วันจันทร์, เมษายน 10, 2560

BRN แถลง 3 เงื่อนไขเจรจาดับไฟใต้ - นักวิเคราะห์ชี้แถลงการณ์ล่าสุดบีอาร์เอ็นทิ้งคำถามถึงบทบาทมารา ปาตานี





BRN แถลง 3 เงื่อนไขเจรจาดับไฟใต้


By พรรณิการ์ วานิช
10 เมษายน 2560
Voice TV


เว็บไซต์ต่างชาติเผยแพร่แถลงการณ์ของกลุ่ม BRN ที่ประกาศพร้อมเข้าร่วมการเจรจาสันติภาพชายแดนใต้ แต่ตั้งเงื่อนไขว่าต้องมีคนกลางที่เชื่อถือได้และมีผู้สังเกตการณ์จากต่างประเทศเข้าร่วม รวมถึงต้องมีการออกแบบขั้นตอนการเจรจาร่วมกันก่อนที่จะเริ่มต้นเจรจาจริง

สำนักข่าว AFP รายงานว่าขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี หรือ BRN ที่แสดงเจตจำนงที่จะเข้าร่วมการเจรจาเพื่อสันติภาพแห่งปาตานี หรือ Patani Peace Dialogue โดยยืนยันว่าการต่อสู้ของ BRN เป็นไปเพื่อสันติภาพและมนุษยธรรม ต่อต้านการกดขี่ของเจ้าอาณานิคม เพื่อเรียกร้องอำนาจอธิปไตยกลับคืนมา ด้วยเหตุนี้ BRN จึงพร้อมเข้าร่วมกับกระบวนการใดๆที่จะนำไปสู่การคืนสันติภาพให้กับพื้นที่ และเชื่อว่ากระบวนการเจรจาสันติภาพเป็นหนทางที่ถูกต้องในการแก้ไขความขัดแย้ง

อย่างไรก็ตาม BRN ย้ำว่าในการเข้าร่วมการเจรจาสันติภาพ มีเงื่อนไขสำคัญคือกระบวนการทั้งหมดต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากล โดย BRN เห็นว่าการจะทำให้กระบวนการสันติภาพสำเร็จและนำสันติภาพกลับคืนมาได้อย่างแท้จริง ต้องประกอบไปด้วยเงื่อนไขดังนี้

1. การเจรจาต้องตั้งอยู่บนความยินยอมพร้อมใจของทั้งสองฝ่าย และทั้งสองฝ่ายก็ต้องตั้งใจที่จะแสวงหาหนทางยุติความขัดแย้ง และนอกจากคู่ขัดแย้ง ยังต้องมีบุคคลที่สามเป็นผู้สังเกตการณ์และสักขีพยานจากนานาชาติเข้าร่วมกระบวนการเจรจาด้วย

2. คนกลางในการเจรจาต้องมีความน่าเชื่อถือ และมีมาตรฐานตรงตามหลักสากล กล่าวคือ เป็นกลางอย่างแท้จริง และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนในความขัดแย้ง รวมถึงต้องอำนวยความสะดวกการเจรจาให้เป็นไปตามขั้นตอนที่คู่ขัดแย้งกำหนดไว้

3. กระบวนการเจรจาต้องได้รับการออกแบบร่วมกันระหว่างคู่ขัดแย้ง และต้องมีการตกลงยินยอมทำตามกระบวนการดังกล่าวก่อนที่การเจรจาจะเริ่มขึ้น





ooo

10 เมษายน 2560
Voice TV

อ่านการวิเคราะห์จากรุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัตน์และดอน ปาทาน นักวิจัยและผู้สื่อข่าวผู้เกาะติดสถานการณ์ภาคใต้อย่างต่อเนื่อง ทำไมจึงเชื่อว่าแถลงการณ์ล่าสุดเป็นของบีอาร์เอ็น และมันบอกอะไรกับเราบ้าง

รุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช เขียนบทวิเคราะห์ไว้ดังนี้


บีอาร์เอ็นนั้นเงียบมาค่อนข้างนาน ออกคำแถลงล่าสุดต่อสื่อเมื่อเดือนตุลาคม 2558 รูปร่างหน้าตาของแถลงการณ์ในครั้งนี้ก็มีความเหมือนกับครั้งก่อนๆ จากการเช็คข้อมูลก็มีความเป็นไปได้สูงว่าเป็นเอกสารที่ออกมาจากคนที่เป็นบีอาร์เอ็นจริง

