วันพุธ, มิถุนายน 08, 2559

โอยั๊วะคงไม่มีขายที่สิงคโปร์! ท่านผู้นำวีนแตกใส่สื่อ (กลัวอะไรนักหนากับศูนย์ฯของ นปช) 6มิย2559 + มังโสด" ไม่หวั่น เจ้าหน้าที่ประกบติด องค์กรสังเกตการณ์ลงประชามติฯ




https://www.youtube.com/watch?v=MNJUkw4SBgU&feature=youtu.be

โอยั๊วะคงไม่มีขายที่สิงคโปร์! ท่านผู้นำวีนแตกใส่สื่อ (กลัวอะไรนักหนากับศูนย์ฯของ นปช) 6มิย2559

bamboo network

Published on Jun 6, 2016

ประยุทธ์ จันทร์โอชา 6 มิถนา 2559

.....





โต้ตอบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

เรื่อง “ศูนย์ปราบโกงประชามติ”
(UDD Referendum Monitoring Center)

“ศูนย์ปราบโกงประชามติ” ที่ นปช. เปิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน 2559 ที่ชั้น 5 อิมพีเรียลเวิลด์ ลาดพร้าว กลายเป็นเหตุให้ คสช. และท่านผู้นำโมโห โกรธา ในวันที่ 6 มิถุนายน และได้ให้สัมภาษณ์แถลงอย่างดุเดือด โจมตี นปช.

ดิฉันคิดว่าท่านผู้นำยังไม่รู้และไม่เข้าใจอะไรหลายอย่าง และน่าเป็นห่วงประเทศไทยมากที่ท่านนายกรัฐมนตรี หัวหน้าคณะรัฐประหาร พูดในที่สาธารณะโดยขาดข้อมูลเพียงพอ

นปช. ดำเนินการตั้งศูนย์ตรวจสอบการเลือกตั้งมา 2 รอบแล้ว

รอบแรกคือการเลือกตั้งใหญ่ทั่วประเทศเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เราส่งอาสาสมัครตรวจสอบการหาเสียงว่าทำผิดกฎหมายเลือกตั้งหรือไม่คือตรวจสอบก่อนเลือกตั้ง และวันหย่อนบัตรเลือกตั้งทั่วประเทศทุกเขตและเกือบทุกหน่วยเลือกตั้ง หลายแสนคน

อีกครั้งคือวันเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556

สองครั้งที่ผ่านมา กกต. และ นปช. ไม่มีปัญหากัน ทั้งได้รับความร่วมมือจาก กกต. ในการอบรมอาสาสมัคร ล่าสุดมีการอบรมอาสาสมัครกว่า 8,000 คน ในการตรวจสอบการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยจัดอบรมที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี เราพบปัญหามากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเทพมหานครและบางภาค โดยอาสาสมัครเราเป็นผู้สังเกตการณ์ภายนอกหน่วยเลือกตั้ง ไม่ได้เข้าไปอยู่ในหน่วยเลือกตั้ง แต่ก็ทำงานได้ แม้ไม่ได้ 100% เราก็ถือว่าดีกว่าไม่ได้ทำอะไรเลย และเรามีข้อเสนอต่อ กกต. มากมาย เช่น
- การขานชื่อผู้ใช้สิทธิเสียงดัง
- การปิดแสดงคะแนนหน้าหน่วยให้ได้บันทึก
- หรือการตัดสินบัตรที่มีปัญหาต้องใช้การประชุมหน่วย ตลอดจนแสดงภาพบัตรที่ถือเป็นบัตรเสียให้ประชาชนรู้

เรามีการนอนเฝ้าหีบบัตรที่มีการออกเสียงล่วงหน้า หรือให้เขตแสดงความโปร่งใสในการเก็บตู้เก็บคะแนนให้ประชาชนตรวจสอบ

นี่ไม่ใช่เรื่องของพลเมืองดีหรืออย่างไร?

เราทำหน้าที่ป้องปรามการทุจริตเลือกตั้งมาแล้ว ได้ผลระดับหนึ่ง แต่ในกรณีการทำประชามติครั้งนี้ ไม่ใช่เรื่องการแข่งขันระหว่างพรรคการเมือง แต่เป็นการแสดงสิทธิของประชาชนที่จะลงความเห็นรับ/ไม่รับรัฐธรรมนูญของ คสช. ที่ผลิตโดย กรธ. และ สนช.

ดังนั้นการตั้ง “ศูนย์ปราบโกงประชามติ” ไม่ใช่ปราบการคอรัปชั่น แต่ปราบการโกงสิทธิและโกงอำนาจของประชาชนทางการเมืองการปกครอง ท่านยึดอำนาจไปแล้ว ประชาชนก็ยังเงียบ ปล่อยให้ท่านบริหารประเทศ ออกกฎหมาย บังคับและแต่งตั้งผู้คนโดยใช้เงินภาษีประชาชนทั้งนั้น (ท่านไม่ได้ทำมาหากินเอง) เขียนรัฐธรรมนูญตามใจชอบ แล้วท่านก็ย่ามใจ ออกกฎหมายพระราชบัญญัติประชามติที่ควบคุมสิทธิเสรีภาพของฝ่ายที่ไม่สนับสนุนรัฐธรรมนูญและไม่สนับสนุนการดำรงอยู่ของระบอบรัฎฐาธิปัตย์

นี่เราก็พยายามทำหน้าที่พลเมืองดีที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยโดยพลังประชาชน ตัดสินความชอบธรรมของรัฐธรรมนูญนี้ว่าประชาชนชอบหรือไม่ผ่านปลายปากกาในคูหาลงประชามติ อย่างโปร่งใสและมีเสรีภาพเต็มที่ ให้ออกมามากที่สุด

เข้าใจไหม...ท่านผู้นำ!!!

