วันศุกร์, มิถุนายน 30, 2560

‘แบล็คฮ้อว์ค’ ๔ ลำ ๓ พันล้านนี่ไม่เหมือน ‘เอดับเบิ้บยู ๑๓๙’ นะ ไม่ติดคดีสินบน ไม่ต้องรอชิ้นส่วนซ่อมบำรุง

เรื่องของ ฮอ’ (Up or Down) ‘แบล็คฮ้อว์ค ๔ ลำ ๓ พันล้านนี่ไม่เหมือน เอดับเบิ้บยู ๑๓๙ นะ ไม่ติดคดีสินบน ไม่ต้องรอชิ้นส่วนซ่อมบำรุง

คราวนี้ ผบ.ทบ.แจงเอง อันนี้เรื่องเก่าติดค้างกันมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลโอบาม่าโน่นแน่ะ ตอนนั้นประยุทธ์และพวกยึดอำนาจยิ่งลักษณ์ รัฐบาลสหรัฐก็เลยระงับโครงการจัดซื้อแบล็คฮอร์คหนึ่งฝูง ๑๖ ลำเอาไว้ก่อน อันเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงจุดยืนประชาธิปไตย ไม่คบเผด็จการ

ตอนนั้นส่งมอบกันแล้ว ๑๒ ลำ ยังขาดอีกสี่ที่ค้างเติ่งมาจนถึงสมัยทรั้มพ์ ซึ่งเดินนโยบายต่างประเทศนอกลู่ ไม่สนเรื่องสิทธิมนุษยชน (ห้ามผู้ลี้ภัยเข้าประเทศ) ไม่สนทางปฏิบัติของกระทรวงต่างประเทศ ตั้งตาลบล้างผลงานของรัฐบาลที่แล้วท่าเดียว การโทรศัพท์ถึงประยุทธ์ชวนไปเที่ยวกรุงวอชิงตันก็เลยติดปลายนวมมาด้วย

รายการช้อปปิ้งอาวุธอเมริกาที่พูดถึงกันตอนนี้จึงเป็นเพียง ‘jester’ ของรัฐบาลทรั้มพ์แบะท่าว่าเดี๋ยวนี้โอบไหล่ คสช.ได้ไม่แคร์ว่าเป็นเผด็จการ จึง “ได้อนุมัติให้ดำเนินการแล้ว เครื่อง” ในขอบข่ายของโครงการ ขายอาวุธให้แก่ต่างประเทศ (Foreign Military Sales) ธรรมดา

ไม่ใช่ “การช่วยเหลือทางทหาร” เป็นพิเศษอะไรอย่างที่ คสช. อยากให้คนไทยเข้าใจ จะพิเศษก็คงตอนจ่ายเงิน เนื่องจาก “ทยอยซื้อตามการจัดสรรงบประมาณปี ๖๐-๖๒” ผูกพันสามปี ปีละพันล้านขนหน้าแข้งไม่ร่วง


มันต่างกับโครงการจัดซื้อเฮลิค้อปเตอร์ผลิตในอิตาลี ที่เป็นข่าวหลุดออกมาเมื่ออาทิตย์ที่แล้วว่าซื้อมาจอดไว้เฉยๆ สองลำ ซึ่งความจริงส่วนใหญ่ถูกเปิดโดยสำนักข่าวอิศราว่า

โครงการนี้แท้จริงเป็นการจัดซื้อ ฮอทั้งหมด ๑๒ ลำ ด้วยวิธีการ พิเศษที่เจ้ากรมขนส่งทหารบกมีหนังสือถึงบริษัท Augusta Westland ของอิตาลีให้ได้โปรดมาเสนอราคาให้ทัพบกไทยพิจารณาหน่อย


การซื้อขายสองลำแรกรุ่น AW 139 สองลำ ราคา ๑,๓๕๐ ล้านบาท เมื่อต้นปี ๕๗ เกิดปัญหาเล็กน้อย ไม่ใช่ว่าวงเงินสูงกว่าควร ๑๒๐ ล้านบาทนะ แต่เป็นเรื่อง “ส่งของล่าช้ากว่ากำหนดในสัญญา ครั้ง -๒๕๕ วัน” ตามด้วยปัญหา “ข้อขัดข้องในการเคลมชิ้นส่วน" อีกในปี ๕๘

นั่นเรื่องจิ๊บจ้อย เพราะทุกวันนี้ทัพบกมีฮอสัญชาติอิตาลีของบริษัทออกัสต้าประจำการครบแล้ว ๑๒ ลำ โดยเป็นรุ่น เอดับเบิ้ลยู ๑๓๙ สิบลำ รุ่น เอดับเบิ้ลยู ๑๔๙ อีก ๒ ลำ

สิบลำหลังนี่ซื้อในระหว่างปี ๕๙-๖๐ ผ่านมาราบรื่นดี ถ้าไม่เกิดเสียงนินทาว่า ไรวะ ฮอใหม่จอดไว้เฉยๆ บินไม่ได้ ซ้ำร้ายที่บินไม่ได้น่ะ ไม่ใช่แค่สองลำตามที่มี ข่าวหลุด

ปรากฏว่าทั้งสิ้น บินไม่ได้ ๕ ลำ ล้วนแต่เป็นรุ่น AW 139 ซึ่งสามในห้าลำนั้น รอชิ้นส่วนเลยไม่ได้บิน อีกสองลำได้บินแล้วแต่เข้าโรงซ่อม

เมื่ออาทิตย์ที่แล้วสำนักข่าวอิศราถามโฆษกทัพบกว่า “สรุปแล้วมีการจัดซื้อ เฮลิคอปเตอร์ AW 139 ทั้งหมดกี่ลำ ใช้งานได้กี่ลำ และมีกระแสข่าวว่ากำลังจะจัดซื้อเพิ่มอีก ลำ ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร

พ.อ.วินธัย สุวารี ตอบไม่เต็มคำ “ปัจจุบันมีทั้งหมด ลำ เป็นของกองทัพบก ลำ และเป็นของสำนักนายกรัฐมนตรีอีก ลำ ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของกองทัพบกด้วย” ทั่นโฆฯ คงไม่นับที่จอดคาโรงเก็บและที่รอซ่อมมั้ง

ส่วนกระแสข่าวว่าจะมีการจัดซื้อเพิ่มอีก ลำ นั้น ยังไม่ทราบรายละเอียด


วิญญูชนย่อมกังขา เอ๋ บริษัทผลิตยุทโธปกรณ์อิตาลีนี่เกรดไหน ยูเครนหรือจีน ก็ได้สำนักข่าวอิศราอีกน่ะแหละที่ทำข่าวสืบสวน ไปขุดคุ้ยหาว่าบริษัทออกัสต้า เวสต์แลนด์ น่ะรุ่นไหน

