วันจันทร์, กุมภาพันธ์ 20, 2560

100 บาท เอาขี้หมากองเดียว ยังไงก้อสร้าง (โรงไฟฟ้าถ่านหิน) เพราะปักธงไว้แล้ว + 290 นักวิชาการ จาก 37 สถาบัน ค้านสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน



https://www.facebook.com/ThaiPBSNews/videos/1262359430506447/

20 ก.พ. l ข่าวค่ำ มิติใหม่ ทั่วไทย
โฆษกรัฐบาลระบุว่ารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมทั้ง EIA และ EHIA โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ เป็นเพียงการทบทวน ไม่จำเป็นต้องเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี และการเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด หรือการแก้ไขของเดิมความหมายไม่ต่างกัน

ooo

290 นักวิชาการ ค้านสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน - สรรเสริญชี้กลุ่มค้านขอแค่เสนอความเห็น

Mon, 2017-02-20 22:05
ที่มา ประชาไท

พล.อ.ประวิตรระบุศึกษาข้อดี-เสียการมีโรงไฟฟ้ากระบี่รอบด้านแล้ว สรรเสริญชี้กลุ่มค้านโรงไฟฟ้าขอแค่มีส่วนร่วมเสนอความเห็น รมว.พลังงาน ยันไม่ล้มอีเอชไอเอ ด้าน 290 นักวิชาการ จาก 37 สถาบัน ค้านสร้างฯ




ภาพการชุมนุมผู้คัดค้านโรงไฟฟ้าฯ ช่วงเช้าวันที่ 18 ก.พ.60 ที่บริเวณสำนักงาน ก.พ.ร.


21 ก.พ. 2560 ความคืบหน้ากรณีการดำเนินโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ นั้น รายงานข่าวระบุว่า วันนี้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคงและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงกรณีรัฐบาลยกเลิกรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) และรายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ(EHIA) ฉบับเดิมออกไป หลังถูกประชาชนในพื้นที่คัดค้าน ว่า ถึงอย่างไรก็ต้องสร้างโรงงานไฟฟ้า เพราะในพื้นที่ภาคใต้ต้องการไฟฟ้าจำนวนมาก ป้องกันไฟฟ้าดับบนเกาะสมุยและหลายพื้นที่เหมือนอดีตที่ผ่านมา

“รัฐบาลได้ใช้ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายฝ่าย ศึกษาข้อดีข้อเสียและความจำเป็นในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่กระบี่ และอยากชี้แจงว่า ถ่านหินยุคใหม่สามารถเผาไหม้จนไม่ก่อให้เกิดมลพิษที่กระทบต่อสุขภาพสิ่งแวดล้อม จึงขอให้ไว้ใจรัฐบาลเพราะไม่ได้คิดเองเออเอง ยืนยันการทำรายงาน EIA และ EHIA จะต้องเกิดขึ้นใหม่ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวใหม่ ไม่ใช่รัฐยอมถอยเพราะการเมือง เพราะไม่ได้มีฝ่ายการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องกับการชุมนุมคัดค้าน” พล.อ.ประวิตร กล่าว

สรรเสริญชี้กลุ่มค้านโรงไฟฟ้าขอแค่มีส่วนร่วมเสนอความเห็น

ขณะที่ พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความชัดเจนกรณีการจัดทำ EIA และ EHIA ว่า ในทางปฏิบัติแล้วสองเรื่องนี้ไม่แตกต่างกัน ขอสื่อมวลชนอย่านำมาเป็นสาระสำคัญ เนื่องจากเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา(18 ก.พ.) ได้พูดคุยกับกระทรวงพลังงาน แกนนำและกลุ่มผู้ชุมนุมเพื่อสร้างความเข้าใจให้ตรงกันว่าสามารถใช้ทรัพยากรธรรมชาติใดสร้างโรงไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ได้

“กลุ่มผู้ชุมนุมไม่ติดใจเรื่องดังกล่าว ไม่ว่าจะใช้ถ่านหินหรือชีวมวล หรือสิ่งใดในการผลิตไฟฟ้าสามารถทำได้ แต่สิ่งที่ผู้ชุมนุมเรียกร้องคือการขอเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอความเห็นในการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพด้วย เนื่องจากที่ผ่านมา กลุ่มภาคประชาชนยังไม่เคยมีส่วนร่วมเรื่องนี้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้ หากเริ่มรับฟังความคิดเห็นหรือนำผลความคิดเห็นเดิมมาประกอบการพิจารณา เชื่อว่าจะไม่มีปัญหาในทางปฏิบัติเช่นกัน” พล.ท.สรรเสริญ กล่าว

