วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 10, 2559

ทรัมพ์ชนะ ส่งผลอะไร และชนะได้ไง




A map from Atlas of Prejudice: The Complete Stereotype Map Collection


ทรัมพ์ชนะ ส่งผลอะไร

เอาในเมืองไทยก่อนนะ พวกเกลียดอเมริกา เกลียดประชาธิปไตยฝรั่ง จะตีปีกพั่บๆ ใช่เลย อเมริกายุคทรัมพ์คงสนใจสิทธิมนุษยชน เสรีภาพ ประชาธิปไตย ในสังคมโลก ในเมืองไทย น้อยลง หันไปมองผลประโยชน์ตัวเองเป็นใหญ่

แต่ขณะเดียวกัน ก็ไม่ใช่ทรัมพ์จะหวนมาโอ๋ไทยแบบยุคสงครามเย็น เพราะทรัมพ์ไม่ได้ให้ความสนใจอะไรกับเมืองไทย ถ้าย้อนไปดูแผนที่ตาม “มโน” ของทรัมพ์ ไทย พม่า ลาว เวียดนาม เขมร คือ MEH (ไม่มีหง่าอะไรให้สนใจเลย) (ขอบคุณข้อมูลจาก Pipob Udomittipong)

https://atlasofprejudice.com/the-world-according-to-donald-…

กระนั้น ในขณะที่พวกเกลียดประชาธิปไตยดีอกดีใจ ที่กระแสวิพากษ์เผด็จการจากฟากอเมริกาลดลง แต่เรื่องใหญ่กว่าก็คือปัญหาเศรษฐกิจ ที่เศรษฐกิจโลกปั่นป่วนแน่ และทรัมพ์จะดำเนินนโยบายกีดกันการค้า ทำให้ส่งออกไปอเมริกาลดลง

เรื่องหลังนี้ส่งผลมากกว่าสิทธิมนุษยชนอีกนะครับ แบบว่าการต่อสู้ประชาธิปไตยขึ้นกับปัจจัยภายในมากกว่าภายนอก และการเมืองมีพื้นฐานจากเรื่องปากท้อง ปัญหาปากท้องทำให้ทรัมพ์ชนะ และยุค คสช.ที่คนบ่นกันมากที่สุดก็เรื่องปากท้องนี่ละ

A modern Icarus, Trump thinks he’s a butterfly that can cause a hurricane. The problem is he can’t fly







A map from Atlas of Prejudice: The Complete Stereotype Map Collection

You know there must be a video of Hillary Clinton hysterically laughing hidden somewhere in the digital vaults of her campaign headquarters. There’s no other way a leading Democratic candidate could have reacted to the news that Donald Trump wants to ban all Muslims from entering the US. This comment finally disqualified him from the race by insuring a split in the Republican vote. Even though there may be a pundit or two who would just for the sport insist Trump still has a chance, the real estate mogul is a political corpse in a rapid state of decay.

He brought this to himself. Everybody with a brain should have arrived to this conclusion months earlier after Trump, in a fit of exalted insanity, declared that the majority of the Mexican immigrants in the US were rapists. Then again, American society has a high tolerance towards insults to people south of the border. So Trump got away with it and the media continued to use him as clickbait, boosting his popularity to hysterical levels.

If he was truly a savvy politician, he would have recognized this as opportunity, toned down his rhetoric, and let the slowly fading echo of his outrageous past remarks carry him to the finale. Alas, this requires strategic vision that few narcissists are capable of. So it was inevitable that at some point Trump was going to cross the same line that he kept moving further and further.

This moment came when with a single hair flick Trump declared that 1.6 billion Muslim people were a security threat. Each and every one of them! Was he aware of that number? Did he count? Perhaps the pampered mentality of the American rich made him forget that sometimes irresponsible domestic rhetoric can reverberate across the globe? He certainly hinted at such a possibility when he compared his idea to Roosevelt’s Japanese solution. Perhaps Trump’s calendar is still stuck in 1942 when local radio was all the rage? In the meantime, in a less shocking parallel universe, Ann Coulter was running for general secretary of the United Nations.

Finally the media that used Trump so effectively suddenly realized it had created a monster. World leaders gasped in disbelief. Even unapologetic hawks like Dick Cheney and Benjamin Netanyahu felt the urge to openly criticize him. As usual, all kinds of comparisons with Hitler splashed all over the Internet like a viral tsunami.