พบว่าเคยเป็นบริษัทร่วมหุ้นอิตาลี-อังกฤษ ตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๕๔๓ มาเป็นของอิตาลีล้วนในปี ๒๕๔๗ แล้วยังไปร่วมหุ้นกับบริษัทเบลและนอร์ทรอปกรัมแมนของอเมริกา พลาดได้สัญญาผลิตเฮลิค้อปเตอร์ มารีนวัน สำหรับประธานาธิบดีอเมริกันเมื่อปี ๕๖ เพราะเกิดเรื่องอื้อฉาวขึ้น

อิศราอ้างข่าวรอยเตอร์ว่า “นายบรูโน่ สปานยอลินี่ ประธานกรรมการบริหารของ Agusta Westland ถูกเจ้าหน้าที่อิตาเลียนจับกุมพร้อมด้วยนายจูเซปเป้ ออร์ซี่ ประธานบริษัทแม่ ด้วยข้อหาคอร์รัปชันกรณีทำสัญญาซื้อขายเฮลิคอปเตอร์รุ่น AW101 จำนวน ๑๒ ลำ กับกองทัพอากาศอินเดีย


โดยมีการกล่าวหาว่ามีการติดสินบนเจ้าหน้าที่เป็นจำนวนเกือบ ,๖๐๐ ล้านรูปี” (แต่รอยเตอร์ว่าแค่ ๔๐ ล้านรูปี ส่วน India today บอก ๑๖ ล้านยูโร)

เรื่องนี้ลงเอยว่า “ศาลอิตาลีตัดสินจำคุกนายออร์ชี่และนายสปานยอลินี่เป็นเวลาสองปี เมื่อเดือนเมษายน ปี ๒๐๑๖ (๒๕๕๙)

ส่วน “นายทยากี ผู้ดำรงตำแหน่งบัญชาการกองทัพอากาศ (อินเดีย) ณ ขณะนั้น เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่นนี้” ถูกเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนกลางของอินเดีย (ซีบีไอ) เข้าจับกุมเมื่อปลายปี ๒๕๕๙ เช่นกัน

นั่นเป็นเบื้องหลังใต้ผิวของบริษัทผลิตเฮลิค้อปเตอร์อิตาลี ที่ทัพบกไทยอุตส่าห์ส่งจดหมายเชิญมาร่วมเสนอขายฮอหนึ่งฝูง ที่ซื้อมาแล้วใช้การไม่ได้ครึ่งหนึ่ง

ทัพบกไทยซะอย่าง เรื่องแบบนี้ทั่นโฆฯ บอกได้ทันใด “ไม่ทราบรายละเอียด”

วันพฤหัสบดี, มิถุนายน 29, 2560

'หอชมเมือง' โครงการระฟ้าอย่างนี้มันต้องมีอะไรมากกว่า ‘ทรัพย์สินฯ’ มีเอี่ยวสิ

ถึงที่สุดแล้วไก่อูแก้ให้ได้หมด โครงการสร้างหอชมเมืองสูงที่สุดในหมู่ประเทศอาเซียน ที่วิจารณ์กันมาสองสามวันว่าอะไรกันตั้ง ๗,๖๐๐ ล้านบาท โดยไม่ต้องมีการเปิดประมูล

ประเทศชาติยังไม่จำเป็นต้อง ‘ชมเมือง’ บนหอสูงที่สุด จุดชมเมืองบนชั้นดาดฟ้าของตึกไฮไร้ส์ในกรุงเทพฯ ก็มีอยู่แล้วหลายแห่ง แม้นสร้างจริงราคาอยู่ที่ราว ๔ พันล้านบาทกว่าๆ เท่านั้น ผู้คนจึงสงสัยเรื่องส่วนต่างเงินทอน

โอเค ไก่อูว่างี้ ค่าก่อสร้างลงตัวแล้วอยู่ที่ ๔,๔๒๒.๙๖ ล้านบาท บวกค่าเช่าที่ของราชพัสดุ ๔ ไร่ ตรงถนนเจริญนครเป็นเวลา ๓๐ ปีอีก ๑๙๘.๕๑ ล้านบาท รวมแล้วก็แค่ ๔,๖๐๐ ล้านกว่าๆ เท่านั้น ตัดเรื่องส่วนต่างออกไปได้

แต่ก็ยังไม่ต้องมีประมูล เพื่อความว่องไว แถมโครงการนี้โคตรไฮเทคอีกด้วย ต้องรีบหน่อย มัวแต่เปิดประมูลเดี๋ยวล่าช้า รัฐบาล คสช.ซะอย่าง อ้างอะไรก็ใสไปหมด

อีกข้อที่ พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด อุตส่าห์ออกมาชี้แจงให้กระจ่างว่า “งบที่ใช้ในการก่อสร้าง เป็นงบประมาณของมูลนิธิฯ และอีกส่วนก็เป็นการลงขันระหว่างธุรกิจภาคเอกชน ไม่มีงบของรัฐแม้แต่บาทเดียว”

เอาแค่สองข้อนี้ก่อน ที่ว่ากระจ่างมันแจ้งเฉพาะด้านที่โดนแสงส่อง ด้านหลังยังสลัวๆ อย่างไรพิกลอยู่

เรื่องที่ดินก่อสร้างเป็นของราชพัสดุให้เช่าตั้ง ๓๐ ปี แค่ ๑๙๘ ล้าน มีคนเขาบอกว่า “ปีละ ๖.๖ ล้านบาท ภาษาชาวบ้านก็คือค่าเช่าถูกเป็นขี้เลย” (as per Thuethan Prasobchoke)

อีกคนตั้งข้อสงสัย “ทำไมเอกชนเช่าที่ราชพัสดุ ซึ่งเป็นที่ดินสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน โดยไม่ใช้วิธีการประมูล” ทั้งที่กฏกระทรวง พ.ศ.๒๕๔๕ ว่าด้วยที่ราชพัสดุ ข้อ ๒๖ กำหนดให้ใช้วิธีการประมูล (ขอบคุณ Apichat Pongsawat)

ไม่แต่เท่านั้น ที่ราชพัสดุตรงนั้นมันติดกับที่ของโครงการ ‘Icon Siam’ สร้างตึกระฟ้าคู่กันสองแท่งริมแม่น้ำเจ้าพระยาพอดี แถมยังจะมีรถไฟฟ้าสายสีทองวิ่งฝ่าเกาะรัตนโกสินทร์มาเทียบในไม่ช้า

สำหรับรายละเอียดแนวเส้นทางโครงการ มีจุดเริ่มต้นเชื่อมต่อจากสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสกรุงธนบุรี วิ่งไปตามถนนกรุงธนบุรี เลี้ยวเข้าถนนเจริญนคร ผ่านวัดสุวรรณาราม แนวเส้นทางเกาะไปตามถนนเจริญนคร ถนนเจริญรัถ จนถึงแยกคลองสาน และมาสิ้นสุดบริเวณหน้าโรงพยาบาลตากสิน

