วันศุกร์, มกราคม 20, 2560

“คนไทยจะชอบแต่ดราม่าหรือ”





ถามว่า “คนไทยจะชอบแต่ดราม่าหรือ” ตอบว่า ใช่ครับ ชอบทำกันประจำมานานแล้ว

ถ้าถามด้วยว่า พวกผู้พิพากษา ตลาการ ชอบอึดอัดใช่ไหม ตอบว่า ใช่ว่ะ แต่ผู้ที่ตอบเป็น ‘นักกฎหมาย’ ตามนิยามแบบไม่ตกยุค ไม่เห็นเขาอึดอัดอะไรนักหนา

ไม่เหมือนท่านผู้พิพากษาอาวุโสศาลเยาวชนฯ ภูเก็ต ซึ่งเคยสมัครเข้าเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แต่ชวด ถูกทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์โฉบเอาไปกิน สอนวิชานิเทศศาสตร์แก่สื่อมวลชน

“หากินทางเป็นนักข่าวหรือพิธีกรรายการข่าว ก็น่าจะมีความรู้เรื่องพื้นๆ อย่างนี้บ้าง เป็นเรื่องของวิญญูชนแท้ๆ”

เรื่องพื้นๆ อย่างที่ว่าก็คือ “ให้คำนึงถึงผู้เสียหาย คนตาย” ไว้ก่อน ซึ่ง Atukkit Sawangsuk ตอบว่า “อ้าว ถ้าไม่ใช่คนผิดจริงล่ะ นี่สังคมกำลังช่วยกันแสวงหาความจริงอยู่ไม่ใช่หรือ”

ส่วน สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ บอก “ผู้พิพากษาชอบตัดสินผิด เอาคนบริสุทธิ์เข้าคุก ประชาชนจะอาเจียรแล้วนะ”

ทั่นผู้พิพากษา lectures วิชาวารสารศาสตร์ต่อ ข้นคลั่ก “สื่อสารมวลชนเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกและความคิดของประชาชน ท่านอาจมีสิทธิคิดและทำอย่างไรก็ได้ด้วยความมีอิสระเสรีที่ท่านต้องการ

แต่ต้องไม่ลืมว่า ขณะที่ท่านได้ร่ำเรียนหรือสร้างตัวขึ้นมาจนมีชื่อเสียงในศาสตรด้านสื่อมวลชนนั้น กระบวนการทางกฏหมายเขาก็มีศาสตร์ที่เขาร่ำเรียนกันมาและใช้กันอยู่เป็นหลักอันหนึ่งในสังคมมาถึงบัดนี้เป็นร้อยปีเศษแล้ว”

(http://www.matichon.co.th/news/432598)

หากแต่ทั่นคงไม่รู้ว่า ศาสตร์พิพากษาของท่านกับของนานาอารยะประเทศมันไม่เหมือนกัน ของไทยเอาแต่ใจตัวไปเสียทุกอย่าง เอาตนเป็นที่ตั้งยิ่งกว่ากฎหมาย





ดูแต่คดีที่หม่อมเต่านาถูกศาลสั่งปรับ ๕๐๐ บาทฐานไปนั่งจ้องหน้าอัยการระหว่างซักพยานคดีเอาผิด น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ดำเนินนโยบายจำนำข้าว

(https://www.matichonweekly.com/hot-news/article_21676)

อธึกกิตอีกแหละตอบข้อนี้ว่า “ไม่ทราบศาลท่านตีความอย่างไรจึงเห็นว่าผิดจริง เพราะคนเราเนี่ย การมองหน้ากันมันมีหลายลักษณะ ตั้งแต่มองหน้าเฉยๆ ไปจนจ้องตา หรือมองถมึงทึง หรือทำหน้าหาเรื่อง...

“เอาเป็นว่าต่อไป ใครไปศาล ก็อย่ามองหน้าพวกอัยการนะครับ อัยการท่านมองมาต้องรีบหลบตา”

พวกมือกำกฎหมายในรัฐบาลยุค คสช. นี่ล้วนวางก้ามเก่งแบบเผด็จการกันทั้งนั้น นายกฯ ขี้ฉุน ทหารชอบไปเยี่ยมบ้านขู่แม่ยายผู้เห็นต่าง อัยการเป็นนักเลงประตูน้ำใครมองหน้าไม่ได้

แล้วอย่างนี้จะอ้างได้อย่างไรว่า คสช. และลิ่วล้อ ไม่ใช่คู่ขัดแย้งกับฝักฝ่ายทางการเมืองและประชาชน

ไอสเปชเขาสรุปปัญหาประดุจเป็นจรเข้าขวางคลองสายธารประชาธิปไตย ๕ ประการ คสช. เข้าข่ายไปเสียแล้วสี่