วันเสาร์, พฤษภาคม 27, 2560

บทความน่าอ่าน... How our education sustains dictatorship





แปดทศวรรษผ่านไป ทำไมไทยยังปกครองด้วยรัฐบาลทหาร? พี่จ๋า สนิทสุดา เอกชัย ตั้งคำถามใน Bangkok Post เพราะวัฒนธรรมอำนาจนิยม militarism มันหยั่งรากลึกในสังคมและระบบการศึกษาของไทย ระบบที่ตอกย้ำ “ความกลัว” ส่วนคนที่ไม่กลัว พยายามขัดขืน ก็จะถูกกระทำด้วยความรุนแรง เหมือนอย่างฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทั้งหลาย โดยที่ระบบยุติธรรมที่เป็นอยู่ง่อยเปลี้ยเสียขาอย่างสิ้นเชิง

กรณีครูประถมกล้อนผมเด็ก แล้วเอารูปมาประจาน เป็นเรื่องที่หลายฝ่ายยอมรับไม่ได้ แต่รมต.ศึกษา กลับไม่ออกมาให้ความเห็น เพราะสิ่งที่ครูคนนั้นทำ เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามอย่างเป็นระบบ ที่จะสร้าง “ระเบียบ” และ “วินัย” ซึ่งกลายเป็นคุณค่าสำคัญของระบบการศึกษาไทย

นอกจากวัฒนธรรมอำนาจนิยม ระบบการศึกษาไทยยังปลูกฝังค่านิยมการเหยียดเพศ การใช้อำนาจบาตรใหญ่ การรักชาติจนล้นเกิน การเหยียดเชื้อชาติ และความกระหายที่จะต้องทำลายคนที่เห็นต่าง หรือท้าทายกับอำนาจ ตำราประวัติศาสตร์ของเรา เต็มไปด้วยการปลูกฝังความเกลียดชังต่อประเทศเพื่อนบ้าน มีแต่เรื่องที่ยกย่องเชิดชูมหาราช และค้ำจุนผู้มีอำนาจ ตราบที่ระบบการศึกษาไทยยังคงตอกย้ำความจงรักภักดี การยอมทำตามระเบียบอย่างเซื่อง ๆ โอกาสที่จะมีรัฐประหารก็จะไม่หายไปจากสังคมไทย บทความดีมาก ๆ ครับ น่าอ่าน



How our education sustains dictatorship 

.....




คุณว่าระบบการศึกษาแบบที่จับเด็ก “กล้อนผม” สนใจแต่ว่าเด็กจะแต่งตัวอย่างไร ไว้ทรงผมไหน สนใจแต่ใบปริญญา จะผลิตคนแบบ Mark Zuckerberg ได้หรือไม่? 13 ปีหลังลาออกจาก Harvard เขาได้รับเชิญให้ไปพูด “commencement speech” กับบัณฑิตที่จบการศึกษาที่นั่น

จากเด็กที่พัฒนาระบบ chat ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในบ้าน ซึ่งชั้นล่างเปิดเป็นร้านทันตกรรมของพ่อ ZuckNet เป็นผลงานชิ้นแรกของมาร์กตอนอายุ 11-12 ขวบ ก่อนเข้ามหาวิทยาลัย เขาทำ app “Synapse Media Player” ซึ่งสามารถสังเกตพฤติกรรมการฟังเพลง และ “เสนอ” เพลงที่ชอบให้ผู้ใช้งานได้ Microsoft และ AOL จะซื้อลิขสิทธิ์ app ตัวนี้ และซื้อตัวเขาไปทำงาน แต่เขาไม่ยอมขายและไม่ยอมไปทำงานด้วย เขาตัดสินใจแจก app ฟรีให้คนใช้ เมื่อเข้ามหาวิทยาลัย เขากับเพื่อนยังสนุกกับการประดิษฐ์ app ต่าง ๆ ขึ้นมาอีก CourseMatch และ FaceMash app ตัวหลังทำเอา network ของมหาวิทยาลัยเกือบล่ม ทำให้เขาถูกเตือน ตอนหลังเลยลาออกไปทำงานที่ตัวเองสนใจ คือการเชื่อมโยงผู้คนเข้าหากัน

ตอนตัดสินใจลาออก พ่อแม่ไม่บ่นสักคำ พ่อขับรถไปช่วยลูกขนของออกจากหอด้วย เขาเคารพการตัดสินใจของลูก ชีวิตของมาร์กมีแต่เรื่องคิดและสร้างสิ่งต่าง ๆ อย่างเสรี โดยไม่ยอมให้มี “กรอบ” มาปิดกั้น ไม่ยอมเป็น “ทาส” ของบรรษัทใหญ่ ๆ และไมสยบยอมให้กับชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยดัง ดังนั้น สิ่งที่สำคัญกว่าวินัย ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความมีสัมมาคารวะ น่าจะเป็นการไม่ไปปิดกั้นความคิดและจินตนาการของเด็ก “เสรีภาพในการแสดงออก” จึงเป็นเรื่องสำคัญ สังคมจะเจริญได้ ผู้คนควรมีสิทธิและเสรีภาพที่จะรับและแสดงความเห็นต่าง ๆ อาจจะแผลง ๆ ไปบ้าง ก็ควรปล่อยเขาไป ไม่ใช่ไปจับเขาขังคุก หรือ “ปรับทัศนคติ” เหมือนบางประเทศ ข้างล่างคือส่วนหนึ่งในสิ่งที่มาร์กบอกกับบัณฑิตใหม่ของ Harvard

“ไม่มีความคิดที่สมบูรณ์แบบตั้งแต่เริ่มต้น มันจะชัดขึ้นก็ต่อเมื่อเราเริ่มลงมือทำงาน เราต้องเริ่มจากาการทำบางอย่าง ถ้าผมรู้หมดทุกอย่างตั้งแต่ก่อนเริ่มลงมือทำงานว่า ต้องทำอย่างไรจึงจะสามารถเชื่อมโยงผู้คนเข้าหากันได้ ผมคงไม่ได้สร้าง facebook ขึ้นหรอก”

"Ideas don't come out fully formed. They only become clear as you work on them. You just have to get started. If I had to know everything about connecting people before I got started, I never would have built Facebook."

สปีชทั้งหมดของมาร์ก https://www.facebook.com/notes/mark-zuckerberg/harvard-commencement-2017/10154853758606634/
ผลงงานของมาร์ก ก่อนจะมี facebookhttp://www.letsintern.com/blog/4-thing-mark-zuckerberg/

Pipob Udomittipong