ความคิดล่าสุดจากสภาร่างฯ รธน. --
1. นายกฯ เป็นคนนอกได้ ไม่จำเป็นต้องเป็น ส.ส. อยู่ได้สูงสุด 2 วาระ
2. ส.ว. มาจากการแต่งตั้ง 100%
3. ถ้านายกฯ แพ้ซักฟอกต้องยุบสภา
4. ส.ส. ต้องได้เสียงชนะโหวตโน (คนที่กาไม่เลือกใคร)
ข้อ 4. เห็นด้วย ข้อ 3. ยังไม่แน่ใจ ส่วนข้อ 1. กับ 2. นี่มัน ......พูดไม่ออกเลยทีเดียว
อยากถามทุกท่านที่ยังสนับสนุน คสช. ว่า ถ้าข้อกำหนดเหล่านี้ไปอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จริงๆ ท่านคิดว่าเมืองไทยจะเข้าใกล้ "ประชาธิปไตยสมบูรณ์" (ในคำกล่าวอ้างของคณะรัฐประหาร) ได้อย่างไร?
Sarinee Achavanuntakul
ความเห็นจากเวป...
บอกตามตรงนะว่าไม่เคยรู้สึกว่ามันกำลังร่างรัฐธรรมนูญ! แต่คิดเสมอว่ามันกำลังเขียน #กฎโจร! เอาไว้ควบคุมประเทศ...
,,,
http://www.parliament.go.th/.../article_20150127165718.pdf
เอามาฝากครับ เผื่อยังไม่เห็น
แนวคิดของ อ.บวรศักดิ์ ทั้งหมดเกี่ยวกับเรื่องระบอบการเมือง นักการเมือง และสถาบันการเมือง
เข้าใจว่าแนวคิดทั้งหมดนี้จะอยู่ใน รธน ฉบับใหม่ครับ
Credit Mongz Itsakul
ooo
...
ร่าง รธน.เพิ่มอำนาจ ส.ว.เสนอกฎหมาย-ฝ่ายค้านโหวตไม่ไว้วางใจนายกฯ เกินครึ่งต้องยุบสภา
Fri, 2015-02-27 04:02
ที่มา ประชาไท
คืบหน้าร่าง รธน. - ประธาน-รองประธานสภาผู้แทนฯ ห้ามประชุมพรรค - เพิ่มอำนาจ ส.ว. เสนอกฎหมาย - ส.ว. และ ส.ส. มีสิทธิยับยั้งร่างกฎหมายของอีกฝ่าย - ในสภาตั้งกระทู้ นายกฯ-ครม.ต้องตอบโดยเร็ว - ลงมติไม่ไว้วางใจได้เกินกึ่งหนึ่ง นายกฯ ต้องพ้นจากตำแหน่งและยุบสภา - “บรรเจิด สิงคะเนติ” ระบุร่าง รธน. มาเพื่อสร้างเครื่องมือตรวจสอบให้ฝ่ายค้าน หวังสร้างประชาธิปไตยเชิงคุณภาพไม่ใช่เพียงรูปแบบ
27 ก.พ. 2558 – ตามที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ มีการนัดประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 53-58 ระหว่างวันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2558 - วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2558 ที่โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ พัทยา จ.ชลบุรี โดยมีระเบียบวาระการประชุมเป็นการพิจารณายกร่างบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรานั้น
ล่าสุด นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พร้อมด้วยนายบรรเจิด สิงคะเนติ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ นำเสนอความคืบหน้าในการร่างรัฐธรรมนูญ ในการประชุมเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ช่วงบ่าย โดยเป็นการพิจารณามาตรา 133 – 172 ภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดีและสถาบันการเมืองระบบผู้แทนที่ดี ส่วนที่ 4 บทที่ใช้แก่สภาทั้งสอง ส่วนที่ 5 การประชุมร่วมกันของรัฐสภา ส่วนที่ 6 การตราพระราชบัญญัติและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ส่วนที่ 7 การควบคุมการตรากฎหมายที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ และส่วนที่ 8 การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน โดยมีรายละเอียดการยกร่างถูกเผยแพร่อยู่ในเว็บไซต์รัฐสภา
(อ่านเอกสาร)
