วันเสาร์, พฤศจิกายน 19, 2559

โครงการผังแม่บทฟื้นฟูย่านเจริญกรุง ได้รับรางวัล Highly Commended หมวดผังแม่บทในอนาคตจากเวที World Architecture Festival 2016 ที่เบอร์ลิน





โครงการผังแม่บทฟื้นฟูย่านเจริญกรุง ได้รับรางวัล Highly Commended หมวดผังแม่บทในอนาคตจากเวที World Architecture Festival 2016 ที่เบอร์ลิน

Story Credit: Ton Kumchoke's twit

ooo


World Architecture Festival Shortlist for 2016 awards revealed



https://www.youtube.com/watch?v=nIdBplh7SB0

Boris Leibman

Published on Sep 11, 2016
Foster + Partners, Zaha Hadid Architects and Rogers Stirk Harbour are just a few of of the renowned architectural practices to be shortlisted for awards at the 2016 World Architecture Festival (WAF)

ooo


พบกับโครงการสำหรับอนาคตที่ล้ำสมัยที่สุดในโลกได้ที่ WORLD ARCHITECTURAL FESTIVAL ณ กรุงเบอร์ลิน





โดย เกริก บุณยโยธิน
ที่มา http://propholic.com/prop-globe/พบกับโครงการสำหรับอนาค/


งานอีเว้นท์ประจำปีงานนี้ปัจจุบันได้ทำการเปิดเผยผู้มีสิทธ์ได้รับรางวัล The Experimental Future Projects award แล้ว และตึกที่ได้ติดโผเข้าไปนั้นล้วนแล้วแต่มีความลึกซึ้งทางด้านการออกแบบและความล้ำสมัยอยู่เต็มเปี่ยม

ตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา เหล่าสถาปนิกระดับโลกได้รับการติชมและจัดอันดับในงาน World Architectural Festival ซึ่งเป็นงานประจำปีที่พุ่งความสนใจไปยังโครงการสุดยอดที่ยังไม่เคยมีมาก่อนของนานาประเทศ แต่ละปีสถาปนิกจะได้ร่วมเข้าแข่งขันเพื่อชนะรางวัลใดรางวัลหนึ่งจากทั้งหมด 31 ประเภท มีตั้งแต่ Best Completed Mixed-Use Structure ไปถึง Best Proposed Civic Building ที่ผ่านมาในอดีตผู้ชนะเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงอย่าง Snøhetta, Zaha Hadid Architects และ Bjarke Ingels Group ในปีนี้งาน World Architectural Festival จะจัดขึ้นที่กรุงเบอร์ลินตั้งแต่วันที่ 16-18 พฤษจิกายน โดยจะมีสถาปนิกประมาณ 3,000 คนมารวมตัวที่เมืองหลวงของประเทศเยอรมันเพื่อพบปะแลกเปลี่ยนความคิด และเพื่อรับชมการแจกรางวัล โผรายชื่อผู้ที่มีสิทธ์ชนะได้รับการเปิดเผยแล้วเมื่อเร็วๆนี้ และที่นี่เราจะให้ผู้เข้าแข่งขันมาแสดงความสามารถ หรือจุดเด่นของตนใน Experimental Future Projects หรือโครงการทดลองสำหรับอนาคต ซึ่งเป็นสาขาที่ได้รับการรอชมมากที่สุด และโครงการของทั้ง 8 ผู้เข้าชิงนั้นได้ครอบคลุมสถานที่ตั้งแต่ประเทศโปแลนด์ไปถึงประเทศจีน





1/8

Costa Rica Congress Hall ใน San Jose ประเทศ Costa Rica เป็นการออกแบบในรูปแบบอนาคตโดย Caza Architects ที่จริงแล้วได้แสดงความเคารพต่ออดีตของ South America ด้วยการผสมผสานการออกแบบเรขาคณิตให้เข้ากับธรรมชาติในแบบของศิลปะสมัยใหม่สไตล์เขตร้อน – cazarch.com





2/8

ตึกมหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้รับการเสนอโดย Desitecture Edudrome ซึ่งเป็นการออกแบบมาเพื่อตอบสนองต่อการเพิ่มขึ้นของผู้มาสมัครเรียนที่ London’s Ravensbourne University ทางบริษัทได้คิดค้นรูปแบบตึกที่สามารถเพิ่มหรือลดสัดส่วนได้อย่างง่ายโดยไม่ต้องผ่านการปรับเปลี่ยนที่สิ้นเปลืองเวลาและงบประมาณ





