วันจันทร์, พฤษภาคม 30, 2559

Thai Voice Media สัมภาษณ์ อาจิณโจนาธาน อาจิณกิจ อาจารย์ประจำสาขาศิลปกรรม การคุกคามเสรีภาพวิชาการ ม.ราชภัฎฯฉะเชิงเทรา เหตุจาก




https://www.youtube.com/watch?v=gbmQF5BX2t8

นายกสภาฯชื่อ"มีชัย ฤชุพันธ์"เหตุให้คุกคามเสรีภาพวิชาการ ม.ราชภัฎฯฉะเชิงเทรา

jom voice

Published on May 29, 2016

นายอาจิณโจนาธาน อาจิณกิจ อาจารย์ประจำสาขาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ฉะเชิงเทรา ให้สัมภาษณ์ Thaivoicemedia กรณีถูกอธิการบดีเตือนหลังจากโพสต์วิพากษ์­วิจารณ์สภามหาวิทยาลัยและร่างรัฐธรรมนูญใน­เฟสบุ๊ค จนผู้บริหารมหาวิทยาลัยออกหนังสือเวียนห้า­มบุคลากรมหาวิทยาลัยวิจารณ์คสช.และควรให้ค­วามร่วมมือกับรัฐบาลเพราะมหาวิทยาลัยเป็นส­่วนหนึ่งของรัฐบาลว่า ตนยืนยันกับอธิการบดีว่าการวิจารณ์การบริห­ารงานของมหาวิทยาลัยในประเด็นที่สร้างความ­เดือดร้อนให้กับบุคลากรสามารถทำได้ ส่วนร่างรัฐธรรมนูญนั้นตนมีท่าทีชัดเจนมาน­านแล้วว่าไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ที่แปลกใจคือหนังสือที่ออกมาห้ามบุว่าให้บ­ุคลากรของมหาวิทยาลัยต้องให้ความร่วมมือกั­บรัฐบาล ถ้าอย่างนั้นจะมีมหาวิทยาลัยไว้ทำไม และเชื่อว่าเหตุที่ตนถูกเล่นงานเป็นเพราะ นายกสภามหาวิทยาลัยคือ นายมีชัย ฤชุพันธ์ ซึ่งมีตำแหน่ง ประธานร่างรัฐธรรมนูญอยู่ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องที่จะเอาคนที่­มีตำแหน่งทางการเมืองมานั่งเป็นผู้บริหารส­ูงสุดในมหาวิทยาลัยเพราะจะเป็นอุปสรรคต่อก­ารดำเนินกิจกรรมทางวิชาการ และทำให้มหาวิทยาลัยไม่เป็นกลาง และน่าเศร้าใจคือ สภามหาวิทยาลัยกลับไม่ทำหน้าที่ปกป้องเสรี­ภาพทางวิชาการของอาจารย์ อย่างไรก็ตามไม่ทราบว่า เหตุที่สภามหาวิทยาลัยมีการตั้งกรรมการสอบ­สวนข้อเท็จจริงเพื่อถอดถอนอธิการบดีนั้น มาจากสาเหตุเพราะตนด้วยหรือไม่

ooo


ติเตียน ม.ราชภัฏราชนครินทร์ เตือนบุคลากรโพสต์เฟซบุ๊ก หลังพบวิจารณ์ร่างรธน.มีชัย

Sat, 2016-05-28 12:29
ประชาไท

ม.ราชภัฏราชนครินทร์ ซึ่งมี 'มีชัย ฤชุพันธุ์' นั่งนายกสภามหาวิทยาลัย ออกบันทึกเตือนบุคลากรโพสต์เฟซบุ๊ก หลังพบวิจารณ์ร่าง รธน.มีชัย ชี้เป็นหน่วยงานของรัฐต้องให้ความร่วมมือกับรัฐบาล ไม่ควรโพสต์ข้อความที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในสังคม หรือไม่สร้างสรรค์ เสี่ยงผิด พ.ร.บ.คอมฯ

