วันเสาร์, กันยายน 30, 2560

ใครหนอ…ลืมล้างเท้าก่อนขึ้นธรรมาสน์ "ล้างเท้าก่อนดีไหม"




"ล้างเท้าก่อนดีไหม"

พระพุทธเจ้าทรงเล็งเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการพูด จึงมีหลักธรรมคำสอนเกี่ยวกับการพูดไว้มากมาย หนึ่งในคำสอนคือ "สัมมาวาจา" คือการเว้นจากการพูดไม่ดี ประกอบด้วย เว้นจากการพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดคำหยาบ และการพูดเพ้อเจ้อ แม้แต่การแสดงธรรมก็เช่นกัน การแสดงธรรมที่ดีจะต้องมีจิตเมตตาปรารถนาดีต่อผู้อื่น ไม่แสดงธรรมกระทบผู้อื่น รวมถึงการไม่ยกตนข่มท่าน เป็นต้น

คำพูดที่ว่า "ผมเดินเชิดหน้าได้เพราะไม่เคยทำผิด" เป็นการพูดยกย่องตัวเองหรือยกตนข่มท่าน ส่วนคำพูดที่ว่า "ใหญ่โตแค่ไหนก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกันหมด" เป็นการโอ้อวดตนเองและสั่งสอนผู้อื่น เข้าลักษณะการพูดส่อเสียดและพูดเพ้อเจ้อซึ่งเป็นมิจฉาวาจา ที่นอกจากจะนำมาซึ่งความขัดแย้งแล้วคนที่ได้ฟังยังไม่มีใครนิยมหรือสรรเสริญ ยิ่งหากพิจารณาสถานะของผู้พูดที่ไม่เคยยอมรับการตรวจสอบเพราะออกกฎหมายนิรโทษกรรมตัวเองและพรรคพวกมาตลอด ยิ่งจะเป็นคำพูดที่ไม่มีใครเชื่อถือ เพราะการพูดจาสั่งสอนคนอื่นตัวเองจะต้องทำสิ่งนั้นให้ได้ก่อนดังคำกล่าวที่ว่า "ต้องล้างเท้าก่อนขึ้นธรรมาสน์" หาไม่แล้วอาจจะถูกตำหนิได้ว่าดีแต่พูด หรือพูดยกย่องตัวเอง ซึ่งการยกย่องตัวเองคนไทยเรียกว่า "ยกหาง" หรือ "ยกก้น" อันเป็นกริยาของสุนัขเวลาจะปล่อยอาจมหางจะยกขึ้นเองโดยไม่มีใครต้องไปช่วยยก บางท่านเปรียบเทียบกับกลองดีต้องไม่ดังเอง หากกลองลูกใดไม่ถูกคนตีแต่ดันมีเสียงดังเอง โบราณเรียกกลองอัปรีย์ มีไว้เป็นกาลกิณีแก่บ้านเมืองท่านให้เอาไปทำลายทิ้ง

วัฒนา เมืองสุข
สมาชิกพรรคเพื่อไทย
30 กันยายน 2560

ที่มา FB


Watana Muangsook


พงศ์เทพ เทพกาญจนา : ทำไม แพใหญ่ ไม่แตกเสียที ?




https://www.facebook.com/matichonweekly/videos/1845681222125882/


America’s Biggest Southeast Asian Ally Is Drifting Toward China's Orbit - Foreign Policy





America’s Biggest Southeast Asian Ally Is Drifting Toward China


Thailand has been slipping into Beijing's orbit for decades. It's time for Trump to make a counter-offer.


BY BENJAMIN ZAWACKI
SEPTEMBER 29, 2017
Sourece: Foreign Policy


When Thai Prime Minister Prayuth Chan-ocha visits the White House on Oct. 3, North Korea will top the agenda. Thailand, a U.S. treaty ally with modest economic links to Pyongyang, will be asked to help press international efforts to defang the aspiring nuclear power.

A major reason for Thailand’s ready and reliable support is that, given the United States and China largely agree on North Korea in public, Bangkok is not being forced to choose between the two global powers.

A major reason for Thailand’s ready and reliable support is that, given the United States and China largely agree on North Korea in public, Bangkok is not being forced to choose between the two global powers. Yet plenty of potential conflicts could force Thailand to side with one over the other — and the odds don’t favor Washington.The Trump administration needs to focus on Beijing’s growing power in the country and begin responding before its ally slips permanently into China’s orbit.

The prevailing view is that China began making inroads in Thailand after Prayuth staged a coup in 2014. The United States suspended military assistance, canceled a series of visits, and downgraded its level of engagement. In fact, China has been methodically overtaking the United States for two decades. A dogmatic U.S. response to the region’s financial crisis in 1997 presaged its fall from first to third on Thailand’s list of trading partners a decade later. China has replaced the United States at the top, and its foreign direct investment grew from 1 percent of Thailand’s total in 2006 to 15 percent by 2016. This was second to Japan and two slots ahead of the United States.

In recent months, Donald Trump’s listing of Thailand as among 16 nations with which the United States endures a trade imbalance speaks to a recent history of American neglect. The president’s reckless dumping of the Trans-Pacific Partnership, which the Thais were close to joining, has forfeited Asia’s economic future to China’s 16-member Regional Comprehensive Economic Partnership.

While Washington continually points to annual Cobra Gold exercises as evidence of deep “military-to-military” relations, the 35-year history of the drills betrays inertia over initiative. Meanwhile, the first Sino-Thai naval exercises were held in the Andaman Sea in 2004 and in the Gulf of Thailand in 2005, becoming a regular series of “Strike” drills between the two countries. Strike 2007 was the first joint exercises with any nation involving China’s special forces; Strike 2008 marked the first time they trained with foreign troops abroad. Blue Strike maritime drills commenced in 2010, and the first Sino-Thai air force exercises, Falcon Strike, took place in 2015. Bangkok proposed building a Chinese weapons and maintenance center in Thailand in 2016 and this year purchased the first of three Chinese submarines.

That China’s gains have come at U.S. expense is clear, but does a zero-sum dynamic reminiscent of the Cold War still matter in 2017?

Given Thailand’s critical position, the answer is undoubtedly yes. Thailand separates the Strait of Malacca from the South China Sea. Through the strait passes one-third of global trade andnearly a third of all oil and liquefied natural gas — and even higher shares of what China exports and consumes.

The South China Sea hosts competing territorial claims among an expansionist China and five nations in maritime Southeast Asia. The sea’s northernmost point is Taiwan. If either the South China Sea and/or Taiwan triggered a crisis or conflict, China’s ability to move ships and personnel, commodities and supplies, could be hindered by its dependency on the Strait of Malacca. The U.S. Navy’s 7th Fleet not only patrols the contentious sea and keeps watch on Taiwan but has the capability to close off the strait.

Thailand is not a claimant in the South China Sea and has consistently refused to side with its neighbors, pledging a neutrality that is welcomed by China. Thailand has also been a proactive adherent to Beijing’s “One China” policy. Most importantly, its narrow Kra Isthmus separates the Gulf of Thailand and the South China Sea on the east from waters on the west: the Andaman Sea, Bay of Bengal, Indian Ocean, Arabian Sea. A canal across the isthmus would render ancillary the Strait of Malacca.

Following two years of renewed Chinese interest, Prayuth remarked in January 2016 that a canal should be debated by future governments. But with the junta’s grip on power both strong and popular, the project could well be sped up. The chair of a new Thai Canal Association — already cooperatingwith researchers at Peking University — is a former army chief and was secretary-general to Thailand’s military prime minister in 2007. He is also the secretary-general of a foundation named after another ex-army chief and former prime minister, Prem Tinsulanonda, and runs the association out of its offices. Critically, both retired premiers are senior members of the Thai king’s Privy Council; the project would require a nod from the palace.

The new association claims to have 200,000 local signatures in support of a canal, but as shown by Prayuth’s decision in July to approve by decree an unpopular Sino-Thai high-speed rail, domestic opinion will make little difference. The rail line is part of a larger design running south from China’s Yunnan province, intersecting the canal before continuing to Singapore at the entrance/exit the Strait of Malacca.

These projects come as China begins to implement its Belt and Road Initiative. With a land-based “belt” west of China and a southern maritime “road” hugging the western Pacific and Indian oceans through Southeast and South Asia to the Red Sea, Thailand sits in a pivotal position for these plans. A new Joint Action Plan on Thailand-China Strategic Cooperation, approved in August, specifically referenced the initiative amid 20 areas of mutual interest. In contrast, the U.S.-Thailand Strategic Dialogue in July had no grand vision to inform it, nor did it produce any plan of action.

Prayuth’s decree on the high-speed rail not only set a precedent but revealed more subtle Chinese influence. The “China model” of authoritarian capitalism has all but replaced democracy in Thailand, as well as eroded “U.S. values” of human rights and the rule of law. A prohibition on political gatherings remains in place nearly 41 months after the coup, and elections are routinely dismissed as untimely. Military justice has expanded, and a close watch is kept over the press. Yet few Thais seem to notice or care, as the Chinese ideal of government has been embraced across all parties, factions, and political interest groups for more than a decade.

While Trump generally shares this ambivalence toward democratic ideals, Beijing’s exploitation of this in the service of geopolitics should convince him that principles are also pragmatic. Offering an alternative to illiberal governance and convincing Thailand that it is in its interests would be a practical as well as ideological victory.

North Korea may be the crisis of the moment, but it’s just a warmup when it comes to resolving Washington’s issues with Bangkok. After two decades of U.S. distraction and drift, China is the only game in town.

