วันอังคาร, มิถุนายน 28, 2559

เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมืองใส่เสื้อ vote no อ่านแถลงการณ์หน้าเรือนจำ เรียกร้องให้ คสช.ปล่อยตัวนักศึกษานักกิจกรรมและให้มีการรณรงค์การออกเสียงประชามติอย่างเสรี



https://www.facebook.com/300084093490011/videos/610592089105875/

ooo

แถลงการณ์เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง
เรื่อง ปล่อยตัวนักศึกษาและให้มีการรณรงค์การออกเสียงประชามติอย่างเสรี






ที่มา FB





เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2559 นักศึกษาและกรรมการสหภาพแรงงานจำนวนหนึ่งได้จัดกิจกรรมในย่านนิคมอุตสาหกรรมบางพลีเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญและรณรงค์ให้ประชาชนไปใช้สิทธิออกเสียงประชามติ แต่ได้ถูกเจ้าหน้าที่ทหารตำรวจขัดขวางจับกุมและถูกตั้งข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 3/2558 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 ท้ายสุดนักศึกษา 7 คนได้ถูกศาลทหารปฏิเสธคำร้องให้ปล่อยตัวชั่วคราวและถูกคุมขัง ณ เรือนจำพิเศษกรุงเทพ

การกระทำดังกล่าวของเจ้าหน้าที่ทหารตำรวจเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองและเป็นการขัดขวางการแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญในหมู่ประชาชนเพื่อให้การออกเสียงประชามติเป็นไปอย่างเสรีและเป็นธรรม การรณรงค์ประชามติของนักศึกษาและประชาชนดังกล่าวเป็นไปอย่างสงบ สันติ เปิดเผย มิได้ขัดต่อกฎหมายหรือละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลใด แต่เป็นการกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักในสิทธิของตนและได้รับข้อมูลรอบด้านเพื่อตัดสินใจกำหนดอนาคตของตน

ยิ่งกว่านี้ พระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 มีเนื้อหาที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยเฉพาะมาตรา 61 ที่คุกคามการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตของประชาชน การอ้างพระราชบัญญัติฉบับนี้มาจับกุมดำเนินคดีผู้ที่รณรงค์ประชามติจึงไม่มีความชอบธรรม
การออกเสียงประชามติในวันที่ 7 สิงหาคมจะมีความชอบธรรมเป็นที่ยอมรับนั้นต้องเกิดขึ้นภายใต้บรรยากาศที่มีเสรีภาพ มิใช่การกดขี่บังคับและสร้างความหวาดกลัวดังเช่นที่เป็นอยู่ การณ์กลับเป็นว่าการรณรงค์ประชามติที่รัฐดำเนินอยู่มีลักษณะด้านเดียวคือ เน้นแต่ข้อดีของร่างรัฐธรรมนูญ แต่ห้ามและดำเนินคดีผู้เสนอข้อมูลอีกด้าน ดังกรณีนักศึกษาและกรรมการสหภาพแรงงานที่เสนอความเห็นต่างกลับถูกขัดขวางจับกุมคุมขัง ในขณะที่นักกิจกรรมและนักการเมืองที่สนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญกลับแสดงความคิดเห็นในที่สาธารณะได้อย่างเต็มที่ 

อีกทั้งเจ้าหน้าที่รัฐทั่วประเทศยังได้ถูกระดมออกไปพบประชาชนเพื่อชี้แจงแต่ข้อดีของร่างรัฐธรรมนูญเพียงด้านเดียว ทั้งหมดนี้จะทำให้การออกเสียงประชามติไม่เป็นไปอย่างเสรี ขาดความชอบธรรม และไม่เป็นที่ยอมรับ

เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมืองพร้อมกับผู้มีรายชื่อแนบท้ายจึงมีข้อเรียกร้องต่อ คสช. ดังนี้

