนจะไม่ได้ทวงแค่สิทธิทางคอม แต่จะเป็นจุดเริ่มต้นของเสรีภาพ และประชาธิปไตยที่แท้จริง ที่ทำให้ประเทศไทยกลับมาดีกว่านี้

ขอให้แอดมินมีความสุขมากๆในปีใหม่ และตลอดไปนะคะ

เคารพมากๆ ขอบคุณมากๆค้ะ "

ooo

รัฐใช้ Hacker ที่เขามีลิสต์อยู่ มาทำงานปิดคดีครับ
(แอดกำลังบอกว่า มันคือไส้ศึก)

.ooo


พวกเราช่วยกันตามข่าวนี้นะครับ....

อย่างน้อย น้องๆ ทั้ง 9 คนก็คือผู้บริสุทธิ์...

พวกเขาไม่ใช่ Hacker คอมพิวเตอร์เก่าๆทีต่อเน็ตไม่ได้แบบนั้น ไม่มี Hacker คนไหนในโลกเหลือบมองด้วยซ้ำไป....

#กำแหงทีม

#OpSingleGateway


“รัฐซึมลึก สื่อซึมเศร้า” สมาคมนักข่าวฯ ชี้ปี 59 รัฐคุมแทรกแซงสื่อทุกแขนง วอนช่วยกันเร่งกู้วิกฤติศรัทธา





สมาคมนักข่าวฯ ชี้ปี 59 รัฐคุมแทรกแซงสื่อทุกแขนง วอนช่วยกันเร่งกู้วิกฤติศรัทธา

Fri, 2016-12-30 19:51
ที่มา ประชาไท

30 ธ.ค. 2559 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยได้รายงานภาพรวมสถานการณ์สื่อมวลชนในประเทศไทยประจำปี 2559 โดยระบุว่า อำนาจรัฐใช้กฎหมายคุม แทรกแซง สื่อทุกแขนงตกอยู่ในภาวะรัฐซึมลึก สื่อซึมเศร้า พร้อมประกาศจุดยืนคัดค้านทุกรูปแบบ และเรียกร้ององค์กรสื่อมวลชนรีบเร่งปรับตัว เพื่อฟื้นฟูศรัทธาให้เกิดต่อสาธารณะและให้สังคมเกิดความหวัง

โดยมีรายละเอียดดังนี้


“รัฐซึมลึก สื่อซึมเศร้า”

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สรุปภาพรวมสถานการณ์สื่อมวลชนประจำปี 2559 พบว่า ยังคงตกอยู่ในภาวะ “อึมครึม หวาดระแวง” อย่างต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะการทำงานยังอยู่ภายใต้ข้อจำกัดของประกาศ คำสั่งอำนาจพิเศษ ตามมาตรา 44 ตลอดจนท่าทีและทัศนคติของนายกรัฐมนตรีที่มีต่อการทำงานของสื่อมวลชน

ขณะเดียวกันรัฐก็มีความมุ่งหมายที่จะออกกฎหมายควบคุมและแทรกแซงการทำงานของสื่อมวลชนทุกแขนง ถึงขั้นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ใช้อำนาจตามมาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญชั่วคราว เข้าไปแทรกแซงอำนาจของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ออกคำสั่งให้ขยายเวลาชำระค่าประมูลสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลออกไปและขยายอายุการคืนคลื่นวิทยุของกองทัพ-หน่วยงานของรัฐออกไปอีก 5 ปี

ในท่ามกลางสถานการณ์ที่วงการสื่อมวลชนกำลังเผชิญหน้ากับการปรับตัว รีดไขมันองค์กรของตัวเอง อันมีสาเหตุมาจากวิกฤติเศรษฐกิจ และในปี 2559 นี้เอง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จสวรรคต ถือเป็นความสูญเสียและความวิปโยคอย่างใหญ่หลวงที่สุดของปวงชนชาวไทยรวมถึงวงการสื่อสารมวลชน

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยขอยกสถานการณ์สื่อมวลชนประจำปี 2559 ให้เป็นปีแห่ง “รัฐซึมลึก สื่อซึมเศร้า” โดยขอประมวลภาพรวมสถานการณ์สื่อมวลชนในรอบปีในด้านต่างๆ ดังนี้

ความวิปโยคและความสูญเสีย

นับได้ว่าปี 2559 เป็นปีแห่งความ “ซึมเศร้า”ของคนในวงการสื่อสารมวลชน เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร เสด็จสวรรคต ในวันที่ 13 ตุลาคม ที่ผ่านมา องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนได้รวมพลคนในวงการจัดงานอาลัยและระลึกถึงในชื่องาน “รวมใจคนสื่อน้อมเกล้าฯ แสดงความอาลัยพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9” รำลึกในพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อวงการสื่อมวลชนไทยมาอย่างยาวนาน

ในวาระดังกล่าว กสทช.โดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.) มีมติกำหนดแนวปฏิบัติสำหรับสถานีวิทยุและโทรทัศน์ ถึงการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเสด็จสวรรคต ให้ถือปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อปฏิบัติของสำนักพระราชวังโดยเคร่งครัด โดยการถ่ายทอดเสียงหรือภาพเกี่ยวกับการเสด็จสวรรคต ให้เชื่อมโยงสัญญาณโดยตรงจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยและสถานี วิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย มิให้นำเอาภาพและเสียงไปออกอากาศซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตและการเผยแพร่รายการต่างๆของสถานีวิทยุและโทรทัศน์ ให้งดรายการที่แสดงถึงความรื่นเริงเป็นเวลา 30 วัน โดยขอให้คำนึงถึงความเหมาะสมด้วย

ข้อกังขาการปฏิรูปสื่อภายใต้ สนช.และ สปท.

ด้วยรัฐพยายามเข้ามาแทรกแซง ควบคุมสื่อในทุกรูปแบบ โดยการอ้างถึงการปฏิรูปสื่อ ล่าสุด คณะกรรมาธิการ(กมธ.)ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชน สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ(สปท.) ได้ยกร่าง พ.ร.บ.การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน โดยพบว่าได้มีแนวทางที่จะเปิดประตูให้นักการเมือง ข้าราชการ สามารถใช้อำนาจแทรกแซง ควบคุมการทำหน้าที่ของนักข่าวมืออาชีพ ผ่านสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ โดยให้มีปลัดประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นกรรมการวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติโดยตำแหน่งและยังเปิดช่องให้กรรมการอื่นอีก 4 คนที่จะเป็นใครก็ได้ถูกอำนาจรัฐเลือกเข้ามา

เท่ากับคณะกรรมการสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติทั้งหมด 13 คน จะเป็นผู้แทนสมาชิกสภาวิชาชีพแค่ 5 คน กรรมการที่เหลืออีก 8 คน เท่ากับยืนอยู่ฝ่ายรัฐ มีอำนาจชี้ขาดให้ออกหรือเพิกถอนใบอนุญาตแก่ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนทุกแขนงในประเทศไทย เป็นการคุมสื่อแบบเบ็ดเสร็จ ขัดแย้งกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับผ่านประชามติ ที่กำหนดเอาไว้ชัดเจนว่าให้ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวหรือการแสดงความคิดเห็นตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพ

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จึงได้ประกาศจุดยืนขอคัดค้านทุกรูปแบบให้ถึงที่สุดต่อแนวคิดดังกล่าวของสปท.โดยไม่เอาตัวแทนของรัฐเข้ามาเป็นกรรมการในองค์กรที่จะจัดตั้งขึ้นมาใหม่และไม่ยอมรับให้สภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติมีอำนาจในการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน แต่สมควรมีกติกาที่บังคับกลไกให้องค์กรสื่อกำกับดูแลกันเอง ตามร่าง พ.ร.บ.ฉบับที่ “6 องค์กรสื่อวิชาชีพสื่อมวลชน” เสนอร่างประกบ กับร่างของ กมธ.เพื่อให้สมกับที่เสรีภาพของสื่อมวลชนคือเสรีภาพของประชาชน เป็นนักข่าวมืออาชีพนำเสนอข่าวอย่างรอบด้าน มีเสรีภาพบนความรับผิดชอบต่อสังคม ตามกรอบจริยธรรมสื่อมวลชน คอยเป็นหูเป็นตาตรวจสอบประเด็นสาธารณะ ให้ผลประโยชน์สูงสุดตกแก่ประชาชน

ร่างกฎหมายอันมีลักษณะควบคุม บังคับสื่อ ยังมีการดำเนินการโดยคณะกรรมาธิการสื่อสารมวลชน สภานิติบัญญัติ (สนช.) คู่ขนานกันไปอีกฉบับหนึ่งด้วย ทั้งนี้ยังไม่นับรวมร่าง พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ ที่ออกแบบตีกรอบสภาพบังคับผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน จะต้องจดทะเบียนเป็นสมาชิกองค์กรสภาวิชาชีพก่อนขอใบอนุญาตเปิดหัวหนังสือ และหัวหน้า คสช.ยังใช้อำนาจตามมาตรา 44 เข้าไปแทรกแซงอำนาจ กสทช.ออกคำสั่งให้ขยายเวลาการคืนคลื่นวิทยุของกองทัพ-หน่วยงานของรัฐออกไปอีก 5 ปี เป็นตัวสะท้อนให้เห็นว่า การปฏิรูปสื่อล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง เพราะดึงคลื่นกลับไปเป็นของรัฐเหมือนเดิม ไม่ได้เป็นคลื่นของสาธารณะอีก จึงขอยกให้ปี 2559 เป็นปีแห่ง “รัฐซึมลึก” เพื่อควบคุมสื่อ

