วันอังคาร, สิงหาคม 02, 2559

เก็บตกโพสต์จาก Somchai Srisutthiyakorn กรณีหีบทำให้หน้าแตก + ประเทศและองค์การที่ขอมาสังเกตการณ์ออกเสียงประชามติ





.....

ชี้แจงรายละเอียด กล่องหีบบัตรรุ่นใหม่

1. ใช้พลาสติกโพลิโพรพิลีน (poly propylene , PP) โดยใช้เม็ดพลาสติกที่เป็นของใหม่ vergin 100%
ความหนาแน่น < 1 โดยไม่เจือปนเม็ดพลาสติกที่ผ่านการผลิตแล้ว

2. หีบบัตรมีลักษณะโปร่งใส สามารถมองเห็นภายใน มีความแข็งแรง ทนต่อแรงกระแทกได้ดี มีอายุการใช้งานที่ยืนยาวไม่น้อยกว่า 10 ปี และทนความร้อนมากกว่า 50 องศาเซลเซียส

อย่างไรก็ตาม สำหรับการทดสอบครั้งแรก ที่มีการแตกหัก
ทางผมจะได้มีการสอบถามในปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ผลิตต่อไป

.....





Positive thinking เรื่อง โยนหีบแตก

1. ได้รู้ความคงทนถาวรของหีบที่แท้ ไม่ใช่แค่ใน spec. พนักงาน กกต.จะได้เพิ่มความระมัดระวังในการดูแลรักษาให้ใช้การได้ยาวนานตามที่คาดหวัง

2. ทำให้ข่าวประชามติ มีข่าวที่สนุกสนาน รื่นเริงบ้าง หลังจากมีแต่ข่าวเครียด รับ ไม่รับ ฉีก ไม่ฉีก เด็กหรือ ลิง ซ้ำซากประมาณนี้

3. ใครไม่รู้จัก อ.สมชัย ได้รู้จักกันทั้งประเทศยิ่งขึ้น

4. ทำให้ประชาชนรู้ว่าใกล้ถึงวันออกเสียงประชามติแล้ว ตอนนี้ใครไม่รู้ อาจมีทุ่มซ้ำ

ooo






การสังเกตการณ์ออกเสียงประชามติ ของ นานาชาติ #ประชามติ

ขณะนี้ มี ประเทศและองค์กรที่ขอสังเกตการณ์ ดังนี้

1. ประเทศ ติมอร์ เลสเต้ 3 คน
2. ประเทศ ภูฏาน 3 คน
3. ประเทศ เนปาล 3 คน
4. อันเฟรล เครือข่ายเลือกตั้งเสรีแห่งเอเชีย 10 คน
5. มูลนิธิ เอเชีย 12 คน
ทั้งหมดจะเข้ามาสังเกตการณ์ ตั้งแต่วันที่ 5-8 สิงหาคม
โดยมีกิจกรรมสำคัญ 4 เรื่องคือ การรับฟังบรรยายสรุป
การสังเกตการณ์การรับมอบวัสดุอุกรณ์
การสังเกตการณ์ในวันออกเสียงประชามติ
และการประชุมสรุปผล
ผู้สังเกตการณ์นานาชาติทั้ง 31 คน จะได้รับป้ายชื่อและบัตรแสดงตนที่รับรองจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง
เพื่อสามารถเข้าไปสังเกตการณ์ในหน่วยออกเสียงทุกหน่วยที่ประสงค์เข้าไปสังเกตการณ์

สำหรับการสังเกตการณ์ของกลุ่มต่างๆในไทย เช่น มูลนิธิองค์กรกลางพีเน็ต วีวอช สื่อทางเลือก ฯลฯ สามารถสังเกตการณ์ภายนอกหน่วยได้ตลอดเวลา แต่ไม่สามารถเข้าไปในหน่วยออกเสียงได้ เนื่องจากการออกเสียงประชามติคราวนี้ ไม่มี กม.ที่อนุญาตให้ดำเนินการดังกล่าวเหมือนการเลือกตั้ง

ประชาชนทั่วไป สามารถมีส่วนร่วมในการสังเกตการณ์เพื่อความโปร่งใส ในการทำประชามติได้ ดังนี้

1. เมื่อพบเห็นเหตุทุจริตผิดปกติ สามารถใช้กล้องจากโทรศัพท์มือถือ ถ่ายภาพ คลิป ส่งผ่าน แอพลิเคชัน ตาสับปะรด เพื่อรายงาน กกต.
2. สังเกตการณ์นับคะแนนที่หน่วยใกล้บ้านท่านในเวลา 16.00 ถ่ายภาพผลการลงคะแนน โพสในเฟซบุ้ค และติด แฮชแท็ก #ผลประชามติ

.....






เข้าใจผิดครับ
การทำโพลทุกชนิด รวมทั้ง exit poll สามารถทำได้
แต่ไม่สามารถเผยแพร่ผล ก่อน 16.00 น.
ของวันที่ 7 สิงหาคม
ไม่ได้ห้ามรายงานผลครับ #ประชามติ

.....

ที่มา FB

Srisutthiyakorn Somchai

.....

.....

แนะนำการสังเกตการณ์ประชามติ 2559 (no sound)


https://www.youtube.com/watch?v=X_vmJr1-kg8

Wewatch Thailand

Published on Jul 31, 2016

แนะนำการสังเกตการณ์ประชามติ 2559 (no sound)
โดย กลุ่มเคลือข่าย ดังนี้

- WeWatch
-สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
- ประชามติ
- โครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาขน (iLaw)
- TCIJ
- ประชาไท
- สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา (ม. มหิดล)
- สำนักข่าวไทยพับลิก้า