Photo credit: Wang Zhao-Pool/Getty Images


อยู่คนละฟากแม่น้ำ 'ก็' เลือกลงเรือลำเดียวกันไปได้ :‘Case-in-Point’ เอิ่ม...เรื่องของการอกหักอีกแล้ว

คราเมื่อผู้เผด็จการอ้างสร้างประชาธิปไตย พูดได้ด้านๆ “เดินมาด้วยความมั่นใจเพราะไม่ได้ทำอะไรผิด...เชิดหน้าเข้ามาได้” ก็มีอันให้ต้อง อกหัก กันอีกบ้าง

มิใยโดนวีระ สมความคิด เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชั่นย้อนให้ “ที่คุณเดินเชิดหน้าได้อยู่ทุกวันนี้ ก็เพราะคุณใช้อำนาจออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับตัวเอง” ก็ตาม



กรณีในเป้าข้อนี้ เกิดจากข่าวอุบัติการณ์ ชัชชาติได้รับแต่งตั้งเข้าเป็นกรรมการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ๖ ด้านของ คสช. ด้วยคนหนึ่ง

‘Case-in-Point’ ก็คือ “เอิ่ม...นั่นคือการให้ความชอบธรรมต่อคณะรัฐประหารครับ” อจ.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ เขียนวิจารณ์จากลันดั้นด้วยความกระอักกระอ่วนเล็กน้อย

แต่สำหรับ ไทยโพสต์ ซัดเต็มคราบในข่าว (ชนิด สุรพศ ทวีศักดิ์ คนที่แจ้งลายแทงบอกว่า “ที่ผ่านมาผมไม่เคยแชร์ข่าวชัชชาติเลย...นี่แชร์เป็นครั้งแรก #แชร์มาขรรม”) 

ที่เรียกเสียงฮือฮาก็คือ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีต รมว.คมนาคม ยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ทำงานติดตามนายทักษิณ ชินวัตร มาตลอด อีกทั้งนายชัชชาติก็อยู่ร่วมในห้องประชุมกองทัพบกวันพล.อ.ประยุทธ์ทำรัฐประหารเมื่อ ๒๒ พ.ค.๕๗ โดยมีฉายาตามโลกโซเชียลฯ ว่า รัฐมนตรีที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี


ที่ว่าเขา “ติดตามนายทักษิณ ชินวัตร มาตลอด” นี่ไม่แน่ใจนะว่าทีมงานของโรจน์ งามแม้นตามัวไปนิดไหม น่าจะเช็คกับสุรนันท์ เวชชาชีวะ หรือไม่ก็สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ สักหน่อยก็ดี

ถึงอย่างไร ชัชชาติก็เป็นขวัญใจ เพื่อไทย และติ่งชินวัตรมาก่อนอย่างแน่นอน อย่างน้อยเพราะความเป็นมืออาชีพ มีทัศนวิสัยทางการบริหารแจ้งชัดและกว้างไกลของเขา เมื่อไม่นานมานี้ (ต้นมีนา) เขาเพิ่งแสดงวิสัยทัศน์ในการปรับปรุงระบบคมนาคมไทยยุค คสช. ไว้น่าฟังทีเดียว

ว่าแทนที่จะต้องเอารถไฟฟ้าสายโน้นสายนี้ให้ได้ สามารถปรับปรุงระบบรถเมล์ประจำทางให้รวดเร็วทันสมัยและตรงเวลาเสียก่อนจะดีกว่า เพราะรถเมล์สะดวกกับผู้ใช้บริการมากกว่า ราคาค่าตั๋วไม่แพงอย่างรถไฟฟ้า

อีกประเด็นที่เขาพูดถึงในการให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร เวย์ไว้ยาวเหยียด เรื่องการปรับปรุงรถตู้บริการ เขาพูดถึงวีธีสำรวจสรรพคุณของผู้ให้บริการ โดยเสนอว่าคนรุ่นใหม่วัยนักศึกษานี่แหละเขียนแอ็พลิเกชั่นสำหรับกดแสดงความพอใจไม่พอใจหลังจากใช้บริการแต่ละครั้ง

เป็นวิธีตรวจสอบประสิทธิภาพรายวันแบบที่รถรับจ้าง อูเบอร์ทำอยู่ทั่วโลก (ของอูเบอร์นั้นคนขับให้คะแนนคนนั่งด้วย ใครคะแนนไม่ดีเรียกครั้งต่อไปไม่มีใครรับ) ชัชชาติบอกว่าเขาเคยทดลองด้วยกล่องหย่อนตั๋ว ๓ ช่อง สมัยเป็น รมว. คมนาคม เก็บข้อมูลทุกเย็น ปรากฏว่าได้ผล


ในเวลาต่อมาไล่เรี่ยกับการให้สัมภาษณ์ครั้งนั้น เชื่อว่าในการตอบคำถามหลังจากการบรรยายที่ธรรมศาสตร์ รังสิต เขาพูดเต็มปากว่า “ไม่ยุ่งการเมืองแล้ว” 

นั่นเป็นเหตุให้เขาต้องตา คสช. หรือเปล่าไม่รู้ แต่ว่าคำถามที่ผุดเด่นขึ้นมายิ่งกว่า กลับเป็นว่า คสช. ตาดีขนาดนั้นเชียวหรือ

อย่างไรก็ดี คนที่อกหักมักจะไม่พูดในทันที (ไม่เหมือน จอมยูเอสเอ ในอีกกรณี ต่างกรรมไม่ต่างวาระ) มีแต่ผู้ที่เหนียวแน่นด้านจุดยืนการเมืองและกีฬาสี ที่แสดงปฏิกิริยาออกมาอย่างไม่อมพะนำ

นอกจากสุรพจน์ ทวีศักดิ์ ที่ซัดไม่ยั้งว่า “ไม่เคยตื่นเต้นกับดราม่าอะไรเกี่ยวกับเขา” เท่าที่เจอตอนนีก็มี ชัยวุฒิ สุวรรณโณ อีกรายหนึ่งละ เขาใส่ไม่อ้อมค้อมยิ่งกว่า

“เอาไปอ่านให้ตาสว่างกัน ชัชชาติ เป็นคนมีความสามารถทางวิศวกรรมและมีวิสัยทัศน์ทางเศรษฐกิจ จนผู้รักประชาธิปไตยพากันคลั่งไคล้ บางคนวาดหวังให้เป็นหัวหน้าพรรค ให้เป็นนายกรัฐมนตรี

ผมเห็นแย้งแต่ไม่เคยโพสต์เพราะกระแสแรงอาจถูกรุมกระทืบ วันนี้ถึงเวลาแล้วที่จะบอกว่าผมเห็นแย้งเพราะอะไร

1.บิดาชัชชาติเป็นหนึ่งในตำรวจที่มีรายชื่อบัญชาการล้อมปราบนักศึกษา 6 ตุลา 19

2.มารดาชัชชาติ นามสกุลกุลละวณิชย์บอกถึงสายสัมพันธ์

3.ชัชชาติ เคยเป็นผู้ช่วยอธิการจุฬาและตำแหน่งบริหารสำนักงานทรัพย์สินจุฬา บอกถึงสายสัมพันธ์

4.ชัชชาติ มีคดีติดตัวจากการทำธุรกิจอยู่ในขณะนี้

มองออกหรือยังว่าเขาควรอยู่ฝ่ายไหน ผมจึงไม่เคยวาดหวังและไว้ใจมาตั้งแต่ต้น แต่เงียบๆ เอาไว้ไม่อยากสวนกระแส”

เรื่องกำพืดชาตุพันธุ์มิควรนำมาใช้ตัดสิน ความมุ่งมั่นและจิตสำนึกทางการเมืองก็ตามที ทว่าหลักเกณฑ์ ‘guilty by association’ มักใช้อธิบายอุบัติการณ์อันทำให้เกิดอาการอกหักได้เสมอ 

สภาพแวดล้อม คนในแวดวงสามารถเปลี่ยน ‘conviction and conscience’ ของคนๆ หนึ่งได้เช่นเดียวกับ ‘greed and ambition’ อาการมูมมามและความเห่อเหิม

บางครั้งบางที การที่ผู้อยู่คนละฟากแม่น้ำเลือกลงเรือลำเดียวกันไป มันย่อมพาเขาทั้งสองสู่จุดหมายเดียวกัน ไม่ว่าสองคนนั้นจะเป็นวีระ สมความคิด กับเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ หรือว่าชัชชาติ สิทธิพันธุ์ กับสุเทพ เทือกสุบรรณ

ปะเหมาะพอดี (ต่างกรรมไม่ต่างวาระอีกครั้ง) มีข้อความที่ อธึกกิต แสวงสุข ลงไว้ อ้างว่ามาจาก มิตรสหายท่านหนึ่งซึ่งอาจช่วยให้หายอกหักกันได้บ้าง ลองอ่านดู

“ด้วยความที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ดิฉันจึงมีมิตรสหายเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยเหมือนกันเยอะแยะ ดิฉันพบว่า มิตรสหายอาจารย์หลายท่านที่เคยรังเกียจการรัฐประหาร ได้เข้าไปร่วมวงกินเค้กงบไทยแลนด์ 4.0 ในรูปของโครงการวิจัยบ้างล่ะ ในรูปของคณะกรรมการของอะไรสักอย่างบ้างล่ะ

แม้แต่ตัวดิฉันเองก็ถูกกระซิบชักชวนให้ไปร่วมด้วยในโครงการเล็กๆ โครงการหนึ่งในถิ่นภูธร แต่ดิฉันก็ตอบไปตรงๆ ว่าไม่อยากมีชื่อว่าเคยสังฆกรรมใดๆ กับนโยบายของรัฐบาลนี้

ดิฉันได้ถามพวกเขาไปตรงๆ ทำไมพวกเขาจึงทำแบบนี้ ไปรับงานทำไม? พวกเขาให้เหตุผลฟังไพเราะว่า

ก็รู้อยู่แก่ใจว่าพวกนั้นมันโง่ มันไม่รู้เรื่อง ทำอะไรไม่เป็น ขืนปล่อยให้ทำไปตามยถากรรมประเทศก็ฉิบหายกันพอดี ยิ่งไม่เข้าไปทำมันจะยิ่งเละ สู้เข้าไปดีกว่า อย่างน้อยมีนักวิชาการเข้าไปทำ จะได้ประคับประคองประเทศไว้ได้ ตอนนี้ต้องช่วยกันประคองประเทศก่อนไม่ให้ล่มจม เรื่องอุดมการณ์ไว้ที่หลัง

...ดิฉันฟังแล้วถอนใจ รู้สึกสงสารคนตัวเล็กตัวน้อยที่ต้องสู้เพื่อประชาธิปไตยไปเองตามลำพัง เพราะถูกฝูงปัญญาชนชั้นนำทอดทิ้งกลางทาง...