จากสถานการณ์การปฏิรูปสื่อ ที่รัฐพยายามออกแบบกฎหมายหลายฉบับ เพื่อใช้กลไกอำนาจควบคุม แทรกแซง คุกคามเสรีภาพของสื่อมวลชนและยังมีการใช้อำนาจกำกับสื่อมวลชน ขณะที่สื่อมวลชนเองก็ยังนำเสนอข่าวที่ละเมิดจริยธรรมสื่อในหลายกรณี เปิดช่องให้รัฐใช้เป็นข้ออ้างในความพยายามเข้าควบคุม

ถึงเวลาแล้วที่องค์กรสื่อมวลชนและคนในวงการสื่อมวลชนทุกแขนงจะต้องรีบเร่งปรับตัว เพื่อฟื้นฟูศรัทธาให้เกิดต่อสาธารณะและให้สังคมเกิดความหวัง แม้ว่าในยุคอุตสาหกรรมสื่อปัจจุบันนี้ จะได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี จนสถานประกอบการสื่อหลายแห่งจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อให้องค์กรอยู่รอด ทำให้คนในวงการเกิดสภาพ “สื่อซึมเศร้า”

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ขอส่งกำลังใจในช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ให้คนในวงการข่าวรวบรวมพลังฝ่าวิกฤติในช่วงนี้ไปให้ได้พร้อมๆ กัน


ooo





สมาคมนักข่าวฯ ชี้ สถานการณ์ปี 59 อึมครึม หวาดระแวง-“รัฐซึมลึก สื่อซึมเศร้า”
http://www.matichon.co.th/news/411734

สื่อกระแสหลักเองไม่ใช่หรือที่ทำให้เกิดการเมืองระบอบนี้ แล้วคิดว่าการเมืองระบอบนี้มันจะปล่อยให้สื่อมีเสรีภาพได้ไง

สื่อกระแสหลักเองไม่ใช่หรือ ที่ให้ท้ายม็อบปิดเมือง ขัดขวางเลือกตั้ง กระทั่งเชียร์รัฐประหาร

สื่อกระแสหลักเองไม่ใช่หรือ ที่เชียร์ร่างรัฐธรรมนูญ ตีปี๊บตาม กรธ.ว่ามีร่างรัฐธรรมนูญปลอม บิดเบือน

คนจากวงการสื่อไม่ใช่หรือที่แห่เข้าไปรับใช้รัฐประหาร สมชาย แสวงการ, คำนูณ สิทธิสมาน, ภัทระ คำพิทักษ์ โดยเฉพาะประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ เข้าไปเป็น สปช.ด้วยตำแหน่งนายกสมาคมนักข่าว

ในภาพรวม 2 ปีกว่า สื่อไม่เคยตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพของคนเห็นต่าง แต่พอตัวเองจะโดนลิดรอนเสรีภาพบ้างกลับโวย

ที่พูดนี่เข้าใจนะ สมาคมนักข่าวชุดปัจจุบัน ถอยห่างออกมาจากกลุ่มเดิมๆ ระดับหนึ่ง ปี 58-59 จึงออกคำแถลงวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งต้องชื่นชม แต่ถ้าจะให้หลุดพ้นจริงๆ ต้องชัดเจนกว่านี้

องค์กรสื่อโวยวาย ร่าง พ.ร.บ.การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน ว่าจะตั้งปลัดกระทรวง 4 คน คนของรัฐอีก 4 คนมาเป็นกรรมการ เป็นฝ่ายรัฐ 8 ใน 13 คนมาคุมสื่อ

แต่ร่างขององค์กรสื่อเอง ก็ห่วยแตกเหมือนกันละครับ คือจะเอาอำนาจคุมสื่อไปไว้กับพวกตัวเอง แม้เขียนให้สวยว่ากรรมการมาจากสื่อหมด แต่ไปเอาประธานที่ประชุมอธิการบดี ประธานสภาพัฒนาการเมือง ประธาน กป.อพช.(บรรจง นะแส) นายกสภาทนายความ มาเป็นกรรมการสรรหา

แหงน่อ นึกภาพออกเลย ก็พวกเทพชัย หย่อง, ภัทระ คำพิทักษ์, ประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์, ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ฯลฯ นั่นแหละ อยากมานั่งกรรมการคุมสื่อเอง ตัวเองอยากมีอำนาจคุมคนอื่น แต่พอรัฐเผด็จการมาแย่งอำนาจไปเลยโวย


Atukkit Sawangsuk


สุนัย ผาสุข Human Rights Watch - การละเมิดสิทธิมนุษยชนในไทย ในรอบ 2 ปีครึ่งของรัฐบาล คสช.




https://www.youtube.com/watch?v=EAt7pqQV8UA

สุนัย ผาสุข - การละเมิดสิทธิมนุษยชนในไทย ในรอบ 2 ปีของรัฐบาล คสช.

SHTV

Published on Dec 30, 2016

tonight thailand - VoiceTV21 @Voice_TV

วิธีคิดของพวกสิ้นไร้ หนีความจริง และไม่ยอมแก้ปัญหา





เพิ่งรู้ โคโยตี้ จ้ำบ๊ะ และคนรักสถาบัน สายพันธุ์เดียวกัน

จากการที่น้อง ‘เฮีย’ เขียนเฟชบุ๊คสำนวนโจ๋ใส่พระเมธีธรรมาจารย์ “วันนั้นเฮียและพวกของเฮีย จะได้เจอกับม็อบน้ำหมาก ม็อบโคโยตี้ ม็อบจ้ำบ๊ะ ม็อบชีวภาพ ม็อบคนรักสถาบัน”

ต้องบอกว่า “I hear you, สมี Freedom”

ที่จริงเขาเขียนด่าสาดเสียเจ้าคุณประสาร โทษฐานทักท้วง สนช.รวบรัด ‘ลักไก่’ ผ่าน พรบ.สงฆ์ ๓ วาระรวด





สมีแกใช้ถ้อยคำรุนแรงแบบเด็กแว้นแก๊งแมงกะไซ อาทิ “สันดานเดิม” “มักมาก” “เผือก” ล้วนสะท้อนตัวตน สุวิทย์ ทองประเสริฐ อย่างดี

รวมทั้งชนิด ‘สลิ่ม’ คล้าสสิก ที่ว่า “ก็ออกไปหาประเทศอยู่ใหม่ไป๊” ด้วยการห้อยโหน “พระราชอำนาจของพระเจ้าอยู่หัว” ทำให้รัชกาลที่ ๑๐ ต้องราคินตั้งแต่ยังไม่ทันเสด็จเข้าพิธีราชาภิเษก

อันที่จริงการพูดว่า “ถ้าไม่ชอบใจก็ไปอยู่ที่อื่น” นั่นเป็นวิธีคิดของพวกสิ้นไร้ หนีความจริง และไม่ยอมแก้ปัญหา (อันนี้ต่างกับผู้ที่ถูกบีบคั้นกดดันให้ต้องไป)

เป็นลักษณะการไสส่งผู้ที่ท้วงติงการกดขี่บีบคั้นและเอารัดเอาเปรียบ เช่นเดียวกับปัญหาอื่นๆ ในประเทศ ที่เกิดในยุค ‘ทหารครองเมือง’

โดยเฉพาะซึ่งหนักหนากว่าปัญหาเทวทัตลิ่วล้อ คสช. ก็คือปัญหาจากตุลาการลิ่วล้อ คสช.

ต่อการนั้น ‘ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน’ ได้รวบรวมกระบวนการบิดเบี้ยวหลักกฎหมาย (สากล) ที่ศาลไทยภายใต้ระบอบ คสช. ก่อเวรไว้ตลอดปี ๒๕๕๙ รวม ๑๑ บทบาทด้วยกัน

(http://www.tlhr2014.com/th/?p=3156)

แต่ที่นี้ขอกล่าวจำเพาะกรณี การถอนประกัน ไผ่ ดาวดิน และสั่งฝากขังอีก ๑๒ วันเป็นผัดที่สาม ตามข้อความโพสต์เฟชบุ๊คของ ‘ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ New Democracy Movement - NDM’ ที่ว่า

“27 ธันวาคม 2559 ศาลอุทธรณ์แอบสั่งให้ฝากขังไผ่ จตุภัทร ผลัดที่ 3 เป็นเวลาอีก 12 วัน โดยอ้างว่าไผ่ได้รับทราบพร้อมลงลายมือชื่อแล้ว

แต่ภายหลังสอบถามเจ้าตัวยืนยันว่ารับทราบแค่คำสั่งไม่ให้ประกัน ผ่านระบบวิดีโอมายังเรือนจำเท่านั้น ไม่รู้เรื่องฝากขังผลัด 3 มาก่อน





