วันศุกร์, ตุลาคม 28, 2559

Stern สื่อเยอรมัน เขียนถึงการไว้ทุกข์ของประเทศไทย - Thailands fanatische Trauer um Bhumibol




Kronprinz Maha Vajiralongkorn und Thailand: Große Trauer um den verstorbenen Bhumibol

จาก Stern ของเยอรมัน เขียนถึงการไว้ทุกข์ของประเทศไทย (เผยแพร่โดย Junya Yimprasert)

#เพื่อศึกษาว่าสื่อนอกที่ไม่ถูกบังคับอวยเขียนถึงว่าอย่างไร



การไว้อาลัยอย่างสุดโต่งต่อการสวรรคตของกษัตริย์ภูมิพลในประเทศไทย

ประเทศไทยกลายเป็นทะเลแห่งน้ำตาหลังจากการเสด็จสวรรคตของกษัตริย์ภูมิพล ผู้คนนับล้านสวมชุดดำ แต่คนนับล้านก็ไว้อาลัยมากเกินไป บรรยากาศคุกรุ่น ใครไม่ไว้ทุกข์เหมือนกับคนอื่น จะใช้ชีวิตลำบาก

ท่ามกลางการจราจรอันติดขัดในช่วงโมงเร่งรีบในกรุงเทพ นศ 12 คน ก้มลงกับพื้นเพื่อกราบพระบรมฉายาลักษณ์ของกษัตริย์ภูมิพล หน้าพระบรมมหาราชวังผู้คนเป็นพันต่างเข้าแถวเพื่อถวายความอาลัยแก่พระองค์เป็นครั้งสุดท้าย หลายคนดวงตาแดงก่ำจากการร้องไห้อย่างหนัก ความทุกข์ต่อการสวรรคตของราชวงศ์พระองค์นี้แผ่ขยายครอบคลุมไปทั่วประเทศไทย ผู้คนหลายล้านพากันสวมชุดดำ ส่วนใครที่ไม่ได้สวมชุดสีมืดทึม จะตกเป็นเป้าสายตาในหมู่ชนที่พากันแต่งตัวไว้ทุกข์ปานประหนึ่งเป็นสิ่งแปลกปลอมของร่างกาย มันเป็นไปได้อย่างไรที่ในศตวรรษที่ 21 กษัตริย์อายุ 88 ปี ที่ป่วยเรื้อรังมาหลายปีและออกปรากฏตัวต่อสาธารณชนน้อยครั้งมากจะทำให้ผู้คนไม่อาจควบคุมอารมณ์โศรกเศร้าของตัวเองได้ถึงขนาดนี้?

“เขาสามารถมองลึกเข้าไปในดวงตาของสามัญชนคนธรรมดาและรับรู้เข้าใจปัญหาและการต่อสู้เพื่อปากท้องของคนคนนั้นได้” สมเถา สุจริตกุล นักเขียนและนักประพันธ์เพลงที่เติบโตในต่างประเทศกล่าว “ศาสนาที่สืบทอดมายาวนาน, ศาสนาพุทธ ไม่ตอบโจทย์ในหลายแง่ ๆ อีกต่อไปแล้ว ดังนั้นกษัตริย์จึงเป็นตัวอย่างที่ดีของคนดีมีศีลธรรม” โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์กล่าว เมื่อปราศจากพระองค์ ผู้คนต่างรู้สึกสูญเสียที่พึ่งพิง ราวกับว่าชีวิตอันคุ้นเคยมานานได้จบสิ้นลงไปแล้ว

ภูมิพลย้อนให้นึกถึงเมื่อครั้งสูญเสียเจ้าหญิงไดอานา

หลายคนคงนึกถึงการสิ้นสูญความสามารถในการควบคุมอารมณ์โศรกเมื่อเจ้าหญิงไดอาน่าเสียชีวิตในปี 1997 ในเกรท บริเทนได้ จู่ๆ คนธรรมดาก็ลุกขึ้นมายืนเคียงข้างผู้หญิงคนนี้ ผู้หญิงซึ่งพวกเขาพากันยกย่องว่า เป็น “เจ้าหญิงของประชาชน” “ตำแหน่งของข้าพเจ้าคือการได้อยู่ท่ามกลางประชาชนของข้าพเจ้า” เป็นคำขวัญประจำตัวของกษัตริย์ภูมิพล 

แน่นอนว่าจะเอาเจ้าหญิงไดอานากับกษัตริย์ภูมิพลมาเปรียบเทียบกันไม่ได้ ตลอดระยะเวลาการครองราชย์มา 70 ปีกษัตริย์ภูมิพลลงมือทำโครงการพัฒนาประเทศมากมายต่างจากเจ้าหญิงไดอานา

