วันพุธ, สิงหาคม 31, 2559

วงการหนังไทยไม่พัฒนาเพราะเราไม่เป็นประชาธิปไตย?





วงการหนังไทยไม่พัฒนาเพราะเราไม่เป็นประชาธิปไตย?

ช่วงที่ผ่านมา หลายคนตื่นเต้นกับภาพยนตร์เกาหลีใต้ จนกลับมาตั้งคำถามว่า ทำไมหนังเกาหลีใต้จึงก้าวหน้านัก ซึ่งงานวิจัยหลายเล่มมักบอกตรงกันว่า หนังเกาหลีพัฒนาขึ้นมาได้เพราะความเป็นประชาธิปไตย แล้วหนังไทยไม่พัฒนาเพราะไม่เป็นประชาธิปไตย?

โดย ประภาภูมิ เอี่ยมสม
ผู้ดำเนินรายการ Voice World Wide ผู้สื่อข่าวต่างประเทศ Voice TV
Voice TV

31 สิงหาคม 2559

ช่วงที่ผ่านมา หลายคนตื่นเต้นกับหนังจากเกาหลีใต้ทั้งเรื่อง Train To Busan และ The Handmaiden แม้แต่คนที่ไม่เคยดูหนังเกาหลีมาก่อน เพราะหลายคนคิดว่าหนังเกาหลีคงจะเหมือนกับซีรีส์เกาหลีที่เคยดู ที่บางเรื่องก็จะมีความน้ำเน่าตามขนบของซีรีส์เกาหลีอยู่ แต่หนังทั้ง 2 เรื่องกลับลบล้างความคิดเดิมๆของหลายคนออกไป ซึ่งก็ไม่แปลกนัก เนื่องจากหนังทั้ง 2 เรื่อง และเรื่อง The Wailing (ไม่แน่ใจว่าได้เข้าไทยไหม) ได้ไปเปิดตัวที่เทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ปีนี้ เรื่องคุณภาพจึงได้รับการันตีในระดับหนึ่ง แต่ก็อดชมไม่ได้ว่า อุตสาหกรรมภาพยนตร์เกาหลีใต้ก้าวหน้ามากจริงๆ และไม่ได้มีไว้สำหรับติ่งเกาหลีเท่านั้น

หากลองหาข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการของอุตสาหกรรมภาพยนตร์เกาหลีใต้ จะมีการวิเคราะห์ว่า อุตสาหกรรมภาพยนตร์เกาหลีใต้นั้นพัฒนาอย่างก้าวกระโดดเมื่อประเทศชาติหลุดพ้นจากเผด็จและเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยเต็มใบ โดยปี 1995 มีการผ่านกฎหมายสนับสนุนภาพยนตร์ ซึ่งรัฐบาลจะเข้าไปช่วยเหลือเงินทุนแก่อุตสาหกรรมภาพยนตร์ และเลิกควบคุมเนื้อหาและทิศทางของภาพยนตร์อย่างที่เคยเป็นในยุคเผด็จการ ซึ่งทำให้คนทำหนังมีอิสระมากขึ้นในการทดลองทำอะไรใหม่ๆ ทั้งบท การเล่าเรื่อง พลอต เทคโนโลยีที่ใช้ถ่ายภาพ สไตล์หนัง





ทีนี้ ย้อนกลับมาดูวงการหนังไทยที่จริงๆแล้วมีประวัติมายาวนาน มีบุคคลากรในวงการหนังที่มีความสามารถโดดเด่นหลายคน แต่หนังกลับก็ยังวนเวียนอยู่กับหนังตลก หนังผี หนังรัก ที่จะมีขนบของหนังคล้ายๆกัน ดังนั้น หากหนังเกาหลีใต้พัฒนาด้วยประชาธิปไตย แล้วหนังไทยไม่พัฒนาเพราะเราไม่มีประชาธิปไตยหรือไม่? คำตอบก็คือ "ใช่" และ "ไม่ใช่"

ประชาธิปไตยในที่นี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ระบอบการปกครองที่มีรัฐบาลจากระบอบประชาธิปไตยสลับกับคณะรัฐประหาร แต่ยังรวมไปถึงแง่มุมอื่นๆด้วย ซึ่งประเด็นที่เป็นปัญหาหนักคือ ความไม่เป็นประชาธิปไตยด้านเนื้อหา ที่รายงานเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ของกระทรวงวัฒนธรรมก็ระบุไว้ว่า ไทยมี "ปัญหาด้านกฎหมายการตรวจพิจารณาจัดประเภทหรือเซนเซอร์ภาพยนตร์ ขณะนี้ยังใช้ทั้งระบบเซนเซอร์และระบบจัดประเภท (Rating) ทำให้เกิดผลกระทบทางด้านการตลาด" และที่สำคัญคือ เจ้าหน้าที่เหล่านี้ประกอบไปด้วยข้าราชการและนักวิชาการ ดังนี้

1. ข้าราชการตั้งแต่ระดับ 8 ขึ้นไป จาก สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
2. นักวิชาการตั้งแต่ระดับ 7 ขึ้นไป จาก สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
3. นักวิชาการตั้งแต่ระดับ 7 ขึ้นไป จาก กลุ่มภาพยนตร์และวีดิทัศน์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
4. นักวิชาการตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป จาก สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
5. นักวิชาการตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป จาก กลุ่มภาพยนตร์และวีดิทัศน์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ



Insects in the Backyard - Trailer
WFFBKK
6 YEARS AGO


จะเห็นว่าทางการไทยไม่ให้การสนับสนุนหนังไทยและคอยเซนเซอร์"สิ่งที่ไม่ถูกต้องตามจริยธรรม" เพราะเรามีแต่คนที่อยู่กับกฎหมายและกฎเกณฑ์ในตำรา แต่ไม่มีคนที่"เข้าใจ"หนังและอุตสาหกรรมหนัง ขณะที่เกาหลีใต้จะมีคณะกรรมการภาพยนตร์ (KOFIC) ที่มีคนทำงานหรือมีความเข้าใจวงการภาพยนตร์อยู่ด้วย เป็นผู้พิจารณานำงบประมาณมาลงทุนเข้ากองทุนภาพยนตร์ พิจารณาสนับสนุนภาพยนตร์ และพัฒนาสคริปต์เพื่อนำไปทำเป็นหนังต่อไป แน่นอนว่า เกาหลีใต้ก็มีการเซนเซอร์หนังเหมือนกัน เช่นตอนที่หนังสารคดีเกี่ยวกับเรือเซวอลล่ม The Truth Shall Not Sink With Sewol ที่รัฐบาลเกาหลีใต้ถูกวิจารณ์อย่างหนัก แต่โดยทั่วไปเกาหลีใต้ไม่ได้ห้ามทำเรื่องนู้นเรื่องนี้ไปเสียหมดเหมือนของไทย

ไทยมักมีปัญหากับหนังที่มีเรื่องเกี่ยวกับพระสงฆ์ ทหาร ตำรวจ จะทำเรื่องเพศก็ไม่ได้ อะไรที่ขัดกับศีลธรรมก็มีปัญหาไปเสียหมด ทั้งที่ก็มีระบบจัดเรตติ้งอยู่แล้ว ถ้าอายุเกิน 18 ปีแล้วไม่มีวิจารณญาณอะไรเลยจริง ต้องให้ข้าราชการระดับสูงๆมาเป็นคนคิดแทนให้ก็ถือว่า ประเทศไทยเป็นรัฐล้มเหลวที่ผลิตทรัพยากรมนุษย์ที่ไม่มีคุณภาพเลย หนังที่ชาติอื่นเขาได้ดูกันนานมากแล้วและได้รับคำชมมากมายอย่าง Insects in the Backyard ของพี่กอล์ฟ ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ก็ไม่ได้เข้าฉายในไทย หนังเรื่อง นาคปรก ของภวัต พนังคศิริ ก็ต้องรอ 3 ปีกว่าจะได้เข้าโรง ทั้งที่เนื้อหาก็แค่โจรปลอมตัวมาเป็นพระ ศาสนาจะขัดเกลาจิตใจได้ไหม? หรือหนังเรื่อง อาบัติ ก็ต้องเปลี่ยนชื่อเป็น อาปัติ เพราะมองว่าเนื้อหาไม่เหมาะสม ทั้งที่จริงๆแล้วหนังมีแนวคิดล้าหลังที่โทษว่า พระกับสีกามีความสัมพันธ์กัน คนที่บาปหนักคือผู้หญิง ซึ่งน่าเศร้าที่สมัยก่อน(ช่วง 2530s)เรามีหนังแบบ "อย่าบอกว่าเธอบาป" "ช่างมันฉันไม่แคร์" "หย่าเพราะมีชู้" เป็นต้น ที่มีเนื้อหาค่อนข้างแรง(สำหรับสมัยนั้น) อุตส่าห์บุกเบิก ฝ่าเสียงวิจารณ์ของฝ่ายอนุรักษ์นิยมมาได้ แต่ยุคนี้กลับไม่ยอมก้าวต่อไปข้างหน้า และในเมื่อแตะเรื่องอะไรไม่ได้เลย หนังไทยจึงต้องกลับไปอยู่ที่หนังรัก ตลก ผี ทั้งผู้กำกับและค่ายหนังไม่ต้องปวดหัวมาต่อสู้อะไรกับกองเซนเซอร์



Nước 2030 - CGV Cinemas Vietnam - Trailer
CGV CINEMAS VIETNAM
2 YEARS AGO

ทั้งหมดนี้ไม่ได้ต้องการจะสื่อว่า หนังไทยจะไม่มีวันเจริญได้ถ้ายังมีการรัฐประหารอยู่บ่อยครั้ง แต่จะสื่อว่า ต่อให้มีรัฐบาลจากการเลือกตั้งอีกกี่ชุด หนังไทยไม่มีวันเจริญได้ ถ้าคนที่ทำงานเกี่ยวกับกับภาพยนตร์ยังมีความคิดที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ต้องทำอะไรอยู่ในกรอบ ในขนบเดิมๆ ความล้าหลังไม่เปิดพื้นที่ให้ความคิดใหม่ๆกับภาพยนตร์ หากรามองไปที่เพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม ประเทศคอมมิวนิสต์ที่แต่ก่อนมีแต่หนังสงคราม กลับพัฒนาวงการหนังขึ้นมาได้อย่างก้าวกระโดด เพราะรัฐบาลเวียดนามเปิดพื้นที่ให้คนทำหนังได้พูดถึงเรื่องต่างๆ รวมถึงปัญหาสังคมด้วย หนังเวียดนามหลายเรื่องจึงมีพลอตแปลกๆเช่น NUOC 2030 หนังไซไฟที่จินตนาการว่า ปี 2030 น้ำจะท่วมโลก เวียดนามจะจมไปครึ่งหนึ่ง จะเกิดปัญหาอะไรบ้างสอดแทรกไปกับเรื่องราวความรัก เป็นต้น

อีกหนึ่งอุปสรรคใหญ่ของวงการภาพยนตร์ไทยก็คือ โรงภาพยนตร์ที่เป็นผู้บอกว่า หนังเรื่องไหนขายได้หรือขายไม่ได้ และมักบอกว่า หนังตลก หนักรัก หลังผีขายได้ ซึ่งส่วนหนึ่งมันก็จริง แต่หลายครั้งหนังตลก หรือหนังผีที่เห็นแค่ตัวอย่างหนังก็รู้แล้วว่าเป็นหนังราคาถูกที่ไปดูแล้วจะต้องเสียดายตังค์แน่ๆ และรายได้ก็แย่มากไม่ผิดคาด แต่หนังพวกนี้ก็ยังเข้าโรงได้ ในขณะที่หนังแนวอื่นต้องดิ้นรนมากกว่าจะได้ฉาย และยังไม่มีการโปรโมตอะไรมากมายเท่าหนังราคาถูกบางเรื่อง กว่าเพื่อนจะมาบอกว่าหนังดีหนังสนุก หนังก็ออกโรงไปแล้ว





ตัวอย่าง นาคปรก (Official Tr.)
SAHAMONGKOLFILM INTERNATIONAL CO.,LTD
7 YEARS AGO


บางคนกำลังแย้งว่า ไทยก็มีหนังดีๆได้รางวัลมี เช่น หนังของพี่เจ้ย อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุเช่น หนังของพี่เจ้ย อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ที่เพิ่งมีหนัง 3 เรื่องติดอยู่ในโผรายชื่อหนัง 100 เรื่องที่ดีที่สุดในศตวรรษที่ 21 ของบีบีซี ได้แก่เรื่อง ลุงบุญมีระลึกชาติ (อันดับ 37), สัตว์ประหลาด (52) และแสงศตวรรษ (60) แต่หนังดีๆคนไทยไม่ได้ดู ถ้าได้ดูก็เข้าไม่ถึง ไม่ชอบ ไม่ทำกำไร พร้อมโทษว่า คนไทยไม่ดูหนังดี ส่วนอีกกลุ่มก็ชอบโทษว่า คนไทยไม่ช่วยหนังไทย ไม่ดูหนังไทย

ประการแรก ด้วยราคาตั๋วหนังที่เท่ากัน ถ้าหนังไทยไม่น่าดูเท่าหนังฮอลลีวูด หนังเกาหลี หรือหนังชาติอื่น เราจำเป็นต้องนั่งทนอยู่ในโรงหนังหลายชั่วโมงเพื่อเชื่อคนไทยด้วยกันด้วยหรอ? คนที่พูดแบบนี้คือคนที่ดูถูกคนไทย คิดว่าผู้กำกับ คนเขียน และทั้งองคาพยพที่ทำงานในวงการภาพยนตร์ไทยไม่มีทางพัฒนาฝีมือให้ทำหนังได้ดีไปกว่านี้ และคนดูก็ไม่คู่ควรกับหนังที่ดีกว่านี้ เพราะการแข่งขันในตลาดทำให้ผู้ผลิตต้องพัฒนาสินค้าของตัวเองให้ไปสู้กับคนอื่นเขาได้ ต้องมีพลอตที่แข็งแรง บทที่ดี ถ่ายสวย ค้นข้อมูลที่จำเป็นกับหนัง คอสตูมถูกที่ถูกทางถูกยุคสมัย ฯลฯ ถ้าหนังทำออกมาดี คนถูกปากต่อปาก รีวิวในโซเชียลมีเดีย ก็มีคนแห่ไปดูเอง เหมือน Train To Busan ที่ช่วงแรกๆคนนึกว่าจะเป็นหนังซอมบี้ไก่กา จนคนบอกว่าสนุกมากดีมากก็แห่กันไปดู หรืออย่างหนัง "ผู้บ่าวไทบ้าน อีสานอินดี้" ที่ตอนแรกไม่เข้าโรงหนังในกทม.ด้วยซ็ำ แต่กระแสแรงมากในต่างจังหวัด จนต้องเข้าโรงกทม.