กลายเป็นว่าในคดีนี้ ผู้ที่ปฏิบัติตามกระบวนการพิจารณาคดีอย่างถึงที่สุดกลับเป็นฝ่ายจำเลย ในขณะที่ศาลผู้สถิตยุติธรรมกลับแสดงพฤติกรรมอันน่าตั้งคำถามถึงการศึกษาและจรรยาบรรณวิชาชีพ”

“ด้านศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนตั้งข้อสังเกตว่า ตามมาตรา 87 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาอาญากำหนดให้ศาลพิจารณาฝากขังทุก 12 วัน เพื่อให้ศาลได้ตรวจสอบการทำหน้าที่ของพนักงานสอบสวนเพื่อไม่ให้ควบคุมบุคคลไว้เกินกว่าจำเป็นตามพฤติการณ์แห่งคดี และเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ถูกควบคุมตัวคัดค้านเหตุของพนักงานสอบสวนได้

การดำเนินกระบวนการฝากขังโดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้ต้องหาคัดค้าน จึงเป็นกระบวนการที่มิชอบด้วยกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไม่มีการสอบถามผู้ต้องหา

แต่คำสั่งอนุญาตคำร้องฝากขังลงวันที่ 27 ธ.ค. 59 กลับระบุว่ามีการสอบถามผู้ต้องหาแล้วและผู้ต้องหาไม่คัดค้าน คำสั่งอนุญาตดังกล่าวจึงพิจารณาบนฐานข้อเท็จจริงที่ ‘ไม่ถูกต้อง’ ตรงกับความเป็นจริง และก่อให้ เกิดความเสียหายต่อผู้ต้องหา

แม้จะมีการไต่สวนเพื่อสอบถามผู้ต้องหาอีกครั้งในวันที่ 28 ธ.ค. 59 ก็ไม่ทำให้สิ่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้วชอบกฎหมายขึ้นมาในภายหลังได้”

(http://prachatai.org/journal/2016/12/69436)

ทั้งนี้ ถึงแม้นายวิบูลย์ บุญภัทรรักษา บิดาของนายจตุรภัทร์ หรือ ไผ่ ดาวดิน กล่าวว่าจะ “ร้องเรียนไปยังคณะกรรมการตุลาการกลางเพื่อรับทราบเรื่องที่เกิดขึ้น” ก็ตาม

หากแต่การกระทำในทางบิดเบี้ยวหลักการแห่งกฎหมาย ‘Rules of Law’ เกิดขึ้นแล้วหลายต่อหลายครั้ง ภายใต้การกำกับบงการของ คสช. ประดุจดังคำของ อจ.พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีนิติศาสตร์ มธ. ที่ว่า

“ไม่มีความเลวใดที่จะยิ่งไปกว่า ความเลวร้ายที่ได้กระทำโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย”




ไอลอว์นิยามปี 2559 เป็นปีของความเงียบ ปัญหาและความขัดแย้งทางการเมืองยังปรากฏอยู่ในทุกส่วนของสังคม แต่ถูกกดไว้ไม่ให้มีโอกาสได้แสดงออก


รายงานสิทธิเสรีภาพทางการเมือง ปี 2559: เสียงแห่งความเงียบ


ที่มา ILaw
29 ธันวาคม 2016


ปี 2559 เข้าสู่ปีที่สามภายใต้รัฐบาล คสช. ไอลอว์ขอนิยามว่าเป็นปีของ ความเงียบปัญหาและความขัดแย้งทางการเมืองยังปรากฏอยู่ในทุกส่วนของสังคม แต่เมื่อเป็นประเด็นที่ขัดแย้งกับรัฐบาล คสช.
ปัญหาดังกล่าวก็มักจะถูกกดไว้ไม่ให้มีโอกาสได้แสดงออกมา ไม่ว่าจะด้วยกฎหมาย หรือมาตรการต่างๆ ที่รัฐบาล คสช. สร้างขึ้นเพื่อสร้างความหวาดกลัวให้กับการแสดงความคิดเห็น

คำสั่งหัวหน้า คสช. เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง, พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ,พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ, ความผิดฐานยุยงปลุกปั่นตามมาตรา 116,การเรียกปรับทัศนคติ ฯลฯ ยังคงทำงานอย่างต่อเนื่อง

เพื่อปิดกั้นทั้งการชุมนุมและการแสดงออกทางออนไลน์ นักกิจกรรมที่เคลื่อนไหวในประเด็นทางการเมืองจำกัดการทำกิจกรรมลง เพราะหลายคนต่างก็มีข้อหาติดตัวจำนวนมาก และล้วนถูกบีบด้วยมาตรการต่างๆ จนกระทั่งความพยายามเคลื่อนไหวจากภาคประชาชนในประเด็นสำคัญๆ ลดน้อยลงมาก แทบไม่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้มีอำนาจ ท่ามกลางบรรยากาศที่เงียบงันนี้เอง ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับ คสช. ก็ผ่านการทำประชามติ, สภานิติบัญญติแห่งชาติ (สนช.)ผ่านกฎหมายหลายร้อย,หัวหน้า คสช. ใช้อำนาจมาตรา 44 ไปแล้วกว่า 122 ครั้ง,กฎหมายหลายเรื่องเป็นไปในทางจำกัดสิทธิของประชาชนและเพิ่มอำนาจรัฐแบบรวมศูนย์ รัฐบาลคสช.กำลังเปลี่ยนโฉมหน้าประเทศไทยไปในทิศทางใหม่ โดยประชาชนแทบไม่รู้ และคนเห็นต่างแทบไม่มีโอกาสบอก
เหตุการณ์สำคัญที่เป็นจุดเปลี่ยน 2 ครั้งในปีนี้ คือการทำประชามติที่รัฐบาลปิดกั้นการรณรงค์จนร่างรัฐธรรมนูญได้รับเสียงข้างมากสนับสนุน และการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9ยิ่งตอกย้ำให้การเคลื่อนไหวในประเด็นสังคมการเมืองที่แตกต่างจากรัฐบาลถูกกดให้เงียบอย่างที่สุด

1/5 ความเงียบเพราะชินชา หลังตกอยู่ในอำนาจนานกว่าสองปีโดยไม่มีที่สิ้นสุด

2/5 ความเงียบเมื่อเผชิญความพ่ายแพ้

3/5 ความเงียบที่ถูกบังคับโดยสถานการณ์

4/5 ความเงียบงันภายใต้อำนาจเด็ดขาด

5/5 ความเงียบแบบผูกขาด ออกกฎหมายจำนวนมากประชาชนไม่รู้เรื่อง


ooo


ภาพจากการเมืองไทย ในกะลา

1/5 ความเงียบเพราะชินชา หลังตกอยู่ในอำนาจนานกว่าสองปีโดยไม่มีที่สิ้นสุด

หมดจิตหมดใจจะใฝ่ฝัน

การสร้างสรรค์ย่อมสิ้นแผ่นดินหมอง

กลัวน้ำตาไหลหลั่งดั่งน้ำนอง

ก็จะต้องเห็นแก่ตัวชั่วนิรันดร์

ท่อนเปิดหัวกวีบทเก่าจาก ยังดี วจีจันทร์ ดูจะบ่งชี้สถานการณ์ความเงียบของกิจกรรมเคลื่อนไหวด้านการเมืองและสิทธิมนุษยชนไทยในรอบปี 2559 ได้เป็นอย่างดี 34 ครั้ง คือตัวเลขกิจกรรมที่ถูกปิดกั้นในปี 2559 ขณะเดียวกันย้อนไปในปี 2558 มีจำนวน 68 ครั้ง และในปี 2557 จำนวน 42 ครั้ง จำนวนตัวเลขที่ลดลงกว่าเท่าตัว ของปี 2559 เมื่อเทียบกับปีก่อน สะท้อนว่าปีนี้มีความพยายามจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวทางสังคมการเมืองน้อยลง ก่อนรายงานนี้จะเผยแพร่ เราได้พูดคุยกับวรวุฒิ บุตรมาตร นักกิจกรรมกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ เพื่อสะท้อนภาพใหญ่ของปีที่เงียบงันของกิจกรรมทางการเมืองและสังคมความชาชินของผู้คน กลไกและท่าทีภาครัฐ และการถูกดำเนินคดีพ่วงชนักติดหลัง ดูจะเป็นสิ่งแรกๆ ที่ถูกยกขึ้นมาสนับสนุน ถึงความเงียบที่เกิดขึ้น