ทุ่งลาเวนเดอร์ไปทางไหนคะ? โปรดบอกดิฉันด้วย ดิฉันจะไปวิ่งเล่น
.................................
(คอมเมนต์ต่อ)

แปลกใจที่นักวิชาการลิเบอรัล ไม่เข้มแข็งเหมือนพวกสายไม่เอาประชาธิปไตย เพราะพวกนั้นเขาชัดเจนว่าไม่ร่วมมือไม่สังฆกรรม เขาต้องการให้เกิด failed state เพื่อไล่ระบอบแม้ว-ปู ให้สิ้นซาก

...ย้ำว่า ถึงทำให้เกิด failed state พวกเขายังทำเลย

คลิปที่คนรุ่นใหม่ต้องดู - จิม แครี "อย่าทรยศหัวใจตัวเอง




เรื่องของคนรังเกียจรัฐประหาร แต่ชอบทานเค๊ก...



ภาพจากมติชน


จากมิตรสหายท่านหนึ่ง

"ด้วยความที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ดิฉันจึงมีมิตรสหายเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยเหมือนกันเยอะแยะ

ดิฉันพบว่า มิตรสหายอาจารย์หลายท่านที่เคยรังเกียจการรัฐประหาร ได้เข้าไปร่วมวงกินเค้กงบไทยแลนด์ 4.0 ในรูปของโครงการวิจัยบ้างล่ะ ในรูปของคณะกรรมการของอะไรสักอย่างบ้างล่ะ ..แม้แต่ตัวดิฉันเองก็ถูกกระซิบชักชวนให้ไปร่วมด้วยในโครงการเล็กๆโครงการหนึ่งในถิ่นภูธร แต่ดิฉันก็ตอบไปตรงๆว่า ไม่อยากมีชื่อว่าเคยสังฆกรรมใดๆ กับนโยบายของรัฐบาลนี้

ดิฉันได้ถามพวกเขาไปตรงๆ ทำไมพวกเขาจึงทำแบบนี้ ไปรับงานทำไม?

พวกเขาให้เหตุผลฟังไพเราะว่า

"ก็รู้อยู่แก่ใจว่าพวกนั้นมันโง่ มันไม่รู้เรื่อง ทำอะไรไม่เป็น ขืนปล่อยให้ทำไปตามยถากรรมประเทศก็ฉิบหายกันพอดี ยิ่งไม่เข้าไปทำมันจะยิ่งเละ สู้เข้าไปดีกว่า อย่างน้อยมีนักวิชาการเข้าไปทำ จะได้ประคับประคองประเทศไว้ได้ ตอนนี้ต้องช่วยกันประคองประเทศก่อนไม่ให้ล่มจม เรื่องอุดมการณ์ไว้ที่หลัง"

....ดิฉันฟังแล้วถอนใจ....

....รู้สึกสงสารคนตัวเล็กตัวน้อยที่ต้องสู้เพื่อประชาธิปไตยไปเองตามลำพัง เพราะถูกฝูงปัญญาชนชั้นนำทอดทิ้งกลางทาง....

ทุ่งลาเวนเดอร์ไปทางไหนคะ? โปรดบอกดิฉันด้วย ดิฉันจะไปวิ่งเล่น"

.................................
(คอมเมนต์ต่อ)

"แปลกใจที่นักวิชาการลิเบอรัล ไม่เข้มแข็งเหมือนพวกสายไม่เอาประชาธิปไตย เพราะพวกนั้นเขาชัดเจนว่าไม่ร่วมมือไม่สังฆกรรม เขาต้องการให้เกิด failed state เพื่อไล่ระบอบแม้ว-ปู ให้สิ้นซาก ...ย้ำว่า ถึงทำให้เกิด failed state พวกเขายังทำเลย"

ที่มา FB

Atukkit Sawangsuk

ooo

พวกสังฆกรรมรัฐประหารมักจะอ้าง อ.ป๋วย ทั้งที่ อ.ป๋วยได้รับยกย่องจากการวิพากษ์ถนอม และถูกกระทำจนต้องลี้ภัย

ที่ว่า อ.ป๋วยรับคำเชิญเป็นผู้ว่าแบงก์ชาติ สร้างรากฐานเศรษฐกิจไทย นั่นแค่ช่วงต้นเท่านั้น ถ้ามีบทบาทแค่นั้น คนรุ่นหลังก็คงไม่ยกย่อง อ.ป๋วยเช่นทุกวันนี้

ผมไม่อยู่ในฐานะที่จะตัดสินว่าการที่ท่านตอบรับคำเชิญ ถูกหรือผิด เพราะบริบทต่างกัน เราเอาสถานการณ์วันนี้ไปตัดสิน 60 ปีที่แล้วไม่ได้ (และอย่าอ้าง 60 ปีที่แล้วมาใช้กับวันนี้) แต่ที่ยกย่องกันว่า อ.ป๋วยสร้างแบงก์ชาติเป็นอิสระ นั่นคือท่านขอหลักประกันเป็นอิสระจากอำนาจเผด็จการ ทหารมายุ่มย่ามไม่ได้ แล้วท่านก็ไม่เคยไปรับตำแหน่งอื่นใดเพื่อลาภยศ รับเป็นอธิการบดี มธ.ก็เลือกรับเงินเดือนอธิการที่ต่ำกว่าผู้ว่าแบงก์ชาติด้วยซ้ำ

ถ้าจะทำให้ได้อย่าง อ.ป๋วย เมริงก็เป็นอธิการบดีมหาลัยที่ขอพื้นที่เสรีภาพ มีอิสระทางความคิด ทางวิชาการ ห้ามทหารมายุ่งสิวะ

อีกทัศนะที่ว่าเมื่อเผด็จการทหารอยู่นาน สืบทอดอำนาจนาน ไม่อยากเห็นประเทศล่มจม ต้องเข้าไปช่วยวางรากฐานเศรษฐกิจ ให้มีความสามารถแข่งขัน ประชาชนอยู่ดีกินดีมีการศึกษา วันหน้าจะได้กลับมาเป็นพลังประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง

อันนี้สามานย์มากนะ ต่อให้ไม่คิดว่าเข้าไปรับผลประโยชน์อะไรก็เถอะ เพราะสังคมแบบนี้ยิ่งพยุงไปยิ่งต่ำตม โดยบอกไม่ได้ว่าจะถึงกาลวิบัติแบบไหน มันจะเป็นระบอบที่ยิ่งไร้หลัก ยิ่งใช้อำนาจ ยิ่งเลอะเทอะ ขณะที่ยิ่งครอบงำและสร้างภาพ ยิ่งประสบความสำเร็จทางเศรษฐกิจจะยิ่งเหลื่อมล้ำ และยิ่งไม่มีพื้นที่ให้ประชาชน ซึ่งจะถูกทำให้เป็นสลิ่ม AI

คืออันที่จริง ในโลกของความเป็นจริง แม้เราไม่ร่วมมือไม่สังฆกรรม มันก็มีด้านที่จำต้องสังฆกรรม เช่นผมต้องทำมาหากิน ต้องจ่ายภาษีให้ซื้อเรือดำน้ำ คนทำธุรกิจก็จำต้องลงทุน ขยายกิจการ คนเป็นข้าราชการยิ่งแล้วใหญ่ ยิ่งทำงานดี ช่วยเหลือประชาชนตามโครงการรัฐบาล ยิ่งไปเสริมระบอบรัฐทหาร แต่จะให้ทำไง

ฉะนั้นการตีกรอบเรื่องไม่ร่วมมือ ไม่สังฆกรรม มันก็ขึ้นกับสถานะแต่ละคน แบบหลังรัฐประหารเคยมีเพื่อนยกตัวอย่าง ทหารมันเข้าไปคุมมวลชนทุกหมู่บ้าน แล้วมันมาถามแกนนำเสื้อแดง จะปราบยาเสพย์ติดให้ ช่วยชี้ช่องหน่อยว่าใครขายยาบ้าง เป็นคุณจะร่วมมือไหม หรือเป็นแกนนำชุมชน เอาโครงการแบบ 9101 มาให้ ทำอย่างเข้มแข็งได้ผลไม่ทุจริต รัฐบาลก็ได้หน้า แต่ประชาชนได้ประโยชน์

เรื่องนี้มันเป็นกรณีๆ ไป แต่เป็นอะไรที่ใช้จิตสำนึกได้ ประชาชนก็เห็นได้

แต่ถ้าบอกว่าจะเข้าไปช่วยพัฒนาศักยภาพการแข่งขัน ทั้งที่พวกเขาทำทุกอย่างเพื่อทำลาย ตั้งแต่ศาลลูกรัง ม็อบขับไล่ ทำลายทุกวิถีทาง จนเอาชนะได้ แล้วค่อยมานับหนึ่งใหม่ แล้วชวนไปร่วมมือกัน ยังร่วมมือกับเขา นี่ไม่รู้จะพูดไง

Atukkit Sawangsuk


หมิ่น 'ศาล รธน.' โทษคุก 1 เดือน 'สนช.' รับหลักการ พ.ร.บ.ศาล รธน.




