วันพฤหัสบดี, กรกฎาคม 07, 2559

กกต. สม (ธนญ) ชัย ให้สัมภาษณ์กระแนะกระแหน ‘ไอลอว์’ แล้วคันปาก อยาก (เสนอหน้า) ตอบ





เห็นที่ กกต.สมชัย ศรีสุทธิยากร ให้สัมภาษณ์กระแนะกระแหน ‘ไอลอว์’ แล้วคันปาก อยาก (เสนอหน้า) ตอบ

ด้วยความรู้กฎหมายเล็กน้อย แต่สามัญสำนึกมากหน่อย (เชื่อมั่นว่ามากกว่าทั่น กกต. น่ะนะ)

“ถ้าศาลปกครองมีคำพิพากษาออกมาทางใดทางหนึ่ง ไอลอว์จะยอมรับคำพิพากษาหรือไม่ หรือยังจะตีรวนเหมือนตอนที่ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ แล้วเมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยมาตรา ๖๑ วรรคสองไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ก็บอกว่าวินิจฉัยไม่เป็นธรรม”

กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้งกล่าวกับผู้สื่อข่าวเมื่อวาน (๖ ก.ค.) เป็นคอมเม้นต์ ‘เซ้นส์เลส’ ถึงการที่กลุ่มโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) และเครือข่าย ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้ศาลสั่งเพิกถอนประกาศ กกต.เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการแสดงความคิดเห็นในการออกเสียงประชามติ





“หรือศาลต้องตีความตามใจไอลอว์ จนไม่ต้องน้อมรับคำตัดสินอื่นในสังคม”

(http://www.thairath.co.th/content/656427)

ท่อนฮุกแถมท้ายนี่ละที่มันส่อเสียด เสนียดลิป เสียจนอยากตอบ (แทนไอลอว์เขาหน่อย)

ในคดีความทุกอย่าง คู่กรณีย่อมมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นของตน ทั้งก่อน หลัง และระหว่างการพิจารณา ตามแต่จังหวะและสถานะ ทุกอย่างขึ้นอยู่กับหลักตรรกะและเหตุผลอันเหมาะสม

ทั้งศาลปกครองและศาลรัฐธรรมนูญไม่ใช่สถาบันสูงสุด ที่จะใช้สำหรับชี้เป็นชี้ตายทุกสิ่งทุกอย่างได้ แต่อาจมีความชอบธรรมมากสักหน่อย หากอิงอยู่กับที่มาโดยประชาชน

การตัดสินของคน ๕-๙ คน แม้จะล้วน ‘ทรงคุณวุฒิ’ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะกระทำด้วยวิจารณญานอันเหมาะสม และถูกต้องเสมอไป

(การตัดสินโดยเสาะหาตรรกะและเหตุผลจากแหล่งอ้างอิงนอกสารบบ อาทิ พจนานุกรม เพื่อนำมาใช้สนับสนุน ‘ธง’ ที่ตั้งไว้ ก็เคยเกิดขึ้นแล้ว)

ดังนั้น หากครั้งนี้ศาลปกครองสูงสุดตัดสินอย่างศาลรัฐธรรมนูญในคดีล่าสุด ซึ่งตีดกคำร้องที่ยื่นผ่านผู้ตรวจการแผ่นดิน เรื่องความถูกต้องตามรัฐธรรมนูญของมาตรา ๖๑ พรบ.ประชามติ ด้วยเหตุผลเพียงว่า

“ไม่ใช่การใช้ถ้อยคำที่คลุมเครือ แต่แค่ไม่เฉพาะเจาะจง”

อันเป็นการให้ตรรกะแบบศรีธนญชัย ที่ใช้ในการเล่นเพลงฉ่อยจะดีเสียกว่า ไม่ใช่การใช้วิจารณญานอย่างผู้ทรงคุณวุฒิในกระบวนยุติธรรม

เช่นนั้นผู้ร้องย่อมแสดงความเห็นค้านต่อไปได้เสมอ

ส่วนทั่น กกต. สม (ธนญ) ชัยจะถามต่อว่างั้นมาร้องทำไม ก็ตอบได้ง่ายๆ ว่าพวกเขายังต้องการใช้เหตุผลในระบบและหลักการ เพื่อการร้องเรียนในทางประชาธิปไตย