รมว.พลังงาน ยันไม่ล้มอีเอชไอเอโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่

พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รมว.พลังงาน กล่าวด้วยว่า ในขณะนี้มีความสับสนว่าจะล้มอีเอชไอเอ และอีไอเอ โรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ 800 เมกะวัตต์ ซึ่ง ไม่เป็นความจริง ข้อเท็จจริงที่จะเสนอ ครม.วันพรุ่งนี้ คือ การดำเนินการตามมติคณะกรรมการพลังงานแห่งชาติ คือ เดินหน้าโครงการ ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาอีไอเอและอีเอชไอเอ ของโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ โดยนำความคิดเห็นของคณะกรรมการไตรภาคีมาปรับปรุง ที่มีข้อเสนอหลักๆ คือให้ฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ ให้มีการดูแลภาคประชาชนมากยิ่งขึ้น ซึ่ง รายงานเดิมขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารรณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ หากพบว่าข้อศึกษาใด ยังไม่ดีพอ ก็ต้องทบทวนปรับปรุงให้ดีขึ้น

“รายงานอีไอเอ และอีเอชไอเอ หากข้อไหนไม่ดีรับได้ ไม่ได้ ก็ปรับปรุงแก้ไข เพื่อไม่เสียเวลาดำเนินการ เพราะหากทำใหม่ทั้งหมด ต้องเสียว่า 2 ปีครึ่ง หรือโรงไฟฟ้าสร้างเสร็จปี 2567 ก็ เสี่ยงต่อการบริหารจัดการไฟฟ้า ดังนั้น หากอะไรไม่ชัดเจนก็เอามาททวนปรับให้ดีขึ้นเมื่อเป็นอย่างนี้ คชก.ก็จะพิจารณาได้เร็ว และโรงไฟฟ้าก็อาจจะสร้างเสร็จปี 2565” รมว.พลังงานกล่าว

ส่วนประเด็นที่ ผู้คัดค้าน อาจมาชุมนุมใหม่ หาก ครม.ไม่ล้มอีเอชไอเอและอีไอเอ นั้น รมว.พลังงานกล่าวว่า ทุกอย่างควรใช้เหตุและผลอย่าใช้อารมณ์ ไม่ควรใช้จินตนาการ ควรใช้หลักวิทยาศาสตร์ เหตุและผลเชิงประจักษ์ ซึ่งต้องดูว่าหากโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่เดินหน้าไม่ได้ ข้อดีและข้อเสียที่ตามมาจะเป็นอย่างไร ความต้องการไฟฟ้าภาคใต้เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ร้อยละ 4-5 ต่อปี กำลังผลิตที่ดูเหมือนว่าสำรองไฟฟ้าจะสูง ก็ต้องพิจารณาว่า หากโรงไฟฟ้ามใดโรงไฟฟ้าหนึ่งในภาคใต้ปิดซ่อม แหล่งปิโตรเลียมในอ่าวไทย หยุดซ่อมบำรุง กำลังผลิตกับความต้องการใช้จะเหลือเท่าใด นับว่าเป็นความเสี่ยงอย่างมาก

ส่วนกรณีที่มีผู้ระบุว่าการจัดทำอีไอเอ และอีเอชไอเอ จัดทำโดยบริษัทที่รับการว่าจ้างจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) นั้น อาจจะทำข้อมูลเข้าข้าง กฟผ. ก็ขอให้มองถึงหลักการ บริษัทเหล่านี้ต้องจดทะเบียนกับสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) หากไม่ดำเนินการบนหลักการที่ถูกต้อง ก็จะถูกเพิกถอนใบอนุญาต ที่สำคัญ คชก. ก็ล้วนแต่เป็นผู้เชี่ยวชาญ ในขณะนี้ โครงการทั้งท่าเทียบเรือ และ โรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ถูกตั้งคำถาม 246 ข้อ ซึ่ง กฟผ.ต้องตอบคำถามเหล่านี้และโครงการจะก่อสร้างได้ ก็ต้องผ่าน คชก.และผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมกรสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเสียก่อน

290 นักวิชาการ จาก 37 สถาบัน ค้านสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน

ขณะที่วันเดียวกัน ได้มีการเผยแพร่แถลงการณ์คณะนักวิชาการ 290 คน จาก 37 สถาบันการศึกษา ขอคัดค้านรัฐบาลเรื่องการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินและการลิดรอนสิทธิของผู้ได้รับผลกระทบ โดยมีรายละเอียดดังนี้