1. ปล่อยตัวนักศึกษาทั้ง 7 คนที่ทำการรณรงค์ประชามติร่างรัฐธรรมนูญโดยทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข
2. ยุติการขัดขวาง คุกคาม จับกุมผู้ที่รณรงค์ประชามติและแสดงความคิดเห็นต่างต่อร่างรัฐธรรมนูญอย่างสงบ สันติ เปิดเผย พร้อมทั้งให้มีการเสนอความเห็นรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญในช่องทางต่างๆ ได้อย่างเสรี
3. ประกาศสัญญาประชาคมว่าจะให้การออกเสียงประชามติวันที่ 7 สิงหาคมเป็นไปอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อสะท้อนความเรียกร้องต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง โดยเปิดให้การรณรงค์ประชามติเป็นไปอย่างรอบด้าน ให้ทุกฝ่ายสามารถเสนอข้อมูลทั้งข้อดีและจุดอ่อนของร่างรัฐธรรมนูญโดยไม่ถูกขัดขวางจากเจ้าหน้าที่รัฐ

ด้วยความเชื่อมั่นในสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค

เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง
28 มิถุนายน 2559

Declaration of the Thai Academic Network for Civil Rights
Release the Students and Allow Free Campaigning Around the Referendum


On 23 June 2016, students and a group of labor union board members campaigned around the Bang Phli Industrial Estate to disseminate information about the draft constitution and urge people to exercise their right to vote in the referendum. But soldiers and police interrupted and stopped them. They were arrested and accused of violating Head of the NCPO Order No. 3/2558 [2015] and the Referendum Act of B.E. 2559 [2016]. The military court ultimately denied the request for temporary release of the 7 students and they are currently detained at the Bangkok Remand Prison.

The aforementioned actions of the soldiers and police constitute a violation of the basic right of expression of political views and obstruction of the exchange of information and opinions about the draft constitution among the people, which is necessary in order for the referendum vote to be free and fair. The campaigning around the referendum by the students and labor union board members was peaceful, orderly and open. They did not violate the law or infringe upon anyone else’s rights or freedom. They were taking action to encourage the people to become aware of their rights and receive complete information in order to make a decision that will determine their future.

Further, the Referendum Act of B.E. 2559 [2016] contains provisions that infringe on the rights and freedom of the people. This is particularly the case with Article 61, which threatens the people’s expression of opinions in good faith. The use of this Act to arrest and prosecute those who campaign around the referendum is therefore illegitimate.

If the referendum on 7 August is to be accepted as legitimate, it must take place in an atmosphere of freedom, rather than the current atmosphere of oppression, coercion, and the instigation of fear. Instead, it is becoming apparent that the referendum campaign carried out by the state can be characterized as a one-sided emphasis on only the merits of the draft constitution while disallowing and forbidding the presentation of differing views. This is the case with the students and labor union board members who were obstructed, arrested, and detained for offering such a differing view. At the same time, activists and politicians who support the draft constitution are able to fully express their opinions in public. In addition, state officials around the country have been mobilized to meet with the people in order to provide a one-sided explanation of the merits of the draft constitution. Taken together, this will make the referendum unfree, illegitimate and unacceptable.

The Thai Academic Network for Civil Rights (TANC), together with those signed below, demand that the NCPO do the following:

1. Immediately and unconditionally release the 7 students who were campaigning around the referendum on the draft constitution;
2. Cease obstructing, threatening, and arresting those who campaign around the referendum and express differing views about the draft constitution in an orderly, peaceful and open manner, and allow the free presentation of views to accept or reject the draft constitution through various channels; and
3. Promise to the public that the referendum on 7 August will be free and fair so that it will reflect the true demands and wishes of the people. This means allowing campaigning around the referendum from all sides and allowing all sides to present information on the merits and weaknesses of the draft constitution without obstruction by state officials.