โดยก่อนหน้านี้ในช่วงเช้าของวันที่ 25 กุมภาพันธ์ เป็นการพิจาณามาตรา 123-132 เกี่ยวข้องกับวุฒิสภา โดยกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการแต่งตั้งทางอ้อม โดยแบ่งสัดส่วนการเลือกเป็น ผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ประธานศาลฎีกา เป็นผู้คัดเลือกกันเอง 10 คน ผู้เคยเป็นข้าราชการพลเรือน ข้าราชการทหาร พนักงานรัฐวิสาหกิจ 30 คน ผู้แทนองค์กรวิชาชีพ 10 คน องค์กรเกษตรกรรม แรงงาน วิชาการ ชุมชนท้องถิ่น 50 คน ผู้ทรงคุณวุฒิและคุณธรรมด้านต่างๆ 100 คน (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)
http://prachatai.org/journal/2015/02/58101
สำหรับในส่วนที่เป็นใจความสำคัญ ของการยกร่างรัฐธรรมนูญเมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 25 กุมภาพันธ์ มีรายละเอียดดังนี้
ล็อครองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 มาจากพรรคอันดับ 3
ประธานสภาและรองประธานสภาห้ามร่วมประชุมพรรคการเมือง
สำหรับมาตรา 135 เกี่ยวกับที่มาของประธานสภาผู้แทนราษฎและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรระบุว่า
“มาตรา 135 สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาแต่ละสภามีประธานสภาคนหนึ่งและรองประธานสภาสองคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากสมาชิกแห่งสภานั้นๆ ตามมติของสภา
ประธานสภาผู้แทนราษฎรมาจากผู้ซึ่งได้รับเลือกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีคะแนนเสียงสูงสุด ในการเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งมาจากผู้ซึ่งได้รับเลือกซึ่งมีคะแนนเป็นลำดับที่สอง ส่วนรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สองให้เลือกจากสมาชิก พรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองซึ่งมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากเป็นลำดับที่สาม
ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรดำรงตำแหน่งจนสิ้นอายุของสภาหรือมีการยุบสภา ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานและรองประธานวุฒิสภา ย่อมพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระตามวรรคสอง เมื่อ
(1) ขาดจากสมาชิกภาพแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิก
(2) ลาออกจากตำแหน่ง
(3) ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี หรือข้าราชการการเมืองอื่น
(4) ต้องคำพิพากษาให้จำคุก แม้คดีนั้นจะยังไม่ถึงที่สุดหรือมีการรอการลงโทษ เว้นแต่เป็นกรณีที่ คดียังไม่ถึงที่สุดหรือมีการรอการลงโทษในความมผิดอันได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิด ฐานหมิ่นประมาท
ในระหว่างการดำรงตำแหน่ง ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรจะเป็นกรรมการบริหาร หรือดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองขณะเดียวกันมิได้ และจะเข้าร่วมประชุมพรรค การเมืองหรือกลุ่มการเมืองมิได้ด้วย"
เพิ่ม “สมาชิกวุฒิสภา” เสนอร่างพระราชบัญญัติ
ในส่วนของการเสนอร่างพระราชบัญญัติ ร่างรัฐธรรมนูญ ได้เพิ่มข้อความให้สมาชิกวุฒิสภาไม่น้อยกว่า 40 คน ซึ่งในร่างรัฐธรรมนูญนี้วุฒิสมาชิกมีที่มาจากการแต่งตั้งตามโควตากลุ่มต่างๆ สามารถเสนอร่างพระราชบัญญัติได้ด้วย โดยระบุว่า
"มาตรา 149 ร่างพระราชบัญญัติจะเสนอได้ก็แต่โดย
(1) คณะรัฐมนตรี
(2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่ายี่สิบคน
(3) สมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าสี่สิบคน
(4) ศาลหรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญซึ่งมีหน้าที่ี่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวกับ การจัดองค์กรและกฎหมายที่ประธานศาลและประธานองค์กรนั้นเป็นผู้รักษาการ หรือ