โดยมีจำนวน ๓ สถานี ได้แก่ สถานีกรุงธนบุรี สถานีไอคอนสยาม และสถานีคลองสาน ใช้เงินลงทุนกว่า ๒,๐๘๐ ล้านบาท โดยมีภาคเอกชนคือกลุ่มไอคอนสยามของตระกูลเจียรวนนท์ และพันธมิตรสนับสนุนเงินค่าก่อสร้างโครงการ”

แล้วโครงการไอคอนสยามนี่เป็นของบริษัทสยามพิวรรธน์ ที่บังเอิญมีนายพนัส สิมะเสถียร ซึ่งเป็นกรรมการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มีเอี่ยวเกี่ยวดองเพราะ ‘ทรัพย์สินฯ’ ถือหุ้นใหญ่

เรื่องนี้ต้องไปดูข้อมูลที่ สศจ. เก็บมาโพสต์ว่า “ผู้ถือหุ้นใหญ่ บ.สยามพิวรรธน์ อันดับแรก ๓๐% เป็นของบริษัท MBK สามอันดับต่อมา ๔๕% เป็นทุนสถาบันกษัตริย์ (พระเทพฯ ๒๐% สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ๑๐% ธนาคารไทยพาณิชย์ ๑๐%)

ชื่อเดิมของบริษัทคือ ‘บางกอกอินเตอร์คอนติเนนตอล โฮเต็ลส์’ ตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาที่ดินบริเวณวังสระปทุมซึ่งเป็นทรัพย์สินของในหลวงภูมิพล ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ‘สยามพิวรรธน์’ ซึ่งเป็นชื่อที่พระเทพฯ พระราชทาน”

ข้อสำคัญนายพนัส สิมะเสถียร คนนี้แกเป็นประธานมูลนิธิหอชมเมืองกรุงเทพฯ ที่ไก่อูแจ้งว่าเป็นผู้ลงทุนไม่ต้องแตะเงินงบประมาณของรัฐนั่นละ

ยังมีข้อเท็จจริงที่ไก่อู่แถลงรวบรัด บอกไม่หมด เวลาไม่พอ อีกว่า มูลนิธิหอชมเมืองนี้ ตั้งขึ้นในปี ๒๕๕๗ มีวัตถุประสงค์หลักในการ “ก่อสร้างและบริหารวัตถุเพื่อเป็นเอกลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร” จากนั้นมีการปรับแก้ เปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ เรื่อยมาจนมาลงที่ “ก่อสร้างและบริหารหอชมเมืองกรุงเทพมหานคร” เป็นวัตถุประสงค์หลักเมื่อ มกรา ๖๐

กรรมการมูลนิธิฯ อันดับหนึ่งถึงสี่ มาจากผู้บริหารบริษัทในเครือซีพี อาทิ แม็กโนเลีย ควอลิตี้ ดีซี พร้อพเพอร์ตี้ และบริษัทสยามพิวรรธน์ และให้พนัสเข้าไปเป็นประธานกรรมการมูลนิธิฯ

(รายละเอียดลงลึกกว่านี้ดูที่ http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9600000065956)

จนเมื่อต้นเดือนมิถุนานี้เอง มูลนิธิฯ ได้ขอกู้เงินจากธนาคารไทยพาณิชย์ ๒,๕๐๐ ล้านบาท เพื่อนำมาใช้ก่อสร้างโครงการหอชมเมือง แต่ธนาคารตรวจสอบข้อบังคับแล้วให้กู้ไม่ได้ มูลนิธิฯ ก็เลยไปแก้ไขระเบียบของตนเองให้กู้ได้

ธนาคารจึงต้องไปถามกรมการปกครองว่าเขาทำอย่างนี้ได้บ่ กรมการปกครองบอก ฮ้อ ไปโลด ไก่อูถึงได้ออกมาแถลงว่าทุกอย่างสดใสไง

ทั้งนี้ทั้งนั้น โครงการระฟ้าอย่างนี้มันต้องมีอะไรมากกว่า ‘ทรัพย์สินฯ’ มีเอี่ยวสิ

อ่อใช่ โครงการระบุว่าบนยอดหอชมเมืองนี้ ชั้นบนสุด “จะเป็นโถงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชแห่งมหาจักรีพระบรมราชวงศ์

เพื่อประดิษฐานพระบรมรูปของบูรพมหากษัตริยาธิราช ประดิษฐานรูปหล่อพระคลังมหาสมบัติ พร้อมแสดงพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อเป็นการเผยแพร่ศาสตร์พระราชาทุกๆ ด้าน”


เข้าใจนะ

วันพุธ, มิถุนายน 28, 2560

เปิดใจ "เอื้องฟ้า แซ่ลิ้ว" บุตรสาว "ลุงอะแกว" ที่ถูกมือปืนป๊อบคอร์นยิง หลังศาลอุทธรณ์ยกฟ้องมือปืนป๊อปคอร์น + ย้อนรอย มือปืนป๊อปคอร์น กราดกระสุน ลุงอะแกวเสียชีวิต




https://www.facebook.com/PoliticsKalaland/videos/653926008145929/

ooo

ย้อนรอย มือปืนป๊อปคอร์น กราดกระสุน ลุงอะแกวตายหลังศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง



https://www.youtube.com/watch?v=ga3jvA-T1fs


ขอบคุณ Paphonsak La-or ที่นึกถึงพวกเรา คนไกลบ้าน... Mapping Thailand's politically displaced--- in the "Art of exile"





Three years after the coup, over a hundred of those who fled Thailand following the military's takeover are still left wandering in neighbouring countries, unable to resettle in a third country.

Paphonsak has saved a blank canvas for each of them and promises to paint new mountain views as soon as they find asylum. For the moment, the canvases are lying around Artist + Run Gallery -- as part of... the exhibition.

"Far From Home" is on view at Artist + Run until July 22.

Source: Bangkok Post
(http://www.bangkokpost.com/lifestyle/art/1276967/the-art-of-exile)

.....

ขอบคุณ Paphonsak La-or ที่นึกถึงพวกเรา

เวลารู้ว่ามีคนทางเมืองไทยยังนึกถึงเราอยู่นะ ก็ชวนให้น้ำตาไหลจริงๆ

ที่ผมอยู่มันไกลจากการสามารถเช็คได้ว่า ผู้คนทางบ้านเกิดจริงๆ แล้วเป็นยังไงบ้าง คิดกับเราอย่างไรกันบ้าง

และในความพยายามเคลื่อนไหวต่างแดนไม่หยุดแบบนี้ ส่งผลกระทบเพื่อการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างไหมที่บ้านเกิด

พอเห็นงานของศิลปินแล้วรู้ว่า ศิลปินมีพวกเราอยู่ด้วย ในการทำงานชิ้นนี้ ก็ปลื้มปิติมากครับ

และหวังว่าการสู้ของพวกเรา เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่บ้านเกิด และเราจะได้กลับบ้านไปฟื้นฟูประเทศ เป็นความหวังที่จะเป็นจริงในอีกไม่นาน


Junya Yimprasert

Thailand's bad loan ratio is worse than China's




Thailand's bad loan ratio is worse than China's

Source: Bloomberg News 
June 27, 2017

This article was written by Supunnabul Suwannakij from Bloomberg News. It appeared first on the Bloomberg Terminal.