ลุงบุญมีระลึกชาติ Uncle Boonmee trailer HD YouTube
ธนภัทร สายเสมา
2 YEARS AGO


ประการที่สอง พี่เจ้ย อภิชาติพงศ์หรือผู้กำกับคนอื่นที่ต้องการทำหนังดี เข้าถึงยาก ก็มีสิทธิ์ทำหนังแบบนั้นต่อไป และเชื่อว่าเขาเลือกแล้วว่าจะมีคนเข้าไม่ถึงหนังเขาเยอะ ส่วนคนที่เข้าไม่ถึงหนังพี่เจ้ยก็ไม่ผิดเลย หลายคนมีสิทธิ์ชอบหรือไม่ชอบ ซึ้งหรือไม่เข้าใจกับศิลปะชิ้นนึง แต่วงการหนังไทยไม่ได้มีพี่เจ้ยคนเดียว และไม่ควรพึ่งพาพี่เจ้ยในการเป็นหน้าเป็นตาประเทศอยู่คนเดียว เราควรมีผู้กำกับที่ดี ทีมเขียนบทที่ดี และทีมงานส่วนอื่นๆที่ดี นอกเหนือไปจากพี่เจ้ย มีให้เยอะขึ้น หลากหลายขึ้น เพื่อผลิตหนังที่ดีในหลากหลายแนว

หนังที่ดีไม่จำเป็นต้องอินดี้หรือเข้าถึงยาก หนังที่ดีและสนุกก็สามารถเป็นหนังตลาดที่คนทั่วไปเข้าถึงได้ Train To Busan เป็นหนังที่ดูสนุก ทั้งที่หนังซอมบี้ถ้าทำไม่ดีก็แป้กไปเลย แต่เรื่องนี้สนุก ได้รับคำชมมากมาย และยังทำรายได้ดีมากอีกด้วย เรื่อง The Handmaiden ตอนแรกก็เหมือนจะไม่มีใครพูดถึง และดูจะเฉพาะทาง เป็นพวกที่ชอบหนังดาร์กๆแบบฉบับพักชานวุกเท่านั้น จนกลัวว่าจะอยู่ในโรงไม่ถึงสัปดาห์ กลับมีคนบอกกันปากต่อปาก แม้จะจำกัดโรง จะดูทีต้องเข้าเมือง ไปดูกันคนละหลายรอบ และหนังที่สนุกก็ไม่จำเป็นต้องมีซีจีสวยงาม ไซไฟจริงจัง หนังดราม่าดีๆก็สามารถขายได้เช่น The Danish Girl, Forrest Gump, หรือ Carol

ดังนั้น สิ่งที่จะปลดปล่อยวงการหนังไทยออกจากวังวนเดิมๆ ก็คือ เสรีภาพทางความคิดของผู้ผลิตภาพยนตร์ และการเคารพสิทธิของผู้อื่นในการเลือกสิ่งที่ดีให้กับตนเอง ไม่ใช่การตีกรอบให้ตัวเอง ดูถูกตัวเอง หรือโทษคนอื่น


Misunderstanding the Internet, Misunderstanding the Users: Cases from Thailand





By Thaweeporn Kummetha
Source: Kyoto Review of SE Asia

The Internet led to exciting claims and predictions about how it could change the world, one area of which was in terms of democratisation. Academics in the 1990s predicted that with its decentralized, uncontrolled and anonymous nature, the Internet would help liberate people living under autocratic regimes. The prospect of the Internet as a liberating tool was hyped during the Arab Spring and the “Green Revolution” when the media reported of the Iranians using Twitter to mobilise protests against dictatorship.

Recently, James Curran, Natalie Fenton and Des Freedman from Goldsmiths, University of London, debunked several myths about the Internet in the book Misunderstanding the Internet (Curran et al., 2012). One of the myths which was declared unsound is the democratising power of the Internet. Curran et. al. argue that the proclaimed nature of the Internet as being uncontrollable is untrue; autocratic regimes know how to control the Internet as can be seen in China and Saudi Arabia.

When social media is frequently used in political campaigning, Curran et. al. explain that its primary function is expressive, rather than “recasting or regenerating the structures that uphold” the status quo. This tool for expression does not necessarily lead to democratisation. Real democratisation requires real concrete participation from the people.

Moreover, most of the explanations as to why the Internet fails to generate freedom refer to the social context, which predates the Internet. They, however, go only as far as saying that mobilisation initiated on the Internet needs corresponding offline factors; these offline institutions or systems will be the final factor in determining the success of mobilisation. Curran et al. explain that the Internet merely energises activism, but there are other political factors which are more influential in the revitalization of democracy.

The important presumption on which both sides of the debate base their arguments is that Internet users have a democratic spirit and aspire to see their society more liberal, just and equal. Authoritative regimes on the other hand are the ones who suppress freedom. As Duncan McCargo points out, the discussion about social media and democratisation could be termed as the “censorship paradigm,” which sees “a zero-sum contestation between state power (seeking to suppress information and freedom of expression) and heroic citizens/journalists who aim to push back the censors and open up more space for the debate of sensitive and salient political issues.” 1It might be hard to imagine Internet users as the ones aspiring for less freedom, less equality, and less democracy, but they do exist and even play important roles in some countries. Cases from a Southeast Asian nation show a serious deficit in the attempts to understand the Internet in this aspect.

Thailand is a country where democracy has not taken root and whose people are highly polarised. The author has studied cases from 2007-2014 which show that social media functions as anti-social media and is used for illiberal and offensive purposes, and even to promote partisan political stances. The cyberspace of Thailand from 2010-2013 was overwhelmed with what was termed “political cyber bullying”, meaning the posting of personal information and rumor on the Internet in a way that is intended to identify, defame and humiliate the victims because of their political views. Centering on the issue of the monarchy, the practice of political cyberbullying has had serious consequences: one student was denied a place at university; two victims had their employment terminated in Thailand, and; at least six people faced legal charges.

Since the military coup of 19 September 2006, Thailand has been characterised by deeply divided politics. Bangkok has been regularly rocked by mass street protests from either the Yellow Shirt supporters, who mainly are pro-establishment, royalist, and anti-election, and the Red Shirts, who mainly are anti-establishment and supporters of former premier Thaksin Shinawatra. The royalists’ 2008 protests culminated in the closure of Bangkok’s airport and its 2014 protest led to a military coup which toppled the government of Yingluck Shinawatra, sister of Thaksin. Red-Shirt supporters staged mass demonstrations in 2009 and 2010, which were violently suppressed by the then government. The Yellow Shirts have accused Thaksin and the Red Shirts as being an “anti-monarchy movement,” an allegation that the accused cannot counter other than by denying it because the alleged crimes are punishable under Article 112 by up to 15 years in jail. After King Bhumibol Adulyadej endorsed the coup in 2006, Thais have been overwhelmed with hunger for information and eagerness to express their thoughts about the monarchy. This is where new media came in. The Internet provides an uncensored platform for the anti-establishment to discuss the taboo topic of the monarchy when mainstream media dare not to touch the issue (see Kummetha 2012). The first recorded case of political cyberbullying involved users of the progressive, anti-establishment Same Sky web forum, who were bullied in 2007, because of their provocative comments about the monarchy. Chotisak On-Soong, one of the victims, had to move out from his apartment and change his mobile phone number after his personal information was revealed.



In Thailand, political bullying appears not only online, but also at rally sites. Source: Prachatai


The big wave of offensive practices came when the pro-elite government brutally cracked down on the Red-Shirt protesters in central Bangkok in 2010 when than 90 people were killed. Some Red Shirts directed their anger at the monarchy on Facebook and were bullied in return by the pro-establishment side. Vonvipa Kedjulome was reportedly ousted from her job after the royalists launched a bullying campaign against her. The campaign on Facebook urged people not only to harass her through all channels but also to contact her employer and report her ‘disloyal’ behavior. In another case, royalists launched an online bullying campaign against a high-school student using the name ‘Kanthoop’ (joss stick) and pressured universities not to admit her. The campaign went so far as offline royalist protests at a university. She passed the entrance examination to four universities, but three denied her a place due to social pressure (Kummetha, 2014).

Political cyberbullying in Thailand became more organized and systematic when a group called “Social Sanction” (SS) was founded and operated mainly on Facebook and Youtube around 2010-2013. Proclaiming itself as a private lèse majesté prosecutor, its systematic techniques of political cyber bullying created a climate of fear throughout Thai cyberspace. Since Facebook encouraged the sharing and circulation of what was trending, especially in the form of photos, the SS’s hate speech, degrading comments, and abhorrentlydoctored photos of the victims were widely shared and circulated. An SS co-founder, asked not to be named due to privacy concerns, told the author that by “exposing bad people,” as the SS preferred to call their activities, they helped reinforce the lèse majesté law, which was loosely enforced by the Thai police. Such exposure also brought cases to public attention and led to legal prosecution. Throughout the three years of its existence, the SS bullied more than 50 individuals. Some of the victims were merely Red Shirt supporters and were not involved in lèse majesté (see TNN, 2012).



The Social Sanction Facebook page captured in June 2013


Subsequently in 2010, anti-establishment groups adopted similar tactics to harass those believed to be guilty of online bullying, for example, by creating spoof Facebook pages/accounts using the names and photos of known right-wing royalists to disseminate messages defaming the monarchy. Later, Anti-Social Sanction was founded by a group of SS victims to uncover the SS members as a means of revenge and deterrence. Surachat Singhaniyom, an Anti-SS core member, told the author that more than 50 Facebook avatars were created to infiltrate the secret SS Facebook group. Due to their more sophisticated tactics, Anti-SS exposed greater amounts of alleged personal information of their victims. For example, names of parents, ID card numbers, and sometimes also the ID card numbers of the victims’ parents were exposed. The SS took revenge by uncovering Nithiwat Wannasiri, a core Anti-SS member, and filed a lèse majesté complaint against him. Due to the legal complaint, the Anti-SS decided to shut down their page (TNN, 2012).



Bullying by Social Sanction. Text in white in the middle says “The face of the evil from hell who likes to defame (the king)!”


Other tactics to silence criticism against the King include a campaign to manipulate the abuse report system of Facebook and Youtube in order to have the anti-establishment and lèse majesté pages/profiles shut down. A Facebook page called Report Association of Thailand, for example, produced the most thorough and credible graphic manual for this purpose. The page also organized what is called “bomb reports” of target Facebook pages/profiles by multiple users at the same time, ranging from a few hours to a week or a month. This tactic rests upon the assumption that the more reports in a short-time period, the faster a page will be blocked (TNN, 2012).



Left: the real Facebook profile of Bussababun Komes showing that she joined pro-monarchy activities. Right: a spoof Facebook page of Bussababun which posted content defaming the King. (Photo courtesy of T News)


Even on Change.org, a platform built on the idea of e-democracy, has been used for illegitimate purposes. For example, in 2014 more than 20,000 people signed their names in support of a campaign to pressure the UK government to forcibly extradite a lèse majesté suspect to face prosecution in Thailand (see the petition created by Tubthong: http://chn.ge/1IDtQxW ). Campaigns aimed at censoring differing voices can be found from time to time on Change.org Thailand.

One of the reasons why such anti-democratic uses of social media grow in Thailand is because the right wing feels that Thai civilian governments have not been serious enough in cracking down on dissidents. They use the Internet as the platform to privately prosecute Red Shirts and at the same time pressure the government to follow up cases, and on many occasions, the state authorities have done just that. A survey conducted in 2014 by the author shows that political cyber bullying leads to a climate of fear and self-censorship among Thai Internet users. Most importantly, it shows that the Internet users can themselves be the champions of censorship.

