วันอาทิตย์, กุมภาพันธ์ 12, 2560

อนุสรณ์ อุณโณ BIG DOSE 12-2-2017 ภาพพจน์สิทธิมนุษยชนไทย




https://www.youtube.com/watch?v=WXZcUzi6jZM

อนุสรณ์ อุณโณ BIG DOSE 12-2-2017

SHTV

Published on Feb 12, 2017

BIG DOSE - VoiceTV21 @Voice_TV

.....


ooo





"สถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชน
มีทิศทางที่ถดถอย
เพราะการละเมิดที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
แทบจะเป็นรายวัน"

"สื่อต่างชาติหลายสำนัก พูดถึงฝ่ายปกครอง
หรือผู้มีอำนาจในประเทศไทย
จะใช้คำว่า “Junta”
ซึ่งเป็นภาพพจน์ที่ชัดเจนแล้วว่า
ประเทศไทยอยู่ใต้ระบอบการปกครองของคณะทหาร
เพราะฉะนั้น
ก็ไม่มีใครจะเป็นใจคบค้าสมาคมด้วย 100 เปอร์เซ็นต์"

นายสุณัย ผาสุก ที่ปรึกษาองค์กรฮิวแมนไรต์วอทช์
มองปรากฏการณ์ที่นักศึกษา
และนักกิจกรรมถูกออกหมายจับ
กรณีทำกิจกรรมตรวจสอบความไม่โปร่งใส
โครงการก่อสร้างอุทยานราชภักดิ์ ว่า

นับตั้งแต่การทำรัฐประหารจนถึงปัจจุบัน
สถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชน
มีทิศทางที่ถดถอย
เพราะการละเมิดที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
แทบจะเป็นรายวัน เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ
ทั้งเสรีภาพการแสดงออก
เสรีภาพในการชุมนุมรวมตัวการรวมกลุ่มสมาคม
มีการปิดกั้นข้อมูลข่าวสาร
ไม่ให้วิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบ

ยิ่งไปกว่านั้น ตัวกรอบใหญ่ คือ คณะทหารได้ใช้ มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว ซึ่งเป็นอำนาจที่ไม่สามาถตรวจสอบได้ด้วยโครงสร้างใดเลยภายในประเทศ และเป็นอำนาจที่ใช้ไปแล้วไม่ต้องรับผิดชอบ เพราะฉะนั้น นอกจากจะมีการละเมิดเป็นรายวัน ก็ยังมีกรอบที่ทำให้การละเมิดสิทธินั้นสามารถเกิดขึ้นโดยไม่ต้องรับผิดได้โดยไม่มีขีดจำกัด

สำหรับการละเมิดสิทธิต่อกลุ่มนักศึกษาและนักกิจกรรม ที่ตรวจสอบโครงการอุทยานราชภักดิ์นั้น ตามกติกาสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ การแสดงออกซึ่งความคิดเห็นอย่างสงบสันติ แม้จะต่างจากรัฐ ก็เป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ที่สำคัญ คสช. ประกาศมาตลอดว่าจะคืนประชาธิปไตยให้กับประเทศไทย แต่ว่าเสรีภาพการแสดงออกซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของความเป็นประชาธิปไตย รวมถึงเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างจากรัฐ ควรจะต้องได้รับการยอมรับจากรัฐ แต่ข้อเท็จจริงกลับเป็นไปในแนวทางตรงกันข้าม จึงเห็นชัดเจนว่าเรื่องที่รับปากจะสร้างประชาธิปไตยนั้น ในทางปฏิบัติไม่ได้เกิดขึ้นจริง อย่างกรณีที่เกิดกับนักศึกษาหลายๆครั้ง รวมทั้งล่าสุด คือ กรณีออกหมายจับนักศึกษา

ขณะเดียวกันในอีกด้านหนึ่ง ต้องพิจารณาด้วยว่า กิจกรรมทางการเมือของกลุ่มสนับสนุน คสช. และสนับสนุนการทำรัฐประหาร กลับสามารถทำกิจกรรมทางการเมืองได้ ถึงแม้ว่าการแสดงออกนั้นจะไม่สันติ มีการใช้เฮดสปีช ใช้ความรุนแรงในกรณีของมวลชนที่ไปตั้งป้อมจะดักทำร้ายนักศึกษาระหว่างนั่งรถไฟไปราชภักดิ์ที่สถานีบ้านโป่ง คนเหล่านั้นกลับไม่มีการดำเนินคดีใดๆ หรือเวลาจะจัดชุมนุมก็ไม่มีการห้ามปราม ไม่มีการคุกคามเหมือนกับฝ่ายที่เรียกร้องประชาธิปไตย ซึ่งทำกิจกรรมอย่างสันติ

ส่วนการใช้วิธีการกดดันคนในครอบครัวเพื่อให้ได้มาซึ่งตัวผู้ต้องหานั้น ในมุมมองต่างชาติจะเพิ่มแรงกดดันต่อไทย เพื่อให้ดำเนินการตามพันธกรณีหรือไม่นั้น นายสุนัย กล่าวว่า ตอนนี้ได้ต้องข้อสังเกต ว่าหลายๆรัฐบาล หรือสื่อต่างชาติหลายสำนัก รวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศ เวลาพูดถึงฝ่ายปกครอง หรือผู้มีอำนาจในประเทศไทย จะใช้คำว่า “Junta” ซึ่งเป็นภาพพจน์ที่ชัดเจนแล้วว่าประเทศไทยอยู่ใต้ระบอบการปกครองของคณะทหาร เพราะฉะนั้น ก็ไม่มีใครจะเป็นใจคบค้าสมาคมด้วย 100 เปอร์เซ็นต์ ทางออกจึงขึ้นอยู่กับว่า คณะทหารจะทำตามสัญญาที่ได้พูดไว้หรือไม่

ที่ปรึกษาฮิวแมนไรต์วอทช์ ประจำประเทศไทย ยังระบุถึงประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่า เท่าที่เห็นในร่างล่าสุดของกรรมการร่างรัฐธรรมนูฐ (กรธ.) พบว่า มาตรา 4 ตามรัฐธรรมนูญ ปี 2550 และฉบับก่อนหน้านี้ ที่เป็นหลักประกันเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษยชนได้หายไป จึงไม่แน่ใจว่าผู้ร่างรัฐธรรมนูญขณะนี้ กำลังคิดอะไรอยู่ ถึงเอาหลักประกันกรอบใหญ่ไป ตรงนี้เป็นสัญญาณที่น่ากังวลอย่างยิ่ง

ที่มา FB