วันเสาร์, กุมภาพันธ์ 11, 2560

เปิดคำฟ้องคดี “ไผ่” แชร์ข่าวบีบีซีไทย ขณะศาลยังคงปิดห้องพิจารณาเป็นการลับ - Thai Court to Try Activist for Sharing BBC Story About King




ภาพจาก พลเมืองโต้กลับ



กุมภาพันธ์ 10, 2017
By TLHR

10 ก.พ.60 ที่ศาลจังหวัดขอนแก่น หลังจากครบกำหนดฝากขังผัดที่ 6 ในคดีของนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ “ไผ่” ที่ถูกเจ้าหน้าที่ทหารกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากกรณีการแชร์ข่าวพระราชประวัติรัชกาลที่ 10 จากสำนักข่าวบีบีซีไทยนั้น ขณะที่วานนี้อัยการได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลแล้ว จึงได้มีการนำตัวจำเลยมาสอบคำให้การ โดยจำเลยให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา

เวลาประมาณ 10.00 น. นายจตุภัทร์ ถูกนำตัวมายังศาลจังหวัดขอนแก่น โดยเจ้าหน้าที่นำตัวเข้าทางด้านหลังของศาล ท่ามกลางนักกิจกรรม นักศึกษา และประชาชนที่มาให้กำลังใจ ราว 200 คน ที่รออยู่ด้านหน้าศาล ในบริเวณศาล ยังมีเจ้าหน้าที่ทหารในเครื่องแบบอย่างน้อย 6 นาย และนอกเครื่องแบบอีกมากกว่า 10 นาย รวมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจอีกจำนวนหนึ่ง

ขณะที่ด้านหน้าห้องพิจารณาคดีนี้ของศาล เจ้าหน้าที่ก็ได้มีการติดป้าย “พิจารณาลับ” เอาไว้ ทำให้ประชาชนไม่สามารถเข้าฟังการพิจารณาคดีได้ โดยศาลระบุว่าเนื่องจากคดีนี้ จำเลยถูกกล่าวหาวากระทำผิดในความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงในราชอาณาจักร เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในการพิจารณาคดี จึงให้พิจารณาเป็นการลับ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 177





โดยวานนี้ (9 ก.พ.) นายสายัน จันทะรัง พนักงานอัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการภาค 4 ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดขอนแก่น โดยศาลรับฟ้องเป็นคดีหมายเลขดำที่ 301/2560 ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 3 และ 14 (3) คำฟ้องระบุว่าเมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2559 จำเลยได้บังอาจหมิ่นประมาท และดูหมิ่น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์ บดินทรเทพยวรางกูร พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 โดยได้บังอาจนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ฐานหมิ่นประมาทและดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ โดยจำเลยได้โพสต์ข้อความให้ปรากฏทางอินเทอร์เน็ตในเพจเฟซบุ๊ก (Facebook) ของผู้ให้บริการที่ใช้ชื่อโปรไฟล์หน้าเพจชื่อ Pai jatupat (จำเลย) ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถเข้าไปดูและตรวจสอบได้ โดยใส่ความหมิ่นประมาท และดูหมิ่น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์ บดินทรเทพยวรางกูร พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 ต่อประชาชนทั่วไปซึ่งเป็นบุคคลที่สาม

หลังจากนั้นคำฟ้องได้ยกข้อความ 4 ย่อหน้าช่วงท้ายในรายงานข่าวเรื่อง “พระราชประวัติรัชกาลที่ 10” ของบีบีซีไทย โดยไม่ได้มีการระบุในคำฟ้องว่าข้อความดังกล่าวมาจากรายงานข่าวของบีบีซีไทย คำฟ้องบรรยายต่อไปว่าข้อความดังกล่าวเป็นการดูหมิ่น สบประมาท เหยียดหยาม พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของพสกนิกรชาวไทย และพสกนิกรชาวไทยไม่บังควรที่จะไปกล่าวหาหรือกล่าวถึงพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 10 ในลักษณะเช่นนี้ ทั้งนี้ โดยประการที่ทำให้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์ บดินทรเทพยวรางกูร พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 เสื่อมเสียพระเกียรติ พระบารมี เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น และถูกเกลียดชัง จากพสกนิกรปวงชนชาวไทย และประชาชนชาวต่างประเทศ

นอกจากนั้น คำฟ้องของอัยการยังคัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราวจำเลย โดยระบุว่าเนื่องจากเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร เป็นการกระทำต่อพระมหากษัตริย์ที่เป็นที่รักยิ่งและเทิดทูนของประชาชนชาวไทย และเป็นคดีที่มีอัตราโทษสูง เกรงว่าจำเลยจะหลบหนี





ในนัดพิจารณาในวันนี้ มีนางพัชรินทร์ ศรีแสนยง และนายวิเนตร มาดี เป็นผู้พิพากษานั่งบังลังก์ โดยหลังจากอ่านและสำเนาคำฟ้องของโจทก์ให้ฝ่ายจำเลยแล้ว ศาลได้สอบถามคำให้การของจำเลย นายจตุภัทร์ได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ศาลจึงได้กำหนดวันนัดตรวจพยานหลักฐานในคดี วันที่ 21 มี.ค. 2560 เวลา 9.00 น.