(5) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคนเข้าชื่อเสนอกฎหมายตามมาตรา 66
ในกรณีที่ร่างพระราชบัญญัติซึ่งมีผู้เสนอตาม (2) (3) (4) หรือ (5) เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน จะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรี
ในกรณีที่ประชาชนได้เสนอร่างพระราชบัญญัติใดตาม (5) แล้ว ให้สภาที่ได้รับร่างพระราชบัญญัตินั้นเริ่มพิจารณาภายในเวลาไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัติ ดังกล่าว หรือวันที่นายกรัฐมนตรีส่งคำรับรองกลับคืนมา หากบุคคลตาม (1) (2) หรือ (3) ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติที่มีหลักการเดียวกับร่างพระราชบัญญัตินั้นอีก ให้นำบทบัญญัติมาตรา 66 วรรคสาม มาใช้บังคับกับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นด้วย
ในระหว่างเวลาที่บทบัญญัติภาค 4 ยังมีผลใช้บังคับ ให้คณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทยตามมาตรา 283 และมาตรา 284 และคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายตามมาตรา 285 (3) มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติได้ตามที่บัญญัติไว้ในภาค 4 หมวด 2 และการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในภาค 4 หมวด 2”
สำหรับขั้นตอนการเสนอร่างพระราชบัญญัติ ระบุว่า
“มาตรา 150 ร่างพระราชบัญญัติให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา แล้วแต่กรณีร่างพระราชบัญญัติตามมาตรา 149 (1) (2) (4) และ (5) ให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน
ในการเสนอร่างพระราชบัญญัติตามวรรคหนึ่งต้องมีบันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ เสนอมาพร้อมกับร่างพระราชบัญญัติด้วย
ร่างพระราชบัญญัติที่เสนอต่อรัฐสภาต้องเปิดเผยให้ประชาชนทราบและให้ประชาชนสามารถเข้าถึง ข้อมูลรายละเอียดของร่างพระราชบัญญัตินั้นได้โดยสะดวก”
“มาตรา 152 ร่างพระราชบัญญัติใดที่ในขั้นรับหลักการไม่เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน แต่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาได้แก้ไขเพิ่มเติม และ ประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานวุฒิสภาเห็นว่าการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นทำให้มีลักษณะเป็นร่างพระราชบัญญัติ เกี่ยวด้วยการเงิน ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานวุฒิสภาสั่งระงับการพิจารณาไว้ก่อน และภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีกรณีดังกล่าว ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานวุฒิสภาส่งร่างพระราชบัญญัตินั้นไปให้ที่ประชุมร่วมกันของประธานสภาผู้แทนราษฎร รองประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานคณะกรรมาธิการสามัญ ของสภาผู้แทนราษฎรทุกคณะ เป็นผู้วินิจฉัย
ในกรณีที่ที่ประชุมร่วมกันตามวรรคหนึ่งวินิจฉัยว่าการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น ทำให้ร่างพระราชบัญญัตินั้น มีลักษณะเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานวุฒิสภาส่งร่างพระราชบัญญัตินั้นไปให้นายกรัฐมนตรีรับรอง ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่ให้คำรับรอง ให้สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภาดำเนินการแก้ไขเพื่อมิให้ร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน”...