กลไกรัฐและท่าทีเจ้าหน้าที่

วรวุฒิ เล่าว่า บรรยากาศรายรอบและความรู้สึกมันเริ่มล้า พอรู้สึกได้ว่าสังคมไม่แยแส ต่อปรากฎการณ์การใช้อำนาจของคสช.ที่ตรวจสอบยาก ประกอบกับช่วงหลังจากกลางปี เกิดเหตุการณ์สวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 คนในแวดวงนักกิจกรรมเลยต้องระมัดระวังมากขึ้น ทุกคนต่างลดบทบาท และคิดกันว่า ถ้าทำอะไรพลาดไป อาจจะส่งผลเสียต่อพวกเขา เปรียบเทียบท่าทีของเจ้าหน้าที่ทั้งทหารและตำรวจในช่วงสามปีหลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 ช่วงต้นของการรัฐประหารเจ้าหน้าที่ใช้อำนาจอย่างเข้มข้น เพราะต้องการควบคุมสถานการณ์ให้เรียบร้อยที่สุด พอเข้าปี 2558 คสช.เริ่มจัดโครงสร้างและระเบียบทางการเมืองได้แล้ว จึงเริ่มปล่อยให้มีการจัดกิจกรรมมากขึ้น และเข้าปี 2559 ก็ค่อนข้างผ่อนคลายมากขึ้น ถ้าไม่ใช่ประเด็นที่ท้าทายคสช.หรือประเด็นที่แหลมคม อย่างแคมเปญคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ มีข้อสังเกตว่า กิจกรรมอย่าง Walk for Rights เดินเพื่อสิทธิชีวิตฅนอีสาน ถ้าจัดในปี 2557- 2558
ก็มีความเชื่อกันว่าแม้แต่ก้าวแรกก็อาจไม่ได้เดิน แต่การจัดในปีนี้เจ้าหน้าที่ใช้วิธีกดดันและบีบโดยสั่งเร่งให้รีบเดิน และห้ามอยู่ในพื้นที่นาน ซึ่งก่อนหน้านี้รัฐจะกลัวว่าเป็นการจุดประเด็นทางการเมือง นักกิจกรรมจากกลุ่มประชาธิปไตยใหม่มองว่า จากบรรยากาศตอนนี้ ถึงจุดประเด็นแล้วก็จะอย่างไรต่อได้? เหมือนว่าแต่ละภาคส่วนตอนนี้เตรียมเข้าสู่การเลือกตั้งแล้ว และยังหาช่องทางของตัวเองอยู่ ยิ่งกับกลุ่มกิจกรรมการเมือง ซึ่งพวกเขาเองก็ยังไม่มีทิศทางชัดเจนว่าจะทำอะไร หลังประชามติผ่าน จึงเหลือกิจกรรมไม่กี่อย่าง เช่น เรื่องผลพวงรัฐธรรมนูญ ตามแก้ไขปัญหาอำนาจจากคสช.
และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการใช้อำนาจดังกล่าว

การมีชนักติดหลังเพราะถูกดำเนินคดี

หลังถูกดำเนินคดี นักกิจกรรมต่างได้พิสูจน์แล้วว่า พวกเขาจะจัดการและประเมินเรื่องภัยอันตราย และต้นทุนค่าเสียโอกาสต่อตัวเองอย่างไร แต่ก็มีบางส่วนที่เลิกออกมาเคลื่อนไหวจริงๆจังๆ นักกิจกรรมอีกคนหนึ่งยกตัวอย่างอย่างกรณีที่ขอนแก่น กลุ่มดาวดินหลายคนที่โดนจับกุมจากการชุมนุมครบรอบ 1 ปีรัฐประหารเมื่อปี 2558 มาถึงปีนี้หลายคนบทบาทหายไปเลย กลับไปเรียน กลับไปทำงาน คิดว่าเขาคงชั่งน้ำหนักในเรื่องนี้ไว้แล้ว ว่าอันไหนมันส่งผลดีต่อตัวเขา ยิ่งกับโดนคดีที่มีโทษหนักๆ พวกเขาจะออกไปใช้ชีวิต อย่างคนปกติธรรมดาได้ยากลำบากมาก พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ เป็นหลักใหญ่ใจความมีผลต่อการทำกิจกรรมปีนี้แน่นอน โดยเฉพาะการรณรงค์ของฝ่ายไม่เห็นด้วย มันรู้สึกหมดจิตหมดใจจะใฝ่ฝัน อนันต์ นักกิจกรรมจากมหาวิทยาลัยรามคำแหงกล่าว บางรายขอกลับไปเรียนต่อ พวกเขายอมรับว่า สิ่งที่ทำคืองานที่จะเปลี่ยนความคิดคน ซึ่งในความเป็นจริงก็เปลี่ยนได้ แต่เปลี่ยนได้ไม่มากพอ ขนาดหวังจะทำให้ชนะได้ ยิ่งโดยแคมเปญโหวตโนประชามติในปีนี้ ที่ต่างทุ่มหมดหน้าตัก ทำให้หลายคนที่ทำกิจกรรมหายไปเหมือนกัน ด้วยความท้อแท้ เหนื่อยหน่าย

หรือกระทั่งเขาเห็นว่าให้เวลากับงานเหล่านี้มากเกินพอแล้ว จึงอยากกลับไปสู่หนทางชีวิต ที่สังเกตเห็นในปีนี้รัฐไทยเรียนรู้การจัดการการชุมนุมและกิจกรรมทางการเมืองได้ดีขึ้น
มีทั้งมาตรการทางกฎหมายและจิตวิทยา เรากำลังเดินทางเข้าสู่ปีที่สี่ของ คสช. อย่างมาดมั่น คนไทยด้านชาต่อความเจ็บปวดทางการเมืองเศรษฐกิจ และสังคมทุกอย่าง วรวุฒิตัวแทนนักกิจกรรมทิ้งท้าย


2/5 ความเงียบเมื่อเผชิญความพ่ายแพ้


“อย่างน้อยได้แสดงให้โลกรู้ว่าคนไทยคิดอย่างไรกับรัฐบาล”

การอ้างความชอบธรรมจากผลประชามติ

ค่ำคืนของวันออกเสียงประชามติ 7 สิงหาคม 2559 ขณะที่มีการประกาศผลการนับคะแนนประชามติอย่างไม่เป็นทางการ โดยประชาชนส่วนใหญ่รับร่างรัฐธรรมนูญ ขบวนการประชาธิปไตยใหม่หนึ่งในกลุ่มนักกิจกรรมต่อต้านการรัฐประหารของ คสช. ออกแถลงการณ์ยอมรับผลการออกเสียงประชามติว่า แม้ได้ทุ่มเทความพยายามไปกับการรณรงค์ให้ประชาชนเห็นผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการรับร่างรัฐธรรมนูญอย่างต่อเนื่องแล้วก็ตาม ภายใต้ข้อจำกัดและการคุกคามหลายรูปแบบ ขบวนการฯ ยังคงยืนยันว่า รัฐบาลของ คสช. ไม่มีความชอบธรรมจากผลของการลงประชามติครั้งนี้

และยืนยันจะทำกิจกรรมเรียกร้องประชาธิปไตยต่อไป ไม่กี่วันหลังประกาศผลคะแนนประชามติอย่างเป็นทางการ นายกรัฐมนตรีได้ยืนยันว่า ผลการลงประชามติเป็นความชอบธรรมที่ประชาคมระหว่างประเทศควรรับฟัง “ผมซาบซึ้งและขอบคุณที่ยังไว้วางใจ คสช. และรัฐบาล พลังของการลงประชามติครั้งนี้มีความสำคัญมาก อย่างน้อยได้แสดงให้โลกรู้ว่าคนไทยคิดอย่างไรกับรัฐบาล ดังนั้น
เราจะทุ่มเททำงานในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ให้หนักขึ้น เพื่อให้สมกับความเชื่อมั่น” พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา แสดงความขอบคุณต่อประชาชนหลังทราบผลการลงประชามติ

ซึ่งผู้ไปใช้สิทธิออกเสียงร้อยละ 61.35 รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว ตรงข้ามกับการให้สัมภาษณ์ของพลเอกประยุทธ์ข้างต้น ผลสำรวจของโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชนร่วมกับสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล เกี่ยวกับเหตุผลในการตัดสินใจออกเสียงประชามติของประชาชนครั้งนี้ พบว่า ความต้องการให้ประเทศสงบสุขเป็นเหตุผลที่ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 72 ตัดสินใจออกเสียงรับร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งความต้องการเช่นนี้มิได้สะท้อนโดนตรงถึงการสนับสนุนรัฐบาลชุดนี้ ขณะที่ผลสำรวจก่อนการลงประชามติของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า พบว่า ประชาชนเพียงร้อยละ 8.66 ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญในการออกเสียงประชามติครั้งนี้เพราะไม่ชอบนายกรัฐมนตรี และรัฐบาลที่เป็นเผด็จการ โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 50.79 ของผู้ที่ตัดสินใจไม่รับร่างฯ เห็นว่าบางมาตราไม่สมเหตุสมผล คลุมเครือ ส่วนอีกร้อยละ 18.50 เห็นว่ากระบวนการร่างรัฐธรรมนูญขาดการมีส่วนร่วมและไม่เป็นประชาธิปไตย