จากกรณีที่นายกรัฐมนตรีได้มีการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2560 และมีมติเห็นชอบให้สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่และเทพาตามแผน PDP 2015 โดยไม่ฟังเสียงคัดค้านของประชาชนในพื้นที่ เสียงของนักวิชาการและภาคประชาสังคมที่ต่างก็เตือนให้รัฐบาลเห็นถึงภัยของโรงไฟฟ้าถ่านหินและเสนอให้ทุกฝ่ายร่วมกันแสวงหาทางเลือกที่ดีกว่า และท้ายที่สุดรัฐบาลถึงกับใช้กำลังจับกุมแกนนำชาวบ้านที่เดินทางเข้ามาชุมนุมประท้วงอย่างสงบ ทำลายการชุมนุมของชาวบ้านอย่างขาดมนุษยธรรม ทั้งนี้กลุ่มนักวิชาการจึงขอประณามการกระทำของรัฐบาล และมีความเห็นเพิ่มเติมดังต่อไปนี้

1. ถ่านหินไม่ว่าจะเป็นประเภทไหนล้วนแต่เป็นเชื้อเพลิงที่มีสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและชีวิตของประชาชน ยังไม่มีเทคโนโลยีใดที่จะกำจัดสารพิษดังกล่าวได้หมด มีงานวิจัยที่ยืนยันข้อเท็จจริงนี้ได้อย่างชัดเจน และมีหลายประเทศที่กำลังทยอยยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหิน และหันไปพัฒนาพลังงานทางเลือกอื่น แต่ที่ผ่านมารัฐบาลไม่เคยสนใจชุดความรู้ด้านพลังงานสะอาดอีกด้านหนึ่งเลย ได้แต่หยิบเอาวาทกรรมถ่านหินสะอาดในมุมของนายทุนมาเผยแพร่ด้านเดียว โดยมิได้ใส่ใจว่าจะนำผลเสียมาสู่ประเทศชาติและชีวิตของประชาชนและลูกหลานในระยะยาว

2. เป็นที่แน่ชัดแล้วว่ารัฐบาลไม่รับฟังเหตุผลทางวิชาการใดๆ ไม่ฟังเสียงของประชาชนที่จะได้รับผลกระทบ และมีนัยไปในทางใช้อำนาจโดยไม่สุจริต ดังจะเห็นได้จากการใช้ ม.44 เปิดทางให้ทางโครงการไม่ต้องผ่านมาตรการควบคุมทางกฎหมายและสังคม เช่น ไม่ต้องติดขัดเรื่องผังเมือง นอกจากนั้น ยังใช้อำนาจที่มีในการผลักดันโครงการโดยไม่ต้องรอผลการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ การอนุมัติให้บริษัทลูกของ กฟผ.ใช้เงินถึง 1.7 หมื่นล้านบาทไปลงทุนซื้อหุ้นเพื่อเป็นเจ้าของเหมืองถ่านหินที่อินโดนีเซียมาก่อนหน้านี้ การใช้ข้าราชการและฝ่ายความมั่นคงในพื้นที่แอบปฏิบัติการสนับสนุนการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินและข่มขู่ประชาชนผู้คัดค้าน ดังนั้นการที่นายกรัฐมนตรีเรียกประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติและมีมติให้สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินดังกล่าวจึงเป็นเพียงการแสดงละคร เพราะในความเป็นจริงกลุ่มทุนและรัฐบาลได้ร่วมกับวางแผนและตัดสินใจเรื่องนี้มาก่อนหน้านี้แล้ว การบริหารประเทศด้วยวิธีที่ไม่สุจริตใจเช่นนี้ นอกจากจะสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนแล้วยังจะนำมาสู่ความขัดแย้งจนประเทศชาติหาความสงบสุขได้ยาก