Evidence from Thailand show that anti-democracy and anti-free speech Internet users do exist and discussion about social media and democratisation has overlooked them; an over-simplistic view sees users as stereotypically pro-democracy.

More studies should be conducted in other societies with divisive, on-going conflicts, such as Thailand’s Deep South and Myanmar, where the author has found similar cases. In Myanmar, political cyberbullying tactics were mostly deployed by the anti-Muslim ultra-nationalists during the campaign of ethnic cleansing against Rohingya Muslims in Rakhine State in western Myanmar around mid-2012 to 2013. The targets of online campaigns are not only Muslim Rohingya but also any Muslim from other ethnic groups, Burman human rights defenders, and Burmans who condemn such persecution (Kummetha, 2013).

As can be seen, all qualities which were acclaimed as facilitators of pro-democracy activism also facilitate campaigns with anti-democratic purposes:

Anonymity: Royalists can disguise themselves under pseudonyms and bully the alleged anti-monarchists without accountability or responsibility;
Connectivity: The like-minded right wing get together online and become a strong force against free speech;

     Autonomy: Internet users feel that they should take matters into their own hands, rather than wait   for slow state mechanisms.

The bullying in the end has the air of e-governance when royalists call on the state for the victims to be prosecuted.

To sum up, the Internet can strengthen activism which has illiberal as well as liberal goals. Yet Internet is content-blind. Its users, however, are the ones who determine its purpose.

.....

Thaweeporn Kummetha

Thaweeporn Kummetha is a Bangkok-based journalist at Prachatai online newspaper and head of Prachatai’s English website ‘Prachatai English’, where she writes mainly on human rights and Thai politics. She is the editor of Thai Netizen Network’s Netizen Report from 2011-2014. In 2013, Thaweeporn was invited to speak at Google Ideas’ forum in New York on political cyberbullying in Thailand and Myanmar.

YAV, Issue 20, Kyoto Review of Southeast Asia. September 2016

References:

Curran, James; Natalie Fenton and Des Freedman (2012). Misunderstanding the Internet. London: Routledge.
Kummetha, T. (2012). “The internet in Thailand: The battle for a transparent and accountable monarchy”. In Global Internet Society Watch 2012 Internet and Corruption. The Association for Progressive Communications.
_____. (2013). “Anti-Social Media? #Cyberpersecution Trending.” Google Ideas. New York.
_____. (2014). “”Witch hunts” at rally sites and on the Internet.” Retrieved from Prachatai English (23 January): http://prachatai.org/english/node/3837
TNN. (2012). “Netizen Report 2011.” Bangkok: Thai Netizen Network.


Notes:
See the news here: http://www.manager.co.th/iBizchannel/ViewNews.aspx?NewsID=9550000147248


"ทำไมถึงมีการตายในสถานที่ราชการ" ฟังคลิปเสวนา “กฎหมายป้องกันทรมานกับความยุติธรรมที่รอคอย” + Infographic เรื่อง ต่อต้านการทรมานเพื่อให้รับสารภาพ


ooo
ooo

ooo




CPR จนตับแตก สงสัยว่า ท่าปั๊มหัวใจคงพิเศษมาก น่าจะพิเศษเพราะกดด้วยเข่าอย่างแรง อาจมีการใช้ส้นเท้าช่วยกระตุ้นหัวใจ ใช้หมัดเข้าข้างลำตัวจนกระทบตับ เพื่อหลบการสร้างรอยช้ำนอกร่มผ้า

เมื่อปั๊มหัวใจกันจนหนำใจแล้ว จากนั้นก็เอาถุงเท้ามาพันกันเป็นก้อนเพื่ออุดจมูก จึงทำให้ตายเพราะตับแตก และขาดอากาศหายใจ ระหว่างปั๊มหัวใจอย่างแรง

ลองหา DNA แฝงที่ถุงเท้า เทียบกับเจ้าหน้าที่ DSI ดูสิ

แถมยังสวดคืนเดียวแล้วเผาเลย พฤติการณ์เกิดขึ้นอย่างน่าสงสัย ราวกับกลัวว่าถ้ารอให้แพทย์ชันสูตรต่อ หรือรอไปอีกวันศพจะปรากฎรอยช้ำเขียว (ปกติตายแล้วศพจะไม่ปรากฎรอยเขียวช้ำไม่เหมือนศพที่ผูกคอตายแล้วเชือกรัดแน่นๆ/ สมาชิกมาท้วง)

รองอธิบดี มาแถลงเรื่องตับแตก
http://www.thairath.co.th/content/708375

แล้วอธิบดี DSI ที่แถลงว่าผูกคอตาย หายไปไหน

ปั๊มหัวใจถ้าแรงเกินไป ก็อาจซี่โครงหักได้
แต่นี่ตับแตก ตับอยู่ใต้กระดูกซี่โครงลงมาหลายนิ้ว
สงสัยว่าจะปั๊มด้วยลำแข้ง

ใครเข้าเวร ใครเข้าพบผู้ต้องหา ต้องมีบันทึก
ถ้ากล้องวงจรปิดที่ DSI เสีย งานนี้ไม่ต้องหาฆาตกร
เพราะฆาตกร น่าจะ เป็นคนของ DSI นั่นแหละ

เอี๊ยด ตายวันเดียวเผา
หยอง ตายก่อนเผา ไม่มีคนเห็นศพ
จนท.ที่ดิน ตายวันเดียวเผา

กูต้องได้ 100 ล้าน จากทักษิณแน่ๆ


ooo




https://www.youtube.com/watch?v=jt4Lhd5HMMY

"กฎหมายป้องกันทรมานกับความยุติธรรมที่รอคอย"

Amnesty International Thailand

Streamed live on Jun 29, 2016 

เสวนา “กฎหมายป้องกันทรมานกับความยุติธรรมที่รอคอย”
วันที่ 29 มิถุนายน 2559 เวลา 13.00 น. – 17.00 น.
ณ ห้องกมลทิพย์ 1 โรงแรมเดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ

เวทีเสวนาดังกล่าวจะเป็นพื้นที่ในการรับความรู้ และคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการทรมานสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ผู้นำชุมชน และผู้เสียหาย อีกทั้งจะเป็นการส่งเสริมการมีส่วมร่วมระหว่างวิทยากรรับเชิญและผู้เข้าร่วมงานด้วย

วงเสวนาประเด็น “ฟังเสียงผู้รอดชีวิตจากการทรมานและผู้เยียวยา” ดำเนินรายการโดย ประทับจิตร นีละไพจิตร

วงเสวนาประเด็น “การป้องปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหายเป็นไปได้หรือไม่?” ดำเนินรายการโดย ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน ผู้ดำเนินรายการสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5

กล่าวปิดงาน โดย โลรอง เมยอง รักษาการผู้แทนระดับภูมิภาคของสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ooo


 

https://www.youtube.com/watch?v=EJNEulIyvo0

Infographic เรื่อง ต่อต้านการทรมานเพื่อให้รับสารภาพ 

Sawita Sanguanrattanachot

Published on Mar 28, 2015 

วิชา Animation Design III ICT : Silpakorn 13550097 นางสาวกุลณัฐ อนันต์วุฒิสมบัติ 13550167 นางสาวนันทัชพร มาตราช 13550224 นางสาวศวิตา สงวนรัตนโชติ 13550237 นางสาวสริศดา วิบูลย์มงคลชัย นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร 

เอ็นจีโอ.ใต้ หนักใจ"รัฐบาลทหาร"ไม่จริงจังแก้ปัญหาสิทธิชุมชน




https://www.youtube.com/watch?v=KQDwBb31_8o

เอ็นจีโอ 4 ภาคเตรียมหารือ ขับไล่"ประธานกสม."อ้างขาดสำนึกด้านสิทธิมนุษยชน



Published on Aug 29, 2016
กรณีที่ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือ กสม.ได้จัดเวที กสม.ภาคใต้ ครั้งที่ 4 ขึ้นที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ระหว่างวันที่ 23-24 สิงหาคมที่ผ่านมา ระหว่างปิดการประชุมวันสุดท้าย นายวัส ติงสมิตร ประธาน กสม.ไม่อนุญาตให้มีการอ่านแถลงการณ์ปิดการประชุมของเครือข่ายประชาชนจากการละเมิดสิทธิชุมชนภาคใต้ โดยอ้างว่าไม่ได้ประสานไว้ก่อนและให้อ่านแถลงการณ์นอกห้องประชุมเท่านั้น เป็นเหตุให้องค์กรเครือข่ายประชาชนภาคใต้ 58 องค์กรวอลค์เอ้าท์จากห้องประชุม
นายสมบูรณ์ คำแหง เลขาธิการคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ ให้สัมภาษณ์ Thaivoimedia (ตอนที่ 1 ) เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ประธาน กสม.ควรจะมีท่าทีและวิธีคิดที่จะเอื้อให้เกิดพื้นที่การพูดคุยปัญหาการละเมิดสิทธิ ไม่ใช่ทำตัวปิดกั้นเช่นนี้ เป็นท่าทีที่ขาดวุฒิภาวะ ไม่น่าเชื่อว่าเป็นประธาน กสม. แทนที่จะยอมรับผิดกลับออกคลิปมาแสดงทัศนคติเคลือบแคลงสงสัยในเครือข่ายประชาชน ฟังประหนึ่งว่ามีเจตนาที่จะทำลาย กสม.ทั้ง ๆ เนื้อหาที่จะแถลงการณ์เป็นผลดีต่อกสม.ด้วยซ้ำ ซึ่งท่าทีแบบนี้เคยเกิดในเวทีภาคอีสานและภาคอื่น ๆ มาแล้ว ดังนั้น เครือข่าย 58 องค์กรในภาคใต้จะหารือกับเครือข่ายเอ็นจีโอทั้ง 4 ภาค เพื่อเตรียมเคลื่อนไหวให้ ประธาน กสม.ทบทวนบทบาทตัวเองและให้มีการเปลี่ยนตัว ประธาน กสม.รวมทั้ง เสนอให้ปรับเปลี่ยนการทำงานของ กสม.ด้วย ซึ่งจะเริ่มเคลื่อนไหวอย่างชัดเจนในเรื่องนี้เร็วๆ นี้ ( ตอนที่ 2 ตอนจบ ...นายสมบูรณ์ คำแหง จะพูดถึงภาพรวมของสิทธิชุมชนที่ถูกละเมิดในภาคใต้ รวมทั้งทำไป เอ็นจีโอ.ภาคใต้จึงไม่เคลื่อนไหวเรื่องการเมือง.. โปรดติดตาม )

ooo

เอ็นจีโอ.ใต้ หนักใจ"รัฐบาลทหาร"ไม่จริงจังแก้ปัญหาสิทธิชุมชน



https://www.youtube.com/watch?v=8nKlFvRCf60

เอ็นจีโอ.ใต้ หนักใจ"รัฐบาลทหาร"ไม่จริงจังแก้ปัญหาสิทธิชุมชน

jom voice

Published on Aug 30, 2016

นายสมบูรณ์ คำแหง เลขาธิการคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ ให้สัมภาษณ์ Thaivoimedia (ตอนจบ) เกี่ยวกับปัญหานโยบาย โครงการขนาดใหญ่ หรือโครงการพัฒนาที่รัฐบาลนำลงไปในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ว่า รัฐบาลทหารไม่จริงใจที่จะรับฟังและแก้ไขปัญหา ขณะเดียวกัน จะหวังพึ่งองค์กรสิทธิฯก็ไม่ได้ สุดท้่ายคงหวังพึ่งสื่อที่จะสะท้อนปัญหาของชุมชน และหวังว่าเมื่อมีรัฐบาลจากการเลือกตั้ง ปัญหาผลกระทบด้านสิทธิชุมชนจะได้รับความสนใจของรัฐบาลมากยิ่งขึ้น


สำหรับผู้รักหนังสือ... มรู้จักจักช่างซ่อมหนังสือ ไทย - ญี่ปุ่น เปลี่ยนหนังสือเก่าให้กลายเป็นหนังสือใหม่ (ชมคลิป)




https://www.youtube.com/watch?v=GoEpVYhNoHA

อาชีพนอกกระแส : ช่างซ่อมหนังสือ

TruePlookpanya Channel

Published on Aug 15, 2013

เชื่อมโยงทุกมิติการเรียนรู้คู่คุณธรรมกับ­ทรูปลูกปัญญา
https://www.facebook.com/trueplookpan...
http://www.trueplookpanya.com/tv


ooo

Wii Room: The Fascinating Repairmen. #013 "The Book"



https://www.youtube.com/watch?v=iSjI-BjrGLo

Wii Room: The Fascinating Repairmen. #013 "The Book"
.....
มันจะเก่งเกินไปแล้ว!! ช่างฝีมือญี่ปุ่นเปลี่ยนหนังสือเก่าให้กลายเป็นหนังสือใหม่กริ๊บ
เวป Cat Dumb