อย่างไรก็ตาม เหตุผลของประชาชนที่รับร่างรัฐธรรมนูญจนกลายเป็นชัยชนะที่นำมาสู่การอ้างความชอบธรรมของรัฐบาลกลับน่าสนใจมากกว่า จากผลสำรวจพบว่าประชาชนที่ตัดสินใจรับร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ ร้อยละ 21.12 ระบุว่า ต้องการเห็นการปฏิรูปประเทศ การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง อยากให้ประเทศเดินหน้า และเศรษฐกิจดีขึ้น ซึ่งในส่วนนี้เองที่ไม่มีความชัดเจนว่าหมายถึงความชอบธรรมของ คสช. หรือไม่ ขณะที่ร้อยละ 8.02 ระบุว่า ต้องการให้เกิดการจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งเผยให้เห็นว่าในบรรดาผู้ที่รับร่างรัฐธรรมนูญจำนวนไม่น้อยไม่ได้เห็นด้วยกับรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร เป็นที่ชัดเจนตามผลการสำรวจว่าประชาชนร้อยละ 8.51 ตัดสินใจรับร่างฯ เพราะชื่นชอบการทำงานของรัฐบาล นายกรัฐมนตรีและความเข้มงวดจริงจังของทหาร แต่ประชาชนอีกร้อยละ 1.77 กลับตัดสินใจไม่รับร่าง แม้ว่าจะชื่นชอบการทำงานของรัฐบาลชุดนี้ เพราะเข้าใจว่าหากรัฐธรรมนูญผ่านการออกเสียงประชามติจะทำให้มีการเลือกตั้ง และได้รัฐบาลชุดใหม่เข้ามาบริหารประเทศ

จะเห็นได้ว่าผลสำรวจดังกล่าวสะท้อนถึงความสับสนในการตัดสินใจรับหรือไม่รับร่างฯ กล่าวคือ ด้วยเหตุผลเดียวกันแต่ประชาชนอาจตัดสินใจรับหรือไม่รับแตกต่างกัน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะความคลุมเครือเกี่ยวกับผลที่จะเกิดขึ้นจากการผ่านหรือไม่ผ่าน การออกเสียงประชามติของร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว เพราะการปิดกั้นการรณรงค์โดยเฉพาะกับฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ

จนในที่สุดประชาชนไม่แน่ใจว่าหากประสงค์ให้ คสช. อยู่ในอำนาจต่อหรือหลีกทางให้กับการเลือกตั้งตามวิถีประชาธิปไตยนั้นจะต้องออกเสียงรับหรือไม่รับกันแน่

ต่อการอ้างความชอบธรรมในลักษณะดังกล่าว นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการประวัติศาสตร์ชาวไทยเห็นว่า “อย่างไรก็ตาม คสช.คงเอาไปอ้างความชอบธรรมได้แค่ครึ่งเดียว ในเมืองไทยคงพอฟังได้
แต่จะอ้างกับโลกคงยาก คนเห็น(ว่า)ไม่ยุติธรรมมาแต่ต้น” ซึ่งสอดรับกับที่ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติแสดงความกังวล เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2559
ว่าการมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญอย่างมีเสรีภาพและเปิดกว้างจะทำให้ร่างรัฐธรรมนูญมีความชอบธรรมและได้รับการยอมรับ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านการทำประชามติดังกล่าว
ก็ได้สถาปนาระบบการเข้าสู่อำนาจแบบใหม่ที่ไม่ได้เชื่อมโยงกับประชาชน เช่นการกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภาชุดแรกจำนวน 250 คน มาจากการคัดเลือกโดยคสช., การเปิดช่องให้มีนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง,การออกแบบระบบนับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบจัดสรรปันส่วนผสมเพื่อให้พรรคการเมืองที่ประชาชนเลือกมากที่สุดไม่ได้ที่นั่งมากที่สุด,การให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญจัดประชุมแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดวิกฤติทางการเมือง,การให้ คสช. ยังคงมีอำนาจมาตรา 44 และให้ประกาศ, คำสั่งทุกฉบับมีผลบังคับใช้ต่อไปไม่มีกำหนด เป็นต้น
ดังนั้น จึงคาดหมายได้ว่า

โฉมหน้าการเมืองของประเทศไทยหลังรัฐธรรมนูญฉบับนี้ประกาศใช้ก็จะยังอยู่ภายใต้อำนาจการควบคุมของ คสช. เช่นเดิม การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้จะเป็นการเลือกตั้งที่ดำเนินไปภายใต้ข้อจำกัดพรรคการเมืองมีบทบาทน้อยลง และผู้ที่จะกุมอำนาจอย่างแท้จริงภายหลังการเลือกตั้งอาจจะยังเป็น คสช. ส่วนประชาชนที่เห็นต่างกับ คสช. จะถูกบีบให้ส่งเสียงได้น้อยลงไปอีก โดยการอ้างความชอบธรรมว่า อำนาจใหม่นั้นไม่ได้มาจากรัฐประหาร แต่มาจากรัฐธรรมนูญที่มีผลประชามติรับรองแล้ว


3/5 ความเงียบที่ถูกบังคับโดยสถานการณ์


หลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เกิดความโศกเศร้าไปทั่วทุกหนแห่ง และเกิดกระแสไล่ล่าผู้ที่โพสต์ความเห็นในโลกออนไลน์ในลักษณะที่ผู้อ่านตีความด้วยตนเองว่า ไม่จงรักภักดีและอาจเป็นการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ การไล่ล่าด้วยข้อกล่าวหา “ไม่จงรักภักดี” ต่างจากที่ส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าหน้าที่รัฐดำเนินการสืบสวนจับกุมเองหรือมีประชาชนไปร้องทุกข์กล่าวโทษเท่านั้น แต่เกิดปรากฏการณ์ใหม่ขึ้น คือการรวมตัวของประชาชนจำนวนมากไปล้อมบ้านของผู้ถูกกล่าวหาในยามวิกาล เพื่อเรียกร้องให้ผู้ถูกกล่าวหาออกมามอบตัวและเพื่อกดดันให้เจ้าหน้าที่นำบุคคลดังกล่าวไปดำเนินคดี บางกรณีมีการทำร้ายร่างกายผู้ถูกกล่าวหา รวมทั้งการคุกคามครอบครัวและผู้ที่เกี่ยวข้อง ข้อกล่าวหาไม่จงรักภักดีกลายเป็นกำแพงบดบังข้อเท็จจริงที่ว่า บุคคลเหล่านั้นยังไม่ถูกพิสูจน์ความผิดตามกระบวนการยุติธรรม และแม้ที่สุดเขาอาจจะถูกตัดสินว่าผิด แต่ก็ยังมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ต้องโทษคดีอาญา ซึ่งรวมถึงการได้รับการคุ้มครองจากการทำร้ายร่างกาย กระแสการไล่ล่าผู้แสดงความเห็น หรือที่เรียกว่า “ล่าแม่มด” ที่มีการติดตามหรือทำร้ายร่างกายผู้ที่สังคมเห็นว่าทำความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ดำเนินอยู่ราวสองสัปดาห์ก่อนค่อยๆ เงียบลง แม้จะเป็นกระแสที่คงอยู่ไม่นานนักแต่สร้างความหวาดกลัวให้คนในสังคมอย่างปฏิเสธไม่ได้ หลายคนอาจจะต้องการแสดงความคิดเห็นที่แม้ไม่ผิดกฎหมาย แต่จำเป็นต้องเลือกสร้างระยะปลอดภัยของตัวเองโดยไม่พูดความในใจ จนอาจจะกล่าวได้ว่าความเกรี้ยวกราดและกระแสการล่าแม่มดทำให้เกิดความเงียบในสังคมไทย

การรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์ในสภาวะไม่ปกติ

เมื่อพิจารณาภูมิทัศน์ของสื่อในการรายงานข่าวปรากฏการณ์การล่าแม่มด จากหนังสือพิมพ์เจ็ดประกอบด้วย แนวหน้า บ้านเมือง ไทยรัฐ มติชน ข่าวสด คมชัดลึก และเดลินิวส์ ระหว่างวันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม 2559 – วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม 2559 พบว่าพื้นที่ข่าวมีน้อยมาก เหตุที่เลือกหนังสือพิมพ์เนื่องจากเป็นสื่อที่มีลักษณะของการประมวลภาพเหตุการณ์ต่างๆ ในแต่ละวันและสามารถประเมินปริมาณของข่าวในแต่ละวันได้อย่างเป็นรูปธรรมมากกว่าสื่อชนิดอื่น คืนวันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม 2559 เป็นครั้งแรกที่มีข่าวการไล่ล่าผู้โพสต์ข้อความบนโลกออนไลน์ ที่จังหวัดภูเก็ต มีการปิดล้อมบ้านผู้ถูกกล่าวหาโดยมีการถ่ายทอดสดผ่านทางเฟซบุ๊กไลฟ์ รวมทั้งการส่งต่อข้อมูลบนโลกออนไลน์ แต่วันต่อมากลับไม่พบว่ามีหนังสือพิมพ์ฉบับใดรายงานข่าวดังกล่าว โดยอาจเป็นเพราะการเสด็จสวรรคตของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่เก้าเป็นประเด็นที่ประชาชนสนใจมากกว่าประเด็นอื่นๆ ในวันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม 2559 หนังสือพิมพ์มติชนเป็นฉบับเดียวที่รายงานข่าวการล่าแม่มด โดยรายงานจากข้อเท็จจริงของฝ่ายผู้กล่าวหาและเจ้าหน้าที่รัฐ รวมทั้งข้อมูลจากผู้สื่อข่าวสนามที่สังเกตการณ์บริเวณบ้านของผู้ถูกกล่าวหา แต่ยังไม่ปรากฏในหนังสือฉบับอื่น บางฉบับพื้นที่ข่าวทั้งหมดเป็นข่าวการสวรรคตและข่าวของพระบรมวงศานุวงศ์ ขณะที่บางฉบับให้น้ำหนักไปที่ข่าวการสวรรคต แต่ยังมีข่าวอื่นๆ ด้วย เช่นข่าวต่างประเทศ ข่าวเศรษฐกิจ และข่าวกีฬา วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม 2559 หนังสือพิมพ์ฉบับอื่นเริ่มรายงานข่าวประเด็นนี้ เนื้อหาของข่าว ส่วนใหญ่เป็นมุมมองผู้มีอำนาจรัฐเช่น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี, พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี, พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่า การกระทรวงยุติธรรม รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จากการทบทวนเนื้อหาหนังสือพิมพ์ยังพบว่า มีผู้ถูกไล่ล่าอีกอย่างน้อยสามกรณีที่หนังสือพิมพ์ไม่ได้รายงาน เช่น กรณีการไล่ล่าผู้โพสต์ในทำนองหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯที่จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งครอบครัวบอกว่า ผู้ถูกกล่าวหามีอาการทางจิต, การพยายามไล่ล่าผู้หญิงพิการทางสายตาที่โพสต์บทความเข้าข่ายการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ที่ จังหวัดยะลา และการแจ้งความดำเนินคดีต่อทหารรายหนึ่งที่พูดคุยกันภายในกรุ๊ปไลน์ ที่จังหวัดยะลา

