วันพฤหัสบดี, มกราคม 12, 2560

ฟังทั่นพู้นำเม้าเรื่องปรองดอง + ใบตองแห้งOn Air : ถ้าพวกเมริงยอมแพ้ ก็ไม่ติดคุก





https://www.facebook.com/VoiceTVonline/videos/10155976211794848/

ooo



https://www.facebook.com/VoiceTVonline/videos/10155978325189848/
.....


Atukkit Sawangsuk shared Voice TV 21's live video.

ไม่ใช่ไม่ยอมปรองดองหรอกนะครับ แต่ข้อเสนอของ สปท. ชุดเสรี สุวรรณภานนท์ มันไม่ใช่ปรองดอง มันเป็นแค่ "ยอมแพ้ซะไม่ติดคุก"

แถมการพักโทษจำคุก ก็ยังเลือกปฏิบัติ เช่น ความผิดไม่ร้ายแรงได้แก่ปิดสนามบิน ข้อหากบฏ ก่อการร้าย ที่ไม่มีการเผา แปลว่าไอ้พวกที่โดนข้อหาเผาบ้านเผาเมือง ก็โดนอยู่ดี แต่พวกปิดเมืองปิดสนามบินเสียหายหลายแสนล้านรอดไป

ยิ่งไปกว่านั้น ในการปรองดองยังบอกว่า ถ้าพวกเมริงยอมแพ้ ก็ต้องยอมรับการปิดกั้นเสรีภาพตลอดไป เพราะเสนอให้ออกกฎหมายควบคุมสื่อ นักวิชาการ นักการเมือง ห้าม "ปลุกระดม" ต่อต้านหรือให้ร้ายรัฐบาล การวิพากษ์วิจารณ์ต้องพับเพียบ ก้มกราบอย่างเป็นระเบียบ

ยุคป๋า 66/23 ไม่ได้เป็นอย่างนี้ 1.พคท.พ่ายแพ้ทางการเมือง ทางอุดมการณ์ แต่ยังเหลือกำลังทหาร

2.ยุคป๋าคือการผ่อนคลายทางการเมือง จากสฤษดิ์ถนอม มี ปชต.3 ปี เกิด 6 ตุลา มีรัฐบาลหอย 1 ปี สู่ประชาธิปไตยครึ่งใบ เปิดให้พรรคการเมือง ภาคธุรกิจ เข้าไปมีส่วนร่วม ภาคประชาชน ฟื้นเสรีภาพสื่อ มี NGO

แต่นี่ คสช.เพียงแต่ได้ชัยชนะทางการทหาร หมายถึงไม่มีใครต่อต้านได้ แต่ยังไม่ชนะทางการเมือง แล้วกลับจะสร้างระบอบที่เข้มงวดบังคับประชาชน

ooo

"เสรี" เร่งเสนอปรองดองสปท.23-24ม.ค. ปัดข้อเสนอคล้ายนิรโทษกรรม





10 มกราคม 2560
ที่มา สยามรัฐออนไลน์

"เสรี" เร่งเสนอรายงานปรองดองเข้าที่ประชุมสปท.23-24ม.ค. ปัดข้อเสนอคล้ายนิรโทษกรรม พร้อมเปิดโอกาสคนอยู่เมืองนอกกลับประเทศมาสู้คดีตามสิทธิ ใครสารภาพให้โทษกึ่งหนึ่ง

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ให้สัมภาษณ์ถึงรายงานเรื่องการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและการสร้างความปรองดองว่า ในวันที่19ม.ค.จะนำรายงานเข้าที่ประชุมวิปสปท. และในวันที่23หรือ24ม.ค. หากไม่ติดขัดอะไรพยายามจะนำเข้าสู่ที่ประชุมใหญ่สปท.เพื่อพิจารณารายงานฉบับนี้ โดยหลักการในการนำเสนอรายงานเรื่องการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและสร้างความปรองดอง ต้องเป็นคดีอยู่ในช่วงเหตุการณ์19ก.ย.2549-22พ.ค.2558 โดยคดีเรื่องนี้เราได้แยกคดีเป็นของชาวบ้านทั่วไป กับคดีของแกนนำผู้ชุมนุม และแบ่งคดีเป็นชนิดร้ายแรงกับคดีไม่ร้ายแรง โดยในคดีไม่ร้ายแรงของชาวบ้านทั่วไป คดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณา ถ้าจำเลยยอมรับต่อศาลชั้นต้นตามที่ถูกฟ้อง ให้ศาลจำหน่ายคดีออกไป แต่ในระหว่างนั้น5ปี ห้ามก่อปัญหาต่อบ้านเมือง ห้ามชุมนุม ปลุกปั่นยุยง สร้างความแตกแยกอีก ส่วนแกนนำผู้ชุมนุมหากยอมรับว่าได้กระทำความผิด จะเสนอต่อศาลขอให้ใช้ดุลพินิจลงโทษสถานเบา

