วันอาทิตย์, ตุลาคม 02, 2559

เศรษฐกิจตกต่ำ แก้ปัญหาไม่เป็น บ้านเมืองมีแต่จะแย่ลง - ภาคอสังหาริมทรัพย์ทรุดหนัก ยอดขายตก ยอดปฏิเสธสินเชื่อสูง!!!





ภาคอสังหาริมทรัพย์ทรุดหนัก ยอดขายตก ยอดปฏิเสธสินเชื่อสูง!!!


BY SARA BAD ON SEPTEMBER 29, 2016
ISPACE Thailand

ภายใต้สภาพเศรษฐกิจที่ยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อธุรกิจหลายประเภท 1 ในธุรกิจที่กำลังได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากก็คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งกำลังประสบปัญหาหลายประการทั้งยอดขายตก ยอดปฏิเสธสินเชื่อสูง โครงการก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ ราคาที่ดินที่ปรับตัวสูงขึ้นสวนทางกับรายได้ของประชาชน ฯลฯ





นายธำรง ปัญญาสกุลวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์และที่ปรึกษาสมาคมอาคารชุดไทยและประธานกรรมการ บริษัท นิรันดร์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด กล่าวว่า ปัญหาในปัจจุบันของผู้ประกอบการรายกลาง-เล็ก คือ ยอดขายที่ตกต่ำลง ทั้งจากปัญหาสภาพเศรษฐกิจที่ประชาชนไม่อยากก่อหนี้สินระยะยาว และการที่ลูกค้าถูกปฏิเสธสินเชื่อจากสถาบันการเงิน ซึ่งมีอัตราการปฏิเสธที่สูงถึง 50% ซึ่งเป็นปัญหาที่ทำให้ยอดขายตกต่ำ และโครงการไม่สามารถพัฒนาต่อได้





ตลาดบ้านมือสองก็ตกต่ำไม่แพ้กัน “ERA” ยักษ์ใหญ่ธุรกิจแฟรนไชส์อสังหาริมทรัพย์มือสอง เปิดเผยว่ากำลังซื้อตลาดบ้านมือสองหดตัวลงตามสภาพเศรษฐกิจ และยอดการปฏิเสธสินเชื่อ โดยเฉพาะอสังหาริมทรัพย์ราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นตลาดล่างซึ่งต้องพึ่งพาสินเชื่อจากสถาบันการเงิน ทำให้อัตราการเติบโตของตลาดบ้านมือสองตกลงมาอยู่ที่ 5-8% จากที่เคยเติบโต 8-15%


ด้านนายสมศักดิ์ มุนีพีระกุล สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ไทย (TREBA) และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟอร์เบสท์ พร็อพเพอร์ตี้ส์ จำกัด ระบุว่า ราคาที่ดินมีการปรับขึ้น 10-20% เป็นผลมาจากการปรับราคาประเมินใหม่ที่เฉลี่ยปรับเพิ่มสูงขึ้น 25% และคาดการณ์ว่าหากมีการประกาศใช้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปี 2560 อาจจะยิ่งทำให้ราคาที่ดินเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากผู้ขายจะผลักภาระภาษีที่เพิ่มขึ้นมาให้กับผู้ซื้ออย่างแน่นอน





สำหรับปัญหาของผู้บริโภคนั้น นายอำพล วงศ์ศิริ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) เปิดเผยว่าสถิติการร้องเรียนของผู้บริโภคช่วงปีงบประมาณ 2559 (ตุลาคม 2558-กันยายน 2559) เรื่องร้องเรียนของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์มียอดสูงสุดเป็นอันดับ 1 ติดต่อกันมาตลอดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา



โดยปัญหาที่มีการร้องเรียนมากที่สุด คือ ก่อสร้างไม่แล้วเสร็จตามสัญญา

“ข้อร้องเรียนในส่วนของอาคารชุด เรื่องการก่อสร้างไม่แล้วเสร็จตามสัญญา มักเกิดกับโครงการที่พัฒนาโดยผู้ประกอบการรายกลาง-รายเล็ก คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 70-80% ของเรื่องร้องเรียน การก่อสร้างไม่แล้วเสร็จของผู้ประกอบการรายกลาง-รายเล็ก มีสาเหตุมาจากปัญหาการขาดสภาพคล่องของผู้ประกอบการ ในส่วนของผู้ประกอบการรายใหญ่ไม่ค่อยประสบปัญหาดังกล่าว เนื่องจากต้องการรักษาภาพลักษณ์ของบริษัท หรือมีก็เป็นส่วนน้อยและสามารถจบเรื่องได้ในขั้นตอนไกล่เกลี่ย” นายอำพลกล่าว







สำหรับอสังหาริมทรัพย์ใหม่รอขายในช่วงกลางปี 2559 จากข้อมูลของศูนย์ข้อมูลและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA มีจำนวนที่อยู่อาศัยในมือผู้ประกอบการรอคนซื้ออยู่ทั้งหมด 174,750 หน่วย สร้างเสร็จตั้งแต่ 60% ขึ้นไป มีอยู่ 92,045 หน่วย ที่เหลือยังเสร็จไม่ถึง 60% มีถึง 82,705 หน่วย โดยห้องชุดและคอนโดมิเนียมเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีโครงการมากที่สุด แต่ก็สร้างได้เกิน 60% น้อยที่สุดด้วย







อย่างไรก็ตามสภาพของตลาดอสังหาริมทรัพย์ทั้งมือหนึ่ง และมือสองที่ซบเซาอย่างต่อเนื่องในวันนี้ เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นภาวะเศรษฐกิจของไทยที่ตกต่ำลงได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะการปฏิเสธสินเชื่อของสถาบันการเงินที่บ่งชี้ว่าประชาชนมีความน่าเชื่อถือทางการเงินที่ลดลงสอดคล้องกับภาวะหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น






นอกจากนี้ปัญหาโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จซึ่งมีสัดส่วนถึง 47% เช่นนี้ หากเศรษฐกิจยังตกต่ำต่อเนื่องอาจจะทำให้เกิดความเสียหายหนักต่อภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้


นี่เป็นอีกปัญหาสำคัญที่รัฐบาลคสช. ต้องแก้ไข คำถามก็คือรัฐบาลและทีมเศรษฐกิจมีแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างไร หรือ มีเพียงคำปลอบใจและขอให้เชื่อมั่นในรัฐบาลเท่านั้น!!!


Reference

http://www.thansettakij.com/2016/09/28/100503
http://www.thansettakij.com/2016/09/27/100903