3. รัฐบาลกำลังแสดงถึงธาตุแท้ของความเป็นเผด็จการ ด้วยการใช้กำลังกับกลุ่มคนที่คัดค้านนโยบายทั้งๆที่เป็นการส่งเสียงคัดค้านของผู้เดือดร้อนจากนโยบายโดยตรงและเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม อีกทั้งยังเป็นการคัดค้านโดยสงบ โดยการอ้างเอากฎหมายและคำสั่งต่างๆ มาเป็นเครื่องมือในการปราบปราม ทั้งยังมีการปิดตึกไม่ให้ประชาชนเข้าไปใช้ห้องน้ำและไม่ให้รถสุขาเคลื่อนที่มาให้บริการ การปิดล้อมไม่ให้ส่งอาหารให้แก่ผู้ชุมชน และมีการจับกุมผู้ชุมนุม การใช้อำนาจรัฐเข้าจับกุมแกนนำและชาวบ้านที่ชุมนุมอย่างสงบและปราศจากอาวุธเพื่อต่อต้านโรงไฟฟ้าถ่านหินที่หน้าทำเนียบรัฐบาลเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง และถือว่ารัฐบาลไทยได้กระทำผิดกฏหมายระหว่างประเทศที่รัฐบาลไทยได้ให้การรับรองไว้เอง

จากข้อเท็จจริงดังที่กล่าวมา พวกเราในฐานะนักวิชาการจึงไม่สามารถนิ่งเฉยต่อการที่รัฐบาลรังแกประชาชนได้ จึงขอเรียกร้องด้วยความสุจริตใจดังนี้

1. รัฐบาลต้องยกเลิกมติของคณะกรรมการพลังงานแห่งชาติในการเดินหน้าโรงไฟฟ้าถ่านหินทุกแห่งในประเทศไทย เมื่อ 17 ก.พ. 2560 และเปิดโอกาสให้คนทุกกลุ่มได้มีส่วนร่วมในการตัดสินเรื่องพลังงานของประเทศร่วมกัน พิจารณาทางเลือกในการพัฒนาไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดเป็นอันดับแรก ซึ่งจะสอดคล้องกับแนวทาง COP21 ที่รัฐบาลได้ไปลงนามไว้

2. รัฐบาลต้องยุติการผลักดันโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ เทพา และที่อื่นๆ โดยทันที และหันมาพิจารณาทางเลือกอื่นโดยเฉพาะพลังงานหมุนเวียน

3. รัฐบาลต้องยุติการส่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงไปเยี่ยมเยือนหรือข่มขู่ชาวบ้านที่คัดค้านดังที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

4. รัฐบาลต้องเคารพสิทธิของประชาชนในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ ซึ่งเป็นสิทธิพลเมืองตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองข้อที่ 21 ที่ระบุว่า สิทธิในการชุมนุมโดยสงบย่อมได้รับการรับรอง ทั้งนี้กติการะหว่างประเทศดังกล่าว ประเทศไทยเป็นภาคี เมื่อวันที่ 29 ต.ค. 2539 และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2540

5. ขอให้สังคมไทยร่วมกันต่อสู้ให้เพื่อให้เกิดความยุติธรรมในสังคมและเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง
ด้วยความสุจริตใจ