หนังสือเป็นสื่อสิ่งพิมพ์อันล้ำค่าที่มีวันเก่าและฉีกขาดได้ และเมื่อมันเสื่อมสภาพเราก็ไม่สามารถไปหาซื้อมาทดแทนได้ (หากมันตีพิมพ์มานานแล้ว) มันคงจะดีมากหากเราชุบชีวิตหนังสือเก่าๆ ให้กลายเป็นหนังสือใหม่ได้





ความคิดนั้นได้กลายเป็นจริงแล้วล่ะ เพราะที่ญี่ปุ่นมีชายคนหนึ่งที่ชื่อว่านาย Nobuo Okano เปิดร้านซ่อมหนังสือ Okano ในกรุงโตเกียว เพื่อให้เหล่าคนรักหนังสือที่มีหนังสือเก่าๆ ที่ไม่อยากจะซื้อใหม่ หรือเป็นหนังสือพิเศษมากๆ ได้นำเอาหนังสือเก่าๆ เยินๆ มาซ่อมให้เหมือนใหม่อีกครั้ง





นาย Nobuo ให้สัมภาษณ์กับรายการทีวีของญี่ปุ่นว่าเขาทำอาชีพนี้มานานกว่า 30 ปีแล้วไม่ว่าหนังสือคุณจะเก่าหรือฉีกขาดแค่ไหนเขาก็ซ่อมได้ (แต่คงไม่สามารถกู้คืนตัวอักษรที่ขาดหายไปได้)





ในตอนที่รายการโทรทัศน์ของญี่ปุ่นตามไปถ่ายรายการที่บ้านเขา นาย Nobuo ได้โชว์การซ่อมหนังสือพจนานุกรมภาษาอังกฤษ-ภาษาญี่ปุ่น ที่ลูกค้าได้รับมันมาตั้งแต่ตอนที่เขาเริ่มเรียนม.ต้นจนจบการศึกษา





หนังสือเล่มนี้มีสภาพเละเทะมาก ทั้งเป็นรอยพับย่นๆ ตรงมุมหนังสือ มีรอยแหว่งๆ ตามขอบ และตัวสันหนังสือเองก็แทบจะไม่เหลือกาวอยู่เลย แต่เขาอยากจะมอบหนังสือเล่มนี้ให้กับลูกสาวเพื่อใช้มันต่อในระดับมหาวิทยาลัย เขาเลยนำมันมาซ่อมที่ร้าน Okano





เมื่อนาย Nobuo เห็น ก็เริ่มนำหนังสือมาคลี่ออก และค่อยๆ แกเอามุมหนังสือที่พับย่นออกมาทีละหน้าๆ จากนั้นก็ใช้ลมร้อนเป่าไปที่มุมหนังสือ เพื่อให้มุมหนังสือตึงและไม่กลับมาย่นอีก





ต่อมาเขาก็เริ่มเฉือนขอบหนังสือออกทีละหน่อยๆ และดึงเอาหนังสือบางหน้าที่ขาดวิ่นเกินไปมาติดกาวเข้าไปอย่างระมัดระวัง ก่อนที่จะใช้เครื่องตัดกระดาษขนาดใหญ่ตัดให้ขอบหนังสือทั้งเล่มเท่ากันและติดหน้าปกเข้าไปใหม่เป็นอันเสร็จเรียบร้อย



















จริงๆ แล้วการชุบชีวิตหนังสือเองก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากเกินไปนะ
หากเราพอจะมีฝีมือหน่อยเราก็สามารถทำได้เช่นกัน


ความแตกต่างระหว่างเปรม โมเดล กับประยุทธ์โมเดล





อะไรคือเปรมโมเดล
.............

พาดหัวหนังสือพิมพ์หลายฉบับตรงกันว่า ความพยายามให้ พล.อ.ประบุทธ์ จันทร์โอชา มาเป็นนายกรัฐมนตรีหลังรัฐธรรมนุญ 2559 ที่ผ่านกาลลงประชามติลายพราง นั้นจะให้ "เปรมโมเดล" ที่เก้ือหนุนให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งรนายกรัฐมนตรียาวนานถึง 8 ปี 5 เดือน

ดู
วันชัยมาแล้ว! แนะบิ๊กตู่อย่าหลงตั้งพรรค
ยก’เปรมโมเดล’ อยู่8ปียาวๆไม่ต้องเลือกตั้ง
http://www.matichon.co.th/news/265029

เปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 – 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ซึ่งคาบเกี่ยกับการดำรงตำแหน่ง ผบ.ทบ. (1 ตุลาคม พ.ศ. 2521 -– 25 สิงหาคม พ.ศ. 2524)

เรามาดูกันว่า การดำรงตำแหน่งนายกรัฐในตรีของเปรม นั้นมีปัจจัยอะไรบ้าง

1. เปรมขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีภายใต้รัฐธรรมนูญ 2521 ที่บทเฉพาะกาล ที่มีอายุ 4 ปี (2522-2526) ให้อำนาจวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งเท่ากับ ส.ส.

2. เปรมขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อยังเป็น ผบ.ทบ. หรือว่ายังคงถือปืนอยู่ในมือด้วย และขาไม่ลอยจากกองทัพ

3. เปรมมีหลังพิงคือราชสำนัก ให้รอดพ้นวิิฤติการเมืองอย่างน้อย 2 ครั้ง

4. เปรมต่อายุราชการ 1 ปี (เกษีณอายุ ผบ.ทบ. 30 กันยายน 2523) ภายใต้เสียงคัดค้านจากพรรคการเมือง หลังจากนั้นหัวหน้าพรรค 4 พรรคถูกเรียกให้เข้าเฝ้าในหลวงและออกมาด้วย ข้อมูลใหม่ สนับสนุนให้เปรมเป็นนายกรัฐมนตรีและควบตำแหน่ง ผบ.ทบ.ต่อ

5. กบฎยังเติร์ก 1-3 เมษายน 2524 เปรมพร้อมพระบรมวงศานุวงศ์ ไปตั้งกองบัญชาการต่อต้านรัฐประหารที่โคราช

6. พรรคการเมืองใหญ่ สนับสนุนให้เปรมเป็นนายกรัฐมนตรี (ภายใต้การกดดันของกองทัพอีกต่อหนึ่ง)

7. ระบบการเลือกตั้ง/พรรคการเมือง ยังไม่ลงหลักปักฐานในสังคมการเมืองไทย การเลือกตั้งคือการหาพันธมิตรมาจัดตั้งรัฐบาลเพื่อให้เปรมเป็นนายก ไมไ่ด้เป็นการเสนอวิชั่นของพรรคกาเรมืองในการนำพาประเทศ

8. เปรมมีพลังของเทคโนแคตรทั้งระบบสนับสนุน

ทั้งหมดนี้ รัฐบาลคณะรัฐประหาร ของพล.อ.ปรุยุทธ์ จันทร์โอชา มีพร้อมมากน้อยเพียงใด
....

ความเห็นจาก ภัควดี วีระภาสพงษ์

9. เปรมไม่พูดมาก เลยได้ฉายา เตมีย์ใบ้
เปรมใช้เทคโนแครตเยอะ ไม่ได้ตั้งทหารคุมทุกกระทรวง
.....

ความแตกต่างระหว่างเปรม โมเดล กับประยุทธ์โมเดล

เปรม โมเดล
ราชสำนัก ซัพพอร์ท รัฐบาลเปรม

ประยุทธ์โมเดล
เปรม ซัพพอร์ท รัฐบาลประยุทธ์


Thanapol Eawsakul

ooo



https://www.facebook.com/KALALAND321/videos/863277417136375/




ย้อนรอยประวัติศาสตร์รัฐประหารไทย ปฎิวัติ 19 กันยา ยุทธการ ล้มทักษิณ เนื่องในโอกาสรำลึก 10 ปี รัฐประหาร 19 กันยา




https://www.youtube.com/watch?v=rW0YQxP5_C0&spfreload=10

22 ย้อนรอยประวัติศาสตร์รัฐประหารไทย ปฎิวัติ 19 กันยา ยุทธการ ล้มทักษิณ

thaitruthstory

Published on Nov 12, 2013

"เอกยุทธ อัญชันบุตร" คู่แค้นฝังหุ่นตลอดกาลของ "ทักษิณ ชินวัตร" เปิดฉากยุทธการล้มทักษิณเป็นเจ้าแรกๆ และทำต่อเนื่องมาตลอด เปิดเผยบ้าง ใต้ดินบ้าง แล้วแต่สถานการณ์จะอำนวย อย่างคราวก่อนก็เปิดประเด็นคาว "ว.5 ชั้น 7 โฟร์ซีซั่นส์" จนดังไปถึงระดับนานาชาติ ซึ่งคุ้มค่ามากเมื่อแลกกับ "หมัดเด็ดเสยปลายคาง"


ตัวอย่างสดๆ จากนครแทมป้า ฟลอริดา ดร.โสภณ ฟันธง โครงการถนนเลียบเจ้าพระยา. . .ไร้ค่า/ดันทุรัง คนจะหาว่าทำหวังเงินทอน?



https://www.facebook.com/dr.sopon4/videos/1005271446252108/

ตัวอย่างสดๆ จากนครแทมป้า ฟลอริดา ดร.โสภณ ฟันธง โครงการถนนเลียบเจ้าพระยา. . .ไร้ค่า/ดันทุรัง คนจะหาว่าทำหวังเงินทอน?

ทางเลือกอื่นที่ดีกว่าละลายเงิน 14,000 ล้านแบบที่รัฐบาลคิด เช่น

1 ทำเปนถนนคนวิ่งง่ายๆ ไม่เปลืองงบฯ แบบนครแทมปา
2 ทำเปนถนนขนาดใหญ่ เพิ่มพื้นที่จราจร แถมเปนเขื่อนกันน้ำท่วมแบบกรุงโซล นครฮานอย
3 ทำเปนจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวเฉพาะจุดแบบเดียวกับฮ่องกง เช่น บริเวณตรงข้ามวัดพระแก้ว
4 สร้างเปนกระเช้าชมวิว/ขนส่งมวลชนจากสาทร-ตลาดน้อย /ตลาดน้อย สะพานพุทธ
อย่าสร้างใหญ่ คนจะหาว่าหวังเงินทอน? โปรดอ่าน http://bit.ly/2bL4WDu

ดร.โสภณ พรโชคชัย

"ดา ตอร์ปิโด"บันทึกนักโทษ112 "คุก"คืนคนพิการสู่สังคม(ตอนจบ)




https://www.youtube.com/watch?v=rQrEVMALDGc

"ดา ตอร์ปิโด"บันทึกนักโทษ112 "คุก"คืนคนพิการสู่สังคม(ตอนจบ)

jom voice

Published on Aug 29, 2016

ดา ตอร์ปิโด"หรือ น.ส.ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล นักโทษคดี 112 ที่ศาลตัดสินจำคุก 15 ปีเมื่อ 8 ปีที่แล้วได้รับการปล่อยตัวหลังจากที่ได้รับพระราชทานอภัยโทษ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคมที่ผ่านมา ให้สัมภาษณ์ ( ตอนจบ ) Thaivoicemedia เกี่ยวกับ 8 ปีของชีวิตที่อยู่ในคุกว่า หลังการทำรัฐประหารครั้งล่าสุดกฎระเบียบในคุกเปลี่ยนไปมาก คนคุกถุกละเมิดสิทธิมากขี้น แออัดมากขึ้น ซึ่งหลังจากนี้ตนจะเข้าพบ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรมเพื่อจะให้มีการบริหารจัดการภายในคุกให้ดีกว่านี้ เพราะสโลแกนที่บอกว่า คุกจะทำหน้าที่คืนคนดีสู่สังคมนั้น ไม่จริง แต่กลับเป็นการคืนคนพิการสู่สังคมมากกว่าเพราะพิการทางใจ พิการร่างกายด้วยสภาพความเป็นอยู่ทีแออัด ส่วนตัวเองจะเริ่มต้นชีวิตใหม่ และจะเคลื่อนไหวต่อสู้บนเส้นทางนี้ต่อไป แต่จะยึดหลัก สันติ ปล่อยวาง ไม่คาดหวัง และไม่เครียด
.....


