วันเสาร์, กุมภาพันธ์ 04, 2560

เห็นจนน่าเบื่อ ความเหลื่อมล้ำในสังคมไง เรื่องเศร้าของประเทศไตแลนเดีย





เห็นแล้วมันน่าเบื่อ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เห็นกันมานานนม โดยเฉพาะในรอบสามปีที่ผ่านมา เรื่องเศร้าของประเทศไตแลนเดีย

ความเหลื่อมล้ำในสังคม ที่นำไปสู่การเอารัดเอาเปรียบและคอรัปชั่น อันเป็นผลกระทบของการขาดเสรีภาพและความเสมอภาคแบบประชาธิปไตย

เมื่อสองวันก่อนมีการเสวนาประเด็น ‘ความเหลื่อมล้ำ’ ที่สยามสมาคมฯ จัดโดยองค์การ ‘อ็อกซ์แฟม’ ในหัวข้อ “เท่าไหร่ (ถึง) เท่ากัน” มีผู้ร่วมวงหลายคนรวมทั้งอดีตรัฐมนตรีคมนาคม ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

ผู้ที่ใส่ใจเรื่องนี้อยู่แล้วคงทราบรายละเอียดน่ารันทดจากการเปิดเผยข้อมูลโดยนายจักรชัย โฉมทองดี ผู้ประสานงานฯ ขององค์การอ็อกซ์แฟม กรุงเทพฯ ถึงรายงานเบื้องต้นว่าด้วยความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย





“พบว่ารายได้ ๑ ปีของคนรวยที่สุดในไทย สามารถนำมาใช้ลดความยากจนของคนทั้งประเทศได้ คนรวยที่สุด ๑๐% แรกมีรายได้มากกว่าคนที่จนที่สุด ๑๐% สุดท้ายถึง ๓๕ เท่า...

ประชากรของไทย ๗ ล้านคนยังอยู่ใต้่เส้นความยากจน นอกจากนี้ยังพบว่าคนรวยที่สุด ๑๐% เป็นเจ้าของทรัพย์สิน ๗๙% ของประเทศ

และ ๕ ปีที่ผ่านมาคนรวยที่สุด ๑% เป็นเจ้าของความมั่งคั่งมากกว่าคนที่เหลือทั้งประเทศรวมกัน”

(http://www.matichon.co.th/news/450054)

ข้อน่าสนใจอยู่ที่การอภิปรายของนายชัชชาติที่ว่า “บริบทของสังคมไทยตอกย้ำให้เราเชื่อหรือไม่ว่า สิ่งเหล่านี้มันเป็นบุญวาสนา...

แก่นสำคัญของปัญหานี้คือความไม่ยุติธรรมทางโอกาส โดยอุปมาเหมือนคนที่วิ่งแข่งกัน แต่จุดสตาร์ทไม่เท่ากัน”

ในฐานะที่เขาเคยเป็นรัฐมนตรีว่าการคมนาคม ชัชชาติพยายามที่จะอธิบายหนทางแก้ไขโดยยกตัวอย่าง “ในกรุงเทพฯ มีรถเก๋งจำนวน ๔ ล้านคันต่อวันที่สัญจรอยู่ตามถนน ขณะที่ขนส่งมวลชนซึ่งผู้ใช้บริการมากที่สุดอย่างรถเมล์ พบว่ามีอยู่เพียง ๕,๐๐๐ คันเท่านั้น...

รถเมล์หนึ่งคันโดยสาร ๖๐ คน เท่ากับรถเก๋ง ๖๐ คัน ที่ขับคนละคัน ความจริงแล้วนโยบายที่เราไปเน้นเรื่องรถไฟฟ้านั้น ความจริงแล้วเราลืมเรื่องเบสิคคือการเดินทางของคนส่วนใหญ่

ชัชชาติชี้ให้เห็นถึงตัวอย่างในกรณีนี้คือ ความต้องการของกรุงเทพฯ ในการสร้างรถไฟฟ้า ๑๐ สาย ใช้งบประมาณ ๔๐๐,๐๐๐ ล้านบาท ขณะที่รถเมล์ใช้งบประมาณ ๑๐,๐๐๐ล้านบาท...