With our faith in rights, freedom, and equality
Thai Academic Network for Civil Rights (TANC)
28 June 2016

รายชื่อแนบท้ายแถลงการณ์

1. กนกรัตน์ สถิตนิรามัย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. กรพนัช ตั้งเขื่อนขันธ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3. กฤดิกร วงศ์สว่างพานิช นักวิชาการอิสระ
4. กฤตยา อาชวนิจกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
5. กฤติธี ศรีเกตุ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
6. กฤษฎา บุญชัย นักวิชาการอิสระ
7. กฤษณ์พชร โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
8. กษมาพร แสงสุระธรรม นักวิชาการอิสระ
9. กันต์ฌพัชญ์ อยู่อำไพ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
10. กิตติ วิสารกาญจน สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตเพชรบุรี
11. กิตติกาญจน์ หาญกุล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
12. กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ นักวิชาการอิสระ
13. กุลธีร์ บรรจุแก้ว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
14. กุลลดา เกษบุญชู มี้ด นักวิชาการอิสระ
15. กุศล พยัคฆ์สัก นักวิชาการอิสระ
16. เก่งกิจ กิติเรียงลาภ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
17. เกษม เพ็ญภินันท์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
18. เกษียร เตชะพีระ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
19. ขวัญชนก กิตติวาณิชย์ นักศึกษา The University of Manchester
20. เขมรัฐ โอสถาพันธุ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
21. คงกฤช ไตรยวงค์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
22. คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง ภาควิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยศิลปากร
23. คมลักษณ์ ไชยยะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา
24. คารินา โชติรวี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
25. เคท ครั้งพิบูลย์ นักวิชาการอิสระ
26. เครือมาศ บำรุงสุข นักวิชาการอิสระ
27. งามศุกร์ รัตนเสถียร สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
28. จอน อึ๊งภากรณ์
29. จักเรศ อิฐรัตน์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
30. จักรกริช สังขมณี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
31. จักรกฤษ กมุทมาศ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
32. จันทจิรา เอี่ยมมยุรา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
33. จุฑามณี สามัคคีนิชย์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
34. จันทนี เจริญศรี สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
35. เจษฎา บัวบาล เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
36. เฉลิมชัย ทองสุข กลุ่มผู้ประกอบกิจการสังคมเพื่อประชาธิปไตย
37. ชล บุนนาค คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
38. ชลัท ศานติวรางคณา สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
39. ชลิตา บัณฑุวงศ์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
40. ชวาลิน เศวตนันทน์ Macquarie University, Australia
41. ชัชวาล ปุญปัน ข้าราชการบำนาญ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
42. ชัยพงษ์ สำเนียง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
43. ชนัญญ์ เมฆหมอก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
44. ชาญณรงค์ บุญหนุน คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
45. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักวิชาการอิสระ
46. ชานันท์ ยอดหงษ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
47. ชไมพร รุ่งฤกษ์ฤทธิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
48. ชำนาญ จันทร์เรือง มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
49. ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
50. เชษฐา พวงหัตถ์ นักวิชาการอิสระ
51. เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
52. ไชยันต์ รัชชกูล คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
53. ซัมซู สาอุ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
54. ซากีย์ พิทักษ์คุมพล สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
55. ญดา สว่างแผ้ว นักวิชาการอิสระ
56. ญาณาธิป เตชะวิเศษ นักวิชาการอิสระ
57. ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
58. ฐิติรัตน์ สุวรรณสม คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
59. ณภัค เสรีรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
60. ณรงค์ อาจสมิติ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
61. ณรุจน์ วศินปิยมงคล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
62. ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
63. ณัฐกานต์ อัครพงศ์พิศักดิ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
64. ณัฐดนัย นาจันทร์ นิสิตปริญญาโท คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
65. ดวงยิหวา อุตรสินธุ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
66. ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
67. ดวงหทัย บูรณเจริญกิจ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
68. เดชรัต สุขกำเนิด คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
69. เดือนฉาย อรุณกิจ มหาวิทยาลัยพายัพ
70. ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง นักวิชาการอิสระ
71. ทนุวงศ์ จักษุพา คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน
72. ทวีศักดิ์ เผือกสม ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
73. ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
74. ทับทิม ทับทิม นักวิชาการอิสระ
75. ทัศนัย เศรษฐเสรี คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