ในคำฟ้องที่ศาลปกครองสูงสุดรับไว้ในสารบบความเมื่อวาน ระบุว่า ประกาศ กกต.เรื่องหลักเกณฑ์วิธีการแสดงความคิดเห็นในการออกเสียงประชามติ พ.ศ. ๒๕๕๙ “ละเมิดหลักสิทธิเสรีภาพ

ทำให้ประชาชนไม่มีโอกาสแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี ส่งผลให้ประชาชนขาดข้อมูลที่จะใช้ในการไตร่ตรองว่าจะลงประชามติอย่างไร นอกจากนี้ เนื้อหาของประกาศดังกล่าวยังไปไกลเกินกว่าที่ พ.ร.บ.ประชามติกำหนด”

ไม่ว่าการห้ามจำหน่ายเสื้อรณรงค์ Vote No และห้ามจัดเวทีพูดคุยเรื่องร่างรัฐธรรมนูญหากไม่รับการสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐหรือสถาบันการศึกษา เป็นสิ่งที่ กกต. กระทำในสิ่งไม่ควรทำด้วยการ “ไปปิดปากจำกัดสิทธิของประชาชนที่เห็นแย้งกับร่างรัฐธรรมนูญ”

“รวมทั้งยังทำผิดหน้าที่ จัดให้มีรายการที่นำกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) มาเสนอด้านดีของร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเหมือนเป็นการสนับสนุนให้ประชาชนรับร่างรัฐธรรมนูญ”

นายเอกชัย ไชยนุวัฒน์ รองคณบดีนิติศาสตร์ ม.สยาม ชี้ว่าประกาศ กกต. ข้อ ๕ (๕) และ (๔) ถือเป็นการจำกัดสิทธิบุคคลธรรมดา ซึ่งถ้าไปดูกฎหมายประชามติในปี ๒๕๕๐ มีทั้งหมด ๑๑ หมวด ไม่มีหมวดใดที่กำหนดให้ประชาชนจะต้องแสดงความคิดเห็นอย่างไร

คำฟ้องยังขอให้ศาลฯ “ไต่สวนเพื่อกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา โดยขอให้สั่งระงับการใช้ประกาศ กกต.ดังกล่าว และระงับการออกอากาศรายการ ‘๗ สิงหา ประชามติร่วมใจ’...ที่เข้าข่ายสนับสนุนให้รับร่างรธน. ไว้จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาในคดี”

(http://www.matichon.co.th/news/202266)

กระนั้นก็ดี กกต. สมชัยโต้กรณีรายการ ๗ สิงหาฯ ร่วมใจ ว่า “รายการมีจำนวน ๑๓ ครั้ง เป็นของ กกต.๒ ครั้ง ของ สนช.-กรธ.รวมกัน ๕ ครั้ง ซึ่งเป็นไปตามมาตรา ๑๐ ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติฯ

ส่วนอีก ๖ ครั้ง เป็นการเปิดให้มีการแสดงความเห็นที่หลากหลาย โดยให้แต่ละสถานีโทรทัศน์เชิญวิทยากรจากผู้มีความคิดเห็นสองฝ่ายมาร่วมรายการ โดย กกต.ไม่เข้าไปแทรกแซง”

แน่นอนว่ารายการที่เป็นของ กกต. เองสองครั้ง และของ สนช.กับกรธ. รวมกันอีกห้าครั้ง ย่อมเป็นรายการ ‘โปร’ หรือชักนำให้ประชาชน ‘รับ’ ร่างรัฐธรรมนูญอย่างแน่นอน รายการที่มีการออกอากาสอยู่ขณะนี้เป็นเครื่องยืนยัน

ถ้าหากจะเหมาเอาว่ารายการที่เหลือ ๖ ครั้ง เป็นรายการหลากหลายอย่างที่อ้าง หมายความว่าย่อมมีทั้งแนว ‘โปร’ และ ‘คอน’ เอาหรือไม่เอาร่างฯ คละกันไป

ซึ่งกระทั่ง ๖ ครั้งก็ยังน้อยกว่ารายการของฝ่าย ‘เอา’ อยู่แล้ว บอกให้หลากหลายเข้าไปอีก เท่ากับจัดไว้ให้ด้อยกว่าแน่ๆ

