วันอังคาร, มีนาคม 21, 2560

สถานเอกอัครราชทูตไทยให้คำชี้แจงกรณีของวัดพระธรรมกาย


โพสต์ที่: สถานเอกอัครราชทูตไทยให้คำชี้แจงกรณีของวัดพระธรรมกาย

อ้างอิง: Royal Thai Embassy clarifies Wat Dhammakaya case

เขียนโดย: เอกอัครราชทูตจิระชัย ปั้นกระษิณ

โพสต์บนเวปไซค์ของ: New Mandala เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2560

-------------------------------------------------------------



หลังจากที่ข้าพเจ้าได้อ่านบทความเรื่อง “เรื่องราวอันน่าฉงนของวัดพระธรรมกาย” (The perplexing case of wat Dhammakaya) ซึ่งเขียนโดบ ดร. เจมส์ แอล เทย์เล่อร์ บนเวปไซค์ของ New Mandala เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2560 ข้าพเจ้ามีความรู้สึกจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องชี้แจงให้กระจ่างในสองสามหัวข้อดังต่อไปนี้:


ประการที่หนึ่ง, บทความถ่ายทอดข้อมูลที่ผิดพลาดในเรื่องของพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ – ซึ่งเป็นกฎหมายที่ทำการควบคุมชุมชนวัดพุทธ ซึ่งรัฐบาลไทยไม่มีความประสงค์แต่อย่างใดที่จะยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ดังกล่าวแต่อย่างใด


ในเวลาปัจจุบัน มีการเสนอเรื่องโดยคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และการท่องเที่ยว ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เข้าไปพิจารณาเพียงเรื่องเดียวเท่านั้น นั่นคือ การผนวกบทบัญญัติสองประการ ภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (มาตรา 1622 และ 1623) ที่เกี่ยวข้องกับ กฎหมายการสืบทอดมรดกของพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ซึ่งไม่มีความเกี่ยวโยงไปถึงเรื่องการควบคุมสินทรัพย์ในวัดวาอาราม หรือ ทำการปฎิรูปการศึกษาซึ่งเกี่ยวข้องกับวัดแต่อย่างใด แม้กระนั้นก็ตาม เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงความสับสนและความเข้าใจผิดต่างๆ คณะกรรมาธิการได้ระงับหัวข้อของการพิจารณาออกไป เกี่ยวกับ เรื่องการผนวกบทบัญญัติตามที่กล่าวมาแล้วในข้างต้น



ประการที่สอง, การประกาศใช้พื้นที่ของวัดพระธรรมกาย ให้ถูกกำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมนั้น เริ่มมีความจำเป็นเพราะว่า ประชาชนที่รวมตัวกันอยู่ในวัด ต่างปฎิเสธที่จะให้ความร่วมมือกับทางการ และในบางกรณี ก็ทำการขัดขวางเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายเพื่อพยายามต่อการปฎิบัติหน้าที่ของพวกเขา ไม่มีการใช้กำลังหรือปฎิบัติการด้วยความรุนแรงจากเจ้าหน้าที่ของฝ่ายรัฐตามที่ถูกกล่าวหาแต่อย่างใด


สำนักงานการใช้บังคับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทำการปฎิบัติหน้าที่กันด้วยความระมัดระวังอย่างเป็นที่สุด รวมทั้งแสดงกิริยามารยาทและเจตนาอันดีงาม ซึ่งตรงตามขั่นตอนตามกฎหมาย เพื่อเข้าทำการจับกุมบุคคลต่างๆ ที่มีหมายจับอยู่ภายใต้คำสั่งของศาล พื้นที่ควบคุมที่ถูกกำหนดไว้ มีการบังคับใช้กฎหมายเพียงแต่บริเวณภายในของวัดพระธรรมกายเท่านั้น และไม่ได้มีผลกระทบต่อวัดพระพุทธศาสนาอื่นๆ ในประเทศไทยทั้งสิ้น