รถเมล์ธรรมดา ๒๐๐ บาทต่อเดือน รถเมล์แอร์ ๘๐๐ บาทต่อเดือน ถ้าขึ้นบีทีเอส ๑,๕๐๐ ก็ต้องถามว่าใครจะสามารถอาศัยอยู่ตามรายทางบีทีเอสได้ คอนโดตารางเมตรละ ๑๕๐,๐๐๐ หรือ ๒๐๐,๐๐๐”

(http://waymagazine.org/event_inequality_chatchart/)

มิหนำซ้ำในวันเดียวกัน มีจดหมาย ‘ด้วยความเคารพอย่างสูง’ เปิดผนึกถึงทั่นผู้นัมพ์ไตจากกรรมการวิศวกรรมสถานแห่งประเทศ ตั้งข้อสังเกตุโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-โคราช ที่รัฐบาล คสช.มอบให้ประเทศจีนเป็นผู้ดำเนินการ

“ระบุว่า ขอคัดค้านค่าออกแบบโครงการรถไฟไทย-จีน แพงเว่อร์ ๑๐,๐๐๐ ล้าน”





นายไกร ตั้งสง่า อ้างถึงความสามารถของสถาปนิกและวิศวกรไทยจะทำการออกแบบแทนจีนได้อย่างดี และยังจะดีกว่าที่รู้ซึ้งถึงศิปกรรมไทย โดยไม่ต้องเอ่ยถึงว่าการออกแบบสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมเป็นอาชีพสงวนของไทย

“งานออกแบบ ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท ที่บริษัทที่ปรึกษาจีนรับไปดำเนินการออกแบบ ซึ่งเป็นราคาที่สูงมาก และงานออกแบบมากกว่า ๙๐% เป็นงานที่วิศวกรสถาปนิกไทยทำได้ แต่ทำไมให้จีนเป็นผู้ปฏิบัติ”

(http://www.matichon.co.th/news/450030)

เป็นคำถามที่โฆษก คสช. ยังไม่ยักออกมาตอบ ขณะที่พวกหัวหน้า คสช. และลิ่วล้อหันไปเล่นเรื่องปรองดองมั่ง แก้ปัญหาคอรัปชั่นด้วยอำนาจเผด็จการบ้าง





“นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เตรียมเสนอ ป.ย.ป. เห็นชอบมาตรการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น ๓ เรื่อง” เช่นแก้กฎหมายอาญาเรื่องรับสินบน และกำหนดอัตราราคาประมูลใหม่

ทีเด็ดกว่าใดๆ ทั่น รมว. เสนอให้ใช้มาตรา ๔๔ อำนาจเบ็ดเสร็จของหัวหน้า คสช. เข้ามาจัดการให้รู้แล้วรู้รอดไป นี่แหละวิธีคิดของคนในแดนด้อยพัฒนาทางจิตสำนึกมนุษยชน

(http://news.voicetv.co.th/business/458388.html)

ถึงอย่างไรผลสะท้อนจากการเสวนาอ็อกซ์แฟมไปไกลกว่านั้นเยอะแล้ว ดูจากแรงกระเพื่อมไล่หลังตามที่ อธิคม คุณาวุฒิ บรรณาธิการนิตยสารเวย์แสดงไว้ทางหน้าเฟชบุ๊ค

เขาพูดถึงความเหลื่อมล้ำผ่านทางทฤษฎีการเกษตรพอเพียง ไปสู่เรื่องการถือครองที่ดินว่าแบ่งกันคนละ ๑๕ ไร่เอาไหม