28 พ.ค. 2559 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 25 พ.ค.ที่ผ่านมา เฟซบุ๊กชื่อ 'Arjinjonathan Arjinkit' ของ อาจิณโจนาธาน อาจิณกิจ อาจารย์ประจำสาขาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จ.ฉะเชิงเทรา ได้เผยแพร่บันทึำข้อความ ซึ่งออกโดยผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี เรื่องการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ถึง คณบดีทุกคณะ ผู้อำนวยการสถาบัน สำนักและศูนย์ ในมหาวิทยาลัย โดยระบุว่าผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการใช้นสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งพบว่ามีบุคลากรบางคนได้โพสต์ข้ความไม่เหมาะสม
บันทึกดังกล่าวระบุด้วยว่า มหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานของรัฐต้องให้ความร่วมมือกับรัฐบาล ให้การว่ากล่าวตักเตือนหรือห้ามปรามบุคลากร ว่าไม่ควรโพสต์ข้อความที่ก่อใหเกิดความขัดแย้งในสังคม หรือไม่สร้างสรรค์หรือเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ซึ่งอาจทำให้มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550





อาจิณโจนาธาน โพสต์ข้อความวิจารณ์บันทึกดังกล่าวด้วยว่า เมื่อมหาวิทยาลัยสอดส่องเฟซบุ๊กคุณ


"ผมได้รับหนังสือเวียนนี้ เป็นบันทึกข้อความส่งถึงคณบดีทุกคนให้กับชับการใช้เฟสบุคของบุคลากรของมหาวิทยาลัย มีประเด็นที่น่าสนใจอยู่มากดังนี้

1. บุคลากรของมหาวิทยาลัยมีจำนวนร่วม 1,000 คน มหาวิทยาลัยรู้ได้อย่างไรว่าใคร ใช้เฟสบุคชื่ออะไร และใช้หน่วยงานไหนเป็นคนสอดส่อง

2. ในหนังสือระบุว่า “มหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานของรัฐต้องให้ความร่วมมือกับรัฐ” หมายความว่าอย่างไร คือห้ามบุคลากรของมหาวิทยาลัยวิจารณ์ คสช. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รัฐบาล ร่างรัฐธรรมนูญ ฯลฯ หรืออย่างไร???????

3. การโพสต์ข้อความหรือแสดงความคิดเห็นส่วนตัวในเฟสบุค เป็นความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยหรือไม่? หากข้อความดังกล่าวสร้างความแตกแยก ความไม่สงบ หรือผิด พรบ.คอมฯ มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องรับผิดชอบ หรือเป็นเรื่องส่วนบุคคลที่ต้องรับผิดชอบ

4. การที่มหาวิทยาลัยสอดส่องการใช้เฟสบุคของบุคลากร (ผมสันนิษฐานว่ามีการสอดส่องเรียบร้อยแล้ว ถึงมีหนังสือเวียนฉบับนี้ออกมา) เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล และเป็นการคุกคามเสรีภาพในการแสดงออกหรือไม่

ผมคิดว่ามหาวิทยาลัยอาจจะต้องตอบคำถามเหล่านี้ต่อสาธารณะชนครับ" อาจิณโจนาธาน โพสต์


มีชัยนั่งนายกสภาฯ จ่อถอดอธิการ ชี้เตือนบุคลากรเหตุมีคนโพสต์วิจารณ์ร่างรธน.

มติชนออนไลน์ รายงานด้วยว่า นพพร ขุนค้า อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ เปิดเผยว่า ในวันที่ 28 พฤษภาคมนี้ ที่ประชุมสภา มรภ.ราชนครินทร์ ที่มี มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ในฐานะนายกสภามหาวิทยาลัย เป็นประธาน จะประชุมวาระพิเศษ ซึ่งมีวาระลับ พิจารณาถอดถอน อุทัย ศิริภักดิ์ ออกจากตำแหน่งอธิการบดี อ้างว่า ตั้งแต่นายอุทัย ดำรงตำแหน่งมาเป็นเวลา 3 ปี ได้กระทำความผิดในการอาศัยอำนาจหน้าที่ราชการเพื่อให้ตนเอง และผู้อื่น ได้รับประโยชน์ที่มิควรได้โดยทุจริต ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ใช้จ่ายเงินของทางราชการโดยไม่เหมาะสม หย่อนความสามารถ และบริหารงานขาดประสิทธิภาพหลายประการ จึงไม่อาจวางใจให้นายอุทัยปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งอธิการบดีต่อไปได้

นอกจากนี้ นพพร ยังเปิดเผยว่า เหตุการณ์ที่มีการออกคำสั่งให้บุคลากรร่วมมือรัฐ ดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะล่าสุด มีอาจารย์มหาวิทยาลัยรายหนึ่งโพสต์แสดงความเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญในทิศทางที่ขัดแย้งกับนายกสภาฯ อีกด้วย