วันอังคาร, มีนาคม 20, 2561

พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ฉบับใหม่ (here กว่าเดิม)




พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ฉบับใหม่ (here กว่าเดิม) ให้อำนาจอย่างกว้างขวางกับคณะกรรมการที่นายกฯ นั่งเป็นประธาน สามารถ “ขอความร่วมมือ” จากหน่วยงานของรัฐ/เอกชน ในการเข้าถึงข้อมูลหรือการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ คือเขียนว่า “ขอความร่วมมือ” แต่มี “บทลงโทษ” ถ้าไม่ทำตาม WTF! แถมเขียนให้คณะกรรมการ “ดำเนินการโดยให้ขอหมายศาลก่อน” แต่แถมว่า “กรณีที่จำเป็นเร่งด่วน สามารถดำเนินการไปก่อนแล้วค่อยมารายงานศาลก็ได้” นี่มันหยามน้ำหน้าศาลชัด ๆ เห็นศาลเป็นหัวหลักหัวตอหรือไง ก็คนที่ตัดสินว่า “จำเป็นเร่งด่วน” น่ะ ก็ตัวคณะกรรมการเองไม่ใช่หรือ? อ้อ คณะกรรมการนี้มีตัวแทนของกองทัพอยู่ด้วย โดยรัฐมนตรีกลาโหม เป็นรองประธานคนที่หนึ่ง คือทำหน้าที่แทนนายกฯ ได้เลย โห รัฐทหาร!

ooo




อ่านร่างพ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ฉบับใหม่แล้วครับ
ประเด็นหลักๆ ที่เห็นตอนนี้ เล่าแบบบ้านๆ คือ

#หัวหน้า

- นายกนั่งเป็นประธานกรรมการ (ร่างที่แล้วเป็นรัฐมนตรีดิจิทัล)
- กระทรวงกลาโหม/หน่วยงานความมั่นคงเป็นตัวนำนโยบาย
- กระทรวงดิจิทัลเป็น "กองเลขา" คอยทำตามนโยบายนั้น (ผ่านคณะกรรมการบริหารสำนักงาน)

- นายกมีอำนาจบังคับบัญชาและส่ังการได้ทั่วราชอาณาจักร (มาตรา 33)

- กรณีนายกไม่อยู่ รัฐมนตรีกลาโหม (รองประธานคนที่หนึ่ง) ทำหน้าที่แทน ถ้ารัฐมนตรีกลาโหมไม่อยู่อีก ค่อยเป็นรัฐมนตรีดิจิทัล (รองประธานคนที่สอง) (มาตรา 11)

#สัมพันธ์อำนาจ

- มีแผนแม่บทของคณะกรรมการดิจิทัลและแผนแม่บทของสภาความมั่นคงกำกับอีกที (มาตรา 5)

- คณะกรรมการความมั่นคงไซเบอร์ มีอำนาจเสนอะแนะไปยังคณะกรรมการดิจิทัลได้ (แต่ไม่มีอำนาจเสนอแนะไปยังสภาความมั่นคงนะ - อำนาจวิ่งลงมาจากสภาความมั่นคงทางเดียว ไม่มีวิ่งขึ้น) (มาตรา 7)

#เจ้าหน้าที่

- เจ้าหน้าที่ตามพรบมาได้สองทาง ทางหนึ่ง นายกแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ (มาตรา 49) ทางสอง "Fast Track" เจ้าหน้าที่ทหารที่ได้รับมอบหมายเป็นเจ้าหน้าที่ตามพรบโดยอัตโนมัติ (มาตรา 50)

#ขอข้อมูล

- ขอข้อมูล (มาตรา 43) จากหน่วยงานเอกชนใช้คำสั่งศาล
- ขอข้อมูลหน่วยงานรัฐไม่ต้องใช้คำสั่งศาล (นิยามหน่วยงานรัฐตามมาตรา 3 นั้นให้รวมถึงนิติบุคคลและบุคคลที่ใช้อำนาจรัฐด้วย ดังนั้นอาจจะมากกว่าหน่วยงานรัฐที่เราเข้าใจ)

- ดักข้อมูล (มาตรา 47) ต้องใช้คำสั่งศาล ข้อยกเว้นกรณีเร่งด่วนให้ทำไปก่อนได้ (ซึ่งดูจะมีเหตุผลในความด่วนได้มากมาย)

#สันนิษฐาน

- มาตรา 40 เต็มไปด้วยคำว่า "สันนิษฐาน" "คาดว่าจะ" "ซึ่งน่าเชื่อว่า"

#ลงโทษ

- หน่วยงานรัฐ/ผู้มีหน้าที่ ถ้าไม่ทำตามคำสั่งคณะกรรมการ ถือว่าขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา (มาตรา 32) หรือผิดวินัย (มาตรา 34)

- หน่วยงานเอกชน ถ้าไม่ทำตามที่ขอความร่วมมือ ให้พิจาณาหากฎหมายอะไรก็ได้ที่ใช้มาลงโทษ (มาตรา 47) (ง่ะ นี่ขอความร่วมมือแบบไหน) 😨

#บทกำหนดโทษ

- ในร่างหมวด 6 ที่เกี่ยวกับการกำหนดโทษ ไม่ได้ระบุจำนวนเวลาหรือเงินเอาไว้เลย เป็นจุดจุดจุดอยู่ทั้งหมด

​----

กำลังชักชวนมิตรสหายมา Facebook Live เรื่องนี้ น่าจะวันอาทิตย์ครับ (หรือจันทร์ เนื่องจากมิตรสหายบางท่านติดภารกิจครอบครัว) เดี๋ยวนัดเวลากันอีกที

----

ช่วยกันอ่านได้ที่นี่ครับ http://www.lawamendment.go.th/…/it…/1211-2018-03-08-01-17-38

ส่งความคิดเห็นได้ถึงวันที่ 25 มีนาคมนี้

สำหรับผู้ไม่ประสงค์จะร่วมระบบอะไรใดๆ กับคณะทหาร ก็สามารถส่งเสียงทางอื่นได้เช่นกัน

----

ประชาชาติธุรกิจ วาดโครงสร้างหน่วยงานเอาไว้ให้ดู ตามข่าวนี้
https://www.prachachat.net/ict/news-130858

อาจารย์สราวุธ ปิติยาศักดิ์ เคยเปรียบเทียบร่างกฎหมายของไทยฉบับที่แล้ว กับของยุโรปเอาไว้ มีพูดถึงหลักคิดบางอย่างในเรื่องนี้เอาไว้ น่าสนใจดีครับ
https://thainetizen.org/…/national-cybersecurity-bill-anal…/

#พรบไซเบอร์ #พรบความมั่นคง

ที่มา FB

Art Suriyawongkul