Nonperforming loans at Thailand’s banks are set to peak toward the end of 2017, according to Fitch Ratings, an outlook that may salve investor sentiment in one of Asia’s worst-performing stock markets this year.

Thai economic growth is subdued but relatively stable at about 3 percent, signaling a slower expansion in bad loans in the months ahead and an eventual peak by year’s end or just after, said Parson Singha, senior director for financial institutions at Fitch Ratings in Bangkok.

“It depends a lot on how the economic cycle goes,” Parson said in an interview Monday. “Growth has been relatively weak for the past several years, but at the same time it does look like the business environment has not been fundamentally poor, and banks have been tightening their underwriting standards.”





Gross nonperforming loans at commercial banks climbed to 2.94 percent of total loans in the first quarter, Bank of Thailand data show. That’s the highest level since 2011, underscoring challenges for lenders from a lackluster economy and elevated household debt. For now, Fitch continues to have a negative outlook on the country’s banking sector, Parson said.

Read how an unexpected climb in bad loans weighed on investors’ thinking

The banking sector has a combined market value of roughly 2.2 trillion baht ($65 billion) or 14 percent of the SET Index’s total stock market value.

Rising bad loans risk denting investor sentiment. The SET index has advanced 2.3 percent in 2017, the least after China among major Asian stock markets.





The Thai government’s plan to accelerate major infrastructure projects could bolster investor confidence by increasing demand for new loans and so help to lower the bad-debt ratio, said Prapas Tonpibulsak, chief investment officer at Talis Asset Management Co. in Bangkok.

Based on its own calculations, Fitch estimates the combined ratio for Thailand’s nonperforming and special-mention loans at 6.6 percent in the first quarter. Special-mention loans are those between one month and three months overdue.

China had a nonperforming loan ratio of 1.74 percent at the end of March. In India, stressed assets rose to about 17 percent of total loans by December.





Even after bad loans peak in Thailand, new accounting rules due to be implemented in 2019 will prevent banks from undertaking very aggressive lending, according to Parson. The standards, called IFRS 9, are likely to lead to increased provisioning and banks are already taking steps to prepare, he said.

Thailand’s economy may expand about 3 percent in 2017, trailing behind neighbors such as Indonesia and Malaysia, International Monetary Fund estimates show. Depressed private-sector investment is among the challenges facing the country’s military government, which seized power in a 2014 coup.

การเยือนอเมริกาครั้งใหม่ อาจทำให้บิีกตูบ ป๋าตือ และผู้นิยม คสช. ทั้งยวง หัวร่อร่า

ข้อเขียนของนายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล ประธานสภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อิบายเหตุผลที่ไม่สามารถตอบรับคำเชิญจากสถานทูตสหรัฐประจำประเทศไทย ไปร่วมงานฉลองวันประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกา ๔ กรกฎาคม หรือวันชาติ ที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเน็นตอล ในวันที่ ๒๙ มิถุนายนที่จะถึงนี้

แม้นว่า “การที่ได้รับเชิญให้ไปร่วมงานอิสรภาพโดยประเทศที่ก่อเกิดนักคิด นักต่อสู้ และผู้นำที่สรรเสริญสิทธิเสรีภาพย่อมทำให้นักศึกษาผู้ศรัทธาในประชาธิปไตยคนนี้ย่อมปีติอย่างหาที่สุดมิได้

การพรรณนาต่อไปอย่างละเอียดและเต็มไปด้วยวิสัยทัศน์อันเปี่ยมล้นไปด้วยจิตสำนึกแห่งประชาธิปไตย ยังความปลาบปลื้มมาสู่ผู้เรียกร้องประชาธิปไตยให้แก่ประเทศไทยทั้งหลายยิ่งนัก เช่นกัน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเขาบอกว่า “เหตุใด...ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา โดนัล ทรัมป์ ถึงเชิญพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรัฐประหาร คสช. ไปเยี่ยมทำเนียบขาวเล่า มันขัดแย้งกันไหม

ถ้าสหรัฐอเมริกาห่วงใยสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยแท้จริงแล้ว จะยินดีจับมือกับผู้นำเผด็จการที่ทำการละเมิดสิทธิมนุษยชน จับกุมขังคนคิดแตกต่าง ปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นในสาธารณะและในพื้นทีทางวิชาการได้อย่างไร

เนติวิทย์ยังเอ่ยถึงเอกอัคราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย นายกลิน เดวี่ส์ ว่า “มีอัธยาศัยไมตรีต่อประเทศไทย หลายครั้งท่านได้แสดงจุดยืนสนับสนุนประชาธิปไตยสิทธิเสรีภาพอย่างแจ้งชัด

กับทั้งตั้งความหวังว่า “สหรัฐอเมริกาจะคิดถึงสิทธิเสรีภาพของคนไทยที่ถูกริดลอน และฟื้นฟูแสดงจุดยืนอย่างแจ้งชัดในการส่งเสริมประชาธิปไตยในประเทศไทย เป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน อย่างเสมอบ่าเสมอไหล่ ในการนำสังคมทั้งสองไปสู่สังคมที่ทุกคนมีสิทธิ อิสรภาพและความสุขแห่งชีวิตของแต่ละบุคคล


ข้อเขียนของเนติวิทย์เป็นจังหวะปะเหมาะกับความมุ่งหมายของรัฐบาล คสช. ที่ตัวหัวหน้า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตั้งใจอย่างแน่นอนที่จะไปเยือนทำเนียบขาวตามคำเชิญ (ทางโทรศัพท์) จากประธานาธิบดีทรั้มพ์ รอแต่ทางสหรัฐประสานมาว่ากำหนดจะเป็นเมื่อไรแน่

พลันก็ปรากฏข่าวความเคลื่อนไหวของกระทรวงกลาโหมไทย โดย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคงและรัฐมนตรีว่าการ สั่งให้เหล่าทัพต่างๆ เร่งสำรวจจำนวนและชนิดของอาวุธ ในการพิจารณา “เสริมสร้างขีดความสามารถของกองทัพ” ให้เสร็จก่อนสิ้นเดือนมิถุนานี้เสียด้วย

นำไปสู่การคาดหมายว่าการไปเยือนสหรัฐครั้งใหม่ของนายกรัฐมนตรีรัฐบาลทหารไทยนี้ มีเรื่องช้อปปิ้งยุทโธปกรณ์เป็นไฮไล้ท์

