วันอังคาร, ตุลาคม 04, 2559

'สลัม4ภาค' ร้อง UN-ประยุทธ์ แก้ปัญหาที่อยู่คนจน ร้องกทม.ต้านรื้อป้อมมหากาฬ + Hundreds protest in Bangkok urging junta to respect land rights






ที่มาภาพ เพจ ข่าวสาร สลัมสี่ภาค

'สลัม4ภาค' ร้อง UN-ประยุทธ์ แก้ปัญหาที่อยู่คนจน ร้องกทม.ต้านรื้อป้อมมหากาฬ


Mon, 2016-10-03
ที่มา ประชาไท

3 ต.ค.2559 เนื่องในวันที่อยู่อาศัยสากล สมาชิกเครือข่ายสลัมสี่ภาค และสหพันธ์พัฒนาองค์กรชุมชนคนจนเมืองแห่งชาติ (สอช.) ซึ่งเป็นองค์กรภาคประชาชนที่ทำงานด้านที่อยู่อาศัยและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนจนเมืองทั่วประเทศ จำนวนประมาณ 1,000 คน ได้จัดตั้งขบวนที่ถนนราชดำเนิน หน้าองค์การสหประชาชาติ (UN) และอ่านแถลงการณ์ พร้อมกับยื่นหนังสือถึง บัน คี-มูน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ โดยมีตัวแทนองค์การสหประชาติ ออกมารับมอบหนังสือ จากนั้นขบวน ได้เดินทางมาที่ประตู 5 ทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยมีตัวแทนรัฐบาล ออกมารับหนังสือข้อเรียกร้อง

โดย ไมตรี อินทุสุต ปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้ชี้แจงกับผู้ชุมนุมสลัม 4 ภาค ยืนยันว่า รัฐบาลจัดแผนที่อยู่อาศัย 10 ปี และรับปากไม่ทอดทิ้ง ประชาชน

ทั้งนี้ได้มีการจัดตัวแทน จำนวน 20 คน เข้าร่วมประชุมที่ห้องประชุม 2 ชั้น 2 สำนักงาน ก.พ. เพื่อหาแนวทางการสนับสนุนด้านที่อยู่อาศัย ความมั่นคงด้านที่ดิน และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเครือข่ายสลัม 4 ภาค โดยมี ผู้แทนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, ผู้แทนกระทรวงการคลัง, ผู้แทนสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์กรมหาชน), ผู้แทนกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, ผู้แทนกระทรวงคมนาคม เข้าร่วมประชุม และ จิรชัย มูลทองโร่ย ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการประชุม

ที่ประชุมได้พิจารณาข้อเรียกร้องของเครือข่ายสลัม 4 ภาค เพื่อให้มีการสนับสนุนด้านที่อยู่อาศัยของคนจน 3 ด้านหลักคือ 1.ด้านที่อยู่อาศัย คือ 1.1 โครงการของรัฐที่สนับสนุนการ พัฒนาด้านที่อยู่อาศัยโดยรัฐบาลต้องมีนโยบายให้การประปาและการไฟฟ้าดำเนินการต่อขยายระบบประปาและไฟฟ้าเพื่อให้บริการในพื้นที่โครงการโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายจากชาวบ้าน เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับคนจน ซึ่งประธานในที่ประชุมได้ขอให้กลุ่มส่งรายละเอียดข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ทั้งในส่วนภูมิภาคและนครหลวง ส่งให้คณะกรรมการติดตามการดำเนินการ ที่มีภาครัฐ ภาคประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหา 1.2 โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่มีผลกระทบในด้านที่อยู่อาศัยต่อชุมชน ทางรัฐบาลต้องบวกงบประมาณในการดำเนินการในส่วนนี้เป็นต้นทุนของโครงการด้วยเช่นโครงการพัฒนาระบบรางในพื้นที่จังหวัดสงขลาที่ได้มีการทำงานร่วมกันระหว่างชุมชนที่ได้รับผลกระทบกับการรถไฟแห่งประเทศไทยและสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนซึ่งต้องนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีให้การสนับสนุนในการแก้ปัญหา ซึ่งมติที่ประชุม ให้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการหาแนวทางแก้ไขปัญหา

2. ด้านพัฒนาคุณภาพชีวิตคนจนเมือง คือ 2.1 ขอให้รัฐบาลผลักดันให้มีการออกกฎหมายบำนาญแห่งชาติ เพื่อให้ผู้สูงอายุครรภ์มีหลักประกันทางรายได้ขั้นพื้นฐานสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างไม่ยากลำบาก ซึ่งมติที่ประชุม รับข้อเสนอไว้เพื่อดำเนินการ 2.2 ขอให้รัฐบาลสนับสนุนระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้โดยไม่เก็บค่ารักษาพยาบาลปลายทางและต้องพัฒนาระบบสุขภาพทุกระบบให้มีคุณภาพเท่าเทียมกัน โดยมติที่ประชุม รับข้อเสนอไว้เพื่อดำเนินการ 2.3 ระบบหลักประกันสุขภาพต้องให้สิทธิการรักษาพยาบาลครอบคลุมถึงกลุ่มที่ยังไม่สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้โดยให้มีการจัดตั้งกองทุนรักษาพยาบาลสำหรับผู้เข้าไม่ถึงสิทธิ์ ซึ่งมติที่ประชุม รับข้อเสนอไว้เพื่อดำเนินการ

