วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 03, 2559

คลิป "ลูกชาวนา" บก.ลายจุด (speaker) ได้เวลาช่วยพ่อ - ทางออกวิกฤตราคาข้าว 2559 (ธุรกิจขายข้าวสารของไทย พัฒนาต่อเนื่องมาหลายสิบปี อยู่ๆจะให้ชาวนาแข่งกับเอกชนในทางธุรกิจ จะไหวเหรอ)




https://www.youtube.com/watch?v=pzHL-mRHjW4

"ลูกชาวนา" บก.ลายจุด (speaker) ได้เวลาช่วยพ่อ - ทางออกวิกฤตราคาข้าว 2559


monkix


Published on Nov 1, 2016

เวทีประชุมเตรียมความพร้อม "ลูกชาวนา" ซับน้ำตา พ่อแม่
วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม 2559 เวลา 13:00 - 16:00
ณ ห้อง 5403 อาคารปฏิบัติการ (อาคาร 5)
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

------

สถานการณ์ที่ชาวนาไทยเผชิญอยู่ในเวลานี้นั้นหนักหนามาก เพราะพี่น้องชาวนาตกอยู่ในกลไกการตลาดที่แทบไม่มีทางเลือก ความจำเป็นทางการเงินบวกกับการขาดสถานที่เก็บ และไม่มีช่องทางการตลาด ทำให้ชาวนาส่วนมากต้องขายข้าวที่มีความชื้นสูงทันทีหลังการเก็บเกี่ยว และขายพร้อมๆ กันในช่วงเวลาที่ข้าวออกมามาก ราคาข้าวที่ชาวนาได้รับจึงต่ำมาก จนฟังแล้วหมดแรงหมดกำลังใจ
เราจึงต้องการช่องทางการตลาดแบบใหม่ๆ และผู้ประกอบการรายใหม่ๆ ที่จะช่วยส่งมอบผลิตภัณฑ์ข้าวจากชาวนาไปถึงผู้บริโภคที่อยู่รอบๆ ตัวเขา เพราะส่วนต่างระหว่างราคาข้าวเปลือกในตลาดที่ 6-10 บาท/กก. กับราคาข้าวสารในตลาดที่ 20-50 บาท/กก. (แล้วแต่คุณภาพของข้าวและกลยุทธ์ทางการตลาด ทั้งนี้ มิได้กล่าวถึงข้าวพรีเมี่ยมในตลาดเฉพาะ) ในขณะนี้ ยังเพียงพอที่จะให้ผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาแข่งขัน โดยช่วยซื้อข้าวเปลือกจากชาวนาในราคาที่สูงกว่าตลาด เช่น ข้าวขาวที่ 8 บาท/กก. ข้าวหอมมะลิที่ 15 บาท/กก. แล้วยังมีผลตอบแทนเหลืออยู่บ้าง
-------------
สรุปจากทาง Voice TV: http://news.voicetv.co.th/business/42...

ติดตาม ความเคลื่อนไหว ทาง facebook:
https://www.facebook.com/%E0%B8%A5%E0...

...




ooo





"ในวงการข้าว ระบบการสีข้าว ระบบการขายข้าว มันพัฒนามาหลายสิบปี เราจะสังเกตได้ว่า ข้าวไทยส่งออกได้ราคากว่าคู่แข่งเพราะคุณภาพโรงสีเราดีกว่า การที่วันดีคืนดีจะให้ชาวนามาแข่งกับเอกชนพวกนี้ ในทางธุรกิจมันไม่มีทางสู้"

___________________

“คนจำนวนมากเชื่อว่าธุรกิจข้าวคือธุรกิจทำกำไร ส่วนหนึ่งจะรู้สึกว่าราคาข้าวเปลือกต่างกับราคาข้าวสารมาก มันมีส่วนต่างพอสมควร แต่ต้องเกริ่นว่า เวลาสีข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร คุณจะได้ข้าวสารประมาณครึ่งเดียว ถ้าต้นทุนข้าวเปลือกอยู่ที่10 บาท ต้นทุนข้าวสารจะเพิ่มเท่าตัวเป็น 20 บาท และเอกชนยังมีกระบวนการส่งต่อข้าว มีค่าใช้จ่ายหรือกำไรที่ต้องแบ่งให้คนกลางห้างร้านจำนวนหนึ่ง

หากเกษตรกรทำเอง ส่วนหนึ่งจะตัดขั้นตอนอะไรบางอย่างได้ แต่โดยทั่วไปประสิทธิภาพจะแย่กว่าในทุกขั้นตอน

เริ่มจากการสีข้าว ถ้าคุณมีโรงสีคุณภาพสูง คุณอาจจะสีข้าวเปลือก 1 ตัน ได้ข้าวสาร 700 กิโลกรัมโดยประมาณ แต่หากเป็นโรงสีข้าวคุณภาพไม่ดีอาจจะได้เพียง 400 ถึง 500 กิโลกรัม นั่นคือความแตกต่าง แน่นอนว่าคุณได้ข้าวสารน้อยแต่ได้ปลายข้าวเยอะ แต่ราคามันก็ไม่ดี