ร้อนถึง พล.อ.ประวิตร ต้องออกมาปฏิเสธด้วยการยอมรับ “บิ๊กป้อมเผยสั่งเหล่าทัพเตรียมข้อมูลทางทหารให้นายกฯ ไป US ยันไม่ใช่ให้ลิสต์ซื้ออาวุธ” ตามที่ @WassanaNanuam เขียนไว้บนทวิตเตอร์

“แต่อาจมีช่วยเหลือทางทหาร รับอยากซื้อ ฮ. Black Hawk ให้ครบฝูง” มีบิ๊กป้อมเป็นรองฯ ก็ดีอย่าง แกโกหกไม่เป็น (ไม่ได้เนียน)

จึงมีคำถาม (นำร่องไว้ก่อนป๋าตือจะออกมายอมรับ) จากนักวิชาการด้านความมั่นคงที่วิเคราะห์เฉาะถึงแก่นว่า “ผู้นำทหารไทยต้องการซื้ออาวุธ และใช้การซื้อนี้เพื่อลดแรงกดดันของสหรัฐ...

กองทัพไทยซื้ออาวุธจากจีนเป็นจำนวนมาก ไทยมีความจำเป็นอะไรที่จะต้องซื้อจากอเมริกาเพิ่มเติมในขณะนี้” และที่สำคัญ “จะเป็นภาระด้านงบประมาณ...ในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้”

ดร.สุรชาติ บำรุงสุข ตั้งข้อสังเกตุไว้ ๑๐ ข้อ ที่รวมถึงข้อคิดว่า คสช.จะผละจากจีนกลับไปหาอเมริกาอีกแล้วหรือ “แต่ไทยอาจต้องมีการแลกทางการเมือง” ดร.สุรชาติบอกว่า “ต้องตามดูในอนาคต”

เฉพาะหน้าตอนนี้ถ้ามีการซื้ออาวุธจำนวนมากพอควร เรื่องรัฐบาลของนายทรั้มพ์จะลดแรงกดดันต่อคณะรัฐประหารไทย เป็นไปได้สูงยิ่ง กรณีนี้ต้องซาอุดิอาราเบียเป็นตัวอย่าง

คงทราบกันดีเรื่องซาอุฯ และพวกพ้องประเทศอาหรับบนอ่าวเปอร์เซียที่เป็นอิสลามเทือกเถา ซุนนี่รวมหัวกันประกาศคว่ำบาตรคาทาร์ (หรือ กาตาร์) ประเทศเศรษฐีน้ำมันที่สนิทกับอิหร่าน (แต่มีฐานทัพอเมริกันตั้งอยู่) และเป็นเจ้าของสำนักข่าวโด่งดังในทางเจาะลึก อัลจาซีร่า

คาทาร์ถูกกลุ่มประเทศอาหรับซุนนี่กล่าวหาว่าเป็นนายทุนหนุนหลังขบวนการก่อการร้ายนานาชาติ รวมทั้งไอสิส แต่นี่ไม่ใช่เหตุเดียวที่ทำให้ประธานาธิบดีทรั้มพ์ประกาศสนับสนุนซาอุฯ อย่างออกนอกหน้า ทั้งที่กระทรวงต่างประเทศสหรัฐแนะว่า ควรวางท่าทีเฉยไว้ก่อน

เบื้องลึกวิเคราะห์กันว่าเป็นเพราะที่ปรึกษาสำคัญวงในใกล้ชิดทรั้มพ์ จาเร็ด คุสชเนอร์ ลูกเขยของเขา กับสตีเฟ็น แบนน่อน นักยุทธศาสตร์มือขวาของทรั้มพ์ แนะให้ออกตัวแรงเช่นนั้น โดยก่อนหน้านี้มีข่าวการเยือนซาอุฯ ของทรั้มพ์
คุสชเนอร์กับแบนน่อน 
ว่าซาอุฯ เตรียมงบประมาณไว้ซื้ออาวุธจากสหรัฐปีหน้าเป็นพันๆ ล้านดอลลาร์
($110 billion according to Anita Kumar of McClatchy News http://www.miamiherald.com/news/politics-government/article153639549.html)

นอกจากนั้น โมฮัมหมัด บิน ซัลมัน โอรสวัย ๓๑ ปีของกษัตริย์ซัลมัน ผู้ช่ำชองด้านธุรกิจการลงทุนทั่วโลก ซึ่งเพิ่งได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นมกุฏราชกุมารแทนอา ข่าวว่าคุยถูกคอกับจาเร็ด คุสชเนอร์ อย่างยิ่งในเรื่องการลงทุนในสหรัฐ (ประเมินว่าระหว่าง ๒๐ ถึง ๔๐ พันล้านดอลลาร์ ในปีหน้า)

ไม่แต่เท่านั้นรัฐบาลสหรัฐยุคทรั้มพ์ (ครึ่งปีกว่าๆ) นี่ กระทรวงต่างประเทศกับทำเนียบขาว ยังต่อกันไม่ค่อยจะติดเท่าไรนัก ทั้งที่ รมว. เร็กซ์ ทิลเลอร์ซัน อดีตซีอีโอของเอ็กซอนโมบิล บริษัทน้ำมันใหญ่ ทรั้มพ์ตั้งมากับมือก็เถอะ

กต.สหรัฐเป็นหน่วยงานขนาดยักษ์ที่ประธานาธิบดีส่วนใหญ่ที่ผ่านมาถ้าไม่พยายามเดินตามให้ทัน ก็ต้องคอยเงี่ยหูฟังว่าเขาจะเอาอย่างไร แต่สำหรับทรั้มพ์เจ๋งกว่าใคร ไม่ฟัง ไม่สน (เรื่องซาอุฯ คว่ำบาตรคาทาร์เป็นตัวอย่าง)

จึงทำให้รัฐมนตรีที่ส่งเข้าไปคุม เลยเคว้ง แถมเป็นคนนอกวงการทูตมาก่อนเสียด้วย
เร็กซ์ ทิลเลอร์ซัน

บทความหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์คไทมส์เรื่อง ‘Where Trump zigs, Tillerson zags…’ เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายนนี้ โดยนักข่าวสามคนร่วมกันเขียน กล่าวถึงการพบกับข้าราชการ กต. ในที่ประชุมใหญ่ของกระทรวงเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม ของ รมว.ทิลเลอร์ซัน ว่า

“พวกข้าราชการจำนวนมากให้ความใส่ใจต่อสิ่งที่รัฐมนตรีไม่ได้พูดในปาฐกถาวันนั้นเสียมากกว่า ตลอดสมัยของประธานาธิบดี ๕ คนก่อนหน้านี้ เป้าหมายหลักของการดำเนินงานทางการทูตอเมริกันเน้นอยู่ที่