But the real question is does Trump deserve all the attention he’s been blasted with? He’s no Hitler. Not because he doesn’t have a weird mustache but because America is not Weimar Germany. Yes, some toothless trailer folks are frustrated with the government but that’s hardly a good reason to propel such a dilettante to the front porch of the White House. Trump, like so many other charlatans, is out of sync with the modern era of instant gratification and superficial outrage. There’s a difference between what people protest about and what they are willing to defend. Mark Zuckerberg knows it all too well. Half the planet has been threatening to leave Facebook for good and failed to keep its promise.

It’s time to face things as they really are: Trump, for all his potential as a shrewd businessman, actually possesses the mentality of a rural alcoholic whose only experience with political debate starts and ends at a local pub.

If you’re a bit more sentimental and forgiving, you can picture him as that racist uncle you still care about because deep in his heart he’s a “good person.” Being an idiot excuses you from idiotic actions. Being a clever person acting like an idiot, doesn’t. Whatever the case, Trump is not someone who should spend even a single night at the White House. Not even if he had too much wine after Hillary Clinton’s inauguration party.

ooo

ทรัมพ์ชนะได้ไงและทรัมพ์ชนะส่งผลอะไร





อ่าน อ.สิริพรรณด้วยนะครับ วิเคราะห์ได้รอบด้านดีมาก

‘รศ.ดร.สิริพรรณ’ วิเคราะห์เลือกตั้งศึกช็อกโลก ทำไมคนสหรัฐฯเลือก’ทรัมป์’?
http://www.matichon.co.th/news/354045

บอกก่อนว่าผมยังมองว่าฮิลารีชนะดีกว่า แต่ก็ไม่ได้เสียใจ และเข้าใจ ไม่ได้มองแง่ลบทั้งหมด รวมทั้งไม่ได้เซอร์ไพรส์ เพราะเชื่อมาตลอดว่าคนเลือกทรัมพ์ไม่อยู่ในโพลล์ ไม่สนใจดีเบต ไม่ฟังสื่อ

ชัยชนะของทรัมพ์ชี้ขาดโดยชนชั้นแรงงานผิวขาว (ฝรั่งบ้านนอก ถ้าดูตามแผนที่จะเห็นชัด) ซึ่งมี 2 ด้านอยู่ด้วยกัน ด้านหนึ่งคือปัญหาปากท้อง คนตกงาน จากวิกฤติเศรษฐกิจและความเหลื่อมล้ำ จนทำให้เบื่อหน่ายสถาบันทางการเมืองเดิมๆ ชนชั้นนำทางการเมือง ธุรกิจ ที่ครอบงำ 2 พรรคใหญ่ จึงหันไปนิยมทรัมพ์ที่แหกคอกนอกระบบ อีกด้านหนึ่งก็เป็นความกลัวภัยก่อการร้าย กลัวผู้ลี้ภัย กลัวมุสลิม ผู้อพยพ แรงงานต่างด้าว ที่จะมาแย่งงาน ไม่ต้องการให้อเมริกาออกมายุ่งกับโลกมากนัก หันไปสนใจผลประโยชน์ภายในมากกว่า

คือมันมีทั้งด้านที่เป็นประชาธิปไตยรากหญ้า และกระแสลมเอียงขวาหวนกลับ มีด้านที่อยากให้ลดความเหลื่อมล้ำ อยากเห็นทรัมพ์แหกระบบที่อยู่ใต้นายทุนวอลสตรีท แต่ขณะเดียวกันก็มีด้านที่ลดคุณค่าทางสิทธิมนุษยชนลง เพราะความเห็นแก่ผลประโยชน์และความปลอดภัยของตน

เพียงแต่ผมยังไม่เชื่อว่าจะเป็นลดคุณค่าถึงขั้นกลับไปเหยียดผิว เพราะการอยู่ร่วมกันของคนขาวคนดำมันแทบจะเป็นปกติแล้วในสังคมอเมริกัน มันเป็นการปฏิเสธเฉพาะกลุ่ม เช่น ผู้ลี้ภัยมุสลิมหรือแรงงานเม็กซิกัน (ซึ่งเผลอๆ คนดำก็ปฏิเสธด้วย) ที่ผ่านมา 8 ปี คนอเมริกันก็ยอมรับโอบามา แม้อาจมีกระแสลมหวนกลับเรื่องนี้บ้างก็ไม่ใช่กระแสหลัก ส่วนเรื่องเหยียดเพศ ไม่เอาผู้หญิง ผมว่าฮิลารีเธอไม่มีจุดเด่นซะมากกว่า ไม่มีอะไรใหม่ ไม่เฉียบคมเหมือนโอบามา มาในมาดคุณนายสลิ่ม ตัวแทนการเมืองเชิงสถาบัน ซ้ำยังมีแผล จึงไม่ชนะใจคน (ประกอบกับคนรุ่นใหม่ไม่พอใจที่เบอร์นี แซนเดอร์ส ซึ่งนโยบายโดดเด่นกว่ากลับพ่ายแพ้เพราะพรรคให้ท้ายฮิลารีมาแต่ต้น)

มองในแง่ก้าวหน้า "ประชาธิปไตยทุนนิยม" มาถึงจุดที่ต้องปรับเปลี่ยน เพราะไม่สามารถแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ เกิดวิกฤติซ้ำแล้วซ้ำเล่า แม้ในท้ายที่สุด ทรัมพ์อาจไม่ใช่คำตอบ (ผมยังยืนยันว่าเป็นคำตอบทื่ผิดเพี้ยน แต่คนไม่มีทางเลือก) แต่ก็จะทำให้เกิดการเขย่าระบบ ไม่ว่าทรัมพ์สำเร็จหรือล้มเหลว ทิศทางก็จะไปสู่ประชาธิปไตยที่สนองตอบผลประโยชน์ประชาชนมากขึ้น กระจายทรัพยากรมากขึ้น เป็นเช่นนี้ทั่วโลก เช่นในยุโรป ผลการเลือกตั้งหลายแห่งปฏิเสธพรรคการเมืองเก่า สถาบันทางการเมืองแบบเก่าๆ

เพียงแต่อีกด้านหนึ่ง มันสะท้อนออกมาในรูปของการเอาผลประโยชน์ตัวเองก่อน เอาตัวรอดก่อน แบบอังกฤษหวนหาการอยู่โดดเดียวเพราะเชื่อว่าตัวเองจะดีกว่า เช่นเดียวกับขวาใหม่ในอเมริกา นี่ไม่ใช่รีพับลิกันโยนสิทธิมนุษยชนทิ้งแล้วกลับไปมุ่งครองโลกเหมือนยุคสงครามเย็นนะครับ แต่กลับต้องการยุ่งกับคนอื่นน้อยลง เอาผลประโยชน์ตัวเองมาก่อน

ฉะนั้นมันจะเกิดความปั่นป่วนในระเบียบโลก ทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง เกิดการต่อสู้ขัดแย้งรอบใหม่ ทั้งในเรื่องการกระจายทรัพยากร การต่อรองผลประโยชน์ข้ามชาติ การต่อสู้เรื่องสิทธิมนุษยชน

กล่าวสำหรับทรัมพ์เอง ในอเมริกา ถ้าจะดำเนินนโยบายสุดโต่งถึงขั้นละเมิดสิทธิมนุษยชนก็ไม่ใช่ง่าย เพราะกลไกทางการเมืองสังคมไม่อนุญาตให้ทรัมพ์ใช้ ม.44 แถมคน 2 ฝ่ายมีจำนวนพอๆ กัน (คนส่วนใหญ่เลือกทรัมพ์เพราะปัญหาปากท้อง ไม่ใช่เห็นด้วยทุกอย่าง) แต่ถ้าเป็นเรื่องผลประโยชน์ทางการค้า เรื่องปากท้องคนอเมริกัน เรื่องการกระจายทรัพยากร (ถ้าทำจริง ไม่ใช่ยิ่งกลายเป็นทุนเป็นใหญ่) นั่นยังพอทำได้

ส่วนในกระแสโลก คงสับสนไปอีกช่วงใหญ่ โดยภาวะเศรษฐกิจ จะทำให้เกิดภาวะตัวใครตัวมันสูงขึ้น (ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ประเทศเล็กควรดีใจ) เกิดความปั่นป่วนในช่วงที่แต่ละประเทศต้องเปลี่ยนผ่าน มีการต่อสู้ระหว่างขวาใหม่กับประชาธิปไตยที่มีจุดอ่อน ในภาพรวมอาจไม่ดีนัก คือมันอาจเกิดการย่ำยีรังแกกันโดยไม่มีใครสนใจใคร แต่ในด้านกลับ เมื่ออยู่แบบตัวใครตัวมันสักพักก็จะตระหนักว่าต้องสร้างกติกาใหม่


Atukkit Sawangsuk