3. ด้านการแก้ไขปัญหาที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและทำกิน 3.1 ให้จัดตั้งคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน (ปจช.) และเดินหน้าการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินตามนโยบายโฉนดชุมชนโดยการส่งมอบพื้นที่นำร่องสำหรับชุมชนที่อยู่ในที่ดินสาธารณะที่ผ่านกระบวนการขั้นตอนพิจารณาของคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชนและเร่งผลักดันร่างพระราชบัญญัติสิทธิชุม ชนและการจัดการทรัพยากร มติที่ประชุม รับทราบ ความคืบหน้าการดำเนินการ

ร้องกทม.ต้านรื้อป้อมมหากาฬ

นอกจากนี้ เวลา 11.30 น. ผุสดี ตามไท รองผู้ว่า กทม. รักษาราชการแทนผู้ว่า กทม. ได้ลงมาพบปะกับกลุ่มผู้ชุมชน โดยตัวแทนชาวบ้านป้อมมหากาฬ ได้อ่านแถลงการณ์และมอบข้อเรียกร้องที่สำคัญ คือ 1.ให้ยุติการรื้อถอนบ้านที่ยังไม่รื้อย้ายในชุมชนป้องมหากาฬเอาไว้ก่อน 2.ขอให้มีการแต่งตั้ง “คณะกรรมการพหุภาคี” ซึ่งประกอบด้วย ตัวแทนภาครัฐ ผู้ทรงคุณวุฒิ ภาคประชาสังคม/เอกชน ชุมชน ภาควิชาชีพ และกรุงเทพมหานคร เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาให้คนอยู่กับพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ได้ และเป็นการแก้ไขปัญหาชุมชนในเกาะรัตนโกสินทร์แนวใหม่ โดยนางผุสดี ได้รับหนังสือจากชาวบ้าน และได้กล่าวว่าตนไม่ได้รับผิดชอบเรื่องนี้ แต่จะนำเรื่องเข้าสู่การประชุมของคณะผู้บริหาร กทม.โดยเร็ว หลังจากนั้นกลุ่มผู้ชุมนุมจึงสลายตัว

เกษตรกรภาคใต้ร้องรัฐคุ้มครองสิทธิรวมกลุ่มเพื่อก่อตั้งชุมชนใหม่

ขณะที่ สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) ได้ออกแถลงการณ์ เรื่อง สิทธิในที่ดินและสิทธิในการก่อตั้งชุมชนใหม่ของแรงงานไร้ที่ดิน เพื่อการอยู่อาศัย ทำมาหากินและสร้างสรรค์วัฒนธรรมร่วมกัน โดยแถลงการณ์ระบุว่า 3 ต.ค. 2559 เนื่องในวันที่อยู่อาศัยสากล โดยเริ่มตั้งแต่ในปี ค.ศ. 1989 สหประชาชาติกำหนดให้ วันจันทร์แรกของเดือน ตุลาคม ของทุกปีเป็นวันที่อยู่อาศัยสากล และเป็นวันสำคัญของมนุษยชาติ ชาว สกต. ผู้ใช้แรงงานและเกษตรกรทั้งหลายล้วนต้องการที่อยู่อาศัย รวมทั้งชนบางกลุ่มก็เพื่อตั้งรกรากใหม่ ชนกลุ่มนี้เคยเป็นแรงงานในที่ดินของตัวเอง แต่เมื่อเกิดความพ่ายแพ้ทางเศรษฐกิจ จากระบบทุนนิยมโลกาภิวัตน์ ที่มีการแข่งขันกันสูง ดังมีคำกล่าวไว้ว่า “มือใครยาวสาวได้สาวเอา” ทำให้ผู้ที่อยู่ในชนบทและในชานเมือง ที่ขาดความรู้ความเข้าใจ ในระบบเศรษฐกิจแบบสมัยใหม่ จึงทำให้ที่ดินหลุดมือไป อันเป็นสาเหตุให้พวกเขาเหล่านั้นต้องกลายเป็นแรงงานตามเมืองหลวงเมืองใหญ่และหัวเมืองต่างๆ เมื่อการต่อสู้ขายแรงในเมืองระยะหนึ่งไม่สามารถตอบสนองต่อการดำรงชีพ หรือเมื่อถูกปลดออกจากงาน พวกเขาเหล่านั้นที่เคยอยู่ตามชนบทก็หันกลับไปสู่ถิ่นฐานเดิม แต่เมื่อกลับบ้านที่ชนบทก็มีที่ดินไม่เพียงพอหรือไม่มีเลยเพื่อจะทำการผลิตเลี้ยงชีพ เป็นสาเหตุให้ต้องดิ้นรนรวมตัวกันเพื่อต่อสู้เรียกร้องเรื่องที่ทำกินและก่อตั้งชุมชนใหม่เพื่อตั้งรกรากของพวกตน ส่วนพวกที่ยังไม่กลับชนบทก็รวมตัวกันอยู่อาศัยตามพื้นที่ต่างๆที่คนทั่วไปเรียกว่า “ สลัมหรือคนจนเมือง” พวกเขาเหล่านั้นต่อสู้เรียกร้องที่อยู่อาศัยเพื่อตั้งรกรากและชุมชนใหม่เช่นกัน วันนี้ประเทศต่างๆทั่วโลกได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและสนใจกับสถานการณ์ การมีที่อยู่อาศัยและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์นับเป็นเงื่อนไขความมั่นคงของทุกระบอบ และรวมถึงเป็นสิทธิพื้นฐานของมนุษยชาติ เมื่อมีความตระหนักและความรับผิดชอบร่วมกัน จึงมีการจัดการให้มนุษย์ทุกคนมีที่อยู่อาศัยทุกสังคมประเทศ

