วันอังคาร, ธันวาคม 27, 2559

“ความสุขมวลรวมประชาชาติ” หรือ “gross national happiness” กับ การทำให้ประเทศล้าหลังไม่พัฒนาในหลายด้าน ฟังนายกฯภูฏานให้สัมภาษณ์ The Economist





ที่มา FB

Pipob Udomittipong


Tshering Tobgay 51 ปี นายกฯ ภูฏานให้สัมภาษณ์ The Economist บอกว่า “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” หรือ “gross national happiness” ถูกสร้างภาพให้เหมือน “ศาสนา” โดยเขาเห็นว่า GNH กลายเป็นเรื่องที่ “เบี่ยงประเด็น” เป็น “distraction” ทำให้ประเทศล้าหลังไม่พัฒนาในหลายด้าน ประชาชนไม่รู้หนังสือ ไม่ได้เข้าเรียน มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนของคนกลุ่มน้อย ว่างงานสูง หนี้สาธารณะมากมาย ฯลฯ นับแต่ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกฯ เขาเน้นการพัฒนาการศึกษา การพัฒนาบริการขั้นพื้นฐาน และการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ด้านการเกษตร นาย Tshering Tobgay ชนะในการเลือกตั้งอย่างเป็นประชาธิปไตยครั้งที่สองของประเทศเมื่อปี 2013 เป็นการชนะพรรคของ “คนของพระราชา” ซึ่งเป็นนายกฯ คนแรกอย่างขาดลอย (ในการเลือกตั้งครั้งแรก พรรคของนาย Tshering Tobgay ได้สส.แค่สองที่นั่งเท่านั้นเอง)

Tshering Tobgay ซึ่งเรียนจบจากสหรัฐฯ บอกว่า “เรากำลังเทศนาเกี่ยวกับ GNH เราส่งคนไปทัวร์ทั่วโลกเพื่อเทศนาเรื่องนี้ แต่มันเรื่องที่เบี่ยงประเด็น (distraction) ทำให้เราไม่ได้ทำงานตรงเป้าเพื่อให้เกิด GNH อย่างแท้จริง” และบอกต่อว่า “มันเป็นเรื่องหลอกลวง (seductive) ที่จะพูดว่า GNH เป็นแม่แบบการพัฒนาทางเลือก ที่สำคัญคือจะทำให้มันเกิดขึ้นได้อย่างไรที่บ้านตัวเองมากกว่า (ไปเทศนากับประเทศอื่น ๆ ว่ามันดีอย่างไร)”

ตอนหลังได้รับเลือกตั้งใหม่ ๆ เขาเคยให้สัมภาษณ์ไว้แล้วว่า ถ้าวัน ๆ รัฐบาลเอาแต่พูดเรื่อง GNH แต่กลับไม่ทำงานเพื่อให้พัฒนาบริการพื้นฐานกับประชาชนเลย มันเป็นการเบี่ยงประเด็น” "If the government of the day were to spend a disproportionate amount of time talking about GNH rather than delivering basic services, then it is a distraction," เขามองว่ารัฐบาลที่ผ่านมาและสถาบันกษัตริย์มุ่งโฆษณาแต่เรื่อง GNH โปรโมทไปทั่วโลกเพื่อสร้างภาพ แต่กลับไม่สามารถทำให้เกิดผลจริงจังในบ้านตัวเอง

อย่างเรื่องการรู้หนังสือ จากการบริหารงานของรัฐบาลตั้งแต่สมัยสมบูรณญาณาฯ จนถึงรัฐบาลชุดแรกที่เป็นคนของพระราชา คนภูฏานแค่ครึ่งเดียวที่อ่านออกเขียนได้ เด็กแค่ครึ่งเดียวที่มีโอกาสเรียนถึงมัธยม ชาวภูฏานส่วนใหญ่ยังคงเป็นชาวไร่ชาวนาแบบพึ่งตนเอง อัตราการว่างงานและการฆ่าตัวตายสูงมาก หนี้สาธารณะบานเบอะ และการคอร์รัปชันก็ระบาดไปทั่วไป การที่นานาชาติให้ความสนใจกับ GNH ของภูฏาน มันจึงเป็นภาพลวงตา ทำให้ไม่เห็นปัญหาอย่างอื่นทั้งเรื่องการขาดความโปร่งใส และขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นการพัฒนาแบบที่ไม่เคยถามความสมัครใจของประชาชน บอกให้ประชาชนเชื่อแต่เรื่อง GNH #พอเพียงแต่อาจจะไม่พอกินนะครัช

ลองฟังความเห็นนายกฯ ภูฏานที่ไม่ค่อยเชื่อเรื่อง GNH เท่าไรดู
https://soundcloud.com/theeconomist/the-world-in-2017-special-instability

และอ่านเพิ่มเติมได้
http://blogs.ft.com/beyond-brics/2014/09/04/gross-national-happiness-a-bad-idea-whose-time-has-gone/
http://www.bbc.com/news/world-asia-23545641