ก้อนขี้หมาติดป้ายว่าห้ามเหม็น
%%%%
ก้อนขี้หมาติดป้ายว่าห้ามเหม็น
ใครบ่นเป็นโทษผิดติดคุกขัง
คนได้กลิ่นส่ายหน้าว่าเหม็นจัง
แอบนินทาเสียงดังไปทั้งเมือง
ขี้ไม่เหม็นใครเห็นก็ไม่บ่น
ขี้ที่เหม็นเหลือทนย่อมเกิดเรื่อง
ใช้มือปิดปากเขาก็เปล่าเปลือง
จมูกดมขมเคืองไปทั้งคอ


Kasian Tejapira


มารู้จัก Dutch disease ที่ไทยกำลังเจอ




คำว่า “Dutch disease” นี้น่าจะถูกนำมาใช้โดยนิตยสาร The Economist ในปี 1977 ซึ่งสังเกตเห็นภาวะ “แข็งนอก-อ่อนใน” ของเศรษฐกิจดัตช์ (เอ๊ะ ฟังคุ้นๆ นะครับ) แม้ยอดการส่งออกดี แต่ภาวการณ์ว่างงานพุ่งขึ้นจาก 1.1% เป็น 5.1% และการลงทุนภาคเอกชนในประเทศหดหาย

ไทยกำลังเจอ Dutch disease?


By Pipat Luengnaruemitchai | Sep 6, 2017
เวป 101


เคยได้ยินคำว่า “Dutch disease” ไหมครับ

วันนี้ผมขอชวนคุยเรื่องนี้หน่อยครับ เพราะมีสัญญาณบางอย่างเตือนว่าเศรษฐกิจไทยอาจจะกำลังติดโรคนี้มาแบบอ่อนๆ

“Dutch disease” เป็นคำที่ใช้อธิบายเศรษฐกิจของประเทศเนเธอร์แลนด์ หรือ Dutch ในช่วงทศวรรษ 1960s เมื่อมีการค้นพบก๊าซธรรมชาติในทะเลเหนือ แม้จะเป็นข่าวดีต่อเศรษฐกิจดัตช์ แต่เงินตราต่างประเทศที่มาจากการส่งออก ทำให้ค่าเงิน Dutch guilder แข็งค่าขึ้น จนสินค้าส่งออกที่ไม่ใช่พลังงาน โดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรม ราคาแพงขึ้น และสูญเสียความสามารถในการแข่งขันไป

สถานการณ์นี้ยิ่งทำให้ฐานการส่งออกพึ่งพาราคาพลังงานมากขึ้น และมีความเสี่ยงจากราคาน้ำมันที่ผันผวน เมื่อราคาก๊าซธรรมชาติปรับลดลง ฐานสินค้าอุตสาหกรรมก็อ่อนแอกว่าที่จะแข่งขันกับตลาดโลกได้เสียแล้ว

นอกจากนี้ การค้นพบก๊าซธรรมชาติทำให้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจถูกทุ่มลงไปในอุตสาหกรรมกลุ่มนี้ ซึ่งใช้ทุนมากและใช้แรงงานน้อย จนยิ่งทำให้อุตสาหกรรมอื่นๆ ของประเทศอ่อนแอ การว่างงานเพิ่มขึ้น และเมื่อค่าเงินแข็งค่าเร็วเกินไป ก็มีการลดอัตราดอกเบี้ย ยิ่งทำให้มีเงินไหลออก ทำให้การลงทุนในประเทศลดลง ทำลายศักยภาพระยะยาวของประเทศไปอีก





คำว่า “Dutch disease” นี้น่าจะถูกนำมาใช้โดยนิตยสาร The Economist ในปี 1977 ซึ่งสังเกตเห็นภาวะ “แข็งนอก-อ่อนใน” ของเศรษฐกิจดัตช์ (เอ๊ะ ฟังคุ้นๆ นะครับ) แม้ยอดการส่งออกดี แต่ภาวการณ์ว่างงานพุ่งขึ้นจาก 1.1% เป็น 5.1% และการลงทุนภาคเอกชนในประเทศหดหาย

แม้คำว่า “Dutch disease” มักจะใช้กับข่าวดีจากการค้นพบทรัพยากรธรรมชาติ แต่ก็อาจจะใช้กับเหตุการณ์อื่นๆ ที่นำมาซึ่งเงินตราต่างประเทศได้ด้วย เช่น ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ หรือเงินลงทุนจากต่างประเทศ

คำๆ นี้เตือนใจเราว่า ข่าวดีอาจจะกลายเป็นข่าวร้ายได้ ถ้าไม่บริหารจัดการให้ดี

ถ้ารายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศถูกแปลงเป็นเงินสกุลท้องถิ่น ก็อาจจะทำให้ค่าเงินของประเทศนั้นแข็งค่าขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น และอาจเป็นแรงกดดันให้เงินสกุลนั้นแข็งค่าขึ้น จนทำให้ความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมที่ต้องแข่งกับประเทศอื่นๆ (tradable goods) ลดลง

ถ้าประเทศพยายามตรึงค่าเงินไม่ให้แข็งค่าขึ้น การไหลเข้าของเงินตราต่างประเทศอาจจะทำให้ปริมาณเงินในประเทศนั้นเพิ่มขึ้น จนกดดันให้เงินเฟ้อในประเทศสูงขึ้นเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ สุดท้ายก็ทำให้ค่าเงินที่แท้จริง (real exchange rate) แข็งค่าขึ้น และส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันอยู่ดี

และเมื่อรายได้เงินตราต่างประเทศเหล่านั้นหมดลง (เช่น ก๊าซธรรมชาติหมดไป หรือราคาลดลงอย่างรวดเร็ว) อาจสร้างความเสียหายให้กับประเทศอย่างถาวร เพราะฐานสินค้าอุตสาหกรรมได้ถูกทำลายไป ต้องใช้เวลานานกว่าจะสร้างกลับคืนมา

เป็นที่น่าสังเกตว่า ในบางประเทศ เช่น นอร์เวย์ มีรายได้จากน้ำมันมูลค่ามหาศาล แต่กลับไม่เจอปัญหา Dutch disease ส่วนหนึ่งเพราะนอร์เวย์เก็บออมรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศไว้ในกองทุนความมั่งคั่ง (ในรูปแบบของกองทุนบำเหน็จบำบาญ) เพื่อส่งต่อให้กับคนรุ่นต่อไปในวันที่น้ำมันสำรองถูกใช้หมด และกองทุนนี้นำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศและเงินตราต่างประเทศ รายได้ต่างประเทศไม่ถูกเปลี่ยนเป็นเงินสกุลท้องถิ่นทั้งหมด จึงมีผลกระทบไม่มากต่ออัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจภายในประเทศ

โรคนี้ถูกนำไปใช้อธิบายกับเหตุการณ์หลายอย่างในประวัติศาสตร์ เช่น เมื่อครั้งสเปนเจอทรัพยากรธรรมชาติจากทวีปอเมริกาสมัยศตวรรษที่ 16 หรือออสเตรเลียเจอทองในช่วงปี 1850 รวมทั้งเศรษฐกิจประเทศผู้ส่งออกน้ำมันทั้งหลายในยุคที่ราคาน้ำมันขึ้นไปมากๆ ก่อนจะร่วงลงมา หรือแม้กระทั่งอังกฤษในยุคล่าอาณานิคม

Dutch disease อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของคำอธิบายภาวะที่เรียกว่า oil curse หรือ resource curse หรือบางคนใช้คำว่า paradox of plenty หรือ คำสาปแห่งทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งมักใช้อธิบายข้อสังเกตที่ว่า ประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติมากมักเป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจต่ำ มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจแย่ และมีความเหลื่อมล้ำสูง และมักจะถูกปกครองโดยเผด็จการ

ปรากฏการณ์นี้มักเกิดขึ้นในประเทศที่มีคุณภาพของสถาบันทางเศรษฐกิจและการเมืองต่ำ รายได้ที่หามาได้ง่ายๆ มักถูกนำไปใช้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ บ่อยครั้งเป็นที่มาของการคอร์รัปชัน ความขัดแย้ง และการยึดอำนาจ ดังเช่นหลายประเทศในแอฟริกาและลาตินอเมริกา

Dutch disease กับประเทศไทย


ระยะหลังมีผู้คนเป็นห่วงเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับต้นปีที่ผ่านมา เงินบาทเป็นสกุลเงินที่แข็งค่าขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยแข็งค่าขึ้นไปกว่า 7% (แต่ถ้าเราดูดัชนีค่าเงินบาทเทียบกับทุกประเทศคู่ค้า เงินบาทแข็งค่าขึ้นไปแค่ไม่ถึง 3% เพราะมีคู่ค้าที่ค่าเงินแข็งด้วย เช่น เงินยูโร)




คำอธิบายเรื่องการแข็งค่าขึ้นของเงินบาทมี 3 เรื่องใหญ่ๆ คือ

(1) ค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงมาก เพราะคนตั้งความหวังไว้มากกับเงินเฟ้อ และนโยบายของ Trump

(2) ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่ดึงดูดเงินทุนไหลเข้า แต่ก็ลดลงไปมากหลังจากสหรัฐขึ้นดอกเบี้ยมา 2-3 ครั้ง

และ (3) การเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ที่ไทยเกินดุลค่อนข้างมากในระยะหลังๆ ปีที่แล้วเราเกินดุลถึง 11% ของ GDP และปีนี้ก็น่าจะเกินดุลในระดับใกล้เคียงกัน ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่สูงมาก ในบางเดือนเราเกินดุลบัญชีเดินสะพัดมากกว่าเงินทุนที่ไหลเข้าตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้นเกือบครึ่งปีรวมกัน

