วันพฤหัสบดี, สิงหาคม 11, 2559

เครือข่าย 96 องค์กร ชี้ผลประชามติไม่ใช่ “ใบอนุญาต” ให้ คสช. ใช้อำนาจตามอำเภอใจ เรียกร้อง 5 ข้อ





เครือข่าย 96 องค์กร ชี้ผลประชามติไม่ใช่ “ใบอนุญาต” ให้ คสช. ใช้อำนาจตามอำเภอใจ

Thu, 2016-08-11
ที่มา ประชาไท

เครือข่าย 96 องค์กรใส่ใจประชามติฯ ระบุการการออกเสียงประชามติไม่ได้เกิดขึ้นอย่างเป็นอิสระ และเป็นธรรม เรียกร้อง คสช. คืนชีวิตทางการเมือง หยุดปิดกั้นการแสดงความเห็นต่อร่าง รธน. ยุติการดำเนินคดีนักโทษประชามติ พร้อมยกเลิกอำนาจพิเศษ ม.44


11 ส.ค. 2559 เวลา 11.00 น. ที่ห้องประชุม โครงการปริญญาเอก คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา เครือข่าย 96 องค์กรใส่ใจประชามติรัฐธรรมนูญกำหนดอนาคตประชาชน นำโดยเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง ได้จัดการแถลงข่าวต่อผลประชามติเมื่อวันที่ 7 ส.ค. ที่ผ่าน โดยระบุว่า ผลการลงประชามติไม่อาจนับเป็นฉันทานุมัติหรือ “ใบอนุญาต” ให้ คสช. ดำเนินการตามอำเภอใจโดยไม่ฟังเสียงฝ่ายใดได้ โดยมีเหตุผล 3 ประการคือ 1.การออกเสียงประชามติไม่ได้เกิดขึ้นอย่างเป็นอิสระและเป็นธรรม 2.เหตุผลของการเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญมีความหลากหลาย การที่ คสช. และ กรธ. แจ้งขั้นตอนข้างหน้าแต่เฉพาะกรณีร่างรัฐธรรมนูญผ่าน ส่งผลให้ประชาชนจำนวนมากเกิดความวิตกกังวลว่าหากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านจะเป็นอย่างไร จึงอาจตัดสินใจเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญไปก่อน และ 3.การที่มีผู้ออกเสียงไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญร้อยละ 38.60 แสดงให้เห็นว่ายังคงมีประชาชนที่เห็นต่างต่ออนาคตสังคมไทยผ่านร่างรัฐธรรมนูญอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่ง คสช. และ กรธ. ไม่สามารถเพิกเฉยหรือละเลยเสียงเหล่านี้ได้

ทั้งทางเครือข่าย 96 องค์กรได้เรียกร้องให้ คสช. คืนชีวิตทางการเมือง หยุดปิดกั้นการแสดงความเห็นต่อร่าง รธน. ยุติการดำเนินคดีนักโทษประชามติ พร้อมยกเลิกอำนาจพิเศษ ม.44 และกำหนดให้มีการเลือกตั้งโดยเร็วที่สุด





แถลงการณ์เครือข่าย 96 องค์กรใส่ใจประชามติรัฐธรรมนูญกำหนดอนาคตประชาชน ภายหลังการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 7 สิงหาคม 2559

ผลการออกเสียงประชามติเบื้องต้นมีผู้เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญร้อยละ 61.40 และคำถามพ่วงร้อยละ 58.11 แต่ก็มีผู้ไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญถึงร้อยละ 38.60 และไม่เห็นชอบคำถามพ่วงร้อยละ 41.89 อีกทั้งยังมีผู้มีสิทธิที่ไม่ประสงค์ออกเสียงอีกถึงร้อยละ 45.39 ซึ่งแม้ผลดังกล่าวจะส่งผลให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านตามความประสงค์ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ทว่านอกจากหลักการประชาธิปไตยซึ่งต้องฟังเสียงจากทุกฝ่าย ผลประชามติดังกล่าวไม่อาจนับเป็นฉันทานุมัติหรือ “ใบอนุญาต” ให้ คสช. ดำเนินการตามอำเภอใจโดยไม่ฟังเสียงฝ่ายใดได้ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

