วันพฤหัสบดี, เมษายน 06, 2560

ชวนอ่าน... The end of the tank?... In modern warfare, forces must deploy quickly and “project power over great distances.” Weapons such as drones — nimble and tactical — are the future + เดชตือโป๊ยก่าย ตอน รถถังประจัญบาน





The end of the tank? The Army says it doesn’t need it, but industry wants to keep building it.

By Marjorie Censer 
January 31, 2014
Source: Washington Post

When an armored vehicle pulled down the statue of Saddam Hussein in an iconic moment of the Iraq War, it triggered a wave of pride here at the BAE Systems plant where that rig was built. The Marines who rolled to glory in it even showed up to pay their regards to the factory workers.

That bond between the machinists and tradesmen supporting the war effort at home and those fighting on the front lines has held tight for generations — as long as the tank has served as a symbol of military might.

Now that representation of U.S. power is rolling into another sort of morass: the emotional debates playing out as Congress, the military and the defense industry adapt to stark new realities in modern warfare and in the nation’s finances.

As its orders dwindle, the BAE Systems plant is shrinking, too. The company is slowly trimming workers and closing buildings.

In York, there’s “sadness that somebody that has worked here 35 years and is close to retirement is getting laid off,” said Alice Conner, a manufacturing executive at the factory. “There’s also some frustration from management and my engineering staff as we see the skills erode, because we know one day we’re going to be asked to bring these back, and it’s going to be very difficult.”

The manufacturing of tanks — powerful but cumbersome — is no longer essential, the military says. In modern warfare, forces must deploy quickly and “project power over great distances.” Submarines and long-range bombers are needed. Weapons such as drones — nimble and tactical — are the future.

Tanks are something of a relic.

To read more...

https://www.washingtonpost.com/business/economy/the-end-of-the-tank-the-army-says-it-doesnt-need-it-but-industry-wants-to-keep-building-it/2014/01/31/c11e5ee0-60f0-11e3-94ad-004fefa61ee6_story.html?utm_term=.48f9ca293282


ooo





นอกจากพ่อค้าอาวุธและผู้เสียภาษีชาวไทยแล้วในโลกนี้ไม่น่าจะมีใครตื่นเต้นอะไรมากมายกับข่าวกองทัพไทยใช้เงินอีก 2 พันล้านบาทซื้อรถถัง10 คันจากจีน นักวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็เพียงแต่อมยิ้มเล็กน้อยกับหมากกลทางการเมืองมุขนี้ของรัฐบาลทหารไทย เพราะดูเหมือนว่ารถถังจะตอบโจทย์ทางการเมืองระหว่างประเทศมากกว่ายุทธศาสตร์ทางทหาร

ในความทรงจำระยะสั้นนับแต่ปลายศตวรรษที่ 20 ถึง ต้นศตวรรษที่ 21 นี้ รถถังของไทยไม่ได้มีภารกิจอะไรมากไปกว่า เป็นสัญลักษณ์ของการรัฐประหารยึดอำนาจทางการเมืองเท่านั้นเอง หากไม่ขับออกมายึดอำนาจหรือข่มขู่พลเรือนแล้ว รถถังในกองทัพไทยส่วนใหญ่จอดไว้เฉยๆ งานหนักที่สุดของทหารม้าคือการหยอดน้ำมันป้องกันสนิมกินรถถัง แม้ในภาระกิจการฝึกรถถังก็ไม่ได้ถูกนำมาใช้มากมายนัก เนื่องจากท้องเรื่อง (Theme) ที่ใช้ในการฝึกรบ เช่น คอปบราโกลด์นั้นส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องการต่อต้านการก่อการร้าย และการกู้ภัยพิบัติจากธรรมชาติ และภัยคุกคามแบบใหม่อื่นๆที่เรียกตามภาษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศว่า non-traditional security threat เช่น อาชญากรรมข้ามชาติ การค้ามนุษย์ ค้ายาเสพติด ซึ่งรถถังไม่มีบทบาทอะไรเลยในสงครามเหล่านั้น