การกำกับเสรีภาพการแสดงออก ด้วยมาตรการทางสังคม

ท่าทีหนึ่งที่บุคคลสำคัญในรัฐบาลออกมาตอบสนองต่อข่าวล่าแม่มดในหน้าหนังสือพิมพ์ คือ ร้องขอให้ประชาชนเงียบแทนการปรามผู้ใช้กำลังหรือท่าทีคุกคาม เช่น สุวพันธ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวในทำนองว่า การโพสต์ข้อความดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องและไม่ควรทำ ขณะที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่า แม้จะรู้สึกอย่างไรขอให้เก็บไว้ในใจ อย่าแสดงออกโดยไปขัดต่อความรู้สึกของคนส่วนใหญ่ในประเทศ และร้องขอให้เจ้าหน้าที่กวดขันเรื่องข้อความที่เข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ยิ่งทำให้บรรยากาศการแสดงความคิดเห็นในสังคมไทยอยู่ในสภาวะเงียบโดยสมบูรณ์แบบ พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกรัฐบาลเคยให้สัมภาษณ์ขอร้องสื่อมวลชนในทำนองว่า ช่วงเวลานี้ควรจะให้สติแก่สังคมไทยโดยการผลิตรายการที่สร้างสรรค์สังคม อะไรที่เป็นองค์ความรู้ที่อยากให้คนรุ่นหลังรับทราบ ทั้งเรื่องประเพณีไทย เรื่องการสักการะพระบรมฉายาลักษณ์ที่ถูกต้อง ขอให้ช่วยกันให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมไทย

โดยมีการขอความร่วมมือประชาชนไม่ให้โพสต์ข้อความหรือกระทำในลักษณะที่เป็นการหมิ่นสถาบัน พร้อมระบุว่าหากการกระทำของผู้ใดเข้าข่ายความผิดจะถูกดำเนินคดี ด้าน พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมระบุหลังถูกถามถึงกรณีเหตุการณ์ประชาชนล้อม บ้านผู้ถูกกล่าวหาที่ จังหวัดภูเก็ต ว่า พูดไปหลายครั้งแล้วว่า ไม่มีอะไรดีไปกว่ามาตรการทางสังคม
ทำให้มีการตั้งคำถามว่าการให้ความเห็นลักษณะนี้เป็นการออกใบอนุญาตให้ใช้ความรุนแรงหรือไม่ จนพล.อ.ไพบูลย์ต้องออกมาแก้ต่างภายหลังว่าไม่ได้หมายความเช่นนั้น โดยชี้แจงว่า คำว่า มาตรการทางสังคม คือมาตรการที่ประชาชนมาสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมาย เพราะการบังคับใช้กฎหมายอย่างเดียวไม่สามารถที่จะปรับทัศนคติของผู้เห็นต่างได้

สำหรับท่าทีของหน่วยราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง สำนักงานตำรวจแห่งชาติก็ประสานงานผ่านกับตำรวจสากล (Interpol) ในการดำเนินคดีกับผู้ที่เข้าข่ายความผิดมาตรา 112 ที่อยู่ต่างประเทศ
ส่วนกระทรวงต่างประเทศก็ใช้กลไกการทูตในการติดตามผู้ถูกกล่าวหาว่ามีความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ที่อยู่ในต่างประเทศหรือขอความร่วมมือให้ต่างประเทศช่วยกำชับหรือกำราบผู้ถูก

กล่าวหาซึ่งการให้ข่าวหรือท่าทีของรัฐในลักษณะนี้ย่อมเป็นการปรามให้ผู้ที่เลือกจะไม่เงียบ รู้ว่าพวกเขาอาจมีราคาที่ต้องจ่ายหากเลือกที่ส่งเสียง แม้เจ้าหน้าที่รัฐจะยอมรับการใช้ความรุนแรงผ่านโครงสร้างกฎหมายด้วยการดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาอย่างถึงที่สุด แต่ก็พบว่าเจ้าหน้าที่บางส่วนพยายามให้สัมภาษณ์ทำนองยับยั้งการใช้ความรุนแรงทางกายภาพ เช่น พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ออกความเห็นว่ามวลชนไม่มีหน้าที่ในการดำเนินการกับผู้ถูกกล่าวหาและจะไปทำร้ายผู้อื่นไม่ได้ ขณะที่พ.อ.ปิยพงศ์ กลิ่นพันธุ์ ทีมโฆษกคสช.ก็เน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างรอบคอบเพื่อไม่ให้เกิดการทำร้ายร่างกาย เข่นเดียวกับ พล.ต.อ. จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่ขอความร่วมมือไม่ให้วิวาทหรือใช้ความรุนแรง อย่างไรก็ตามจากการทบทวนการนำเสนอข่าวหนังสือพิมพ์ พบว่าการรายงานข่าวหรือการให้ข่าวของเจ้าหน้าที่รัฐในลักษณะนี้มีน้อยกว่าประเด็นอื่นๆ อีกสามประเด็นที่เหลือ

บล็อกเว็บที่เข้าข่ายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ

มีการรายงานว่า กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับหน่วยงานความมั่นคงดำเนินการป้องปรามเว็บไซต์ที่เข้าข่ายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดย พล.อ.อ.ประจิน จั่นตองรัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวถึงการพูดคุยกับกูเกิ้ลว่าหากทางกูเกิ้ลได้รับการร้องเรียนเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมจะพยายามดำเนินการจัดการ ในเรื่องการขอข้อมูลผู้โพสต์ กูเกิ้ล แนะนำว่าจะต้องปรับกระบวนการระหว่างประเทศเพื่อขอข้อมูล ในส่วนของไลน์ เมื่อมีการขอรายชื่อผู้โพสต์ หรืออีเมลล์ ที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยหรือการทำความผิดตามกฎหมายไทย ไลน์ก็จะดำเนินการให้ก่อนโดยผ่านทางสถานทูตไทยที่ญี่ปุ่น อย่างไรก็ดีหลังมีการเผยแพร่ข่าวลักษณะนี้ ไลน์ออกมาปฏิเสธในภายหลังว่า ไลน์ไม่ได้มอนิเตอร์หรือบล็อกเนื้อหาของผู้ใช้บริการไลน์ เนื้อหาถูกเข้ารหัสไว้และทางไลน์ไม่สามารถเข้าตรวจสอบได้ (We do not monitor or block user content. User content is also encrypted, and cannot be viewed by LINE,)

ขณะที่กูเกิ้ลก็ยืนยันว่าเราวางใจรัฐบาลทั่วโลกให้แจ้งเตือนเราถึงเนื้อหาที่พวกเขาเชื่อว่าผิดกฎหมายโดยผ่านกระบวนการที่เป็นทางการและจะจำกัดมันอย่างเหมาะสมหลังการตรวจสอบอย่างละเอียดแล้วและจากการติดตามข้อมูลการปิดกั้นเนื้อหาของไอลอว์พบว่าหลังการสวรรคตมีการปิดกั้นเนื้อหาบนโลกออนไลน์จำนวนมากโดยพบว่าเนื้อหาบางส่วนที่ถูกปิดกั้นเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ฯ และการสืบสันตติวงศ์ ความมั่นคง รวมทั้งข่าวการล่าแม่มดก็ถูกปิดกั้นการเข้าถึงส่วนใหญ่เว็บไซต์ที่ถูกปิดกั้นเป็นเว็บไซต์ของสำนักข่าวต่างประเทศ


4/5 ความเงียบงันภายใต้อำนาจเด็ดขาด


ตลอดเวลากว่าสองปีเจ็ดเดือนที่ผ่านมา การบังคับใช้กฎหมาย ทั้งกฎหมายอาญา ประกาศ/คำสั่งคสช. รวมทั้งกฎหมายที่ออกใหม่ในปี 2559 อย่างพ.ร.บ.ประชามติฯ เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง ที่ทำให้การแสดงออกของประชาชน โดยเฉพาะในประเด็นการเมือง และประเด็นทางสังคมค่อยๆ เงียบลง