หลายคนอาจจะสงสัยว่าเราเกินดุลบัญชีเดินสะพัดมากขนาดนี้ได้อย่างไร ทั้งๆ ที่การส่งออกก็ไม่ค่อยดีเท่าไร และติดลบมากว่าสามปี (เพิ่งจะกลับมาขยายตัวเมื่อไม่กี่เดือนมานี้) ผมเคยเล่าถึงการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดว่าเป็นเครื่องสะท้อนว่าเรามีเงินออมในประเทศมากกว่าโอกาสในการลงทุน ซึ่งอาจจะเป็นสัญญาณว่าอุปสงค์ในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุนในประเทศอ่อนแอเต็มทน และอาจจะเป็นอาการของภาวะเงินเฟ้อต่ำก็ได้

แต่ถ้าเราไปดูไส้ในจะพบว่า การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่เพิ่มขึ้นมากมาจากสองส่วนใหญ่ๆ คือ (1) การเพิ่มขึ้นของดุลบริการ นั่นคือ การท่องเที่ยว และ (2) การลดลงของการนำเข้าสินค้า ซึ่งมาจากราคาน้ำมันที่ลดลงไปมาก และเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอลงและการลงทุนที่หายไป




ในปัจจุบัน การท่องเที่ยวความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ต่อเศรษฐกิจไทย ในแต่ละไตรมาส ประเทศไทย “ส่งออก” บริการ และได้รับเงินตราต่างประเทศจากการท่องเที่ยวไตรมาสละ 1.2-1.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ จากเดิมที่อยู่ที่ประมาณ 5-6 พันล้านเหรียญสหรัฐเมื่อห้าปีก่อน ในปัจจุบันมูลค่าการท่องเที่ยวคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 10-12% ของ GDP และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นเครื่องจักรสำคัญในตัวเลขการเติบโตของประเทศ

ด้วยแนวโน้มของธุรกิจท่องเที่ยวที่ดีมาก ทรัพยากรของประเทศ (เช่น แรงงาน) ก็ไหลเข้าไปอยู่ภาคบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวมากขึ้น เพราะเป็นภาคที่มีการขยายตัวมากที่สุด

จริงๆ แล้วรายได้จากการท่องเที่ยวช่วยทำให้ฐานรายได้จากต่างประเทศของเศรษฐกิจไทยมีการกระจายมากขึ้น ไม่กระจุกตัวกับสินค้าส่งออกบางชนิด และเป็นหนึ่งในจุดแข็งของประเทศ ที่น่าจะนำเงินตราต่างประเทศมาได้อีกนาน

แต่ถ้ามองจากประเทศไทยผ่านแว่นประวัติศาสตร์ รายได้ต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นค่อนข้างมากจากการท่องเที่ยว ก็อาจจะเป็นต้นเหตุอันหนึ่งที่ทำให้ไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดมากขึ้นในระยะหลังๆ จนทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับประเทศอื่น และอาจจะเป็นอาการคล้ายกับ Dutch disease ที่ไปกระทบภาคเศรษฐกิจอื่นๆ แบบที่ประเทศอื่นเคยเจอก็ได้

ภาคส่งออกของไทยต้องไม่ชะล่าใจ ควรสร้างความสามารถในการแข่งขันให้ดี และเตรียมความพร้อมรับกับความผันผวนของค่าเงินอยู่เสมอ

อย่าลืมสิ่งที่ Dutch disease เตือนเราว่า บางทีข่าวดีก็อาจจะเป็นข่าวร้ายได้เหมือนกัน

คสช.กับ กปปส.คิดอย่างไรถึงได้ไปเอาคนที่ตัวเองเคยกล่าวหาว่า เลวทำโครงการโกงชาติ 2 ล้านล้านกับยิ่งลักษณ์มาเป็นกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ






ประกาศตั้งคกก.จัดทำยุทธศาสตร์ชาติ 6 ด้าน 'ชัชชาติ' โผล่นั่งเก้าอี้


2017-09-29
ที่มา ประชาไท


ราชกิจจานุเบกษา ประกาศตั้ง คณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติ 6 ด้าน 'ชัชชาติ' โผล่นั่งเก้าอี้ กก.ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน พล.อ.ประวิตร ระบุว่าเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ตอบคำถามว่าเป็นจุดเริ่มต้นการปรองดองหรือไม่



แฟ้มภาพ


29 ก.ย. 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 28 ก.ย. ที่ผ่านมา เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติด้านต่าง ๆ โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เป็นผู้ลงนาม

ประกาศระบุว่า โดยที่ พ.ร.บ.การจัดทํายุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 มาตรา 16 และมาตรา 28 (2) บัญญัติให้คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติขึ้นคณะหนึ่งหรือหลายคณะเพื่อพิจารณาจัดทําร่างยุทธศาสตร์ชาติในด้านต่างๆ ตามที่คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติกําหนดและปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายหรือตามที่คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติมอบหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16 และมาตรา 28 (2) แห่ง พ.ร.บ.การจัดทํายุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติในการประชุมเมื่อวันที่ 26 ก.ย. 2560 จึงมีมติให้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติด้านต่าง ๆ 6 ด้าน ประกอบด้วย 1. คณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคงขอบเขต สถาบันพระมหากษัตริย์ การทหาร อธิปไตย การต่างประเทศ ภัยพิบัติ อาชญากรรม การเข้าเมืองผิดกฎหมาย การก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติยาเสพติด การค้ามนุษย์และภัยอื่น ๆ ที่คุกคามความมั่นคงแห่งชาติ

2. คณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ขอบเขต การค้า การลงทุน การผลิต การบริการ ภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม เศรษฐกิจชุมชน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การพัฒนาพื้นที่พิเศษ โครงสร้างพื้นฐาน ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ การอํานวยความสะดวกในทางธุรกิจ 3. คณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ขอบเขต คุณธรรม จริยธรรม การศึกษา สุขภาวะ การพัฒนาสถาบันครอบครัว คุณภาพชีวิต การกีฬา นันทนาการ
4. คณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ขอบเขต ผู้สูงวัย ความยากจน คนด้อยโอกาส บริการสาธารณสุข ประชารัฐ ตลาดชาวบ้าน เศรษฐกิจฐานราก เศรษฐกิจพอเพียง ความเข้มแข็งของชุมชน 5. คณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ขอบเขต ทรัพยากรน้ํา พลังงาน โลกร้อน การปลูกป่า ขยะมูลฝอย การกัดเซาะชายฝั่ง ทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหามลภาวะ ระบบนิเวศ ผังเมือง และ 6. คณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ขอบเขต โครงสร้างหน่วยงานภาครัฐ การพัฒนาบุคลากรภาครัฐ การปฏิรูปกฎหมาย ระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ การพัฒนากระบวนการยุติธรรม (ตํารวจอัยการ ศาล ทนายความ ราชทัณฑ์) การอํานวยความสะดวกแก่ประชาชน

โดยปรากฎรายชื่อที่น่าสนใจ เช่น รศ.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นกรรมการ ในคณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ในส่วนของ คณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ มี วรากรณ์ สามโกเศศ เป็นกรรมการ และ ชาญวิทย์ ผลชีวิน เป็นกรรมการ รวมทั้งเลขานุการ คณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม มี ศิริชัย ไม้งาม เป็นกรรมการ รวมทั้ง รศ.ธรณ์ ธํารงนาวาสวัสดิ์ เป็นกรรมการใน คณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ประกาศระบุด้วยว่า ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการคณะใดยังไม่ครบตามจํานวนที่จะพึงมีตามที่กําหนดในมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ.การจัดทํายุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ อาจมีมติแต่งตั้งกรรมการเพิ่มเติมในภายหลังได้ รวมทั้งอาจแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติด้านอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ ให้คณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติดังกล่าวข้างต้นและที่จะแต่งตั้งเพิ่มเติมต่อไป มีหน้าที่และอํานาจดําเนินการให้เป็นไปตามที่กําหนดในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพ.ร.บ.การจัดทํายุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 และมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติมอบหมาย ทั้งนี้ ในการดําเนินการจัดทําร่างยุทธศาสตร์ชาติ ให้จัดให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมโดยคํานึงถึงผลประโยชน์ของชาติ ความต้องการและความจําเป็นในการพัฒนาประเทศให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล

และเป้าหมายการปฏิรูปประเทศตามที่รัฐธรรมนูญกําหนด ตามมาตรา 7 มาตรา 8 และมาตรา 28 แห่งพ.ร.บ.การจัดทํายุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 โดยให้สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทําหน้าที่สํานักงานเลขานุการของคณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติให้คณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติตามประกาศนี้มีวาระการดํารงตําแหน่งห้าปี โดยให้ได้รับค่าตอบแทนค่าใช้จ่าย และประโยชน์ตอบแทนอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีกําหนด

ขณะที่ Voice TV รายงานด้วยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ระบุถึงการแต่งตั้ง ชัชชาติ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติดังกล่าว โดยระบุว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกฝ่ายสามารถเข้ามาทำงานและมีส่วนร่วมได้ และปฏิเสธที่จะไม่ตอบคำถามว่าเป็นจุดเริ่มต้นการปรองดองหรือไม่




พูดออกมาอย่างไม่อายฟ้าไม่อายดิน...