“มาตรา 154 ภายใต้บังคับมาตรา 205 เมื่อสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เสนอตามมาตรา 150 และลงมติเห็นชอบแล้ว ให้เสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นต่ออีกสภาหนึ่งซึ่ง ยังมิได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยต้องพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติที่เสนอมานั้นให้เสร็จภายในหกสิบวัน แต่ถ้าร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นร่างพระราชบัญญัติ เกี่ยวด้วยการเงิน ต้องพิจารณาให้เสร็จภายในสามสิบวัน ทั้งนี้ เว้นแต่สภาที่พิจารณาในครั้งหลังนี้จะได้ลงมติ ให้ขยายเวลาออกไปเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งต้องไม่เกินสามสิบวัน กำหนดวันดังกล่าวให้หมายถึงวันในสมัยประชุม และ ให้เริ่มนับแต่วันที่ร่างพระราชบัญญัตินั้นมาถึงสภาดังกล่าว
ระยะเวลาดังกล่าวในวรรคหนึ่ง ไม่ให้นับรวมระยะเวลาที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล รัฐธรรมนูญตามมาตรา 157
ถ้าสภาที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติในครั้งหลังนี้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติไม่เสร็จภายใน กำหนดเวลาที่กล่าวในวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าสภาดังกล่าวได้ให้ความเห็นชอบในร่างพระราชบัญญัตินั้น
ในกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรเสนอร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไปยังวุฒิสภาให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรแจ้งไปด้วยว่าร่างพระราชบัญญัติที่เสนอไปนั้นเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน คำแจ้งของประธานสภาผู้แทนราษฎรให้ถือเป็นเด็ดขาด
ในกรณีที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรมิได้แจ้งไปว่าร่างพระราชบัญญัติใดเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน ให้ถือว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นไม่เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน”...
“มาตรา 155 ภายใต้บังคับมาตรา 205 เมื่อสภาที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติในครั้งหลังนี้ได้ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติเสร็จแล้ว
(1) ถ้าเห็นชอบด้วยกับสภาที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นสภาแรก ให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา 158
(2) ถ้าไม่เห็นชอบด้วยด้วยกับสภาที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นสภาแรก ให้ยับยั้งร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้ก่อน และส่งร่างพระราชบัญญัตินั้นคืนไปยังสภาที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นสภาแรก
(3) ถ้าแก้ไขเพิ่มเติม ให้ส่งร่างพระราชบัญญัติตามที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้นไปยังสภาที่พิจารณาร่าง พระราชบัญญัตินั้นเป็นสภาแรก ถ้าสภานั้นเห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติม ให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา 158 ถ้าเป็นกรณีอื่น ให้แต่ละสภาตั้งบุคคลซึ่งเป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกแห่งสภานั้น ๆ มีจำนวนเท่ากันตามที่สภาผู้แทนราษฎรกำหนด ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างนั้น และให้คณะกรรมาธิการร่วมกันรายงานและเสนอร่างพระราชบัญญัติที่คณะกรรมาธิการร่วมกันได้พิจารณาแล้วต่อสภาทั้งสอง ถ้าสภาทั้งสองต่างเห็นชอบด้วยร่างพระราชบัญญัติที่คณะกรรมาธิการร่วมกันได้พิจารณาแล้ว ให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา 158 ถ้า สภาใดสภาหนึ่งไม่เห็นชอบด้วย ก็ให้ยับยั้งร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้ก่อน
คณะกรรมาธิการร่วมกันอาจเรียกเอกสารจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริงหรือ แสดงความคิดเห็นในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติได้ และเอกสิทธิ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 141 นั้น ให้ คุ้มครองถึงบุคคลผู้กระทำหน้าที่ี่ตามมาตรานี้ด้วย
การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมกันต้องมีกรรมาธิการของสภาทั้งสองมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของจำนวนกรรมาธิการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม และให้นำบทบัญญัติมาตรา 148 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ถ้าสภาที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติในครั้งหลังนี้ไม่ส่งร่างพระราชบัญญัติคืนไปยังสภาที่พิจารณา ร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นสภาแรกภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 154 ให้ถือว่าสภา ที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติในครั้งหลังนี้ได้ให้ความเห็นชอบในร่างพระราชบัญญัตินั้น และให้ดำเนินการตาม มาตรา 158 ต่อไป”...
ทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอำนาจยับยั้งร่างกฎหมายของอีกฝ่าย
ขณะเดียวกันในร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 156 ระบุถึงอำนาจของสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ในการยับยั้งร่างพระราชบัญญัติด้วย โดยระบุว่า
“มาตรา 156 ร่างพระราชบัญญัติที่ต้องยับยั้งไว้ตามมาตรา 155 นั้น
(1) ถ้าสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงมติยับยั้งร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภาตามมาตรา 155 (2) และ วุฒิสภายืนยันร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ถ้าสภาผู้แทนราษฎรมีมติยืนยันการยับยั้ง ด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ หรือถ้าวุฒิสภาไม่ยืนยันร่าง พระราชบัญญัตินั้นภายในเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป แต่ถ้าสภาผู้แทนราษฎรมี มติยืนยันการยับยั้งด้วยคะแนนเสียงไม่มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ให้พิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นต่อไป
(2) ถ้าวุฒิสภาเป็นผู้ลงมติยับยั้งร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 155 (2) สภา ผู้แทนราษฎรอาจยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ต่อเมื่อเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวันได้ล่วงพ้นไปนับแต่วันที่วุฒิสภาลงมติ ยับยั้ง ถ้าสภาผู้แทนราษฎรมีมติยืนยันร่างเดิมของสภาผู้แทนราษฎรด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน สมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ให้ถือว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนั้นเป็นอันได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา และให้ ดำเนินการต่อไปตามมาตรา 158 แต่ในกรณีสภาผู้แทนราษฎรมีมติยืนยันร่างเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่มากกว่า กึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ให้ถือว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป
(3) ถ้าเป็นกรณีที่ร่างพระราชบัญญัติที่ต้องยับยั้งไว้ตามมาตรา 155 (3) นั้น สภาผู้แทนราษฎรอาจยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้เมื่อเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวันได้ล่วงพ้นไปนับแต่วันที่สภาใดสภาหนึ่งไม่เห็นชอบด้วย ถ้าสภาผู้แทนราษฎรลงมติยืนยันร่างเดิมของสภาผู้แทนราษฎร หรือของวุฒิสภา หรือร่างที่คณะกรรมาธิการร่วมพิจารณาด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ให้ถือว่าร่างพระราชบัญญัตินั้น เป็นอันได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา และให้ดำเนินการตามมาตรา 158
(4) ถ้าร่างพระราชบัญญัติที่ต้องยับยั้งไว้เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน สภาผู้แทนราษฎรอาจยกร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นพิจารณาใหม่ได้ทันที ไม่ว่าวุฒิสภาจะพิจารณายืนยันร่างพระราชบัญญัตินั้นหรือไม่ก็ตาม ในกรณีเช่นว่านี้ ถ้าสภาผู้แทนราษฎรลงมติยืนยันร่างเดิมหรือร่างที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาด้วย คะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ให้ถือว่าร่าง พระราชบัญญัตินั้นเป็นอันได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา และให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา 158
ในส่วนของร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 162 ระบุว่า
“มาตรา 162 ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะเสนอได้ก็แต่โดย
(1) คณะรัฐมนตรี
(2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของ สภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวน สมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือ
(3) สมาชิกวุฒิสภามีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา หรือ
(4) ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญซึ่งมีหน้าที่ี่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ซึ่งประธานศาลและประธานองค์กรนั้นเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น
ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตาม (1) (2) และ (4) ให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน ส่วนร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตาม (3) ให้เสนอต่อวุฒิสภาก่อน”
“มาตรา 164 ในกรณีที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง หรือสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงตามมาตรา 168 หรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมและร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและร่างพระราชบัญญัติที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วย หรือเมื่อพ้นเก้าสิบวันแล้วมิได้พระราชทานคืนมาให้เป็นอันตกไป