บันทึกนักโทษ112"ดา ตอร์ปิโด"ความ"อยุติธรรม"ในการพิจารณาคดี112 (ตอน2)



https://www.youtube.com/watch?v=szzZNGerDQw

บันทึกนักโทษ112"ดา ตอร์ปิโด"ความ"อยุติธรรม"ในการพิจารณาคดี112 (ตอน2)

jom voice

Published on Aug 28, 2016

ดา ตอร์ปิโด"หรือ น.ส.ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล นักโทษคดี 112 ที่ศาลตัดสินจำคุก 15 ปีเมื่อ 8 ปีที่แล้วได้รับการปล่อยตัวหลังจากที่ได้รับพระราชทานอภัยโทษ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคมที่ผ่านมา ให้สัมภาษณ์ ( ตอนที่ 2 ) Thaivoicemedia เกี่ยวกับอิสรภาพที่ได้กลับคืนมาอีกครั้งว่า นับจากนี้ไปจะรักษาอิสรภาพอย่างมีสติ และไม่คาดหวังบนเส้นทางการต่อสู้ หากคาดหวังมากหากผิดหวังจะทำให้เจ็บปวดไม่สบาย เดิมเคยคิดจะเป็นนักการเมือง และเป็น รมต.ยุติธรรมแต่ตอนนี้เลิกคิดแล้ว โดยเฉพาะการพิจารณาคดี 112 ที่เป็นสองมาตรฐาน กับฝ่ายตัวเองตัดสินอีกอย่างแต่ฝ่ายที่เห็นต่าง หรือเชื่อต่างจากตัวเองก็จะใช้ 112 เล่นงานเป็นเรื่องเศร้า และยืนยันได้ว่าตนเองไม่เคยมีความคิดที่จะล้มสถาบันกษัตริย์แต่มีความเห็นต่างเท่านั้นเอง และเชื่อว่า คนเสื้อแดงจำนวนมากที่ไม่มีความคิดที่จะล้มล้างสถาบันฯ หากใครคิดเช่นนี้ยืนยันได้เลยว่าไม่ใช่คนเสื้อแดง

ooo

บันทึกนักโทษ112 "ดา ตอร์ปิโด"คดีอุกฉกรรจ์-ถูกทำร้ายร่างกาย และโทษ"นั่งกัก"(ตอนที่1)



https://www.youtube.com/watch?v=YuswDh7KIBE&spfreload=5

jom voice

Published on Aug 27, 2016

"ดา ตอร์ปิโด"หรือ น.ส.ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล นักโทษคดี 112 ที่ศาลตัดสินจำคุก 15 ปีเมื่อ 8 ปีที่แล้วได้รับการปล่อยตัวหลังจากที่ได้รับพระราชทานอภัยโทษ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยได้ให้สัมภาษณ์ ( ตอนที่ 1 ) Thaivoicemedia เกี่ยวกับอิสรภาพที่ได้รับ และการดูแลนักโทษคดี 112 ในห้องขังว่า แม้จะดีใจกับอิสรภาพที่ได้รับแต่ก็ไม่มากนักเพราะชินกับชีวิตในคุกแล้ว แต่ก็ดีที่ได้เจอเพื่อนญาติพี่น้องและได้ทำอะไรเป็นอิสระมากขึ้น ส่วนการดูแลนักโทษ 112 เมื่อ 8 ปีที่แล้วจะหนักกว่าขณะนี้ ห้องขังที่กำหนดให้อยู่ได้เพียง 33 คนตามที่เขียนไว้ แต่มีผู้ต้องขังแออัดกันถึง 77 คน วันแรกที่เข้าไปจึงต้องนั่งตลอดทั้งคืน และด้วยโทษที่เป็นอุกฉกรรจ์เพียงคนเดียว จึงถูกลงโทษให้"นั่งกัก"เป็นเวลา 3 เดือน คือนั่งคนเดียว ไม่ให้คุยกับใคร และใครจะมาคุยก็ไม่ได้ ขณะเดียวกันก็โดนทำร้ายร่างกายจากขาใหญ่ในคุก 5-6 ครั้ง แต่ตอนหลังนักโทษ112 ไม่ถุกทำโทษให้นั่งกักอีก ( ตอนที่ 2 คุณดา ตอร์ปิโด จะพูดถึงการต่อสู้กับคดี 112 เพื่อพิสูจน์ถึงความอยุติธรรมในกระบวนการของศาลไทย แต่สุดท้ายต้องยอมขออภัยโทษเป็นเพราะอะไร ...โปรดติดตาม.)
หมายเหตุ - ผู้ที่ประสงค์จะให้การสนับสนุนขอเปลี่ยน paypal account เป็น paypal.me/JomPetchpradab - ขอบพระคุณอย่างสูง


Paris Seminar รำลึก 10 ปี การทำรัฐประหารล้มล้างรัฐบาลทักษิณ: “10 years of Politico-Social crisis in Thailand” Panel discussions 1. Causes and Consequence of the Crisis - 2. Ten years later, reaching an impasse





PARIS, 19 September 2016

10 Years of Thailand under military's coups!

19 กันยา 2559
พบกันที่กรุงปารีส

“10 years of Politico-Social crisis in Thailand”

Topic: Causes and Consequence of the Crisis.

Speakers:
     Giles Ji Ungpakorn
     Janya Yimprasert
     Dr. Oliver Pye
     Andrew MacGregor Marshall

Topic: Ten years later, reaching an impasse. 

Speakers:
     Dr. Somsak Jeamteerasakul,
     Dr. Pavin Chachavalpongpun
     Dr. Piyabutre Saengkanokkul

     Moderator: Eugénie Merieau

......


Project for Seminar on 10 Years of politico-social crisis in Thailand’

1. Rational

A deep political crisis has developed in Thailand over the last 10 years. This crisis is not only relevant in the context of Thai history but also in the context of a wider world history. Several unique events will be reviewed and potential outcomes discussed.

To understand the political situation during the last 10 years we need to go back to the previous coup d’état on September 2006 .That coup was the 11th coup in Thailand, since the democratic revolution in June 1932 changed Thailand from an absolute monarchy to the constitutional one. Most importantly is that this coup d’état overthrew a very popular elected government, led by PM Thaksin Shinnawatra. The majority of the people who had given this government a mandate were dissatisfied and this lead to conflicts and division in Thai society. Thai people roughly divided into two sides prodemocracy / anti-coup and anti-democracy / pro-coup, with both sides having their own colour symbols (Red shirts and Yellow shirts). This division exist everywhere across the country and has deeply affected both communities and families. The political struggle between these two camps has caused a serial political crisis to continue to this day.

In the last decade, the yellow shirts overthrew 4 elected governments, cooperated with two coups d’etat and blocked 3 general elections. The yellow shirts and aristocratic camp composed of, upper class, some middle class, most state apparatus (such as army, constitutional court, administrative court and justice court) and most media’s, adhere to fanatically protect the monarchy regardless of the consequences. Their activities include seizing the PMs Office for 3 months and also closing the international Suwannaphum airport. An advantage of judicial support means that yellow shirts are rarely held accountable for their activities

whereas the red shirts are jailed for minor infractions.

While the red shirt movement emerged from supporting an elected government and Thaksin Shinnawatra, they have grown into a large prodemocracy anti-coup group. They became the biggest people’s movement supporting democracy and campaigned against the undemocratic government of Abhiisit Vejajiva (as it was installed by the military regime). Even though the red shirts suffered from the loss of many lives, at the hands of the military, they continued to support prodemocracy (and pro Thaksin) parties and as a result Yingluck Shinnawatra became Thailand’s first female PM. Her government tried to conduct business as usual and implement policies that were mandated as part of the election campaign but they were hampered from the start and eventually paralyzed by the yellow shirts campaign of occupation and disruption.

The 2014 coup d’état established yet another dictatorial military regime, deja vu. The National Committee for Peace and Order (NCPO) not only violated the human rights of the Thai people but is also attempting to destroy the main political party and prodemocracy politicians and people’s movements. The NCPO created the motto “Bring back the happiness to the people and protect nation, religion, and king” and planned to establish the new regime which would permit the military to control the country and take the role of politicians away. The people have become only subjects not the citizens. The NCPO try to invent the unique dictatorial regime that matches to the Thai society, such as Thai democracy with sufficient economy, and demonstrate to the world that Thai junta is not a dictatorship. Then, the Thai people have no rights and liberty to express political opinions especially the critics against the junta and monarchy with this new oppressive regime.

That is why the human rights issues in Thailand are rated as very bad due to the increase of the political prisoners. Before the coup d’état, there were approximately 276 people who were arrested with the article 112 (lese majeste laws). It manifests clearly that there is a bigger movement against the monarchy by some red shirts’ groups which has been continuously suppressed by the aristrocratic camps for the past decade.

Therefore, the goal of this junta government is to devastate the progressive movement against the monarchy and dictatorship. Many of the Thai rebellions began to start the “Republican” movement to liberate Thailand from the Thai monarchy. That idea is the most sensitive issue that the junta doesn’t want anyone discuss so as not to degrade the stability of the monarchy. Then after the coup, they arrested more people including some student activists and they issued arrest warrants for many intellectuals, professors, activists, and some rural villagers who support democracy.

In conclusion the military dictatorship of NCPO is still strong ,the politico-social crisis still continue that no one know know the end.

Thus on September 2016 which is the 10th anniversary of the coup d'état we will organize a seminar on Thailand’s crisis at CCFD and Sciences Politiques in Paris.

2. The title of the conference

“10 years of Politico-Social crisis in Thailand”

3. Panel Discussions

Time: - 09.00 - 12.30

Topic: - Causes and Consequence of the Crisis.
Venue: - CCFD 4 Rue Jean-Lantier 75001

Speakers:
Giles Ji Ungpakorn
Janya Yimprasert
Dr.Oliver Pye
Andrew MacGregor Marshall


Time: - 16.00-1900
Topic: - Ten years later, reaching an impasse.
Venue: - Sciences Politiques 56 Rue Jacop 75006 

Speakers:
Dr. Somsak Jeamteerasakul,
Dr.Pavin Chachavalpongpun
Dr.Piyabutre Saengkanokkul

Moderator: Eugénie Merieau

4 , Outcome

- We hope that the European Community will realize and understand the gravity of the crisis in Thailand and will consider initiating more diplomatic intervention against the ruling dictatorship regime.

-Thai people who love democracy both in the Country and in Europe will understand the cause of the crisis.

ภรรยาเหยื่อคดี “อุ้มหาย” "พิณนภา พฤกษาพรรณ" ภรรยานายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ ฝากความหวังไว้กับกฏหมายฉบับใหม่



ภรรยาเหยื่อคดี “อุ้มหาย” ฝากความหวังไว้กับกฏหมายฉบับใหม่

ภรรยาของผู้สูญหายจากการบังคับสูญหาย หรือ “อุ้มหาย” เผยว่ามีความยุ่งยากในการดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่รัฐผู้กระทำผิด เนื่องจากที่ผ่านมายังไม่มีกฎหมายรับรองคดีนี้ ขณะที่นางอังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนชี้สังคมควรจับตาร่าง “พ.ร.บ.อุ้มหาย” เปิดกว้างให้คณะทำงานมีบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าร่วม

น.ส. พิณนภา พฤกษาพรรณ ภรรยานายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ นักต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดินทำกินของชาวกะเหรี่ยงที่หายตัวไปเมื่อปี 2557 เผยกับบีบีซีไทยว่ากระบวนการยุติธรรมของไทยในคดีการบังคับสูญหายยังมีความล่าช้า ผ่านมา 2 ปี แต่คดีของสามียังไม่คืบหน้า โดยศาลฎีกายกคำร้องที่ครอบครัวขอให้ศาลสั่งปล่อยตัวนายบิลลี่ ซึ่งครอบครัวเชื่อว่าเจ้าหน้าที่รัฐควบคุมตัวไว้ โดยพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นซึ่งชี้ว่าไม่มีมูลและพยานของฝั่งผู้ร้องไม่เห็นเหตุการณ์ และขณะนี้เรื่องยังอยู่ในกระบวนการไต่สวนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.)

นางอังคณา นีละไพจิตร ภรรยาของนายสมชาย นีละไพจิตร กล่าวว่าที่ผ่านมากระบวนการยุติธรรมไม่สามารถเอาผิดผู้ที่เกี่ยวข้องเนื่องจากที่ผ่านมาไทยไม่มีกฎหมายกรณีบังคับสูญหาย จึงอยากให้สังคมร่วมจับตาร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย ซึ่งกำลังอยู่ในการพิจารณาของกฤษฎีกา โดยจะต้องมีสาระสำคัญสอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยการทรมานและบังคับสูญหายขององค์การสหประชาชาติ เพราะถ้าหากมีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญบางประการไปก็จะทำให้ไม่สามารถมีประสิทธิภาพในการป้องกันกรณีดังกล่าวได้จริง

นางอังคณา ระบุว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือคณะกรรมการที่จะมีอำนาจและหน้าที่ในการติดตามและตรวจสอบคนหายได้ด้วย ไม่ใช่มีอำนาจแค่กำกับนโยบาย โดยจะต้องมีหลายภาคส่วน เช่นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเข้าใจ หรือญาติผู้สูญหายเข้าร่วมด้วย

สำหรับ ร่าง พ.ร.บ.ที่มีการยกร่างไปแล้ว มีสาระสำคัญ คือ การกำหนดบทลงโทษอย่างหนักต่อเจ้าหน้าที่รัฐที่ไปทรมานประชาชนและอุ้มประชาชนหายไปจากสังคม และมีการกำหนดนิยาม “ผู้เสียหาย” ให้กว้างขวางขึ้น โดยให้รวมถึงบุพการี คู่สมรสของบุคคลดังกล่าว รวมทั้งผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงมีสิทธิได้รับการเยียวยา