ทำอย่างไรจะใช้อิทธิพลของอเมริกาในการสร้างความก้าวหน้าทางด้านสิทธิมนุษยชนของชนส่วนน้อยทั่วโลกได้ และจะเจรจาควบคุมอาวุธ หรือวางแนวทางปฏิบัติให้ชาติต่างๆ ที่โจมตีกันด้วยอาวุธไซเบอร์ประพฤติได้อย่างไร

เดี๋ยวนี้ไม่เป็นอย่างนั้นอีกต่อไปแล้ว”


เมื่อพูดถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน รัฐมนตรีทิลเลอร์ซันบอกกับข้าราชการกระทรวงต่างประเทศว่า “ขณะที่สหรัฐยังคงให้คุณค่าล้ำเลิสต่อเสรีภาพ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และแบบอย่างที่ผู้คนควรได้รับการปฏิบัติต่อ

แต่คุณค่าเหล่านั้นจะไม่ถูกนำมาสะท้อนให้เห็นในนโยบายของรัฐบาล ค่านิยมจะมาเป็นอุปสรรคต่อความแกร่งกล้าสามารถ ในการสร้างเสริมผลประโยชน์ทางด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจของเราไม่ได้”

คำพูดแบบนี้ถ้ามันถูกเปลี่ยนเป็นการกระทำจริงๆ ทั้งเนติวิทย์และ ดร.สุรชาติ คงต้องผิดหวังอย่างแรง ในขณะที่ บิ๊กตูบ ป๋าตือ และผู้นิยม คสช. ทั้งยวงหัวร่อร่า เย้ยว่าเห็นไหมอเมริกายังเอาอย่างตู

วันอังคาร, มิถุนายน 27, 2560

#ตอกลิ่มเข้าไป "ตลาการไทยไม่ต่างอียิปต์ ยิ่งกว่าเวเนซูเอล่า โคตรตาดี"


อ่านข่าวยกฟ้อง #มือปืนป็อปคอร์น ทั้ง ๆ ที่จำเลยรับสารภาพ มีพยานแวดล้อม รูปถ่าย วิดีโอเต็มไปหมด

นึกถึงคำพิพากษา #คดีอากง “แม้โจทก์จะไม่สามารถนำสืบพยานให้เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่า จำเลยเป็นผู้ที่ส่งข้อความตามฟ้อง...เนื่องจากจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดดังกล่าว ย่อมจะต้องปกปิดการกระทำของตนมิให้บุคคลอื่นได้ล่วงรู้ จึงจำเป็นต้องอาศัยเหตุผลประจักษ์พยานแวดล้อมที่โจทก์นำสืบ เพื่อชี้วัดให้เห็นเจตนาที่อยู่ภายใน” (https://ilaw.or.th/node/1229)

คดีอากงถูกตัดสินว่า "ผิด" โดยไม่มี "ประจักษ์พยาน" เช่นกัน #ตอกลิ่มเข้าไป


ตอกลิ่มเข้าไปนั่นใช่แล้ว จงใจบิดเบือนหลักยุติธรรมสากลอีกอย่าง ตลาการไทยนี่ไม่ต่างอียิปต์ ยิ่งกว่าเวเนซูเอล่า โคตรตาดี

ขออนุญาตวิจารณ์เป็นเปราะๆ

“ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวน ประชุมปรึกษาหารือกันแล้ว เห็นว่าหลังเกิดเหตุตำรวจติดตามจับกุมผู้ก่อเหตุยิงใส่ผู้ชุมนุม ตรวจสอบภาพจากกล้องวงจรปิด และชายแต่งกายด้วยชุดดำหมวกไหมพรม

จากนั้นนำภาพมาเปรียบเทียบกับจำเลย หลักฐานดังกล่าวจึงไม่อาจยืนยันได้ว่า ภาพจากกล้องวงจรปิดและตัวจำเลยนั้นเป็นคนๆ เดียวกัน”

ถ้าตลาการดูหน้าคนร้ายในภาพเคลื่อนไหวจากกล้องวงจรปิดไม่ชัด เพราะชายใส่ชุดดำนั้นสวมหมวกไหมพรมด้วย ก็ควรจะหันมายึดหลักฐานจากคำให้การจำเลย ไม่ใช่เผือกสู่รู้ว่าภาพกับตัวจริงไม่ใช่คนเดียวกัน 

อันนี้วิจารณญานบุคคลธรรมดามีสติสัมปชัญญะบริบูรณ์ที่ไหนๆ ในโลกก็เห็นอย่างนี้ ยกเว้น...

“เห็นว่าโจทก์มีเพียงภาพจากสื่อมวลชน ไม่มีพยานบุคคลมายืนยัน มีเพียงคำให้การของจำเลยที่ให้การรับสารภาพ ซึ่งมีพิรุธเคลือบแคลงสงสัย ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย

ที่ศาลชั้นต้นพิพากษามานั้น ศาลอุทธรณ์ไม่เห็นพ้องด้วย พิพากษากลับให้ยกฟ้อง แต่ให้ขังจำเลยไว้ระหว่างฎีกา”

นี่เป็นการพิจารณาแบบสุกเอาเผากิน หรือไม่ก็ตามธงที่ตั้ง เพราะถ้าจำเลยสารภาพแล้วศาลจะไม่เชื่อ ต้องไปสืบสอบหลักฐานพยานเพิ่มเติมให้แน่ใจว่า การสารภาพไม่ได้เกิดจากการบีบบังคับเหมือนคดีสองแพะกะเหรี่ยงเกาะเต่า

แล้วก็ ถ้าพิพากษากลับยกฟ้องแล้วจะให้ขังจำเลยต่อไปทำฐานรากอันไร ให้ประกันปล่อยตัวไปเตรียมคดีสู้ฎีกาสิ

หรือว่าไม่กล้าปล่อยกลัววุ่น มีเสียงวิจารณ์ เสียงค้าน เป็นปัญหาหนักแก่ คสช. เลยต้องขอให้ขังไว้ก่อน

รวมความว่ากระบวนการศาลไทยเข้ารกเข้าพง ลงเหวไปอีก ไม่รู้ครั้งที่เท่าไหร่

"ถ้าเราจะแกะปมเศรษฐกิจก็ต้องแกะปมการเมืองไปพร้อมกัน” ฤๅนั่นมันคือ 'จุดไฟในสายลม'

เมื่อเกือบหนึ่งปีมาแล้ว มีการทักท้วงเรื่องสัญญาน “อุกาฟ้าเหลืองก่อนออกเรือ” ของเศรษฐกิจไทย ว่าปีนี้ (๒๕๖๐) เผาจริงกันละ