คนไทยรับรู้การทำงานของกษัตริย์พระองค์นี้มาโดยตลอดโดยผ่านสารคดีพระราชกรณียกิจที่ออกอากาศทางโทรทัศน์ติดต่อกันมานานหลายปี สำหรับคนรุ่นถัดมาจากรุ่นคนที่ดูโทรทัศน์: ในโรงหนังก่อนหนังจะฉาย ทุกคนจะต้องลุกขึ้นยืนแสดงวามเคารพระหว่างที่โรงหนังฉายหนังสั้นที่นำมาจากพระราชกรณียกิจในอดีต:กษัตริย์ระหว่างรังวัดที่ดิน ระหว่างการก่อสร้างฝายทดน้ำ ระหว่างเยี่ยมคนเจ็บและผู้ยากไร้

การแสดงความเศร้าโศรกเริ่มปรากฏอออกมาในรูปแปลกๆ มากขึ้น คนกลุ่มหนึ่งพากันไปสักเลข “๙” บนหน้าผาก กษัตริย์ภูมิพลเป็นกษัตริย์องค์ที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี ธนาคารหลายแห่งแจกเสื้อสีดำแก่คนที่ไม่มีเงินซื้อเพื่อเปิดโอกาสให้คนเหล่านี้ได้แสดงออกซึ่งความอาลัย และยังมีการเปิดบริการให้คำแนะนำทางโทรศัพท์แก่ประชาชนที่กำลังโศรกเศร้าเสียใจอีกด้วย

ประเทศไทย: การคุกเข่าต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์

เรื่องราวต่อไปนี้เป็นเรื่องที่น่าตกใจ ชายคนหนึ่งถูกฝูงชนลากตัวออกมาจากบ้านของตัวเองและต้องก้มลงกับพื้นที่เปื้อนฝุ่นเพื่อขออภัยโทษต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ผู้หญิงคนหนึ่งตบหน้าผู้หญิงอีกคนหนึ่งอย่างแรงด้วยความโมโห ส่วนผู้หญิงคนที่ถูกตบยังโดนโห่จากฝูงชนที่ยืนมุงดูอีก ใครที่ใส่เสื้อมีสีสันแล้วโพสต์รูปลงเฟซบุค ก็ต้องระวังตัวไว้ก่อนว่าจะมีคนเข้ามารุมด่า แม้กระทั่งคนที่เขียนแสดงความเสียใจในทำนองว่า ชีวิตและความตายเป็นเรื่องปกติของทุกสรรพสิ่ง ยังทำให้คนที่ได้อ่านเกิดอาการโมโห

การดำเนินการนะหรือ? หากไม่แสดงความอาลัยอย่างมากเพียงพอ อาจถูกมองว่า เป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพได้ ภายใต้กฏหมายที่มีบทลงโทษจำคุกถึง 15 ปี ใครจะแจ้งความใครในข้อหานี้ก็ได้

อาจจะเป็นไปได้ไหมว่า นอกเหนือไปจากความเสียใจต่อการสิ้นสุดรัชสมัยแล้ว คนที่เที่ยวไประรานผู้อื่นอาจทำไปเนื่องจากเกิดความหวาดกลัวต่ออนาคตข้างหน้า ถึงแม้ว่ากษัตริย์จะไม่มีอำนาจใดๆ บนกระดาษ แต่พระองค์เป็นศูนย์รวมทางจิตใจของคนทั้งประเทศและเป็นศูนย์ความสามัคคีของคนในชาติโดยเฉพาะในช่วงระหว่างการต่อสู้ขัดแย้งระหว่างคนจน-คนรวย คนเมือง-คนต่างจังหวัดในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา บรรยากาศหลังการสวรรคตตึงเครียดมาก แม้นักวิชาการเองก็เลือกที่จะหุบปากเงียบ ในห้วงเวลานี้การกระทำอย่างอื่นที่นอกเหนือไปจากการถวายความอาลัยอย่างสุดซึ้งอาจนำไปสู่อันตรายได้ สมเกียรติ อ่อนวิมล อาจารย์ด้านการสื่อสารมวลชน อธิบายปรากฏการณ์ที่คลื่นมหาชนพากันถวายความอาลัยกันอย่างล้นหลามดังนี้: “เราไม่รู้อนาคตจะเป็นอย่างไร แต่เรารู้เพียงว่า กษัตริย์องค์นี้เป็นกษัตริย์ที่วิเศษที่สุด”

ที่มา FB Junya Yimprasert
ooo
Tod des Königs

Thailands fanatische Trauer um Bhumibol


Thailand ist nach dem Tod des verstorbenen Königs Bhumibol ein Meer von Tränen. Millionen Menschen tragen schwarz. Doch Millionen Menschen trauern fast zu viel. Die Atmosphäre ist aufgeheizt. Wer nicht an der kollektiven Trauerbekundung teilnimmt, lebt gefährlich.