“แต่...เอ๊ะ เดี๋ยวนะ ผมชอบเขียนหนังสือ ผมชอบทำสื่อด้วยนี่ งั้นผมขอต่อรองได้ไหม ผมขอที่ดิน ๑๕ ไร่แถวลาดพร้าว ผมจะได้ทำเกษตรด้วย ทำสื่อไปด้วย”

มันจึงนำไปสู่ ‘การต่อรอง’ ที่ต่อยอดไปถึงว่า “การต่อรองจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อต่างฝ่ายต่างต้องยอมรับสิทธิและอำนาจของการต่อรองของอีกฝ่าย

คำถามก็คือว่าแล้วระบบการเมืองการปกครองแบบไหนล่ะที่มันเอื้อให้เกิดการต่อรอง”

เขาอธิบายไว้อีกยืดยาว จะให้ละเอียดขอแนะนำให้ไปดูที่นี่ https://www.facebook.com/athikhom.khunawut/posts/1193250900788705 กระนั้นก็มีข้อสรุปของเขามาลงตรงนี้

“สังคมที่เปิดให้มีเสียงหลากหลาย เรียนรู้ที่จะผูกเครือข่าย ดึงคนที่มีเจตนารมณ์ร่วมกันมาช่วยกันทำงาน เคารพในสิทธิ เสียง และอำนาจต่อรองซึ่งกันและกัน บรรยากาศสังคมแบบนั้นต่างหากที่จะช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ”

ชัดเจนเลยว่า จะลดความเหลื่อมล้ำได้ สังคมต้องมีเสรีภาพ

แล้วในไตแลนเดียเราล่ะมีเสรีภาพไหม เรื่องนี้ถ้าถาม คสช. ไม่มีทางได้ความจริง ถามใครก็ได้ที่ไม่ใช่ คสช. และลิ่วล้อของโปเตโต้

รายหนึ่งเขาเพิ่งบอกไว้เป็นรายงานยาวเหยียด เมื่อสองวันก่อนเช่นกัน ขออนุญาตอ้างอิงจากถ้อยความของ Pipob Udomittipong






“คราวนี้ #FreedomHouse จัดอันดับให้เราเป็นประเทศไม่เสรี ‘Not Free’ ติดต่อกันสามปี

คือในโลกหล้านี้ (๑๙๕ ประเทศ) มีเพียง ๔๙ ประเทศ (๒๕%) ที่ได้รับเกียรติให้เป็นประเทศ ‘Not Free’ เราเป็นแค่หนึ่งในสี่ชองโลก ‘คนกลุ่มน้อย’ อีกแล้ว

ในภูมิภาค SEA ไทยกับฟิลิปปินส์ ‘โดดเด่น’ สุด เคียงข้างอย่างสง่าผ่าเผยในเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน และผู้นำประเทศที่ใจบาปหยาบช้า ‘unscrupulous leaders’ ปกครองประเทศ

โดยขยายความว่า รัฐบาลทหารไทยที่ยึดอำนาจตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ ใช้กฎหมายเล่นงานประชาชนแม้แต่การแสดงความเห็นเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ เห็นได้ชัดเจนจากบรรยากาศที่คุกคามเสรีภาพในช่วงการออกเสียงประชามติ และทหารยังกุมอำนาจต่อไป แม้จนหลังการเลือกตั้งที่คาดว่าจะมีขึ้นในปี ๒๕๖๐”





ต้นฉบับอยู่นี่ “A number of repressive rulers in Asia reined in free speech and assembly during 2016 to smother public criticism of their own crimes and abuses.

Thailand’s military junta, which seized power in a 2014 coup, maintained its grip on power by prosecuting even the slightest criticism under an array of restrictive laws. In this constrained atmosphere, voters approved a draft constitution that guaranteed the military outsized influence over civilian politics even after general elections scheduled for 2017.”

(https://freedomhouse.org/r…/freedom-world/freedom-world-2017)