เอียงกระเท่เล่อย่างนี้ ยังจะมาอ้างว่าทำทุกอย่างเป็นกลางได้อย่างไร

ย้อนไปยังประเด็นประชามติครั้งนี้ โดยตัวของมันเองมีลักษณะเป็น plebiscite เสียมากกว่า referendum ดังที่ ดร.Piyabutr Saengkanokkul นักกฎหมายมหาชนวิจารณ์ไว้

“นัยนี้เอง หมายความว่าหัวหน้า คสช. คือผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ มีอำนาจออก รธน. ชั่วคราว ที่ไปกำหนดวิธีการได้มาซึ่ง รธน. ถาวร มีอำนาจในการออกกติกาการออกเสียงประชามติอย่างไรก็ได้

ประชามติแบบนี้จึงเอา ‘ประชาชน’ มาเป็นเสื้อผ้าอาภรณ์เพื่อให้ดูว่า ‘ประชาชน’ เป็นคนสถาปนารัฐธรรมนูญ ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างเขาเป็นผู้กำหนด”

เราจึงได้เห็นความพยายามของ กกต. สรธ. และ สนช. บรรดาลิ่วล้อทั้งหลายดาหน้ากันออกมาทำตามบัญชาของ คสช. ทุกทาง แม้กระทั่งความพยายามของ กสท. ที่มีมติสั่งปิด ‘พี้ชทีวี’ อันเป็นกระบอกเสียงของ นปช. ที่ยืดหยัดไม่รับร่างรัฐธรรมนูญเผด็จการจำบังฉบับนี้อย่างแข็งขัน

หากแต่ศาลปกครองกลางยังไม่ ‘หนาและทน’ เท่า กกต. ก็เลยจำนนด้วยเหตุผลที่ศาลปกครองสูงสุดเคยวินิจฉัยไว้แล้ว ตั้งแต่ ๒๖ พฤษถาคม ๒๕๕๙ ให้ ‘คุ้มครองชั่วคราว’ เมื่อพี้ชทีวีถูก กสทช. เพิกถอนใบอนุญาต

ความพยายามที่จะปิดปากพี้ชทีวีเป็นเวลา ๓๐ วัน ในช่วงที่ต้องมีการรณรงค์เรื่องแนวทางการออกเสียงประชามติ และการตรวจสอบบัตรคะแนนหลังการลงเสียงวันที่ ๗ สิงหาคม จึงเป็นอันพับไปก่อน

(อ่านข่าว ‘พี้ชทีวีจอไม่ดำ ศาลปกครองคุ้มครอง’ ได้ที่http://www.matichon.co.th/news/202724)





ไม่แต่เท่านั้น การที่รองเลขาธิการใหญ่สหประชาชาติออกแถลงการณ์เป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อวันก่อน (๕ กรกฎาคม) ย้ำว่าได้แจ้งแก่ผู้ช่วย รมว.ต่างประเทศของไทย นายวีรศักดิ์ ฟูตระกูล แสดงความกังวลเรื่องข้อจำกัดต่างๆ ในการออกเสียงประชามติที่จะมีขึ้นในประเทศไทย ที่ว่า

“การเคารพต่อหลักสิทธิมนุษยชน และหลักนิติธรรม เป็นองคาพยพสำคัญอันจะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งยังเน้นในเรื่องการสนทนาอย่างรอบด้านเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตย และสนับสนุนการปรองดองในชาติ”

เป็นหลักฐานจะแจ้งว่าเจตนาแท้จริงของ คสช. และลิ่วล้อในการจัดให้มีประชามติครั้งนี้ ยังไม่น่าไว้เนื้อเชื่อใจ





ประเด็นที่ อจ. ปิยบุตรชี้ด้วยว่าประชามติครั้งนี้ “เป็นเพียง plebiscite ซึ่งผูกพันกับตัวบุคคล และมีกติกาที่ไม่ฟรีและไม่แฟร์ (เช่น หลุยส์ นโปเลอง ทำประชามติให้ตนเองเป็นจักรพรรดิตลอดชีพ, ปิโนเชต์ ทำประชามติขออยู่ในอำนาจต่อ เป็นต้น)”

ทำให้ข้อสรุปของ ดร.ปิยบุตรที่ว่า “การไปลงคะแนน ‘ไม่รับ’ ครั้งนี้ จึงไม่ใช่การ ‘ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ’ เท่านั้น แต่เป็นการ ‘ไม่รับ คสช.’ ด้วย”

นี่เป็นสิ่งที่ต้องช่วยกันทำให้เป็นจริง ให้จงไ