Source: stern.de

Mitten im Berufsverkehr in der thailändischen Hauptstadt Bangkok werfen sich zwölf Studenten auf einem Bürgersteig vor einem lebensgroßen Porträt des verstorbenen Königs Bhumibol auf die Knie und beten. Vor dem Palast stehen Zehntausende stundenlang Schlange, viele mit rot geweinten Augen, um ihm die letzte Ehre zu erweisen. Die Trauer um den Monarchen hat das Land fest im Griff. Millionen tragen schwarz, und wer nicht wenigstens gedeckte Farben trägt, sticht wie ein Fremdkörper aus der Trauermasse hervor. Wie kann im 21. Jahrhundert ein 88-jähriger König, seit Jahren krank und kaum mehr in der Öffentlichkeit, eine solche Welle der Emotionen auslösen?

"Er konnte den normalen Menschen ins Auge sehen und ihre Probleme und ihren Existenzkampf verstehen", sagt der im Ausland aufgewachsene Autor und Komponist Somtow Sucharitkul. "Die traditionelle Religion, der Buddhismus, funktioniert in vieler Hinsicht nicht mehr, so war der König das beste Beispiel einer tugendhaften Person", sagt Philosophieprofessor Soraj Hongladarom. "Ohne ihn fühlen die Menschen sich verloren, als wenn das ihnen vertraute Leben nun vorbei ist."

Bhumibol: Erinnerungen an Trauer um Lady Di

Mancher fühlt sich an die außerordentlichen Gefühlsausbrüche der Trauer in Großbritannien nach dem Tod von Prinzessin Diana 1997 erinnert. Plötzlich identifizierten sich die kleinen Leute mit der Frau, die sie als "Prinzessin des Volkes" verehrten. "Mein Platz ist mitten unter meinem Volk" war auch das Motto von Bhumibol. Natürlich hinkt der Vergleich zwischen Diana und Bhumibol. Anders als die Prinzessin hat Bhumibol das Land in seinen 70 Amtsjahren durch seine Ideen und Entwicklungsprojekte umgekrempelt.

Jeder in Thailand ist mit den Leistungen des Königs vertraut. Sie wurden seit Jahren täglich im Fernsehen gezeigt. Und für die Generation nach den Fernsehschauern: Vor jedem Kinofilm müssen Besucher zur Königshymne aufstehen, während ein kurzer Film mit historischem Material läuft. Der König beim Landvermessen, beim Bau von Bewässerungsgräben, bei Verwundeten und Bedürftigen.

Die Trauer nimmt inzwischen auch bizarre Züge an. Menschen lassen sich das Zeichen für "9" eintätowieren, auch auf die Stirn. Bhumibol war der 9. König der Chakri-Dynastie. Banken geben Millionen schwarze T-Shirts an Bedürftige, damit auch sie ihre Trauer zeigen können. Eine Hotline gibt Tipps zur Trauerbewältigung.

Thailand: Kniefall vor Königsporträt

Unheimlicher sind Geschichten wie diese: Ein Mann wird von einem Mob aus seinem Haus gezerrt und muss sich vor einem Königsporträt in den Staub werfen und entschuldigen. Eine Frau schlägt einer anderen auf der Straße mit voller Wucht ins Gesicht, und die Geschlagene wird noch angepöbelt. Wer Fotos von sich im bunten T-Shirt auf Facebook postet, muss mit einer Protestlawine rechnen. Selbst über den, der auf Facebook zur Trauer schreibt, dass Leben und Tod der normale Lauf der Dinge seien, bricht eine Wutwelle herein.

Die Vergehen? Nicht genügend Trauerbekundung. Das wird als Majestätsbeleidigung ausgelegt. Dagegen gibt es ein drakonisches Gesetz mit bis zu 15 Jahren Haft. Jeder kann jeden anzeigen.

Treibt neben der Trauer über das Ende einer Ära auch Zukunftsangst die Angreifer an? Der König hatte auf dem Papier zwar keine Macht. Er wurde aber als Integrationsfigur und Garant der Einheit hochgehalten, vor allem während der blutigen Grabenkämpfe zwischen Arm und Reich, Land- und Stadtbevölkerung in den vergangenen Jahre. Nach seinem Tod ist die Atmosphäre gespannt. Selbst Akademiker bleiben stumm. In diesen Tagen kann alles andere als tiefe Trauerbekundungen gefährlich werden. Somkiat Onwimon, Kommunikationsdozent im Ruhestand, erklärt die beispiellose Trauerwelle so: "Wir wissen nicht, was die Zukunft bringt, aber wir wissen eins: dieser König war großartig."

Video link that accompanied the article

http://www.stern.de/lifestyle/leute/thailand--fanatische-trauer-um-koenig-bhumibol-7110432.html?utm_campaign=social-flow&utm_source=facebook-fanpage&utm_medium=link