76. ธนพงษ์ หมื่นแสน นักกิจกรรมทางสังคม
77. ธนพร ศรียากูล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
78. ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ สาขาวิชาพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
79. ธนภาษ เดชพาวุฒิกุล Graduate School of Asia-Pacific Studies, Waseda University
80. ธนศักดิ์ สายจำปา สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
81. ธนาคม วงษ์บุญธรรม นักวิจัย
82. ธนาวิ โชติประดิษฐ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
83. ธนิศร์ บุญสม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
84. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
85. ธร ปีติดล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
86. ธัชธรรม ศิลป์สุพรรณ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
87. ธัญญธร สายปัญญา รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
88. ธิกานต์ ศรีนารา ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
89. ธีรวัฒน์ ขวัญใจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
90. ธีระ สุธีวรางกูร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
91. ธีระพล อันมัย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
92. นงเยาว์ เนาวรัตน์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
93. นนท์ นุชหมอน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
94. นภนต์ ภุมมา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
95. นภาพร อติวานิชยพงศ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
96. นรุตม์ เจริญศรี คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
97. นฤมล กล้าทุกวัน สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
98. นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
99. นลินี ตันธุวนิตย์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
100. นัทมน คงเจริญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
101. นาตยา อยู่คง ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
102. นิติ ภวัครพันธุ์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
103. นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการ
104. บดินทร์ สายแสง สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
105. บัณฑิต ไกรวิจิตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
106. บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
107. บารมี ชัยรัตน์ สมัชชาคนจน
108. บาหยัน อิ่มสำราญ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
109. บุญเลิศ วิเศษปรีชา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
110. บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
111. บุปผาทิพย์ แช่มนิล นักกิจกรรมเยาวชน เขาชะเมา
112. เบญจมาศ บุญฤทธิ์
113. เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
114. ปฐม ตาคะนานันท์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
115. ประกาศ สว่างโชติ ข้าราชการเกษียณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
116. ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
117. ประไพพิศ มุทิตาเจริญ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
118. ประภัสสร์ ชูวิเชียร คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
119. ประภากร ลิพเพิร์ท นักวิชาการอิสระ
120. ประเสริฐ แรงกล้า คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
121. ประภาส ปิ่นตบแต่ง ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
122. ปราโมทย์ ระวิน มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
123. ปวลักขิ์ สุรัสวดี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
124. ปวินท์ ระมิงค์วงศ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
125. ปัทมวรรณ จิมากร ซิลลิ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
126. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
127. ปิยบุตร แสงกนกกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
128. ปิยรัฐ จงเทพ สมาคมเพื่อเพื่อน
129. ปีติกาญจน์ ประกาศสัจธรรม อดีตอาจารย์วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยนเรศวร
130. ปูนเทพ ศิรินุพงศ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
131. พกุล แองเกอร์ นักวิชาการอิสระ
132. พงศ์สุดา กาศยปนันท์ ศูนย์พหุวัฒนธรรมและนโยบายการศึกษา
133. พงษ์ศักดิ์ รัตนวงศ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
134. พงศ์เทพ แก้วเสถียร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
135. พรณี เจริญสมจิตร์ ข้าราชการบำนาญ มหาวิทยาลัยศิลปากร
136. พรรณราย โอสถาภิรัตน์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
137. พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
138. พศุตม์ ลาศุขะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
139. พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
140. พันธุ์พิพิธ พิพิธพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
141. พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
142. พิชญา พรรคทองสุข คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
143. พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
144. พิเชฐ แสงทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
145. พิพัฒน์ สุยะ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
146. พิภพ อุดมอิทธิพงศ์ นักวิชาการอิสระ
147. พุทธพล มงคลวรวรรณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
148. แพร จิตติพลังศรี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
149. ภัควดี วีระภาสพงษ์ นักแปล/นักเขียน
150. ภัทรภร ภู่ทอง มหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล
151. ภัทรนันท์ ทักขนนท์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