1. การออกเสียงประชามติไม่ได้เกิดขึ้นอย่างเป็นอิสระและเป็นธรรม คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญไม่ทั่วถึง ประชาชนจำนวนมากไม่มีโอกาสรับรู้ร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ การรณรงค์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ดำเนินการผ่านกลไกและเจ้าหน้าที่รัฐเป็นหลักเลือกประชาสัมพันธ์เฉพาะด้านดี อีกทั้งด้านดีบางข้อในเอกสารสรุปยังประชาสัมพันธ์เกินไปกว่าที่เขียนไว้จริงในร่างรัฐธรรมนูญ ขณะที่ฝ่ายเห็นต่างกลับถูกปิดกั้น ข่มขู่คุกคาม จับกุมคุมขัง และดำเนินคดี เป็นเหตุให้ประชาชนไม่มีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลและความเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญที่รอบด้านเพียงพอในการตัดสินใจออกเสียง

2. เหตุผลของการเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญมีความหลากหลาย การที่ คสช. และ กรธ. แจ้งขั้นตอนข้างหน้าแต่เฉพาะกรณีร่างรัฐธรรมนูญผ่าน ส่งผลให้ประชาชนจำนวนมากเกิดความวิตกกังวลว่าหากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านจะเป็นอย่างไร จึงอาจตัดสินใจเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญไปก่อน และการที่ คสช. และ กรธ. ปิดกั้นฝ่ายเห็นต่างที่พยายามชี้ให้เห็นสิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ในร่างรัฐธรรมนูญก็ยิ่งส่งผลให้ประชาชนตัดสินใจรับร่างรัฐธรรมนูญได้โดยง่ายโดยเฉพาะในกลุ่มที่ต้องการไปให้พ้นจากสภาวการณ์ปัจจุบันหรือการบริหารประเทศโดยรัฐบาลทหารหรือ คสช. นอกจากนี้ หากพิจารณาในเชิงภาพรวมของผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด ผู้เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 30 คสช. จึงไม่สามารถอาศัยผลนี้เป็นข้ออ้างในการตัดสินใจดำเนินการใดโดยไม่ฟังเสียงประชาชนส่วนที่เหลือเหล่านี้ได้

3. การที่มีผู้ออกเสียงไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญร้อยละ 38.60 แสดงให้เห็นว่ายังคงมีประชาชนที่เห็นต่างต่ออนาคตสังคมไทยผ่านร่างรัฐธรรมนูญอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่ง คสช. และ กรธ. ไม่สามารถเพิกเฉยหรือละเลยเสียงเหล่านี้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อโต้แย้งและวิพากษ์วิจารณ์ที่ฝ่ายเห็นต่างหยิบยกขึ้นมายังไม่ได้รับการชี้แจงจาก คสช. กรธ. รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างหนักแน่นชัดเจนพอ คสช. จึงไม่สามารถอาศัยผลการออกเสียงประชามติเป็นข้ออ้างในการปฏิเสธที่จะตอบคำถามและข้อวิพากษ์วิจารณ์เหล่านี้ รวมถึงสั่งห้ามการเคลื่อนไหวของฝ่ายเห็นต่างแม้ร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านความเห็นชอบแล้วก็ตาม

เพราะเหตุนี้ เครือข่าย 96 องค์กรใส่ใจประชามติรัฐธรรมนูญกำหนดอนาคตประชาชน ที่ติดตามการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญมาอย่างต่อเนื่องจึงมีข้อเรียกร้องไปยัง คสช. ดังนี้

1. คืนชีวิตการเมืองปกติให้กับสังคมไทยด้วยการยุติการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญและการเมืองหยุดการใช้อำนาจพิเศษกฎหมายพิเศษและศาลทหารกับประชาชน

