วันศุกร์, กรกฎาคม 21, 2560

พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑๐ ทรงตั้ง ‘ศูนย์ปฏิบัติการมิวนิก’ สอดส่องงานเฉลิม ๖๕ พรรษา ในต่างประเทศ และติดตาม “บุคคลที่วิจารณ์เจ้า”


พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑๐ ทรงตั้ง ศูนย์ปฏิบัติการมิวนิก สอดส่องการจัดงานเฉลิมพระชนม์ ๖๕ พรรษา ในต่างประเทศ และติดตาม “บุคคลที่วิจารณ์เจ้า” ใน watchlist เป็นพิเศษ

มีการเปิดเผยหนังสือราชการตราครุฑ จาก Munich Operations Office ซึ่งระบุว่าเป็นส่วนของสถานเอกอัครราชทูต อันมีที่ตั้งอยู่ที่โรงแรม Hilton Munich Airport ห้องหมายเลข 3128 Terminalstrasse Mitte 20, 85356 Munich, Germany Tel. (089) 9782 3332 ถึงสถานทูตและสถานกงสุลไทยต่างๆ ทั่วโลก

รายละเอียดเกี่ยวกับการจัดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณฯ เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๖๕ พรรษา ในวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๐ โดยให้ส่งข้อมูลการจัดงานของแต่ละแห่งกลับไปยัง ศูนย์ปฏิบัติการมิวนิกอันเกี่ยวกับ

๑.     การจัดกิจกรรม ภายในวันที่ ๒๑ ก.ค.๒๕๖๐
๒.     ผลการจัดกิจกรรม ภายในวันที่ ๒๙ ก.ค. ๒๕๖๐
โดยให้ส่งไปทาง email ที่ pinthepd@thaiembassy.de ลงนาม พินเทพ เทวกุล ณ อยุธยา หัวหน้าศูนย์ฯ

ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักประวัติศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับราชวงศ์ไทย ปัจจุบันลี้ภัยอยู่ในประเทศฝรั่งเศส เปิดเผยหนังสือฉบับนี้ อ้างว่ามี มิตรสหายท่านหนึ่ง ส่งไปให้ พร้อมตั้งข้อสังเกตุว่า

“แต่ในมิวนิคไม่มีสถานทูตไทย มีแต่สถานกงศุล และที่สำคัญที่อยู่ของ ศูนย์ปฏิบัติการมิวนิค’ ที่ให้ในจดหมาย คือโรงแรมฮิลตัน มิวนิค แอร์พอร์ต ซึ่งเป็นโรงแรมที่" พระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเช่าห้อง ๑๓๐ ห้องไว้ให้ข้าราชบริพารซึ่งติดตามพระองค์ไปเยอรมนีแต่ละครั้ง ราว ๑๐๐ คนได้พำนักกัน เป็นเงินปีละไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านยูโร

สศจ. ระบุด้วยว่าเคยสอบถามไปทางโรงแรมว่าค่าเช่าเท่าไร “ทางโรงแรมเพียงแต่บอกว่า เลขสองหลักhttps://goo.gl/r4tcNj

ต่อมา ดร.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักวิชาการประจำมหาวิทยาลัยเกียวโต ญี่ปุ่น เขียนถึงกรณีหนังสือดังกล่าวเกี่ยวกับตัวหัวหน้าศูนย์ว่า “นายพิณเทพเป็นข้าราชการ กต. และดำรงตำแหน่งอัครราชทูต ณ สอท. เบอร์ลิน (เบอร์ 2) ถูกยืมตัวให้ไปปฏิบัติราชการที่ศูนย์มิวนิค

หน้าที่พิณเทพ นอกจากจะรับคำสั่งให้ทำเรื่องต่างๆ เช่นในโทรเลขนี้ คือทำหน้าที่สั่งและรับข้อมูลเกี่ยวกับการจัดงานวัดเกิดของ (พระเจ้าอยู่หัวมหา) วชิราลงกรณ์ ยังทำหน้าที่เป็นหูเป็นตาให้เจ้าในเรื่องภาพลักษณ์ที่กระทบต่อ” พระองค์ด้วย

รวมทั้ง “จัดทำ watchlist ที่มีชื่อบุคคลที่ต้องติดตามเป็นพิเศษ บุคคลที่วิจารณ์เจ้า อาทิ ผม สศจ. รวมไปถึงสื่อต่างประเทศที่ลงข่าวเจ้า เช่น จะต้องรายงานข่าวที่ลงใน นสพ. Bild” ให้ทรงทราบต่างพระเนตรพระกรรณ

ดร.ปวินยังวิจารณ์การทำงานของศูนย์ฯ นี้ด้วยว่า “นี่เป็นครั้งแรกที่ศูนย์นี้ (หลังจากเริ่มการปฏิบัติการได้ไม่นาน) ได้ออกโทรสารเวียน (ในคำศัพท์ทางการทูตไทยเรียกว่า โทรเลข) ไปยัง สอท/สกญ ทั่วโลก แทนที่จะเป็นคำสั่งที่ทำผ่านกระทรวงการต่างประเทศ

หมายถึงการสั่งเรื่องการตรวจตรางานวันเกิดที่ควรจะเป็นคำสั่งมาจาก กต. (แม้ว่าเจ้าจะสั่งมาอีกทีก็ตาม) จึงเกิดความลักลั่นในแง่ที่ ศูนย์ปฏิบัติการได้ ‘bypass’ อำนาจของกระทรวง”

และ “หากสั่งโดยตรงจากกระทรวง นักการทูตทราบกันว่า ถ้าจะส่งไปยัง สอท/สกญ ทั้งหมด ก็แค่ระบุคำว่า all points” ก็พอ แต่การเขียนระบุรายชื่อทั้งหมด ทำให้ตก สนง. การค้าที่ไทเปไป ทั้งที่ “เป็นส่วนหนึ่งของสำนักงานทางการทูตของไทยแม้จะไม่มีสถานะอย่างเป็นทางการ”