ในกรณีที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ภายหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นการเลือกตั้งทั่วไป รัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา แล้วแต่กรณี จะพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม หรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและร่างพระราชบัญญัติที่รัฐสภายังมิได้ให้ความเห็นชอบต่อไปได้ ถ้าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปร้องขอภายในหกสิบวันนับแต่วันเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรกหลังการเลือกตั้งทั่วไป และรัฐสภา มีมติเห็นชอบด้วย แต่ถ้าคณะรัฐมนตรีมิได้ร้องขอภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม หรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป แต่ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อเสนอตามมาตรา 149 (5) ที่รัฐสภายังมิได้ให้ความเห็นชอบ ให้รัฐสภาที่เลือกตั้งขึ้นใหม่ พิจารณาต่อไปโดยไม่ต้องมีมติตามวรรคนี้อีก”
ถ้าสมาชิกรัฐสภาตั้งกระทู้ถาม นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต้องตอบโดยเร็ว
ในส่วนของการตั้งกระทู้ถามนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี มีการเพิ่มข้อความให้ผู้ถูกตั้งกระทู้ "มีหน้าที่ต้องตอบโดยเร็ว" โดยระบุในร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 167 ว่า
“มาตรา 167 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาแต่ละคนมีสิทธิตั้งกระทู้ถามนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีในเรื่องใดเกี่ยวกับงานในหน้าที่ี่ได้ และนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีมีหน้าที่ต้องตอบโดยเร็ว แต่นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีย่อมมีสิทธิที่จะไม่ตอบเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเรื่องนั้นยังไม่ควรเปิดเผยเพราะเกี่ยวกับความปลอดภัยหรือประโยชน์สำคัญของแผ่นดิน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอาจตั้งกระทู้ถามสดต่อนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีได้ตามที่กำหนดใน ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร และนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีมีหน้าที่ต้องตอบกระทู้ถามนั้นด้วยตนเอง เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัย”
ถ้าอภิปรายไม่ไว้วางใจและเสียงเกินกึ่งหนึ่งลงมติไม่ไว้วางใจ นายกรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่งและให้ยุบสภา
ในส่วนของมาตรา 168 ที่เกี่ยวข้องกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีนั้น ระบุว่า
“มาตรา 168 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมด เท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และเมื่อได้มีการเสนอญัตติแล้วจะมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรมิได้ เว้นแต่จะมีการถอนญัตติหรือการลงมตินั้นไม่ได้คะแนนเสียงตามวรรคสาม
การเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของนายกรัฐมนตรีที่ มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ี่ราชการ หรือจงใจฝ่ำฝืนบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย จะเสนอโดยไม่มีการยื่นคำร้องขอตามมาตรา 256 ก่อน หรือถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารราชแผ่นดินอันเล็งเห็นได้ว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่เงินแผ่นดินจะเสนอโดยไม่มีการยื่นคำร้องขอฟ้องคดีตามมาตรา 247 ก่อน มิได้ และเมื่อได้มีการยื่นคำร้องขอตามมาตรา 256 หรือมีการฟ้องคดีมาตรา 247 แล้วแต่กรณีแล้วให้ดำเนินการต่อไปได้
เมื่อการอภิปรายทั่วไปสิ้นสุดลงโดยมิใช่ด้วยมติให้ผ่านระเบียบวาระเปิดอภิปรายนั้นไป ให้สภาผู้แทนราษฎรลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจ การลงมติในกรณีเช่นว่านี้มิให้กระทำในวันเดียวกับวันที่การอภิปรายสิ้นสุด และให้นับเฉพาะคะแนนเสียงไม่ไว้วางใจเท่านั้น มติไม่ไว้วางใจต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของ จำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
ในกรณีที่มติไม่ไว้วางใจมีคะแนนเสียงไม่มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของ สภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายนั้น เป็นอันหมดสิทธิที่จะ เข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีอีกตลอดสมัยประชุมนั้น
ในกรณีที่มติไม่ไว้วางใจมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของ สภาผู้แทนราษฎรให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงนับตั้งแต่วันที่มีมติดังกล่าว”
“มาตรา 170 ในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองที่มิได้ร่วมเป็นรัฐบาลและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มิได้อยู่ในพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองที่สมาชิกในสังกัดของพรรคหรือกลุ่มนั้น ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีมีจำนวนไม่ถึงเกณฑ์ที่จะเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรา 168 หรือมาตรา 169 ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรดังกล่าวทั้งหมด เท่าที่มีอยู่มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลตามมาตรา 168 หรือมาตรา 169 ได้ เมื่อคณะรัฐมนตรีได้บริหารราชการแผ่นดินมาเกินกว่าสองปีแล้ว”
“มาตรา 172 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีอิสระจากมติพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองในการตั้งกระทู้ถาม การอภิปรายและการลงมติในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ”