วันจันทร์, ธันวาคม 12, 2559

110 ภาคีองค์กรประชาสังคมต่างชาติร่อน จม.เปิดผนึกถึงประยุทธ์ ห่วงคำพิพากษากรณีอานดี้ ฮอลล์




แฟ้มภาพประชาไท 20 ก.ย. 2559

110 ภาคีองค์กรประชาสังคมต่างชาติร่อน จม.เปิดผนึกถึงประยุทธ์ ห่วงคำพิพากษากรณีอานดี้ ฮอลล์

Mon, 2016-12-12 18:06
ที่มา ประชาไท

110 ภาคีกลุ่มประชาสังคมระหว่างประเทศ ห่วงคำพิพากษากรณีอานดี้ ฮอลล์ ขวางการตรวจสอบ ทำแรงงานถูกกดขี่ เรียกร้องไทยถอนความผิดอาญาในกฎหมายหมิ่นประมาท แก้ พ.ร.บ.คอมฯ ให้สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยเสรีภาพการแสดงออก

12 ธ.ค. 2559 เมื่อวันที่ 10 ธ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งตรงกับวันสิทธิมนุษยชนสากล 110 ภาคีกลุ่มประชาสังคมระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน ด้านแรงงาน ด้านการพัฒนา และด้านสิ่งแวดล้อม, กลุ่มประชาสังคมระดับประเทศ และกลุ่มผู้ประกอบการ อาทิ สมาชิกรัฐสภายุโรป, แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล, ฮิวแมนไรท์วอทช์, ฟินน์วอทช์, กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, สมาพันธ์ผู้สื่อข่าวระหว่างประเทศ (IFJ) เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เรื่องการพิพากษาลงโทษนายอานดี้ ฮอลล์ในความผิดทางอาญาฐานหมิ่นประมาท และตามพระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

จดหมายเปิดผนึกดังกล่าว แสดงความกังวลต่อกรณีศาลไทยพิพากษาให้ อานดี้ ฮอลล์ นักสิทธิแรงงานข้ามชาติชาวอังกฤษ มีความผิดทางอาญาฐานหมิ่นประมาท และตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ สืบเนื่องจากงานวิจัยที่อานดี้จัดทำข้อมูลดิบให้กับองค์กรฟินน์วอทช์ ซึ่งต่อมามีการวิเคราะห์ข้อมูลและตีพิมพ์เป็นรายงานของฟินน์วอทช์ ชื่อว่า “Cheap Has High Price” (ของถูกราคาแพง) เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของฟินน์วอทช์

"เราจึงมีความกังวลเป็นอย่างยิ่งถึงความเป็นไปได้ว่าคำพิพากษานั้นจะมีผลกระทบทางลบกับงานรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชน และจะขัดขวางไม่ให้การศึกษาวิจัยและติดตามตรวจสอบเรื่องห่วงโซ่อุปทานดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นที่เชื่อถือได้ ซึ่งหมายถึงการที่แรงงานข้ามชาติและแรงงานที่เปราะบางอื่นๆ ต้องประสบกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นต่อการตกเป็นแรงงานขัดหนี้ แรงงานบังคับ และแรงงานกดขี่ หากขาดสิทธิขั้นพื้นฐาน อย่างเช่น เสรีภาพในการสมาคม และการร่วมเจรจาต่อรองแล้ว แรงงานข้ามชาติในประเทศไทยจะยังคงไร้ช่องทางในการปกป้องสิทธิของตนเองจากการกดขี่และการแสวงหาผลประโยชน์จากผู้อื่น คำพิพากษาคดีนี้อาจนำพวกเขาไปสู่ความเสี่ยงต่อสิ่งเลวร้ายมากยิ่งขึ้น"

"เราได้ปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิดภายหลังที่มีคำพิพากษาออกมาและสรุปได้ว่า แบรนด์ระดับสากลที่มีความมุ่งมั่นในการจัดหาแหล่งวัตถุดิบที่ปฏิบัติตามหลักจริยธรรมกำลังประสบกับภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกอันเกิดจากคำพิพากษาลงโทษนายอานดี้ ฮอลล์ ทั้งนี้ บริษัทระดับสากลจำนวนมากขึ้นมีความเห็นว่ารายงานสถานการณ์ประเภทนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการตัดสินใจเลือกใช้วัตถุดิบและการผลิตสินค้า บริษัทหลายแห่งได้ประกาศเจตนารมณ์ต่อลูกค้าของตนว่าจะใช้วัตถุดิบและผลิตสินค้าอย่างมีจริยธรรม ประเทศใดก็ตามที่ขัดขวางหรือกีดกันการศึกษาวิจัยเรื่องห่วงโซ่อุปทานอาจทำให้ธุรกิจและการลงทุนจากบริษัทเหล่านั้นต้องตกอยู่ในความเสี่ยง" จดหมายเปิดผนึกระบุ

พร้อมกันนี้ มีข้อเรียกร้องต่อประเทศไทย 4 ข้อ โดยให้เหตุผลว่าเพื่อสร้างความมั่นใจว่านักสิทธิมนุษยชนและแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยจะได้รับการคุ้มครอง ดังนี้
1. ยกเลิกบทบัญญัติความผิดอาญาฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา
2. แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงออก
3. ดำเนินการตามปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UN Declaration on Human Rights Defenders) อย่างแข็งขันและมีประสิทธิภาพ
4. ให้สัตยาบันและดำเนินการตามอนุสัญญาด้านแรงงานหลักๆ ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญาฉบับที่ 87 (เสรีภาพในการสมาคม) และฉบับที่ 98 (การร่วมเจรจาต่อรอง)


Unofficial translation

10 ธันวาคม 2559

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
ทำเนียบรัฐบาล
1 ถนนพิษณุโลก ดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทรสาร: +66 (0) 2282 5131
Email: prforeign@gmail.com

เรื่อง การพิพากษาลงโทษนายอานดี้ ฮอลล์ในความผิดทางอาญาฐานหมิ่นประมาท และตามพระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
เรียน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

เนื่องในวันสิทธิมนุษยชนสากล เราผู้ร่วมลงนามในหนังสือฉบับนี้ ขอส่งหนังสือถึงท่านเกี่ยวกับเรื่องคำพิพากษาคดีนายอานดี้ ฮอลล์ ในความผิดทางอาญาฐานหมิ่นประมาท และตามพระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อันเกี่ยวข้องกับการศึกษาวิจัยโดยอานดี้ได้ทำการสัมภาษณ์แรงงานข้ามชาติ แล้วส่งข้อมูลดิบให้กับองค์กรฟินวอชท์ ซึ่งต่อมาได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลและตีพิมพ์เป็นรายงานของฟินวอชท์ ชื่อว่า “Cheap Has High Price” (ของถูกราคาแพง) ซึ่งเป็นรายงานที่ฟินวอชท์เป็นผู้เขียนและลงเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ในเดือนมกราคม 2556 ณ กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์

ในการนี้ เราส่งหนังสือถึงท่านในฐานะภาคีกลุ่มประชาสังคมระหว่างประเทศ (องค์กรที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน ด้านแรงงาน ด้านการพัฒนา และด้านสิ่งแวดล้อม) กลุ่มประชาสังคมระดับประเทศ และกลุ่มผู้ประกอบการ เพื่อแสวงหาความมั่นใจว่า สิทธิของแรงงานข้ามชาติและนักสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยจะได้รับการเคารพและคุ้มครองตามมาตรฐานและกฎหมายสากล เนื่องด้วยเราตระหนักดีในคำพิพากษาคดีนี้ของศาลอาญากรุงเทพใต้ เราจึงมีความกังวลเป็นอย่างยิ่งถึงความเป็นไปได้ว่าคำพิพากษานั้นจะมีผลกระทบทางลบกับงานรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชน และจะขัดขวางไม่ให้การศึกษาวิจัยและติดตามตรวจสอบเรื่องห่วงโซ่อุปทานดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นที่เชื่อถือได้ ซึ่งหมายถึงการที่แรงงานข้ามชาติและแรงงานที่เปราะบางอื่นๆ ต้องประสบกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นต่อการตกเป็นแรงงานขัดหนี้ แรงงานบังคับ และแรงงานกดขี่ หากขาดสิทธิขั้นพื้นฐาน อย่างเช่น เสรีภาพในการสมาคม และการร่วมเจรจาต่อรองแล้ว แรงงานข้ามชาติในประเทศไทยจะยังคงไร้ช่องทางในการปกป้องสิทธิของตนเองจากการกดขี่และการแสวงหาผลประโยชน์จากผู้อื่น คำพิพากษาคดีนี้อาจนำพวกเขาไปสู่ความเสี่ยงต่อสิ่งเลวร้ายมากยิ่งขึ้น

เมื่อเดือนมิถุนายน 2559 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ยกย่องความพยายามของประเทศไทยในการจัดการกับปัญหาการค้ามนุษย์โดยยกระดับให้ประเทศไทยขึ้นมาอยู่ในเทียร์ 2 เฝ้าระวังเป็นพิเศษ ในรายงานประจำปีเรื่องสถานการณ์การค้ามนุษย์ (Trafficking in Persons Report) อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสหรัฐฯ ได้บันทึกไว้ว่าการพิพากษาลงโทษนายอานดี้ ฮอลล์ นั้น “ขัดขวางบรรยากาศที่เอื้อต่อการป้องกันการค้ามนุษย์ การค้นพบและการรายงานการค้ามนุษย์ การระบุตัวเหยื่อ รวมทั้งการจับกุมผู้ค้ามนุษย์เพิ่มเติม” ทั้งนี้ เป็นที่น่าวิตกกังวลเป็นอย่างยิ่งว่า การที่ศาลยุติธรรมของไทยพิพากษาให้นายอานดี้มีความผิดทางอาญาจากการทำงานวิจัยอย่างมืออาชีพ ตีแผ่การละเมิดสิทธิมนุษยชนและสิทธิแรงงานซึ่งกระทำโดยผู้ประกอบการของไทย คำพิพากษานี้จะส่งผลอันไม่พึงปรารถนาต่อการศึกษาวิจัยที่เป็นอิสระเรื่องห่วงโซ่อุปทานอย่างไม่ต้องสงสัย การศึกษาวิจัยนั้นก่อให้เกิดผลดีต่อทั้งแรงงานข้ามชาติและครอบครัวของพวกเขา รวมไปถึงผลดีกับสิ่งแวดล้อม รัฐบาลและประชาชนไทย และบริษัทระดับสากลที่ใช้วัตถุดิบจากประเทศไทยด้วย
เราได้ปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิดภายหลังที่มีคำพิพากษาออกมาและสรุปได้ว่า แบรนด์ระดับสากลที่มีความมุ่งมั่นในการจัดหาแหล่งวัตถุดิบที่ปฏิบัติตามหลักจริยธรรมกำลังประสบกับภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกอันเกิดจากคำพิพากษาลงโทษนายอานดี้ ฮอลล์ ทั้งนี้ บริษัทระดับสากลจำนวนมากขึ้นมีความเห็นว่ารายงานสถานการณ์ประเภทนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการตัดสินใจเลือกใช้วัตถุดิบและการผลิตสินค้า บริษัทหลายแห่งได้ประกาศเจตนารมณ์ต่อลูกค้าของตนว่าจะใช้วัตถุดิบและผลิตสินค้าอย่างมีจริยธรรม ประเทศใดก็ตามที่ขัดขวางหรือกีดกันการศึกษาวิจัยเรื่องห่วงโซ่อุปทานอาจทำให้ธุรกิจและการลงทุนจากบริษัทเหล่านั้นต้องตกอยู่ในความเสี่ยง

เป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องกล่าวว่า ในระหว่างการสืบพยานคดีของอานดี้ บริษัทและสมาคมอาหารทะเลชั้นนำของประเทศไทยบางแห่ง รวมทั้งบริษัทค้าปลีกชั้นนำของยุโรป ให้ปากคำว่าได้รับประโยชน์จากงานวิจัยของอานดี้ แต่เป็นที่น่าเสียดาย คำพิพากษาของศาลได้ส่งสัญญาณไปยังแบรนด์และบริษัทค้าปลีกระดับสากลว่าสถานการณ์ปัจจุบันในประเทศไทยอาจจะไม่เอื้อต่อการจัดหาวัตถุดิบที่ปฏิบัติตามหลักจริยธรรมได้ และเป็นไปได้ว่าจะมีการพิพากษาลงโทษนักสิทธิมนุษยชนที่รายงานการดำเนินงานที่น่าสงสัยว่าผิดกฎหมายของบริษัทที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน

สำหรับการดำเนินงานขั้นต่อไป เพื่อให้ประชาสังคม รัฐบาล และภาคเอกชน มั่นใจได้ว่าประเทศไทยมีความมุ่งมั่นในการปกป้องสิทธิของแรงงานข้ามชาติอย่างแท้จริง ประเทศไทยควรยกเลิกกฎหมายหมิ่นประมาททางอาญาและแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เพื่อให้สอดคล้องกับข้อตกลงด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของไทย การใช้พระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันร่วมกับการลงโทษนักสิทธิมนุษยชนให้มีความผิดทางอาญาฐานหมิ่นประมาท เป็นการบ่อนทำลายสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการนำเสนอข้อมูลของนักวิจัยอิสระ ผู้รายงานข่าว และนักสิทธิมนุษยชน ถือเป็นการละเมิดกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights) ที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกอยู่ นอกจากนี้ เราขอเรียกร้องให้ประเทศไทยดำเนินการตามปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UN Declaration on Human Rights Defenders) อย่างแข็งขันและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้มั่นใจได้ว่านักสิทธิมนุษยชนอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและสามารถทำงานศึกษาวิจัย งานด้านการศึกษา และงานรณรงค์ได้ และสุดท้าย เราขอสนับสนุนให้รัฐบาลไทยให้สัตยาบันอนุสัญญาด้านแรงงานหลักๆ ของขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญาฉบับที่ 87 (เสรีภาพในการสมาคม) และฉบับที่ 98 (การร่วมเจรจาต่อรอง) ซึ่งจะสร้างความเข้มแข็งให้แรงงานข้ามชาติในการปกป้องตนเองจากการกดขี่ของนายจ้าง

การทำงานของนายอานดี้ ฮอลล์ และนักสิทธิมนุษยชนคนอื่นๆ เรื่องห่วงโซ่อุปทาน มีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย และครอบครัวของพวกเขาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งยังก่อให้เกิดประโยชน์กับผู้บริโภคสินค้าไทยที่ส่งออกไปยังต่างประเทศที่ต้องการความมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ตนซื้อจากประเทศไทยนั้นมีการผลิตในลักษณะที่เคารพสิทธิมนุษยชน งานศึกษานี้ควรจะได้รับการยกย่องจากรัฐบาลไทย มิใช่การลงโทษทางอาญา

เราขอให้ประเทศไทยเริ่มดำเนินการปฏิบัติตามข้อเรียกร้องต่างๆ ตั้งแต่บัดนี้ เพื่อสร้างความมั่นใจว่านักสิทธิมนุษยชนและแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยจะได้รับการคุ้มครอง ดังนี้
1. ยกเลิกบทบัญญัติความผิดอาญาฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา
2. แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงออก
3. ดำเนินการตามปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UN Declaration on Human Rights Defenders) อย่างแข็งขันและมีประสิทธิภาพ
4. ให้สัตยาบันและดำเนินการตามอนุสัญญาด้านแรงงานหลักๆ ของขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญาฉบับที่ 87 (เสรีภาพในการสมาคม) และฉบับที่ 98 (การร่วมเจรจาต่อรอง)

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา

ขอแสดงความนับถือ

1 American Federation of Labor-Congress of Industrial Organizations
Cathy Feingold, Director of International Affairs
2 Amnesty International
3 Anti-Slavery International
Aidan McQuade, Director
4 Attac Finland
Omar El-Begawy, President
5 Australia Asia Worker Links
Pier Moro, Secretary
6 Australian Council of Trade Unions
Ged Kearney, President
7 Axfood
Åsa Domeij, Head of Environmental & Social Affairs
8 Axfoundation
Carolina Sachs, Secretary General
9 Building and Woodworkers International
Ambet Yuson, General Secretary
10 Burma Campaign UK
Mark Farmaner, Director

11 Business & Human Rights Resource Centre
Bobbie Sta. Maria, Senior Researcher & Representative for Southeast Asia
12 California Institute for Rural Studies
Gail Wadsworth, Executive Director
13 Center for Alliance of Labor and Human Rights – CENTRAL
Tola Moeun, Executive Director
14 Child Labor Coalition
Reid Maki, Coordinator
15 Civil Rights Defenders
Robert Hård, Executive Director
16 Coalition of Immokalee Workers
17 Comite de Apoyo a los Trabajadores Agricolas (CATA)
Jessica Culley
General Coordinator
18 Concordia
Matthew Swift, Co-Founder & CEO
19 Consumers’ Union of Finland
Juha Beurling, Secretary General
20 Coop Sweden
Louise König, Sustainability Manager

21 Dalit Solidarity Network Finland
Minna Havunen, Chair
22 Electronics Watch
Björn Claeson, Director
23 Environmental Justice Foundation
Steve Trent, Executive Director
24 Ethical Trading Initiative
Peter McAllister, Executive Director
25 Dame Glenis Willmott
MEP, Leader of the European Parliamentary Labour Party
26 Jude Kirton-Darling
MEP, European Parliament
27 Heidi Hautala
MEP, European Parliament
28 Sirpa Pietikäinen
MEP, European Parliament
29 Liisa Jaakonsaari
MEP, European Parliament
30 Merja Kyllönen
MEP, European Parliament

31 Miapetra Kumpula-Natri
MEP, European Parliament
32 Nils Torvalds
MEP, European Parliament
33 Pirkko Ruohonen-Lerner
MEP, European Parliament
34 EuroPoultry
Mikael Kristensen, Owner
35 Fair Action
Ulrika Urey, Director
36 Fair World Project
Kerstin Lindgren, Campaign Director
37 Fairfood International
Sander de Jong, Managing Director
38 Farmworker Association of Florida
Antonio Tovar
39 Finn Church Aid
Jouni Hemberg, Executive Director
40 Finnish Food Workers’ Union SEL
Veli-Matti Kuntonen, Union Chairperson

41 Finnish League for Human Rights
Kaari Mattila, Secretary General
42 Finnish Metalworkers´ Union
Riku Aalto, President
43 Finnwatch
Sonja Vartiala, Executive Director
44 FishWise
Tobias Aguirre, Executive Director
45 Food Chain Workers Alliance
Joann Lo, Co-Director
46 Fortify Rights
Amy Smith, Executive Director
47 Freedom Fund
Audrey Guichon, Senior Program Officer
48 Frontline Defenders
Andrew Anderson, Executive Director
49 Giant Eagle
Richard Castle, Director of Seafood
50 Global Witness
Ben Leather, Campaigner

51 Green America
Todd Larsen, Executive Co-Director for Consumer & Corporate Engagement
52 Greenpeace Southeast Asia
Yeb Sano, Executive Director
53 Hazards Magazine
Rory O'Neill, Editor
54 Human Rights at Sea
David Hammond, CEO
55 Human Rights Now
Kazuko Ito, Secretary General
56 Human Rights Watch
Brad Adams, Asia Director
57 Humanity United Action
Ame Sagiv, Investments Manager
58 Hy-Vee Food Stores Inc.
Greg Frampton, V.P. Meat and Seafood Operations
59 Industrial Union TEAM
Heli Puura, President
60 IndustriALL Global Union
Valter Sanches, General Secretary