กฎหมายฉบับนี้ยังกำหนดความผิดทางอาญาแก่ผู้บังคับบัญชาโดยตรงที่รู้เห็นและทราบว่าผู้ใต้บังคับบัญชาไปทรมานหรืออุ้มหายแล้วไม่ยับยั้ง ห้าม หรือลงโทษ และการห้ามไม่ให้เจ้าหน้าที่รัฐจับกุมคุมขังบุคคลในที่ที่ไม่เปิดเผย นอกจากนี้ จะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการอิสระที่มีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนคดี ช่วยเหลือเยียวยาญาติผู้ที่ถูกทรมานและอุ้มหาย และยังคุ้มครองผู้เสียหายหรือผู้แจ้งความในคดีทรมานและบังคับสูญหาย ไม่อาจถูกฟ้องแพ่ง อาญา และคดีอื่นใด

https://www.facebook.com/BBCThai/videos/1814692768751755/


บีบีซีไทย - BBC Thai


สัมมนาเรื่อง “City on the Move” เวทีสถาปนิกเดือด! เปิดการออกแบบล่าสุดของโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา (มีคลิป)





เวทีสถาปนิกเดือด! “วัชระ”จวก“ยศพล”เหตุค้านทางเลียบเจ้าพระยา โกหกประชาชน แนะมีจรรยาบรรณ อีกฝ่ายขอโทษที่ดับฝัน ยันต้องโปร่งใส

มติชนออนไลน์
30 ส.ค. 59

เมื่อวันที่ 30 ส.ค. ที่พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าสยามพารากอน สมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย (TUDA) จัดสัมมนาเรื่อง “City on the Move” โดยช่วงหนึ่งเป็นการพูดคุยในหัวข้อ โครงการพัฒนาเมืองกรุงเทพฯ ครบรอบ 250 ปีกรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2575) ซึ่งมีการเปิดเผยการออกแบบล่าสุดของโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นครั้งแรกที่ยังไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อน

นายศรชัย โตวานิชกุล รองผอ. สำนักการโยธา กทม. กล่าวว่า ที่ผ่านมามีการให้ประชาชนมีส่วนร่วม หารือกับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ และข้อเสนอแนะตัดสินใจมาโดยตลอด โดยจะมีการรับฟังครั้งสุดท้าย 9 กันยายนนี้ ทุกอย่างมีแผน ไม่ใช่ออกแบบโดยไม่รับฟังความต้องการหรือไม่รักษามรดกทางวัฒนธรรมชุมชน โดยลงพื้นที่อย่างน้อยชุมชนละ 3 ครั้ง

นายยศพล บุญสม ผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม Friends of River (FOR) กล่าวว่า ตนขอตั้งคำถามว่า ใครคือคนตัดสินว่าแม่น้ำควรเป็นอย่างไร นี่คือคำถามสำคัญ สิ่งที่รัฐทำมุ่งเรื่องกายภาพหรือควรใช้โอกาสเพื่อสร้างพลเมือง เพราะการมุ่งแต่กายภาพอาจผิดจุดประสงค์ ถ้าคิดกันใหม่โดยไม่เอาทางเลียบแม่น้ำเป็นตัวตั้ง อาจเกิดสิ่งใหม่ๆ ไม่เช่นนั้นโครงการนี้ อาจเป็นโฮปเวลล์ 2 ไม่ได้เหมือนภาพที่ฝันไว้

“เราได้มีการพิจารณารอบคอบหรือยัง เวลา 7 เดือนน้อยมากในดำเนินการ ภาครัฐมีธงอยู่แล้วว่าต้องสร้างทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา การลงพื้นที่และตั้งคำถามมีปัญหา เพราะเป็นคำถามปลายปิด ถามชาวบ้านโดยไม่มีทางเลือกว่าไม่เอาได้ไหม เป็นช่องโหว่ของการมีส่วนร่วม

นอกจากนี้ยังมีข้อทักท้วงในเชิงรูปแบบ วัดวังจะมีทางเลียบเป็นโฟร์กราวด์ ทำลายแลนด์มาร์กเดิมด้วยแลนด์มาร์กใหม่ จริงๆแล้วมีหลายแผนที่น่าสนใจโดย เช่น ฟื้นฟูชุมชน แต่น่าแปลกใจว่ารัฐ หรือทีมงานกลับเลือกทางเลียบก่อน ทั้งที่ส่งผลกระทบมาก ควรต้องหยุดเพื่อพิจารณาให้รอบด้าน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ซึ่งใช้เวลามากกว่า 7 เดือน

ภาพที่อยู่ในโครงการสวยงามดูดี น่าจะรีบทำ แต่มองว่าเป็นเรื่องใหญ่เกินตัดสินจากภาพสวยๆ เพราะมีคน มีชีวิตอยู่ในนั้น อยากเห็นทางเลือกขอการพัฒนาที่หลากหลาย ไม่อยากเป็นผู้รับที่เป็นเครื่องมือของการใช้งบประมาณ”

นายวัชระ จงสุวัฒน์ ที่ปรึกษาโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า ข้อมูลที่นายยศพล พูดเป็นการโกหกประชาชน เล่นตนจนสะบักสะบอม ทำอะไรขอให้มีจรรยาบรรณ อย่าใช้วิชามาร สถาปนิกรุ่นพี่เคารพซึ่งกันและกัน กรณีระยะเวลาการทำงาน ถ้าทำงานเป็น 7 เดือนก็เสร็จ คนทำงานเป็นรู้ว่าจะจบงานอย่างไร อย่าสบประมาทสถาปนิกรุ่นพี่ เรื่องชุมชนตนพยายามหาทางออก รายละเอียดต่างๆมีมากมาย ให้พูด 10 นาทีไม่พอ ตนโดนโจมตีอยู่ตลอด ไม่ได้เป็นอย่างที่นายยศพลพยายามป้ายสี วิชาชีพเดียวกัน ขอให้เคารพซึ่งกันและกัน



ภารนี สวัสดิรักษ์

นางภารนี สวัสดิรักษ์ นักวิชาการเครือข่ายสมัชชาแม่น้ำ กล่าวว่า ประเด็นนี้ไม่ใช่ปัญหาระหว่างวงการสถาปนิก แต่เป็นเรื่องของประชาชน ไม่ได้เถียงเรื่องแบบของสถาปนิก แต่ห่วงเรื่องนโยบายสาธารณะ ซึ่งแผนแม่บทซ้อนกับการออกแบบ ไม่เห็นภาพรวมร่วมกัน เป็นการเอาแบบจากเค้กคนละก้อนไปคุยกัน ประชาชนไม่ใช่จิ้งหรีดที่จะปั่นให้ใครเชื่อฝั่งไหน สมาคมวิชาชีพเป็นความหวังของประชาชน ถ้านโยบายนี้เกิดกับกรุงเทพฯได้ แล้วท้องถิ่นเล็กๆอื่นจะทำอย่างไร

นายเอกชัย ชูติพงศ์ กรรมการสมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิกฎหมายควบคุมอาคาร กล่าวว่า การทำงานทุกอย่างมีการลงสนาม ปฏิบัติตามวิชาชีพทุกประการ ทำด้วยความตั้งใจดี ข้อมูลทั้งหมดให้ประชาชนมีส่วนร่วมแสดงความเห็นให้เป็นตามคามต้องการประชาชน โครงการนี้เริ่มจากการต่อต้าน แต่ในขณะนี้ชาวบ้านค่อยๆเข้าใจ 7 เดือนที่ผ่านมา ศึกษาเยอะ มีแต่ภาพที่อบอุ่น เป็นครั้งแรกที่เริ่มพัฒนาเมืองตามหลักวิชาการ ความเป็นครั้งแรกอาจมีข้อบกพร่อง ไม่อยากให้ทะเลาะกันตรงนี้



ขวาสุด เอกชัย ชูติพงศ์


นายวีระ ถนอมศักดิ์ อุปนายกสถาปนิกผังเมืองไทย กล่าวว่า ตนขอพูดในนามประชาชนไทย การที่รัฐให้โอกาสอย่างนี้หายากที่จะตั้งงบประมาณ โดยมีเป้าหมายพัฒนาเมืองตามหลักวิชาผังเมือง ซึ่งเป็นเรื่องดี ส่วนตัวมีข้อเสนอว่า ทำอย่างไรก็ทำ เมื่อหารือชุมชนแล้ว ควรปรับให้เข้าใจกัน ที่สำคัญต้องใช้วิชาชีพให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติบ้านเมือง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในงานดังกล่าวยังมีผู้แสดงความคิดเห็นที่หลากหลายจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม หลังเสร็จสิ้นงาน นายวัชระ ที่ปรึกษาโครงการ ฯ ได้เดินเข้าไปจับมือนายยศพล สถาปนิกที่ค้านโครงการดังกล่าว และพูดคุยกันเล็กน้อย โดยนายยศพลกล่าวว่า ตนเข้าใจดี จากนั้นได้ถ่ายภาพร่วมกัน



ขวาสุด ยศพล บุญสม ถัดไป วัชระ จงสุวัฒน์




ooo



https://www.facebook.com/MatichonOnline/videos/10155201355452729/


คิดยังไงกะนโยบายให้เด็กเล่นดนตรีไทยเป็นคนละอย่าง - ฟังความเห็น สุจิตต์ วงษ์เทศ คิดยังไง



https://www.facebook.com/339932452789371/videos/1055595141223095/
.....

ความเห็น Tongchai Soontrapa

จริงอย่างที่คุณสุจิตต์ท่านว่าครับ สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องให้รู้จักก่อนว่า"ดนตรี"คืออะไรและมีความหลากหลายแค่ไหน แล้วหลังจากนั้นถ้าใครถูกใจอยากเล่นเครื่องดนตรีอะไรก็ไปร่ำเรียนฝึกฝนตามอัธยาศัยและที่สำคัญสำหรับผมมองว่า"ดนตรี"เป็น"สิ่งสากล"ไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะนำ"ความชาตินิยม"ไปผูกติดนะครับ

ตามหาลูก : จดจำและหวังด้วยความเงียบ (2) โดย ธงชัย วินิจจะกูล (รำลึก 40 ปี 6 ตุลาฯ)





ตามหาลูก : จดจำและหวังด้วยความเงียบ (2) โดย ธงชัย วินิจจะกูล

MATICHONWEEKLY - มติชนสุดสัปดาห์·
SATURDAY, AUGUST 27, 2016

บทความพิเศษ มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 26-1 ก.ย. 59 อ่านตอนแรก http://goo.gl/XUSyrJ


บางตอน "จากบันทึก 6 ตุลา พลิกแผ่นดินตามหาลูก" โดย จินดา ทองสินธุ์ (ต่อ) 

ที่นั่น เขาพบกับเจ้าของหอพักซึ่งพยายามปลุกปลอบใจจินดา 

เขามึนงงสับสน ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นหาลูกชายเขาที่ไหนดี ธรรมศาสตร์ปิดตาย 

"ข้าพเจ้าก็มืดเหมือนแปดด้าน พอดีเด็กหนังสือพิมพ์หอบหนังสือพิมพ์มาหอบเบ้อเร่อ ข้าพเจ้ารีบซื้อจะกี่ฉบับนับไม่ถ้วน... แล้วเปิดดูแต่ข่าวนักศึกษาที่บาดเจ็บกระจายอยู่โรงพยาบาลต่างๆ อ่านพลางภาวนาพลางอย่าให้มีชื่อลูกจารุพงษ์อยู่เลย เมื่ออ่านจบทุกฉบับ เจ้าของบ้านก็พูดว่า ไม่ต้องอ่านรายชื่อหรอก เพราะท่านให้เด็กในหอพักตระเวนไปดูตามโรงพยาบาลต่างๆ ที่มีนักศึกษาได้รับบาดเจ็บ ไม่มีลูกจารุพงษ์เลย..." 