หาก 20 – 30 ปีก่อน เราจะพบว่า เจอกรวด เจอสิ่งแปลกปลอมเวลาทานข้าว โรงสีปัจจุบันนั้นพัฒนาขึ้นมาเยอะมาก ทุกวันนี้เราแทบจะเอาข้าวออกจขากถุงใส่หม้อหุงได้เลย ทั้งที่ในอดีตเราต้องมาเลือกนั่งแยกเศษกรวดก่อน

โรงสีทุกวันนี้มีเครื่องยิงสี ข้าวที่สีดำหรือมีท้องไข่ถูกยิงทิ้งหมด เฉพาะเครื่องพวกนี้ราคาเป็น 10 ล้านบาทแล้ว ฉะนั้นถ้าเกษตรกรทำเองหรือใช้โรงสีชุมชน คุณภาพจะสู้ข้าวถุงตามท้องตลาดไม่ได้ วิธีหนึ่งที่อาจช่วยได้คือ ไปตกลงกับโรงสี ซึ่งโรงสีเมืองไทยมีกำลังผลิตเกินอยู่แล้ว ก็ตกลงจะนำข้าวไปสี ล็อตละ 5 ตัน 10 ตันก็ว่าไป อาจช่วยแก้ปัญหานี้ได้ซึ่งไม่ต้องไปลงทุนเครื่องสีข้าวเอง ซึ่งอาจได้ข้าวที่คุณภาพไม่ดีพอจะแข่งในตลาด

เกษตรกรที่ทำโดยวิธีนั้นก็หมายความว่า เค้าต้องมีคนซื้อที่ยอมรับคุณภาพที่ต่ำกว่าข้าวถุงในตลาด ก็คงมีคนจำนวนหนึ่งที่ตั้งใจจะช่วยชาวนาและซื้อสินค้านี้ หากจะทำเค้าต้องมั่นใจว่าจะมีคนซื้อ เพราะเค้าไม่สามารถไปแข่งกับข้าวตามห้างสรรพสินค้า แม้แต่ข้าวกระสอบที่แบ่งขายคุณภาพอาจจะดีกว่าที่เกษตรกรทำกันเอง

การขายเองผ่านออนไลน์จะมีปัญหาพอสมควร ปัญหาของข้าวสารคือน้ำหนัก หากคุณขายผ่านไปรษณีย์ จะต้องเสียค่าขนส่งสูงมาก หากคุณภาพสู้ไม่ได้ด้วยจะยิ่งเป็นปัญหา

วิธีหนึ่งจากทีมของอาจารย์เดชรัต (ดร.เดชรัต สุขกำเนิด ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์) พยายามใช้เครือข่ายนักศึกษากระจายข้าว แต่ถ้าจะทำเป็นเรื่องเป็นราว อย่างกรณี คุณสมบัติ บุญงามอนงค์ เค้าจะจ้างแท๊กซี่นำข้าวใส่ท้ายรถหลายกระสอบ ลูกค้าที่อยู่บนเส้นทางที่แท๊กซี่ผ่านก็จะแวะส่งข้าวให้ เพราะถ้าคุณต้องจ้างแท๊กซี่ไปส่งทีละบ้านนั้นไม่คุ้มแน่

หากจะขายทั่วไปคุณต้องคิดรายละเอียดเยอะมาก เพราะจะไม่มีหน้าร้านขาย ต่อให้มีหน้าร้านก็อาจมีปัญหาคุณภาพแย่กว่า ต้องขายในราคาต่ำกว่า ซึ่งจริงๆเค้าต้องการขายต่ำกว่าอยู่แล้ว แต่สำหรับผู้บริโภคทั่วไป หากต่ำกว่าไม่มากเค้าอาจไม่ซื้อ

เกษตรกรบางกลุ่มที่มีการรวมกลุ่มเข้มแข็ง มีกลุ่มที่ดีอยู่แล้ว อาจมีศักยภาพที่จะทำอะไรแบบนี้ แต่ของพวกนี้ไม่ได้เป็นคำตอบสำหรับเกษตรกรส่วนใหญ่ วงการข้าว ระบบการสีข้าว ระบบการขายข้าวมันพัฒนามาหลายสิบปี เราจะสังเกตได้ว่า ข้าวไทย เวียดนาม อินเดีย ข้าวไทยส่งออกได้ราคากว่า เพราะคุณภาพโรงสีเราดีกว่า การที่วันดีคืนดีจะให้ชาวนามาแข่งกับเอกชนพวกนี้ ในทางธุรกิจมันไม่มีทางสู้ บางรายอาจสามารถทำแล้วมีตลาดของตัวเอง เช่นเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ส่งไปต่างประเทศอาจได้ราคาดี แต่ไม่ใช่ทุกคนทำแล้วจะได้ราคาดี รวมทั้งทุกคนทำแล้วจะสามารถทำได้อย่างมีคุณภาพ”

___________________

ดร. วิโรจน์ ณ ระนอง
ผู้อำนวยการวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการเกษตร
มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

ที่มา

Urachai Sornkaew