ช่างกล้าพูดออกมาอย่างไม่อายฟ้าไม่อายดิน "ตนเดินมาด้วยความมั่นใจ เพราะไม่ได้ทำอะไรผิด เมื่อไม่ได้ทำอะไรผิด ก็เดินเชิดหน้าเข้ามาได้ แต่ถ้าทำผิดก็คงต้องเดินก้มหน้าเข้ามา หรือไม่มาตามคำรับเชิญ"

คุณประยุทธ์มั่นใจนะว่าเดินเข้าสู่อำนาจอยู่ทุกวันนี้ ด้วยความถูกต้องชอบธรรม ไม่ได้ทำผิดกฎหมายแต่อย่างใด
คุณจะกล้าเถียงไหมว่าคุณไม่ได้ทำรัฐประหาร
คุณไม่ได้ฉีกรัฐธรรมนูญ

การทำรัฐประหารและการฉีกรัฐธรรมนูญ
ใครทำมีความผิดฐานเป็นกบถต่อราชอาณาจักร ต้องระวางโทษประหารชีวิต
คุณได้อำนาจมาด้วยการทำความผิดโทษมหันต์

แต่ที่คุณเดินเชิดหน้าได้อยู่ทุกวันนี้ก็เพราะ
คุณใช้อำนาจออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับตัวเอง
หรือจะเถียงว่าไม่จริง

นายกฯกล่าวว่าสิ่งที่อยากพูดไว้ตอนนี้คือ
"เราต้องสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจให้กับตัวเองให้ได้ก่อน ว่าตัวเองจะไม่ทุจริตและไม่เกี่ยวข้องกับการทุจริต"

ที่คุณประยุทธ์พูดออกมาทั้งหมดนี้
ท่านผู้อ่านมีความคิดเห็นประการใดครับ
เชื่อว่านายกฯไม่เคยทำอะไรที่ผิดและไม่เคยทุจริต
หรือว่าตรงกันข้าม
กรุณาช่วยกันหาเหตุผลและหลักฐาน
มาประกอบการแสดงความเห็นของท่านด้วยนะครับ





ที่มา FB

Veera Somkwamkid

ooo




วันศุกร์, กันยายน 29, 2560

ตี๊ต่างว่ายิ่งลักษณ์อยากกลับบ้านแบบไม่เท่ห์เท่าไหร่ก็ได้

เวลานี้ยิ่งลักษณ์อยู่ที่ไหน ดูไบหรือลอนดอน’* คงไม่ต้องใส่ใจมากเท่ากับว่า เธอจะกลับไหม เมื่อไหร่ หรือว่า หนีตลอดชีวิต “จนตาย” อย่างที่ ไทยโพสต์ แช่ง

* ข่าวรอยเตอร์ว่ายิ่งลักษณ์ออกจากดูไบไปยูเคตั้งแต่ ‘Nine-Eleven’ ๑๑ กันยายนโน่นแล้ว “แหล่งข่าว (ที่อยู่ในสหรัฐอาหรับเอมิเรต) แจ้งเรื่องนี้หลังจากที่พวกผู้นำ (ไทย) ฮุนต้าพูดว่า น.ส.ชินวัตร อดีตนายกฯ ที่พวกเขาโค่น อยู่ที่ดูไบ”


ขณะที่สำนักข่าวอเมริกัน ซีเอ็นเอ็นอ้างแหล่งข่าวในพรรคเพื่อไทยระบุว่า ขณะนี้อดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อยู่ในกรุงลอนดอน และยื่นขอลี้ภัยการเมืองไว้แล้ว”


วันนี้ (๒๙ กันยา) พรป. วิธีพิจารณาความอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีผลบังคับใช้ หลังจากที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวาน ทันให้ลุงมีชัยบอกว่า

จำเลยจะต้องมาปรากฏตัวต่อศาล เพื่อขออุทธรณ์ด้วยตนเอง และไม่มีการนับอายุความ จำเลยกลับมาต้องรับโทษเท่าเดิม” แถมอีกด้วยว่า
 
“นางสาวยิ่งลักษณ์ไม่สามารถเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ตลอดชีวิต เพราะถูกศาลพิพากษาให้มีความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตหรือ ป.ป.ช. ให้จำคุก จึงถือเป็นลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ”

(http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=813041 สำหรับมาตรา ๖๑, ๖๒ และ ๖๓ พรป.วิอาญานักการเมือง ที่ว่า “จำเลยจะอุทธรณ์ต้องมาศาล ถ้าโทษถึงประหาร-จำคุกตลอดชีวิต อุทธรณ์อัตโนมัติ” ดูได้ที่ https://www.isranews.org/isranews-news/59923-isranews-59923xxxxxddd.html)

ซึ่งไทยโพสต์เอาไปพาดหัวตัวไม้ว่า “หนีจนตาย” นั่นละ โดยแท้จริงคำของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เพียงว่า พรป. เรื่อง ปปช. มาตรา ๗๑/๑ นั้น “คือการไม่นับอายุความ

หากหนีไปนานแค่ไหนเมื่อกลับเมืองไทยก็ต้องมารับโทษ ๕ ปี และแม้จะรับโทษครบกำหนดแล้ว ก็ต้องถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองตลอดชีวิตด้วย”


โอเค ตีความว่ายิ่งลักษณ์ไม่รีบกลับเหมือนพี่ชาย รอๆ ไป เดินเล่นชิวชิวในลันดั้นกับหลานๆ (อีกหน่อยลูกมาก็กับลูกด้วย) ก็หมดปัญหา คสช.สบายใจ สลิ่มได้ตีอกชกลมกันต่อ อภิสิทธิ์ (เวชชาชีวะ คนนั้น) ก็เดินสายหาเสียงรอเวลาร่วมรัฐบาลหลังเลือกตั้งอย่างเร็วปลายปีหน้า
 
ตอนนี้กล้าๆ ขึ้นมาได้หลังจากก้าง หลุด ขวางคอ หล่นลงกระโถนท้องพระโรงไปแล้ว น้องม้าร์ควิจารณ์ทั่นผู้นัมพ์เสียนี่

โน ไม่ใช่เรื่องจะไปคุยกับทรั้มพ์ ให้ระวังโดนยัดข้อตกลงนำเข้าเนื้อสุกรไหม แต่เป็นเรื่องที่เอ่ยถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หงุดหงิดว่าพูดอะไรไม่ค่อยมีใครเข้าใจ

“คนที่มีคนชื่นชอบมากมาย เวลาพูดอะไรคนเขาก็อยากจะฟัง แต่ว่าคนที่ไม่มีคนชอบ เขาจะพูดอะไร จะอธิบายอะไรให้คนที่เข้าใจ คนเขาก็ปิดทีวีหนี”


ตานี้ตี๊ต่างว่ายิ่งลักษณ์อยากกลับบ้านแบบไม่เท่ห์เท่าไหร่ก็ได้ คิดสู้ต่อให้รู้ดำรู้แดงว่าความยุติธรรมควรเป็นเช่นไร ไม่ต้องถึงขนาดที่ จอนคูโบต้า วาดหวังไปตามสายลมหน้าแล้ง เอาแค่สู้อีกทีอย่างนารีเลือดประชาธิปไตย ละก็จะทำอย่างไรได้
ก่อนอื่นต้องรอสักนิด ให้เสร็จพระราชพิธีถวายเพลิงในหลวง ร.๙ เสียก่อนได้ หรือว่าถ้าอยากเร่งทำเรื่องเนิ่นๆ ต้องให้อะไรๆ ตกผลึกสักหน่อย ประมาณว่าเมื่อเสร็จกฐิน ร.๑๐ พระราชทาน ทอด ที่วัดอ้อน้อย นครปฐมแล้วจะเหมาะ

จากนั้นค่อยให้ทนายแจ้งต่อศาลว่าจะขอมอบตัวยื่นอุทธรณ์ และเดินทางกลับไปมอบตัว อาจมีรถสถานกักขังหญิงไปรอรับที่สนามบินไม่เป็นไร ถ้าเตรียมการประสานกันไว้ดี กะไปถึงสุวรรณภูมิช่วงเช้าก็อาจได้ไปศาลยื่นประกันตัวตอนบ่าย

หากศาลเกิดผีออก ให้ประกัน-รับอุทธรณ์ คดี ขายข้าว จีทูจี ให้จีนเริ่มใหม่ อาจต้องมีคดีบุญทรงเข้ามาเอี่ยวด้วย ให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าการรับผิดต่อการกระทำของรัฐมนตรีในคณะจะเข้าเนื้อนายกฯ ได้ลึกแค่ไหน

พลาดท่าเสียทีก็ติดคุก ๕ ปี เป็น ‘Martyr’ เว้นแต่ว่าศาลตอนนั้นเห็นใจจำเลยเหมือนศาลตอนนี้ที่เห็นใจอดีตนายกฯ ชายหล่อ ก็น่าสน มิฉะนั้นเสี่ยงอย่างนี้อิปูว์ไม่น่าจะเล่นด้วยแน่ๆ

CNN ออกข่าว ยิ่งลักษณ์อยู่ลอนดอน กำลังทำเรื่องขอลี้ภัย - Former Thai leader seeking asylum in UK, says party source





Former Thai leader seeking asylum in UK, says party source


By Chieu Luu and Euan McKirdy, CNN
September 28, 2017


(CNN)Thailand's former Prime Minister Yingluck Shinawatra is in London and seeking political asylum in the United Kingdom, a source in her Pheu Thai Party told CNN on Thursday.

Thailand's Supreme Court convicted Yingluck on Wednesday of dereliction of duty over a controversial rice subsidy program and sentenced her to five years in prison. The scheme cost the country billions of dollars.

Having already fled the country, Yingluck was not present for the verdict and sentencing.

Yingluck -- ousted by a military coup in 2014 -- had been barred from leaving Thailand without court approval since 2015, when her trial started.

Her bail of 30 million baht ($900,000), posted when the trial began more than two years ago, has been confiscated.

Prime Minister Prayut Chan-o-cha said on Thursday that Yingluck was in hiding in Dubai, where her brother Thaksin Shinawatra, another former Thai prime minister, lives in exile. But the PTP source told CNN that Yingluck left Dubai for London two weeks ago.

The UK's Home Office, which deals with asylum applications, told CNN it does not comment on individual cases.

Yingluck in 2016: 'I've never thought of fleeing'

In 2016, Yingluck pledged to see through her trial, and said that she had not considered leaving the country.