แถลงการณ์หนล่าสุดของบีอาร์เอ็นปรากฎตัวสู่สายตาสาธารณะผ่านการนำเสนอของสำนักข่าวเอเอฟพี ซึ่งเป็นสำนักข่าวรายเดียวที่เสนอข่าวนี้ แหล่งข่าวผู้เชี่ยวชาญในเรื่องภาคใต้ชี้ว่า ปกติการสื่อสารของบีอาร์เอ็นค่อนข้างสลับซับซ้อนเพราะการรักษาความลับของกลุ่ม ขณะที่บีอาร์เอ็นไม่ไว้ใจสื่อไทย ดังจะเห็นได้จากก่อนหน้านี้เมื่อเดือนตุลาคม ปี 2558 ที่ให้ข่าวผ่านสื่อต่างประเทศ การให้สัมภาษณ์กระทำด้วยการติดต่อผู้สื่อข่าวต่างประเทศคือนายแอนโทนี เดวิส ที่เขียนรายงานลงในนสพ.ญี่ปุ่น นิเคอิ เอเชียน รีวิว ส่วนในหนนี้แหล่งข่าวเปิดเผยว่า บีอาร์เอ็นส่งแถลงการณ์ไปให้เจ้าหน้าที่สถานทูตต่างประเทศสามแห่ง กับสำนักข่าวต่างประเทศ แต่คาดว่าเนื่องจากความไม่คุ้นเคยทำให้สื่อมักมีคำถามและลังเลตลอดมาในเรื่องการใช้ข้อมูลที่กล่าวว่ามาจากบีอาร์เอ็น ทำให้ในที่สุดมีเพียงสำนักข่าวเอเอฟพีที่นำเสนอข่าวนี้พร้อมทั้งบทวิเคราะห์จากแมท วีลเลอร์ ผู้เชี่ยวชาญของกลุ่มอินเตอร์เนชั่นแนล ไครซิส กรุ๊ปหรือไอซีจี

สะท้อนบทเรียนในอดีต

ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งของการพูดคุยสันติภาพ (สุข) ในปัจจุบันคือมีการตั้งคำถามมากว่ามาราปาตานีนั้นคุมกองกำลังในพื้นที่ได้หรือไม่ บีอาร์เอ็นเข้าร่วมหรือไม่ คำตอบคือมีคนที่เป็นสมาชิกบีอาร์เอ็นบางส่วนเข้าร่วมกับมาราปาตานี คนกลุ่มนี้เคยมีบทบาทในบีอาร์เอ็นและต้องการการพูดคุยสันติภาพ แต่สมาชิกระดับนำอื่นๆ ของบีอาร์เอ็น รวมถึงผู้ที่มีบทบาทในการคุมฝ่ายทหารของบีอาร์เอ็นไม่ต้องการเข้าร่วมการพูดคุยจนกว่าที่รัฐไทยจะยอมรับเงื่อนไข 5 ข้อที่เคยเสนอไว้ในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

เงื่อนไข 5 ข้อได้แก่
1. นักล่าอาณานิคมสยามต้องยอมรับให้ประเทศมาเลเซียเป็นผู้ไกล่เกลี่ย (mediator) ไม่ใช่แค่ผู้อำนวยความสะดวก (facilitator)
2. การพูดคุยเกิดขึ้นระหว่างชาว ปาตานีซึ่งนำโดย บีอาร์เอ็นกับนักล่าอานานิคมสยาม
3. ในการพูดคุย จำเป็นต้องมีพยานจากประเทศอาเซียน องค์กร OIC และองค์กร NGO ต่างๆ
4. นักล่าอาณานิคมสยามต้องยอมรับว่าชาวมลายูปาตานีมีสิทธิในความเป็นเจ้าของดินแดนปาตานี
5. นักล่าอาณานิคมสยามต้องปล่อยผู้ถูกคุมขังในคดีความมั่นคงทุกคนและยกเลิกหมายจับทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคดีความมั่นคง โดยไม่มีเงื่อนไข

แถลงการณ์ฉบับนี้สอดคล้องกับข้อเสนอเดิมที่บีอาร์เอ็นเคยยื่นไว้ในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในปี 2556 เนื้อหาหลักๆ ที่ผู้เขียนคิดว่าน่าสนใจอยู่ในข้อเสนอ 3 ข้อในแถลงการณ์ดังนี้

1. การพูดคุยต้องเกิดจากความต้องการของทั้งสองฝ่ายที่เกี่ยวข้องในความขัดแย้งและจะต้องสมัครใจที่จะหาทางออกร่วมกัน การพูดคุยจะต้องมีบุคคลที่สาม (ประชาคมนานาชาติ) เป็นผู้สังเกตการณ์และพยาน
2. ผู้ไกล่เกลี่ยต้องมีความน่าเชื่อถือและมีคุณสมบัติที่เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติของนานาชาติ เช่น ต้องมีความเป็นกลาง ต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ผู้ไกล่เกลี่ยจะต้องดำเนินการพูดคุยตามกระบวนการที่คู่เจรจาทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกัน
3. กระบวนการเจรจานั้นต้องได้รับการออกแบบอย่างชัดเจนและได้รับความเห็นชอบจากคู่เจรจาทั้งสองฝ่ายก่อนเริ่มต้นเจรจา

กล่าวโดยรวม ข้อเสนอสามข้อนี้สะท่้อนถึงสิ่งที่บีอาร์เอ็นน่าจะเห็นว่าเป็นความบกพร่องของการพูดคุยภายใต้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ด้วยเหตุที่ว่าบีอาร์เอ็นเองถูกดึงเข้าไปในการพูดคุยโดยไม่ได้มีเวลาตั้งตัว ได้มีการปรึกษาหารือกันในสภาองค์กรนำก็ต่อเมื่อได้มีการลงนามในฉันทามติร่วมว่าด้วยกระบวนการพูดคุยสันติภาพที่กัวลาลัมเปอร์ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 ไปแล้ว บีอาร์เอ็นจึงเห็นว่ากระบวนการการพูดคุยนั้นจะต้องได้รับการออกแบบและเห็นชอบจากทั้งสองฝ่ายตั้งแต่ต้น ในช่วงนั้นมีการตั้งคำถามว่ากรอบการพูดคุยที่ต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญไทยนั้นจะทำให้ฝ่ายบีอาร์เอ็นนั้นเสียเปรียบหรือไม่

บทบาทของมาเลเซียเองก็ถูกตั้งคำถามในเรื่องความเป็นกลางด้วยเช่นเดียวกัน ในช่วงที่การพูดคุยเริ่มสั่นคลอน มีการส่งเอกสาร 38 หน้าเพื่ออธิบายข้อเสนอของบีอาร์เอ็นไปยังรัฐบาลไทยซึ่งมีการตั้งข้อสงสัยว่ามาเลเซียนั้นมีส่วนอย่างสำคัญในการร่วมร่างเอกสารฉบับดังกล่าวหรือไม่ เป็นความลับที่รู้กันว่าผู้นำของบีอาร์เอ็นหลายคนอาศัยอยู่ในมาเลเซีย ฉะนั้นมาเลเซียจึงมีอำนาจในการกดดันให้พวกเขาเข้าร่วมการพูดคุย ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเขาต้องพยายามต่อรอง แม้ว่าจะไม่ค่อยชอบใจก็ตาม มีบางกระแสที่เสนอว่าอาจจะมีความพยายามให้ประเทศอื่นๆ หรือองค์กรอื่นเข้ามาเป็นผู้อำนวยความสะดวกแทน ส่วนเรื่องการเลื่อนสถานะจากผู้อำนวยความสะดวกเป็นผู้ไกล่เกลี่ยนั้นก็อยู่ในข้อเรียกร้องเดิม แต่ทางรัฐบาลไม่ได้น่าจะยอมรับได้

การขอให้ประเทศอื่นหรือองค์กรอื่นเข้ามาร่วมเป็นคนกลางหรือเป็นผู้สังเกตการณ์นั้นก็เป็นข้อเรียกร้องเดิมอยู่แล้ว แต่ทางรัฐบาลไทยไม่น่าจะยอมรับได้

ความสัมพันธ์กับมาราปาตานี

บีอาร์เอ็นในฐานะองค์กรไม่ได้เข้าร่วมการพูดคุยกับรัฐบาลทหารที่นำโดยมาราปาตานี ดูเหมือนว่ามีความขัดแย้งในเชิงความคิดของคนในบีอาร์เอ็นต่อเรื่องการพูดคุยสันติภาพ กลุ่มที่ไม่ยอมพูดคุยกับรัฐบาลทหารไม่ได้ปฏิเสธการพูดคุยสันติภาพในเชิงหลักการ แต่ว่าต้องการให้รัฐบาลยอมรับข้อเรียกร้อง 5 ข้อของตนก่อน ซึ่งก็ได้ตอกย้ำบางประเด็นผ่านแถลงการณ์ฉบับนี้ โดยเฉพาะเรื่องการให้มีประชาคมนานาชาติเข้ามาเป็นผู้สังเกตการณ์