เจ้าของหอพักเสนอแนะว่า จารุพงษ์อาจจะอยู่ในกลุ่มนักศึกษาที่ถูกจับและถูกขังอยู่ในเรือนจำต่างๆ จากนั้นจินดาจึงเร่งรุดไปยังสถานีตำรวจใกล้ธรรมศาสตร์เพื่อตรวจดูรายชื่อของคนที่ถูกจับในที่ต่างๆ สถานีตำรวจนครบาลชนะสงครามคลาคล่ำไปด้วยผู้คน ส่วนมากเป็นพ่อแม่ที่ตื่นตระหนกและมีสีหน้าวิตกด้วยกันทั้งนั้น 

จินดาพบชื่อหลานของเขา คือ สุพจน์ หรือแจ้ง (ตามที่จินดาเรียก) ซึ่งถูกควบคุมตัวอยู่ที่โรงเรียนพลตำรวจนครปฐม แต่จินดาไม่พบชื่อจารุพงษ์ในบรรดาผู้ถูกจับกุม เขากลับมายังหอพักของลูกชายอีกครั้งด้วยความหวังว่าบางทีจารุพงษ์อาจจะทิ้งโน้ตหรือร่องรอยบางอย่างของเขาไว้ที่ห้องก็เป็นได้
"รีบเข้าไปดูในห้อง เห็นผ้าผ่อนของลูกที่ใส่แล้วยังไม่ได้ซัก แขวนไว้ที่ราวและที่นอนปูผ้าคลุมอย่างเรียบร้อย บนโต๊ะหนังสือก็มีหนังสือปากกาและเครื่องใช้ทุกอย่างอยู่ครบครัน ค้นดูจดหมายก็ได้พบเพียงแค่ซองเปล่า แต่จ่าหน้าซองถึงข้าพเจ้าอยู่ 1 ซอง แต่ในซองจดหมายไม่มีจดหมายอยู่เลย ส่วนเอกสารต่างๆ ของเขาหลายชิ้นอยู่ในย่ามที่ใส่อยู่เป็นประจำ 

ข้าพเจ้ารีบคุ้ยขึ้นมาดูจนเกลื่อนทุกชิ้นก็ไม่มีร่องรอยทิ้งไว้เลย รีบดูบันทึกข้างในสมุดบันทึกเล่มเล็กๆ เห็นข้อความตอนหนึ่งไม่ลงวันที่ จะบันทึกไว้เมื่อไหร่ก็ไม่ทราบ แต่มันเข้ากับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพอดี จำได้ว่าในบันทึกนั้นเขา [จารุพงษ์] ได้บรรยายไว้ว่า ‘เขากราดปืนใส่เราผู้รักชาติ รักประชาธิปไตย จนล้มลุกคลุกคลานอย่างไร้ความปรานี เลือดของเพื่อนที่หยดลงพื้นดิน จะไม่มีวันสูญหาย เพื่อนเอ๋ย เราอยู่หลังจะพยายามแก้แค้นแทนเพื่อนให้จงได้ ’ ” 

ณ ขณะนั้น จินดาคิดว่าจารุพงษ์อาจจะเล็ดลอดไปได้หลังการปราบปราม และอาจจะแวะกลับมาที่หอพักเพื่อเก็บรวบรวมข้าวของที่จำเป็นก่อนหลบหนีไปโดยไม่บอกกล่าวให้ใครรู้ จินดาเก็บบันทึกของลูกชายไว้กับตัว จากนั้นเขาเดินทางไปหาหลานชายของลิ้มผู้เป็นทหารเรือ (จินดาเรียกว่า "น้องชาย" ในบันทึกของเขา) เพื่อปรึกษาหารือว่าจะทำอย่างไรต่อไป ในขณะที่จินดานั่งฟังน้องชายเล่าให้ฟังว่าเกิดอะไรขึ้นที่ธรรมศาสตร์ เขากลับคิดไปถึงลิ้ม 

"คิดถึงแม่ของลูกจะเฝ้าคอยอยู่ทางบ้านซึ่งมีความทุกข์ใจยิ่งกว่าข้าพเจ้าเสียอีก เพราะข้าพเจ้าทราบอย่างชัดแจ้งว่า ลูกผู้ชายคนแรกนี้เป็นลูกหัวแก้วหัวแหวนของแม่ และแม่มีความภูมิใจอย่างยิ่งที่ลูกสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ เมื่อมากลับกลายเป็นอื่นไปเช่นนี้ เสมือนหนึ่งใครกระชากดวงใจให้หลุดไปจากอกนั่นเอง..." 

จินดาพักค้างที่บ้านของน้องชายคืนนั้น ตั้งแต่เย็นเขาดื่มจัดจนเมามายจำไม่ได้เลยว่าได้ทำอะไรลงไปหรือเกิดอะไรขึ้นในเย็นค่ำวันนั้น 

เช้าวันต่อมา จินดากับน้องชายขับรถไปเยี่ยมแจ้งด้วยความหวังว่าเขาอาจจะรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับจารุพงษ์ ผู้คนมากมายยืนเข้าแถวกลางแดดเปรี้ยง แถวยาวเหยียดของพ่อแม่ที่เฝ้าคอยอย่างกระวนกระวายเพื่อจะพบลูกของตน จินดายืนอยู่หลายชั่วโมง เป็นหนึ่งในบรรดาคนเหล่านั้น 

ระหว่างนั้นมีตำรวจคนหนึ่งก่นด่าคนที่ยืนเข้าแถวอย่างแรงๆ และหยาบคาย 

เขาเล่าว่า "...เจ้าหน้าที่เขามองพ่อแม่ของนักศึกษาว่าเป็นพวกของผู้ก่อการร้ายเท่านั้น...ไม่นึกว่าคำพูดและการกระทำนั้นจะเป็นการทิ่มตำเข้าขั้วหัวใจของใครสักเพียงใด ข้าพเจ้ายังได้ยินเสียงขู่ตะคอกว่า "ไม่ต้องแซงกัน พวกเอ็งเป็นพ่อแม่ของพวกจลาจล ผู้ก่อการร้ายทั้งนั้น ไม่สอนลูกสอนหลาน สมนํ้าหน้าไงล่ะ"..." 

หลายชั่วโมงต่อมามีตำรวจอีกคนมาบอกว่าให้พยายามกลับมาอีกครั้งในวันหลัง เพราะคงจะหมดเวลาเยี่ยมผู้ต้องหาเสียก่อนที่จะถึงคิวของเขา ก่อนที่จินดาจะกลับ เขาฝากข้อความแก่ตำรวจอีกคนไปถึงแจ้งว่าเขาจะกลับมาเยี่ยมใหม่อีกครั้งวันหลัง 

จินดาออกจากกรุงเทพฯ เย็นวันนั้น มุ่งตรงกลับบ้านที่พระแสง ทันทีที่เขาถึงบ้าน 

"พบลูกๆ กำลังนั่งอยู่ในห้องกับแม่และลูกคนเล็ก พอเห็นหน้าแม่ของลูกและลูกๆ อดจะนํ้าตาคลอเบ้าทีเดียว พูดได้คำเดียวว่าไม่พบลูกจารุพงษ์เท่านั้น แม่และน้องๆ ต่างนํ้าตาไหล ได้ยินแต่เสียงแม่พูดกับลูกๆ... แล้วดึงมากอดไว้ สั่งเสียอะไรต่างๆ นานาในทำนองอย่าให้ลูกทั้งสี่คนเป็นไปอย่างพี่ชายอีก... นํ้าตาของข้าพเจ้าดูกลับไหลท่วมหัวใจจนเต็มปรี่" 

พ่อแม่ของแจ้งแวะมาเยี่ยมจินดา พวกเขาปรึกษาหารือกันว่าจะทำอย่างไรจึงจะประกันตัวแจ้งออกมาได้ ทั้งนี้เนื่องจากจินดาได้ยินมาว่า นักศึกษาบางคน โดยเฉพาะหากเป็นนักศึกษาธรรมศาสตร์ก็จะโดนทำร้ายทุบตีในเรือนจำที่ถูกคุมขัง พวกเขารวบรวมทรัพย์สินเพื่อเป็นค่าประกันและมอบให้จินดาซึ่งเดินทางเข้ากรุงเทพฯ อีกครั้งทันที 

เมื่อถึงกรุงเทพฯ จินดาตรงไปหอพักของจารุพงษ์เป็นอันดับแรก แต่ไม่มีข่าวคราวใดๆ จากลูกชาย จากนั้นเขาจึงพยายามเอาตัวแจ้งออกมา จินดาต้องแวะไปสถานีตำรวจหลายแห่งในวันเดียวนั้นแต่ก็ยังไม่สำเร็จ 

วันต่อมาเขาต้องไปหาทางประกันตัวที่ศาล แต่กลับพบว่าโฉนดที่ดินซึ่งญาติของเขารวบรวมมาเพื่อประกันตัวแจ้งนั้นใช้ไม่ได้ จินดาจึงเดินทางไปหาแจ้งที่นครปฐมอีกครั้ง คราวนี้เขาโชคดีได้เข้าเยี่ยมพูดคุยกับแจ้ง 

ในเวลา 5 นาทีที่เขาได้รับอนุญาต คำถามแรกของเขาคือ จารุพงษ์อยู่ไหน จินดาเล่าในบันทึกของเขาว่า แจ้งได้พบกับจารุพงษ์ท่ามกลางความสับสนวุ่นวายของเช้าวันนั้น ภายหลังจากบอกแจ้งให้ระวังรักษาตัวให้ดี จารุพงษ์ก็วิ่งออกไป ทันใดนั้น กระสุนหลายชุดก็สาดใส่เข้ามาโดนนักศึกษาตรงนั้นหลายคน แต่แจ้งไม่ทันเห็นว่าจารุพงษ์โดนกระสุนหรือไม่ จนกระทั่งนักศึกษาหญิงคนหนึ่งซึ่งเขาไม่รู้จักร้องลั่นออกมาท่ามกลางคนมากมายในที่นั้นว่า 

“ ‘จารุพงษ์ถูกยิงเสียแล้ว’ ข้าพเจ้าได้ยินคำนี้จากปากของหลาน ทำให้หัวใจเกือบหยุดเต้น” 

ทรัพย์สินที่จินดานำมาเพื่อประกันตัวแจ้งกลับถูกศาลปฏิเสธอีกครั้งในวันรุ่งขึ้น 

"ข้าพเจ้าก็ออกเดินคอตกมาหน้าศาลอาญา [ณ อาคารเดิมข้างสนามหลวง] เห็นผู้คนบนสนามหลวงยืนกันเป็นหมู่ๆ...ได้ความว่าญาตินักศึกษามาดูที่นักศึกษาถูกเผาทั้งเป็นยังเป็นรอยไหม้อยู่ริมๆ กับที่นางธรณีบิดผมมวยนั้น ข้าพเจ้าไม่สามารถยืนดูได้ เพราะหัวใจมันแสนจะแปลบปลาบเสียกระไร พยายามเดินก้มหน้าไม่พูดจากับใคร แต่อดเหลียวมองไปที่ธรรมศาสตร์ไม่ได้ เห็นทหารยืนอยู่บนหอคอยกระโจมสูงมือถือปืน และประตูธรรมศาสตร์ถูกปิดตาย ไม่ให้คนเข้าออกเลยอดคิดถึงภาพลูกที่เดินเล่นและเล่าเรียนอยู่ก่อนเหตุการณ์ไม่ได้ เพราะข้าพเจ้าเคยเข้าไปหาลูกที่ในธรรมศาสตร์หลายครั้ง ข้าพเจ้าพูดในใจว่า ตั้งแต่นี้ต่อไปข้าพเจ้าไม่มีโอกาสไปดูเจ้าเสียแล้วสถาบันอันเป็นที่รักของลูกและอันเป็นที่หวังสุดท้ายของบิดามารดาทุกคน เจ้าธรรมศาสตร์ยืนถมึงทึงเหมือนจะบอกให้ข้าพเจ้าทราบว่า เขาเองก็อาการร่อแร่เต็มทนแล้ว ดูเป็นแผลรอยกระสุนแทบจะยืนอยู่ไม่ได้" 

จินดากลับบ้าน ที่นั่นเขาพบปลัดอำเภอคนหนึ่งผู้บอกกับเขาว่า "ลูกชายของข้าพเจ้าได้กลับมาสุราษฎร์ฯ แล้ว ข่าวกรองจากทางราชการแจ้งว่า นักศึกษาจำนวนหนึ่งประมาณ 5-10 คน ได้เข้าไปในท้องที่อำเภอบ้านนาสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จารุพงษ์ ทองสินธุ์ บุตรของข้าพเจ้าคนหนึ่งละ" 

ทีแรกจินดาไม่ค่อยเชื่อ เจ้าหน้าที่คนนั้นจึงยืนยันคำพูดของตน อ้างว่าสามารถแสดงหลักฐานจากหน่วยข่าวของทางทหารได้ 

จินดาใจชื้นมาทันทีและนำข่าวน่าตื่นเต้นชิ้นนี้กลับมาบอกครอบครัว เขามีความหวังและฟื้นความพยายามตามหาลูกชายอีกครั้ง 

จินดาเดินทางไปยังถิ่นที่เจ้าหน้าที่คนนั้นเอ่ยถึง เขาพบเพื่อนเก่าของจารุพงษ์คนหนึ่งซึ่งเป็นทหารประจำถิ่นที่นั่น เพื่อนคนนั้นบอกจินดาว่า เขาเห็นจารุพงษ์เมื่อไม่กี่วันก่อน เดินอยู่ในตลาดกับกลุ่มเพื่อนนักศึกษากลุ่มหนึ่ง เขาจำได้แม่นว่าเป็นจารุพงษ์แน่ๆ แม้ว่าจะไม่ได้เข้าไปทักทายก็ตาม เพราะว่าเขาเป็นทหาร อาจทำให้จารุพงษ์กับเพื่อนตกใจกลัว 

จินดาถามญาติของเขาที่อาศัยอยู่แถวนั้นให้ช่วยหาข่าวคราวข้อมูลเพิ่มเติม 

สองวันต่อมาญาติของเขาแจ้งข่าวมาว่า จารุพงษ์อยู่ไหนไม่ชัดเจน เพียงแต่รับรู้มาว่ามีนักศึกษาจำนวนหนึ่งเดินทางเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ตรงป่าใกล้บ้านของญาติคนนั้น 

สามวันต่อมา จินดาได้ข่าวว่าตำรวจดักจับรถบรรทุกของบริษัทเหมืองแร่คันหนึ่ง ซึ่งบรรทุกนักศึกษาจำนวนหนึ่งจากสถานีรถไฟเข้าสู่เขตป่าเขา ในช่วงนั้นมีการปะทะกันระหว่างทหารคอมมิวนิสต์กับเจ้าหน้าทหารตำรวจของรัฐบาล การปะทะรุนแรงถึงขนาดมีคนบาดเจ็บล้มตายมากขึ้น โดยเฉพาะในตำบลที่จินดาอาศัยอยู่และตำบลใกล้เคียง ทหารเพิ่มกำลังและจุดปฏิบัติการอีกสามแห่งที่บ้านส้อง ทั้งเพิ่มอาวุธและปืนใหญ่ด้วย หน่วยปฏิบัติการจิตวิทยาปรากฏตัวอยู่ทุกหนแห่ง ทว่า การโจมตีของคอมมิวนิสต์กลับไม่ลดลงเลย 

หลายเดือนผ่านไป ลูกๆ คนอื่นของจินดากับลิ้มหมดความใส่ใจกับโรงเรียน พวกเขาคงคิดถึงพี่ชายที่จู่ๆ ก็หายไปฉับพลันอย่างไม่มีร่องรอย 

"ครั้งใดที่น้องๆ เขาบ่นถึงพี่ชาย เหมือนมีเข็มที่แหลมเสียบแทงเข้าที่หัวใจข้าพเจ้าทุกครั้ง แต่ข้าพเจ้าพยายามเก็บอารมณ์นั้นไว้ภายในด้วยความขื่นขมระทมทุกข์ ไม่อาจจะบรรยายออกมาเป็นภาษาได้"


วันอังคาร, สิงหาคม 30, 2559

Our city keeps getting bad architecture. Why Bangkok was never going to get a Zaha Hadid building



Zaha Hadid's Galaxy Soho, Beijing. Credit: Iwan Baan via Flickr.