รถถังถูกออกแบบมาเป็นอาวุธหนักที่เคลื่อนที่ได้เหมาะกับการใช้งานในสงครามในแบบ (conventional warfare) เช่นสงครามระหว่างประเทศเป็นหลักใหญ่ ความจริงกองทัพไทยได้ประเมินมาหลายปีแล้วว่าในระยะสั้นหรือระยะปานกลาง (อย่างน้อยก็เท่ากับอายุใช้งานของรถถังที่ซื้อมาใหม่) จะไม่มีสงครามแบบนั้นเกิดขึ้นในภูมิภาคนี้และในประเทศไทย สงครามรถถังประจัญบานนั้นอาจจะได้เห็นเฉพาะในภาพยนตร์อย่าง Fury เท่านั้น

ที่พอจะมีอยู่บ้างคือการปะทะกันตามแนวชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านเล็กๆน้อยๆ เช่น การไล่ล่าพวกค้าไม้พยุง ค้ายาเสพติดและพวกลักลอบขนคนข้ามแดนหรือกองกำลังไม่ทราบฝ่ายที่ไม่ใช่ทหารหลัก การปะทะกับกองกำลังหลักของประเทศเพื่อนบ้านอาจจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้บ้าง เช่นกรณีข้อขัดแย้งปราสาทพระวิหารหรือเรื่องเขตแดน แต่ยุทโธปกรณ์ที่ใช้งานได้มีประสิทธิภาพที่สุดในสถานการณ์แบบนั้นคือปืนเล็กของทหารราบ ปืนใหญ่ จรวดนำวิถี ยานลำเลียงพลและเฮลิคอปเตอร์ เท่าที่เคยเห็นกรณีปราสาทพระวิหารและปราสาทตาเมือนนั้น กองทัพไทยขนรถถังไปขับฉุยฉายตามถนนริมชายแดนเพื่อข่มขวัญฝ่ายตรงข้ามเท่านั้นไม่ได้ออกปฏิบัติการจริง ยุทโธปกรณ์ที่เป็นหลักในการยุทธ์คราวนั้นคือ ปืนใหญ่และจรวดที่ยิงข้ามเทือกเขาพนมดงรักไปฝั่งกัมพูชาได้

แต่อย่างไรก็ตาม กองทัพไทยก็ยังต้องจัดซื้อรถถังมาประจำการ เพราะผู้นำกองทัพไทยสมัยนี้ไม่มีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับสงครามสมัยใหม่ชัดเจนนัก พวกเขาตัดสินใจซื้อรถถังเพียงเพราะเห็นว่าที่มีอยู่มันเก่าแล้วต้องซื้อมาทดแทน ส่วนซื้อมาแล้วใช้คุ้มค่าหรือไม่ก็ไม่ใช่สิ่งที่อยู่สามัญสำนึกของนักการทหารไทยเลยแม้แต่น้อย

กองทัพบกไทยตัดสินใจหารถถัง 49 คันสำหรับหนึ่งกองพันมาร่วม 10 ปีแล้วเพื่อทดแทนรถถังแบบ M41 (walker bulldog) ที่ซื้อมาจากสหรัฐเมื่อ 60 ปีก่อน (ความจริงรถถังที่ประจำการนานขนาดนั้นก็พิสูจน์ข้อเท็จจริงประการหนึ่งว่า มันไม่เคยถูกใช้งานเลย)

ปี 2011 กองทัพเซ็นสัญญากับบริษัทแมรีเชฟ (Malyshev) แห่งยูเครนจัดซื้อรถถัง T48 (Oplot) จำนวน 49 คัน มูลค่า 241 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ แต่สุดท้ายจำเป็นต้องยกเลิกสัญญาเพราะโรงงานที่ยูเครนสามารถส่งมอบรถถังให้ได้เพียง 20 คันตลอดระยะเวลา 5 ปีนับแต่ลงนาม ความจริงสัญญาก็หมดอายุลงตั้งแต่ปี 2014 แล้ว