"I stand firm to fight my case. All eyes are on me. I have duties and responsibilities to carry on.
"I assure you, I've never thought of fleeing," she said.

The rice subsidy program, introduced in 2011, pledged to pay farmers well above the market rate for their crop. But critics said it wasted large amounts of public funds trying to please rural voters -- hurting exports and leaving the government with huge stockpiles of rice it couldn't sell without losing money.
Yingluck said the rice subsidy scheme was "beneficial for the farmers and the country" and that claims it lost money were wrong and motivated by political bias against her.

'Big surprise'

Yingluck's no-show when the verdict hearing opened in August was a "big surprise" to most people in Thailand, Thitinan Pongsudhirak, a political scientist at Chulalongkorn University told CNN at the time.

"The way that she had fought, it had looked like she was willing to go through with (the trial).
Thitinan said Yingluck's decision to skip the verdict hearing will have "emboldened" the military government.

"They would not have wanted to put her in jail, in this scenario, (but her not showing up for the hearing) puts her on the back foot and gives them an edge."

There was only "low risk" of unrest following her absence, he added.

"The military government have been suppressing dissent and suppressing demonstrations. (Her supporters are) fanned out over the country so it is hard for them to mobilize."

Fall from power

When she was inaugurated in 2011, Yingluck became Thailand's first female prime minister and its youngest in over 60 years.

After the 2014 coup, she was impeached by Thailand's military-appointed National Legislative Assembly. The ruling barred her from political office for five years.

At the time, Yingluck said she had behaved with integrity and honesty during her time as prime minister.

Yingluck was investigated by Thailand's National Anti-Corruption Commission (NACC) amid an outcry over the rice subsidy scandal, and put on trial. Proceedings have lasted more than two years.

Thaksin Shinawatra, Yingluck's brother, was overthrown as Prime Minister in a military coup in 2006. Thaksin is living in self-imposed exile to avoid corruption charges.

CNN's Claudia Rebaza reported to this report.

เกาะติดคิดทันข่าว 28 กันยายน 2560 สส.สุนัย นำเสนอในหัวข้อ "การเมืองยุคปูลี้ภัย ศาลไทยกลายพันธุ์ คสช.มันแต่ไม่แข็ง"




https://www.youtube.com/watch?v=uLzjnEDRj3s&feature=youtu.be

เกาะติดคิดทันข่าว 28 กันยายน 2560

Sunai Fanclub
Published on Sep 28, 2017

รายการเกาะติดคิดทันข่าว 28 กันยายน 2560 การเมืองยุคปูลี้ภัย ศาลไทยกลายพันธุ์ คสช.มันแต่ไม่แข็ง

ระบอบเผด็จการกับการใช้ “กฎหมาย” เป็นเครื่องมือ/ดร.ปิยบุตร แสงกนกกุล




ระบอบเผด็จการกับการใช้ “กฎหมาย” เป็นเครื่องมือ/ดร.ปิยบุตร แสงกนกกุล


BY SARA BAD ON SEPTEMBER 13, 2017
ispace thailand


ดร.ปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เขียนหนังสือใหม่ ชื่อ “ศาลรัฐประหาร” ซึ่งเนื้อหาต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทนำที่อาจารย์ปิยบุตร ได้เขียนเพื่ออธิบายว่าระบอบเผด็จการมีการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมืออย่างไร โดยอาจารย์ปิยบุตร ได้แบ่งการใช้กฎหมายของระบอบเผด็จการเป็นเครื่องมีใน 4 ลักษณะ ดังนี้

ลักษณะแรก การแปลงความต้องการของเผด็จการให้เป็น “กฎหมาย”


ในระบอบเผด็จการที่รวบอำนาจสูงสุดไว้ที่คนคนเดียวหรือคณะบุคคลไม่กี่คน เป้าหมายของรัฐเป็นหลัก สิทธิและเสรีภาพของบุคคลเป็นข้อยกเว้น คณะผู้เผด็จการย่อมใช้อำนาจตามอำเภอใจโดยไม่ต้องกังวลใจว่าจะกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลหรือไม่ ขอเพียงเป็นไปเพื่อ “เหตุผลของรัฐ” แล้ว พวกเขาก็ใช้อำนาจละเมิดสิทธิและเสรีภาพได้เสมอ อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การใช้อำนาจของเผด็จการไม่แลดู “ดิบเถื่อน” จนเกินไปนัก จึงจำเป็นต้องแปลงรูปการใช้อำนาจเหล่านั้นให้เป็น “กฎหมาย” เพื่อสร้างความชอบธรรมการใช้อำนาจเผด็จการ

วิธีการแปลงความต้องการของเผด็จการให้กลายเป็น “กฎหมาย” ทำได้สองรูปแบบ

ในรูปแบบแรก คณะเผด็จการออกประกาศ คำสั่ง และ “เสก” ให้มันมีสถานะเป็น “กฎหมาย” เมื่อคณะผู้เผด็จการต้องการอะไร ก็เอาความต้องการนั้นมาเขียนเป็นประกาศ คำสั่ง

ในรูปแบบที่สอง คณะผู้เผด็จการอาจทำให้ “แนบเนียน” กว่านั้น ด้วยการแต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติขึ้นมา และให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติตรากฎหมายขึ้นใช้บังคับ วิธีการนี้ดูแนบเนียนกว่าวิธีแรก เพราะ “กฎหมาย” ที่ออกมานั้นเป็นผลผลิตขององค์กรนิติบัญญัติ ไม่ใช่คณะผู้เผด็จการตราขึ้นเอาเองตามอำเภอใจ แต่เอาเข้าจริงแล้ว คณะผู้เผด็จการก็ยังคงเป็นผู้บงการชักใยสภานิติบัญญัติอยู่

การใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในระบอบเผด็จการ ในกรณีแรกนี้ ก็คือ การเปลี่ยน “ปืน” ให้กลายเป็น “กฎหมาย” โดยเอา “กฎหมาย” ไปห่อหุ้ม “ปืน” นับแต่นี้ การใช้อำนาจเผด็จการจากปืนก็แปลงกายมาเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมาย แต่เอาเข้าจริง มันคือการใช้ปืนดีๆนี่เอง





ลักษณะที่สอง การนำ “กฎหมาย” ของเผด็จการไปใช้บังคับ

เมื่อระบอบเผด็จการผลิต “กฎหมาย” ขึ้นใช้แทนที่ “ปืน” แล้ว “กฎหมาย” เหล่านั้นจะมีผลใช้บังคับได้จริง ก็ต้องอาศัยเจ้าหน้าที่ในระดับปฏิบัติการเป็นผู้นำไปใช้ การนำ “กฎหมาย” ของเผด็จการไปใช้บังคับ แบ่งได้สองกรณี

ในกรณีแรก เจ้าหน้าที่ใช้บังคับกฎหมายเพื่อจับกุมคุมขัง ลิดรอนเสรีภาพของบุคคลที่ต่อต้านเผด็จการ เช่น บุคลลชุมนุมต่อต้านเผด็จการ แทนที่คณะผู้เผด็จการจะสั่งการให้กองกำลังทหาร-ตำรวจบุกเข้าลายการชุมนุม ปราบปราม ฆ่า อุ้มหาย จับกุมคุมขังโดยอำนาจเถื่อน ก็ให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการนำ “กฎหมาย” มาใช้เพื่อจัดการกลุ่มผู้ต่อต้านเผด็จการ บรรดาเจ้าหน้าที่อ้างได้ว่าการใช้อำนาจของพวกเขาเป็นไปตาม “กฎหมาย” นี่คือการรักษากฎหมาย ไม่ใช่การละเมิดสิทธิและเสรีภาพ จากนั้นเจ้าหน้าที่ก็ดำเนินการสั่งฟ้องให้ศาลพิจารณาพิพากษาว่าบุคคลเหล่านั้นมีความผิดอาญาหรือไม่ ในท้ายที่สุด ศาลก็พิพากษาให้ผู้ต่อต้านระบอบเผด็จการมีความผิด ต้องรับโทษจำคุก

การปราบปรามฝ่ายต่อต้านเผด็จการด้วยวิธีการเช่นนี้ คณะผู้เผด็จการไม่จำเป็นต้องใช้กำลังทางกายภาพ ไม่ต้องอุ้มฆ่า ไม่ต้องขังลืม เพียงแต่ตรากฎหมายขึ้น แล้วเจ้าหน้าที่และศาลก็ยินยอมพร้อมใจกันนำกฎหมายไปใช้ปราบปรามฝ่ายต่อต้านเผด็จการให้แทน คณะผู้เผด็จการสามารถอ้างได้ว่าบุคคลที่ถูกศาลตัดสินลงโทษเหล่านี้ กระทำการผิดกฎหมาย และศาลก็เป็นผู้ตัดสิน คณะผู้เผด็จการไม่ได้ใช้อำนาจปราบปรามตามอำเภอใจ การปราบปรามฝ่ายต่อต้านเผด็จการซึ่งเป็นเรื่องละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง กลับถูกฉาบด้วย “กฎหมาย” และ “คำพิพากษา”

ในกรณีที่สอง คือ เจ้าหน้าที่และศาลใช้บังคับกฎหมายเพื่อรับรองการใช้อำนาจหรือยกเว้นไม่ตรวจสอบการใช้อำนาจของคณะผู้เผด็จการ เช่น บุคคลที่เห็นว่าการใช้อำนาจของคณะผู้เผด็จการไม่ชอบด้วยกฎหมายและละเมิดสิทธิของตน ได้ฟ้องโต้แย้งไปยังศาลเพื่อขอให้ศาลเพิกถอนประกาศหรือคำสั่งของคณะผู้เผด็จการ หรือสั่งให้คณะผู้เผด็จการต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่ศาลกลับยกฟ้อง โดยอ้างว่า “กฎหมาย” (ซึ่งตราขึ้นในสมัยเผด็จการ) ได้รับรองการใช้อำนาจของคณะผู้เผด็จการไว้ทั้งหมดแล้ว