รายชื่อนักวิชาการที่ร่วมลงชื่อ
1. ดร.เลิศชาย ศิริชัย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
2. ศ.ดร.จรัส สุวรรณมาลา นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
3. รศ.ดร.ณัฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
4. รศ.ดร.สุธี ประศาสน์เศรษฐ์ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
5. ดร.ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
6. อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
7. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
8. รศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
9. ดร.เดชรัต สุขกำเนิด คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
10. อาจารย์อานันท์ หาญพาณิชยพันธ์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
11. ดร.วิชา มหาคุณ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
12. อ. สุนี ไชยรส วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
13. อาจารย์บุญส่ง ชเลธร วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
14. อาจารย์อนุสรณ์ ศรีแก้ว คณบดีวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
15. ดร.วรชาติ เฉิดชมจันทร์ คณบดีคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยรังสิต
16. ผศ.ดร.ภก.ธนภัทร ทรงศักดิ์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรัสิต
17. ดร.กัญจน์นิตา สุเชาว์อินทร์ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติจีน มหาวิทยาลัยรังสิต
18. ดร.สุริยะใส กตะศิลา รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม
19. ผศ.ดร.ฐิติพร พันธเสน รองคณบดีฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม
20. ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
21. ดร.จินตนีย์ รู้ซื่อ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
22. ดร.ไพโรจน์ นวลนุ่ม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
23. ดร.พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
24. ผศ.ดร.จอม สุวรรณโณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
25. ดร.เยี่ยมดาว ณรงคะชวนะ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
26. ผศ.สมใจ หนูผึ้ง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
27. ดร.พุทธรดา นิลเอสงค์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
28. อาจารย์สุนทร บุญแก้ว มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
29. ดร.รุ่งรวี จิตภักดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
30. ดร.อรอนงค์ เฉียบแหลม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
31. ดร.วิทยา อาภรณ์ สำนักรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
32. ดร.ทวีลักษณ์ พลราชม สำนักศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
33. รศ.ดร.พรพันธ์ เขมคุณาศัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
34. ผศ พรชัย นาคสีทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
35. ดร.ศันสนีย์ จันทร์อานุภ . คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
36. ดร.จันทราทิพย์ สุขุม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
37. อาจารย์เสาวณีย์ แก้วจุลกาญจน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
38. อาจารย์นฤมล ฐานิสโร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
39. อาจารย์จิรนันท์ ไชยบุปผา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
40. อาจารย์ เจษฎา ทองขาว คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
41. อาจารย์นิจนิรันดร์ อวะภาค คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
42. อาจารย์หทัยกาญจน์ กำเนิดเพชร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
43. ดร . ฐากร สิทธิโชค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
44. ดร.อนินทร์ พุฒิโชติ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
45. ดร.พรไทย ศิริสาธิตกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
46. อาจารย์ซากีย์ พิทักษ์คุมพล สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
47. ทพญ.อัจฉรา วัฒนาภา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
48. อาจารย์นวมน จันทร์กลิ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
49. ผศ.ดร.จรีรัตน์ รวมเจริญ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
50. ผศ.ดร. พวงทิพย์ แก้วทับทิม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
51. ดร.สินาด ตรีวรรณไชย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
52. ดร.พิชญา บุญศรีรัตน์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
53. ดร.สุกำพล จงวิไลเกษม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
54. ดร.โสภิณ จิระเกียรติกุล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
55. ดร.ศักดิ์ชัย คีรีพัฒน์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
56. ผศ.สมัย โกรทินธาคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
57. ดร.ธัญรดี ทวีกาญจน์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
58. ผศ.รัสมี จิวสุวรรณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
59. ผศ.ดร.ทัศนีย์ นะแส มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
60. อาจารย์เฉลิม ใจตั้ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
61. อาจารย์ปพิชญา แซ่ลิ่ม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
62. อาจารย์จตุเอก ภูมพฤทธิ์ คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
63. ดร.อุทัย ปริญญาสิทธินนท์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
64. รศ.ดร.วรรณนะ หนูหมื่น คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
65. อาจารย์เพียงเพ็ญ สิทธิจันทร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
66. ดร.สมพร ช่วยอารีย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
67. นางชนัญญา มีงาม นักวิชาการอุดมศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
68. อาจารย์สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
69. ผศ.ดร.ลักษณา ไชยมงคล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