กองทัพไทยจึงต้องมองหาแหล่งใหม่ในราคาที่ใกล้เคียงกันและด้วยเหตุผลทางการเมืองยุทโธปกรณ์จากจีนเป็นคำตอบที่ลงตัว เพราะรัฐบาลทหารต้องการแสดงความโน้มเอียงเข้าหาจีนเพื่อถ่วงดุลสหรัฐอยู่พอดี จึงได้เซ็นสัญญาซื้อรถถัง MBT 3000 หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ VT4 จาก China North Industries Corporation (NORINCO) เมื่อปีที่แล้ว กองทัพไทยน่าจะเป็นลูกค้ารายแรกในโลกของบริษัทนี้ที่เปิดเผยข่าวเกี่ยวกับการจัดซื้อ

การอนุมัติการสั่งซื้อเมื่อวันอังคารที่ 4 เมษายน ความจริงแล้วเป็นล๊อตที่สองจำนวน 10 คัน ก่อนหน้านี้กองทัพไทยสั่งซื้อรถถังแบบเดียวกันนี้จากจีนสมัย พลเอก ธีรชัย นาควานิช ผู้บัญชาการทหารบกคนก่อนจำนวน 28 คัน และตั้งใจจะซื้อต่อไปอีกจนครบ 49 คันตามต้องการเพื่อบรรจุให้ครบ 1 กองทัพรถถังตามแผน รายงานข่าวบางกระแส เช่นจาก Jane บอกว่ากองทัพไทยอยากจะได้รถถังที่เป็น Main Battle Tank แบบนี้ไว้ประจำการถึง 150 คัน

VT4 นั้นผู้สันทัดกรณีบอกว่าเป็นรถถังขนาด 52 ตัน จีนพัฒนารุ่นนี้เพื่อการส่งออกโดยเฉพาะ โดยอาศัยพื้นฐานจากรุ่น 99A ที่กองทัพประชาชนจีนใช้อยู่ในปัจจุบัน VT4 รุ่นนี้ติดปืนใหญ่ 125 มม ซึ่งมีระบบนำวิถี อีกทั้งมีปืนกลหนักติดตั้งอยู่ด้วย แต่รับประกันได้ว่าไม่เหมาะกับภารกิจในสามจังหวัดชายแดนใต้แน่นอน

สื่อมวลชนรายงานกันอย่างเอิกเกริกเกี่ยวกับการซื้อรถถังจากจีนครั้งนี้เพื่อเป็นสัญญาณบอกไปทางสหรัฐที่มึนตึงกับไทยมาตั้งแต่มีการยึดอำนาจปี 2014 แต่ไม่มีใครถามถึงความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจที่ผิดพลาดในการเลือกรถถังยูเครนในตอนต้น ทั้งๆที่ในวงการต่างรู้กันดีแล้วว่า ยูเครนมีปัญหาในการผลิตและส่งมอบยุทโธปกรณ์มาโดยตลอด ไม่นับเรื่องคุณภาพเพราะพัฒนาจากสิ่งที่คนในวงการเรียกว่าของโบราณ (antique) ในปี 1994 กองทัพที่มีภารกิจในการรบจริงๆไม่มีใครนิยมซื้อของจากแหล่งนั้น มีแต่กองทัพที่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการรบเท่านั้นที่ผลาญงบประมาณของชาติไปกับการซื้อของที่ไม่ได้ใช้มาไว้ประจำการ

ภาพประกอบ รถถัง VT4 ของจีน T84 ของยูเครนและ M41 ที่ประจำการในกองทัพไทยปัจจุบัน







ที่มา FB

Supalak Ganjanakhundee