61 International Federation of Journalists
Anthony Bellanger, General Secretary
62 International Labor Rights Forum
Judy Gearhart, Executive Director
63 International Solidarity Foundation
Miia Nuikka, Executive Director
64 International Trade Union Confederation
Sharan Burrow, General Secretary
65 International Transport Workers’ Federation
Stephen Cotton, General Secretary
66 International Union of Food, Agricultural, Hotel, Restaurant, Catering, Tobacco and Allied Workers' Associations (IUF)
Ron Oswald, General Secretary
67 Irish Congress of Trade Unions
Patricia King, General Secreatry
68 Kepa
Timo Lappalainen, Executive Director
69 KISA - Action for Equality, Support, Antiracism
Doros Polykarpou, Executive Director
70 Labor Safe Screen and Sustainability Incubator
Katrina Nakamura, Founder

71 Lawyers' Rights Watch Canada
Gail Davidson, Executive Director
72 Laundry Workers Center
73 Martin&Servera
AnnaLena Norrman, Chief Sustainability & Quality Officer
74 Migrant Workers Rights Network
Sein Htay, President
75 Multicultural Center Prague
Marek Canek, Executive Director
76 National Consumers League
Sally Greenberg, Executive Director
77 National Guestworkers Alliance
Jacob Horwitz, Lead Organizer
78 Norvida
Calle Ramvall, Quality and Environmental Director
79 NYU Stern Center for Business and Human Rights
Sarah Labowitz and Michael Posner, Co-directors
80 Olof Palme International Center
Jens Orback, Secretary General

81 Pioneer Valley Workers Center
Gabriella della Croce, Development Coordinator & Community Organizer
82 Platform for International Cooperation on Undocumented Migrants
Michele LeVoy, Director
83 Pro Ethical Trade Finland
Anna Ylä-Anttila, Acting Executive Director
84 Restaurant Opportunities Centers United (ROC)
Fekkak Mamdouh, Co-Director
85 S Group
Lea Rankinen, Senior Vice President Sustainability and Corporate Responsibility
86 Service Union United PAM
Ann Selin, President
87 Slave Free Seas
Craig Tuck, Founder and Director
88 Social Accountability International (SAI)
Jane Hwang, President & CEO
89 Stop The Traffik Australia
Carolyn and Fuzz Kitto, Co-Directors
90 Svensk Cater
Lars Carlsson, CEO

91 Swedwatch
Alice Blondel, Director
92 Teamsters Joint Council 7
Doug Bloch, Political Director
93 Tehy – The Union of Health and Social Care Professionals in Finland
Rauno Vesivalo, President
94 Tenaganita
Glorene A Das, Executive Director
95 The Finnish NGDO Platform to the EU Kehys
Rilli Lappalainen, Secretary General
96 The Swedish Foundation for Human Rights
Jenny Jansson Pearce, Secretary General
97 The Trade Union for the Public and Welfare Sectors JHL
Päivi Niemi-Laine, President
98 Trade Union Pro
Jorma Malinen, President
99 Trade Union Solidarity Centre of Finland SASK
Janne Ronkainen, Executive Director
100 Trades Union Congress
Frances O’Grady, General Secretary

101 Transient Workers Count Too
John Gee, Chair, Research Sub-Committee
102 Tuko Logistics
Pirjo Heiskanen, Quality Assurance Manager
103 UNI Global Union
Philip Jennings, General Secretary
104 Unil
Julie Haugli Aarnæs, Manager Sustainable Sourcing
105 Union to Union
Kristina Henschen, General Secretary
106 Uniting Church in Australia, Synod of Victoria and Tasmania
Mark Zirnsak, Justice & International Mission
107 Verité
Shawn MacDonald, CEO
108 Walk Free
Joanna Ewart-James, Director
109 Wegmans Food Markets
Carl P. Salamone, V.P. Seafood Sustainability
110 Worker Justice Center of New York
Lewis Papenfuse, Executive Director


เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
ผิดหมิ่นประมาท-พ.ร.บ.คอม ศาลสั่งจำคุก'นักสิทธิแรงงานข้ามชาติ' 3 ปี ปรับแสนห้า รอลงอาญา 2 ปี