70. อาจารย์เศวต ไชยมงคล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
71. อาจารย์ศุภกาญจน์ บัวทิพย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
72. ผศ.ดร.ทพ.ประกาศ สว่างโชติ อดีตอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
73. อาจารย์อัสมา มังกรชัย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
74. อาจารย์พิชญาภา เอ่งฉ้วน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
75. อาจารย์อำไพ ลำน้อย คณะทันตแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
76. รศ.ดร.ภาคภูมิ พาณิชยูปการนันท์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
77. ดร.กุลจิรา อุดมอักษร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
78. อาจารย์เจตน์สฤษฎิ์ สังขพันธ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
79. ผศ.ดร.เก็ตถวา บุญปราการ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
80. ผศ.ดร.นพดล นิ่มสุวรรณ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
81. อาจารย์ธีรสุดา ประเสริฐ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
82. ผศ.นุกูล รัตนดากุล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
83. ผศ.ดร.เยาวนิจ กิตติธรกุล สถาบันทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
84. อาจารย์สุภาพร ฝั่งชลจิตต์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
85. ผศ.ดร.สิทธิศักดิ์ จันทรัตน์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
86. อาจารย์พิมลรัตน์ ทองโรย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
87. อาจารย์เกื้อ ฤทธิบูรณ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
88. ผศ.ดร.นิเวศน์ อรุณเบิกฟ้า คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
89. ปิง วิชัยดิษฐ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
90. อันธิฌา แสงชัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
91. บัณฑิต ไกรวิจิตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
92. ธัญญธร สายปัญญา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
93. รชฎ สาตราวุธ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
94. กษมาพร แสงสุระธรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
95. ณภัค เสรีรักษ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
96. พุทธพล มงคลวรวรรณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
97. สุไรนี สายนุ้ย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
98. ธีรวัฒน์ ขวัญใจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
99. สายฝน สิทธิมงคล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
100. อสมา มังกรชัย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
101. ดร.วีรศักดิ์ คงฤทธิ์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สุราษฎร์ธานี
102. พรชัย นาคสีทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
103. ดร.ณวงศ์ บุนนาค มหาวิทยาลัยทักษิณ
104. ผศ. ดร. ซอบีเราะห์ การียอ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยฟาฏอนี
105. ผศ. ดร. สุมิตรา แสงวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยฟาฏอนี
106. อาจารย์ศรีสุดาไชยวิจารณ์ คณะมนุษศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
107. อาจารย์รัตนา ไกรนรา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
108. อาจารย์มลิมาศ จริยพงศ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
109. รศ ดร อดิศร ศักดิ์สูง มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
110. ผศ ดร ศุภการ สิริไพศาล มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
111. ผศ.ปริทรรศน์ หุตางกูล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
112. อาจารย์ดำรงพันธ์ ใจห้าววีรพงศ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
113. อาจารย์บุญยิ่ง ประทุม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
114. อาจารย์เชษฐา มูหะหมัด คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
115. อาจารย์ภาณุวัฒน์ เพชรโชติ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
116. อาจารย์ศรีสุดา ไกรนที คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
117. อาจารย์พงษ์ประสิทธิ์ อ่อนจันทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
118. ผศ.นฤมล ขุนวีช่วย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
119. อาจารย์มานะ ขุนวีช่วย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
120. ผศ.ดร.สืบพงศ์ จินดาพล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
121. อาจารย์รวิศ คำหาญพล คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
122. ดร.วีระพล ปานศรีนวล คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
123. อาจารย์กรีฑา แก้วคงธรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
124. อาจารย์อดิศร ไกรนรา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
125. ผศ.ดร.บูฆอรี ยีหมะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
126. สิรีธร ถาวรวงศา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
127. อาจารย์ธวัช บุญนวล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
128. อาจารย์กฤษณพงษ์ วิชัยดิษฐ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
129. อาจารย์เพ็ญนภา สวนทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี
130. อาจารย์ผกามาศ อรุณสวัสดิ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
131. อาจารย์งามเพชร อัมพรวัฒนพงศ์ คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
132. ผศ.ดร.อภิรักษ์ สงรักษ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง
133. ดร. สาดี สายทอง แฮมิลตัน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง
134. นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ โรงพยาบาลจะนะ จังหวัดสงขลา
135. อาจารย์พรรณิภา โสติพันธุ์ สงขลาฟอรั่ม
136. พว.อุไรวรรณ พานทอง พยาบาลวิชาชีพ ศิษย์เก่าวิทยาลัยพยาบาลสงขลา
137. พว.จิรมิตร หมื่นไวย พยาบาลวิชาชีพ ศิษย์เก่าวิทยาลัยพยาบาลสงขลา
138. นิรันดร คำนุ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
139. วินัย ผลเจริญ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