152. ภาสกร อินทุมาร คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
153. มณีรัตน์ มิตรปราสาท นักวิชาการอิสระ
154. มนตรา พงษ์นิล คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
155. มูนีเราะฮ์ ยีดำ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
156. มูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
157. เมธาวี โหละสุต คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
158. ยศ สันตสมบัติ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
159. ยอดพล เทพสิทธา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
160. ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
161. เยาวนิจ กิตติธรกุล สถาบันทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
162. รชฎ สาตราวุธ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
163. รชฏ นุเสน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
164. รอมฎอน ปันจอร์ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้
165. รัฐพงศ์ ภิญโญโสภณ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
166. รัตนา โตสกุล นักวิชาการ
167. รามิล กาญจันดา คณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
168. ลักขณา ปันวิชัย นักเขียน
169. วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
170. วรยุทธ ศรีวรกุล นักวิชาการอิสระ
171. วรรณภา ลีระศิริ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
172. วรวิทย์ เจริญเลิศ นักวิชาการอิสระ
173. วริณาฐ พิทักษ์วงศ์วาน สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
174. วัชรพล พุทธรักษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
175. วัชรฤทัย บุญธินันท์ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
176. วสันต์ ลิ่มรัตนภัทรกุล โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล
177. วาสนา ละอองปลิว มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
178. วิเชียร อันประเสริฐ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
179. วิจักขณ์ พานิช นักวิชาการอิสระ
180. วิทยา อาภรณ์ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
181. วิภา ดาวมณี นักวิชาการอิสระ
182. วิภาวี พงษ์ปิ่น คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
183. วิริยะ สว่างโชติ นักวิชาการอิสระ
184. วิโรจน์ ณ ระนอง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)
185. วิโรจน์ อาลี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
186. วีรบูรณ์ วิสารทสกุล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
187. วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักวิชาการอาคันตุกะ, SOAS, University of London
188. วีระชัย พุทธวงศ์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
189. เวียงรัฐ เนติโพธิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
190. ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
191. ศรัญญู เทพสงเคราะห์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
192. ศรันย์ สมันตรัฐ ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
193. ศรีประภา เพชรมีศรี สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
194. ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา
195. ศักรินทร์ ณ น่าน คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน
196. ศิริจิต สุนันต๊ะ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
197. ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
198. ศุภกาญจน์ พงศ์ยี่หล้า ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
199. ศุภวิทย์ ถาวรบุตร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
200. สถิตย์ ลีลาถาวรชัย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
201. สมเกียรติ วันทะนะ ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
202. สมชาย ปรีชาศิลปกุล นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
203. สมฤทธิ์ ลือชัย นักวิชาการอิสระ
204. สมัคร์ กอเซ็ม ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
205. สมิทธิรักษ์ จันทรักษ์ นักวิชาการอิสระ
206. สร้อยมาศ รุ่งมณี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
207. สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระ
208. สามชาย ศรีสันต์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
209. สายชล สัตยานุรักษ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
210. สายฝน สิทธิมงคล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
211. สาวตรี สุขศรี นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
212. สาวิตร ประเสริฐพันธุ์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
213. สิทธารถ ศรีโคตร ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
214. สิทธิพล เครือรัฐติกาล วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
215. สุชาดา จักรพิสุทธิ์ TCIJ
216. สุชาติ เศรษฐมาลินี มหาวิทยาลัยพายัพ
217. สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
218. สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
219. สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี นักวิจัยอิสระ
220. สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ โรงพยาบาลจะนะ จังหวัดสงขลา
221. สุภัทรา นีลวัชระ วรรณพิณ อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์
222. สุภัทรา บุญปัญญโรจน์ สาขาคติชนวิทยา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
223. สุภาสเมต ยุนยะสิทธิ์ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
224. สุรชาติ บำรุงสุข คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
225. สุรัช คมพจน์ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
226. สุรางค์รัตน์ จำเนียรพล สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
227. สุรินทร์ อ้นพรม คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
228. สุรินรัตน์ แก้วทอง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
229. สุไรนี สายนุ้ย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
230. เสนาะ เจริญพร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
231. เสาวณิต จุลวงศ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
232. เสาวณีย์ แก้วจุลกาญจน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
233. เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเลกซานเดอร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
234. โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
235. หทยา อนันต์สุชาติกุล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
236. อดิศร เกิดมงคล เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ
237. อนุสรณ์ ติปยานนท์ ภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
238. อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
239. อภิญญา เวชยชัย คณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
240. อภิชาต พงษ์สวัสดิ์ นักศึกษาปริญญาโท วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๊วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
241. อภิชาต สถิตนิรามัย เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
242. อภิชาติ จันทร์แดง สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
243. อมต จันทรังษี ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
244. อรชา รักดี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
245. อรภัคค รัฐผาไท มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
246. อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
247. อรรถพล อนันตวรสกุล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
248. อรศรี งามวิทยาพงศ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
249. อรอนงค์ ทิพย์พิมล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
250. อสมา มังกรชัย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
251. อังกูร หงษ์คณานุเคราะห์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
252. อัจฉรา รักยุติธรรม คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
253. อัฏฐพร ฤทธิชาติ นักศึกษาปริญญาโท วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
254. อันธิฌา แสงชัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
255. อัมพร หมาดเด็น มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
256. อาจิณโจนาธาน อาจิณกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
257. อาจินต์ ทองอยู่คง คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
258. อาชัญ นักสอน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
259. อาทิตย์ ศรีจันทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
260. อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล อาจารย์พิเศษ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
261. อานันท์ กาญจนพันธุ์
262. อิมรอน ซาเหาะ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้
263. อิสราภรณ์ พิศสะอาด คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
264. อุเชนทร์ เชียงเสน สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
265. อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
266. อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ นักวิชาการ
267. เอกชัย ไชยนุวัติ นักวิชาการกฎหมาย
268. เอกชัย หงส์กังวาน สมาคมเพื่อเพื่อน
269. เอกพลณัฐ ณัฐพัทธนันท์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
270. เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
271. Aim Sinpeng, Department of Government and International Relations, University of Sydney
272. Alessandra Mezzadri, Department of Development Studies, SOAS, University of London
273. Andrea Molnar, Department of Anthropology, Northern Illinois University
274. Andrew Newsham, Centre for Development, Environment and Policy, SOAS, University of London
275. Angela Chiu, Department of the History of Art and Archaeology, SOAS, University of London
276. Brett Farmer, Honorary Research Fellow, University of Melbourne
277. Carlo Bonura, Department of Politics and International Studies, SOAS, University of London
278. Charles Keyes, Professor Emeritus, University of Washington
279. Clare Farne Robinson, Scholars at Risk
280. Jesse Levine, Scholars at Risk
281. John Faulkner SOAS, University of London
282. Kalpalata Dutta, PhD candidate, Institute of Human Rights and Peace Studies, Mahidol University
283. Lars Peter Laamann, History Department, SOAS, University of London
284. Nadje Al-Ali, Center for Gender Studies, SOAS, University of London
285. Mataya Ingkanart, Faculty of Humanities
286. Michael Montesano, Institute of Southeast Asian Studies, Singapore
287. Michelle Tan, Faculty of Political Science, Thammasat University
288. Mulaika Hijjas, SOAS, University of London
289. Owen Miller, Department of Japan and Korea, SOAS, University of London
290. Peter Vandergeest, Department of Geography, York University
291. Philip Hirsch, University of Sydney
292. Rachel Harrison, Department of the Languages and Cultures of South East Asia, SOAS
293. Rahul Rao, Department of Politics and International Studies, SOAS, University of London
294. Tyrell Haberkorn, Political and Social Change, Australian National University
295. Wolfram Schaffar, Institut fur Internationale Entwicklung, Universitat Wien
296. Yorgos Dedae, SOAS, University of London