3/8

Osteon Cumulus ใน Wuxi ประเทศจีน ออกแบบโดย Desitecture เมืองแนวตั้งแห่งนี้ซึ่งมองดูเหมือนป่าลอยได้นั้น ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ทิ้งร่องรอยของคาร์บอนให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยในขณะเดียวกันก็สามารถเป็นบ้านของผู้อยู่อาศัยมากมาย – desitecture.co.uk





4/8

ปั๊มน้ำมันในอนาคต ณ กรุงวอร์ซอว์ ประเทศโปแลนด์ ออกแบบโดยบริษัท KAMJZ Architects รูปแบบโครงสร้างของปั้มน้ำมันทั่วโลกนั้นไม่เคยเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ปี 1980s เป็นต้นมา ทาง KAMJZ Architects จึงเชื่อมั่นว่ามันถึงเวลาแล้วที่สถานที่แห่งนี้จะต้องวิ่งให้ทันกับยุคสมัยและทำการปฏิวัติสถานที่เติมพลังของรถเราเสียใหม่ – kamjz.com





5/8

Berlin Walls ในกรุงเบอร์ลิน ออกแบบโดยบริษัทที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ชื่อ Le Quang Architect การออกแบบนี้ต้องการทำเพื่อตอบสนองต่อวิกฤตผู้ลี้ภัยในยุโรป โดยบริษัทได้เสนอรูปแบบบ้านที่สร้างได้ง่ายด้วยฝีมือของชาวท้องถิ่นหรือผู้ลี้ภัยเอง เพื่อช่วยในการย้ายที่อยู่และสร้างความคุ้นเคยกับที่อยู่แห่งใหม่ให้แก่ผู้ลี้ภัย บ้านรูปแบบนี้สามารถรื้อถอนได้อย่างรวดเร็วหากผู้ลี้ภัยได้งานประจำหรือบ้านเป็นหลักแหล่งแล้ว – lequang-architect.com





6/8

The Emperor’s Dress หรือแปลเป็นไทยได้ว่า ชุดของจักรพรรดิ ตั้งอยู่ที่ Brunico ประเทศอิตาลี สร้างโดย Network of Architecture มีความสูงจากพื้นถึง 115 ฟุต โครงสร้างไม้นี้ได้ทำเลียนแบบหอคอยที่เคยตั้งอยู่ในจุดเดียวกันเมื่อต้นทศวรรษที่ 20 สร้างโดย Emperor Franz Joseph I ของออสเตรีย โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นที่ให้ทหารวางแผนการรบหรือป้องกันดินแดนโดยรอบ หลังจากนั้นได้กลายมาเป็นสถานที่รวมตัวกันของเหล่านักกวีและจิตรกรก่อนที่จะถูกทำลายลงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 – noa.network/en





7/8

The Tree House หรือ “บ้านต้นไม้” โดย Rogers Stirk Harbour + Partners นี้ สามารถสร้างขึ้นที่ไหนก็ได้ในโลก โดยคอนเซ็ปของที่นี่ได้ถูกออกแบบมาให้เป็นบ้านราคาประหยัดที่สร้างได้ง่ายและรื้อถอนได้ง่ายเช่นเดียวกันหากจำเป็น และยังมีรูปลักษณ์ที่ช่วยเพิ่มสีสันและชีวิตชีวาให้กับเส้นขอบฟ้าของบริเวณโดยรอบอีกด้วย – rsh-p.com





8/8

Beach Hut หรือ “กระท่อมชายหาด” ในประเทศสิงคโปร์ โดย Spark Architects นี้ ถูกออกแบบมาสำหรับสร้างบริเวณชายฝั่งทะเล โดยสร้างขึ้นจากเศษพลาสติกที่ถูกทิ้งไว้ตามหาดทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ละกระท่อมนั้นจะบรรจุแผ่นโซลาเอาไว้เพื่อให้พลังงานแก่ไฟ LED ที่จะทำให้สิ่งนี้ส่องสว่างขึ้นในยามค่ำคืน ผู้ที่คิดค้นหวังเอาไว้ว่านักท่องเที่ยวตามชายหาดจะสนุกไปกับแสงสีต่างๆและได้เรียนรู้เกี่ยวกับอันตราย และผลกระทบของมลพิษทางทะเล – sparkarchitects.com


Source: http://www.architecturaldigest.com/gallery/worlds-most-innovative-future-projects-world-architectural-festival-berlin

ooo

เพลงในคลิป....

When Darkness Comes Against Me


By Jan Boyle