เชื่อว่ากูรูเศรษฐกิจของ คสช. คงไม่นิ่งนอนใจกันหรอก ตลอดปีที่ผ่านมาต่างก็พยายาม สื่อ หรือ พูด ว่าพวกตนเอาอยู่ ทุกอย่างกำลังเป็นไปด้วยดี “ตามโร้ดแม็พ” เพียงแต่ว่าต้อง “ขอเวลาหน่อย” เหมือนกับที่ขอมาแต่แรกเมื่อสองปีก่อนหน้านี้

เสียแต่ว่าตลอดปีที่ผ่านมาอะไรมันก็ไม่ได้ดีขึ้น ยกตัวอย่างเรื่องข้าวเรื่องยาง ที่เป็นพืชเศรษฐกิจหลักของการเกษตรพาณิชย์ อันเป็นความหวังสุดท้ายในการกู้เศรษฐกิจไทย ในเมื่อการผลิตวัสดุอุปกรณ์เพื่อส่งออก หรือ manufacturing ต่างๆ ซึ่งเคยเป็นคู่ขวัญกับการเกษตรหดหายไปกว่าครึ่ง

สภาวะทางพาณิชย์ของพืชเศรษฐกิจทั้งสองมิได้กระเตื้องขึ้น ที่มีข่าวว่ารัฐบาลทหารระบายขายข้าวค้างสต็อกที่ติดลบมาแต่โครงการจำนำข้าวของรัฐบาลที่แล้ว จนเกือบเกลี้ยง ก็เป็นเพียงบทบาทในการ ล้างจานที่ไม่ช่วยให้มีอาหารจานใหม่หอมฉุยมาตั้งบนโต๊ะได้แต่อย่างใด

เป็นที่ยอมรับสภาพกันในวงการส่งออกข้าวไทยว่า ห่างไกลกับการจะได้เป็นผู้ส่งออกอันดับหนึ่งของโลกอีกแล้ว นั่นเป็นประวัติศาสตร์ที่กำลังจะถูกลืม เช่นเดียวกับเรื่องราคายางพารา ซึ่งสมัยรัฐบาลที่แล้ว ๘๐ บาทต่อตันพูดกันว่าต่ำเกินไป เดี๋ยวนี้ ๓๐ บาท หรืออาจถึง ๑๕ บาท จุกคอ เป่าไม่ออกกันเป็นแถว

ล่าสุดนี่อดีตผู้ว่าการธนาคารชาติ ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ให้ความเห็นว่า “ไม่สามารถการันตีได้ว่าจะไม่มีวิกฤติขึ้นอีก” 

ทั้งนี้จากการตอบคำถามที่ว่า “เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงที่จะเผชิญวิกฤติ (ต้มยำกุ้ง) เหมือนเมื่อ ๒๐ ปีที่แล้วหรือไม่

หากจะเอาคำตอบเต็มๆ ของอดีตผู้ว่าฯ แบ๊งค์ชาติผู้นี้ มันรวบรัดอยู่ที่ “ก็เป็นเรื่องที่พูดยาก หลายครั้งก็มาแบบที่ไม่รู้ตัว” คงพูดไม่ให้กระเทือนซาง คสช. ด้วยละมั้ง

เนื่องจากมันมี “ติ่งเนื้อ” หรือ “ความไม่สมดุล” เกิดอยู่ สมควรที่จะใช้มีดหมอเข้าไปขลิบออก ดร.ประสารหมายถึงคำฝรั่งว่า “Nip off the bud.”

ก่อนต้มยำกุ้ง เป็นปรากฎการณ์เรื่องเงินไหลเข้า เพราะเราไปกำหนดค่าเงินคงที่ แล้วใช้นโยบายดอกเบี้ยสูงกว่าต่างประเทศ ทำให้ช่วงนั้นมีเงินไหลเข้ามาเก็งกำไรกันมาก บางส่วนก็มาลงที่อสังหาริมทรัพย์ จนกระทั่งเกิดปัญหา โอเวอร์ซัพพลาย ซึ่งเวลานี้ กลิ่นที่คล้ายๆ กันก็คือเรื่องนี้

ดร.ประสารโทษ “ผลพวงของระบบการเงินที่เกิดจาก Spillover Effect ในตลาดการเงินโลก ถือเป็นอาการหนึ่งของความไม่สมดุล

และความไม่สมดุลนี้อยู่ที่ สหกรณ์ออมทรัพย์ หรือ credit unions ซึ่งสินทรัพย์โตเร็วเกินจริง และระบบธรรมาภิบาลไม่แข็ง ทางออกที่ ดร.ประสารแนะก็คือให้พวกเครดิตยูเนี่ยนเหล่านั้นใช้มาตรการแบบศูนย์ข้อมูลเครดิต หรือ ‘Credit Bureau’ มาเป็นเครื่องกำกับการปล่อยกู้

สรุป ดร.ประสารฟันธงว่า “เศรษฐกิจไทยในเวลานี้มีภูมิต้านทานที่ดีในระดับหนึ่ง" เพียงแต่การันตีไม่ได้ว่าดีจริงไหม 

แต่กระนั้นในยุคแห่งความมั่นคงในอำนาจรัฐประหาร “แม้จะตรวจเจอติ่งเนื้อบ้างก็ไม่ควรวิตกจริตจนเกินไป


วิตกจริตแค่ไหน ข้อเท็จจริงมีว่า มันมีติ่งอยู่ จะเป็นติ่งเครดิตยูเนี่ยนปล่อยกู้ไม่ระวัง หรือติ่ง “แนวโน้มเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจหลายมิติ” อย่างที่ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) พูดไว้ก่อนหน้าเล็กน้อยก็ตาม

ดร.สมเกียรติพูดถึง ความเหลื่อมล้ำด้านกระจายรายได้’ คือในขณะที่ผลตอบแทนของทุนเพิ่มขึ้นก้าวกระโดด แต่ผลตอบแทนจากค่าจ้างแรงงานเกิดขึ้นน้อยมาก

เขาเอ่ยถึงบริษัทใหญ่ๆ ในตลาดหลักทรัพย์ ๑๐ อันดับต้นๆ “ในปีนี้แค่ไตรมาสแรกก็ได้กำไรก้าวกระโดด...๑๐ แห่งแรกทำกำไรได้ ๕๐% ของทั้งหมด” 

มิหนำซ้ำบริษัทใหญ่ๆ เหล่านี้ส่วนใหญ่ “อยู่ในสาขาธุรกิจผูกขาดหรือกึ่งผูกขาด หรือได้รับการอุปถัมภ์จากรัฐประเภทใดประเภทหนึ่ง

ดร.สมเกียรติเสนอให้ปรับทิศทางระบบทุนนิยมไทย จากทุนนิยมโดยรัฐ (ประชารัฐของ คสช. น่าจะเข้าข่าย) ไปสู่ทุนนิยมเอกชน หรือ ทุนนิยมผู้ประกอบการ และ ทุนนิยมธุรกิจใหญ่ที่มีนวัตกรรม