Why Bangkok was never going to get a Zaha Hadid building

Our city keeps getting bad architecture. This needs to change.

By Gregoire Glachant | Apr 01, 2016
BK Asia City.com

The short answer: it’s illegal to hire a foreign architect to design a building in Thailand.

The long answer is, of course, more complicated. Foreign architects get hired here all the time, even if they don’t get mentioned or get mentioned solely as “design consultants.” From Australian Kerry Hill (The Sukhothai) to Brit Amanda Levete (Central Embassy) and Singaporean firm WOHA (The Met), the list of Thai buildings designed by foreigners is endless. But the closest the city has gotten to having a full-blown starchitect-designed building is probably Mahanakhon. When the building was announced, the PRs at first reached out for us to interview its architect, Ole Scheeren. They then quickly retracted the offer and began erasing his name from every press release and website under the luxury project’s name. Today, Ole Scheeren lists the Mahanakohn on his firm’s portfolio of projects. But Mahanakhon never mentions him as its architect.

That means some deep-pocketed mall or condo developer in Bangkok could have employed Zaha Hadid and then pretended they didn’t. (Zaha Hadid, one of the most celebrated architects of our day, passed away yesterday, at the age of 65.) Except that when you’re paying for someone like Hadid, you have to be able to fully milk her name for all the publicity it is worth. You’re not just doing it for the purity of her designs. Given the Mahanakhon precedent, it was therefore highly unlikely we’d ever get a Hadid building.

While the 20th century saw an explosion of transnational architecture by heavyweights like Oscar Niemeyer, Mies van der Rohe and Le Corbusier, Thailand continues to exist in an isolationist dark age that bars foreign architects from lending their names to local projects.

Why does this matter? Because great architecture is great for everyone. The Sydney Opera House attracts 8.2 million visitors a year. Had it been designed by Australia’s hottest architect at the time, Harry Seidler, you wouldn’t even know what Sydney’s opera house looks like. Instead the project was awarded to a Dane (Jorn Utzon) at the end of a competition headed by Finnish American Eero Saarinen. (Entries were given numbers, meaning Saarinen had no idea he was picking a fellow Scandinavian.)

On top of being stuck with Thai architects only, government projects are further plagued by nepotism and corruption, meaning the worst firm alway gets the job—if the project goes to a firm at all. The Bangkok Riverside Promenade, for example, was designed by the Bangkok Metropolitan Administration’s in-house team of architects. That’s right. What could be the city’s most important urban development project since the launch of the BTS was designed by the same guys who sketch our beloved pedestrian crossover bridges. No environmental impact assessment. No national competition. And definitely no international competition.

Thai architects are great. And they keep getting better. But protectionism is holding their entire industry back and it’s up to them to take a stand against this. The biggest defender of Jorn Utzon was the aforementioned Harry Seidler, the Australian architect Utzon beat in the competition for Australia’s most important building. Utzon was a genius. But Seidler is the true hero for architecture lovers.

ooo



เรื่องท้าทายรัฐบาลทหาร คสช. ว่าจะ competent แค่ไหน



ได้เวลาพวกเห็บกอดขา คสช. ออกมาเสนอผลสำรวจกันใหม่ จากแหล่งตัวอย่างเดิมพันกว่าคน กับฐานข้อมูลเก่า บนสมมุติฐานที่ว่า

“กับการบริหารประเทศของรัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยมุ่งหวังแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นใจให้กับประชาชนว่าสถานการณ์บ้านเมือง จะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น”

‘ดุสิตโพล’ กะ ‘โพลกรรณิกา’ เจ้าเก่า แนะทางทางออกแก้ปมติดปลัก ‘dilemma’ ความสง่างามให้บิ๊กตู่ เอาไงดีระหว่างตั้งพรรคเองกับเปรมโมเดล ที่จะเป็นนายกฯ หลังเลือกตั้ง

สวนดุสิตที่มักยกหางคณะรัฐประหารมาตั้งแต่อ้อนแต่ออกเสนอว่า ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลทหารของประยุทธ์ จันทร์โอชายังสูง

คือเมื่อเอาเชื่อ ‘มาก’ กับเชื่อ ‘มั่ง’ บวกกันแล้วจะได้ ๗๒ เปอร์เซ็นต์กว่าๆ ชี้แนะว่านักการเมืองพวกที่รอเลือกตั้งไม่มีทางวิเศษเท่า

(http://www.thairath.co.th/content/704279)

โดยอ้างเหตุจากผลงาน ๕ อันดับ ได้แก่ปราบทุจริตคอรัปชั่น (ยกเว้นราชภักดิ์ กับเรื่องระบบเสียงสำนักนายกฯ และเรื่องทหารผ่านศึกขุดลอกคลอง) มาตรการทวงคืนผืนป่า (เฉพาะทับเบิก) จัดระเบียบสังคม (สีลม ประตูน้ำ ป้อมพระกาฬ ฯลฯ) ปัญหาค้ามนุษย์ (เลื่อนจากขั้นต่ำสุดมาเป็นรองโหล่) และลดราคาพลังงาน (ได้ ๕๐ สตางค์ก็ยังดี)

ทั้งปวงเหล่านั้นคะแนนนิยมของทั่นผู้นั้มพ์อยู่ในระดับ ๗๕ เปอร์เซ็นต์ลงไปถึงต่ำสุดแค่ ๖๓

แล้วยังมีอีก ๕ อันดับสำหรับเร่งรัด (เป็นนัยแฝงเร้นว่าต้องให้ คสช. สานต่อไหมนี่) ได้แก่ เรื่องเศรษฐกิจ (ที่ยอมรับว่าบักโกรกมาก) เรื่องปากท้องค่าครองชีพ (อันนี้เขาอ้างว่าใช้นโยบาย ‘ประชารัฐ ๔.๐’ ที่จะต้องปรับปรุงคุณภาพประชาชนให้เป็น ‘พลเมือง ๔.๐’ เสียก่อน โดยอาศัยยุทธศาสตร์ ๒๐ ปี คสช.) เรื่องความสงบภาคใต้ (อันนี้ชัดเจน จะครบเดือนแล้วยังไม่ได้ตัวกลุ่มบึ้ม ๗ จังหวัด เพราะดันไปตั้งธงชี้หน้า ‘เสื้อแดง’ ไว้ก่อน)





และแก้ปัญหาเกษตร (ขายยางดาวอังคาร ปลูกหมามุ่ยแทนข้าว และปรับ ๑๐๐ บาทผักตบชวา นี่แค่แซมเปิ้ลสองสามอย่าง เบาะๆ)





ยังไม่พูดถึงสาธารณูปโภค งานหลักของการเป็นรัฐบาล ที่ตอนนี้หน้าฝน ที่ไหนที่ไหนก็น้ำท่วม น้ำบ่า น้ำป่าไหลเข้าเมือง น้ำล้นเข้าบ้านช่อง โรงเรียน แช่น้ำกันอยู่ (กรุงเทพฯ เรียกรอระบาย บ้านนอกเรียก ‘รอลด’ เรื่องเดียวกันคนละที่)

อีกเรื่อง ‘รถไฟฟ้า’ จะเร็วพอประมาณ เร็วปานกลาง หรือเร็วไม่สูงเท่าไหร่ก็ตาม จะสายหัวเมืองหรือในมหานคร ล้วนรอให้รัฐบาลแบบ คสช. เร่งรัดทั้งนั้น ไล่ไม่ทันความสูงของตึกมหานคร





ล่าสุดสายสีม่วงเส้นทางบางใหญ่ถึงบางซื่อเปิดบริการได้แค่ครึ่งเดือนกว่า ร้องจ้าแล้วว่าขาดทุนบรม ผู้โดยสารไม่มาตามเป้า ๘ หมื่นถึง ๑ แสน เอาจริงมีเพียง ๒ หมื่น รายได้วันละ ๖ แสนบาท รายจ่ายค่ารับจ้างบริหารวันละ ๓.๖ ล้านบาท

ทั่นผู้นั้มพ์ทำงานหนัก น่าจะคิดได้ตอนตีสอง ให้ลดราคาค่าโดยสารลง ๓๐ เปอร์เซ็นต์จาก ๔๒ บาทเหลือ ๒๙ บาท เริ่ม ๑ กันยานี้ดูซิว่าจะเพิ่มผู้โดยสารได้ ๓๐ เปอร์เซ็นต์ไหม

แต่ก็นั่นแหละปัญหาไม่ได้อยู่เฉพาะที่ราคา เหตุใหญ่เป็นเพราะเส้นทางสั้นไป ยังไม่ต่อติดกับสายบางซื่อ-เตาปูน ซึ่งเชื่อมต่อกับสานสีน้ำเงินได้

“ทำให้ผู้โดยสารยุ่งยากเสียเวลา แถมต้องเสียค่าใช้จ่ายแพงขึ้น ประกอบกับรถตู้ยังเป็นคู่แข่งน่ากลัว ราคาใกล้เคียงกันแต่สะดวกกว่า รถไฟฟ้าสายสีม่วงจึงไม่เป็นที่นิยม”

(http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php…)

ก็ช่วงเชื่อมต่อระหว่างสายบางใหญ่-บางซื่อกับบางซื่อ-เตาปูนแค่กิโลเดียว ไม่ยักทำให้เสร็จเสียแต่แรกก่อนเปิดเดินสายสีม่วง วิธีบริหารจัดการแบบเอาแต่สั่งลิ่วล้อ ‘ไปทำมา’ มันถึงได้ตะกุกตะกัก ‘hick up’ อย่างนี้

ยังมีเรื่องท้าทายสมรรถนะรัฐบาลทหาร คสช. อีกอย่าง ว่าจะ competent แค่ไหน





อยู่ที่ด้านสาธารณสุข เรื่องการติดต่อและแพร่ระบาดของไวรัสซิก้า ซึ่งศูนย์ป้องกันโรคติดต่อ หรือ ซีดีซี ของยุโรประบุแล้วว่าประเทศไทยอยู่ในเขตสีแดง มีกรณีการติดเชื้อแผ่ขยายเพิ่มขึ้น (นับได้ราว ๑๐๐ ราย)

ที่เชียงใหม่ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดแจ้งว่า “พบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสซิกา จำนวน ๗ ราย โดยรายแรกพบเมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน และล่าสุดพบเมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคมที่ผ่านมา”

นางชลลิสา จริยาเลิศศักดิ์ ชี้แจงว่า “ได้ดำเนินการตามมาตรฐานการควบคุมโรคอย่างเข้มข้น ทั้งการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย การคัดกรองกลุ่มเสี่ยง”

(http://www.brighttv.co.th/…/news/เชียงใหม่ติดเชื้อไวรัสซิก้า ๗ ราย)

ตรงนี้แหละที่ท้าทาย การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย คงทำไม่ได้เต็มที่ในสภาพน้ำท่วมเช่นนี้ ใช่ว่าน้ำท่วมแล้วจะกวาดแหล่งเพาะพันธุ์หมดไป สภาพน้ำขังหลังน้ำท่วมจะทำให้แหล่งเพาะพันธุ์ยุงกลับมาใหม่ได้อย่างรวดเร็ว

แล้วถ้าซิก้าเกิดระบาดแพร่หลายมากขึ้นยิ่งกว่านี้ คสช. จะทำอย่างไร ใช้วิธีงัด ม.๔๔ สั่งพักงานผู้ว่าฯ จังหวัดที่มีน้ำท่วม น้ำบ่า อีกไหม