ooo


292 นักวิชาการออกแถลงการณ์ให้ปล่อยตัวน.ศ.-รณรงค์ออกเสียงประชามติอย่างเสรี

(ล่าสุดมีรายชื่อทั้งหมด 296)




ที่มา มติชนออนไลน์
28 มิ.ย. 59

จากกรณีเมื่อวันที่ 23 มิถุนายนที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารนาวิกโยธิน จับกุมตัวสมาชิก NDM พร้อมคนงานไทรอัมพ์รวม 13 คน ขณะแจกเอกสารรณรงค์ประชามติร่าง รธน.ย่านนิคมบางพลี โดนตั้งข้อหาขัดคำสั่ง คสช.ชุมนุมเกิน 5 คน ยอมประกันตัว 6 คน ขณะนักศึกษา 7 คนไม่ขอประกันตัว

เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 28 มิถุนายน ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง เดินทางเข้าเยี่ยมนักศึกษาทั้ง 7 คน นำโดย นายอนุสรณ์ อุณโณ คณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา นายบุญเลิศ วิเศษปรีชา อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา นายพิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมอ่านแถลงการณ์ก่อนการเข้าเยี่ยม

นายอนุสรณ์ได้อ่านแถลงการณ์เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง ขอให้ปล่อยตัวนักศึกษาและให้มีการรณรงค์การออกเสียงประชามติอย่างเสรี โดยมีใจความว่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน นักศึกษาและกรรมการสหภาพแรงงานจำนวนหนึ่งได้จัดกิจกรรมในย่านนิคมอุตสาหกรรมบางพลี เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญและรณรงค์ให้ประชาชนไปใช้สิทธิออกเสียงประชามติ แต่ได้ถูกเจ้าหน้าที่ทหารตำรวจขัดขวางจับกุมและถูกตั้งข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 3/2558 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 ท้ายสุดนักศึกษา 7 คนได้ถูกศาลทหารปฏิเสธคำร้องให้ปล่อยตัวชั่วคราวและถูกคุมขัง ณ เรือนจำพิเศษกรุงเทพ การกระทำดังกล่าวของเจ้าหน้าที่ทหารตำรวจเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง และเป็นการขัดขวางการแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญในหมู่ประชาชน เพื่อให้การออกเสียงประชามติเป็นไปอย่างเสรีและเป็นธรรม การรณรงค์ประชามติของนักศึกษาและประชาชนดังกล่าวเป็นไปอย่างสงบ สันติ เปิดเผย มิได้ขัดต่อกฎหมายหรือละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลใด แต่เป็นการกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักในสิทธิของตนและได้รับข้อมูลรอบด้านเพื่อตัดสินใจกำหนดอนาคตของตน ยิ่งกว่านี้ พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 มีเนื้อหาที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยเฉพาะมาตรา 61 ที่คุกคามการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตของประชาชน การอ้างพระราชบัญญัติฉบับนี้มาจับกุมดำเนินคดีผู้ที่รณรงค์ประชามติจึงไม่มีความชอบธรรม

นายอนุสรณ์ระบุต่อว่า การออกเสียงประชามติในวันที่ 7 สิงหาคม จะมีความชอบธรรมเป็นที่ยอมรับนั้น ต้องเกิดขึ้นภายใต้บรรยากาศที่มีเสรีภาพ มิใช่การกดขี่บังคับและสร้างความหวาดกลัวดังเช่นที่เป็นอยู่ การณ์กลับเป็นว่าการรณรงค์ประชามติที่รัฐดำเนินอยู่มีลักษณะด้านเดียวคือ เน้นแต่ข้อดีของร่างรัฐธรรมนูญ แต่ห้ามและดำเนินคดีผู้เสนอข้อมูลอีกด้าน ดังกรณีนักศึกษาและกรรมการสหภาพแรงงานที่เสนอความเห็นต่างกลับถูกขัดขวางจับกุมคุมขัง ในขณะที่นักกิจกรรมและนักการเมืองที่สนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญกลับแสดงความคิดเห็นในที่สาธารณะได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งเจ้าหน้าที่รัฐทั่วประเทศยังได้ถูกระดมออกไปพบประชาชนเพื่อชี้แจงแต่ข้อดีของร่างรัฐธรรมนูญเพียงด้านเดียว ทั้งหมดนี้จะทำให้การออกเสียงประชามติไม่เป็นไปอย่างเสรี ขาดความชอบธรรม และไม่เป็นที่ยอมรับ

“เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมืองพร้อมกับผู้มีรายชื่อแนบท้ายจึงมีข้อเรียกร้องต่อ คสช. ดังนี้ 1.ปล่อยตัวนักศึกษาทั้ง 7 คนที่ทำการรณรงค์ประชามติร่างรัฐธรรมนูญโดยทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข 2.ยุติการขัดขวาง คุกคาม จับกุมผู้ที่รณรงค์ประชามติและแสดงความคิดเห็นต่างต่อร่างรัฐธรรมนูญอย่างสงบ สันติ เปิดเผย พร้อมทั้งให้มีการเสนอความเห็นรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญในช่องทางต่างๆ ได้อย่างเสรี 3 ประกาศสัญญาประชาคมว่าจะให้การออกเสียงประชามติวันที่ 7 สิงหาคม เป็นไปอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อสะท้อนความเรียกร้องต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง โดยเปิดให้การรณรงค์ประชามติเป็นไปอย่างรอบด้าน ให้ทุกฝ่ายสามารถเสนอข้อมูลทั้งข้อดีและจุดอ่อนของร่างรัฐธรรมนูญโดยไม่ถูกขัดขวางจากเจ้าหน้าที่รัฐ ด้วยความเชื่อมั่นในสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค” นายอนุสรณ์อ่านแถลงการณ์

นายอนุสรณ์กล่าวว่า แถลงการณ์ครั้งนี้มีนักวิชาการร่วมลงนามกว่า 292 รายชื่อ 35 สถาบันทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเรียกร้องสนับสนุนให้ปล่อยตัวนักศึกษา โดยในวันที่ 30 มิถุนายน กลุ่มนักวิชาการที่ตกเป็นกลุ่มนักวิชาการสุ่มเสี่ยงจะส่งคำร้องไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและคณะ คสช. เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักศึกษาอย่างไม่มีเงื่อนไข เพราะสิ่งที่นักศึกษากระทำนั้นไม่ถือว่าเป็นความผิด ทั้งนี้ หาก คสช.ยังไม่มีทีท่าตอบกลับ ตนและคณะนักวิชาการอาจจะต้องหาวิธีที่เข้มข้นขึ้นในการเรียกร้อง

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่ามีความคิดเห็นอย่างไรที่ช่วงค่ำวันนี้จะมีการโหวตการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติของไทยวาระปี 2560-2561 นายอนุสรณ์กล่าวว่า การกระทำดังกล่าวเสมือนนำประเทศไทยไปประจาน ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง เมื่อถามต่อว่า ที่โฆษกออกมาพูดว่าการทำประชามติของประเทศอังกฤษไม่เห็นมีปัญหา นายอนุสรณ์กล่าวว่า ประชามติของประเทศไทยและต่างประเทศมีความแตกต่างกัน ของประเทศอังกฤษนั้นยอมรับในความเห็นต่างของประชาชน และรัฐบาลมีความเป็นกลาง ไม่มีการขัดขวางประชาชนที่เห็นต่าง การที่โฆษกออกมาพูดดังกล่าวนั้น “ถือว่าเป็นการไม่ส่องกระจก” อย่างไรก็ตามในทุกๆ วันที่นักศึกษายังคงอยู่ในเรือนจำจะมีคณะนักวิชาการมาเยี่ยมอย่างสม่ำเสมอ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนอ่านแถลงการณ์ดังกล่าวคณะนักวิชาการได้นำเสื้อยืดสีขาวที่มีข้อความระบุบนเสื้อ “โหวตโน” มาสวมใส่จึงค่อยอ่านแถลงการณ์ จากนั้นได้มีนักศึกษาทยอยเดินทางเข้าเยี่ยม โดยนักศึกษาคนถือลูกโป่งสีม่วงที่มีข้อความระบุรณรงค์ไม่ผิด อย่างไรก็ตาม บริเวณเรือนจำดังกล่าวมีเจ้าหน้าที่ตำรวจจาก สน.ประชาชื่น 6 นาย คอยดูแลรักษาความปลอดภัย