ดูเหมือนว่าความสัมพันธ์ระหว่างบีอาร์เอ็นกับมาราปาตานีอาจจะไม่ถึงกับเป็นศัตรู แต่ว่าก็อาจจะมีลักษณะของการแข่งขันกันอยู่ บีอาร์เอ็นอาจจะกำลังพยายามเสนอกรอบการพูดคุยใหม่ โดยแยกต่างหากจากกรอบการพูดคุยที่มาราปาตานีทำอยู่กับรัฐบาล

แถลงการณ์นี้ออกมาสี่วันหลังการก่อเหตุใน 18 อำเภอในปัตตานี ยะลา นราธิวาสและสงขลาซึ่งทำให้เสาไฟฟ้าเสียหายไปกว่า 50 ต้นและทำให้เกิดไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้างในปัตตานี การโจมตีต้องการแสดงให้เห็นศักยภาพมากกว่าการทำลายชีวิต ซึ่งนับว่าเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งทางการทหารและกองกำลังที่ยังคงมีอยู่อย่างกว้างขวาง อาจจะเรียกได้ว่าเป็นยุทธศาสตร์การขอเจรจาเมื่อมีความเข้มแข็ง (negotiation from a position of strength)

ด้านดอน ปาทาน ผู้เชี่ยวชาญเรื่องภาคใต้บอกกับวอยซ์ทีวีว่า แถลงการณ์ฉบับนี้ซึ่งตนเชื่อว่าเป็นของจริง เป็นการส่งสัญญาณโดยกลุ่มบีอาร์เอ็นถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาภาคใต้ว่า กระบวนการสันติภาพภาคใต้เป็นเรื่องที่จะต้องดำเนินการระหว่างรัฐบาลไทยและกลุ่มบีอาร์เอ็นเท่านั้น จากแถลงการณ์นี้ตนเห็นว่าเป็นการมองข้ามกลุ่มมารา ปาตานีอย่างสิ้นเชิง

ooo


Main southern Thai insurgent group rejects army peace plan





by Jerome TAYLOR - AFP on April 10, 2017
via Yahoo News


Bangkok (AFP) - The most prominent insurgent group in Thailand's south rejected the military's peace plan in a rare statement on Monday, underscoring Bangkok's inability to open negotiations with the actual fighters in the conflict.

The country's southernmost border provinces, which were annexed by Thailand more than a century ago, have been plagued with violence for over a decade as ethnic Malay rebels battle Thai troops for more autonomy from the Buddhist-majority state.

The fighting has claimed more than 6,800 lives -- mostly civilians -- since 2004, with both sides accused of rights abuses and atrocities.

The shadowy Barisan Revolusi Nasional (BRN) is believed to be behind much of the violence, although it never claims attacks and shuns publicity.

On Monday it outlined objections to Bangkok's peace plan, saying it "must include the participation of third parties (international community) as witnesses and observers" and that an "impartial" mediator should lead the talks, not the Thai army.

In February the military and a group of rebel peace negotiators agreed to create a cluster of "safety zones" -- the first small but significant step in a much delayed peace process.

Thailand's generals, who seized power in 2014, touted the deal as proof the army-led peace process had legs.

But many experts have long remarked that the only rebel group Bangkok will agree to talk to -- the Mara Patani -- has little control over fighters on the ground.

Thailand's military treats the insurgency as a purely internal security issue and has baulked at any suggestion of outside involvement from the international community.

There have been talks in the Malaysian capital Kuala Lumpur with Mara Patani. But they have staggered on for years, undercut by near-daily bombs, ambushes and assassinations in the Deep South and a decade of political instability in Bangkok.

Matthew Wheeler, an expert on the southern insurgency with the International Crisis Group, said the BRN "perceive the current (peace) process as one driven by Bangkok and Kuala Lumpur for their own interests".

But he added that statement reminds both sides the BRN is willing to come to the table under the right conditions.

"It does not reject dialogue, even as it rejects participation in the current dialogue process," he told AFP.

Monday's statement followed a weekend of coordinated bombings across the south that targeted electricity poles.

The attacks caused widespread blackouts but no casualties and were seen as a reminder from the insurgents that they can still cause trouble despite a strong military presence and harsh martial law restrictions.

Those bombings came hours after Thailand's new King Maha Vajiralongkorn signed into law a military-backed constitution that will curb the power of elected lawmakers and bolster the army's role in any future government.

The southern region was one of few areas to reject that constitution when it was put to a referendum last year.