ประชามติในความเงียบงัน

บรรยากาศก่อนการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 เป็นไปอย่างเงียบงัน ฝ่ายรัฐใช้ช่องทางหลากหลายให้ข้อมูลเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ แต่ฝ่ายที่เห็นต่างกลับถูกทำให้เงียบด้วยกฎหมายหลายๆ ฉบับคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง ถูกนำมาใช้อย่างหนักในช่วงก่อนลงประชามติ มีคนอย่างน้อย 114 คนถูกดำเนินคดี ส่วนใหญ่ถูกดำเนินคดีจากการร่วมกิจกรรมเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติในหลายจังหวัด มีอย่างน้อย 11 คนที่ถูกตั้งข้อหาเพราะจัดเสวนาเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ มีอย่างน้อย 20 คนถูกตั้งข้อหาเพราะแจกใบปลิวรณรงค์โหวตโน

มาตรา 61 วรรค 2 ของพ.ร.บ.ประชามติฯ ซึ่งกำหนดว่า ผู้ใดเผยแพร่ภาพหรือเนื้อหาในช่องทางต่างๆ ในลักษณะผิดจากข้อเท็จจริง รุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่ เพื่อหวังให้ผู้มีสิทธิออกเสียงไปทางใดทางหนึ่งหรือไม่ไปออกเสียงมีโทษจำคุกสูงสุดสิบปี
เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ถูกใช้ดำเนินคดีกับผู้แสดงออกเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ อย่างน้อย 38 คน โดยพฤติการณ์ที่ทำให้ถูกดำเนินคดีมีทั้งการแจกใบปลิวโหวตโน การประกาศไม่รับร่างรัฐธรรมนูญบนเฟซบุ๊ก เป็นต้น นอกจากนี้กิจกรรมรณรงค์เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ ยังถูกปิดกั้น-แทรกแซงอย่างน้อย 19 ครั้ง

ปิดกั้น แทรกแซง ดำเนินคดี กระชับพื้นที่ทำกิจกรรมของประชาชน
การจัดกิจกรรมสาธารณะต่างๆ ก็ยังถูกปิดกั้น-แทรกแซงต่อเนื่องมาจากปีก่อนๆในปี2559 มีการปิดกั้นกิจกรรมทั้งกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์และกิจกรรมเสวนาอย่างน้อย 34 ครั้ง หลากหลายประเด็น เช่น

กิจกรรมสันติสุขชายแดนใต้ที่มัสยิดกรือเซะถูกห้ามจัดเพราะไม่ได้ประสานงานกับกอ.รมน. กิจกรรมร้องเพลงรำลึกสิบปีรัฐประหาร 2549ถูกเจ้าหน้าที่สั่งให้เลิกโดยอ้างคำสั่งหัวหน้าคสช. 3/2558 และพ.ร.บ.ชุมนุมฯสน.ลุมพินีสั่งยกเลิกงานแถลงข้อเสนอแนะการแก้ปัญหาโรฮิงญาต่ออองซานซูจีที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ อำนาจหรือวิธีการที่ใช้ปิดกั้น พัฒนาตัวขึ้นอีกหลายรูปแบบ
ทหารพยายามจะออกหน้าให้น้อยลง และอ้างอิงอำนาจตามกฎหมายอื่นๆ เช่นงานแถลงข่าวสถานการณ์การซ้อมทรมานในประเทศไทย ของแอมเนสตี อินเทอร์เนชันแนล ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานว่า หากผู้เชี่ยวชาญขึ้นพูดจะถูกจับเพราะไม่มีใบอนุญาตทำงาน หรือการห้าม โจชัว หว่อง นักกิจกรรมชาวฮ่องกงเข้าประเทศเพื่อมาร่วมงานรำลึกเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ เป็นต้น

การดำเนินคดีและการปิดกั้นแทรกแซงที่ต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่สาม

ทำให้คนไม่กล้าคิดริเริ่ม หรือลงมือจัดกิจกรรม ยิ่งหลักเกณฑ์และวิธีการในการปิดกั้นไม่ชัดเจน ยิ่งสร้างความกลัวในการพูดถึงปัญหาสังคมการเมืองทำได้ยากและมีต้นทุนสูงขึ้น คดีมาตรา 112 กับความเงียบช่วงปลายปีในปี 2559 ก่อนถึงวันที่ 13 ตุลาคม 2559 เท่าที่ยืนยันได้มีผู้ถูกตั้งข้อกล่าวหาตามมาตรา112 เพิ่มอีกอย่างน้อย 7 คน อาจกล่าวได้ว่า ลดลงกว่าปี 2557-2558 ซึ่งนับรวมได้อย่างน้อย 64 คน ในปีนี้สถิติที่ศาลให้ประกันตัวยังเพิ่มสูงขึ้น โดย ก่อนวันที่ 13 ตุลาคม 2559 บุคคลเจ็ดคนที่ถูกตั้งข้อหาได้รับการประกันตัวระหว่างสู้คดีรวมหกคน และยังมีนักโทษอย่างน้อยเก้าคนได้รับการปล่อยตัว เพราะได้รับการลดโทษตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษที่ออกในเดือน สิงหาคม 2559 สถานการณ์มาตรา 112 ดูจะผ่อนคลายลงบ้าง จนกระทั่งสำนักพระราชวังประกาศการสวรรคตพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 บรรยากาศแห่งความโศกเศร้ากลับเร่งเร้าให้การดำเนินคดีมาตรา 112 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การแสดงความเห็นของคนบางส่วนกลับเปลี่ยนความเศร้าให้เป็นความโกรธและนำไปสู่ความรุนแรง เช่น กรณีร้านน้ำเต้าหู้ถูกล้อม ที่จังหวัดภูเก็ต กรณีหนุ่มโรงงานถูกรุมทำร้ายร่างกาย ที่จังหวัดชลบุรี เป็นต้นจากการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่ หลังวันที่ 13 ตุลาคม 2559

มีการตรวจพบผู้กระทำความผิดคดี 112 ใหม่ 25 คนและจับกุมได้แล้วสิบคน แต่ไม่มีการเปิดเผยรายชื่อ สถานการณ์ช่วงท้ายปีแถมด้วยปรากฏการณ์ที่เจ้าหน้าที่เรียกตัวบุคคลจำนวนมาก
ไปปรับทัศนคติ เพราะกดไลค์เฟซบุ๊กที่มีเนื้อหาอ่อนไหว ทำให้ทุกอย่างกลับไป “เงียบสนิท” และแนวโน้มสถานการณ์ในปีหน้าอาจจะรุนแรงขึ้นกว่าเดิมได้อีก

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ เครื่องดูดเสียงนักปกป้องสิทธิ

ในปี 2559 มีคดีใหม่ๆ ที่น่าสนใจ เช่นนักสิทธิมนุษยชนสามคนถูกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในแจ้งความดำเนินคดีจากการเผยแพร่รายงานการซ้อมทรมานในประเทศไทย,
ญาติของทหารเกณฑ์ซึ่งเสียชีวิต ก็ถูกทหารแจ้งความดำเนินคดี จากการแชร์ข่าวบนเฟซบุ๊กและแสดงความเห็นพาดพิงนายทหารบางนายว่าอาจมีส่วนรับผิดชอบ,บริษัทเจ้าของเหมืองทองคำในจังหวัดพิจิตรยื่นฟ้องสมลักษณ์ นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมจากการโพสต์เฟซบุ๊ก แยกเป็น 3คดี โดยศาลยกฟ้องไปแล้ว 2 คดี เหลืออีก1คดีที่ศาลจังหวัดพิจิตรสั่งรับฟ้อง ขณะที่บริษัท
เจ้าของเหมืองทองคำในจังหวัดเลย ยื่นฟ้องสำนักข่าวไทยพีบีเอส จากการรายงานข่าวเรื่องสิ่งแวดล้อม ต่อมาศาลพิพากษายกฟ้อง กรณีที่ฮือฮาในปี 2559 คือ คำพิพากษาในคดีของ อานดี้ ฮอลล์

ที่ถูกโรงงานสับปะรดฟ้องจากการเผยแพร่งานวิจัยว่ามีการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติชาวพม่าในโรงงาน ศาลสั่งให้จำคุกจำเลยเป็นเวลาสามปีและปรับเป็นเงิน 150,000 บาท รอลงอาญา
และยังมีคดีความที่นักกิจกรรมทางสังคมถูกฟ้องร้องดำเนินคดีตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ เพื่อ ปิดปาก การเคลื่อนไหวแทบจะเกิดขึ้นทั่วๆ ไปในทุกพื้นที่ที่มีความขัดแย้ง


5/5 ความเงียบแบบผูกขาด ออกกฎหมายจำนวนมากประชาชนไม่รู้เรื่อง


การออกกฎหมายเป็นหนึ่งในผลงานที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ภาคภูมิใจ ภายในเวลาเพียงสองปีห้าเดือน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)ที่คสช.แต่งตั้งสามารถออกพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ไปแล้วอย่างน้อย 207 ฉบับ นอกจากนี้ยังมีการออกกฎหมายโดยใช้อำนาจพิเศษตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญ(ฉบับชั่วคราว) 2557 อีก 122 ฉบับ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีด้านกฎหมาย แถลงเปรียบเทียบว่าในระยะเวลาเจ็ดปีสี่รัฐบาลตั้งแต่ปี 2551-2557 สภาสามารถออกพ.ร.บ.เพียง 120 ฉบับ หรือเฉลี่ยปีละ 17 ฉบับเท่านั้น ซึ่งน้อยกว่าการทำงานเพียงสองปีกว่าของคสช.