140. ผศ.สมเกียรติ รุ่งเรืองวิริยะ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยรังสิต
141. อาจารย์อชิตพล ฉัตรวรากร ผู้ช่วยรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต
142. ดร. อรนันท์ พรหมมาโน รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต
143. อาจารย์นวรัตน์ ก๋งเม่ง รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
144. อาจารย์ช่อผกา ดำรงไทน รองคณบดีฝ่ายกิจการและพัฒนานักศึกษา คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยรังสิต
145. ผศ.ดร.พลเรือตรี วิโรจน์ พิมานมาศสุริยา วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
146. ดร. ชุลีรัตน์ เจริญพร วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
147. อาจารย์สานิตย์ แสงขาม วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
148. ดร.สมิตต์ ตุงคะสมิต วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
149. ดร. อาภา หวังเกียรติ วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
150. ดร. เจริญวิชญ์ หาญแก้ว วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
151. อาจารย์ ภัทรมน สุวพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
152. อาจารย์ศิวพล ละอองสกุล คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
153. ดร.นพปฎล สุวรรณทรัพย์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
154. ผศ.ชัชชัย คุ้มทวีพร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
155. ผศ.ดร.วลัยภรณ์ นาคพันธุ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
156. อาจารย์อำนาจ มะหะหมัด คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
157. อาจารย์วสันต์ ยอดอิ่ม คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต
158. รศ.ดร.นริศา คำแก่น คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
159. ผศ.ดร.ภญ.ปิยนุช ทองผาสุก คณะเภสัชศาสตร์ ม.รังสิต
160. ผศ.ดร.ภญ.สุชาดา จงรุ่งเรืองโชค คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
161. ดร.ภก. อภิรุจ เชียงโสม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
162. ดร.ภก.ศักดิพัฒน์ แสงสุริยงค์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
163. อาจารย์ ภก.อานุภาพ ปิติรัตนวรนาท คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
164. อาจารย์ ภก.ชัยวัฒน์ ลิ้มประเสริฐ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
165. ชินวัจน์ แสงอังศุมาลี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
166. ดร.จิรัชฌา วิเชียรปัญญา วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
167. อาจารย์กิตติมา รงค์สวัสดิ์ คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยรังสิต
168. อาจารย์นุจรีย์ โลหะการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
169. อาจารย์กิตติวัฒน์ โลหะการ คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต
170. ผศ.ดร. โอฬาร ถิ่นบางเตียว คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
171. ดร.รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
172. กฤษณ์พชร โสมณวัตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
173. ชัยพงษ์. สำเนียง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
174. สิงห์ สุวรรณกิจ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
175. สายชล สัตยานุรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
176. สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
177. อิสราภรณ์ พิศสะอาด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
178. อาจารย์มาลี สิทธิเกรียงไกร ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
179. อาจารย์นงเยาว์ เนาวรัตน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
180. อาจารย์นันต์ณภัส แสงฮอง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
181. ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
182. ผศ.ดร.ธานี ชัยวัฒน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
183. ผศ.ดร.ภญ.ยุพดี ริสินสุข คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
184. ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
185. ดร.สุรางค์รัตน์ จำเนียรพล สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
186. ดร.ศยามล เจริญรัตน์ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
187. น.ส.รัศมี เอกศิริ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
188. น.ส.วาสนา ศรีจำป สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
189. มนทกานต์ ฉิมมามี สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
190. ณัฐช์นิชา ตั้งวีรัตน์กร สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
191. ธนานนท์ บัวทอง วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
192. ผศ.ดร. นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี อดีตอาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
193. รศ.ดร.ภญ. จิราพร ลิ้มปานานนท์ อดีตอาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
194. คารินา โชตรวี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
195. ดร.ภญ.อารยา ศรีไพโรจน์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
196. อาจารย์ ภก.ปรุฬห์ รุจนธำรงค์ คณะเภสัชสาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
197. ดร.ฐิติกาญจน์ อัศตรกุล คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
198. ผศ ฐิติรัตน์ กิตติวิวัฒน์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
199. ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
200. ภาสกร อินทุมาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
201. สามชาย ศรีสันต์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
202. กิตติกาญจน์ หาญกุล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
203. สร้อยมาศ รุ่งมณี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
204. เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
205. ดร.สมนึก จงมีวศิน วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร
206. รศ.ดร.เรณู เวชรัชต์พิมล ข้าราชการบำนาญ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