ทาง สกต. ขอเรียกร้องต่อรัฐบาลดังต่อไปนี้ 1) รัฐบาลต้องรับรองและคุ้มครองสิทธิของชุมชน หรือสถาบันเกษตรกรในการถือครองเป็นเจ้าของที่ดินร่วมกันและการบริหารจัดการที่ดินร่วมกันเพื่อความมั่นคงยั่งยืน ให้กับชุมชนที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ และสนับสนุนให้พัฒนาได้ 2) รัฐบาลต้องรับรองและคุ้มครองสิทธิของเกษตรกรและแรงงานไร้ที่ดิน หรือคนจน ในการรวมกลุ่มเพื่อก่อตั้งชุมชนใหม่ การสร้างที่อาศัยที่มั่งคง เพื่อการตั้งรกรากใหม่ในที่ดินของรัฐที่เหมาะสมในการทำเกษตร ซึ่งถูกบุกรุกครอบครองโดยนายทุน บริษัทฯ โดยมิชอบด้วยกฎหมาย และเคารพชุมชนในรูปแบบ “สิทธิชุมชนหรือ โฉนดชุมชน”

3) รัฐบาลต้องจัดหาที่อยู่อาศัยให้ประชาชนในชาติอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม และ 4) รัฐบาลต้องชดเชยเยียวยาให้เหมาะสม ในการพัฒนาของรัฐที่มีผลกระทบต่อชีวิตชุมชน

"หวังว่ารัฐฯจะเล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็นในข้อเรียกร้องตามสิทธิ์ขั้นพื้นฐานของมนุษย์ รวมถึงความมั่นคงในที่อยู่อาศัยและการตั้งรกรากใหม่ จะได้รับการหนุนช่วยจากรัฐฯ" แถลงการณ์ สกต. ระบุ

ที่มา MGR Online และ คมชัดลึกออนไลน์


ooo





Members of Khon Kaen Slum Network community group hold a banner during a rally outside the United Nations building in Bangkok, Thailand, October 3, 2016. REUTERS/Chaiwat Subprasom


by Reuters via News Trust.org
3 October 2016


BANGKOK, Oct 3 (Reuters) - Hundreds of protesters took to the streets of the Thai capital on Monday calling on the junta to address land rights and housing needs in what police and organisers said was one of the biggest demonstrations since the May 2014 coup.

Development in Thailand, Southeast Asia's second-biggest economy, has come at a cost to local communities who often face threats, violence and judicial harassment, say rights groups.

Protesters marking World Habitat Day outside the regional UN headquarters in Asia said they would hand a petition to the United Nations and then march on to Government House, a stone's throw away, to demand land reform.

"We came today so that the government can fix the land problems and land rights of poor people throughout the country," said Somneuk Phootnuan, 60, a rubber farmer from the southern province of Nakhon Si Thammarat.

"If we keep kicking the poor off government land, we won't have anywhere to live or make a living," he said, as protesters waved flags and signs near the U.N. building.

Sompong Chingduang, a police officer at the protest site, said around 1,000 people had gathered by mid-morning. Political protests have been outlawed since Thailand's generals seized power, ending months of sometimes violent street protests, but leaders of the demonstration said their gathering was not political.

World Habitat Day is observed annually on the first Monday of October as a way of reminding the world of people's right to adequate shelter.

(Reporting by Cod Satrusayang; Writing by Amy Sawitta Lefevre; Editing by Nick Macfie)



Development in Thailand has come at a cost to local communities who often face threats, violence and judicial harassment