ในรายงานได้จำแนกคดีไม่ร้ายแรงคือ คดีบุกสนามบิน บุกสถานที่ราชการ บุกที่สาธารณะ ก่อการร้าย ซึ่งคดีเหล่านี้ยุติได้ หากพิสูจน์ว่าคนเหล่านั้นไปเพียงเพื่อชุมนุมอย่างเดียว ไม่ได้สร้างความเสียหายร้ายแรงต่อสถานที่ดังกล่าว ส่วนคดีเผาสถานที่ราชการ ต้องไปพิสูจน์อีกครั้งว่า คนเหล่านั้นลงมือกระทำหรือไม่ ถ้าไม่ใช่ผู้ลงมือ อย่างนี้จะได้รับโอกาส แต่ถ้าลงมือ อย่างนี้ไม่ได้รับโอกาส

เมื่อถามว่าข้อเสนอสปท.การเมือง แทบไม่ต่างอะไรจากการนิรโทษกรรม นายเสรี กล่าวว่า ไม่เหมือนกัน การนิรโทษกรรมคือ ทำผิดมาแล้วแต่ไม่มีความผิด ในข้อเสนอรายงานสปท.การเมืองของเรา ความผิดยังคงอยู่ ต่างกัน อย่าเอามาปนกัน ที่เสนอให้มีการพักโทษแกนนำที่รับสารภาพนั้น เป็นการควบคุมพฤติกรรม ข้อเสนอของเราไม่ใช่การทำลายหลักนิติธรรม เพราะถ้าจะคุยกันเรื่องปรองดองก็ต้องมาคุยกันในเรื่องหาทางออก ในทางกฎหมายไปดูได้เลย มีการพูดถึงการให้โอกาส การบรรเทาโทษ เขียนไว้ชัดเจนอยู่แล้ว ถ้าใครรับสารภาพจะได้รับโทษกึ่งหนึ่ง

เมื่อถามว่าหนึ่งในข้อเสนอที่ให้โอกาสคนอยู่ต่างประเทศกลับมาสู้คดีและได้รับการประกันตัวด้วยนั้น นายเสรี กล่าวว่า คนที่อยู่ต่างประเทศที่หนีคดีตอนนี้ ส่วนใหญ่ไปเคลื่อนไหวผ่านยูทูป อินเตอร์เน็ต วิพากษ์วิจารณ์ต่อต้านรัฐบาล คนเหล่านี้ไม่กล้าเข้าประเทศ เพราะกลัวว่าเมื่อเข้ามาแล้ว จะไม่ได้รับการประกันตัว เราเลยเสนอไปหากกลับเข้ามาจะมีสิทธิในการมาต่อสู้คดีและได้รับการประกันตัว

เมื่อถามอีกว่ากรณีนี้รวมไปถึงคดีที่ศาลตัดสินถึงที่สุดแล้วหรือไม่ นายเสรี กล่าวว่า คดีที่ศาลตัดสินเรียบร้อยแล้ว แต่ผู้กระทำความผิดไปอยู่ต่างประเทศ หากกลับมาต้องกลับมารับโทษ ไม่อยู่ในเงื่อนไข โดยเราแยกไว้คดีเกี่ยวกับสถาบัน การทุจริตคอรัปชั่น คดีเหล่านี้ไม่รวมอยู่ในข่าย ขอปฏิเสธว่า ก่อนที่จะมีรายงานฉบับนี้ออกมา ได้ไปหารือกับแกนนำกลุ่มต่างๆมาแล้ว ในส่วนของแกนนำผู้ชุมนุมที่เสนอมาคราวนี้ หากเห็นว่าข้อกล่าวหาที่ถูกกล่าวหาไม่เป็นความจริง ไม่ยอมรับเพื่อจะได้รับการพักโทษ ก็ไปพิสูจน์ตัวในชั้นศาลได้ เราไม่ได้บังคับ เพราะคราวที่มีข้อเสนอออกมา ต้องยอมรับต่อศาลก่อนได้รับการพักโทษ ถูกแกนนำสีต่างๆต่อต้าน คราวนี้เลยปล่อยให้เป็นตามความสมัครใจ หากเห็นว่าไม่ผิด ก็ไม่ต้องยอมรับแล้วสู้คดีต่อไป

ooo

FootNote: 2ท่าที 2มาตรฐาน ปฏิรูปและปรองดอง





12 มกราคม 2560
ที่มาข่าวสดออนไลน์


ทั้งๆที่คสช.และรัฐบาล “ออกตัว” ค่อนข้างแรงในเรื่อง “ปฎิรูป”และ “ปรองดอง”

ไม่ว่าจะเป็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ไม่ว่าจะเป็น พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ
แต่เหตุใด “น้ำเสียง” จากฝ่าย “การเมือง” ไม่ว่าจะจากพรรคเพื่อไทย ไม่ว่าจะจากพรรคประชาธิปัตย์
กลับรู้สึกเฉย
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ถึงกับลงมาดูรายละเอียด”ปฏิรูป”ด้วยตนเอง
ขณะเดียวกัน ก็มอบหมายให้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับผิดชอบในเรื่อง “ปรองดอง”
แต่”ปฏิกิริยา”ก็ยังเฉย และซ้ำร้ายทำท่าว่าอาจจะพัฒนาไปสู่สภาวะ “เฉยเมย”
ทั้งที่นี่คือผลสะเทือนก่อน”รัฐประหาร”

หากมองอย่างเปรียบเทียบระหว่างท่าทีของพรรคเพื่อไทยกับของ พรรคประชาธิปัตย์
พรรคประชาธิปัตย์ มี”ความหวัง”มากกว่า
ขณะที่พรรคเพื่อไทย ไม่ว่าจะจาก นายจาตุรนต์ ฉายแสง ไม่ว่าจะจากนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล
ค่อนข้าง “เนือย”
ทั้งนี้ แทบไม่ต้องล้างหูรับฟังเสียงจาก นายจตุพร พรหมพันธุ์ หรือ นายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ
อย่างน้อยคนเหล่านี้ก็ยังอยู่ในอาการ “ผวา”
ผวากับมาตรการ”ชัตดาวน์” ผวากับสโลแกน “ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง” อันกึกก้อง
กึกก้องบนท้องถนนก่อน “รัฐประหาร”
กึกก้องไม่ว่าในที่ประชุม “สนช.” ไม่ว่าในที่ประชุม “สปช.”หรือที่ประชุม”สปท.”หลัง “รัฐประหาร”
“ปฏิรูป”และ”ปรองดอง”กลายเป็นเรื่องเดียวกัน

ในเมื่อเป้าหมายของ “ปฏิรูป” คือ นักการเมือง และนักการเมืองในปีกของพรรคเพื่อไทย
ทุกอย่างจึงดำเนินไปอย่าง “2 มาตรฐาน”
ทั้งๆที่การยึด “ทำเนียบรัฐบาล”เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2551 ทั้งๆที่การยึด “สนามบิน”เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2551
แต่คดีที่เดินหน้าที่สุดกลับเป็นเหตุการณ์เมื่อเดือนเมษายน พฤษภาคม 2553
หาก”ปฏิรูป”แบบนี้ เส้นทาง”ปรองดอง”ก็ย่อมขรุขระ
แทนที่รัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 จะเล่นบทเป็น กรรมการ แสดงความเป็น “คนกลาง”
กลับเด่นชัดยิ่งว่ามีการ “เลือกข้าง”
ท่าทีจาก 2 ฟากฝ่ายทางการเมืองจึงไม่เหมือนกัน 1 อาจมีความหวัง แต่ 1 อาจเฉยชา ไม่ยินดียินร้าย
ไม่ว่าจะ”ปฏิรูป” ไม่ว่าจะ”ปรองดอง”