หลังจากการพิจารณาเสร็จสิ้น เจ้าหน้าที่จึงได้นำตัวนายจตุภัทร์ลงมาใต้ถุนศาล ก่อนที่เวลาประมาณ 10.40 น. เจ้าหน้าที่จะนำตัวนายจตุภัทร์ออกจากศาลกลับไปยังเรือนจำเพียงลำพังโดยทันที ทั้งที่โดยปกติ ผู้ต้องขังที่มาศาลจะถูกนำตัวกลับเรือนจำพร้อมๆ กันโดยรถของเรือนจำในช่วงเย็น ทำให้เพื่อนนักกิจกรรมและนักศึกษาที่มาให้กำลังใจที่ศาลหลายคนไม่ได้พบนายจตุภัทร์ในวันนี้

ในส่วนของการยื่นประกันตัวนายจตุภัทร์หลังการสั่งฟ้องคดี เนื่องจากฝ่ายโจทก์คัดค้านการประกันตัว ทีมทนายความจึงจะรวบรวมข้อโต้แย้งในการขอประกันตัวอีกครั้ง และจะยื่นขอประกันอีกครั้งภายในสัปดาห์หน้า เพื่อให้จำเลยได้มีโอกาสออกมาต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ รวมทั้งจะหารือแนวทางการต่อสู้คดีกับทางครอบครัวของนายจตุภัทร์ต่อไป

อ่านเพิ่มเติม

สำรวจกระแส ปล่อย ‘ไผ่’ สะท้อนการดำเนินคดี ถอนประกัน และไม่ให้ประกันที่ไม่เป็นธรรม
45 วัน คดีไผ่ ดาวดิน แชร์ข่าวบีบีซีไทย
กระบวนการยุติธรรมกับการจำกัดเสรีภาพ ‘ไผ่ ดาวดิน’: ประมวลคดี 112 ‘ไผ่’ ก่อนถึงวันสิ้นปี 59
ขัง ‘ไผ่’ อีก 10 วัน พร้อมไม่ให้ประกัน แม่ขอความเป็นธรรมกลางศาล

ooo

Thai Court to Try Activist for Sharing BBC Story About King

By THE ASSOCIATED PRESS BANGKOK via ABC News
Feb 10, 2017

A student pro-democracy activist who shared a story about Thailand's new king that had been posted on Facebook by the Thai-language service of the BBC was formally indicted Friday and will be tried on the charge of lese majeste, or insulting the monarchy.

The Thai Lawyers for Human Rights legal aid group said a court in the northeastern province of Khon Kaen accepted the case of Jatupat "Pai" Boonpattararaksa. It will be the first prosecution under the lese majeste law since King Vajiralongkorn Bodindradebayavarangkun took the throne in December, succeeding his late father, King Bhumibol Adulyadej.

Lese majeste carries a penalty of three to 15 years in prison. Jatupat has pleaded innocent to the charge and another under the Computer Crime Act. He faces charges in other separate cases for his political activities opposing Thailand's military government.

The BBC story included mentions of the new king's personal life and other material considered too sensitive to be publicly discussed in Thailand.

Critics of the lese majeste law, known as Article 112, say it is used to silence political dissidents. Jatupat is a prominent member of Dao Din, a small student organization that has held public protests against the military government. Since the army took power in a 2014 coup, it has especially cracked down on commentary on the internet.

In Jatupat's case, he was the only person charged for the BBC story, although it was shared by more than 2,000 other people.

The authorities have warned that even "shares" — links to a posting, rather than the content itself — could be considered a violation of the law. Jatupat had also posted several passages from the BBC Thai story.

An outside expert for the U.N. human rights office on Tuesday urged Thailand's government to halt the use of laws that make it illegal to criticize the monarchy, calling them "a political tool to stifle critical speech."

Special rapporteur for freedom of expression David Kaye said international human rights law is incompatible with Thailand's lese majeste provisions.

Many human rights organizations inside and outside Thailand have made similar calls. The government has responded that freedom of expression is not absolute and that the law is necessary to maintain public order.