ประการที่สาม, กรณีของวัดพระธรรมกายนั้น ไม่ใช่ประเด็นของเรื่องการเมืองหรือเรื่องทางกฎหมายแต่อย่างใด แทนที่จะเป็นแบบนั้น มันเป็นประเด็นในเรื่องของพระภิกษุที่ถูกเป็นผู้ต้องหา ในการกระทำความผิดทางอาชญากรรม แต่ปฎิเสธที่จะปฎิบัติตามตัวบทกฎหมาย



เพราะฉะนั้น เป็นที่เห็นได้อย่างชัดเจนว่า กรณีดังกล่าวนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย และต้องแยกออกจากประเด็นของการศาสนาอย่างโดยสมบูรณ์



ขอแสดงความนับถือ,





จิระชัย ปั้นกระษิณ
เอกอัครราชทูต



คุณจิระชัย ปั้นกระษิณ ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศออสเตรเลีย ท่านสามารถดาวน์โหลดต้นฉบับของหนังสือคำชี้แจงต่อเวปไซค์ New Mandala ได้จากที่นี่

-------------------------------------------------------------


หลังจากที่หนังสือของเอกอัครราชทูตจิระชัย ปั้นกระษิณ ได้ถูกนำมาโพสต์ในเวปไซค์ของ New Mandala แล้ว ดร. เทย์เล่อร์ ซึ่งเป็นผู้เขียนบทความดังกล่าวข้างต้น ได้ทำการตอบเอกอัครราชทูตจิระชัย เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2560 ดังต่อไปนี้:





ผมขอขอบคุณท่านเอกอัครราชทูตผู้ทรงเกียรติเป็นอย่างยิ่งสำหรับข้อชี้แจงของท่าน บทความของผม มีรากฐานมาจากข้อมูลที่ได้รับ และรวมไปถึงการวิจัยจากการค้นคว้าของผม ทั้งในอดีตและปัจจุบัน มันไม่ใช่เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องแต่อย่างใด: ด้วยประการฉะนี้ ผมขอชี้แจงให้ทราบกัน ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง เป็นข้อๆ ไป:




1. เรื่องเหล่านี้ซึ่งเกี่ยวกับ “การเสนอ” การเปลี่ยนแปลงแก้ไขพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ซึ่งถูกนำออกมาเดินหน้าโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, นายไพบูลย์ นิติตะวัน และคณะกรรมการปฎิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ไม่ว่าข้อเสนอเหล่านี้จะถูกนำมาเสนอ ให้ผ่านเป็นพระราชบัญญัติเพื่อนำมาปฎิบัติตามกฎหมายโดยแท้จริงอย่างไร ก็ยังคงจะต้องรอดูต่อไป ในหัวข้อ “ที่หนึ่ง” ของย่อหน้าแรกนั้น ในตอนเริ่มต้น เราได้รับคำบอกเล่าว่า ทางสภานิติบัญญัติแห่งชาติกำลัง “ทำการพิจารณา” เพื่อทำการเปลี่ยนแปลงแก้ไขในบางเรื่อง แต่ในช่วงที่จบย่อหน้าของท่าน เราได้ทราบว่า ทางคณะกรรมาธิการได้ “ระงับ” การพิจารณาการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเรื่องราวเหล่านั้น มันเป็นเรื่องที่สร้างความสับสนเป็นอย่างมากทีเดียว



2. คำถามที่ผู้คนส่วนมากมีความประหลาดใจก็คือ ทำไมถึงจะต้องมีการใช้กองกำลังอย่างมหาศาลกับพระภิกษุชราและเจ็บป่วยอยู่เพียงรูปหนึ่งเท่านั้น? ในการณีนี้ เปรียบเสมือนกับการใช้ “ค้อนขนาดใหญ่อันมหึมา เพื่อที่จะทุบถั่วเม็ดเล็กๆ เม็ดเดียวเท่านั้น” ถ้าพระภิกษุพระธัมมชโยได้ละเมิดตัวบทกฎหมายอย่างที่กล่าวไว้ ดังนั้น มันเป็นเรื่องที่เหมาะสมที่สุดและเป็นสิทธิ์ที่พระธัมมชโยจะต้องเผชิญหน้ากับระบบยุติธรรม ตามปกตินั้น จะมีการส่งหมายเรียกไปให้สองครั้ง และถ้าไม่ได้รับการตอบกลับ จะมีการออกหมายจับตามมา ทางวัดพระธรรมกาย ได้กล่าวอย่างชัดเจนกับทางฝ่ายผู้บังคับใช้กฎหมายว่า ท่านเจ้าอาวาสมีอาการอาพาธเกินกว่าที่จะเดินทางออกไปจากวัดได้ และยังได้ขอร้องให้นำเอาหมายเรียกมาส่งให้ที่วัด ในตามคามเป็นจริงแล้ว ก็สามารถส่งหมายเรียกมาให้กับท่านพระภิกษุธัมมชโยที่วัดได้ (ตามที่กลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อวัดพระธรรมกายได้ร้องขอ) เพราะการยื่นมอบหมายต่างๆ ที่เกี่ยวกับตัวบทกฎหมายนั้น สามารถยื่นมอบให้ได้ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่แห่งใด