207. สุรวัฒน์ ชลอสันติสกุล มหาวิทยาลัยศิลปากร
208. นาตยา อยู่คง มหาวิทยาลัยศิลปากร
209. คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง มหาวิทยาลัยศิลปากร
210. บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
211. ประภัสสร์ ชูวิเชียร มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ
212. ผศ.นพ. กำธร มาลาธรรม คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
213. ดร.พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
214. ดร.สุภาสเมต ยุนยะสิทธิ์ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
215. สุภาสเมต ยุนยะสิทธิ์ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
216. พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
217. บดินทร์ สายแสง สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
218. เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
219. งามศุกร์ รัตนเสถียร สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
220. เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว มหาวิทยาลัยมหิดล
221. ณรงค์ อาจสมิติ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
222. ผศ.ดร.ภก.ไกรสร ชัยโรจน์กาญจนา อดีตคณบดี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
223. ชาติ เศรษฐมาลินี มหาวิทยาลัยพายัพ
224. ดร.ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ สาขาวิชาพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
225. ดร.สมพันธ์. เตชะอธิก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
226. ดร.อัครานี ทิมินกุล คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
227. อาจารย์สุภาวณีย์ อมรจิตสุวรรณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
228. อาจารย์ศรีสดา ไพศาลสกุลชัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
229. ดร.สุวรรณี ทองรอด คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
230. อาจารย์ณรงค์กรรณ รอดทรัพย์ มหาลัยนเรศวร
231. อาจารย์สุวิมล ใจยศ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
232. ผศ.ดร.วรรณดี สุทธินรากร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
233. สุรินทร์ อ้นพรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
234. ชลิตา บัณฑุวงศ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
235. ทนุวงศ์ จักษุพา คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน
236. ผศ.ดร.กตัญญู แก้วหนาม สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
237. นพพล อัคฮาด คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
238. ไชยันต์ รัชชกูล คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
239. มนตรา พงษ์นิล มหาวิทยาลัยพะเยา
240. ผศ.พรพิมล จันทรวิโรจน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัย วิทยาลัยเซนต์หลุยส์
241. อ.อภิรดี เจริญนุกูล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิ
242. ดร.บุญสืบ โสโสม วิทยาลัยพยายาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท
243. ผศ.ดร.ชญานิศวร์ โคโนะ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริทราวิโรฒ
244. อ.สันติภาพ ศิริวัฒนไพบูลย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
245. อ. อภัยชนม์ สัจจะพัฒนกุล คณะคุรุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
246. ผศ.ดร.ปวีณา ลี้ตระกูล คณะวิทยาจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
247. อ.จตุพร ดอนโสม สาขาวิชาพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
248. กิติมา ขุนทอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
249. อาจารย์ภาณุวัฒน์ สกุลสืบ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
250. อ.อัครวินท์ ศาสนพิทักษ์ สาขาการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
251. คมลักษณ์ ไชยยะ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
252. อาจารย์รัฐพล ทองแตง มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
253. เอกฤทัย ฉัตรชัยเดช มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
254. ผศ.ดร. สิตางค์ พิลัยหล้า นักวิชาการอิสระ
255. นพ.ธนสาร พฤฒิสถาพร นักวิชาการอิสระ
256. พว.ไพลิน สุวรรณมาลา พยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการอิสระ
257. อนรรฆ พิทักษ์ธานิน นักวิชาการอิสระ
258. กรรณิการ์ บรรเทิงจิตร นักวิชาการอิสระ
259. ศิรินันต์ สุวรรณโมลี นักวิชาการอิสระ
260. สมภพ ดอนดี นักวิชาการอิสระ
261. ผศ จำนงค์ แรกพินิจ นักวิชาการอิสระ
262. ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว นักวิชาการอิสระ
263. นางสาวอัญชนา หีมมิหน๊ะ นักวิชาการอิสระ
264. อาจารย์เพ็ญประไพ ภู่ทอง นักวิชาการอิสระ
265. ดร.โกมล แพรกทอง นักวิชาการอิสระ
266. อาจารย์กมลวรรณ ชื่นชูใจ นักวิชาการอิสระ
267. อาจารย์ประภัสสร เธียรปัญญา นักวิชาการอิสระ
268. ดร.เบญจพร ดีขุนทด นักวิชาการอิสระ
269. ผศ.ดร.ประภาศ ปานเจี้ยง นักวิชาการอิสระ
270. ดร.ลั่นทม จอนจวบทรง นักวิชการอิสระ
271. อาจารย์ธนู จำปาทอง นักวิชาการอิสระ
272. สมิทธิรักษ์ จันทรักษ์ นักวิชาการอิสระ
273. นางสาวสวรินทร์ เบ็ญเด็มอะหลี นักวิชาการอิสระ
274. โศจิรัตน์ ศุภนิจวัฒนา นักวิชาการอิสระ
275. เชษฐา พวงหัตถ์ นักวิชาการอิสระ
276. สมพร เพ็งค่ำ นักวิชาการอิสระด้านการประเมินผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน
277. ภญ.จินดา หวังวรวงศ์ อดีตนักวิชาการกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส
278. กุลธีร์ บรรจุแก้ว
279. นายจตุรงค์ คงแก้ว
280. เคท ครั้งพิบูลย์
281. ชำนาญ จันทร์เรือง
282. วิริยะ สว่างโชติ
283. ปวินท์ ระมิงค์วงศ์
284. ขวัญชนก กิตติวาณิชย์
285. ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
286. จักรกริช สังขมณี
287. ศรันย์ สมันตรัฐ
288. บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุลา
289. Rosenun Chesof University of Malaya , Kuala Lumpur, Malaysia
290.อ.สัญชัย สูติพันธ์วิหาร คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม.มหิดล


ที่มา : สำนักข่าวไทย และเฟซบุ๊ก Chainarong Sretthachau

เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
แกนนำค้านถ่านหินกระบี่ยุติชุมนุม หลังรัฐบาลยอมให้เริ่มทำอีเอชไอเอใหม่ ดึงคนกลางเข้าร่วม