ธิดา ถาวรเศรษฐ
6 มิ.ย. 59

Credit Konthai UK

ooo


"มังโสด" ไม่หวั่น เจ้าหน้าที่ประกบติด องค์กรสังเกตการณ์ลงประชามติฯ






ที่มา TV24
6 มิถุนายน พ.ศ. 2559


อาจารย์มังโสด มะเต๊ะ ในฐานะประธานองค์กรสังเกตการณ์ลงประชามติจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า หลังจากองคกรสังเกตการณ์ลงประชามติจังหวัดแดนภาคใต้ มีการประชุมเครือข่ายสมาชิกให้มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการสังเกตการณ์ลงประชามติในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่โรงแรมไดอิชิ (Daiichi Hotel) อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา วานนี้นั้น ปรากฏว่า ภายในวันนี้ มีผู้อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานความมั่นคง สังกัดหน่วยงานความมั่นคงแห่งหนึ่ง ภายในพื้นที่ จ.สงขลา ได้ติดต่อไปยัง โรงแรมไดอิชิ เพื่อขอต้นฉบับกล้องที่บันทึกเทปกิจกรรมภายในห้องประชุมของโรงแรมที่จัดกิจกรรมดังกล่าว ขณะที่ทางโรงแรมแจ้งกลับไปว่า ไม่ได้มีการบันทึกภาพดังกล่าวไว้ โดย โรงแรมไดอิชิ ได้ให้หมายเลขติดต่อกับ อาจารย์มังโสด มะเต๊ะ ประธานองค์กรสังเกตการณ์ลงประชามติจังหวัดชายแดนภาคใต้

อาจารย์มังโสด มะเต๊ะ ระบุว่า ต่อมา วันนี้ ตนเอง ได้รับการติดต่อกลับมาโดยมีการอ้างชื่อเจ้าหน้าที่หน่วยงานความมั่นคง เพื่อขอต้นฉบับกล้องที่บันทึกเทปกิจกรรมขององค์กรสังเกตการณ์ลงประชามติจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายในห้องประชุมของโรงแรมไดอิชิ โดยตนเองจะยังไม่ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมใดๆ และขอสงวนท่าทีในกรณีดังกล่าว เพื่อประเมินสถานการณ์ประมาณ 2-3 วัน ก่อนที่จะตัดสินใจในเรื่องดังกล่าวต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า องค์กรสังเกตการณ์ลงประชามติจังหวัดแดนภาคใต้ มีชื่อภาษามลายูว่า Suara Rakyat Selatan 1437H ได้แถลงข่าวเปิดตัวองค์กรสังเกตการณ์ลงประชามติจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเครือข่ายพันธ์มิตร 35 องค์กร เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ที่โรงแรมไดอิชิ (Daiichi Hotel) อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.โคทม อารียา และทีมงานผู้เชี่ยวชาญ ได้จัดการอบรมเพื่อให้ความรู้เรื่องการลงประชามติ โดยภายในงานแถลงข่าวเปิดตัว องค์กรสังเกตการณ์ลงประชามติจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเครือข่ายพันธมิตร 35 องค์กร มีการเผยแพร่เนื้อหา แถลงการณ์องค์กรสังเกตการณ์ลงประชามติจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนี้

เนื่องจากร่างรัฐธรรมนูญที่จะจัดให้มีการลงประชามติของประชาชนในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 นั้น ซึ่งตามมาตรา 7 พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 ที่บัญญัติว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเผยแพร่ความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกเสียงโดยสุจริต และไม่ขัดต่อกฏหมาย” ดังนั้น จึงจัดตั้ง “องค์กรสังเกตการณ์ลงประชามติจังหวัดชายแดนภาคใต้” มีวัตถุประสงค์ให้เป็นไปตามบทบัญญัติกฎหมายออกเสียงประชามติดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์ ได้แก่


เพื่อให้ประชาชนเข้าใจเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญ
เพื่อเชิญชวนประชาชนออกไปใช้สิทธิ์ลงประชามติ
เพื่อให้การลงประชามติเป็นไปตามกฏหมาย และเกิดความยุติธรรม
เพื่อป้องกันและดำเนินการกับเจ้าหน้าที่รัฐ และประชาชนไม่ให้กระทำผิดกฏหมายประชามติ
เพื่อสังเกตการณ์ และเฝ้าระวังไม่ให้มีการทุจริตในการนับคะแนนลงประชามติ
เพื่อสื่อสารสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นไปตามกฏหมายว่าด้วยการออกเสียงประชามติฯ และระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีเผยแพร่ฯ อาทิ ก่อนเผยแพร่ ต้องตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลงานวิจัย รวมถึงที่มาก่อนนำมาประกอบความเห็นหรืออ้างอิงงานวิจัยตามหลักวิชาการ เป็นต้น