3. การกระทำด้วยการใช้วิธีการต่างๆ มันเหมาะสมหรือเปล่าที่ผลลัพธ์ได้ออกมาแบบนั้น? ประเด็นซึ่งเกี่ยวกับเรื่องทางศาสนา เริ่มกลายเป็น “ประเด็นการเมือง” เมื่อมันมีเรื่องของความอยุติธรรมหรือการกระทำที่ไม่สมส่วนเข้ามาประกอบ ในเวลานี้ พระภิกษุอยู่ในฐานะของ “ผู้ต้องสงสัย” (Suspected) ในเรื่องของการกระทำความผิดทางอาญา และการกระทำเหล่านี้ ตัวบุคคลก็ยังคงมีสิทธิ์หลายอย่างคงอยู่ และในกรณีนี้ ดูเหมือนกับว่า สิทธิ์ต่างๆ ไม่ได้มีการนำออกมาเสนอหรือแจ้งบอกกล่าวให้ทราบกันอย่างชัดเจน โดยผ่านหลักการตามกระบวนการอันควรแห่งกฎหมายเลย (Due Process)



4. หัวข้อสุดท้าย คำถามคือ ทำไมมันถึงกลายเป็นเรื่องของ “ความเกรี้ยวกราด และความตื่นตกใจ” (Kerfuffle) ไปได้ โดยการใช้จ่ายกันอย่างมากมายมหาศาลจากเงินภาษีอากรของผู้เสียภาษี เพื่อจะนำเอากองกำลังของทหารและตำรวจ ซึ่งขนกันเข้ามาอย่างมากมายก็สุดแล้วแต่? มันเป็นเรื่องของลักษณะการปิดล้อมทั้งหมด ซึ่งนำมาปฎิบัติให้เห็นกัน และในเวลานี้ (วันที่ 10 มีนาคม 2560) ก็เป็นสัปดาห์ที่สามแล้ว และการหยุดชะงัก ซึ่งสร้างความยุ่งเหยิงให้เห็นกับชีวิตผู้คนธรรมดาๆ ก็ถูกยกขึ้นมาตั้งเป็นคำถามและข้อสงสัยกัน สถานที่ต่างๆ รวมทั้งตึกราม ภายในวัดพระธรรมกาย ต่างก็ถูกตัดระบบสาธารณูปโภค: เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่เหมาะสมหรือไม่ ที่จะปฎิบัติต่อผู้คนจำนวน 10,000 คน ซึ่งยังอยู่ภายในบริเวณเขตศาสนสถานของวัด?


------------------------------------------------------------------


ความคิดเห็นของผู้แปล:


ในเวลานี้ ยังไม่มีคำตอบใดๆ อย่างเป็นทางการจากทางสถานเอกอัครราชทูตไทย รวมทั้งการตอบข้อสงสัยที่เหลืออีกหลายข้อ เกี่ยวกับบทความที่ศาสตราจารย์เทย์เล่อร์เขียนไว้ในครั้งแรก (เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2560)


ก็ขอจบบทความในซีรี่ย์แต่เพียงเท่านี้ค่ะ


Doungchampa Spencer-Isenberg

------------------------------------------------------------------



ลิ้งค์ของบทความก่อนหน้า: “เรื่องราวอันน่าฉงนของวัดพระธรรมกาย