กรณีเช่นนี้ทำให้การใช้อำนาจของคณะผู้เผด็จการไม่อาจถูกตรวจสอบได้เลย แน่นอนว่าการที่คณะผู้เผด็จการไม่ถูกตรวจสอบและมีอำนาจเบ็ดเสร็จเป็นเรื่องธรรมชาติตามอัปลักษณะของระบอบเผด็จการอยู่แล้ว แต่ต้องไม่ลืมว่า เมื่อศาลเข้ายืนยันอัปลักษณะนี้ด้วย ก็ช่วยสร้างความชอบธรรมให้กับคณะผู้เผด็จการว่า พวกตนได้การรับรองจาก “กฎหมาย” และ “ศาล”

ลักษณะที่สาม การนำ “กฎหมาย” ที่มีอยู่แล้ว ไปใช้ในทางไม่เป็นคุณกับเสรีภาพ


ระบอบเผด็จการอาจนำ “กฎหมาย” ที่มีอยู่แล้วไปใช้อย่างไม่มีมาตรฐาน ไม่แน่นอนชัดเจน เพื่อลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของบุคคล จนทำให้บุคคลผู้อยู่ภายใต้อำนาจของกฎหมายนั้นไม่แน่ใจว่าการตัดสินใจใช้เสรีภาพของตนนั้นจะกลายเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและต้องได้รับโทษหรือไม่ เมื่อเกิดความไม่แน่นอนชัดเจนว่าสุดท้ายแล้วตนจะถูกดำเนินคดีและลงโทษหรือไม่ เพื่อความปลอดภัยของตนเอง พวกเขาก็เลือกที่จะ “เซนเซอร์ตนเอง” ด้วยการไม่ใช้เสรีภาพนั้นเลย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในกรณีประเทศไทย คือ การนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ มาตรา ๑๑๖ มาใช้

ในกรณีที่บุคคลต้องการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ เขาก็ไม่อาจแน่ใจหรือวางใจได้เลยว่าการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นนั้น จะกลายเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท ผู้สำเร็จราชการตามพระองค์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หรือไม่ เพราะ แนวทางการตีความของเจ้าหน้าที่และศาลกว้างขวางมากจนไม่อาจคาดหมายได้ว่าการกระทำใดถือเป็นความผิด เมื่อเป็นเช่นนี้ บุคคลทั้งหลายก็เลือกที่จะเซ็นเซอร์ตนเองไม่พูดถึงสถาบันกษัตริย์อีกเลย

เช่นเดียวกัน ในกรณีที่บุคคลต้องการแสดงความคิดเห็นหรือวิจารณ์ คสช. เขาก็ไม่อาจแน่ใจหรือวางใจได้เลยว่าการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นนั้นจะกลายเป็นความผิดฐานยุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 หรือไม่ เพราะ เจ้าหน้าที่และศาลตีความการกระทำอันถือว่าเป็นความผิดฐานนี้ออกไปมาก เมื่อเป็นเช่นนี้ บุคคลทั้งหลายก็เสมือนถูก “ขู่” ให้กลัวให้ระวัง จนทำให้เลือกที่จะไม่ประท้วง คสช. เลยเสียดีกว่า

ยิ่งไปกว่านั้น ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และมาตรา 116 นี้อยู่ในหมวดความผิดต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร ซึ่งมีอัตราโทษสูง ต้องขึ้นศาลทหารตามประกาศของ คสช. โอกาสการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวก็แทบไม่มีในกรณีมาตรา 112 และมีน้อยในกรณีมาตรา 116

เมื่อเกิดความไม่แน่นอนชัดเจนว่าการะทำใดเป็นความผิด ประกอบกับกระบวนการยุติธรรมที่มีลักษณะพิเศษต่างจากความผิดฐานอื่น เช่นนี้แล้ว บุคคลก็เกิดความหวาดกลัว และยินยอมสมัครใจไม่ใช้เสรีภาพ คสช. จึงสามารถควบคุมพฤติกรรมของบุคคลได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ความรุนแรงหรือบังคับสั่งห้าม

ลักษณะที่สี่ การนำ “กฎหมาย” ที่มีอยู่แล้วไปใช้แบบบิดเบือน บิดผันอำนาจ (abuse of power) เพื่อสนองตอบวัตถุประสงค์ของเผด็จการ


ระบอบเผด็จการอาจไม่จำเป็นต้องตรากฎหมายขึ้นใหม่ แต่นำกฎหมายที่มีอยู่แล้วมาใช้อย่างบิดเบือนอำนาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายที่เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมและกฎหมายวิธีพิจารณาความ เพื่อควบคุมพฤติกรรมของฝ่ายต่อต้านเผด็จการ

เช่น ระบอบเผด็จการนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในเรื่องของการจับกุมมาใช้กลั่นแกล้งฝ่ายต่อต้านเผด็จการด้วยการออกหมายจับฝ่ายต่อต้านเผด็จการ แต่ก็ไม่เคร่งครัดกับการไปตามจับอย่างจริงจัง ด้วยเกรงว่าการจับกุมคุมขังอาจบานปลายและกลายเป็นชนวนจนนำไปสู่การลุกฮือต่อต้านได้

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของฝ่ายต่อต้านเผด็จการเอง ก็ไม่สามารถเคลื่อนไหวรณรงค์ได้เต็มที่ เพราะ มีหมายจับและคดี “ปักเป็นชนักติดหลัง” อยู่ หากฝ่ายต่อต้านเผด็จการตัดสินใจลดระดับการต่อสู้กับเผด็จการลง การจับกุมก็ไม่เกิดขึ้น ตรงกันข้าม ถ้าฝ่ายต่อต้านเผด็จการยังคงยืนยันที่จะเคลื่อนไหวต่อสู้กับเผด็จการต่อไป เมื่อคณะผู้เผด็จการทนไม่ไหว สุดท้ายฝ่ายเผด็จการก็อ้างหมายจับนั้นเข้าจับกุมฝ่ายต่อต้านเผด็จการ

เช่นเดียวกัน ฝ่ายเผด็จการตั้งข้อหาและดำเนินคดีกับแกนนำฝ่ายต่อต้านเผด็จการในศาล หากศาลตัดสินเอาเข้าคุก ก็อาจเกิดปฏิกริยาสะท้อนกลับลุกฺฮือได้ แต่ถ้าศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวได้ แล้วก็ปล่อยให้การดำเนินคดีเป็นไปอย่างล่าช้า อาศัยเทคนิควิธีทางกฎหมายยื้อคดีไปเรื่อยๆ แกนนำฝ่ายต่อต้านเผด็จการก็ไม่อาจเคลื่อนไหวได้เต็มที่ เพราะ มีคดี “ปัก” ไว้ที่กลางหลังอยู่ ถ้าแกนนำฝ่ายต่อต้านเผด็จการไม่เกรงกลัว ยังคงเดินหน้าต่อสู้กับเผด็จการอย่างเปิดเผย ศาลก็อาจตัดสินให้แกนนำมีความผิดและต้องรับโทษจำคุกได้

การนำกฎหมายที่มีอยู่แล้วมาใช้อย่างบิดเบือนของฝ่ายเผด็จการนี้ ช่วยให้ฝ่ายเผด็จการสามารถ “ผ่อนหนักผ่อนเบา” และประเมินสถานการณ์ได้ตลอดเวลาได้ว่าช่วงใดควรปล่อย ช่วงใดควรจับ ในขณะเดียวกัน ฝ่ายต่อต้านเผด็จการก็ถูกกดด้วยกระบวนการทางกฎหมายเหล่านี้ ไม่ให้เคลื่อนไหวได้เต็มที่

การนำ “กฎหมาย” มาใช้เป็นเครื่องมือของระบอบเผด็จการทั้งสี่ลักษณะนี้ ทำให้การใช้อำนาจของเผด็จการแลดู “อ่อนนุ่ม” ขึ้น เพราะทั้งหมดล้วนแล้วแต่อาศัยอำนาจตาม “กฎหมาย” เป็นไปตาม “กฎหมาย” ไม่ใช่มาจากการใช้กำลังทางกายภาพหรืออาวุธเข้าปราบปราม

นอกจากนี้ ยังช่วยให้ระบอบเผด็จการมีเครื่องมือให้เลือกใช้หลายประเภท ตามแต่ละสถานการณ์ ปรากฏการณ์การนำ “กฎหมาย” มาใช้เป็นเครื่องมือของเผด็จการ ทำให้ระบอบเผด็จการกลายเป็น soft coup, soft dictator ไม่มีภาพของความรุนแรง การปราบปรามจนทำให้มีผู้บาดเจ็บสูญหายล้มตายจำนวนมาก ในขณะที่ภาพของการต่อต้านเผด็จการก็ไม่ค่อยปรากฏให้เห็นอย่างกว้างขวาง เพราะ ประชาชนหวาดกลัวการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ ส่วนระบอบเผด็จการสามารถอาศัยความชอบธรรมจาก “กฎหมาย” อ้างต่อชาวโลกว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามกฎหมาย และสถานการณ์ภายในประเทศสงบเรียบร้อย ปราศจากการต่อต้าน


อ่านเพิ่มเติมงานเขียนของ ดร.ปิยบุตร แสงกนกกุล

ระบอบเผด็จการกับการใช้ “กฎหมาย” เป็นเครื่องมือ.http://bit.ly/2xwJn8f

ศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลรัฐประหาร? (1),https://www.matichonweekly.com/column/article_7970

ศาลไทยกับรัฐประหาร (4),https://www.matichonweekly.com/column/article_762

ตุลาการภิวัฒน์,http://www.lokwannee.com/web2013/?p=280793