2. เปิดพื้นที่ให้ประชาชนทุกฝ่ายทั้งที่เห็นชอบและไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญตลอดจนประชาชนและชุมชนซึ่งได้รับผลกระทบหรือจะได้รับผลกระทบจากการดำเนินนโยบายยุทธศาสตร์และโครงการของรัฐต่างๆได้แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาร่วมกันบนพื้นฐานสิทธิมนุษยชนที่ได้รับการรับรองและคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญและข้อตกลงระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี

3. ยุติการจับกุมคุมขังและดำเนินคดีประชาชนที่รณรงค์ประชามติและแสดงความเห็นแย้งร่างรัฐธรรมนูญและปล่อยตัวผู้ที่ถูกคุมขังก่อนหน้านี้โดยทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไขการแสดงออกดังกล่าวเป็นสิทธิของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยไม่ผิดกฎหมาย

4. ให้มีการเลือกตั้งโดยเร็วที่สุด ประกาศกำหนดระยะเวลาในแต่ละขั้นตอนเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่กระบวนการประชาธิปไตย ให้ประชาชนได้รับทราบโดยทั่วกัน

5. ยกเลิกการใช้อำนาจพิเศษตามมาตรา 44 กลับมาใช้กลไกตามกฎหมายปกติ และให้มีการตั้งคณะกรรมการพิจารณาทบทวนยกเลิกประกาศและคำสั่งของคสช.ที่ละเมิดสิทธิประชาชนโดยเร็ว

เครือข่าย 96 องค์กรใส่ใจประชามติรัฐธรรมนูญกำหนดอนาคตประชาชน เห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มีปัญหาตั้งแต่ต้น โดยมีการนำเสนอข้อกังวลต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้สู่สาธารณะไว้เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2559 และแม้ว่าร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านการออกเสียงประชามติ แต่เครือข่ายฯ จะเฝ้าติดตามการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยุทธศาสตร์ชาติ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ รวมถึงการปฏิรูปตามที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้กำหนดไว้อย่างใกล้ชิด และยืนยันว่าสิทธิ เสรีภาพ และการมีส่วนร่วมของประชาชนต้องเป็นองค์ประกอบหลักของรัฐธรรมนูญ

ด้วยความเคารพต่อสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของประชาชน
เครือข่าย 96 องค์กรใส่ใจประชามติรัฐธรรมนูญกำหนดอนาคตประชาชน

1. เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง
2. สมาคมรัฐศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
3. มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม
4. มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม
5. เครือข่ายคนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม
6. เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ-บำนาญแห่งชาติ
7. มูลนิธิบูรณะนิเวศ
8. เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก
9. มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย)
10. มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย
11. สมัชชาคนจน
12. กลุ่มละครมะขามป้อม
13. เครือข่ายพลเมืองเน็ต
14. สมัชชาอู่ข้าวอู่น้ำภาคกลาง
15. มูลนิธินโยบายสุขภาวะ
16. ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ (NDM)
17. กลุ่ม Mini Drama
18. กลุ่มการเมืองครั้งแรก
19. กลุ่มศึกษาเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch)
20. Focus on the Global South
21. เครือข่ายสลัม 4 ภาค
22. มูลนิธิโลกสีเขียว
23. กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา
24. เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ประเทศไทย
25. กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด 6 หมู่บ้าน(พื้นที่คัดค้านเหมืองแร่ทองคำ ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย)
26. กลุ่มรักษ์บ้านแหง(พื้นที่คัดค้านสัมปทานทำเหมืองแร่ถ่านหินลิกไนต์ ต.บ้านแหง อ.งาว จ.ลำปาง)
27. ชมรมอนุรักษ์ลุ่มน้ำสรอย ต.สรอย อ.วังชิ้น จ.แพร่ (พื้นที่การขอสัมปทานสำรวจแร่เหล็กและทองคำ)
28. เครือข่ายการศึกษาทางเลือก
29. กลุ่มเสรีนนทรี
30. กลุ่มเสรีเกษตรศาสตร์
31. กลุ่มศิลปากรเสรีเพื่อประชาธิปไตย
32. ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อสังคมนิยมประชาธิปไตย (YPD)
33. กลุ่มลูกชาวบ้าน ม.บูรพา
34. กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย (LLTD)
35. กลุ่มแก็งค์ข้าวกล่อง ม.รามคำแหง
36. กลุ่มเพื่อนประชาชน
37. มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน
38. เครือข่ายกลุ่มเกษตรกรภาคเหนือ (คกน.)
39. กลุ่มกระเหรี่ยงภาคเหนือ
40. เครือข่ายเพื่อนตะวันออกวาระเปลี่ยนตะวันออก
41. โครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw)
42. สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
43. กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง(กสรก.)
44. กลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท
45. สมัชชาเสรีแห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อประชาธิปไตย
46. กลุ่มแม่โจ้เสรีเพื่อประชาธิปไตย
47. สมัชชาสิทธิเสรีภาพนักศึกษาเพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
48. กลุ่มพลเมืองคนรุ่นใหม่(NGC)
49. กลุ่มลุ่มน้ำโขงศึกษา
50. กลุ่มพลเรียน
51. ศูนย์พหุวัฒนธรรมและนโยบายการศึกษา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาเชียงใหม่
52. สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.)
53. กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย
54. เครือข่ายพลเมืองสงขลา
55. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ (กป.อพช.ใต้)
56. สมาคมรักษ์ทะเลจะนะ
57. กลุ่ม Save Krabi
58. กลุ่มอนุรักษ์ลุ่มน้ำท่าสะท้อนและสิ่งแวดล้อม สุราษฎร์ธานี
59. เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสังคมและองค์กรชุมชนภาคใต้
60. เครือข่ายประชาชนปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สงขลา สตูล
61. เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน
62. เครือข่ายรักษ์ชุมพร
63. เครือข่ายพลเมืองพัทลุง
64. เครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน
65. เครือข่ายพิทักษ์สิทธิชุมชนเขาคูหา รัตภูมิ
66. เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล
67. ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน จะนะ
68. สภาทรัพยากรพันธุกรรมพื้นบ้านภาคใต้
69. สภาประชาชนอำเภอรัตภูมิ
70. หน่วยวิจัยประชาธิปไตยชุมชนเพื่อการพัฒนา
71. แนวร่วมนักเขียนแห่งประเทศไทย
72. มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์
73. Strawberry December
74. Undergrad Rewrite
75. Cafe Democracy
76. กลุ่มรักษ์เขาชะเมา
77. สำนักปาตานีรายาเพื่อสันติภาพและการพัฒนา (LEMPAR)
78. เครือข่ายประชาชนชายแดนภาคใต้ปกป้องสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อสันติภาพ(PERMATAMAS)
79. Seed of Peace
80. พลังมด
81. กลุ่มอนุรักษ์อ่าวบางละมุง
82. กลุ่มอนุรักษ์อ่าวนาเกลือ
83. เครือข่ายรักษ์อ่าวอุดม
84. กลุ่มประมงต้นแบบบ้านอ่าวอุดม
85. กลุ่มประมงต้นแบบบ้านนาเกลือ
86. กลุ่มประมงต้นแบบบ้านบางละมุง
87. เครือข่ายสภาพลเมืองจังหวัดชลบุรี
88. โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนคนไร้รัฐ จ.อุบลราชธานี
89. เครือข่ายปกป้องผืนป่าตะวันออก
90. พระจันทร์เสี้ยวการละคร
91. คณะทำงานนักเกรียนเปลี่ยนโลก
92. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน(กป.อพช.)
93. มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
94. มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน
95. สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.)
96. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

....