 
อาจจะฟังแปร่งๆ สักนิด เมื่อคำนึงถึงว่า ดร.สมเกียรติผู้นี้ เคยมีบทบาทแข็งขันในการต่อต้าน ทุนนิยมสามานย์(เฉพาะของทักษิณ) คนหนึ่ง

(ตามถ้อยของ Atukkit Sawangsuk เขาว่า “ก็มีบทบาทในการตั้งข้อหาทักษิณ ผลประโยชน์ทับซ้อน จนศาลเอาไปเป็นพยานคดียึดทรัพย์)

มาคราวนี้สามปีให้หลังคณะทหารยึดอำนาจ อะไรคงเปลี่ยนไป เขาชี้ว่า “รัฐและทุน เศรษฐกิจและประชาธิปไตย มีความเกี่ยวข้องกันอย่างลึกซึ้ง

...ถ้าเราจะแกะปมเศรษฐกิจก็ต้องแกะปมการเมืองไปพร้อมกัน” ฤๅนั่นมันคือ 'จุดไฟในสายลม'

แต่ว่าทุกวันนี้ คสช. กลับผูกปมการเมืองขมึงตรึงยิ่งขึ้น การจับกุม รังสิมันต์ โรม โดยเอาข้อหาเก่ามาเริ่มคดีใหม่ เพื่อที่จะไม่ให้เขามีโอกาศเปิดประเด็นเรื่องความโปร่งใสในข้อตกลงโครงการรถไฟฟ้าความเร็วปานกลางกับจีน 

เพียงเพื่อให้ คสช.สามารถปกป้องไอร้อนไม่ให้ระคายผิวของตนเท่านั้น


นั่นเป็นสิ่งที่จะทำให้ปมเศรษฐกิจขมวดยุ่งเหยิงยิ่งขึ้นไปด้วย การลงทุนจากต่างประเทศโดยเฉพาะของโลกตะวันตก ซึ่งไทยต้องการมาฟื้นฟูสุขภาพทางเศรษฐกิจมหภาค อันจะส่งผลไปยังเศรษฐกิจจุลภาค

-ความอยู่ดีกินดีภายในประเทศ ที่หนีหายไปแล้ว จะยิ่งไม่เหลียวหลังหวนคืนมา

"ข่าวร้ายของพวก กปปส." ที่กำลังแชร์กันวนไปทั่วโซเชียลมีเดีย




ข่าวร้ายของพวก กปปส...

พวก กปปส
.ไม่ต้องไปหาเงินบริจาคจำนวน 7 ล้านบาท มาวางศาลแล้วหละครับ เพราะศาลได้ออกใบแจ้งคดีถึงที่สุดมาแล้วครับ

ตอนนี้ก็จะต้องหา 600 ล้านบาท มาจ่ายตามคำพิพากษาของศาลทั้งจำนวนแล้วหละครับ หากไม่มาจ่าย โจทก์คือการท่าอากาศยานฯ ก็จะบังคับคดี มีที่ดิน บ้านเรือน รถยนต์ หรืออะไรที่มีชื่อตัวเองอยู่ ก็จะถูกยึดออกมาขายทอดตลาด เอาเงินไปชำระหนี้ ตามคำพิพากษา

(ในขั้นตอนนี้ คนเสื้อแดง และเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่เคยถูกกระทำจากคนเหล่านี้ สามารถชำระแค้นได้ ด้วยการช่วยสืบว่าทรัพย์สินของบุคคลเหล่านี้มีอะไรบ้าง เก็บซ่อนอยู่ที่ไหน แล้วแจ้งทนายโจทก์ทราบ เพื่อไปยึดมาเข้ากองทรัพย์สินลูกหนี้รอไว้ขายทอดตลาดได้ ก็จะเป็นการชำระแค้นที่แสนจะสุภาพเรียบร้อยครับ)

เมื่อยึดทรัพย์ขายทอดตลาดได้ไม่ครบ เจ้าหนี้ก็จะไปฟ้องร้องต่อศาลล้มละลายกลาง ให้เป็นบุคคลล้มละลาย ในระหว่าง 3 ปี บุคคลที่ยังไม่เคยล้มละลายนั้น อำนาจการจัดการทรัพย์สิน รวมถึงเงินเดือน และรายได้ที่เกิด จะอยู่ในอำนาจจัดการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จะทำกิจการใดๆ ไปต่างประเทศ ก็ต้องขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อครบ 3 ปี ก็จะพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลาย
แต่คนที่เคยล้มละลายแล้วอย่างนายสนธิ ลิ้มทองกุล จะไม่ได้รับสิทธิอันนี้นะครับ

เพื่อนๆ และน้องๆ ที่รัก บ้านเมืองเรามีกฎหมาย การที่สังคมของเราจะสงบเรียบร้อย และเป็นสุข ก็เพราะการเคารพกฎหมาย การกระทำอะไรที่มันผิดต่อกฎหมาย ในขณะที่คนสั่ง หรือคนสนับสนับสนุนยังมีอำนาจอยู่ คนกระทำความผิดก็ยังลอยนวล อาจไม่ถูกกฎหมายลงโทษได้ช่วงเวลาหนึ่ง แต่พอหมดอำนาจ กฎหมายก็จะกลับมาลงโทษได้ทั้งสิ้น

การยึดสถานที่ราชการ อย่างสนามบิน ที่คนพวกนี้กระทำ มันผิดชัดเจน แม้คนสั่ง คนสนับสนุนจะยิ่งใหญ่แค่ไหน วันหนึ่งเมื่ออำนาจเบาบางลง คนยึดก็จะต้องถูกลงโทษ วันนี้พวกเขาก็เริ่มถูกลงโทษทางแพ่งแล้ว ต้องชดใช้เงิน และอีกประเดี๋ยวการลงโทษทางอาญา ก็จะตามมา

ผู้ที่ถูกคำพิพากษาถึงที่สุดต้องชดใช้เงินค่าเสียหายให้แก่การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย จำนวน 600 ล้านบาท ประกอบด้วย

จำเลยที่ 1 พลตรีจำลอง ศรีเมือง
จำเลยที่ 2 นายสนธิ ลิ้มทองกุล
จำเลยที่ 3 นายพิภพ ธงชัย
จำเลยที่ 4 นายสุริยะไสย กตะศิลา
จำเลยที่ 5 นายสมศักดิ์ โกศัยสุข
จำเลยที่ 6 นายชัยวัฒน์ สินสุวงศ์
จำเลยที่ 7 นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์
จำเลยที่ 8 นายอมร อมรรัตนานนท์
จำเลยที่ 9 นายศรัญญู วงษ์กระจ่าง
จำเลยที่ 10 นายสำราญ รอดเพชร
จำเลยที่ 11 นายศิริชัย ไม้งาม
จำเลยที่ 12 นางมาลีรัตน์ แก้วก่า
จำเลยที่ 13 นายเทิดภูมิ ใจดี