ตลอดระยะเวลา 29 เดือนของการทำงาน สนช. ใช้เวลาเฉลี่ยในการออกกฎหมายประมาณเดือนละเจ็ดฉบับ โดยร่างกฎหมายที่พิจารณาเร็วที่สุดใช้เวลาเพียงหนึ่งวัน มีอยู่เจ็ดฉบับ เช่น
พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 และ พ.ร.บ.โอนงบประมาณรายจ่าย พ.ศ.2559 ในส่วนของการใช้อำนาจพิเศษของหัวหน้าคสช.ตามมาตรา 44 ออกกฎหมายตั้งแต่เดือนธันวาคม 2557 จนถึงเดือนธันวาคม 2559 มีการออกกฎหมายด้วยวิธีนี้เฉลี่ยเดือนละห้าฉบับ

สนช.ออกกฎหมายเน้นปริมาณแต่เนื้อหาบกพร่องและขาดการมีส่วนร่วม 

ในปี 2559 สนช.เห็นชอบร่างพ.ร.บ.อย่างน้อย 66 ฉบับ เฉลี่ยเดือนละหกฉบับขณะที่ปี 2558 เห็นชอบอย่างน้อย 94 ฉบับ โดยเหตุปีที่นี้สนช.ผ่านกฎหมายได้น้อยลงอาจเป็นเพราะต้องเตรียมความพร้อมเพื่อสนับสนุนการออกเสียงประชามติรวมทั้งการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และการขึ้นทรงราชย์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัววชิราลงกรณ์ (รัชกาลที่ 10) ทำให้สภาต้องงดการประชุมพิจารณากฎหมายไปหลายช่วง จากการติดตามกระบวนการออกกฎหมายของสนช. พบว่าร่างพ.ร.บ.ส่วนใหญ่ที่เข้าสู่การพิจารณาถูกเสนอจากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ขณะเดียวกันผู้พิจารณาออกกฎหมาย คือสมาชิกสนช.ซึ่งส่วนใหญ่เป็นตัวแทนของภาครัฐทั้งในฐานะอดีตข้าราชการหรือข้าราชการที่ยังปฏิบัติหน้าที่อยู่ คณะกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาร่างพ.ร.บ.ฉบับต่างๆจึงมีแนวโน้มจะรับฟังความเห็นจากเจ้าหน้าที่รัฐผู้ปฏิบัติงานมากกว่าประชาชนผู้ได้รับผลได้ผลเสีย เช่น ร่างพ.ร.บ.กองทุนให้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา (กยศ.) ซึ่งมีเนื้อหาให้ผู้กู้ต้องยินยอมให้ กยศ. เข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล ต้องแจ้งให้นายจ้างทราบว่าเป็นหนี้กยศ.เพื่อให้หักเงินเดือนส่งชำระหนี้ รวมทั้งปรับเพดานอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่กยศ.อาจเรียกเก็บจากลูกหนี้ จากไม่เกินร้อยละหนึ่งเป็นไม่เกินร้อยละเจ็ดจุดห้าต่อปี ซึ่งเท่าที่ทราบในรายงานของกมธ. มีเพียงหน่วยงานรัฐเท่านั้นที่เข้าไปให้ความคิดเห็นต่อกมธ. ไม่มีข้อมูลว่ากรธ.เคยรับฟังความคิดเห็นจากลุูกหนี้ผู้มีส่วนได้เสีย หรือจัดเวทีสาธารณะเพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ แม้จะมีร่างพ.ร.บ.บางฉบับที่จัดให้มีเวทีรับฟังความคิดเห็น ซึ่งเป็นส่วนน้อยมาก แต่ในทางปฏิบัติการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของสนช.กลับมีข้อจำกัด เช่น ร่างพ.ร.บ.ว่าการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ที่แม้ผู้ร่างจะอ้างว่ามีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนถึงสองครั้ง แต่ในทางปฏิบัติพบว่าการรับฟังความคิดเห็นครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2559 มีข้อจำกัด เช่น การจัดงานในอาคารรัฐสภาที่ประชาชนทั่วไปเข้าถึงยาก การเปิดให้ลงทะเบียนเข้าร่วมงานผ่านแฟกซ์เท่านั้น และการจัดเวลาแสดงความคิดจากประชาชนที่น้อยเพียงประมาณหนึ่งชั่วโมง ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ถูกจับตามองจากสังคมอย่างมาก นอกจากเวทีรับฟังความคิดเห็นของสนช. ภาคประชาชนเองยังได้จัดเวทีสาธารณะ หรือใช้พื้นที่ออนไลน์เรียกร้องส่งเสียงไปยังสนช. ถึงเนื้อหาที่ยังคงบกพร่องจำนวนหลายครั้ง จนกระทั่งล่าสุดวันที่ 15 ธันวาคม 2559 เครือข่ายพลเมืองเน็ตนำรายชื่อประชาชนมากกว่าสามแสนที่ลงชื่อคัดค้านร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ในเว็บไซต์ Change.org ไปยื่นคัดค้านต่อสนช. อย่างไรก็ตามหนึ่งวันให้หลังสนช.ก็ผ่านร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ด้วยคะแนนเห็นชอบ 168 เสียง ไม่เห็นชอบ 0 เสียง งดออกเสียง 5 เสียงแสดงให้เห็นว่าแม้จะมีกระแสท้วงติงจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เสียงสะท้อนเหล่านั้นก็มีความสำคัญไม่มากนักต่อการตัดสินใจของสมาชิกสนช.

หัวหน้าคสช.ใช้มาตรา 44 มากขึ้น เน้นเพิ่มอำนาจรัฐโดยไม่รับฟังเสียงประชาชน 

ในปี 2559 หัวหน้าคสช. ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่งอย่างน้อย 73 ฉบับ หรือเฉลี่ยหกฉบับต่อเดือน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2558 ที่ใช้ออกคำสั่งเพียง 48 ฉบับ โดยเป็นการออกกฎหมายที่ไม่มีขั้นตอนรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ไม่มีขั้นตอนการตรวจสอบถ่วงดุล ทั้งที่กฎหมายหลายฉบับที่ออกด้วยวิธีนี้มีผู้ได้รับผลกระทบอยู่ไม่น้อย เช่น คำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 30/2559 ที่กำหนดให้ผู้ปกครองต้องรับโทษแทนหากลูกหลานก่อเหตุทะเลาะวิวาท ซึ่งเดือนกรกฎาคม 2559 มีผู้ปกครองรายแรกต้องรับโทษ จำคุกหกเดือน ปรับ 60,000 บาท แต่ให้การรับสารภาพจึงลดโทษลงกึ่งหนึ่ง และโทษจำคุกให้รอลงอาญาสองปีคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 41/2559 กำหนดให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง

กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีอำนาจควบคุมไม่ให้มีการเสนอข้อมูลข่าวสารที่มีเนื้อหาที่มีผลกระทบต่อความมั่น คงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนโดยการกระทำของกสทช.ได้รับความคุ้มครองไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญาและทางวินัย คำสั่งนี้ถูกมองว่าเป็นความตั้งใจของคสช. ที่จะสร้างความมั่นใจให้กสทช.ในการปิดกั้นสื่อมวลชนที่ชอบวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของคสช.นอกจากนี้การออกคำสั่งหัวหน้าคสช.ยังถูกใช้เพื่อ ความผิดพลาดจากการออกกฎหมาย เช่น คำสั่งที่ 28/2559 กำหนดให้มีการเรียนฟรี
15 ปีซึ่งออกมาหลังร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติถูกวิพากษ์วิจารณ์กรณีลดการเรียนฟรีเหลือ 12 ปี หรือคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 49/2559 ที่กำหนดการอุปถัมภ์และคุ้มครองทุกศาสนาเป็นหน้าที่ของทุกหน่วยงานของรัฐที่ออกมาหลังร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติกำหนดให้รัฐสนับสนุนพุทธศาสนานิกายเถรวาท ที่ผ่านมาการออกกฎหมายทั้งโดยสนช.และโดยคำสั่งหัวหน้าคสช. คือ ‘ความเงียบ

อีกอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยระหว่างขั้นตอนการพิจารณากฎหมายแทบจะไม่มีเสียงจากประชาชนสะท้อนอยู่ในนั้นเลย และด้วยบรรยากาศที่ปิดกั้นการพยายามส่งเสียงค้านของภาคประชาชนก็มีต้นทุนสูง และดูแทบจะไม่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ถืออำนาจ ขณะที่การออกคำสั่งหัวหน้าคสช.เป็นกฎหมายก็เป็นวิธีการใช้อำนาจแบบบนลงล่างที่ไม่มีพื้นที่สำหรับเสียงของประชาชนเลย