Statement
Network of Sai Jai Prachamati
Following the outcome of the 7 August 2016 Constitutional Referendum


The preliminary result of the constitutional referendum indicates that 61.40 percent of voters approved the draft charter and 58.11 percent approved the additional question while 38.60 percent of the voters rejected the draft charter and 41.89 percent rejected the additional question. And 45.39 percent of eligible voters chose not to cast their votes. The referendum result might allow the draft charter, sponsored by the National Council for Peace and Order (NCPO) and the Constitution Drafting Committee (CDC) to move forward, but it shall not be counted as a consensus or an “approval” to the NCPO to continue its action as it pleases without heeding different views. Here are our reasons:

1. The referendum process was not free and fair. The Election Commission (EC) failed to disseminate copies of the draft charter to all eligible voters. Many Thais did not have a chance to be informed about the entire draft charter. Campaigns on the draft charter were mainly conducted through state mechanisms and government officials. The focus was solely on promoting positive aspects of the draft charter and some materials over-exaggerated its positive aspects. On the other hand, individuals with opposing views were restricted, threatened, arrested, detained and prosecuted. These actions limited the general public’s access to information on the draft and its critiques, preventing a comprehensive process that would allow many to gain comprehensive knowledge and make an informed decision.

2. Reasons for the approval of the referendum varied. That the NCPO and the CDC only presented steps forward should the draft charter be approved might have led many Thais to worry about the future if the draft charter failed to obtain approval. This would likely have persuaded them to be in favor of the draft charter. Moreover, the NCPO and the CDC had blocked opposing views from pointing out hidden contents of the draft charter. This easily caused the people to vote in favor of the draft charter, especially those who wished to escape the current political situation or the military rule (or the NCPO.) It should also be noted that only 30 percent of all eligible voters approved the draft charter. Therefore, the NCPO cannot claim this result and thus cannot proceed with its action with no regard for the rest of the people.

3. That 38.60 percent of voters rejected the draft charter shows that there are still many Thais who possess different views on the future of Thai society. The NCPO and the CDC shall not neglect or ignore these voices, especially observations and criticisms by opposing groups which the NCPO, CDC and relevant authorities had not previously responded to with solid arguments. This means that the NCPO shall not claim the referendum result as a reason to reject queries and critiques. Even though the draft charter has been approved, NCPO shall not prohibit any movement by opposing views.

Due to the aforementioned reasons, the Network of Sai Jai Prachamati, who has been closely monitoring the process of the constitutional referendum, demands that the NCPO:

1. Return a normal political atmosphere to the Thai society. Stop restricting the people’s rights and freedom to express their views on the constitution and politics. Stop using its special powers and laws, and the military courts on civilians.

2. Open the space for all —those in favor of and those who disagree with the draft charter as well as all communities who are affected or would be affected by strategic policies and projects sponsored by the government—to jointly express their views and solutions to ongoing conflicts. The process must respect and protect fundamental human rights of all people and abide by international agreements which Thailand has signed.

3. Cease making arrests, detaining, and prosecuting any person who campaigns on the referendum or expresses opposing views on the draft charter. The NCPO shall immediately and unconditionally release all political prisoners. Freedom of expression is a fundamental right of citizens of a democratic state; it is not an illegal act.

4. Hold an election as soon as possible. Determine a timeline for the process of transitioning to a fully democratic state. Ensure that all people are informed.

5. Revoke Article 44. Revert to a normal judicial process. Establish a committee to review and promptly revoke NCPO announcements and orders which violate human rights.

The Network of Sai Jai Prachamati regards this draft charter as problematic from its conception. We made public our concerns on the draft charter on 24 July 2016. Although the draft charter has won the approval in the referendum, the network will continue to closely monitor any subsequent amendment processes, national strategic plans, organic laws, and reforms stated in this charter. We affirm our belief that rights, freedoms, and inclusiveness shall be the fundamental components of the constitution.

With respect for rights, freedoms, and equality of the people.
The Network of Sai Jai Prachamati
August 11, 2016

Source: